ความหมายของการสื่อสาร ๑. การติดต่อกันระหว่างมนุษย์ ๒. การรับรู้เรื่องราวอันมีความหมายร่วมกัน ๓. การตอบสนองที่เกิดขึ้น
หลักการสื่อสาร ๑. ต้องเป็นไปเพื่อให้เกิดการรับรู้เรื่องราวร่วมกันได้อย่าง มีความหมายถูกต้องตรงกันโดยครบถ้วน ๒. ต้องเป็นไปเพื่อให้เกิดการตอบสนองตรงตามที่ต้องการ
องค์ประกอบของการสื่อสาร ๑. ใคร ได้แก่ ผู้ส่งสาร ( SENDER ) ๒. กล่าวอะไร ได้แก่ สาร ( MESSAGE ) ๓. ติดต่อทางใด ได้แก่ ช่องทางติดต่อ ( CHANNEL ) หรือ สื่อ ( MEDIA ) ๔. แก่ใคร ได้แก่ ผู้รับสาร ( RECEIVER ) ๕. ด้วยผลอะไร ( EFFECT )
ประเภทของสื่อ ๑. สื่อธรรมชาติหรือสื่อสามัญ ๒. สื่อบุคคลหรือสื่อมนุษย์ ๓. สื่อสิ่งพิมพ์ ๔. สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ๕. สื่อเฉพาะกิจหรือสื่อระคน
การสื่อสาร การรับรู้เรื่องราวร่วมกันได้อย่างมีความหมายถูกต้อง โดยมีการตอบสนองตรงตามต้องการ ๔๕ % ๓๐ % ๑๕ % ๑๐ %
เสียง/แสง/ความพร้อมฯ ๑.สื่อธรรมชาติ ๒. สื่อมนุษย์ ๓. สื่อสิ่งพิมพ์ ๔. สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ๕.สื่อระคน วัจนภาษา อวัจนภาษา ภาษา... ๑.ข้อเท็จจริง ๒.ข้อคิดเห็น การฟัง- การอ่าน การพูด-การเขียน ผู้ส่งสาร สาร สื่อ ผู้รับสาร + ปฏิกิริยาตอบสนอง สภาพแวดล้อมต่างๆ เสียง/แสง/ความพร้อมฯ พูด-เขียน-ท่าทางต่างๆ
กระบวนการฟังมี ๕ ขั้นตอน กระบวนการฟังมี ๕ ขั้นตอน ได้ยิน พุ่งความสนใจ เข้าใจ ตีความ ตอบสนอง
ศิลปะในการฟัง ฟังด้วย ดูด้วย กลั่นกรองด้วย พิจารณาด้วย อาศัยการ
ค. กระดาษเขียนจดหมาย ง.ข้อแนะนำ ข้อใดไม่ใช่สื่อ ก. ไมโครโฟน ข. โทรศัพท์ ค. กระดาษเขียนจดหมาย ง.ข้อแนะนำ ข้อใดแสดงว่าการสื่อสารไม่ประสบผลสำเร็จ ก. วรพงษ์อ่านกลอนรักแล้วนั่งทำตาหวานเชียวนะ ข. มาตรงเวลานัดพอดี ค. ผมทำรายงานมาส่งครูตามกำหนดแล้วครับ ง. นี่มันกระเทียมนะ ฉันให้ไปซื้อหัวหอมต่างหาก
“คนึงนิจทำการบ้านไม่ได้ เธอรู้สึกรำคาญเสียงเพื่อนๆ ที่คุยกันดังลั่น” ข้อความนี้มีอุปสรรคในด้านใด ก. สื่อ ข. สาร ค. ผู้ส่งสาร ง. สภาพแวดล้อม “ศิริพงษ์ส่งรายงานที่พิมพ์ด้วยตัวพิมพ์เลอะเลือนให้คุณครู” อุปสรรคของการสื่อสารเกิดด้วยเหตุใดเป็นสำคัญ ก. ผู้ส่งสาร ข. ผู้รับสาร ค. สาร ง. สื่อ
“กุ้งนาง…นารีรัตน์ฝากบอกว่าของที่เธอส่งไปให้นั้นได้รับแล้วนะ” “ขอบใจจ๊ะ สุดารัตน์ แล้วนั่นเธอกำลังจะไปไหน” “ไปซื้อของที่ตลาดจ๊ะ” จากสถานการณ์นี้ใครคือผู้ส่งสาร ก. กุ้งนาง ข. นารีรัตน์ ค. สุดารัตน์ ง. กุ้งนางและสุดารัตน์
“สีซอให้ควายฟัง” สำนวนนี้สะท้อนให้เห็นอุปสรรคด้านใด ก. สาร ข. สื่อ ค. ผู้ส่งสาร ง. ผู้รับสาร ข้อใดไม่ได้ใช้อวัจนภาษา ก. แม่เบือนหน้าหนีจากภาพนั้นด้วยความสงสาร ข. คุณผู้หญิงเอามือลูบไล้ขนอันสกปรกของมัน ค. แม่นั่งเขียนจดหมายถึงพ่อบอกว่าสบายดี ง. เขาสะดุ้งครั้งหนึ่งแล้วนอนแน่นิ่งเงียบไป
๒. เชาว์พงษ์แอบมองน้องฟางทุกครั้งที่มีโอกาส ข้อความต่อไปนี้เป็นอวัจนภาษาประเภทใด ๑. ราตรียกมือไหว้ครู ๒. เชาว์พงษ์แอบมองน้องฟางทุกครั้งที่มีโอกาส ๓. ศิริชัยยืนห่างจากเพื่อนหญิงประมาณ ๑ เมตร ๔. โสภาวรรณรีบโทรศัพท์ไปบอกเลิกนัดกับหวานใจเพราะติดประชุม ๕. ห้องแคบอุตส่าห์แอบไม่แออัด รู้จักจัดเครื่องเรือนไว้ใช้สอย ๖. เอิบชัยเดินคล้องแขนกับภรรยาเข้าไปในงานเลี้ยง ๗. “อย่าไปจากผม” ฉันร้องลั่น ฉันร้องเสียงหลงอีกหลายครั้ง
๑. ทะเลที่พัทยาสวยที่สุดในประเทศไทย ข้อความต่อไปนี้เป็นสารประเภทใด ๑. ทะเลที่พัทยาสวยที่สุดในประเทศไทย ๒. การอ่านออกเสียงภาษาไทยพบว่า ออกเสียง ร เสียงตัวควบกล้ำไม่ได้ทางวงการศึกษาพยายามหาทางแก้ไข โดยการตั้งคลินิกรักภาษาไทยในโรงเรียนมัธยมศึกษา ๓. “การเรียนไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องอาศัยความมานะอดทน พยายาม แล้วก็ไม่ใช่อ่านแต่ตำราอย่างเดียว เดี๋ยวนี้ต้องอ่านหนังสือทั่วไปๆ ด้วย แล้วก็อย่าลืมคิดด้วย ไม่ใช่สักแต่จำๆๆ จะถูกล้างสมองไม่รู้ตัว”
“นกปากห่างเป็นนกในวงศ์นกกระสา มีความสูงโดยเฉลี่ย ๒ “นกปากห่างเป็นนกในวงศ์นกกระสา มีความสูงโดยเฉลี่ย ๒.๕ ฟุต”ข้อความนี้จัดเป็นสารประเภทใด ก. สารที่เป็นข้อแนะนำ ข. สารที่เป็นข้อคิดเห็น ค. สารที่เป็นข้อเท็จจริง ง. สารที่แสดงอารมณ์ “การเป็นดาราไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องมีความอดทนทั้งที่ทำงาน และคำวิจารณ์ ดิฉันเห็นว่าวงการนี้ต้องอาศัยประสบการณ์ ความรับผิดชอบ และการตรงต่อเวลาจึงจะประสบความสำเร็จ”
ลักษณะสำคัญของภาษาไทย
ผู้จัดการให้เงินคุณนารีรัตน์ใช้ เขา เคย ให้ ทำ เขาเคยทำให้ เขาทำให้เคย เคยเขาให้ทำ ทำให้เขาเคย เขาเคยให้ทำ เคยให้เขาทำ เคยให้ทำเขา ทำเขาให้เคย เขาให้เคยทำ เคยทำให้เขา ให้เขาเคยทำ ผู้จัดการใช้เงินให้คุณนารีรัตน์ ผู้จัดการให้เงินคุณนารีรัตน์ใช้
๑. ภาษาไทยเป็นภาษาเรียงคำ ประธาน + กริยา + กรรม (ผู้กระทำ) (ภาคแสดง) (ผู้ถูกกระทำ) การเรียงลำดับคำมีความสำคัญที่สุด เมื่อเข้าประโยคต้องเรียงคำตามตำแหน่งหน้าที่ การเรียงคำผิดตำแหน่ง ความหมายจะเปลี่ยนไป ๑. ภาษาไทยเป็นภาษาเรียงคำ
- นายขาวบอกข่าวว่าปีนี้ขายข้าวได้ราคา - นายขาวบอกข่าวว่าปีนี้ขายข้าวได้ราคา ขาว เป็นคำที่มีเสียงวรรณยุกต์จัตวา หมายถึง ชื่อสีสีหนึ่ง ข่าว เป็นคำที่มีเสียงเอก หมายถึง ข้อความที่บอกเล่าเรื่องราวต่างๆ โดยปกติมักเป็นเรื่องที่เกิดใหม่หรือเป็นเรื่องที่น่าสนใจ ข้าว เป็นคำที่มีเสียงวรรณยุกต์โท หมายถึง พืชชนิดหนึ่งที่ใช้เมล็ด เป็นอาหาร
๒. ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์ มีระบบเสียงสูงต่ำ คำแต่ละคำมีเสียงสูงต่ำ เสียงหนึ่งความหมายอย่างหนึ่ง หากเปลี่ยนเสียง ความหมายย่อมเปลี่ยนไปด้วย
๓. ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีลักษณนาม ๓. ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีลักษณนาม - บอกลักษณะของคำนาม ข้าวโพด ๑๐ ฝัก แหวน ๒ วง - เพื่อบอกลักษณะที่ต่างกันของนามนั้น กระดาษแผ่นนี้ กระดาษม้วนนี้
พระมหากษัตริย์ ใช้ สวรรคต พระบรมวงศานุวงศ์ ใช้ สิ้นพระชนม์ สิ้นชีพิตักษัย ถึงแก่พิราลัย พระสงฆ์ ใช้ มรณภาพ ขุนนาง ข้าราชการ ใช้ อสัญกรรม อนิจกรรม สุภาพชน ใช้ ถึงแก่กรรม เสียชีวิต ตาย
ส่งจดหมายทางไปรษณีย์ โรงภาพยนตร์ โรงหนัง ใบอนุญาตขับรถยนต์ ใบขับขี่ หนังสือรับรอง ใบรับรอง ช่องเดินรถประจำทาง บัสเลน รถประจำทาง รถเมล์ ดวงตราไปรษณียากร แสตมป์ งานมงคลสมรส งานแต่งงาน ทิ้งจดหมาย ส่งจดหมายทางไปรษณีย์
ผ่านหนังสือไปตามลำดับขั้น โดยเขียนข้อความและชื่อกำกับไว้ ฌาปนกิจศพ เผาศพ ออกลูก รดน้ำแต่งงาน แทงเรื่อง เยอะแยะ ยังงั้น ยังงี้ ยังไง คะ ครับ ซิ นะ เถอะ คลอดลูก หลั่งน้ำพระพุทธมนต์ ผ่านหนังสือไปตามลำดับขั้น โดยเขียนข้อความและชื่อกำกับไว้ มาก อย่างนั้น อย่างนี้ อย่างไร (ระดับทางการขึ้นไปไม่ใช้คำเหล่านี้)
ข้อใดไม่ใช่วัจนภาษา อยู่สี่วันแซลบันขุนนางใหญ่ บัญชาให้คนขำนำอักษร ฝ่ายนงลักษณ์เลิศลบภพไตร มายืนใกล้พวกเรากล่าวสุนทร ต้องทำเบือนเชือนเฉยจนเลยเลี้ยว ประเดี๋ยวรถามากระทั่ง มิสเฟาล์เฝ้าเตือนให้เคลื่อนคลาย เจ้าคุณฝ่ายทูตใหญ่ก็ไคลคลา
ข้อใดไม่ใช่อวัจนภาษา แกดีใจจนหลั่งถั่งน้ำตา ลูบหลังลูบหน้าด้วยปรานี พอสบพักตร์เณรพยักให้ทันใด ด้วยน้ำใจผูกพันกระสันหา จึ่งอวยพรสอนสั่งสารพัน ให้เกล่าเกลี้ยงเลี้ยงกันจนบรรลัย พลายแก้วเห็นแล้วก็ยินดี ชี้บอกทองประศรีไปทันใด
ข้อใดมีทั้งวัจนภาษาและอวัจนภาษา ครานั้นบุษบาให้อาลัย กอดวันทองร้องไห้พิไรว่า ขุนแผนวอนสั่งพระวิจิตร เจ้าคุณจงคิดถึงตัวข้า ขุนแผนประคองวันทองน้อย น้ำตาย้อยซึมซาบลงอาบหน้า วันทองว่าพี่สีหมอกของน้องเอ๋ย เคยยากมาด้วยน้องในไพรสัณฑ์
จงใส่เครื่องหมายถูก( / )หน้าข้อที่เห็นว่าถูก เครื่องหมายผิด( x )หน้าข้อที่เห็นว่าผิด และแก้ไขข้อความที่เห็นว่าผิดให้ถูกต้อง ……การที่พนักงานขายเดินตามหลังผู้ซื้อตลอดเวลา จัดว่าเป็นการใช้อวัจนภาษา ……ความประทับใจที่คนติดต่อกัน มักจะเป็นการติดต่อแบบอวัจนภาษา ……อาการนิ่วหน้าของคนสองคนย่อมมีความหมายเหมือนกัน
ข้อความต่อไปนี้ แสดงว่าผู้ส่งสารกับผู้รับสารเป็นบุคคลระดับใดและอยู่ในสถานการณ์ใด “การจัดทัวร์ครั้งนี้ไม่เอาไหนเลย รถก็แสนสับปะรังเค บริการก็เต็มกลืน สถานที่เที่ยวก็ไม่เป็นท่า กิจกรรมของชมรมทัศนศึกษาปีนี้ขอสาปทันที” เพื่อนกับเพื่อนเมื่ออยู่ตามลำพัง นักเรียนกับเพื่อนๆ ในที่ประชุมนักเรียน นักเรียนกับเพื่อนๆ ต่อหน้าครูฝ่ายกิจกรรมนักเรียน นักเรียนกับประธานชมรมทัศนศึกษาเมื่ออยู่ตามลำพัง
หลักการของคุณคืออะไร พยายามหาหนทาง ทางอะไร ทางที่จะนำไปสู่บั้นปลาย ปลายอะไร ปลายเดือนซิคุณ บทสนทนาของผู้ถามตอบข้อข้างต้นกล่าวถึงเรื่องใด ก. การเงิน ข. การประหยัด ค. ความยากจน ง. หลักเศรษฐกิจ
ลักษณะคำถามต่อไปนี้เป็นอย่างไร ลักษณะคำถามต่อไปนี้เป็นอย่างไร “ผมทำข้อสอบไม่ได้เพราะไม่เข้าใจคำถาม ภาษาของอาจารย์ไม่ชัดใช่ไหม หรือจะเพราะอะไรก็แล้วแต่ อยากทราบว่าอาจารย์จะทำอย่างไร ไม่ดี เพราะถามหลายประเด็น ดี ที่มีการสรุปจากผลไปหาเหตุ ไม่ดี เพราะไม่ทราบประเด็นที่ต้องการถาม ดี ที่พูดเป็นกลางๆ และให้อิสระในการตอบ
จงเลือกคำตามหมายเลขต่อไปนี้ เติมลงในช่องว่างของข้อความให้ถูกต้อง ๑ จงเลือกคำตามหมายเลขต่อไปนี้ เติมลงในช่องว่างของข้อความให้ถูกต้อง ๑. สนใจ ๒. เชื่อฟัง ๓. เข้าใจ ๔. คล้อยตาม ๕. ปฏิบัติตาม ถ้าเราแนะนำเขา เราย่อมต้องการให้เขา….. ถ้าเราชี้แจง เราย่อมต้องการให้เขา…… ถ้าเราห้ามเขา เราย่อมต้องการให้เขา….. และถ้าเราจูงใจเขา เราย่อมต้องการให้เขา….. ก. ๕ ๓ ๒ ๔ ข. ๓ ๒ ๕ ๑ ค. ๑ ๔ ๒ ๕ ง. ๕ ๑ ๓ ๒
“เมื่อเราฟังหรืออ่านเรื่องราวใดๆ เราต้องคิดตามไปด้วยไม่ใช่ปล่อยจิตใจไปตามยถากรรมอย่างฟังเสียงนกเสียงกา” “ฟังเสียงนกเสียงกา” มีความหมายตามข้อใด ก. ฟังแล้วคิดบ้างไม่คิดบ้าง ข. ฟังแล้วไม่ต้องคิด ค. ฟังแล้วเบิกบานใจ ง. ฟังแล้วไม่เข้าใจความหมาย
ข้อใดใช้คำผิดความหมาย เขาพยายามกำจัดความคิดชั่วร้ายออกไป เด็กๆ แก่งแย่งกันช่วยแม่ทำงานบ้าน เขาจะไปกินข้าวนอกบ้านก็อย่าไปหน่วงเหนี่ยวเขาไว้ เขาถูกถอดออกจากตำแหน่งผู้จัดการทีม
หญิงสาวสวยที่ยืนใกล้ๆ เขา……เขามาก เขาจ้องมองเธออยู่นานพอสมควร ในที่สุดเขาจึงตัดสินใจ…..เข้าไปถามเวลาและถือโอกาสจับมือเธอแต่เธอ…..และเดินหนีเขาไป บาดตา ทำที สลัดมือ ต้องตา ทำท่า สลัดมือ บาดตา ทำท่า สะบัดมือ ต้องตา ทำที สะบัดมือ
ข้อใดใช้คำได้ถูกต้องเหมาะสม เขาเป็นคนเอาอกเอาใจตัวเองจนเคยชิน ฉันเห็นเธอกินจุบจิบไม่เป็นเวลา หอยทากเป็นสัตว์ที่เผยแพร่พันธุ์ได้เร็วมาก เด็กเกิดมามีอวัยวะ มีสมอง มีเลือดเนื้อเชื้อไขครบถ้วน
ข้อใดมีข้อบกพร่องในการใช้ถ้อยคำ เมื่อนักเรียนทำบางสิ่งบางอย่างผิดพลาดก็ควรยอมรับโดยดุษณี ตัวมือปืนนั้นเจ้าหน้าที่พอทราบเบาะแสแล้ว กำลังตามจับอยู่ นกชนิดนั้นสามารถกลมกลืนตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม ได้ดี งานแสดงสินค้านี้มีวัสดุตกแต่งบ้านสารพัดชนิด
ข้อใดใช้ภาษาระดับทางการ พิธีรดน้ำศพมักกระทำทันทีหลังจากบุคคลนั้นเสียชีวิต ในระยะนี้จะมีเต่ามาวางไข่ที่ชายฝั่งทะเลวันละหลายตัว ในหน้าหนาวจะมีนักท่องเที่ยวมาชมทัศนียภาพที่นี่เป็นจำนวนมาก เพื่อความสะดวกในการเบิกจ่าย อาจขออนุมัติถัวกันไปทุกรายการได้
ข้อใดใช้คำไม่ถูกต้องตามสถานการณ์ นายหมู่รายงานผู้กำกับลูกเสือ เราไปถึงพัทยาเมื่อตะวันรอนๆ ศิษย์วัดบอกมรรคนายก วัดนี้หลวงตาอาพาธเลยจำวัดอยู่ในกุฏิ ดำบอกแดง วันนี้เราไปบ้านคุณยาย ฟาดข้าวเหนียวมะม่วงเสียเต็มที่เลย ภาพพรรณนาในนิยาย คืนหนึ่งเย็นยะเยือก ดาวระยิบระยับ ล้อมรอบเสี้ยวเดือนทอง
ข้อความใดส่งสารคลุมเครือมากที่สุด จะเป็นแมวสีอะไรก็ได้ทั้งนั้น ขอให้จับหนูได้ก็แล้วกัน ผมไม่ปฏิเสธว่ายำจานนี้อร่อยมาก แต่ผมอยากทราบว่าคุณเอาเนื้ออะไรมายำ เมียมีเมียพี่ก็มา แต่เมียไม่มาก็แปลว่าเมียไม่มี ไม่จ่าย ๕ ล้าน เผา รง.ตร.ย้อนรอยจับตัวได้
ข้อใดสื่อความไม่ชัดเจน พรุ่งนี้หัวหน้าจะเรียกประชุมตอนบ่ายๆ คุณย่าชอบดูละครโทรทัศน์หลังข่าวภาคค่ำ สมสิริมาหาครูตอนเช้าก่อนเข้าห้องเรียน เมื่อวานนี้แม่แวะมาหาตอนกินข้าวเย็น
จงเรียงลำดับข้อความให้เหมาะสมที่สุด ๑. ราคาพืชผลในแต่ละปี ๒. น่าจะเป็นปัญหา ๓. ปัญหาหลักของเกษตรกร ๔. ด้านการตลาด ๕. ไม่มีความแน่นอน ก. ๑ ๒ ๔ ๓ ๕ ข. ๒ ๔ ๕ ๓ ๑ ค. ๓ ๒ ๔ ๑ ๕ ง. ๒ ๔ ๓ ๑ ๕
ใจน้อย แสนงอน เฉียบขาด ช่างประชด ข้อความต่อไปนี้แสดงนิสัยอย่างไรของผู้พูด แม้นมิยกพลไกรไปช่วย ถึงเราม้วยก็อย่ามาดูผี อย่าดูทั้งเปลวอัคคี แต่วันนี้ขาดกันจนบรรลัย ใจน้อย แสนงอน เฉียบขาด ช่างประชด
ถ้าเชอรี่เตือนว่า “เธออย่าไว้ใจนายเอให้มากนักนะ” ถ้าเชอรี่เตือนว่า “เธออย่าไว้ใจนายเอให้มากนักนะ” อุ้มตอบว่า “ฉันรู้น่ะ ว่าเขาเป็นคนอย่างไร” อุ้มต้องการให้เชอรี่รู้ว่าตนรู้สึกอย่างไร ก. โกรธ ข. รำคาญ ค. เห็นด้วย ง. ไม่เชื่อ
ผู้รับสาร (ฟัง-อ่าน) อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้รับสาร (ฟัง-อ่าน) อย่างมีประสิทธิภาพ ระดับสูง ประเมินค่าได้ ตีความได้ วิเคราะห์ได้ จับประเด็นได้ เข้าใจเรื่อง ระดับต่ำ
บทบาทของผู้รับสาร ๑. รู้ความหมายเรื่องราวที่ผู้ส่งสารผ่านสื่อมาถึงตน ๑. รู้ความหมายเรื่องราวที่ผู้ส่งสารผ่านสื่อมาถึงตน ๒. มีปฏิกิริยาตอบสนองต่อผู้ส่งสาร ๑. เข้าใจจุดมุ่งหมายของผู้ส่งสารว่ามีเจตนาอย่างไร ( แจ้งให้ทราบ/ถามให้ตอบ/บอกให้ทำ/นำให้คิด) ๒. ผู้รับสารมีทัศนคติที่ดี (ทันคติทางบวก/ ทางลบ/ กลางๆ) ๓. มีความรู้สึกไวและรวดเร็วถูกต้อง ๔. มีความสนใจในเรื่องที่นำเสนอได้โดยความสมัครใจและเป็นปกติวิสัย
ซื้อพระส่องพระไม่เห็นพระ เห็นแต่ดิน, โลหะเป็นรูปร่าง บอดด้วยทิพย์แห่งธรรมถูกอำพราง หวังแต่รูปที่จะสร้างอิทธิฤทธิ์ ให้เมตตา, ปาฏิหาริย์ ให้คนรัก ให้หนังเหนียว, มีดหัก, ยิงผิด ดีชั่วอยู่กับตัวต่างไม่คิด ยกดินทรายศักดิ์สิทธิ์ขึ้นบูชา (ละไมมาด คำฉวี)
ค่อยๆ เก็บ ความทุกข์ทิ้งลงถัง กอบความหวัง มัดรวมเป็นกำใหญ่ ปัดความเศร้า ที่ทับถมให้หมดไป เปิดหน้าต่าง รับแดดใสที่สาดมา จับความบ้า ขึ้นเขียงลงมือหั่น หยิบความฝัน ใส่กรอบแขวนข้างฝา ปักความรัก ลงกระถางริมชายคา เริ่มต้นใหม่ อย่าช้าท้าตัวเอง (หาดขาว ดาวสวย และกล้วยตาก. สมจุ้ย)
๑. ข้อความนี้กล่าวถึงเรื่องอะไร “ดั่งว่าพฤษภโคเคาเฒ่าชราจร ครั้งว่าเห็นเหยื่อหญ้าอ่อนออกโอชโอษฐ์อ้า ละลนละลานแลบแสชิวหาหูหางระเหิดหัน เฒ่าก็มีจิตเกษมสันต์โสมนัสยวนยิ่ง…” ๑. ข้อความนี้กล่าวถึงเรื่องอะไร ก. การดำรงชีวิต ข. ความรู้สึกของจิตใจ ค. ความจำเป็นในอาชีพ ง. ความต้องการของสังคม (ข.) ๒. ข้อความนี้เกี่ยวข้องกับเรื่องใด ก. ความสุข ข. ความรัก ค. ความหลง ง. ความโลภ (ค.)
๓. “หญ้าอ่อน” ในที่นี้หมายถึงข้อใด ก. ต้นหญ้า ข. หญิงสาว ค. หญิงชรา “ดั่งว่าพฤษภโคเคาเฒ่าชราจร ครั้งว่าเห็นเหยื่อหญ้าอ่อนออกโอชโอษฐ์อ้า ละลนละลานแลบแสชิวหาหูหางระเหิดหัน เฒ่าก็มีจิตเกษมสันต์โสมนัสยวนยิ่ง…” ๓. “หญ้าอ่อน” ในที่นี้หมายถึงข้อใด ก. ต้นหญ้า ข. หญิงสาว ค. หญิงชรา ง. ชายหนุ่ม (ข.) ๔. คำใดตรงข้ามกับโสมนัส ก. ยินดี ข. เสียใจ ค. พอใจ ง. สุขใจ (ข.)
“สักวาเสือสิงห์ลิงช้างม้า. มีเขี้ยวงาถูกคนฝึกจนเชื่อง “สักวาเสือสิงห์ลิงช้างม้า มีเขี้ยวงาถูกคนฝึกจนเชื่อง แต่คนดื้อถือรั้นนั้นฝึกเปลือง ไม่เอาเรื่องเอาราวไม่เอาการ” ๕. สาระสำคัญของข้อความนี้คือข้อใด ก. ไม่มีใครฝึกใครได้ ข. เราไม่ควรฝึกหัดสัตว์ ค. คนดื้อนั้นฝึกยาก ง.สัตว์เลี้ยงนั้นฝึกง่าย (ค.)
“ปากว่ามือเฉยเมยอยู่. ไม่รู้จักทำตามอย่าง เพียงพูดพร่ำไปหลายทาง “ปากว่ามือเฉยเมยอยู่ ไม่รู้จักทำตามอย่าง เพียงพูดพร่ำไปหลายทาง แต่สร้างงานได้ไม่ดี” ๖. ข้อความนี้มีความหมายเข้าได้กับสำนวนใด ก. น้ำกลิ้งบนใบบอน ข. ละเลงขนมเบื้องด้วยปาก ค. มะกอกสามตะกร้าปาไม่ถูก ง. ฟังไม่ได้ศัพท์จับไปกระเดียด (ข.)
“นกน้อยขนน้อยแต่ พอตัว รังแต่จุเมียผัว อยู่ได้” “นกน้อยขนน้อยแต่ พอตัว รังแต่จุเมียผัว อยู่ได้” ๗. แนวคิดในคำประพันธ์ตรงกับข้อใดมากที่สุด ก. หากลูกและเมียมี ก็ถนอมประหนึ่งตน ข. การงานกระทำไป บ่มิยุ่งและสับสน ค. ยินดี ณ ของตน บ่มิโลภทะยานปอง ง. ความอยู่ประเทศซึ่ง เหมาะและควรจะสุข (ค.)
“ถ้ารักใครขอให้ได้คนนั้นด้วย บุญจงช่วยปฏิบัติอย่าขัดขวาง อย่ารู้มีโรคาในสารพางค์ ทั้งรูปร่างขอให้ราวกับองค์อินทร์” ๘. คำอธิษฐานนี้เน้นข้อใดมากที่สุด ก. ขอให้มีรูปร่างสง่างาม ข. ขอให้มีสุขภาพดี ค. ขอให้สมรัก ง. ขอให้มีบุญ (ค.)
๙. ข้อความนี้ตีความว่าอย่างไร ก. ผงซักฟอกมีส่วนทำให้น้ำเสีย ผงซักฟอกที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีผลทำให้พืชน้ำเจริญเติบโตเร็วเพราะว่ามีสารอาหารที่เป็นปุ๋ยของพืช แต่จะมีผลทำให้น้ำเสียในระยะหลัง เพราะว่าพืชจะดึงออกซิเจนในน้ำมาใช้ในการหายใจ ๙. ข้อความนี้ตีความว่าอย่างไร ก. ผงซักฟอกมีส่วนทำให้น้ำเสีย ข. พืชน้ำเจริญเติบโตได้ดีในที่ที่น้ำเสีย ค. ผงซักฟอกให้ประโยชน์แก่มนุษย์ได้หลายอย่าง ง. พืชน้ำจะไม่ใช้ออกซิเจนในอากาศมาปรุงอาหาร (ก.)
๑๐. ข้อความนี้ตีความว่าอย่างไร ก. ชาวบ้านเป็นผู้สร้างประตูกำแพงเมือง ประตูสามยอดเป็นประตูกำแพงเมืองซึ่งสร้างขึ้นใหม่ในรัชกาลที่ ๕ โดยสร้างเป็นประตูสามช่อง มียอดทั้งสามช่อง ตั้งแต่นั้นมาชาวบ้านก็พากันเรียกประตูดังกล่าวว่า “ประตูสามยอด” ๑๐. ข้อความนี้ตีความว่าอย่างไร ก. ชาวบ้านเป็นผู้สร้างประตูกำแพงเมือง ข. “ประตูสามยอด” ได้ชื่อจากลักษณะการสร้าง ค. ประตูกำแพงเมืองให้มียอดเสมอ ง. เริ่มมีการสร้างประตูกำแพงเมืองในสมัยรัชกาลที่ ๕ (ข.)
พยางค์ คำ วลี ประโยค เรื่องราว
ข้อความต่อไปนี้มีข้อบกพร่องอย่างไร ๑. เจ้าหน้าที่ทำการสอบสวนผู้ต้องหาอย่างรีบด่วน ๒. พ่อของเราเป็นคนธรรมดาสามัญเหมือนพ่อคนอื่น ๓. เขาถูกเตะด้วยเท้า ๔. อย่าตะโกนเสียงดังในโรงพยาบาล ๕. เขามีความเต็มใจที่จะรับใช้คุณยาย ๖. เด็กน้อยเดินไปตามลำพังเพียงคนเดียว - - - - - - - ประโยคฟุ่มเฟือย มีความซ้ำกันหรือมีคำที่ไม่จำเป็น
ประโยคกำกวม ความหมายของประโยคมีหลายอย่าง เชือก ๑. คนที่จับเชือกควรจะเป็นคนสาว ๒. หญิงใจร้ายใช้ไม้ทิ่มตาเด็กบอด ๓. ดูผู้หญิงคนนั้นสิ คนที่จูงหมาหูยาวๆ หน้าตา เหมือนคุณจัง จน เขา ข้อความต่อไปนี้มีข้อบกพร่องอย่างไร ประโยคกำกวม ความหมายของประโยคมีหลายอย่าง
การใช้ประโยคที่มีลักษณะไม่เป็นภาษาไทย (เยิ่นเย้อ) ๑. ภายใต้บรรยากาศแห่งอดีตกาล ๒. มันเป็นเวลาบ่ายเมื่อข้าพเจ้ามาถึงอยุธยา ๓. จากการที่ได้เกิดสภาวะน้ำท่วม ทำให้นาข้าวได้รับความเสียหายอย่างมาก ๔. ฉันพบตัวเองอยู่ในบ้านคนเดียว ๕. ในกรณีที่เกิดน้ำท่วม ในบริเวณจังหวัดทางภาคเหนือนั้น สำหรับทางด้านของรัฐบาล ได้ดำเนินมาตรการในการที่จะทำการช่วยเหลือประชาชนในลักษณะของการที่ว่าประชาชนจะไม่เดือดร้อนไว้อย่างไร ใน ตอนบ่าย เนื่องจาก - - ข้อความต่อไปนี้มีข้อบกพร่องอย่างไร - - - - - - - - - - การใช้ประโยคที่มีลักษณะไม่เป็นภาษาไทย (เยิ่นเย้อ)
ข้อความต่อไปนี้มีข้อบกพร่องอย่างไร ๑ หัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์ อยากส่งโครงการโฆษณาให้คณะกรรมการบริหารตรวจตราก่อนลงความเห็นให้ขายสินค้าชนิดนี้ ๒ ๓ ๔ ประสงค์ หัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์…………..จะเสนอโครงการโฆษณาให้คณะกรรมการบริหาร…………..ก่อนลง…….ให้…………สินค้าชนิดนี้ พิจารณา มติ จำหน่าย
การเลือกใช้คำไม่เหมาะแก่สำนวน ข้อความต่อไปนี้มีข้อบกพร่องอย่างไร ๑ ๒ ๓ กระทรวงศึกษายกเครื่องหลักสูตรอาชีวะเน้นการฝึกช่างฝีมือเพื่อป้อนตลาดแรงงาน ………………… ………… ……… …………... ๔ …………………………………..หลักสูตร…………….ให้เน้นหนักด้านการฝึกช่างฝีมือเพื่อ……………………..ของตลาดแรงงาน กระทรวงศึกษาธิการ ปรับปรุง อาชีวศึกษา สนองความต้องการ การเลือกใช้คำไม่เหมาะแก่สำนวน
ประโยคที่ถูกไวยากรณ์ไม่ควรมีลักษณะดังนี้ ๑. ประโยคฟุ่มเฟือย ๒. ประโยคกำกวม ๓. การใช้สำนวน หรือรูปแบบประโยคภาษาอังกฤษ ๔. การละคำ คือการขาดคำที่จำเป็นต้องมี
การเลือกใช้คำ - หลีกเลี่ยงคำที่ให้ความรู้สึกไม่ดี “ข้าพเจ้ามีความยินดีมากที่ได้มีโอกาสนำของมาแจกคนจนในวันนี้” แจก ใช้ว่า มอบให้ คนจน ใช้ว่า ผู้ที่กำลังเดือดร้อน
เด็กคนนี้เป็นเด็กปัญญาทึบ ใช้ว่า เด็กคนนี้เป็นเด็กเรียนช้า เด็กคนนี้เป็นเด็กปัญญาทึบ ใช้ว่า เด็กคนนี้เป็นเด็กเรียนช้า เขาเป็นคนสกปรก ใช้ว่า เขาเป็นคนรักความสะอาดน้อยไป เฉื่อยชา ใช้ว่า กระตือรือร้นน้อยไป บ้านนอก ใช้ว่า ต่างจังหวัด, ชนบท ใช้ไม่ได้ ใช้ว่า ยังมีส่วนบกพร่อง, ยังต้องปรับปรุง
สุภาพบุรุษผู้นั้น - เขาผู้นั้น - ชายผู้นี้ การเลือกใช้คำ ... - การหลากคำ หมายถึง การเลือกสรรคำที่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันมาใช้ให้เปลี่ยนแปลงไป ไม่ให้เกิดความซ้ำซากจำเจโดยเฉพาะเมื่อใช้ในที่ใกล้ๆ กัน สุภาพบุรุษผู้นั้น - เขาผู้นั้น - ชายผู้นี้ “ริมฝีปากแดงโดยไม่ต้องอาศัยลิปสติก แก้มแดงโดยไม่ต้องง้อรูช ผิวนวลโดยไม่ต้องพึ่งแป้ง”
ไม่เอาไหน - ไม่เข้าท่า - การเลือกใช้คำระดับต่างๆ ระดับภาษาปาก ได้แก่ คำที่ใช้ตามสบาย ไม่ต้องระมัดระวังความถูกต้องของการออกเสียง ภาษาปากรวมถึงคำหยาบคาย คำสแลง คำพูดหางเสียงท้ายประโยค ไม่เอาไหน - ไม่เข้าท่า นะคะ - เถอะน่า กิโล - โล
กินข้าว - โกง - เบื่อ - ลูกเมีย - แน่ๆ ระดับกึ่งแบบแผน ใช้ในโอกาสทั่วๆ ไป คล้ายภาษาปากแต่ผู้พูด-ผู้เขียนเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น ใช้ให้เหมาะสมด้านความสุภาพและมรรยาท กินข้าว - โกง - เบื่อ - ลูกเมีย - แน่ๆ ระดับคำแบบแผน เลือกสรรคำด้วยความประณีตเป็นพิเศษ ถูกต้องด้านหลักภาษา ความชัดเจน มรรยาท เกียจคร้าน - รับประทานอาหาร - บุตรภรรยา - เบื่อหน่าย
วิธีการสร้างประโยคที่ดี ประโยคที่ดี คือ ประโยคที่สื่อความหมายให้ผู้อ่านเข้าใจได้ดี ลักษณะประโยคที่ดี คือ ๑. กระชับ เขียนตรงความหมายไม่ยาวจนน่าเบื่อ ให้แนวคิด ไม่วกวนสับสน ๒. ใช้ภาษาง่าย ไม่มีคำฟุ่มเฟือย ตัดคำที่ไม่จำเป็นออก ๓. อัดความคิดไว้ในประโยคนั้นๆ ให้เต็ม เรียกว่าประโยคทรงพลัง
“การดำเนินชีวิตที่เป็นไปทุกๆ วันของคนเรา เปรียบเสมือน หนึ่งว่าการปีนป่ายขึ้นภูเขาหลวงที่ใหญ่มหึมามียอดภูเขาอันงดงาม ตระการตาน่าดูนักซึ่งอยู่เหนือเมฆนั้นเป็นจุดหมายที่ยั่วยวนใจของคน ทุกคนอยู่ในวิถีอันสูงไกลโน้นแต่ทว่าที่จะขึ้นไปสู่ยอดเขานั้นจะหาหน ทางราบเรียบสักสายหนึ่งก็ไม่มี แต่ละสายเป็นหนทางขรุขระเต็มไป ด้วยหินตะปุ่มตะป่ำ และสูงชันอย่างพิลึกพิลั่นน่าอัศจรรย์ใจยิ่งนัก” วิธีการเขียน ถ้อยคำ ฟุ่มเฟือย ประโยค ยาวมาก
“การดำเนินชีวิตที่เป็นไปทุกๆ วันของคนเรา เปรียบเสมือนหนึ่งว่าการปีนป่ายขึ้น ภูเขาหลวงที่ใหญ่มหึมามียอดภูเขาอันงดงามตระการตาน่าดูนักซึ่งอยู่เหนือเมฆนั้นเป็น จุดหมายที่ยั่วยวนใจของคนทุกคนอยู่ในวิถีอันสูงไกลโน้นแต่ทว่าที่จะขึ้นไปสู่ยอดเขานั้น จะหาหนทางราบเรียบสักสายหนึ่งก็ไม่มี แต่ละสายเป็นหนทางขรุขระเต็มไปด้วยหิน ตะปุ่มตะป่ำ และสูงชันอย่างพิลึกพิลั่นน่าอัศจรรย์ใจยิ่งนัก” “การดำเนินชีวิต เปรียบเสมือนการปีนป่ายขึ้นภูเขาหลวงมียอดภูเขาอันงดงามตระการ ตาซึ่งอยู่เหนือเมฆจุดหมายที่ยั่วยวนใจอยู่ในวิถีอันสูงไกลโน้นแต่ทว่าที่จะขึ้นไปสู่ยอดเขานั้นจะ ราบเรียบสักสายหนึ่งก็ไม่มี แต่ละสายเป็นหนทางขรุขระเต็มไปด้วยหินตะปุ่มตะป่ำ และสูงชัน อย่างน่าอัศจรรย์ใจยิ่งนัก”
การพูด เป็นกระบวนการติดต่อสื่อสารของมนุษย์ซึ่งใช้ระบบสัญลักษณ์ต่างๆ ได้แก่ เสียง ภาษา และอากัปกิริยา เพื่อถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดจากผู้พูดไปยังผู้ฟัง ทำให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกับที่ผู้พูดต้องการ และเกิดความพึงพอใจที่ได้รับฟัง
เสียง/แสง/ความพร้อมฯ ๑.สื่อธรรมชาติ ๒. สื่อมนุษย์ ๓. สื่อสิ่งพิมพ์ ๔. สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ๕.สื่อระคน วัจนภาษา อวัจนภาษา ภาษา... ๑.ข้อเท็จจริง ๒.ข้อคิดเห็น การฟัง- การอ่าน การพูด-การเขียน ผู้ส่งสาร สาร สื่อ ผู้รับสาร + ปฏิกิริยาตอบสนอง สภาพแวดล้อมต่างๆ เสียง/แสง/ความพร้อมฯ พูด-เขียน-ท่าทางต่างๆ
หลักเกณฑ์การพูด วิธีการพูด การปฏิบัติตนก่อนการพูด ขั้นแรก ต้องกำหนดจุดมุ่งหมายของการพูด เพราะจะ ช่วยให้เตรียมเนื้อเรื่องและวิธีการพูดได้อย่างเหมาะสม การพูดเพื่อให้ความรู้ การพูดเพื่อจรรโลงใจ การพูดเพื่อโน้มน้าวใจ การพูดเพื่อความบันเทิง วิธีการพูด
การพูดแบบเตรียมตัวมาล่วงหน้า เตรียมเรื่องพูดไว้ล่วงหน้า ถ่ายทอดสารจากความรู้ความเข้าใจของตนเอง มีต้นฉบับ เฉพาะหัวข้อสำคัญเท่านั้น เช่น การพูด , สนทนา , อภิปราย , สัมภาษณ์ การพูดแบบฉับพลัน (กะทันหัน) พูดโดยไม่มีโอกาสเตรียมตัว ผู้พูดต้องใช้ปฏิภาณไหวพริบแก้ปัญหาฉพาะหน้า ต้องเตรียมลำดับความคิด และนำเสนออย่างฉับพลัน การพูดแบบท่องจำ เตรียมเรื่อง จำเรื่องพูดให้ได้ เวลาพูดให้เป็น ธรรมชาติ มีลีลา จังหวะ ถ่ายทอดออกมาทุกตัวอักษร การพูดแบบอ่านจากต้นร่าง พูดไปอ่านไปจากต้นร่างที่เตรียมมา แต่ไม่ใช่ก้มหน้าก้มตาอ่าน
การใช้ไมโครโฟน ควรให้ไมโครโฟนอยู่ห่างจากปากประมาณ ๙ – ๑๒ นิ้ว ควรให้ไมโครโฟนอยู่ห่างจากปากประมาณ ๙ – ๑๒ นิ้ว อย่ามองไมโครโฟนให้มองผู้ฟัง ไม่ควรจับไมโครโฟนหรือฐานไมโครโฟน
วิธีแก้ความกังวลและตื่นเวที ขณะที่นั่งรอเพื่อขึ้นพูด หายใจเข้าปอดลึกๆ แล้วค่อยๆ ผ่อนลมหายใจออกจนรู้สึกว่าส่วนล่างของอกกลวงหรือเป็นโพรง ควรทำประมาณ ๓-๔ ครั้ง การเริ่มพูด รู้สึกเสียงสั่นและประหม่ามากให้พูดช้าๆ ประมาณ ๑ นาที พร้อมแสดงท่าทางประกอบการพูด เมื่อรู้สึกดีขึ้น จึงเปลี่ยนไปพูดในอัตราปกติ
ข้อปฏิบัติหลังการพูด ประเมินผลการพูดด้วยตนเอง และให้ผู้อื่นประเมิน มีใจเป็นธรรม ซื่อสัตย์ และไม่อคติ วิจารณ์ด้วยเหตุผล หลักเกณฑ์ ไม่ใช้อารมณ์ เสนอแนะ และแนะนำวิธีแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ ที่สามารถปฏิบัติได้.
การสร้างอารมณ์ขันในการพูด เรื่องที่นำมาเล่าต้องมีความสัมพันธ์กับเรื่องที่พูด อย่านำเรื่องก้าวร้าว เรื่องความพิการ ความบกพร่องทางร่างกายของผู้ฟัง หรือทำให้คนฟังกลายเป็นตัวตลก อย่าเลือกเรื่องหรือคำพูดขำขันที่ทุกคนรู้ดีอยู่แล้ว อย่าบอกผู้ฟังว่าจะเล่าเรื่องขบขัน ผู้พูดจะต้องระวังไม่นำเรื่องของเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรมมาเป็นเรื่องพูดล้อเล่น เรื่องขบขันควรเป็นเรื่องสั้นๆ ประกอบเรื่องหลักเท่านั้น
ข้อดี ข้อจำกัด สร้างความเข้าใจกับผู้ฟังได้อย่างรวดเร็ว เป็นเครื่องมือสร้างมนุษยสัมพันธ์กับบุคคลอื่นที่ได้ผลดีที่สุด สามารถพิสูจน์ได้ว่า สิ่งที่สื่อออกไปได้ผลหรือไม่ในทันที สามารถดัดแปลงแก้ไขคำพูดหรือยืดหยุ่นให้เหมาะสมกับโอกาส เวลา หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ อาจถูกจำกัดด้วยสภาพแวดล้อมต่างๆ เรื่องซับซ้อนเข้าใจยาก เช่น ตัวเลข สถิติ เป็นต้น การใช้คำพูดอาจทำให้ผู้ฟังไม่เข้าใจ นำมาเป็นหลักฐานได้ไม่สะดวก คำพูดมีโอกาสผิดพลาดในแง่ข้อเท็จจริง หรือจากเจตนาที่แท้จริงของผู้พูดได้ง่าย
คุณธรรมและจรรยามารยาทของผู้พูด ความสุภาพเรียบร้อย ความจริงใจ ความรับผิดชอบ ความรับผิดชอบทางกฎหมาย ความรับผิดชอบทางคุณธรรม
พูดมาดมั่นหน้าชั้นเรียน ๑. คุณสมบัติที่ดีของผู้นำเสนอหรือผู้พูด ๒. การวิเคราะห์ผู้ฟัง ๓. การแสดงออกที่สะท้อน IQ, EQ, MQ, AQ
๑. ผู้นำเสนอ ความรู้ดี ความตั้งใจ การแสดงอุปนิสัย ๑. ผู้นำเสนอ การแสดงอุปนิสัย การสร้างอารมณ์ร่วมกับผู้ฟัง ความมีเหตุผล คุณสมบัติที่ต้องสร้าง ความน่าเชื่อถือ ปัจจัยที่ทำให้การพูดประสบความสำเร็จ บุคลิกภาพ กลยุทธ์ การใช้ภาษาให้เหมาะกับวัฒนธรรมและสังคมของผู้ฟัง ทักษะการพูดที่ดี การใช้สรรพนามแทนตนเอง, ผู้ฟัง การถามคำถามให้ผู้ฟังอยากตอบ การตอบคำถามให้ผู้ฟังพอใจ ลีลาท่าทาง -สายตา, สีหน้า, การยืน
ศิลปะในการตอบคำถาม 4 Bs ต้องมีความถูกต้อง (Be Accurate) ต้องมีความสมบูรณ์ (Be Complete) ต้องมีความสุภาพ (Be Polite) ต้องมีความมั่นใจ (Be Confident)
สถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคม เพศ,วัย จำนวน เรื่อง ระดับภาษา การเลือกสื่อ สถานที่ วิธีนำเสนอ อาชีพ ๒. ผู้ฟัง พื้นฐานการศึกษา ศาสนา,วัฒนธรรม ประสบการณ์ สถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคม
การแสดงออกที่สะท้อน IQ, EQ, MQ, AQ
ศักยภาพทางความคิด (Intelligent Quotient- I.Q.) สารัตถภาพ แก่นสาระของสิ่งที่นำเสนอ สัมพันธภาพ การเชื่อมโยงเนื้อหาเข้าด้วยกัน นวภาพ การใช้ความคิดสร้างสรรค์กระตุ้นผู้ฟัง
การบริหารทางอารมณ์ (Emotional Quotient- E.Q.) ต้องรู้เท่าทันอารมณ์ ประหม่า ตื่นเต้น หงุดหงิด… ปรับอารมณ์ สร้างบุคลิกให้ดูนิ่ง สุขุม ทำให้การพูดมีน้ำหนัก น่าเชื่อถือ
คุณธรรมในการพูด (Moral Quotient- M.Q.) คิดก่อนพูด พูดจริง พูดอ่อนหวาน พูดประสานสามัคคี พูดมีประโยชน์ พูดเท็จ พูดหยาบ พูดส่อเสียด พูดเพ้อเจ้อ พูดแล้วทำ วจีสุจริต วจีทุจริต ทำหลังคิด คิดก่อนทำ ทำแล้วคิด สัมมาวาจา หรือ การพูดชอบ พูดหลังทำ
ความสามารถในการเอาชนะอุปสรรค (Adversity Quotient- A.Q.) อุปสรรคเกิดจาก สื่อ อุปกรณ์นำเสนอขัดข้อง ไม่สามารถใช้ได้ สภาพแวดล้อม ผู้ฟัง ผู้พูด ร้อนเกินไป หนาวเกินไป เสียงดัง-ค่อยเกินไป ... ไม่สนใจ ไม่ค่อยมีมารยาท ไม่เป็นมิตร ไม่กล้า ไม่มั่นใจ ขาดความพร้อม
กลยุทธ์ในการนำเสนอ ดึงดูดความสนใจ พูดให้เขาเห็นความสำคัญในการฟัง ทำให้ผู้ฟังเข้าใจ พูดให้เห็นภาพ เพื่อให้ผู้ฟังเชื่อ สรุปว่าเขาปฏิบัติในสิ่งที่เราต้องการหรือไม่
พูด หมายถึง เปล่งเสียงออกมาเป็นถ้อยคำ วาทการ (Speech training) เป็นวิชาที่มุ่งศึกษาพฤติกรรมการพูดและ ฝึกฝนจนเกิดทักษะในการติดต่อสื่อสารด้วย การพูด (Speech communication) วาทศิลป์ (Rhetoric) ศิลปะในการใช้ถ้อยคำสำนวนโวหารให้ประทับใจ พูด หมายถึง เปล่งเสียงออกมาเป็นถ้อยคำ (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ๒๕๔๒)
การพูดในเชิงวิทยาศาสตร์ - เป็นกระบวนการเปล่งเสียงเริ่มจากอากาศในปอดถูกขับผ่านหลอดลมมาสู่ช่องปากหรือช่องจมูกหรือทั้งสองช่อง เสียงจะเกิดเมื่ออากาศที่ผ่านออกมาถูกกักไว้ ด่านแรกที่กักไว้คือ เส้นเสียง (vocal cords) ซึ่งเป็นเส้นคู่อยู่บนหลอดลมในลูกกระเดือกหรือกล่องเสียง จากนั้นเสียงจะผ่านเข้าช่องปาก ซึ่งมีตัวกักเสียงที่สำคัญคือ ลิ้น ริมฝีปาก และฟัน อวัยวะเหล่านี้จะกล่อมเกลาเสียงที่ออกมาให้มีลักษณะต่างๆ กัน
การพูดในทางภาษาศาสตร์ ความสามารถในการส่งเสียงพูดเป็นลักษณะเฉพาะของมนุษย์เท่านั้น มนุษย์ทุกคนมีบริเวณภาษาในสมอง ได้แก่ บริเวณที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวอวัยวะที่ใช้ในการพูด และ บริเวณที่รับรู้ตีความ
องค์ประกอบของการพูด ๑. ผู้พูด ๒. เรื่องราวที่พูด ๓. ช่องทาง ๔. ผู้ฟัง
การพูดเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ๑. การพูดเป็นศาสตร์ (วิทยาศาสตร์) เพราะการพูดมีตำรา มีหลักวิชา มีกฎเกณฑ์และขั้นตอนในการฝึกพูด ๒. การพูดเป็นศิลป์ (ศิลปะ) เพราะเป็นการนำเอาหลักวิชาการหรือวิธีการพูดในแบบต่างๆมาประยุกต์ใช้ให้เป็นนักพูดที่ดี เรียกว่ามีศิลปะในการพูดที่เกิดจากการฝึกมากๆ
สรุปนิยามของการพูด การพูด คือวิธีการสื่อสารรูปแบบหนึ่งที่เป็นคุณสมบัติเฉพาะของมนุษย์ โดยการใช้ถ้อยคำ เสียง รวมทั้งกิริยาท่าทางต่างๆ เพื่อถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ ฯลฯ ให้แก่ผู้ฟัง
ความสำคัญของการพูด ๑. ความสำคัญที่มีต่อตนเอง : ผู้ที่มีความสามารถในการพูดจะเป็นผู้มีอำนาจในตัว มีลักษณะของความเป็นผู้นำ มีความเป็นมิตร เข้าสมาคมได้ดี ๒. ความสำคัญที่มีต่อส่วนรวม : ศาสนา การเมืองการปกครอง ธุรกิจ การทหารและการสงคราม
ความมุ่งหมายในการพูด ๑. เพื่อบอกกล่าว แจ้งให้ทราบ หรือบอกเล่าชี้แจง ๒. เพื่อค้นหรือแสวงหาคำตอบ ๓. แลกเปลี่ยนทัศนคติ ๔. เพื่อยกย่องชมเชย หรือเพื่อจรรโลงใจ ๕. เพื่อโน้มน้าวใจ
ประเภทของการพูด ๑. แบ่งตามจุดมุ่งหมาย ๒. แบ่งตามวิธีการพูด ๓. แบ่งตามกระบวนการสื่อสาร ๔. แบ่งตามโอกาส
๑. แบ่งตามจุดมุ่งหมาย ๑. การพูดเพื่อให้ความรู้ ( Informetive Speech) ได้แก่ การพูดในการอบรม ปฐมนิเทศ บรรยาย สรุป การสอนในชั้นเรียน การรายงานทางวิชาการ รายงานผลการวิจัยหรือทดลอง รายงานของคณะกรรมการ ๒.การพูดเพื่อจูงใจหรือโน้มน้าวใจ ( Persuasive Speech) การปลุกระดม การปราศรัยหาเสียงในการเลือกตั้ง การชักชวนให้ใช้สินค้าไทย การเชิญชวนให้บริจาคโลหิต ๓. การพูดเพื่อจรรโลงใจ ( Entertaining Speech) การแสดงความยินดี การกล่าวสดุดียกย่องบุคคล การกล่าวในงานรื่นเริงที่จัดขึ้นในโอกาสต่างๆ
๒. แบ่งตามวิธีการพูด ๑. การพูดโดยไม่มีการเตรียมตัวมาล่วงหน้า หรือการพูดโดยฉับพลัน หรือการพูดโดยกะทันหัน ( Impremptu speech ) เช่น การอวยพรบ่าวสาว การแสดงความคิดเห็นในการอภิปรายหรือสัมมนา ๒. การพูดโดยอ่านจากต้นฉบับที่เตรียมมา ( Reading from manuscript speech ) เช่น ประกาศ พระบรมราโชวาท การกล่าวเปิดและปิดงาน การประชุมหรือสัมมนา ๓. การพูดโดยการท่องจำเนื้อหา ( Memorized speech ) ต้องเตรียมเขียนต้นฉบับไว้ แล้วท่องจำทั้งหมด จากนั้นจึงพูดจากที่ท่องจำไว้ ๔. การพูดโดยการจำโครงเรื่อง เป็นการพูดที่ถือว่าดีที่สุดเพราะมีความเป็นธรรมชาติ ไม่ต้องกังวลว่าจะพูดให้เหมือนต้นฉบับทุกคำพูด ปรับการพูดพูดให้สอดคล้องกับสถานการณ์ได้
๓. แบ่งตามกระบวนการสื่อสาร ๑. การพูดระหว่างบุคคล ๒. การพูดในกลุ่ม ๓. การพูดในที่ชุมนุมชน ๔. การพูดทางสื่อมวลชน
๔. แบ่งตามโอกาส ๑. การพูดแบบเป็นทางการ ๒. การพูดแบบไม่เป็นทางการ
การจัดลำดับความในเนื้อเรื่องในการพูด ๑. ลำดับความตามเวลา ๒. ลำดับความตามสถานที่หรือภูมิศาสตร์ ๓. ลำดับความตามหมวดหมู่ ๔. ลำดับความตามเหตุและผล ๕. ลำดับความตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์
การขยายความในการพูด ๑. ขยายความโดยการให้คำจำกัดความหรืออธิบาย ๒. ขยายความโดยการยกตัวอย่าง ๓. ขยายความโดยการเปรียบเทียบ ๔. ขยายความโดยการชี้ให้เห็นความแตกต่าง ๕. ขยายความโดยการแสดงเหตุผล ๖. ขยายความโดยการอ้างตัวบุคคล สถาบัน หรือสถานที่ ๗. ขยายความโดยการยกคำกล่าวที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก ๘. ขยายความโดยการเล่าเรื่อง ๙. ขยายความโดยการใช้คำถาม
การสร้างคำนำและบทสรุป คำนำ การสร้างคำนำที่ดี ๑. ความสำคัญของเรื่อง ๒. ถ้อยคำตลกขบขัน ๓. ใช้ตัวอย่างหรือนิทาน ๔. ยกข้อความที่เร้าใจ ๕. นำด้วยคำถามที่เร้าใจ ๖. กล่าวถึงโอกาสหรือความมุ่งหมายในการมารวมกัน ๗. สรรเสริญผู้ฟัง
การสร้างคำนำและบทสรุป คำนำ การสร้างคำนำที่ไม่ดี ๑. กล่าวคำขอโทษ ๒. พูดวกวน ซ้ำซาก ๓. หมิ่นประมาทหรือก้าวร้าวผู้ฟัง ๔. นอกเรื่อง
การสร้างคำนำและบทสรุป สรุป การสร้างบทสรุปที่ดี ๑. ย้ำจุดสำคัญ ๒. จำแนกหัวข้อสำคัญ ๓. ทบทวนเนื้อเรื่อง ๔. อ้างคำกล่าวของบุคคลสำคัญ ๕. ใช้ตัวอย่างสั้นๆ ๖. ใช้คำถาม ๗. ชักชวน เรียกร้อง
การสร้างคำนำและบทสรุป สรุป การสร้างบทสรุปที่ไม่ดี ๑. กล่าวคำขอโทษ ๒. จบอย่างกะทันหัน หรือเยิ้นเย้อเกินไป ๓. ยกประเด็นใหม่มาพูด ๔. สรุปนอกเรื่อง
บุคลิกภาพการพูด ๑. การปรากฏตัว ๒. อากัปกิริยาขณะพูด ๓. เสียงพูด
๑. การปรากฏตัว ๑. การแต่งกาย ๒. การแสดงออกทางใบหน้าและสายตา ๓. การนั่ง การยืน ๔. การเดิน
อย่า! ทำกิริยาลอกแลก แววตาเฉยเมย มึนตึง ลุกลี้ลุกลน ๒. อากัปกิริยาขณะพูด ๑. การยืน การนั่ง ๒. การเคลื่อนไหว ๓. การใช้มือประกอบการพูด ๔. สีหน้า แววตา ๕. การประสานสายตา ๖. ความกลมกลืนของกิริยาอาการ อย่า! ทำกิริยาลอกแลก แววตาเฉยเมย มึนตึง ลุกลี้ลุกลน
๓. เสียงพูด ๑. ความดัง ๒. ท่วงทำนองเสียง ๓. คุณภาพของเสียง ๔. อัตราความเร็ว ๕. ความชัดเจนถูกต้อง ๖. การเน้นเสียงและการย้ำคำ ๗. การเว้นระยะ อย่าพูดเหมือนอ่านหนังสือหรือท่องจำ อย่าพูดเอ้ออ้า ต้องฝึกหายใจให้ถูกวิธี
วิธีการพูด ๑. เลือกวิธีการพูดให้เหมาะสมกับเรื่องและประเภทของการพูด ๒. หลีกเลี่ยงการใช้คำที่ไม่มีความหมาย ๓. สังเกตอากัปกิริยาท่าทางของผู้ฟัง เพื่อปรับท่าทางให้เหมาะสมกับการพูด ๔. กระตือรือร้น มีความสมารถในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ๕. มีอารมณ์ขัน ๖. แสดงท่าทางประกอบการพูดที่เหมาะสม
เนื้อหาที่พูด เนื้อหาที่พูดเป็นหัวใจสำคัญของการพูด มีสิ่งควรคำนึง ดังนี้ ๑. ต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่พูดอย่างเพียงพอ ๒. ต้องเตรียมเนื้อหาให้ตรงกับจุดมุ่งหมายของการพูด ๓. เลือกเรื่องที่น่าสนใจและเหมาะสมกับผู้ฟัง ๔. จัดลำดับความคิดให้ดี เรียบเรียงเนื้อหาให้ชัดเจน ๕. ให้รายละเอียดที่เหมาะสม ไม่มากหรือน้อยเกินไป
การใช้ภาษาในการพูด ๑. ใช้ถ้อยคำสำนวนให้ตรงกับความหมาย ๒. ใช้ถ้อยคำที่เข้าใจง่าย ผูกประโยคสั้น กะทัดรัด ตรงจุดมุ่งหมาย ๓. ใช้ถ้อยคำ วลี ตลอดจนรูปประโยคที่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์การใช้ภาษาหรือความนิยม และเป็นธรรมชาติ ๔. ใช้ถ้อยคำที่ถูกต้องเหมาะสมและสอดคล้องกับระดับภาษา บุคคล และสถานที่ ๕. หลีกเลี่ยงการใช้ถ้อยคำที่ซ้ำๆ กัน เพราะอาจทำให้ผู้ฟังเบื่อหน่าย ๖. ควรเป็นผู้ที่หมั่นสังเกตและจดจำ วิธีการใช้ถ้อยคำต่างๆ ที่ถูกต้องเหมาะสมเพื่อนำไปใช้ในเวลาที่ต้องพูด
การเตรียมเรื่องที่จะพูด ประกอบด้วย ๕ ส่วน การเตรียมเรื่องที่จะพูด ประกอบด้วย ๕ ส่วน ๑. การเลือกเรื่อง ๒. การรวบรวมเนื้อหา ๓. การจัดลำดับเรื่อง ๔. การขยายความ ๕. การสร้างคำนำและบทสรุป
การเตรียมตัวพูดที่ดี ๑. เตรียมตัวให้พร้อม ๒. ซักซ้อมให้ดี ๓. ท่าทีให้สง่า ๔. หน้าตาให้สุขุม ๕. กล่าวในที่ประชุมไม่วกวน ๖. เริ่มต้นให้โน้มน้าว ๗. เรื่องราวให้กระชับ
การเตรียมตัวพูดที่ดี ๘. ตาจับที่ผู้ฟัง ๙. เสียงดังให้พอดี ๑๐. อย่ามีเอ้ออ้า ๑๑. กำหนดเวลาให้พอครบ ๑๒. สรุปจบให้จับใจ ๑๓. ยิ้มแย้มแจ่มใสตลอดเวลา
การฟัง หมายถึง .............. กระบวนการรับรู้สารโดยผ่านสื่อคือเสียงในรูปแบบ ต่างๆ เช่น เสียงเพลง สนทนา อภิปราย เป็นต้น การฟังต้องใช้สมรรถภาพทางร่างกาย สมอง และจิตใจ
กระบวนการฟังมี ๕ ขั้นตอน กระบวนการฟังมี ๕ ขั้นตอน ได้ยิน พุ่งความสนใจ เข้าใจ ตีความ ตอบสนอง
ศิลปะในการฟัง ฟังด้วย ดูด้วย กลั่นกรองด้วย พิจารณาด้วย อาศัยการ
การฟัง หมายถึง การได้ยินข้อมูลข่าวสาร เรื่องราว ประสบการณ์ จากการอ่านและการพูดของบุคคลต่างๆ แล้วเข้าใจสารที่ผู้อ่านผู้พูด ส่งมานั้นอย่างแจ่มแจ้ง โดยเกิดการตอบสนองหรือสามารถนำไปใช้ ให้เกิดประโยชน์ได้ในชีวิตประจำวัน
จุดประสงค์ของการฟัง ๑. ฟังเพื่อรับรู้ข้อมูลข่าวสารเพื่อรอบรู้ ๒. ฟังเพื่อความบันเทิงใจจรรโลงใจและซาบซึ้งใจ ๓. ฟังเพื่อโน้มน้าวใจ
ฟังโดยมีส่วนร่วมโดยตรง และฟังโดยไม่มีส่วนร่วมโดยตรง ฟังโดยมีส่วนร่วมโดยตรง และฟังโดยไม่มีส่วนร่วมโดยตรง การฟังตามรูปแบบที่กำหนดให้เป็นการฟังแบบใด ๑. ฟังเพลงทางวิทยุ ๒. ฟังข่าวทางโทรทัศน์ ๓. ฟังคำปราศรัยของผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่หอประชุมใหญ่ ความศรัทธาและซาบซึ้ง ๔. การฟังพระเทศน์
องค์ประกอบของการฟัง การฟังและการได้ยิน ๑. การได้ยิน ๒. การแยกแยะ ๔. การจับประเด็น ๓. การยินยอม ๖. การปฏิบัติ ๕. การเข้าใจ
สำนวนไทยเกี่ยวกับการฟัง ๑. ฟังขึ้น หมายถึง พอจะยึดถือได้ (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น เหตุผลฟังไม่ขึ้น ๒. ฟังความข้างเดียว หมายถึง เชื่อถือแต่ฝ่ายเดียวโดย ไม่ฟังความอีกฝ่ายหนึ่ง ๓. ฟังได้ หมายถึง พอเชื่อถือได้ เช่น ที่พยานให้การมานั้น พอฟังได้, ไม่ขัดหู เช่น เพลงไพเราะพอฟังได้
๕. ไปไหนมาสามวาสองศอก หมายถึง ถามอย่างหนึ่ง ๔. ฟังไม่ได้ศัพท์จับไปกระเดียด หมายถึง ฟังไม่ได้ความแจ่มชัด แล้วเอาไปพูดต่อหรือทำผิดๆ พลาดๆ ๕. ไปไหนมาสามวาสองศอก หมายถึง ถามอย่างหนึ่ง ตอบไปอีกอย่างหนึ่ง
๖. ฟังออก หมายถึง เข้าใจ, รู้เรื่อง ๖. ฟังออก หมายถึง เข้าใจ, รู้เรื่อง ๗. ฟังหูไว้หู หมายถึง รับฟังไว้แต่ไม่เชื่อทั้งหมด ๘. พกนุ่น หมายถึง ใจเบา เอนเอียงเชื่อคนง่าย
๙. ตักน้ำรดหัวตอ หมายถึง แนะนำหรือพร่ำสอนเท่าไรก็ไม่ได้ผล ๙. ตักน้ำรดหัวตอ หมายถึง แนะนำหรือพร่ำสอนเท่าไรก็ไม่ได้ผล ๑๐. เข้าหูซ้ายทะลุหูขวา หมายถึง บอกไม่จำ สอนไม่ได้ผล ๑๑. กู่ไม่กลับ หมายถึง ห้ามไม่อยู่ ไม่ฟังคำทัดทาน
หัวใจนักปราชญ์ ๑. สุ ได้แก่ สุตตะ ๒. จิ ได้แก่ จินตนะ ๑. สุ ได้แก่ สุตตะ ๒. จิ ได้แก่ จินตนะ ๓. ปุ ได้แก่ ปุจฉา ๔. ลิ ได้แก่ ลิขิต
แบบฝึกอ่านจับใจความในแต่ละย่อหน้า งานอดิเรกคืองานที่ไม่ใช่งานอาชีพโดยตรง แต่เป็นงานที่คนชอบทำเป็นพิเศษ เช่น นักการเมืองที่ชอบเล่นดนตรี ย่อมพอใจคนสนทนาทางดนตรีมากกว่าทางการเมือง ครูที่ชอบการเมือง ย่อมเอาใจใส่การเมืองมากกว่าการศึกษา รัฐบุรุษที่ชอบเล่นของเก่า ย่อมพอใจทางของเก่ามากกว่าการปกครอง หมอกฎหมายที่สนใจทางประวัติศาสตร์ ย่อมพอใจสนทนาประวัติศาสตร์มากกว่าทางกฎหมาย รวมความว่า ตามปรกติเราพอใจสนทนาตอบข้อถามในเรื่องอดิเรกมากกว่าในงานที่ทำอยู่จริง
แบบฝึกอ่านจับใจความในแต่ละย่อหน้า รายละเอียด
แบบฝึกอ่านจับใจความในแต่ละย่อหน้า งานอดิเรกคืองานที่ไม่ใช่งานอาชีพโดยตรง แต่เป็นงานที่คนชอบทำเป็นพิเศษ เช่น นักการเมืองที่ชอบเล่นดนตรี ย่อมพอใจคนสนทนาทางดนตรีมากกว่าทางการเมือง ครูที่ชอบการเมือง ย่อมเอาใจใส่การเมืองมากกว่าการศึกษา รัฐบุรุษที่ชอบเล่นของเก่า ย่อมพอใจทางของเก่ามากกว่าการปกครอง หมอกฎหมายที่สนใจทางประวัติศาสตร์ ย่อมพอใจสนทนาประวัติศาสตร์มากกว่าทางกฎหมาย รวมความว่า ตามปรกติเราพอใจสนทนาตอบข้อถามในเรื่องอดิเรกมากกว่าในงานที่ทำอยู่จริง
บางคนชอบปลูกไม้ดอกไม้ผล เมื่อเกิดดอกออกผลก็ชื่นใจ เกิดความคิดที่จะทำดอกผลนั้นให้งดงามน่าดูยิ่งขึ้น จึงมีผู้นำผลไม้มาประดิษฐ์ลวดลาย แล้วจัดวางลงในภาชนะให้มองดูแปลกตาน่ารับประทาน ลวดลายนั้นเกิดจากการตัด ผ่า ปอก คว้าน และแกะสลัก ส่วนไม้ดอกก็นำมาผูกมัดเป็นช่อบ้างเป็นพวงเป็นพู่บ้าง เสียบเป็นพุ่มหรือปักแจกันก็ได้ แสดงว่า ศิลปะกับชีวิตเป็นส่วนที่แยกกันไม่ออก
รายละเอียด ใจความสำคัญ
บางคนชอบปลูกไม้ดอกไม้ผล เมื่อเกิดดอกออกผลก็ชื่นใจ เกิดความคิดที่จะทำดอกผลนั้นให้งดงามน่าดูยิ่งขึ้น จึงมีผู้นำผลไม้มาประดิษฐ์ลวดลาย แล้วจัดวางลงในภาชนะให้มองดูแปลกตาน่ารับประทาน ลวดลายนั้นเกิดจากการตัด ผ่า ปอก คว้าน และแกะสลัก ส่วนไม้ดอกก็นำมาผูกมัดเป็นช่อบ้างเป็นพวงเป็นพู่บ้าง เสียบเป็นพุ่มหรือปักแจกันก็ได้ แสดงว่า ศิลปะกับชีวิตเป็นส่วนที่แยกกันไม่ออก
หนังสือใบลานแต่ละผูกมีความชำรุดแตกต่างกัน โดยทั่วไปแล้วหนังสือใบลานที่เก่ามีอายุมากๆ เมื่อลานจะแห้งมีความกรอบเปราะมีรอยแตกร้าวๆ รอยฉีกเป็นริ้วๆ รอยขาดปรุพรุน อันเกิดจาหนอน แมลงหรือปลวกกัดกิน หรือเกิดจากเหตุอื่นๆ มีเชื้อราหรือความสกปรกอื่นๆ หรือหนังสือใบลานที่ติดกันแน่นจนคลี่ไม่ออก ลักษณะอาการเหล่านี้เป็นลักษณะอาการแห่งความเสียหายที่ปรากฏมากบ้าง น้อยบ้าง แตกต่างกันไป
รายละเอียด ใจความสำคัญ
หนังสือใบลานแต่ละผูกมีความชำรุดแตกต่างกัน โดยทั่วไปแล้วหนังสือใบลานที่เก่ามีอายุมากๆ เมื่อลานจะแห้งมีความกรอบเปราะมีรอยแตกร้าวๆ รอยฉีกเป็นริ้วๆ รอยขาดปรุพรุน อันเกิดจาหนอน แมลงหรือปลวกกัดกิน หรือเกิดจากเหตุอื่นๆ มีเชื้อราหรือความสกปรกอื่นๆ หรือหนังสือใบลานที่ติดกันแน่นจนคลี่ไม่ออก ลักษณะอาการเหล่านี้เป็นลักษณะอาการแห่งความเสียหายที่ปรากฏมากบ้าง น้อยบ้าง แตกต่างกันไป
ศิลปะแห่งการฟังนั้นไม่ได้หมายถึงการนั่งนิ่ง ปล่อยให้คนอื่นพูดอย่างเดียว แล้วฟังเหมือนฟังเทศน์ การทำเช่นนั้นง่ายเกินไปกว่าที่จะนับว่าเป็นศิลปะ ศิลปะการฟังจึงหมายถึงความสามารถที่จะชักจูงผู้พูดให้หันเหเข้าหาเรื่องที่เขาถนัดที่สุด คือแสดงให้เห็นว่า ตนกำลังฟังคำพุดของเขาด้วยความตั้งใจ อยากรู้อยากฟังจริงๆ รู้จักสอดคำถามในโอกาสที่เหมาะ รู้จักปล่อยให้ผู้พูด พูดจนสิ้นกระแสความ และรู้จักช่วยผู้พูดที่กำลังหมดเรื่องพูดให้กลับมีเรื่องขึ้นมาใหม่ เพื่อให้เขาพูดได้ต่อไป
รายละเอียด ใจความสำคัญ
ศิลปะแห่งการฟังนั้นไม่ได้หมายถึงการนั่งนิ่ง ปล่อยให้คนอื่นพูดอย่างเดียว แล้วฟังเหมือนฟังเทศน์ การทำเช่นนั้นง่ายเกินไปกว่าที่จะนับว่าเป็นศิลปะ ศิลปะการฟังจึงหมายถึงความสามารถที่จะชักจูงผู้พูดให้หันเหเข้าหาเรื่องที่เขาถนัดที่สุด คือแสดงให้เห็นว่า ตนกำลังฟังคำพุดของเขาด้วยความตั้งใจ อยากรู้อยากฟังจริงๆ รู้จักสอดคำถามในโอกาสที่เหมาะ รู้จักปล่อยให้ผู้พูด พูดจนสิ้นกระแสความ และรู้จักช่วยผู้พูดที่กำลังหมดเรื่องพูดให้กลับมีเรื่องขึ้นมาใหม่ เพื่อให้เขาพูดได้ต่อไป
หลักสำคัญของย่อหน้า ย่อหน้าหนึ่งควรแสดงความคิดหรือเน้นความคิดสำคัญเพียงอย่างเดียว ย่อหน้าควรมีเอกภาพ ย่อหน้าควรมีสัมพันธภาพและความต่อเนื่อง ย่อหน้าควรขยายความอย่างเพียงพอและหมดจด
ย่อหน้าแบบสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ประโยคใจความ รายละเอียด
ย่อหน้าแบบสามเหลี่ยมหน้าจั่วหัวกลับ รายละเอียด ประโยคใจความ
ย่อหน้าแบบสามเหลี่ยมมีฐานบรรจบกัน ประโยคใจความ รายละเอียด ประโยคใจความ
ย่อหน้าแบบสามเหลี่ยมมียอดบรรจบกัน รายละเอียด ประโยคใจความ รายละเอียด
การพัฒนาชนบทมีความจำเป็นและสำคัญยิ่งสำหรับประเทศไทย การพัฒนาชนบทมีความจำเป็นและสำคัญยิ่งสำหรับประเทศไทย เพราะสภาพชนบทของเรายังต้องการพัฒนาในหลายๆ ด้านไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่ดินทำกิน การประกอบอาชีพ ความเป็นอยู่ ปัญหาการขาดการศึกษา และสาธารณสุขที่เหมาะสม ซึ่งเรื่องต่างๆ เหล่านี้มีความสัมพันธ์อย่างยิ่งกับความยากจน และมักจะเป็นวงจรที่มีปัจจัยหนึ่งเป็นสาเหตุของอีกปัจจัยหนึ่งเสมอ... ใจความสำคัญ คือ การพัฒนาชนบทมีความจำเป็นและสำคัญยิ่งสำหรับประเทศไทย
กากพืช เศษของพืช หญ้า ใบไม้ หรือต้นพืช เมื่อไม่ใช้อย่าทิ้งให้นำมาหมักรวมกับปุ๋ยคอกโดยกองรวมกันไว้ให้มีความชื้นพอสมควร และต้องกลับกองหมักนี้สัปดาห์ละ ๑ ครั้ง ต่อจากนั้นประมาณ ๑ เดือน วัสดุต่างๆ เหล่านี้ จะผุพังกลายเป็นอินทรียวัตถุ การทำปุ๋ยหมักวิธีง่ายๆ ก็แล้วเสร็จตามกรรมวิธี ใจความสำคัญ คือ การทำปุ๋ยหมักวิธีง่ายๆ
ในปัจจุบันเรามักจะพบโฆษณา หรือประชาสัมพันธ์ให้คนดื่มเครื่องดื่ม ที่เป็นอาหารเสริมอยู่เสมอซึ่งมีหลายประเภทหลายผลิตภัณฑ์ มีทั้งจำเป็นและไม่จำเป็นต่อร่างกาย เครื่องดื่มนมก็เป็นเครื่องดื่มอาหารเสริมชนิดหนึ่งที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย เพราะมีส่วนประกอบของแร่ธาตุอาหารหลายอย่าง ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน เกลือแร่ และวิตามิน แร่ธาตุอาหารดังกล่าวนี้จะช่วยเสริมสร้างและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกายและมีส่วนช่วยทำให้ร่างกายเจริญเติบโตและมีพลานามัยสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ใจความสำคัญ คือ เครื่องดื่มนมก็เป็นเครื่องดื่มอาหารเสริมชนิดหนึ่งที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย
รถยนต์นับได้ว่า เป็นพาหนะที่จำเป็นสำหรับธุรกิจ เพราะนักธุรกิจไม่ต้องการใช้เวลามากในการเดินทาง การใช้เวลาน้อยหรือการเพิ่มความสะดวกรวดเร็วได้มากเท่าไรก็ยิ่งจะเป็นการเพิ่มกำไรให้นักธุรกิจได้มากเท่านั้น ซึ่งนอกเหนือจากความจำเป็นพื้นฐานคือ ปัจจัย ๔ อันได้แก่ อาหาร ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรคและเครื่องนุ่งห่ม อาจกล่าวได้ว่ารถยนต์คือ ปัจจัยที่ ๕ ของนักธุรกิจ ใจความสำคัญที่หนึ่ง คือ รถยนต์นับได้ว่าเป็นพาหนะที่จำเป็นสำหรับธุรกิจ ใจความสำคัญที่สอง คือ รถยนต์คือ ปัจจัยที่ ๕ ของนักธุรกิจ
การขยายประโยคใจความสำคัญของย่อหน้า การให้คำจำกัดความ การยกตัวอย่างประกอบ การบรรยายหรือให้รายละเอียด การเปรียบเทียบ การวิเคราะห์หรือให้เหตุผล
การประชุม (meeting) การประชุม หมายถึงการที่กลุ่มบุคคลมาพบปะและปรึกษาหารือกันตามที่นัดไว้ โดยมีวัตถุประสงค์ที่แน่นอน และกำหนดวัน เวลา สถานที่ไว้อย่างชัดเจน
วัตถุประสงค์ของการประชุม ๑. เพื่อปรึกษาหารือ แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นและขอคำแนะนำ ๒. เพื่อพิจารณาหาข้อยุติหรือข้อวินิจฉัยเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ รวมทั้งแสวงหาวิธีแก้ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ๓. เพื่อแถลงนโยบาย แถลงข่าว หรือแจ้งเรื่องราวต่างๆ ให้ทราบพร้อมกับเหตุผลอันเป็นการเผยแพร่ความรู้ความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน ๔. เพื่อดำเนินงาน ประสานงาน ระงับข้อพิพาทหรือข้อขัดแย้งต่างๆ ๕. เพื่อกระตุ้นให้สมาชิกเกิดความคิด ความรู้สึกและทัศนคติใหม่ๆ ในการดำเนินงาน
ประเภทของการประชุม ๒. การประชุมสาธารณะ ๓. การประชุมรัฐสภา ๑. การประชุมเฉพาะกลุ่ม ๒. การประชุมสาธารณะ เปิดโอกาสให้สาธารณชนเข้าฟังและร่วมแสดงความคิดเห็นซักถามได้ ส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่ประชาชนสนใจและเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ๓. การประชุมรัฐสภา การประชุมรัฐสภา มีจุดประสงค์เพื่อให้มีการลงมติในเรื่องต่างๆ เป็นการแน่นอน
ประเภทของการประชุม ๑. การประชุมเฉพาะกลุ่ม การประชุมเฉพาะกลุ่ม คือการประชุมในองค์กร บริษัท ที่ไม่เปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกเข้าฟัง ๑.๑ การประชุมใหญ่ - สมาชิกทุกคนเข้าประชุม มักจัดปีละครั้ง ๑.๒ การประชุมสัมมนา - แลกเปลี่ยนความรู้ความคิดประสบการณ์ตามหัวเรื่องที่ตั้งไว้ ๑.๓ การประชุมชี้แจง- ให้สมาชิกทราบนโยบาย แนวทางปฏิบัติ หรือข้อเท็จจริง
ประเภทของการประชุม ๑. การประชุมเฉพาะกลุ่ม (ต่อ) ๑.๔ การประชุมปฏิบัติ – เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง มักเริมต้นด้วยการเชิญวิทยากรมาบรรยาย แล้วแยกกลุ่มไปปฏิบัติตามความรู้ที่ได้รับ แล้วกลับมาประชุมร่วมกันเพื่อสรุปผล ๑.๕ การประชุมปรึกษา – เพื่อหารือเกี่ยวกับนโยบาย แสวงหาข้อเท็จจริง หรือพิจารณาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ตามหัวเรื่องที่ตั้งไว้
การประชุมสามัญ การประชุมวิสามัญ การประชุมสามัญ เป็นการประชุมที่ตามระเบียบที่กำหนดไว้แน่นอน เช่นประชุมทุก ๑ ๒ ๓ ๖ เดือนหรือ ๑ ปี การประชุมวิสามัญ การประชุมวิสามัญ เป็นการประชุมในกรณีพิเศษ
ศัพท์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประชุม ๑. สมัยประชุม ๒. ประธานที่ประชุม ๓. รองประธาน ๔. ผู้มาประชุม ๕. เลขานุการ ๖. องค์ประชุม
ศัพท์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประชุม ๑๓. มติ ๑๔. การยืนยันมติ ๑๕. มติเป็นเอกฉันท์ ๑๖. มติไม่เป็นเอกฉันท์ ๑๗. มติโดยเสียงข้างมาก ๑๘. มติโดยฉันทานุมัติ
ศัพท์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประชุม ๑๙. ที่ประชุม ๒๐. ผู้สังเกตการณ์การประชุม ๒๑. กรรมการ ๒๒. รับรอง ไม่รับรอง ๒๓. เลขานุการ ๒๔. การอภิปรายในการประชุม
ศัพท์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประชุม ๗. ครบองค์ประชุม ๘. หนังสือเชิญประชุม หรือ จดหมายเชิญประชุม ๙. ระเบียบวาระการประชุม ๑๐. ญัตติ ๑๑. แปรญัตติ ๑๒. รายงานการประชุม
คำนิยามของ รายงานทางวิชาการ คำนิยามของ รายงานทางวิชาการ เอกสารที่เกิดขึ้นจากการศึกษาค้นคว้า สำรวจ วิเคราะห์ หรือรวบรวมเรื่องทางวิชาการเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างมีระเบียบแบบแผนและมีขั้นตอน
ได้อะไรจากการทำรายงาน รู้และเข้าใจในเรื่องที่ศึกษามากยิ่งขึ้น ช่วยฝึกให้คิดเป็นทำเป็น รู้จักประยุกต์วิชาความรู้ที่ได้เรียนมา ช่วยสร้างประสบการณ์ในการเขียนงานทางวิชาการได้ดีขึ้น
ขั้นตอนการเขียนรายงาน การเลือกและการกำหนดหัวข้อเรื่อง กำหนดจุดประสงค์ สำรวจแหล่งข้อมูลพื้นฐาน การวางโครงเรื่อง การรวบรวมข้อมูลและการจดบันทึก การเรียบเรียงเนื้อหาของรายงาน การอ้างอิงและบรรณานุกรม
การเลือกและกำหนดหัวข้อเรื่อง หลักเกณฑ์การเลือกหัวข้อเรื่อง เป็นเรื่องที่น่าสนใจผู้ทำรายงานสนใจมากที่สุด มีพื้นความรู้พอสมควรในเรื่องที่ทำ มีแหล่งข้อมูลเพียงพอต่อการศึกษาค้นคว้า ขอบเขตของเนื้อหาไม่กว้าง หรือ แคบ เกินไป
ตัวอย่างการกำหนดหัวข้อเรื่อง เรื่อง ปัญหาสังคม กำหนดเป็น ปัญหาชุมชนแออัด เรื่อง การค้าระหว่างประเทศ กำหนดเป็น สนธิสัญญาทางการค้าระหว่างประเทศ เรื่อง เศรษฐกิจไทย กำหนดเป็นเศรษฐกิจไทยยุครัฐบาลทักษิณ ชินวัตร
การสำรวจแหล่งข้อมูลพื้นฐาน แหล่งทรัพยากรสารนิเทศ หนังสือ วารสาร หนังสืออ้างอิง หนังสือพิมพ์ รายงานวิจัย รายงานสัมมนา วิทยานิพนธ์ โสตทัศนวัสดุ ฐานข้อมูล ซีดี-รอม
ลักษณะการวางโครงเรื่อง กำหนดขอบข่ายของเรื่องที่จะเขียน เพื่อจัดลำดับเนื้อเรื่อง กำหนดหัวข้อเรื่องใหญ่ (กล่าวถึงอะไร) ภายใต้หัวข้อเรื่องใหญ่ จะมีหัวข้อย่อยอะไรบ้าง จัดลำดับความสำคัญของแต่ละหัวข้อ ดังนั้นโครงเรื่องจะประกอบด้วย หัวข้อใหญ่ และ หัวข้อย่อย
ลักษณะการวางโครงเรื่อง ชื่อเรื่อง ๑.____________________ (หัวข้อใหญ่) ๒.____________________ ๒.๑__________________ (หัวข้อย่อย) ๒.๒__________________ ๓._____________________
ตัวอย่างการเรียงลำดับโครงเรื่อง อาการโรคภูมิแพ้ ประวัติโรคภูมิแพ้ การป้องกันโรคภูมิแพ้ ความหมายของโรคภูมิแพ้ การรักษาโรคภูมิแพ้ สาเหตุของการเกิดโรคภูมิแพ้ ชนิดของโรคภูมิแพ้
โรคภูมิแพ้ ความหมายของโรคภูมิแพ้ ประวัติโรคภูมิแพ้ ชนิดของโรคภูมิแพ้ สาเหตุของการเกิดโรคภูมิแพ้ อาการโรคภูมิแพ้ การรักษาโรคภูมิแพ้ การป้องกันโรคภูมิแพ้
ตัวอย่างการเขียนโครงเรื่อง
การทำแท้ง ๑. ความหมายของการทำแท้ง ๒. ประเภทของการทำแท้ง ๓. สาเหตุของการทำแท้ง ๔. ขั้นตอนและวิธีการทำแท้ง ๔.๑ ฉีดยา ๔.๒ การบีบ ๔.๓ การขูด ๕. อันตรายจากการทำแท้ง ๖. แนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาการทำแท้ง
ส่วนประกอบของรายงาน ส่วนประกอบตอนต้น ปกนอก ใบรองปก หน้าปกใน คำนำ สารบัญ ส่วนเนื้อเรื่อง บทนำ เนื้อเรื่อง บทสรุป ส่วนประกอบตอนท้าย บรรณานุกรม ภาคผนวก
หลักการใช้ภาษาในการเขียนรายงาน ได้สาระสมบูรณ์ เนื้อความครบถ้วน สมบูรณ์ทั้งเหตุ/ผล ชัดเจน รวดเร็วเข้าใจง่าย ได้คลุมเครือ กะทัดรัด ไม่ใช่ความพุ่มเฟือย คงเส้นคงวา คำวลี ประโยค สุภาพและลื่นไหล ถูกต้อง (ประโยคสมบูรณ์ประธาน/กริยา กรรม)ไม่ใช่วลีต่อกัน/ไม่ใช่ภาษาพูด
การเขียนรายงานทางวิชาการ หมายถึง รายงานการศึกษาในเรื่องต่างๆ ฝึกให้นักศึกษาศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง ขั้นตอนการเขียนรายงานทางวิชาการ ๑. เลือกหัวข้อ หรือกำหนดเรื่อง ๒. กำหนดจุดมุ่งหมายและกำหนดขอบเขตของเรื่อง ๓. วางโครงเรื่อง ๔. ค้นคว้าและรวบรวมข้อมูล ๕. เสนอผลรายงาน
เรื่องที่ควรทำรายงานทางวิชาการ ๑. การโฆษณาในประเทศไทย ๒. กลยุทธ์การเจรจาต่อรอง ๓. ปัญหาครอบครัว
เรื่องที่ไม่ควรทำรายงานทางวิชาการ ๑. คอมพิวเตอร์เบื้องต้น ๒. การสื่อสารเบื้องต้น ๓. ชีวิตแห่งความสุขของฉัน
รูปแบบการสัมภาษณ์ในการทำรายงานทางวิชาการ ได้แก่ การสัมภาษณ์โดยใช้แบบสอบถาม ไม่นิยมใช้วิธีอื่น เช่น สัมภาษณ์แบบตัวต่อตัว สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ และสัมภาษณ์ทางวิทยุและโทรทัศน์
ส่วนประกอบของรายงานวิชาการ ๑. ส่วนนำ ๒. ส่วนเนื้อความ ๓. ส่วนท้าย
๑. ส่วนนำ ประกอบด้วย - หน้าปกนอก - ใบรองปก แผ่นรองปก - หน้าปกใน - คำนำ ๑. ส่วนนำ ประกอบด้วย - หน้าปกนอก - ใบรองปก แผ่นรองปก - หน้าปกใน - คำนำ - สารบัญ - บัญชีตารางหรือภาพประกอบ
๒. ส่วนเนื้อความ - ส่วนที่เป็นเนื้อหา - ส่วนประกอบในเนื้อหา หรือการอ้างแทรกในเนื้อหา - เชิงอรรถ footnote
๒. ส่วนเนื้อความ - ส่วนประกอบในเนื้อหา หรือการอ้างแทรกในเนื้อหา พระพุทธศาสนาเป็นสถาบันหนึ่งของชาติไทย ซึ่งเป็นศูนย์รวมของ คนไทยทั้งชาติและเป็นเครื่องค้ำจุนความมั่นคงของชาติตลอดมา (สมพร เทพสิทธา, ๒๕๓๖, หน้า ๓๗-๓๘) จะเห็นว่าพุทธศาสนานั้นเป็นแกน หลักของชาติ... ...หลักธรรมทางพุทธศาสนาเป็นหลักในการบริหารและพัฒนาประเทศ ท่านพุทธทาสภิกขุ (๒๕๓๕, หน้า ๒๓๑) เห็นว่าพุทธศาสนาเป็นหลักความมั่นคงทางการเมือง
การอ้างอิงแทรกในเนื้อหา - การลงชื่อผู้แต่ง ผู้แต่งคนไทย ถ้าเป็นผู้มีบรรดาศักดิ์ ฐานันดรศักดิ์ ยศทางตำรวจ ทหาร และนักบวช ให้เขียนตามปกติ เช่น (พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร, ๒๕๔๕, หน้า ๖)
เชิงอรรถ - บอกที่มาของข้อความที่ยกมากล่าวถึงหน้านั้นเรียกว่าเชิงอรรถอ้างอิง - อธิบายคำหรือข้อความในหน้านั้นเพิ่มเติม เรียกว่าเชิงอรรถเสริมความ แจ้งให้ผู้อ่านดูเพิ่มเติม ข้อความที่เกี่ยวข้องกับคำหรือข้อความที่กล่าว ในหน้านั้น ได้จากหน้าอื่นของหนังสือเล่มเดียวกัน เรียกว่า เชิงอรรถโยงข้อความ
ส่วนท้าย - รายการอ้างอิงหรือบรรณานุกรม รูปแบบของการเขียนบรรณานุกรม - รายการอ้างอิงหรือบรรณานุกรม รูปแบบของการเขียนบรรณานุกรม ชื่อ/ ชื่อสกุล.// (ปีที่พิมพ์).// ชื่อเรื่อง (ครั้งที่พิมพ์).//เมืองที่พิมพ์:/ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์. เช่น เปลื้อง ณ นคร. (๒๕๔๗). หลักการพัฒนาตัวเอง (พิมพ์ครั้งที่ ๑๕). กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.
บรรณานุกรม ต้องเรียงตามพยัญชนะและรูปสระที่ปรากฏ อะ อั อัะ อา อำ อิ อี อึ อื อุ อู เอ เอะ เอา เอาะ เอิ เอี เอีะ เอื เอืะ แอ แอะ ออ โอ โอะ ใอ ไอ เช่น กะทัดรัด กัณหา กาญจนา กำธร กุญชร เกรียงไกร ไกรศักดิ์ คำที่สะกดด้วยพยัญชนะเดียวกัน วรรณยุกต์แตกต่างกัน ให้ดูพยัญชนะตัวถัดไป ไม่เรียงลำดับตามเสียงวรรณยุกต์ เช่น ส้มจุก สมชาย สมณศักดิ์ สมศักดิ์ ส้มโอ
บรรณานุกรม การลงรายการชื่อผู้แต่ง คำนำหน้าชื่อให้ตัดทิ้งไม่ต้องใส่ไว้ คำนำหน้าชื่อตามปกติ เช่น นาย นาง นางสาว ด.ช. ด.ญ. ตำแหน่งทางวิชาการ เช่น ดร. ศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ คำระบุบอกอาชีพ เช่น นายแพทย์ แพทย์หญิง ทันตแพทย์ ทนายความ อาจารย์
บรรณานุกรม คำนำชื่อให้คงไว้โดยให้ย้ายสลับไปไว้หลังชื่อ ได้แก่ คำนำชื่อให้คงไว้โดยให้ย้ายสลับไปไว้หลังชื่อ ได้แก่ ฐานันดรศักดิ์ เช่น ปิ่น มาลากุล, ม.ล. อคิน รพีพัฒน์, ม.ร.ว. บรรดาศักดิ์ เช่น ประดิษฐ์ไพเราะ, หลวง อนุมานราชธน, พระยา ยศทางตำรวจและทหาร เช่น คึกฤทธิ์ ปราโมช, พลตรี ม.ร.ว. เปรม ติณสูลานนท์, พลเอก
บรรณานุกรม สมณศักดิ์ ให้คงไว้ตามปกติไม่ต้องย้ายไปไว้ข้างหลัง เช่น สมณศักดิ์ ให้คงไว้ตามปกติไม่ต้องย้ายไปไว้ข้างหลัง เช่น พระเทพคุณาธร พระพิศาลธรรมพาที ผู้แต่ง ๒ คนขึ้นไปให้ลงชื่อผู้แต่งทุกคน โดยใช้คำว่า “และ” ก่อนชื่อผู้แต่งคนสุดท้าย เช่น อนันต์ อนันตกูล, ติณ ปรัชญา, ลิขิต ธีระเวคิน และทินพันธ์ นาคา เรียงตามลำดับชื่อที่ปรากฏในหนังสือ
บรรณานุกรม การลงรายการที่เกี่ยวข้องกับการพิมพ์ เมืองที่พิมพ์ให้ลงเฉพาะชื่อเมืองหรือจังหวัด ถ้ามีชื่อผู้รับผิดชอบในการพิมพ์ทั้งสำนักพิมพ์และโรงพิมพ์ ให้ใส่เฉพาะชื่อสำนักพิมพ์ โดยตัดคำว่าสำนักพิมพ์ออก ถ้าปรากฏเฉพาะชื่อโรงพิมพ์ ให้ลงคำว่า โรงพิมพ์ด้วย ถ้าปรากฏว่ามีเฉพาะชื่อบริษัท ให้ตัดคำว่า บริษัท...จำกัดหรือ หจก. ออก
ส่วนท้าย สมทรง แก้ววิจิตร. (ม.ป.ป.). เพื่อนรัก. ม.ป.ท. สมทรง แก้ววิจิตร. (ม.ป.ป.). เพื่อนรัก. ม.ป.ท. สมศรี รักเรียน. (๒๕๔๔). เด็กไทย เด็กดี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์น้ำใจ. สมบัติ มีบ้าน. (๒๕๔๖). เครื่องจักสาน (พิมพ์ครั้งที่๓). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง. นคร รักความดี และพรพรรณ ศิลาอ่อน. (๒๕๔๗). หลักการบัญชี (พิมพ์ครั้งที่ ๑๕). กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า.
ส่วนท้าย ภาคผนวก คือส่วนที่อธิบายเพิ่มเติมเรื่องราวที่เขียนโยงกับเนื้อเรื่องเพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจแจ่มแจ้งยิ่งขึ้น แต่มิใช่เนื้อหาในเรื่องโดยตรง อาจเป็นตัวเลขสถิติต่างๆ หรือข้อสอบหรือแบบสอบถาม ภาคผนวกจะมีหรือไม่แล้วแต่ความจำเป็น ถ้ามีจะต้องจัดเรียงต่อจากหน้าบรรณานุกรม
ส่วนท้าย - อภิธานศัพท์ - อภิธานศัพท์ คือส่วนที่อธิบายคำยาก หรือศัพท์เฉพาะที่มีในรายงาน อาจเรียงตามลำดับอักษร ลำดับบท หรือลำดับก่อนหลังของคำศัพท์
จดหมายธุรกิจและหนังสือราชการ จดหมายสมัครงาน เป็นลักษณะของจดหมายเสนอขายชนิดหนึ่ง ถ้าเขียน ถูกแบบย่อมเป็นที่สนใจของผู้จ้าง ทำให้โอกาสได้งานทำมีมากขึ้น หลักในการเขียนจดหมายสมัครงาน มี ๔ ประการ ๑. พยายามเขียนให้เรียกร้องความสนใจของผู้จ้างหรือผู้รับสมัครงาน ๒. พยายามแสดงเหตุผลที่ดีในการสมัครงาน ๓. พยายามแสดงให้เห็นว่าเป็นบุคคลที่เหมาะสมกับตำแหน่ง เพื่อให้ นายจ้างตัดสินใจได้เร็วขึ้น ๔. พยายามแนะให้เกิดการปฏิบัติ
๑. พยายามเขียนให้เรียกร้องความสนใจของผู้จ้างหรือ ผู้รับสมัครงาน - ใช้กระดาษและซองอย่างดีสีขาว ขนาดมาตรฐานที่ใช้ในการเขียนจดหมายธุรกิจ อย่าใช้กระดาษสีหรือกระดาษที่มีหัวจดหมายใดๆ ทั้งสิ้น - ควรพิมพ์แทนการเขียนเพราะทำให้ผู้อ่านอ่านได้สะดวกรวดเร็วและแสดงว่าผู้สมัครสามารถพิมพ์ดีดหรือใช้คอมพิวเตอร์ได้ เว้นแต่ผู้จ้างระบุว่าจะต้องเขียนด้วยลายมือ
๒. พยายามแสดงเหตุผลที่ดีในการสมัครงาน - ต้องการทำงานให้เหมาะสมกับความรู้ - ต้องการทำงานใกล้ภูมิลำเนาเดิม - ในกรณีลาออกจากงานเดิมควรบอกเหตุผลที่ดี เหตุผลที่ไม่ดีไม่บอก - ต้องแสดงให้เห็นว่าผู้สมัครผ่านการศึกษาอบรมมาเป็นอย่างดี มีประสบการณ์ผ่านการฝึกงานมาแล้ว สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ทันที ไม่เสียเวลาฝึกอบรม
- จดหมายที่พิมพ์ต้องตรวจแก้ไขข้อบกพร่องข้อผิดพลาดต่างๆ ก่อนพิมพ์ ถ้าเขียนด้วยลายมือต้องให้ชัดเจนอ่านง่าย - ระมัดระวังเรื่องการใช้สำนวนภาษา ตัวสะกดการันต์ และเครื่องหมายวรรคตอน - วางรูปแบบของจดหมายให้ถูกต้องได้สัดส่วน - พยายามเขียนให้นายจ้างต้องการที่จะอ่านมากที่สุด - ต้องให้รายละเอียดของข้อความตามที่ผู้สมัครต้องการตามใบที่รับสมัครให้ครบถ้วน เพื่อเป็นข้อมูลในการพิจารณา
๓. พยายามแสดงให้เห็นว่าเป็นบุคคลที่เหมาะสมกับตำแหน่ง เพื่อให้ นายจ้างตัดสินใจได้เร็วขึ้น - ควรบอกอายุ ประวัติการศึกษาโดยย่อ โดยเฉพาะประวัติการศึกษาที่เกี่ยวกับตำแหน่งงานทางวิชาการ - บอกประสบการณ์ - บอกสัญชาติ - บอกศาสนา - สภาวะตามกฎหมาย
๔. พยายามแนะให้เกิดการปฏิบัติ - ผู้เขียนควรเสนอแนะในการปฏิบัติว่าจะติดต่อกับผู้รับสมัครโดยวิธีใด ตัวอย่าง ท่านอาจโทรศัพท์ไปถึงผม (ดิฉัน) ตามหมายเลขโทรศัพท์.............................ระหว่างเวลา............................. ดิฉัน (ผม) ยินดีที่จะมาพบท่านเพื่อเรียนให้ท่านทราบเกี่ยวกับรายละเอียดอื่นๆ เพิ่มเติมด้วยตนเองเพียงแต่ท่านติดต่อเรียกดิฉัน (ผม)ไปตามที่อยู่ข้างต้น ดิฉัน (ผม) ยินดีให้รายละเอียดด้วยตนเองว่าดิฉัน (ผม) จะรับใช้ท่านได้อย่างไรบ้าง โปรดติดต่อเรียกดิฉันได้ตามสถานที่ที่อยู่ข้างต้นนี้
ข้อควรคำนึงถึง ในการเขียนจดหมายสมัครงาน - อย่าเขียนขอความเห็นใจโดยอ้างความเดือดร้อน จะทำให้ผู้ว่าจ้างรู้ว่าเป็นผู้มีปัญหา ไม่เหมาะสมตำแหน่งงานที่รับ - ให้เขียนความสามารถตามความเป็นจริง อย่าเขียนอวดอ้างสรรพคุณ ความสามารถจนเกินควร เพราะจะทำให้ผู้ว่าจ้างขาดความเชื่อถือถ้าทำไม่ได้จริง - อย่าเขียนโจมตีที่ทำงานเดิม เป็นการชี้ให้เห็นถึงอุปนิสัยที่ไม่ดีของผู้สมัครงาน - ถ้าจำเป็นต้องระบุเงินเดือนควรเขียนให้เหมาะสมกับคุณวุฒิและงานที่ทำถ้าบริษัทห้างร้านที่รับสมัครมีแบบฟอร์มให้กรอก ควรเขียนกรอกแบบฟอร์มให้ถูกต้อง
ปรัชญาในการเขียนจดหมายที่ดี ๑. จดหมายเป็นเครื่องสื่อความหมาย หรือสื่อความเข้าใจ จึงต้องเขียนให้เข้าใจความหมาย - เขียนให้เข้าใจง่าย = เขียนให้ชัดเจนให้กระจ่าง อย่าเขียนคลุมเครือเข้าใจยาก อย่าให้แปลความหมายได้หลายมุมหลายแง่หลายทาง อย่าให้ผู้อ่านถามใดๆ ขึ้นมาว่าหมายความว่าอย่างไร ๒. จดหมายเป็นเครื่องสื่อตอบแทนความต้องการ จึงต้องเขียนให้บรรลุวัตถุประสงค์ ๓. จดหมายเป็นตัวแทนในการติดต่อ จึงต้องเขียนให้เป็นผลดี
ให้ท่านพิจารณาว่าการเขียนจุดประสงค์ของหนังสือราชการต่อไปนี้เหมาะสมหรือไม่ ๑. จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติให้ดำเนินการตามเสนอต่อไปด้วย ๒. ขอเชิญเป็นเกียรติเพื่อร่วมเป็นกรรมการ ๓. จึงเรียนมาเพื่อกรุณาพิจารณาจัดสถานที่ให้ต่อไปด้วย ๔. จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาว่าจะดำเนินการได้หรือไม่ประการใด ๕. จึงเรียนมาเพื่อจัดสถานที่ให้ตามประสงค์ด้วย ๖. จึงเรียนมาเพื่อทราบและหวังว่าคงได้รับความร่วมมือจากท่านเช่นเคย
ให้ท่านพิจารณาว่าการเขียนจุดประสงค์ของหนังสือราชการต่อไปนี้เหมาะสมหรือไม่ (ต่อ) ๗. จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ ๘. จึงเรียนมาเพื่อทราบ ๙. จึงเรียนซ้อมความเข้าใจมาเพื่อถือเป็นหลักปฏิบัติต่อไป ๑๐. จึงเรียนชี้แจงมาเพื่อโปรดเข้าใจตามนี้ด้วย
ให้ท่านพิจารณาว่าเนื้อความในหนังสือราชการต่อไปนี้เหมาะสมหรือไม่ ๑. พร้อมนี้ได้แจ้งให้กระทรวงการคลังทราบแล้วเหมือนกัน ๒. พร้อมนี้ได้แจ้งให้กระทรวงมหาดไทยทราบด้วยแล้ว ๓. รู้สึกยินดีที่จะเรียนให้ทราบว่า ๔. ขอเวลาตรวจสอบหลักฐาน ๓ อาทิตย์ ๕. ไม่มีข้อเท็จจริงอะไร ๖. ไม่มีข้อเท็จจริงอันใด
ให้ท่านพิจารณาว่าเนื้อความในหนังสือราชการต่อไปนี้เหมาะสมหรือไม่ (ต่อ) ๗. ท่านเข้าใจผิด ๘. ความเข้าใจของท่านนั้นยังคลาดเคลื่อนอยู่ ๙. ความเข้าใจของท่านนั้นยังไม่ถูก ๑๐. โปรดพิจารณาอนุมัติด้วย ๑๑. ให้ท่านไปติดต่อฝ่ายประชาสัมพันธ์ภายใน ๗ วัน ๑๒. ได้ศึกษาโครงการที่ท่านเสนอแล้วใช้ไม่ได้
ให้ท่านพิจารณาว่าเนื้อความในหนังสือราชการต่อไปนี้เหมาะสมหรือไม่ (ต่อ) ๑๓. ได้ศึกษาโครงการที่ท่านเสนอแล้วเป็นโครงการที่ดีแต่จะให้ปฏิบัติระยะนี้คงทำไม่ได้
หลักการเขียนหนังสือราชการ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. ๒๕๒๖ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๘
เอกสารที่เป็น หลักฐานในราชการ การเขียน หรือ เรียบเรียงข้อความ ตามเรื่องที่จะแจ้งความประสงค์ ตามที่ ต้องการไปยังผู้รับหนังสือหรือผู้ที่ต้องการ ทราบหนังสือนั้น หนังสือราชการ เอกสารที่เป็น หลักฐานในราชการ
หนังสือราชการ ๖ ชนิด ๒. หนังสือภายใน ๓. หนังสือประทับตรา ๑. หนังสือภายนอก ๒. หนังสือภายใน ๓. หนังสือประทับตรา ๔. หนังสือสั่งการ คำสั่ง ระเบียบ ข้อบังคับ ๕. หนังสือประชาสัมพันธ์ ประกาศ แถลงการณ์ ข่าว ๖. หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ หนังสือรับรอง รายงานการประชุม บันทึก หนังสืออื่น
หนังสือภายนอก หนังสือติดต่อราชการที่เป็นแบบพิธี ระหว่างกระทรวง กรม จังหวัด ส่วนราชการแห่งใดแห่งหนึ่งกับ กระทรวงอื่น กรมอื่น จังหวัดอื่น บุคคลภายนอก
ลักษณะของหนังสือภายนอก ๏ หนังสือติดต่อราชการที่เป็นแบบพิธี ๏ ติดต่อระหว่างส่วนราชการ หรือ ที่ส่วนราชการมีถึงหน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ ส่วนราชการ หรือที่มีถึงบุคคลภายนอก ๏ โดยใช้ กระดาษตราครุฑ
ส่วนราชการเจ้าของหนังสือ ส่วนราชการเจ้าของเรื่อง ชั้นความลับ ชั้นความเร็ว ที่ ส่วนราชการเจ้าของหนังสือ ที่ตั้ง วัน เดือน ปี เรื่อง เรียน อ้างถึง ข้อความ สิ่งที่ส่งมาด้วย คำลงท้าย (ลงชื่อ) (พิมพ์ชื่อเต็ม) ตำแหน่ง ส่วนราชการเจ้าของเรื่อง โทร. โทรสาร ชั้นความลับ
ลักษณะของหนังสือภายใน หนังสือติดต่อราชการที่เป็นแบบพิธีการน้อย กว่าหนังสือภายนอก ลักษณะของหนังสือภายใน ๏ เป็นแบบพิธีน้อยกว่า ๏ ติดต่อภายในกระทรวง กรม หรือจังหวัดเดียวกัน ไม่ใช้ติดต่อกับบุคคลภายนอก ๏ ใช้กระดาษบันทึกข้อความ ๏ ต้องพิมพ์ให้เรียบร้อย และมีต้นฉบับ สำเนาคู่ฉบับและสำเนา
สิ่งที่ส่งมาด้วย (ไม่มี) ชั้นความลับ ชั้นความเร็ว บันทึกข้อความ ส่วนราชการ.................................................................................. ที่.....................................วันที่....................................................... เรื่อง.............................................................................................. คำขึ้นต้น อ้างถึง (ไม่มี) ข้อควรระวัง สิ่งที่ส่งมาด้วย (ไม่มี) ข้อความ................................................ ข้อควรระวัง ขอแสดงความนับถือ (ไม่มี) (ลงชื่อ) (พิมพ์ชื่อเต็ม) ตำแหน่ง ชั้นความลับ
โครงสร้างหนังสือราชการ โดยปกติ แบ่งออกเป็น ๓ ส่วน ๑. หัวเรื่อง ๒. เนื้อเรื่อง ๓. ท้ายเรื่อง
๑. หัวเรื่อง ๒. เนื้อเรื่อง ๓. ท้ายเรื่อง ที่ตั้ง วัน เดือน ปี ที่ ส่วนราชการเจ้าของหนังสือ เรื่อง คำขึ้นต้น อ้างถึง สิ่งที่ส่งมาด้วย ส่วนเหตุ............................................................... .................................................................................................. ................................................................................................... ส่วนความประสงค์................................................................................ ........................................................ ส่วนสรุปความ.............................................. คำลงท้าย (ลงชื่อ) (....................) ตำแหน่ง ส่วนราชการเจ้าของเรื่อง โทร. ๐ ๒๒๘๒ ๒๖๙๔ โทรสาร ๐ ๒๒๘๒ ๗๘๙๖ ที่ตั้ง ๑. หัวเรื่อง วัน เดือน ปี ๒. เนื้อเรื่อง ๓. ท้ายเรื่อง
ชั้นความลับของเอกสาร (1) ลับที่สุด (Top Secret) เปิดเผยทั้งหมด/ บางส่วนจะเสียหายต่อรัฐร้ายแรงที่สุด (2) ลับมาก (Secret) เปิดเผยทั้งหมด/ บางส่วนจะเสียหายต่อรัฐร้ายแรง (3) ลับ (Confidential) เปิดเผยทั้งหมด/ บางส่วนจะเสียหายต่อรัฐ
ชั้นความเร็วของเอกสาร หนังสือที่ต้องจัดส่ง และ ดำเนินการทางสารบรรณ ด้วยความรวดเร็วเป็นพิเศษ ด่วนที่สุด ปฏิบัติในทันทีที่ได้รับหนังสือ (2) ด่วนมาก ปฏิบัติโดยเร็ว (3) ด่วน ปฏิบัติเร็วกว่าปกติ เท่าที่จะทำได้
ส่วนราชการเจ้าของเรื่อง ๏ ระดับกระทรวง ให้ลงชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่อง ทั้งในระดับกรม และ กอง ๏ ระดับกรมลงมา เพียงระดับกอง หรือ หน่วยงานที่รับผิดชอบ
หลักการเขียนชื่อ “เรื่อง”ที่ดี ๑. ย่อให้สั้นที่สุด ๒. เขียนให้เป็นประโยค หรือวลี ๓. พอให้รู้ใจความว่าเป็นเรื่องอะไร ๔. แยกความแตกต่างจากเรื่องอื่นได้ ๕. เก็บค้นอ้างอิงได้ง่าย
เรื่อง การลงโทษข้าราชการ เรื่อง การลงโทษข้าราชการพลเรือน เรื่อง การลงโทษข้าราชการพลเรือนที่กระทำผิด วินัยข้าราชการพลเรือนฐานทุจริตต่อหน้าที่ เรื่อง การลงโทษข้าราชการ เรื่อง การลงโทษข้าราชการพลเรือน เรื่อง แจ้งมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง แจ้งมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับ การช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย
ถ้าขึ้นต้นด้วยกริยา จะชัดเจนดี เช่น ขออนุมัติ ขออนุญาต ขอให้ ขอเชิญ ขอ หารือ ขอส่ง แจ้ง ชี้แจง ตอบข้อหารือ เรื่อง ขออนุมัติเลื่อนเงินเดือนเป็นกรณีพิเศษ เรื่อง ขออนุญาตนำเงินตราออกนอกประเทศ เรื่อง ขอผ่อนผันการคัดเลือกเข้ารับราชการทหาร เรื่อง ขอหารือเกี่ยวกับระเบียบงานสารบรรณฯ
อาจเติมคำว่า ลงไปข้างหน้า ชื่อเรื่องเดิม การ ข้อควรระวัง ๑. กรณีมีหนังสือติดต่อกันมาก่อนแล้ว โดยปกติ ให้ลงเรื่องของหนังสือฉบับเดิม เว้นแต่ ใช้ชื่อเรื่องเดิม ตอบคำขอจะไม่ถูกต้อง ให้ใช้คำนาม โดยปรับปรุงชื่อเรื่องใหม่ อาจเติมคำว่า ลงไปข้างหน้า ชื่อเรื่องเดิม การ
√ เรื่อง ข้อหารือเกี่ยวกับระเบียบงานสารบรรณฯ เรื่อง ขอหารือเกี่ยวกับระเบียบงานสารบรรณฯ √ เรื่อง การขอหารือเกี่ยวกับระเบียบงานสารบรรณฯ √ เรื่อง ข้อหารือเกี่ยวกับระเบียบงานสารบรรณฯ ๒. ไม่พึงใช้ชื่อเรื่องที่ไม่พึงประสงค์ เช่นการปฏิเสธคำขอ แจ้งข่าวร้าย ทวงถามให้ชำระหนี้ เรื่อง ไม่อนุมัติเลื่อนขั้นเงินเดือน √ เรื่อง การอนุมัติเลื่อนขั้นเงินเดือน
๓. ตรงประเด็น และตรงกับส่วนสรุปความ เรื่อง ขอเชิญเป็นวิทยากรบรรยาย เรียน ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ขอเชิญวิทยากรบรรยาย เรียน ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา ให้ความอนุเคราะห์วิทยากรด้วย
“ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง” คำขึ้นต้น ให้ใช้ตามฐานะของผู้รับเช่น ประธานรัฐสภา นายกรัฐมนตรี ประธานศาลฎีกา ฯลฯ “ กราบเรียน” “ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง” แล้วตามด้วยตำแหน่งของผู้ที่หนังสือนั้นมีถึง หรือชื่อบุคคลกรณีไม่เกี่ยวกับตำแหน่งหน้าที่
อ้างถึง ๏ ให้อ้างถึงหนังสือที่เคยติดต่อกันมาก่อนแล้วทุกครั้ง ๏ ให้อ้างถึงหนังสือฉบับสุดท้ายที่เคยติดต่อกันเพียงฉบับเดียว เว้นแต่ เป็นสาระสำคัญ
หากจะให้ชัดเจน และสะดวกในการตรวจนับ ควรระบุจำนวนเอกสาร สิ่งที่ส่งมาด้วย ถ้าเป็นเอกสารควรระบุว่าเป็นเอกสารใดหรือสิ่งของประเภทใด และมีจำนวนเท่าใด ชุด/ฉบับ รายงานการประชุม จำนวน ๑ .............. สำเนาคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี จำนวน ๑ ....... ฉบับ หากจะให้ชัดเจน และสะดวกในการตรวจนับ ควรระบุจำนวนเอกสาร แผ่น สำเนาสัญญาจ้างที่ปรึกษาฯ จำนวน ๕ .........
หลักทั่วไปที่นิยมยึดถือ ในการเขียนหนังสือราชการ ๑. เขียนให้ถูกต้อง ๒. เขียนให้ชัดเจน ๓. เขียนให้รัดกุม ๔. เขียนให้กะทัดรัด ๕. เขียนให้บรรลุวัตถุประสงค์
ถูกแบบ ๒. ถูกเนื้อหา ๓. ถูกหลักภาษา ๔. ถูกความนิยม ๕. ถูกใจผู้ลงนาม การเขียนให้ถูกต้อง ถูกแบบ ๒. ถูกเนื้อหา ๓. ถูกหลักภาษา ๔. ถูกความนิยม ๕. ถูกใจผู้ลงนาม
๓. ชี้แจงข้อเท็จจริง ๑. ขออนุญาต หรือขออนุมัติ ๑. ขออนุญาต หรือขออนุมัติ ก. จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา ข. จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติด้วยจะขอบคุณยิ่ง ๒. รายงานผลการปฏิบัติงาน ก. จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ ข. จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ และพิจารณาดำเนินการต่อไป ๓. ชี้แจงข้อเท็จจริง ข. จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและดำเนินการต่อไปด้วย จะขอบคุณยิ่ง ๔. ส่งข้อมูล ก. จึงเรียนมาเพื่อทราบ ๕. เชิญเป็นวิทยากร ก. จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณารับเชิญด้วย จะขอบคุณยิ่ง ข. คณะหวังว่าจะได้รับความอนุเคราะห์จากท่านด้วยดี และขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ ๖. ขอความร่วมมือ หรือขอความอนุเคราะห์ ก. จึงเรียนมาเพื่อโปรดให้ความร่วมมือ ขอขอบคุณ ข. จึงเรียนมาเพื่อโปรดให้ความร่วมมือ (อนุเคราะห์) ด้วย จะขอบคุณยิ่ง ค. คณะหวังว่าจะได้รับความอนุเคราะห์จากท่านด้วยดีเช่นเคย และขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ ๗. ซักซ้อมความเข้าใจ ยืนยันหรือให้ดำเนินการ ก. จึงเรียนซักซ้อมมาเพื่อให้ (โปรด)เข้าใจตรงกัน ข. จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและถือปฏิบัติต่อไป ค. จึงเรียนมาเพื่อโปรดดำเนินการต่อไป จะขอบคุณยิ่ง
หางเสียง ต่อไป จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาดำเนินการ อนุมัติให้เดินทางไปราชการต่างประเทศ ได้ ขอเชิญท่านไปพบเจ้าหน้าที่เพื่อดำเนินการให้ เรียบร้อยต่อไป ด้วย
กราบเรียน โครงสร้างส่วนหัวหนังสือ การเขียน...คำขึ้นต้น ประธานองคมนตรี ตัวอย่าง ประธานองคมนตรี นายกรัฐมนตรี ประธานวุฒิสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานศาลฎีกา รัฐบุรุษ กราบเรียน