ศาสนศึกษา Religions Studies *Source : MCT Illustration http://www.ocregister.com/articles/muslim-280510-religious-martyrs.html ศาสนศึกษา Religions Studies
ประวัติความเป็นมาของศาสนา ประวัติความเป็นมาของศาสนาอ้างถึงการเขียนบันทึกที่เป็นลายลักษณ์อักษรที่เกี่ยวกับประสบการณ์และความคิดของมนุษย์ ช่วงเวลาแห่งประวัติศาสตร์ศาสนานี้เริ่มต้นด้วยการประดิษฐ์ของอักษรเมื่อประมาณ 5,200 ปีที่ผ่านมา (3,200 ปีก่อนคริสตกาล) ยุคก่อนประวัติศาสตร์ของศาสนานี้เกี่ยวข้องกับการศึกษาความเชื่อทางศาสนาที่มีอยู่ก่อนที่การกำเนิดของการบันทึกที่เป็นลายลักษณ์อักษร *Source : http://www.bible-archeology.com/2013/01/when-did-religion-first-begin.html http://en.wikipedia.org/wiki/History_of_religions
ความหมายของศาสนา ศาสนา หมายถึง ลัทธิความเชื่อถือของมนุษย์อันมีหลักคือแสดงกําเนิดและความสิ้นสุดของโลก เป็นต้น อันเป็นไปในฝ่ายปรมัตถ์ประการหนึ่ง แสดงหลักธรรม เกี่ยวกับบุญบาปอันเป็นไปในฝ่ายศีลธรรมประการหนึ่ง พร้อม ทั้งลัทธิพิธีที่กระทําตามความเห็นหรือตามคําสั่งสอนในความ เชื่อถือนั้นๆ (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2542)
องค์ประกอบสำคัญของศาสนา องค์ประกอบของศาสนา ศาสดา สาวก คัมภีร์ ศาสนพิธี ศาสนสถาน
จุดกำเนิดและพัฒนาของศาสนา กลุ่มนักปรัชญา (Philosopher Groups) เสนอแนวคิดที่เป็นสาเหตุของการเกิดศาสนาอยู่ 6 ประการ การนับถือธรรมชาตินิยม Animatisms ความเชื่อในลัทธิวิญญาณนิยม Animism การบูชาบรรพบุรุษ Ancestor Worship ความเชื่อในลัทธิพหุเทวนิยม Poly-theism ความเชื่อในลัทธิเอกเทวนิยม Mono-theism ความเชื่อในเหตุผลนิยม Rationalism
จุดกำเนิดและพัฒนาของศาสนา กลุ่มนักสังคมวิทยา (Socialist Groups) เสนอแนวคิดที่เป็นสาเหตุของการเกิดศาสนาอยู่ 4 ประการ ทฤษฎีความไม่รู้ Ignorance of theory ทฤษฎีความกลัว Fear of theory ทฤษฎีความจงรักภักดี ทฤษฎีการชดเชยทางจิตวิทยา
มูลเหตุให้เกิดศาสนา มูลเหตุให้เกิดศาสนา ความไม่รู้ ความกลัว ความจงรักภักดี ความรู้
จุดกำเนิดและพัฒนาของศาสนา กลุ่มนักโบราณคดี (Archeologist Groups) เสนอแนวคิด และหาจุดกำเนิดของศาสนาที่แท้จริง E.B. Tylor บิดาวิชาโบราณคดียุคใหม่ มีความเชื่อ ในเรื่องวิญญาณหรือวิญญาณนิยม (Animism) ของมนุษย์เป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดศาสนาทั่วโลก Herbert Spencer เสนอแนวความคิดลัทธิเคารพบรรพบุรุษ (Ancestor Worship)
หลักการศึกษาศาสนาที่ควรนำมาพิจารณาแยกได้เป็น 4 แบบคือ วิธีการศึกษาศาสนา หลักการศึกษาศาสนาที่ควรนำมาพิจารณาแยกได้เป็น 4 แบบคือ ศึกษาศาสนาในแนวศาสนา เป็นการศึกษาโดยเริ่มจากการลำดับสาระสำคัญไปแต่ละเรื่องที่เป็นส่วนประกอบของศาสนา ศึกษาศาสนาในแนวปรัชญา เป็นการศึกษาในแบบนำเอาความคิดรวบยอด (concept) ในศาสนามาอธิบายในแนวปรัชญา ศึกษาศาสนาในแนวของศาสตร์ เป็นการศึกษาศาสนาในฐานะที่เป็นศาสตร์ โดยไม่นำเอาหลักศรัทธามาเกี่ยวข้อง ศึกษาศาสนาในแนวเปรียบเทียบ เป็นการศึกษาโดยนำเอาเนื้อหาของแต่ละศาสนามาเปรียบเทียบกันโดยสร้างสรรค์
ความแตกต่างของศาสนากับศาสตร์อื่นๆ ลัทธิ หมายถึง คติความเชื่อถือ ความคิดเห็น และหลักการที่มีผู้นิยมนับถือ และปฏิบัติตามสืบเนื่องกันมาจะเป็นในการเมืองการปกครองหรือจะเป็นความเชื่อทางศาสนาก็ได้ขึ้นอยู่กับบริบทแวดล้อม บางครั้งอาจใช้แทนคำว่า “ศาสนา” ได้ ความแตกต่างระหว่างลัทธิกับศาสนา ลัทธิมีองค์ประกอบสำคัญไม่ครบเหมือนกับศาสนา ลัทธิบางลัทธิมุ่งเน้นผลประโยชน์ของคนบางกลุ่ม ลัทธิไม่เกี่ยวข้องกับศีลธรรมจรรยา
ความแตกต่างของศาสนากับศาสตร์อื่นๆ ปรัชญา ความหมายของปรัชญาตามราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 หมายถึง วิชาว่าด้วยหลักแห่งความรู้และความจริง เป็นระบบความคิดหนึ่งๆ เท่านั้นแต่จะไม่เน้นในเรื่องการปฏิบัติ ความแตกต่างระหว่างปรัชญากับศาสนา ปรัชญาเป็นเรื่องของความรู้ ความเป็นเหตุผลไม่เกี่ยวกับศรัทธา ปรัชญาจะมุ่งเน้นเกี่ยวกับทัศนะหรือความคิดที่เห็นกว้างไกล ปรัชญาไม่ต้องมีองค์ประกอบเช่นเดียวกับศาสนา ไม่ต้องมีสาวก ไม่ต้องมีพิธีกรรม ไม่เน้นการปฏิบัติ ไม่มีความศักดิ์สิทธิ์
ความแตกต่างของศาสนากับศาสตร์อื่นๆ วิทยาศาสตร์ ความหมายของปรัชญาตามราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 หมายถึง ความรู้ที่ได้โดยการสังเกตและค้นคว้าจาก ปรากฏการณ์ธรรมชาติแล้วจัดเข้าเป็นระเบียบ, วิชาที่ค้นคว้าได้ หลักฐานและเหตุผลแล้วจัดเข้าเป็นระเบียบ ความแตกต่างระหว่างปรัชญากับศาสนา ความรู้ทางวิทยาศาสตร์รับรู้โดยประสาทสัมผัส มองเห็นเป็นรูปธรรม ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นความรู้ในเชิงปริมาณไม่เกี่ยวกับค่านิยม ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นความรู้ในลักษณะเป็นเงื่อนไขและความเป็นไปได้
สถิติการนับถือศาสนา
สถิติการนับถือศาสนา
สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานผลการจัยในชื่อ “ภูมิทัศน์ในการนับถือศาสนาของคนทั่วโลก” โดย (The Pew Forum on Religion & Public Life) รวบรวมข้อมูลจากสถิติในปี พ.ศ.2553 พบว่า ประชากรโลกที่ระบุว่าตัวเองเป็นคน “ไร้ศาสนา” หรือ “ไม่ผูกพันกับศาสนาใด” มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นจนติดอันดับ 3 ในขณะที่ศาสนาอิสลามและฮินดูมีแนวโน้มว่าคนจะนับถือมากที่สุดในโลก ส่วนศาสนายิวเป็นศาสนาที่มีแนวโน้มลดลงมากที่สุด (มติชนออนไลน์)
กิจกรรมที่ 3 นักศึกษาคิดว่าปัจจัยใดบ้างที่ทำให้ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาที่มีประชากรนับถือมากที่สุดในโลก นักศึกษาคิดว่าการนับถือศาสนาของประชากรโลกมีผลต่อศาสตร์ด้านอื่นๆ ในแง่มุมใดบ้าง จงอธิบาย