EXCEL (intermediate) By Nuttapong S..

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
Microsoft Office Excel 2010
Advertisements

การประยุกต์ใช้โปรแกรม MS-Excel
การใช้งานโปรแกรม Excel เบื้องต้น
การใช้ MS Word อย่างมีประสิทธิภาพ
แก้ไขปรับปรุง Form.
การค้นหาและการอ้างอิง ใน Excel 2007
i-Square Training Center
การประยุกต์ Excel เพื่อการทำงาน
การใช้ Word เพื่อการคำนวณ
เริ่มต้นใช้งานโปรแกรม Microsoft Access
การใช้งานโปรแกรม Microsoft Excel ชุดที่ 3 การสร้างกราฟ
อ.วชิระ หล่อประดิษฐ์ ระบบสารสนเทศทางคอมพิวเตอร์
เครื่องมือในการจัดการและวิเคราะห์ข้อมูล
การใช้งานโปรแกรม Excel เบื้องต้น
Microsoft Excel
Timed Math Quiz. โปรแกรมสุ่มคำนวณเลขแข่งกับ เวลา.
Microsof t Office Excel คุณสมบัติของ โปรแกรม Microsoft Office Excel 2007  สร้างและแสดงรายงานของข้อมูล ตัวอักษร และ ตัวเลข  อํานวยความสะดวกในด้านการคํานวณต่าง.
Microsoft Excel อาจารย์ผู้สอน :. Section5: การปรับแต่งงานสมุดงาน เบื้องต้น 2 เปิดไฟล์ section5.xlsx.
สูตรคำนวณตัวแปรตำเนินการ = A1 + A2 * A3 เซล A1, A2 และ A3 เครื่องหมาย + และ * = B3 * 5 /100 เซล B3, เลข 5 และ 100 เครื่องหมาย * และ / = D5:D10 เซล.
กิจกรรมอบรมความรู้ด้าน ICT เพื่อส่งเสริมความเท่าเทียม.
ปี 2559 โปรแกรมบันทึกและประมวลผล ข้อมูล จปฐ. และข้อมูลพื้นฐาน
เครื่องมือในการจัดการและ วิเคราะห์ข้อมูล นางสาว ชญานิษฐ์ เพ็ชรรัตน์ มูลนิธิสุขภาพภาคใต้ แผนงานระบบข้อมูลข่าวสารเพื่อความปลอดภัยทางถนน Road Safety Information.
๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๙ โดย ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี ๕๗ หมู่ ถ. ชลประทาน ต. โขมง อ. ท่าใหม่ จ.
Lab 05 : Microsoft PowerPoint 2013 Part 1 ทพ 491 เทคโนโลยีสารสนเทศทางการเกษตร อาจารย์อภิพงศ์ ปิงยศ
Lab 05 : Microsoft Excel 2013 (Part2) พท 260 เทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสารทางการท่องเที่ยว อาจารย์อภิพงศ์ ปิงยศ
Excel for Business Computer สุริเยนทร์ แดงทองดี เอกสารประกอบการอบรม Excel.
ประเภทของคำสั่งของภาษา SQL
Microsoft Excel เบื้องต้น
การเลื่อน Cell และคำสั่งใน Macro
การจัดการและวิเคราะห์ข้อมูล
Microsoft Access การใช้งานโปรแกรมระบบจัดการฐานข้อมูล
"วิธีวิเคราะห์แบบสอบถาม หรือแบบประเมิน ด้วยโปรแกรม SPSS"
ภาษา SQL (Structured Query Language)
GIMP : Graphics Design for Web
อาจารย์อภิพงศ์ ปิงยศ Lab 05 : Microsoft Excel (Part2) พท 260 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทางการท่องเที่ยว อาจารย์อภิพงศ์ ปิงยศ.
อาจารย์อภิพงศ์ ปิงยศ Lab 05 : Microsoft Excel (Part1) พท 260 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทางการท่องเที่ยว อาจารย์อภิพงศ์ ปิงยศ.
Introduction to VB2010 EXPRESS
การจัดการข้อมูล (Organizing Data)
Microsoft Office Excel
Advance Excel.
อาจารย์อภิพงศ์ ปิงยศ Lab 05 : Microsoft PowerPoint Part 2 ทพ491 เทคโนโลยีสารสนเทศทางการเกษตร อาจารย์อภิพงศ์ ปิงยศ.
Microsoft PowerPoint 2013 Part 1
การจัดการฐานข้อมูลด้วยโปรแกรม MS Access 2013
Register คลิก register.
ประภาศรี ฟุ้งศรีวิโรจน์ แผนกสนับสนุนฝ่ายทรัพยากร
การใช้โปรแกรมเบื้องต้น (Application Overview)
การออกแบบระบบ System Design.
Chapter 6 Information System Development
Microsoft Office Excel 2010
JSON API Pentaho User Manual.
การเพิ่มกลุ่มข้อมูลลงในกราฟโดยใช้ Graph Wizard
บทที่ 6 การใช้งานโปรแกรมตารางคำนวณพื้นฐาน
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
Problem Solving ขั้นตอนวิธีและการแก้ปัญหาสำหรับวิทยาการคอมพิวเตอร์
การจัดการไฟล์ File Management.
Learning Tableau: Chapter 3
Microsoft PowerPoint 2013 Part 2
อาจารย์อภิพงศ์ ปิงยศ Lab 06 : Microsoft Excel (Part1) ทท101 เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมการสื่อสาร ทางการท่องเที่ยว อาจารย์อภิพงศ์
Learning Tableau: Chapter 5
อาจารย์อภิพงศ์ ปิงยศ Lab 06 : Microsoft Excel (Part2) ทท101 เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมการสื่อสารทางการท่องเที่ยว อาจารย์อภิพงศ์
การใช้งานฐานข้อมูล Web of Science
ปฏิบัติการที่ 06 การใช้ฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ และการสร้างมาโครใน Excel
Dr.Surasak Mungsing CSE 221/ICT221 การวิเคราะห์และออกแบบขั้นตอนวิธี Lecture 05: การวิเคราะห์ความซับซ้อนของ ขั้นตอนวิธีการเรียงลำดับข้อมูล.
ปฏิบัติการที่ 10 การหาค่าเหมาะที่สุดโดยใช้โปรแกรม Microsoft Excel
ลองนึกสิ คาบที่แล้ว เรียนอะไร.
Integrated Mathematics
Basic Excel for data management
CIT2205 โปรแกรมประยุกต์ด้านการจัดการฐานข้อมูล
Microsoft Excel.
การเขียนแบบและออกแบบด้วยคอมพิวเตอร์
ใบสำเนางานนำเสนอ:

EXCEL (intermediate) By Nuttapong S.

Course Outlines ครึ่งแรก ความรู้พื้นฐานของ Excel (Home, Page Layout and View Tabs) การสร้างกราฟ (Insert Tab) + Exercise Pivot Table (Insert Tab) + Exercise การ Filter ข้อมูล, การตัดข้อมูลซ้ำออก (Data Tab) ครึ่งหลัง การคำนวณ และ Function (Formulas Tab) + 2 Exercises การใช้ Goal Seek และ Data Table (Data Tab) + Exercise Linear Programming (Add-in) + Exercise

ความรู้พื้นฐานของ Excel

หน้าที่หลักของ Excel บริหาร/จัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบ คำนวณข้อมูล/ใช้ฟังก์ชันพิเศษ การจัดเก็บ/นำเสนอข้อมูลในรูปแบบของกราฟประเภทต่างๆ

ส่วนประกอบหลักของ Excel Quick Toolbar File Name Toolbar (Ribbon) Formula Bar Worksheet Vertical Scroll Bar Sheet Name Horizontal Scroll Bar

การจัดเก็บข้อมูลใน Excel Wookbook (Excel File) Wooksheet 1 Wooksheet 2 Wooksheet 3 And more..

หน้าที่ของ Toolbar แต่ละอัน Home รวมคำสั่งเกี่ยวกับ แบบอักษร การกำหนดลักษณะตาราง การ จัดวางข้อมูลในเซลล์ และเครื่องมือค้นหา/แทนที่ข้อความ Insert คำสั่งเกี่ยวกับการแทรกวัตถุต่างๆ เช่น แผนภูมิ รูปวาด และ อื่นๆ Page Layout คำสั่งเกี่ยวกับ การตั้งค่าหน้ากระดาษ Formulas เครื่องมือการสร้างฟังก์ชั่นการคำนวณประเภทต่างๆ Data รวมคำสั่งเกี่ยวกับการเรียงลำดับและการกรองข้อมูล Review คำสั่งการตรวจสอบเอกสาร View คำสั่งสำหรับการเลือกมุมมองในการทำงาน

การจัดการกับแผ่นงาน Worksheet การแทรกแผ่นงานใหม่ (Insert new sheet) คลิกเมาส์ขวาที่ชื่อแผ่นงาน  เลือก Insert-Worksheet-OK หรือ เลือก การเปลี่ยนชื่อแผ่นงาน (Rename) ดับเบิลคลิกที่ชื่อแผ่นงาน หรือ คลิกเมาส์ขวาที่ชื่อแผ่นงาน และเลือกคำสั่ง Rename การใส่สีให้กับแผ่นงาน (Tab color) คลิกเมาส์ขวาที่ชื่อแผ่นงาน และเลือกคำสั่งTab Color การลบแผ่นงาน (Delete) คลิกเมาส์ขวาที่ชื่อแผ่นงาน เลือกคำสั่ง Delete และ ตอบยืนยัน Delete

การจัดการกับแผ่นงาน Worksheet การย้ายและการคัดลอกแผ่นงาน (Move or Copy) (Move) กดเมาส์ค้างที่ป้ายชื่อแผ่นงาน และ ลากเมาส์ ไปวางตำแหน่งใหม่ (Copy) คลิกเลือกแผ่นงานที่จะคัดลอก คลิกเมาส์ขวา ที่ชื่อแผ่นงาน เลือก Move or Copy คลิกเลือกตำแหน่ง ที่จะวางคลิก Create Copy และ คลิก OK หรือ กดเมาส์ค้างที่ป้ายชื่อแผ่นงาน กด Ctrl และ ลากเมาส์ ไปวางตำแหน่งใหม่ การซ่อนและแสดงแผ่นงาน (Hide-Unhide) (Hide) คลิกเมาส์ขวาที่ชื่อแผ่นงาน และเลือกคำสั่ง Hide (Unhide) คลิกเมาส์ขวาที่ชื่อแผ่นงาน และเลือกคำสั่ง Unhide

ชนิดของข้อมูล การป้อนข้อมูลแบบ Autofill และการป้อนข้อมูลเดียวกันลงในหลายๆเซลล์ในครั้งเดียว เมื่อต้องการเติมลำดับที่เพิ่มขึ้น ให้ลากลงหรือไปทางขวา เมื่อต้องการเติมลำดับที่ลดลง ให้ลากขึ้นหรือไปทางซ้าย ใช้ CTRL+ENTER ในการป้อนข้อมูลเดียวกันลงในหลายๆเซลล์ในครั้งเดียว

เลือกช่วงข้อมูล การกำหนดช่วงเซลล์ (Cell Range) คลิกที่ cell แรก กด Shif ค้างไว้ และคลิกที่ cell สุดท้าย กด Ctrl ค้างไว้และคลิกเลือกตามต้องการ การกำหนดช่วงเซลล์ (Cell Range) ใช้แป้นพิมพ์ช่วยในการเลือก CTRL เลือกพื้นที่ไม่ต่อเนื่อง SHIFT เลือกพื้นที่ต่อเนื่อง

การแทรก/ซ่อน/ลบ Row Column คลิกที่ Row Heading หรือ Column Heading คลิกเมาส์ขวา เลือกคำสั่ง Insert แทรก Hide ซ่อน Delete ลบ แทรก Column แทรก Row

การแทรก Cell เลือก Cell หรือ Row /Column ที่จะแทรก เลือกเมนู Insert-Cell หรือ คลิกขวา เลือกการแทรกจากกรอบโต้ตอบ แทรกและขยับ cell ที่เลือกไปทางขวา แทรกและขยับ cell ที่เลือกลงข้างล่าง แทรกทั้งแถว row แทรกทั้งคอลัมน์ column

การลบ Cell เลือก Cell หรือ Row / Column ที่จะลบ เลือกเมนู Edit  Delete หรือ คลิกขวา เลือกการลบจากกรอบโต้ตอบ ลบและขยับ cell ทางขวามาแทนที่ ลบและขยับ cell ข้างล่างขึ้นมาแทนที่ ลบทั้งแถว row ลบทั้งคอลัมน์ column

การปรับความกว้างของColumn และการปรับความสูงของ Row ลากและปรับขนาดตามต้องการ หรือ ปรับขนาดจากการใส่ความกว้าง/สูงเองโดยการคลิกเมาส์ขวา แล้วเลือก Column Width/Row Height ก็ได้ ปรับหลายๆ Column/Row พร้อมกัน เลือก Column/Row ที่ต้องการจะปรับ เลื่อนเมาส์ไปชี้ ที่เส้นแบ่งแถว ที่เลือกแถวไหนก็ได้ ลากและปรับขนาดตามต้องการ หรือ ปรับขนาดจากการใส่ความกว้าง/สูงเองโดยการคลิกเมาส์ขวา แล้วเลือก Column Width/Row Height ก็ได้ ปรับColumn/Rowทั้งหมด คลิกที่ปุ่ม เลือกทั้ง Worksheet หรือกด CTRL+A ลากปรับที่เส้นแบ่ง ที่หัว Column/Row ไหนก็ได้ หรือ ปรับขนาดจากการใส่ความกว้าง/สูงเองโดยการคลิกเมาส์ขวา แล้วเลือก Column Width/Row Height ก็ได้ จัดพอดีอัตโนมัติ (AutoFit) เลือก Column ที่จะจัด ดับเบิ้ลคลิกที่เส้นแบ่ง Column ที่เลือกจะมีการจัดความกว้างให้พอดีข้อมูล

การ Copy Cut Paste Copy – คลิกเมาส์ขวาที่เซลล์ที่เลือก แล้วเลือกคำสั่ง Copy หรือ ใช้ Short key โดยกด CTRL+c Cut – คลิกเมาส์ขวาที่เซลล์ที่เลือก แล้วเลือกคำสั่ง Cut หรือ ใช้ Short key โดยกด CTRL+x Paste – คลิกเมาส์ขวาที่เซลล์ที่เลือก แล้วเลือกคำสั่ง Paste หรือ ใช้ Short key โดยกด CTRL+v Paste Special สาธิตการทำ

Home Tab Font จัดแบบอักษร Alignment จัดตำแหน่งข้อความ Number รูปแบบตัวเลข,รูปแบบวันที่ Cell Styles การตกแต่งเซลล์ Border กำหนดเส้นขอบ Merge Cell การผสานเซลล์ สาธิตการทำ ไปยังเซลล์ที่ต้องการด้วยคำสั่ง Go To การหาคำโดยใช่คำสั่ง Find การแทนที่คำโดยใช้คำสั่ง Replace

Home Tab ตัวอย่าง Conditional Formatting

Page Layout Tab หลักๆคือการปรับรูปแบบของหน้ากระดาษก่อนการพิมพ์ Margins การปรับขอบกระดาษ Orientation การปรับกระดาษในแนะตั้งหรือแนวนอน Size การปรับไซส์ของกระดาษ Print Area การเซทขอบเขตที่จะพิมพ์ในหน้าเดียว Width การเลือกจำนวนกระดาษที่แนวนอน สาธิตการทำ

View Tab หลักๆคือการปรับมุมมองใน Worksheet Freeze Panes การตรึงเซลใน Worksheet สาธิตการทำ

จบความรู้พื้นฐานของ Excel

การสร้างกราฟ (Insert Tab) กราฟหรือแผนภูมิ - ง่ายต่อการเข้าใจและจดจำมากกว่าตัวหนังสือ สิ่งที่ต้องคิดเวลาจะพลอตกราฟ ต้องการจะสื่ออะไรจากการพลอตกราฟ วัตถุประสงค์ที่เจอบ่อยก็อาทิเช่น การ เปรียบเทียบข้อมูล, บอกการแจกแจงความถี่, บอกสัดส่วนขององค์ประกอบ, การ แสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรบอกแนวโน้ม, คาดการณ์อนาคต และ แสดงให้เห็น ลำดับเหตุการณ์

การสร้างกราฟ (Insert Tab) ต่อ การเตรียมข้อมูลเพื่อพลอต ใส่ข้อมูลแต่ละ Record (แต่ละราย แต่ละกลุ่ม) แยก ไว้คนละแถวกัน ใส่การวัดข้อมูลในแต่ละมิติ ไว้แยกคอลัมน์กัน การสร้างกราฟ เมื่อเรามีข้อมูลเตรียมไว้ในตารางแล้ว ให้เราลาก Selection ครอบคลุมพื้นที่ของข้อมูลทั้งหมด จากนั้นไปที่ Ribbon Insert => Chart => เลือกรูปแบบกราฟที่ต้องการ จากนั้น เมื่อเราเลือกรูปแบบกราฟไปแล้ว ถ้ากราฟ มันสร้างออกมาสลับแกน x แกน y กับสิ่งที่เราคิดไว้แต่แรก เราสามารถกดปุ่ม Switch Row/Column ที่อยู่บน Ribbon Chart Tools => Design ได้เลยโดยต้องคลิ๊กที่ Chart ก่อน Ribbon นี้ถึงจะโผล่มาให้เห็น

การสร้างกราฟ (Insert Tab) ต่อ ปรับแต่งกราฟ ส่วนประกอบของกราฟ หลักๆ มีดังนี้ วิธีที่ง่ายที่สุดที่จะเข้าใจส่วนประกอบของกราฟ ก็คือ ให้ไปที่ Ribbon Layout ที่อยู่ภายใต้ Chart Tools เลยครับ (ต้องเลือกที่กราฟก่อน) ในนั้นจะแบ่งออกเป็นหลายๆ หมวด พอเลือก แล้วสามารถกด Format Selection เพื่อปรับแต่งแต่ละส่วนได้อีก หรือดับเบิ้ลคลิกเอาก็ได้

การสร้างกราฟ (Insert Tab) ต่อ เทคนิคอื่นๆ การปรับ Format สี ถ้าคลิ๊กซ้ายที่ Data Series ทีเดียว มันจะเลือก Data Series นั้นในทุกๆ Category เลย ถ้าคลิ๊กซ้ายซ้ำอีกรอบเฉพาะบาง Category มันจะเลือกเจาะจงเฉพาะ Category นั้นๆ ได้เลย หรือ อาจเลือกจาก Ribbon Layout => Current Selection ก็ได้ครับ การปรับ Scale ของแกน X หรือ Y ให้เลือกที่แกนที่ต้องการจะแก้ จากนั้นคลิ๊กขวา => Format Axis ใน Axis Option สามารถตั้งค่าสูงสุด ต่ำสุด ค่า Major Unit (Grid ใหญ่) Minor Unit (Grid เล็ก)ได้

การสร้างกราฟ (Insert Tab) ต่อ การเปลี่ยนประเภทกราฟ เปลี่ยนกราฟจากประเภทหนึ่งเป็นอีกประเภทหนึ่งกับทุกๆ Series (เปลี่ยนทั้งอัน) ในกรณีนี้สามารถทำได้ง่ายๆ คือ คลิ๊กที่กราฟ แล้วไปที่ Ribbon Design => Change Chart Type จากนั้นเลือกกราฟประเภทใหม่ที่ต้องการได้เลย เปลี่ยนกราฟแค่ข้อมูลบางส่วน (บาง Series) ทำให้เกิดกราฟลูกผสม ในกรณีนี้มีขั้นตอนเพิ่มจากปกติ คือ ให้เลือก Series ที่ต้องการเปลี่ยนประเภท => คลิ๊กขวาเลือก Change Series Chart Type จากนั้นเลือกกราฟประเภทใหม่ที่ต้องการได้เลย การปรับแก้การเลือกใช้ Data Source เราสามารถปรับแก้การเลือกใช้ Data Source โดยการคลิ๊ก Ribbon Design => Select Data จากนั้นมันจะขึ้นหน้าต่างออกมาดังต่อไปนี้

การสร้างกราฟ (Insert Tab) ต่อ ฝั่งซ้ายจะเป็น Data Series ที่เป็นแกน Y ฝั่งขวาเป็นแกน X การเพิ่ม Data Series ใหม่ให้กด Add / จะลบ Data Series ไหนก็กด Remove การแก้ไขว่าแต่ละ Data Series จะชื่ออะไร มีแกน X หรือ แกน Y คืออะไร ให้เลือก Data Series ที่ ต้องการแล้วกด Edit

การสร้างกราฟ (Insert Tab) ต่อ การเพิ่มแกนอันที่ 2 (Secondary Axis) มี 2 แบบด้วยกัน คือ เพิ่มแกน Y อันที่2 กับ เพิ่มแกน X อันที่ 2 เน้นที่เพิ่มแกน Y อันที่ 2 สมมติข้อมูลในคอลัมน์เพิ่มมา 1 อัน มันมีค่าน้อยมากๆ ทำให้เวลา Plot รวมกับ กับค่าอื่นๆบนแกน Y เดียวกันจะแทบมองไม่เห็นเลย ทางแก้ไขก็คือ ต้องเอาค่าที่เพิ่มมาใหม่ นี้ไป Plot ลง ใน Secondary Y-Axis นั่นเอง เลือก Series ที่เพิ่มเข้าไปใหม่แล้ว Format Data Series โดย อาจเลือกจาก Ribbon Layout => Current Selection ก็ได้ครับ => จากนั้นเลือก Format Selection หรือจะคลิ๊กขวาที่ Series ที่เพิ่มเข้าไปใหม่โดยตรงแล้วเลือก Format Data Series จากนั้นใน Series Option => เลือก Plot on Secondary Axis

การสร้างกราฟ (Insert Tab) ต่อ Exercise เปิดไฟล์ bp-statistical-review-of-world-energy-2015- workbook.xlsx สร้างกราฟ Oil Production – Barrels และ Oil - Proved reserves history ของประเทศ US Canada และ Maxico ตั้งแต่ปี 2000 ถึง 2010 โดยให้ Oil Production – Barrels เป็นกราฟเส้น ส่วน Oil - Proved reserves history ให้เป็นกราฟแท่งครับ เรื่องสีสันเอาตาม สวยงามเลยครับ ให้เวลา 10 นาที

Pivot Table (Insert Tab) เครื่องมือในการจัดการกับข้อมูลที่มีปริมาณมากให้อยู่ในรูปแบบตาราง ไม่ว่าจะเป็นการ เรียงลำดับข้อมูล รวมไปถึงการคัดเลือกเฉพาะข้อมูลที่ต้องการ เพื่อนำไปวิเคราะห์และ นำไปใช้คำนวณต่อไป

Pivot Table (Insert Tab) ต่อ ข้อควรระวัง ชื่อในหัวคอลัมน์ต้องกรอกให้ครบ ก่อนทำการ Insert pivot table การ Sort ข้อมูล ให้คลิกที่ตัวแปรที่เราสนใจแล้วกด โดยเข้า Options ตรง Ribbons ด้านบน การเพิ่มตัวแปรที่มาจากการคำนวณของข้อมูลเก่าให้เข้า Options ตรง Ribbons ด้านบน แล้วเลือก Calculated Field

Pivot Table (Insert Tab) ต่อ การกรุ๊ปข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ ในที่นี้คือการเลือกช่วงของข้อมูลเพื่อนำไปวิเคราะห์ต่อ การ Copy Pivot table เพื่อการวิเคราะห์แยก ใช้ Ctrl+c แล้วก็ Ctrl+v ได้ตามปกติเลยครับ สมมุติว่าเรามีข้อมูลเพิ่มขึ้นใหม่ (คอลัมน์เพิ่ม) ให้เราเลือกที่ Change Data Source ซึ่งอยู่ใน Options ตรง Ribbons ด้านบนแล้ว กำหนดช่วงของข้อมูลใหม่ ถ้าในกรณีที่เรามีข้อมูลอัฟเดด ทุกครั้งที่จะใช้ Pivot table ที่เราสร้างไว้แล้ว ให้เราทำ การ Refresh (สำหรับ Pivot table ที่เราเลือกอยู่) Refresh All (สำหรับ ทุกๆ Pivot table ในไฟล์นั้น) ซึ่งอยู่ใน Options ตรง Ribbons เช่นกัน

Pivot Table (Insert Tab) ต่อ Exercise เปิดไฟล์ EastNorthCentralFTWorkers_1.xls สร้าง Pivot table เพื่อวิเคราะห์ 1. หาผลรวม Yearly Earnings ในแต่ละรัฐ (State) 2. หาผลรวม Yearly Earnings ของคนดำ (Black) ที่เป็นผู้หญิง (Female) ที่อยู่ ในรัฐ Indiana 3. หาผลรวม Yearly Earnings ของคนเอเชีย (AsianPI) ที่เป็นผู้ชาย (Male) ที่ อยู่ในรัฐ Wisconsin 4. ให้แบ่งช่วงละ 50,000 USD ของ Yearly Earnings จาก 0 ไปจนถึง 500,000 USD แล้วหาการศึกษา (Education, yrs) เฉลี่ยในแต่ละรัฐ (State) ให้เวลาทั้งหมด 10 นาที

การ Filter ข้อมูล และ การตัดข้อมูลซ้ำออก (Data Tab) กด Filter ได้ 2 ที่ คือ ที่ Ribbon Home => บริเวณ Editing เลือก Sort & Filter => Filter หรือ ที่ Ribbon Data => บริเวณ Sort & Filter เลือก Filter เวลากด Filter แล้วจะมีปุ่มสี่เหลี่ยมขึ้นมาที่หัวตาราง เราสามารถกดปุ่มนั้นเพื่อเข้าสู่เมนูการ กรองข้อมูล

การ Filter ข้อมูล และ การตัดข้อมูลซ้ำออก (Data Tab) ต่อ เวลากดปุ่มกรองที่คอลัมน์ไหน มันก็จะกรองข้อมูลโดยใช้หลักเกณฑ์จากคอลัมน์ที่เรากำลังกด ถ้าจะคัดกรองค่าแบบเจาะจง เวลากดแล้วมี Check Box อันไหนที่ไม่อยากให้เห็นให้ติ๊กอ อกได้เลย ถ้าจะคัดกรองค่าแบบกำหนดเงื่อนไข ถ้าข้อมูลเป็น Text จะมีให้เลือก Text Filter ซึ่งเลือกได้ว่าจะเอาช่องที่มีข้อความ อะไรก็ได้, ขึ้นต้นด้วยคำนี้, ลงท้ายด้วยคำนี้ เป็นต้น ถ้าข้อมูลเป็น Number จะมีให้เลือก Number Filter ซึ่งเลือกได้ว่า เอาค่าที่มากกว่าเท่าไหร่ น้อยกว่าเท่าไหร่ หรือจะแสดง Top10 ของข้อมูลก็ได้ เป็นต้น Filter ต่างจาก Hide ตรงที่หากเรา Copy ไป Paste ที่อื่น ข้อมูลที่ถูกกรองทิ้งจะไม่ ถูก copy ไปด้วย (แต่ข้อมูลที่ Hide ไว้ยังถูก Copy ไป)

การ Filter ข้อมูล และ การตัดข้อมูลซ้ำออก (Data Tab) ต่อ Advanced Filter เป็นการกรองข้อมูลชั้นสูง ซึ่งมีความยืดหยุ่นในการกรองข้อมูลมาก สามารถกรอง ได้ทีละหลายๆเงื่อนไข นอกจากนี้ยังสามารถตัดข้อมูลที่ซ้ำกันออกได้ด้วย ประเด็นสำคัญ ของ Advanced Filter สามารถใช้เครื่องมือได้ที่ Ribbon Data => บริเวณ Sort & Filter เลือก Advanced เลือก Location ได้ ว่า จะ Filter อยู่กับที่ (Filter the list, in-place) หรือ จะเอาข้อมูลที่กรองแล้ว Copy ออกไปไว้ที่อื่นเลย (Copy to another location แต่ต้องเป็นชีทเดียวกัน) ตรงนี้สามารถไปสร้างหัวตาราง ที่เรียงลำดับและจำนวนอาจไม่เหมือนต้นฉบับได้ เครื่องมือมันจะโปรยข้อมูลลงให้ถูกช่องเอง List Range ให้เลือก Data Source ของเรา Criteria Range ให้เลือกว่าเรามีเงื่อนไขการคัดกรองอย่างไร Unique Records Only เอาไว้ติ๊กหากต้องการกำจัดข้อมูลที่ซ้ำกันออก

การ Filter ข้อมูล และ การตัดข้อมูลซ้ำออก (Data Tab) ต่อ การตัดข้อมูลซ้ำออกโดย Remove Duplicates ทำให้เรารู้ว่าข้อมูลในคอลัมน์ใดๆของเรา มีกี่ชนิด เพื่อนำไปใช้ใส่ฟังก์ชันหรือการคำนวณต่อไป หรือจะเป็นการตัดแถวของข้อมูลที่ซ้ำกันออก สาธิตการใช้

การคำนวณ และ Function (Formulas Tab) การใส่สูตรคำนวณใน Excel มีสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจดังนี้ กฎเกณฑ์เกี่ยวกับการคำนวณ เมื่อใช้สูตรในการคำนวณจะต้องเริ่มต้นด้วยเครื่องหมาย (=) เสมอ การคำนวณจะขึ้นอยู่กับลำดับความสำคัญของเครื่องหมาย ถ้าความสำคัญเท่ากันจะคำนวณจากซ้ายไปขวา ข้อความที่อยู่ในสูตรคำนวณจะต้องใส่เครื่องหมาย (“”) ครอบข้อความเสมอ

การคำนวณ และ Function (Formulas Tab) ต่อ ลำดับความสำคัญของเครื่องหมาย = (2*4)^2/4+7 = 8^2/4+7 = 64/4+7 = 16+7 = 23 = (40*50%)+3^3-81/3^2 = ? ลำดับ เครื่องหมาย 1 ( ) 2 % 3 ^ 4 * และ / 5 + และ -

การคำนวณ และ Function (Formulas Tab) ต่อ เครื่องหมายการเชื่อมข้อความ (Text Formula) เครื่องหมายในการเปรียบเทียบ (Comparison Formula) เครื่องหมาย ความหมาย & เชื่อมข้อความ เครื่องหมาย ความหมาย ตัวอย่างสูตร = เท่ากับ =a1>=100 ถ้า a1 มีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 100 จะได้ผลลัพธ์ True แต่ถ้า a1 มีค่าน้อยกว่า 100 จะได้ผลลัพธ์ False > มากกว่า < น้อยกว่า >= มากกว่าหรือเท่ากับ <= น้อยกว่าหรือเท่ากับ <> ไม่เท่ากับ

การคำนวณ และ Function (Formulas Tab) ต่อ เครื่องหมายในการอ้างอิง (Reference Formula) เครื่องหมาย ความหมาย ตัวอย่างสูตร (:) (โคลอน) เลือกช่วงข้อมูลที่อยู่ติดกัน a1:b5 หมายถึงช่วง Cell ตั้งแต่ a1 ถึง b5 ( ) (เว้นวรรค) เลือกเฉพาะข้อมูลซ้ำ (Intersection) a1:c1 c1:c3 หมายถึงช่วง Cell ที่ซ้ำกันของช่วง Cell ตั้งแต่ a1 ถึง c1 และ c1 ถึง c3 ฉนั้นผลลัพธ์คือ c1 (,) (คอมม่า) เลือกช่วงข้อมูลที่ไม่อยู่ติดกัน (Union) a1:c1, b5:b10 หมายถึงเลือกช่วง Cell a1 ถึง c1 และ b5 ถึง b10

การคำนวณ และ Function (Formulas Tab) ต่อ สูตรประกอบด้วยสิ่งหนึ่งสิ่งใดต่อไปนี้หรือทั้งหมดก็ได้ ฟังก์ชัน การอ้างอิง ตัวดำเนินการ และ ค่าคงที่ การป้อนสูตรมี 2 วิธี ป้อนสูตรใน Formula Bar ป้อนสูตรในช่องเซลล์โดยใช้เมาส์ กรณีที่ใช้จำนวนจริงแทนการอ้างอิงเซลล์ในการกำหนดสูตร เมื่อค่าของจำนวนนั้นๆ มีการ เปลี่ยนแปลง ผลลัพธ์ที่ได้จะไม่เปลี่ยนแปลงตาม แต่หากใช้การอ้างอิงตำแหน่งเซลล์ เมื่อมีการ เปลี่ยนแปลงจำนวนในช่องเซลล์นั้นๆ ผลลัพธ์ที่ได้จะเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย ตัวดำเนินการ ค่าคงที่ =PI()*A2^2 ฟังก์ชั่น การอ้างอิง

การคำนวณ และ Function (Formulas Tab) ต่อ การอ้างอิงเซลล์ อ้างอิงแบบสัมพัทธ์ (Relative) หมายความว่า เซลล์ใด ที่มีการอ้างอิงแบบสัมพัทธ์ เมื่อถูกcopy ไปยังเซลล์ใหม่ เซลล์ที่ถูกอ้างอิงในสูตรจะมีการเปลี่ยนแปลง เช่น ในเซลล์ C1 กำหนดสูตร =A1+B1  ถ้าทำสำเนาสูตรจาก C1 ไป C2 ได้สูตร =A2+B2  ถ้าไปไว้ที่ D1 จะได้สูตร =B1+C1 การอ้างอิงแบบสัมบูรณ์(Absolute) หมายความว่า เซลล์ใดที่มีการอ้างอิงแบบสัมบูรณ์ เมื่อถูก สำเนาไปยังเซลล์ใหม่ เซลล์ที่ถูกอ้างอิงในสูตรแบบสัมบูรณ์จะไม่มีการเปลี่ยนแปลง ตังอย่าง ในเซลล์ B4 กำหนดสูตร =$B$2+$C$3 ถ้าทำการสำเนาสูตร =$B$2+$C$3  จากเซลล์ B4 ไปยัง เซลล์ C5 สูตรใน C5 ก็จะยังเหมือนเดิม การเปลี่ยนการอ้างอิงเซลล์ โดยกดปุ่ม F4  จะปรากฏชนิดของการอ้างอิงแต่ละชนิดตามที่ต้องการ โดย จะมีรูปแบบของการใส่เครื่อง $ กำกับเซลล์ $a$1จะเป็นการตรึงทั้ง Column(a) และ Row(1) b$6 จะเป็นการตรึงเฉพาะ Row(6) $c3 จะเป็นการตรึงเฉพาะ Column(c)

การคำนวณ และ Function (Formulas Tab) ต่อ การอ้างอิงเซลล์ที่อยู่ต่าง Worksheet = ชื่อ Worksheet ! ตำแหน่งอ้างอิงของเซลล์ การอ้างอิงเซลล์ที่อยู่ต่าง Workbook = ตำแหน่งเก็บ Workbook\(ชื่อ Workbook.xls) ชื่อ Worksheet ! ตำแหน่งอ้างอิงของเซลล์

การคำนวณ และ Function (Formulas Tab) ต่อ ความผิดพลาดการป้อนสูตรคำนวณ ข้อผิดพลาด สาเหตุ วิธีแก้ไข #### ตัวเลขใน Cell ยาวกว่าขนาด Column ขยายความกว้าง Column #DIV/0! นำ 0 มาเป็นตัวหาร ตรวจสอบตัวหาร #N/A มีการอ้างอิงเซลล์ที่ไม่มีค่าหรือไม่มีข้อมูลในสูตร ตรวจสอบตำแหน่งที่อ้างอิง #NAME ในสูตรคำนวนมีส่วนข้อความที่ Excel ไม่รู้จัก เช่นพิมพ์ Function ผิดจาก sum เป็น som ตรวจสอบชื่อ Function #REF! ไม่พบตำแหน่ง Cell ที่อ้างอิง #VALUE! ใช้สูตรผิดหลักไวยากรณ์เช่น =a1+a2 โดยที่ a1 หรือ a2 ไม่ใช่ตัวเลข หรือ สูตรมีการใช้อากิวเมนต์หรือโอเปอเรเตอร์ ผิดรูปแบบ ตรวจสอบประเภทของข้อมูลใน Cell หรือ ตรวจสอบ อากิวเมนต์และโอเปอเรเตอร์

การคำนวณ และ Function (Formulas Tab) ต่อ การใช้ Function คล้ายกับการใช้สูตรคำนวณทางคณิตศาสตร์ โดยมีรูปแบบการใช้งานคือ = function(argument1, argument2, ...) ค่าอาร์กิวเมนต์ คือ ข้อมูลที่ใส่ให้กับฟังก์ชั่นเพื่อใช้สำหรับคำนวณหาผลลัพธ์ อาร์กิวเมนต์อาจเป็นข้อมูลอะไรก็ได้ เช่น. ชื่อเซลล์ ,ตัวเลข,ข้อความ,วันที่-เวลา ขึ้นอยู่กับรูปแบบการใช้งานของฟังก์ชั่นนั้นๆ ซึ่งแต่ละฟังก์ชั่นอาจไม่เหมือนกัน

Function

Function IF ใช้ตรวจสอบเงื่อนไขที่เราสนใจ ซึ่งถ้าหากเป็นจริงก็ให้ดำเนินการอย่างหนึ่ง แต่ถ้าผลลัพธ์เป็นเท็จก็ให้ดำเนินการอีกอย่างหนึ่ง รูปแบบ logical_test หมายถึง เงื่อนไขเพื่อทำการตรวจสอบค่า value_if_true หมายถึง ค่าที่ใช้สำหรับแสดงผล เมื่อเงื่อนไขเป็นจริง value_if_false หมายถึง ค่าที่ใช้สำหรับแสดงผล เมื่อเงื่อนไขเป็นเท็จ

ตัวอย่างการใช้งาน Function if ใน Microsoft Excel 2007

กรณีมีหลายเงื่อนไข

Function ในการหาผลรวมของข้อมูลปกตินิยมใช้ ฟังชั่น Sum กรณีที่ต้องหาผลรวมแบบมีเงื่อนไขสามารถใช้ฟังชั่นอื่นๆได้เช่น Sumif หรือ Sumproduct

Sumif เป็นคำสั่งตรวจเงื่อนไขก่อนการหาผลรวมของข้อมูล รูปแบบ range หมายถึง ช่วงข้อมูลที่เราสนใจ criteria หมายถึง เงื่อนไขที่ใช้ sum_range หมายถึง ช่วงของข้อมูลที่ใช้ในการรวมเมื่อเงื่อนไขเป็นจริง

ตัวอย่างการใช้งาน Function Sumif ใน Microsoft Excel 2007 ตัวอย่างการหาผลรวมยอดขายแต่ละประเภทสินค้า

Sumproduct เป็นสูตรที่ใช้สำหรับ การหาผลคูณของคอลัมน์ตั้งแต่ 2 คอลัมน์ขึ้นไป และเอาผลที่ได้จากการคูณนั้น มารวมกัน รูปแบบ array1 หมายถึง ช่วงข้อมูล1 array2 หมายถึง ช่วงข้อมูล2 array3 หมายถึง ช่วงข้อมูล3

ตัวอย่างการใช้งาFunction Sumproduct ใน Microsoft Excel 2007 ตัวอย่างการหาผลรวมเงินของราคาสินค้าแบบมีเงื่อนไข

กรณีมีหลายเงื่อนไข

Function Function ในการนับจำนวนเซลล์ ใช้ในการนับจำนวนเซลล์ภายในพื้นที่ที่กำหนดภายใต้เงื่อนไขใด ๆ ส่วนใหญ่จะใช้ร่วมกับฟังก์ชันอื่น ๆ เช่นCount, Counta, Countblank และ Countif

Countif เป็นคำสั่งในการนับจำนวนของเซลล์ภายในช่วงที่เราสนใจซึ่งตรงตามเงื่อนไขที่ระบุ รูปแบบ range หมายถึง ช่วงของข้อมูลที่เราสนใจ criteria หมายถึง เงื่อนไขที่ใช้ เมื่อต้องการนับจำนวนเซลล์ที่เป็นตัวเลขให้ใช้ Count ข้อมูลทั้งหมดให้ใช้ Counta หรือเซลล์ที่ว่างให้ใช้ Countblank

ตัวอย่างการใช้งาน Function Countif ใน Microsoft Excel 2007 ตัวอย่างการนับพนักงานที่มีเงินเดือนน้อยกว่า 10000

Vlookupใช้สำหรับหาค่าในตารางข้อมูลแนวตั้ง โดยหาค่า (ที่เหมือน หรือ ใกล้เคียง) จากคอลัมน์แรกของตาราง และคืนค่าเป็นข้อมูลที่อยู่ในแถวเดียวกัน จากคอลัมน์ที่ระบุลงไปใน Argument ของฟังก์ชั่น ฟังก์ชั่น Vlookup จะไปหาค่าที่ต้องการจากตาราง และก็คืนค่าของคอลัมน์ใดๆ ในตารางนั้นๆ ที่ต้องการมา V ย่อมาจาก Vertical ซึ่ง Vlookup จะใช้กับตารางข้อมูลแนวตั้ง ซึ่งเป็นลักษณะของตารางที่ใช้กันตามปกติ  โดยคอลัมน์ที่ต้องการจะหาค่าต้องอยู่ด้านซ้ายสุดของตารางเสมอ

รูปแบบ lookup_value เป็นค่าที่ต้องการหาสามารถเป็นได้ทั้งตัวเลข หรือตัวอักษร หรือเซลล์อ้างอิง โดยตัวพิมพ์เล็กและตัวพิมพ์ใหญ่มีค่าเหมือนกัน (Non-case-sensitive) table_array เป็นตารางที่เราต้องการไปหาค่า อาจเป็นช่วงเซลล์ หรือ Range Name ก็ได้ โดยคอลัมน์แรกของตารางต้องเป็นสิ่งที่เราต้องการให้ lookup_value มาเทียบค่า table_array col_index_num เป็นเลขลำดับคอลัมน์ของตาราง (table_array) ซึ่งเป็นคอลัมน์ที่ต้องการให้ดึงค่ามา range_lookup ถ้าเป็น TRUE หรือละไว้ จะเอาค่าที่ใกล้เคียงมา ถ้าเป็น FALSE หรือ 0 จะนำค่าที่ตรงกันมา

ตัวอย่างการใช้งาน Vlookup ใน Microsoft Excel 2007 ตัวอย่างการหา VLOOKUP แบบตรงตัว (Exact Match)

แบบค่าเป็นช่วง (Approximate Match) จะใช้หาค่าที่ตกอยู่ในช่วง เช่น การคำนวณเกรด หรือภาษี โดยดูเงินได้เทียบกับช่วงของอัตราภาษีระดับต่างๆ โดยจะละเงื่อนไขใน range_lookup หรือจะใส่เป็น TRUE ก็ได้ การใช้งาน Vlookup แบบนี้จะใช้กับหาค่าที่เป็นช่วง เช่น การตัดเกรด หรือ การคำนวณช่วงอัตราภาษี การใช้ฟังก์ชั่น Vlookup แบบนี้ ค่าในคอลัมน์แรกต้องเรียงตามลำดับจากน้อยไปมาก ฟังก์ชั่น Vlookup จะไปหาค่าที่เหมือนกันก่อน ถ้าไม่เจอก็จะไปหาค่าที่มากที่สุด แต่น้อยกว่าค่าที่ต้องการหา แล้วก็จะไปนำค่าของคอลัมน์ที่เราต้องการมาแสดง

ตัวอย่างการใช้งาน Vlookup ใน Microsoft Excel 2007 ตัวอย่างการหา VLOOKUP แบบค่าเป็นช่วง (Approximate Match)

Hlookup ใช้สำหรับหาค่าในตารางข้อมูลแนวนอน โดยหาค่า (ที่เหมือน หรือ ใกล้เคียง) จากแถวบนสุดของตาราง และคืนค่าเป็นข้อมูลที่อยู่ในคอลัมน์เดียวกัน จากแถวที่ระบุ ฟังก์ชั่น Hlookup (H ย่อมาจาก Horizontal) มีลักษณะโครงสร้างสูตรที่เหมือนกับ Vlookup เพียงแต่ตารางที่ใช้อ้างอิงนั้นจะเป็นตารางแบบแนวนอน แต่ฟังก์ชั่น Hlookup ไม่ค่อยได้ใช้กัน เนื่องจากตารางส่วนใหญ่เป็นตารางข้อมูลในแนวตั้ง (จะใช้ Vlookup เป็นส่วนใหญ่)

รูปแบบ lookup_value เป็นค่าที่ต้องการหา สามารถเป็นได้ทั้งตัวเลข หรือตัวอักษร หรือเซลล์อ้างอิง โดยตัวพิมพ์เล็กและตัวพิมพ์ใหญ่มีค่าเหมือนกัน (Non-case-sensitive) table_array เป็นตารางที่เราต้องการไปหาค่า อาจเป็นช่วงเซลล์ หรือ Range Name ก็ได้ โดยแถวแรกของตารางต้องเป็นสิ่งที่เราต้องการให้ lookup_value มาเทียบค่า table_array row_index_num เป็นเลขลำดับแถวของตาราง (table_array) ซึ่งเป็นแถวที่ต้องการให้ดึงค่ามา range_lookup ถ้าเป็น TRUE หรือละไว้ จะเอาค่าที่ใกล้เคียงมา ถ้าเป็น FALSE หรือ 0 จะนำค่าที่ตรงกันมา

Function อื่นๆ Average หาค่าเฉลี่ย Median หาค่ากลาง Max หาค่าสูงสุดของตัวเลข Min หาค่าต่ำสุดของตัวเลข Rank หาลำดับของข้อมูล Round การกำหนดเศษของทศนิยมของตัวเลข Upper แปลง Cell ข้อความตัวอักษรให้เป็นตัวพิมพ์ใหญ่ Lower แปลง Cell ข้อความตัวอักษรให้เป็นตัวพิมพ์เล็ก Bathtext แปลงตัวเลขเงินบาทให้กลายเป็นตัวหนังสือ Value แปลงข้อความให้กลายเป็นตัวเลขที่ใช้คำนวณต่อได้ Right ตัดข้อความให้เหลือตามจำนวนที่ต้องการนับจากขวา Left เหมือน Right แต่นับจากซ้าย Mid ตัดข้อความโดยกำหนดจุดเริ่ม Len นับจำนวนอักษร

Exercises เปิดไฟล์ Excercise_Function.xlsx ในไฟล์ประกอบด้วยคะแนนของนักเรียน 1000 คน หาค่าเฉลี่ยของนักเรียนทั้งหมด และ ตัดเกรดของนักเรียนทั้งหมดโดยใช้เกณฑ์ตามข้างล่างนี้ และแสดงผลว่ามีนักเรียนได้เกรดอะไรบ้างอย่างละกี่คน ให้เวลา 15 นาที ช่วงคะแนน เกรด 0 - 50 F 51 - 60 D 61 - 70 C 71 - 80 B 81 - 100 A

Exercises เปิดไฟล์ Excercise_Function2.xlsx จงหาค่าดังต่อไปนี้ ผลรวมของ Tax Inclusive ของหัวข้อ Bank Code ที่อยู่ในหมวด PC ผลรวมของ Tax Inclusive ของผู้ผลิต (Supplier) HP Finance ของหัวข้อ Description ที่อยู่ในหมวด Capital repayment และ EAG Brokers ที่มีการจ่ายเงิน (Payment) ในปี2012 นับจำนวน Account Code ที่ขึ้นต้นด้วย IS โดยที่หัวข้อ Reference อยู่ในหมวด Bank Statement กับ Debit Order ให้เวลา 10 นาทีครับ

จบ Function

การใช้ Goal Seek และ Data Table (Data Tab) Goal Seek เครื่องมือที่ใช้วิเคราะห์ว่าต้องมีค่าตัวแปรเท่าใดจึงจะได้เป้าหมายตามที่ กำหนดไว้ Data Table หรือที่เรียกว่า Sensitivity Analysis คือการเปลี่ยนค่าของตัว แปรใดๆเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ใดๆออกมา ในที่นี้จะสามารถเปลี่ยนค่าของตัวแปรใดๆให้อยู่ในช่วง ที่เราต้องการ ได้ถึงสองตัวแปรครับ สาธิตการใช้

การใช้ Goal Seek และ Data Table (Data Tab) ต่อ Exercise เปิด Excel File เปล่าแล้วสร้างตารางผ่อนรถโดยมีรายละเอียดดังนี้ ราคารถ 1,000,000 บาท อัตราการดาวน์มีผลต่ออัตราดอกเบี้ย ดาวน์ 10% ดอกเบี้ย 3%คงที่ต่อปี ดาวน์ 20% ดอกเบี้ย 2.5%คงที่ต่อปี ดาวน์ 30% ดอกเบี้ย 2%คงที่ต่อปี จงหาเงินที่ต้องผ่อนต่อเดือน ในกรณีที่ผ่อน 3, 4, 5, 6, 7 และ 8 ปี ให้เวลา 10 นาที ดอกเบี้ยคงที่ในที่นี้ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าราคาสินค้า 100 บาท เราดาวน์ไป 50 บาท ถ้าสมมติ ดอกเบี้ย 2% คงที่ต่อปี สมมติเราผ่อน 4 ปี ดังนั้นเราจะต้องเสียดอกเบี้ยทั้งหมด เท่ากับ 50 (บาท) คูณ 2/100 คูณ 4 (ปี) เงินดาวน์ บาท ผ่อน3ปีเดือนละ บาท … ผ่อน8ปีเดือนละ บาท ดาวน์ 10% xxx ดาวน์ 20% ดาวน์ 30%

Linear Programming (Add-in) การโปรแกรมเชิงเส้น เป็นเทคนิคเชิงปริมาณที่อาศัยวิธีทางคณิตศาสตร์ในการ แก้ปัญหาการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด วัตถุประสงค์ของ LP - Maximize Profit: มุ่งหวังกำไรสูงสุด กับ Minimize Cost : มุ่งหวังต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายต่ำสุด ขั้นตอนหลัก การกำหนดตัวแปรของปัญหา การกำหนดสมการเป้าหมาย การสร้างข้อจำกัด การสร้างตัวแปรทุกตัวให้มีค่าไม่ติดลบ สาธิตการทำ

Linear Programming (Add-in) ต่อ Exercise นายเอมีเงินอยู่ 2,000,000 บาท ต้องการนำเงินจำนวนนี้ไปลงทุนในหลักทรัพย์ต่าง ๆ ซึ่ง หลักทรัพย์แต่ละชนิดให้ผลตอบแทนต่างกันไปดังนี้ ฝากประจำ ได้ดอกเบี้ย ร้อยละ 3 ต่อปี ซื้อหุ้น ผลตอบแทนประมาณ 15% ต่อปีของเงินลงประทุน ซื้อพันธบัตรรัฐบาล ผลตอบแทนประมาณ 7% ต่อปี นายเอมีหลักการในการลงทุนเพื่อกระจายความเสี่ยงดังต่อไปนี้ เขาจะลงทุนในหุ้นไม่เกิน ¼ ของเงินทั้งหมด และ เขาจะฝากประจำเป็น 2 เท่า ของเงินที่ใช้ในการซื้อหุ้น รัฐบาล กำหนดให้ผู้ต้องการซื้อพันธบัตรรัฐบาลซื้อได้ไม่เกิน 1 ล้านบาท ต่อคน ช่วยหาว่านายเอควรลงทุนยังไงเพื่อให้ได้ผลตอบแทนสูงสุด ให้เวลา 10 นาที

End Thank You

References data.worldbank.org/sites/.../total_and_per_capita_wealth_of_nations.x ls. dusit.ac.th/~msportfolio/public/.../QA_บทที่4.ppt http://arit.rmutp.ac.th/wp-content/uploads/2011/05/excel2010.pptx. http://ge.kbu.ac.th/Download_files/img/Excel%202.ppt. http://skn.ac.th/poramast/poramast5.ppt. http://www.boxofficemojo.com/alltime/world/ http://www.contextures.com/xlSampleData01.html http://www.crma.ac.th/msdept/data/basiccom.ppt. http://www.excel-skills.com/exercises/excel_exercise5.xlsx http://www.inwexcel.com/basic-graph-chart/

References http://www.inwexcel.com/basic-graph-chart2/ http://www.inwexcel.com/filter-sort/ http://www.navy.mi.th/ncd/main/knowledge/store_knowledge/1011081021 17/p1R.ppt. http://www.stech.ac.th/blogs/0285/wp- content/uploads/2011/12/AdvExcel.pptx https://www.youtube.com/watch?v=_3AXq4FZRck www.bp.com/.../statistical.../bp-statistical-review-of-world-energy-2015- wo… http://www.geocities.ws/chalong_sri/LP2.htm www3.wabash.edu/econometrics/.../EastNorthCentralFTWorkers.xls