กรอบแนวคิดในการพัฒนา มาตรฐานการจัดบริการอาชีวอนามัย นพ.สมเกียรติ ศิริรัตนพฤกษ์ สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค
การจัดบริการอาชีวอนามัย
วัตถุประสงค์ ปกป้องและคุ้มครองสุขภาพของผู้ทำงานจากอันตรายในการทำงาน ปรับปรุงสภาพการทำงานให้เหมาะสมกับผู้ทำงาน ส่งเสริมสุขภาพแก่ผู้ทำงาน รักษาและฟื้นฟูสภาพของผู้ทำงานจากการบาดเจ็บหรือป่วยเป็นโรคจากการทำงาน ให้บริการทางสุขภาพทั่วไปแก่ผู้ทำงานและครอบครัว
กิจกรรมในการให้บริการอาชีวอนามัย สำรวจและประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการทำงาน เฝ้าคุมและจัดการความเสี่ยงในการทำงาน รวมทั้งดูแลในเรื่องสุขอนามัยอื่นๆ ดำเนินการในด้านความปลอดภัยในการทำงาน ให้ความรู้และฝึกอบรมทางด้านอาชีวสุขศึกษา ประเมินและเฝ้าระวังทางสุขภาพแก่ผู้ทำงาน ปรับปรุงสภาพการทำงานให้เหมาะสมและสอดคล้องกับผู้ทำงาน
กิจกรรมในการให้บริการอาชีวอนามัย (ต่อ) จัดเตรียมการในการปฐมพยาบาลและรักษาพยาบาลในกรณีฉุกเฉิน ฟื้นฟูสภาพของผู้ทำงานหลังการเจ็บป่วย ให้คำปรึกษาทางด้านสุขภาพ รวบรวม จัดเก็บ และวิเคราะห์ข้อมูลทางด้านอาชีวอนามัย รวมทั้งเผยแพร่ให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง
สรุปกรอบแนวคิดของการจัดบริการ
บุคลากรในทีมงานอาชีวอนามัย แพทย์ พยาบาล นักอาชีวสุขศาสตร์ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย วิศวกร นักจิตวิทยา นักระบาดวิทยา
รูปแบบการจัดบริการ รูปแบบสำหรับสถานประกอบการขนาดใหญ่ (Big industry model) รูปแบบการจัดบริการเป็นกลุ่ม (Group service model) รูปแบบการจัดบริการโดยภาคเอกชน (Private health centre model) รูปแบบการจัดบริการผสมผสานกับการบริการสาธารณสุขในชุมชน (Community health centre model) รูปแบบการจัดบริการในระดับชาติเป็นการเฉพาะ (National health service model) รูปแบบการจัดบริการโดยระบบประกันสังคม (Social security institution model)
ลักษณะพิเศษของการจัดบริการอาชีวอนามัยที่แตกต่างจากการจัดบริการทางด้านสาธารณสุขอื่น ๆ กลุ่มลูกค้าโดยตรงหรือกลุ่มเป้าหมายมี 2 ฝ่ายคือ ฝ่ายนายจ้างและลูกจ้าง การจัดบริการจะต้องมุ่งเน้นให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดี และมีส่วนร่วมจากกลุ่มลูกค้าทั้ง 2 กลุ่ม มุมมองและความต้องการของการจัดบริการ อาจจะมีความแตกต่างระหว่างผู้ให้บริการและกลุ่มลูกค้า การจัดบริการอาจจะมีส่วนเกี่ยวข้องตามกฎหมาย ผู้ให้บริการจะต้องบริการแบบมืออาชีพ เน้นคุณภาพของการบริการ ภาคีที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่คาดหวัง ความพึงพอใจของการจัดบริการมีหลายกลุ่มเช่น ตัวคนงานเอง สหภาพ นายจ้าง ผู้ตรวจแรงงาน และกองทุนเงินทดแทน เป็นต้น
แนวทางในการพัฒนาการจัดบริการอาชีวอนามัยในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
แผนการพัฒนาหน่วยบริการทั้งภาครัฐและเอกชนของสำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข หน่วยบริการภาครัฐ ภายใต้กระทรวงสาธารณสุข โครงการพัฒนาการจัดบริการอาชีวเวชกรรม โดยเฉพาะคลินิคโรคจากการทำงาน ในโรงพยาบาลประจำจังหวัด (ร.พ. ศูนย์/ร.พ.ทั่วไป) การพัฒนามาตรฐานในการจัดบริการอาชีวอนามัยของหน่วยบริการในทุกระดับ การพัฒนาเครือข่ายและศักยภาพของหน่วยบริการในทุกระดับ การสนับสนุนศูนย์บริการตติยภูมิ (Excellent center)
บทบาทที่คาดหวังในระดับ ร.พ.ศูนย์/ร.พ.ทั่วไป การจัดบริการอาชีวอนามัยทั้งเชิงรุกและรับ เน้นการจัดบริการให้แก่กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงและกลุ่มด้อยโอกาสก่อน การจัดบริการให้แก่บุคลากรใน ร.พ. รองรับการส่งต่อหรือสนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยบริการของจังหวัด เป็นกรรมการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของจังหวัด เป็นที่ปรึกษาทางวิชาการของจังหวัด รวมทั้งการพัฒนาบุคลากรในจังหวัด เป็นส่วนหนึ่งของทีมเฝ้าระวังและจัดการฉุกเฉินทางด้านอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมของจังหวัด
แผนและแนวทางการพัฒนาหน่วยบริการภาคเอกชน สถานการณ์ในปัจจุบัน หน่วยบริการภาคเอกชน ทั้ง ร.พ.เอกชน บริษัทเอกชน และภายในสถานประกอบการเอง ต่างก็มีบทบาทในการจัดบริการอาชีวอนามัยอยู่แล้ว รูปแบบการจัดบริการโดยการมีส่วนร่วมของนายจ้างและลูกจ้างโดยตรง โดยภาครัฐให้การสนับสนุน ถือว่าดีและมีประสิทธิภาพมากที่สุด จากกฏหมายของกระทรวงแรงงาน ทำให้มีความต้องการในการจัดบริการอาชีวอนามัยมากยิ่งขึ้น ทิศทางของการปฏิรูประบบราชการ ทำให้หน่วยบริการภาครัฐ มีข้อจำกัดมากขึ้น การพัฒนารูปแบบการจัดบริการและศักยภาพของบุคลากรในภาคเอกชนมีความจำเป็นและสำคัญมาก
แผนและแนวทางการพัฒนาหน่วยบริการภาคเอกชน ภายใต้กระทรวงสาธารณสุข แผนและแนวทางการพัฒนาหน่วยบริการภาคเอกชน ภายใต้กระทรวงสาธารณสุข สนับสนุนและพัฒนาการจัดบริการอาชีวอนามัยในรูปแบบต่างๆ ที่ดำเนินการในภาคเอกชน การพัฒนามาตรฐานและควบคุมคุณภาพในการจัดบริการ การฝึกอบรมและพัฒนาศักยภาพของบุคลากร การสร้างเครือข่ายและเชื่อมต่อเครือข่ายระหว่างหน่วยบริการภาครัฐและเอกชน
แนวทางการพัฒนาหน่วยบริการภาคเอกชน จากหน่วยงานภาครัฐ สนับสนุนและกำหนดเป็นนโยบาย ปรับปรุงกฏหมายให้มีความสอดคล้องมากยิ่งขึ้น ปรับปรุงการใช้จ่ายงบทั้งกองทุนประกันสังคมและกองทุนเงินทดแทนให้ครอบคลุมทั้งในด้านการป้องกันและส่งเสริมสุขภาพ สนับสนุนงบประมาณในการพัฒนาศักยภาพในการให้บริการ การศึกษาวิจัยและพัฒนาเทคนิคทางวิชาการ การควบคุมคุณภาพ
คำถามที่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องอยากรู้ การจัดบริการอาชีวอนามัยมีคุณภาพหรือไม่ หน่วยบริการต่าง ๆ มีคุณภาพในการให้บริการที่เหมือนกันหรือไม่ ถ้าคุณภาพของการให้บริการแตกต่างกัน อะไรคือปัจจัยที่สำคัญ
วิธีการในการแก้ปัญหาเรื่องคุณภาพ ของการให้บริการอาชีวอนามัย วิธีการแก้ปัญหาจะขึ้นอยู่กับระดับของส่วนที่ก่อให้เกิดปัญหา ดังนั้น ผู้ที่จะเข้ามาแก้ปัญหาก็คือ ภาคีที่มีส่วนเกี่ยวข้องในระดับนั้น เช่น ระดับผู้ให้บริการ : แพทย์ พยาบาล นักสุขศาสตร์อุตสาหกรรม ระดับหน่วยบริการ กลุ่มวิชาชีพ หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง
คุณภาพ คืออะไร ( Quality ) คือ ลักษณะโดยรวมทั้งหมดของผลผลิต หรือการให้บริการที่สามารถก่อให้เกิดความพึงพอใจหรือบรรลุวัตถุประสงค์ตามความต้องการ ของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
มาตรการหนึ่งที่จะทำให้ทราบสถานะของคุณภาพในการให้บริการก็คือ การประเมิน มาตรการหนึ่งที่จะทำให้ทราบสถานะของคุณภาพในการให้บริการก็คือ การประเมิน
การประเมินระบบบริการสุขภาพ คือการประเมินว่าระบบบริการสุขภาพนั้นสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้มากน้อยเท่าใด ในแง่ของ ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ความยอมรับ ความพึงพอใจ ความครอบคลุม การก่อประโยชน์ และความคุ้มค่าในด้านราคา
ผู้ประเมิน 1. Internal: - ระดับบุคคล - หน่วยบริการ 2. External: - หน่วยงานที่ควบคุมกำกับ - ลูกค้า
องค์ประกอบของส่วนที่จะถูกประเมิน Input หรือโครงสร้าง ( Structure ) Process Outcome
Input หรือ Structure ลักษณะของระบบ (System characteristic): รูปแบบการบริหารจัดการ, การจัดองค์กร, การบริหารการเงิน,โครงสร้างทางกายภาพอื่น ๆ ลักษณะของผู้ให้บริการ (Provider characteristic): บุคลากรตามรายวิชาชีพ ความรู้ความสามารถ การฝึกอบรม ทัศนคติ ลักษณะของลูกค้า (Patient หรือ client characteristic): อายุ , เพศ , อาชีพ สถานะสุขภาพ , ความคาดหวังต่อการให้บริการ
Process กิจกรรมที่ดำเนินการ ความต่อเนื่องของการจัดบริการ
Output สิ่งที่เกิดขึ้นโดยตรงจากการดำเนินงานของหน่วยบริการ เช่น ข้อแนะนำในการปรับปรุงสภาพแวดล้อม
Outcome ผลลัพธ์ที่ได้จากการดำเนินการ : สถานะทางสุขภาพของกลุ่มประชากรเป้าหมาย 5 D คือ Death , Disease , Disability , Discomfort , Dissatisfaction ในกรณีของงานอาชีวอนามัย พิจารณาจาก 1. สภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี 2. สมรรถนะของคนงานในการทำงาน 3. สุขภาพทั่วไปในกลุ่มวัยทำงาน 4. ความพึงพอใจในการรับบริการ 5. ประสิทธิภาพของผลผลิต
เนื่องจากการนำ Output ไปดำเนินการต่อ จะอยู่นอกเหนือความสามารถของหน่วยบริการ ดังนั้นในการพิจารณาคุณภาพของการจัดบริการ จึงมักจะดูที่ขั้นตอนของ Process
“ งานบริการด้านอาชีวอนามัยถือเป็นภารกิจที่สำคัญงานหนึ่งของงานสาธารณสุขของประเทศ ซึ่งไม่สามารถที่จะปล่อยให้เป็นการแข่งขันในตลาดการค้าแบบงานการบริการอื่น ๆ ทั่วไปได้ อย่างน้อยที่สุดมาตรฐานขั้นต่ำของการให้บริการอาชีวอนามัย จะต้องถูกรับรองโดยหน่วยงานภาครัฐ ดังนั้นรัฐบาลจะต้องมีหลักประกันในการรับรองมาตรฐาน (Certification) สำหรับการจัดบริการอาชีวอนามัย ” รัฐบาลประเทศเนเธอร์แลนด์
Certifying body ภาครัฐต้องมีหลักประกันในการผลักดันให้เกิดการควบคุมคุณภาพในการจัดบริการ หน่วยงานที่รับผิดชอบอาจจะเป็นหน่วยงานอิสระก็ได้ หน่วยงานหลักที่ควบคุมกำกับ คือ กระทรวงสาธารณสุข หน่วยงานนั้นจะต้องมีการติดตามและประเมินผลเป็นประจำ หน่วยงาน Certifying body จะต้องตรวจสอบหน่วยบริการว่าสามารถให้บริการที่มีคุณภาพในระดับที่ยอมรับได้
ดัชนีชี้วัดในการประเมิน 1. Formative evaluations การให้บริการ เวลาและความล่าช้าในการบริการ ความรับรู้ในความต้องการของกลุ่มเป้าหมายของบุคลากรในทีม ความคาดหวังของกลุ่มลูกค้า
2. Process evaluation เวลาที่ให้กับการทำงานของบุคลากรในทีม งบประมาณ ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ความร่วมมือของลูกค้า ข้อร้องเรียน หรือข้อเสนอแนะจากลูกค้า การจัดการประชุมอบรม การจัดลำดับความสำคัญของงาน การจัดทำข้อมูล
3. Outcome evaluation การปรับเปลี่ยนนโยบาย การเปลี่ยน KAP ของลูกค้า ประโยชน์ที่เกิดขึ้น การเพิ่มของการรับบริการ ดัชนีทางสุขภาพต่าง ๆ
กลวิธีในการควบคุมคุณภาพ การสำรวจ ประเมินผลและปรับปรุง การปฏิบัติอิงตามเกณฑ์มาตรฐาน การปฏิบัติตามระบบQuality assurance ต่างๆ: ระบบAudit, ระบบISO, ระบบHA,
ทิศทางการพัฒนาระบบคุณภาพการบริการอาชีวอนามัยของประเทศไทย?