3204-2104 โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัย 3204-2104 โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัย ปวส.2/1 ,2/6 คธ เวลา 14.00น. – 15.20 น. โดย อาจารย์พีระพงษ์ เลี้ยงอยู่ วิทยาลัยเทคโนโลยีแหลมทอง
เกณฑ์คะแนน 80 - 100 4 75 - 79 3.5 70 - 74 3 65 - 69 2.5 60 - 64 2 55 - 59 1.5 50 - 54 1 0 - 49
เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนสอบ 40 คะแนน - คะแนนสอบกลางภาค(QUIZ TEST 5 ครั้ง) 20 คะแนน - คะแนนสอบ Final 20 คะแนน รายงาน 20 คะแนน แบบฝึกหัด(สมุด+ใบงาน) 20 คะแนนคะแนนมาเรียน 10 คะแนน จิตพิสัย 10 คะแนน
ตารางการเรียน Take home ครั้งที่ 1 วันที่ 4 ก.ย. 2559 ครั้งที่ 1 วันที่ 4 ก.ย. 2559 ครั้งที่ 2 วันที่ 18 ก.ย. 2559 เรียนวันเสาร์ที่ 10 , 24 กันยายน 2559 Quiz ครั้งที่ 1 วันที่ 4 กันยายน 2559 Quiz ครั้งที่ 2 วันที่ 10 กันยายน 2559 Quiz ครั้งที่ 3 วันที่ 11 กันยายน 2559 Quiz ครั้งที่ 4 วันที่ 18 กันยายน 2559 Quiz ครั้งที่ 5 วันที่ 25 กันยายน 2559 สอบปลายภาค (ช่วงที่ 2) ภาคเรียนที่ 1/2559 วันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม 2559
กฎกติกาในการเรียน เข้าเรียนตรงเวลา 14.00 น. – 15.20 น. (สายเกิน 30 นาที ถือว่าขาด) ขาดเรียนแล้วต้องตามงานกับเพื่อนหรืออาจารย์ การ QUIZ TEST ถ้าไม่มาในสัปดาห์นั้นคะแนนจะเป็น 0 ในช่องนั้นๆ (ไม่สามารถขอสอบย้อนหลังได้) ถ้าพ้นกำหนดการส่งงาน จะไม่รับส่งงานใดๆ ไม่ส่งเสียงดัง ไม่คุยโทรศัพท์รบกวน ถ้าส่งงานไม่ครบเกรดจะออกเป็น มส ทันที
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์พีระพงษ์ เลี้ยงอยู่(อ.ต้น) อาจารย์พีระพงษ์ เลี้ยงอยู่(อ.ต้น) หัวหน้าสาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วทบ. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ Peerapong.laen@gmail.com Facebook : Ton Dtt โทรศัพท์ 085-1540669 ติดต่อส่งงาน ตึก 1 ชั้น 3 ห้อง 135
ดาวน์โหลดเอกสารได้ที่ https://teachertonlaemtech.wordpress.com เลือกวิชา 3204-2104 โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัย *ให้นักศึกษาดาวน์โหลดเอกสารมาใช้ในการเรียน
ดาวน์โหลดเอกสารได้ที่
เนื้อหาที่จะเรียน บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับช่องทางการจัดจำหน่าย บทที่ 2 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการจัดการห่วงโซ่อุปทาน บทที่ 3 โครงสร้างช่องทางการจัดจำหน่าย บทที่ 4 พันธมิตรธุรกิจ บทที่ 5 การจัดซื้อจัดหาวัตถุดิบและการจัดการซัพพลายเออร์ บทที่ 6 การจัดการการค้าส่ง บทที่ 7 การจัดการการค้าปลีก
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับช่องทางการจัดจำหน่าย ความหมายของการจัดจำหน่าย การจัดจำหน่าย หมายถึง เส้นทางที่สินค้าหรือบริการ และการเป็นเจ้าของสินค้า หรือ บริการ เคลื่อนย้ายจากผู้ผลิตไปสู่ผู้ซื้อผู้บริโภค และ คนกลางประเภทต่าง ๆ ใน ช่องทางการตลาด การจัดจำหน่าย คือ กลไกต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำให้สินค้าไหลผ่านจากผู้ผลิตไปสู่ผู้บริโภค
การวางระบบการจัดจำหน่ายที่ดีจะช่วยให้ 1. ยอดขายเพิ่ม 2. ลดสินค้าขาดมือให้น้อยลง 3. สร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้ผลิตและลูกค้า 4. เพิ่มการให้ส่วนลดในเรื่องการจัดส่งสินค้า 5. ช่วยขยายเขตตลาดให้มากขึ้น 6. ทำให้ฝ่ายขายให้ความสนใจในการสร้างลูกค้าให้มาก
วัตถุประสงค์ของการจัดจำหน่าย และ การจำหน่ายกลยุทธ์การบริหารตลาด วัตถุประสงค์ของการจัดจำหน่าย คือ การเชื่อมช่องว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภคเมื่อผู้ผลิตสินค้าจำหน่ายให้กับผู้บริโภคผู้บริหารการตลาดจึงทุ่มเทจัดการ กับการจัดจำหน่ายเพื่อวัตถุประสงค์ในการสร้างอรรถประโยชน์ดังต่อไปนี้ อรรถประโยชน์ด้านรูปร่าง อรรถประโยชน์ด้านสถานที่ อรรถประโยชน์ด้านเวลา อรรถประโยชน์ด้านเป็นเจ้าของ
อรรถประโยชน์ด้านรูปร่าง คือการที่ผู้บริโภคได้รับความพอใจในตัวรูปร่างของสินค้าและคุณสมบัติของตัวสินค้าคือพ่อค้าส่ง พ่อค้าปลีก อาจนำสินค้ามาคัดแปลงรูปร่างเพื่อให้ผู้บริโภคพอใจ เช่น นำผลไม้มาปลอกเปลือก ผ่า และแช่เย็นขาย หรือนำดอกไม้มาจัดกระเช้า
อรรถประโยชน์ด้านสถานที่ คือ ความสะดวก และ ความพอใจที่ผู้บริโภคแสดงออกมาที่สามารถซื้อหาสินค้าโดยทั่วไปได้สะดวก หาซื้อสินค้าได้ใกล้กับสถานที่เกิดความต้องการ เช่น ร้านค้าปลีกใกล้ผู้บริโภค
อรรถประโยชน์ด้านเวลา คือ การผู้บริโภครับผิดชอบด้านการจัดจำหน่าย และ กระจายสินค้าให้ได้ปริมาณใกล้เคียงกับความต้องการของผู้บริโภคในเวลาที่ต้องการใช้ ลูกค้าหาซื้อได้ทันที
อรรถประโยชน์ด้านเป็นเจ้าของ คือ การชื้อขายสินค้า ๆ ก็ตามผู้ซื้อย่อมต้องการได้รับกรรมสิทธิ์ในตัวสินค้า หรือ บริการนั้น ๆ การจำหน่ายกลยุทธ์การบริหารตลาด
การวางระบบการจัดจำหน่ายที่ดีจะช่วยให้ 1. ยอดขายเพิ่ม 2. ลดสินค้าขาดมือให้น้อยลง 3. สร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้ผลิตและลูกค้า 4. เพิ่มการให้ส่วนลดในเรื่องการจัดส่งสินค้า 5. ช่วยขยายเขตตลาดให้มากขึ้น 6. ทำให้ฝ่ายขายให้ความสนใจในการสร้างลูกค้าให้มาก
ประวัติการจัดจำหน่าย การผลิตเพื่อใช้เอง ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์มนุษย์จะดำรงชีวิตอยู่ง่าย ๆ ผู้ชายจะเป็นผู้จัดหาสิ่ง ต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในครอบครัว โดยการล่าสัตว์เอาเนื้อมาเป็นอาหาร เอาหนังสัตว์มาทำเครื่องนุ่งห่ม อยู่อาศัยในถ้ำหรือเพิงที่พัก แบบง่าย ๆ เพื่อคุ้มภัยจากคนและสัตว์ป่าอื่น ๆ ลักษณะของการผลิตก็เพื่อใช้เองหรือใช้ในครอบครัว ยุคมนุษย์ต้องต่อสู้เพื่อความอยู่รอดมากกว่าที่จะมีเวลาสะสมสิ่งที่จำทำให้เขาสะดวกสบาย
การจัดระบบอย่างมีประสิทธ์ภาพทำให้ขายสินค้าได้ปริมาณมากขึ้น - ได้มีระบบการควบคุมบริหารสินค้าคลังที่ดี - ระบบการจัดจำหน่ายที่รอบคอบช่วยให้ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิตกับลูกค้าดีขึ้น ผู้ผลิตและลูกค้าสามารถใช้เครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ ร่วมกัน เช่น คอนเทนเนอร์ ทำให้จัดส่งสินค้าได้รวดเร็ว - การพัฒนาปรับปรุงการจัดจำหน่ายให้ดีขึ้น มีผลให้ผู้ผลิตสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก ผู้ผลิตแบ่งส่วนให้กับลูกค้าในรูปของการซื้อสินค้ามากได้ส่วนลด - การดำเนินระบบการจัดจำหน่ายที่ดีทำให้กิจการนำสินค้าไปขายตลาดที่อยู่ไกล ทำให้กิจการขายปริมาณเพิ่มขึ้น - ฝ่ายขาย ฝ่ายการตลาด รับผิดชอบโดยตรงทำให้ฝ่ายการตลาด และพนักงานขายสนใจลูกค้าเพิ่มขึ้น
ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดจำหน่าย กับ การตลาด การจัดจำหน่าย คือ องค์ประกอบ 1 ใน 4 ข้อ ของส่วนผสมการตลาด นักการตลาดต้องพิจารณาเลือกนำกลยุทธ์ทางการตลาดแบบต่าง ๆ มาใช้เป็นอาวุธทางการตลาด นักการตลาดปรับปรุงส่วนผสมการตลาด มีกลยุทธ์ที่สามารถผลักดันสินค้าให้เข้าไปสู่ช่องทางการจำหน่าย ทำให้พ่อค้าทุกระดับและพนักงานขายร่วมมือกันช่วยขายสินค้า ตลอดจนการเลือกและบริหารช่องทางการจำหน่าย การกระจายสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ ก็จะมีส่วนทำให้การบริหารการตลาดมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดจำหน่าย กับ การตลาด การผลิตเฉพาะอย่าง เมื่อมนุษย์เริ่มมาอยู่กันเป็นกลุ่ม เป็นชุมชน ทำให้พวกเขาทราบว่า การผลิตเฉพาะอย่างที่แต่ละคนถนัดจะมีประสิทธิภาพมากกว่าการผลิตเพื่อใช้กันเองในครอบครัว เช่น บางคนชอบปลูกผัก บางคนถนัดการเลี้ยงสัตว์ บางคนก็ชอบทอผ้า ส่วนคนอื่นอาจชอบตัดเย็บ ฯลฯ เมื่อเขาผลิตสิ่งที่ตนเองถนัดและผลิตได้มากเกินกว่าที่จะใช้เองและใช้ในครอบครัวแล้ว สามารถนำมาแลกเปลี่ยนกับสิ่งที่ตนต้องการ เป็นลักษณะของการแลกเปลี่ยน ของต่อของเป็นจุดเริ่มต้นของการจำหน่าย การแลกเปลี่ยนนี้ทำให้มาตรฐานการครองชีพในชุมชนดีขึ้น
ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดจำหน่าย กับ การตลาด เนื่องจากการแลกเปลี่ยนโดยตรงเกิดความต้องการไม่สะดวกหลายประการ ทำให้เกิดปัญหาในการตีค่าของสิ่งที่จะมาแลกเปลี่ยน และปัญหาความต้องการกับสิ่งของที่จะนำมาแลกมักไม่ตรงกัน ในที่สุดมนุษย์จึงได้ กำหนดสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนขึ้น โดยช่วงแรกสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนจะมีลักษณะแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น บางแห่งใช้เปลือกหอย บางแห่งใช้โลหะมีค่า เช่น ทองคำหรือเงิน แทนการแลกเปลี่ยน ต่อมาจึงนิยมทำเป็นเหรียญโลหะมีค่าที่ประทับตราหรือเครื่องหมายต่าง ๆ ไว้ เช่น ตราสัญลักษณ์ของผู้นำชุมชนนั้น ๆ เหรียญโลหะนั้นเรียกว่า เงิน
ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดจำหน่าย กับ การตลาด ต่อมาการใช้เงินเพื่อเป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยนได้รับความนิยมแพร่หลายมากที่สุด เงินกลายเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนมาจนปัจจุบัน ทำให้การแลกเปลี่ยนสินค้าสะดวกขึ้นมาก การซื้อขายสินค้าได้รับความนิยมมากขึ้น จนมีการพัฒนาระบบการจัดจำหน่ายขึ้นในเวลาต่อมา ในเวลาอีกหลายทศวรรษระบบการค้าเงินได้พัฒนาธุรกิจธนาคารขึ้น เพื่อรับฝากของมีค่า รวมทั้งเหรียญทอง เหรียญเงิน โดยธนาคารจะคิดค่าธรรมเนียมการฝาก ซึ่งช่วยให้ระบบการจัดจำหน่ายได้รับความสะดวกมากขึ้น และมีพ่อค้าประชาชนให้ความสำคัญกับการฝากเงินไว้ธนาคารกันมากขึ้น จนในที่สุดก็เกิดระบบการใช้เช็ค หรือ ดร๊าฟแทนเงินสดขึ้น เรียกว่าระบบเครดิตหรือเงินเครดิต ซึ่งเป็นที่นิยมแพร่หลายมากในปัจจุบัน เนื่องจากทำให้เกิดความสะดวก ปลอดภัยทั้งผู้ซื้อในการชำระค่าสินค้าและฝ่ายผู้ขายในการรับชำระค่าสินค้า
ส่วนผสมการตลาด Marketing Mix ส่วนผสมในการจัดจำหน่าย คือ การตัดสินใจเลือกระดับช่องทางการจำหน่าย และการกำหนดกิจกรรมการกระจายสินค้า เพื่อให้สินค้ากระจายไปอย่างทั่วถึง แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ ช่องทางการจำหน่าย 1.1 ช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค 1.2 ช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าอุตสาหกรรม 1.3 ปัจจัยที่ต้องพิจารณาในการเลือกช่องทางการจำหน่าย 1.4 สถาบันการตลาดซึ่งเป็นคนกลางในช่องทางการจำหน่าย
ส่วนผสมการตลาด Marketing Mix 2. กิจกรรมการกระจายสินค้า 2.1 การขนส่ง 2.2 การคลังสินค้า 2.3 การบริหารสินค้าคงคลัง และการเก็บรักษาสินค้า 2.4 การบรรจุภัณฑ์
ส่วนผสมการตลาด Marketing Mix นอกจากนี้ ยังต้องสร้างความจงรักภักดีในกลุ่มสถาบันคนกลางทุกระดับ ตั้งแต่ ผู้แทนจำหน่าย ผู้แทนขาย ใช้นายหน้า พ่อค้าส่ง พ่อค้าปลีก ทำให้สถาบันคนกลางเหล่านั้นร่วมมือร่วมใจในการประกอบกิจกรรมการส่งเสริมการจำหน่าย และเกิดความจงรักภักดี รับผิดชอบต่อสินค้าที่เขาจำหน่าย ทำให้ลูกค้ากลับมาซื้อสินค้าซ้ำไม่เปลี่ยนไปซื้อของคู่แข่งขัน เพื่อผลของยอดขายและอัตราส่วนครองตลาดตามเป้าหมายการตลาดกับเศรษฐกิจ
- การตลาด เป็นกิจกรรมเชื่อมโยงระหว่างการผลิต และการบริโภค -การตลาดปัจจุบันให้ความสำคัญกับผู้บริโภค - การตลาดกับสังคม การบูรณาการเป็นวิธีการตลาดที่ทันสมัยที่กิจการกำลังใช้กันอยู่ในปัจจุบันการมุ่งการผลิตที่เกินความจริงทำให้เกิดปัญหาไปในทางตรงกันข้าม คือ ทำให้ไม่เกิดผลกำไรการถดถอยในระดับความพอใจ หมายถึงผู้บริโภคจะได้รับความพอใจน้อยจากการบริโภคสินค้าประเภทเดียวกันมากขึ้น -การเปลี่ยนแปลงด้านการตลาดเศรษฐกิจ ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างฉลาดวิถีความเป็นอยู่ของคน ขาดทรัพยากรในอนาคต ทำให้ความเป็นอยู่ของคนต้องเปลี่ยนไปนิเวศวิทยา ในลักษณะที่สามารถนำภาชนะและของใช้ต่าง ๆมาใช้ผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ได้ใหม่ เช่นกระดาษใช้แล้วนำไปทำกระดาษใหม่ เรียกว่า ระบบรีไซเคิล
-การลงทุนดำเนินการในต่างประเทศ 1แบบร่วมลงทุนเป็นกรณีของการรวมลงทุนกับชาติอื่นซึ่งอาจจะเนื่องจากประเทศเจ้าของตลาดไม่ต้องการทุนต่างชาติ 100 % 2 แบบลงทุนเองทั้งหมดโดยตั้งบริษัทในเครือและเจ้าของเดิมถือหุ้นทั้งหมด -ลูกค้าหรือตลาด ตลาดหมายถึงตลาดเป้าหมาย เช่น ตลาดคนกลาง หมายถึง บุคคลและองค์การที่ซื้อสินค้าและบริการเพื่อขายต่อโดยมุ่งหวังกำไร -กลุ่มสาธารณชนภายนอกบริษัท หมายถึงกลุ่มชนหรือหน่วยงานในท่องถิ่นที่มีอิทธิพลต่อทำงานของธุรกิจ กลุ่มสาธารณะต่างๆ ที่เป็นสภาวะแวดล้อมที่สำคัญของบริษัท คือสถาบันการเงิน สื่อมวลชน รัฐบาล ปฎิกิริยาของประชาชน กลุ่มชนในท่องที่ กลุ่มบุคคลในบริษัท
แบบฝึกหัด จงอธิบายความหมายของการจัดจำหน่ายมาให้เข้าใจพร้อมยกตัวอย่าง จงบอกวัตถุประสงค์ของการจัดจำหน่ายมาให้เข้าใจ ส่วนผสมการตลาด Marketing Mix มีกี่ประเภทอะไรบ้าง จงอธิบาย (ทำใส่สมุด)
Homework ให้นักศึกษาทำประวัติส่วนตัว แนะนำตัวเอง แนะนำที่ทำงาน และประวัติส่วนตัวต่างๆเพื่อการนำเสนอการขาย โดยพิมพ์ใส่โปรแกรม Microsoft word และส่งเมลล์ ที่เมลล์ Peerapong.laen@gmail.com (กำหนดการส่งงานก่อนวันเสาร์ที่ 10 กันยายน 2559) ส่งเกินกำหนดจะไม่ได้รับการตรวจงานนั้นๆ