การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ (ครั้งที่ 1) คมโนทัศน์พื้นฐานเกี่ยวกับ การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ โดย ผศ.ดร.สำราญ กำจัดภัย
การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ : เกี่ยวข้องกับ Research Learning การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ : เกี่ยวข้องกับ Research Learning มีคำสำคัญ
Learning (การเรียนรู้) คำที่เกี่ยวข้อง - Learning Behavior - changing (enhancing, strengthening, development) - The Experience - Retention
Learning Behavior นักการศึกษาบางท่าน จัดเป็น ตามแนวคิดของ Bloom - Cognitive Behavior - Affective Behavior - Psychomotor Behavior นักการศึกษาบางท่าน จัดเป็น - Knowledge - Skills - Attributes
การเรียนรู้ (Learning) คืออะไร ที่ค่อนข้างถาวร การเปลี่ยนแปลง พฤติกรรม ประสบการณ์
Cognitive Behavior Higher-Order Thinking
1. ความรู้ (Knowledge) เป็นความสามารถ ในการจดจำแนกประสบการณ์ต่างๆ และระลึกเรื่องราวนั้น ๆ ออกมาได้ถูกต้องแม่นยำ
3. การนำความรู้ ความเข้าใจไปประยุกต์ (Application) เป็นความสามารถในการนำหลักการ กฎเกณฑ์และวิธีดำเนินการต่าง ๆ ของเรื่องที่ได้รู้มา นำไปใช้แก้ปัญหาในสถานการณ์ใหม่ได้
4. การวิเคราะห์ (Analysis) เป็นความสามารถใน การแยกแยะเรื่องราวที่สมบูรณ์ให้กระจายออกเป็นส่วนย่อยๆ ได้อย่างชัดเจน ระบุรายละเอียดและความสำคัญ ของแต่ละส่วนย่อย ๆ นั้น (วิเคราะห์ความสำคัญ) บอกความสัมพันธ์หรือความเกี่ยวข้องกันของส่วนต่าง ๆ (วิเคราะห์ความสัมพันธ์) และบอกหลักการของการอยู่รวมกันได้ของส่วนต่าง นั้น (วิเคราะห์หลักการ)
5. การสังเคราะห์ (Synthesis) เป็นความสามารถใน การผสมผสานส่วนย่อยเข้าเป็นเรื่องราวเดียวกัน โดยปรับปรุงของเก่าให้ดีขึ้นและมีคุณภาพสูงขึ้น (บ่งบอกว่ามี Creative thinking)
6. การประเมินค่า (Evaluation) เป็นความสามารถในการวินิจฉัยหรือตัดสินกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดลงไป การประเมินเกี่ยวข้องกับการใช้เกณฑ์ คือ มาตรฐาน ในการวัดที่กำหนดไว้
Affective Behavior เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นภายใจจิตใจของมนุษย์เกี่ยวข้องกับความรู้สึก อารมณ์และจิตใจของบุคคล เช่น ความสนใจ ความซาบซึ้ง เจตคติ ค่านิยม ความต้องการ การปรับตัว คุณธรรม จริยธรรม บุคลิกภาพ เป็นต้น เป็นสิ่งที่สร้างสมขึ้นจนเป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคล การเกิดจิตพิสัยภายในตัวบุคคลนั้น จะพัฒนาจากระดับต่ำจนถึงระดับสูง ได้แก่ การรับรู้ การตอบสนอง การสร้างคุณค่า การจัดระบบคุณค่า และการสร้างลักษณะนิสัย การพัฒนาให้เกิดจิตพิสัยในระดับสูงต้องอาศัยพื้นฐานระดับการเรียนรู้ที่ต่ำกว่า
Affective Behavior
Psychomotor Behavior เป็นพฤติกรรมที่เกี่ยวกับความสามารถในการปฏิบัติ สิ่งต่างๆของบุคคล เป็นพฤติกรรมที่บุคคลสามารถใช้ กล้ามเนื้อส่วนต่างๆของร่างกายทำงานให้ประสานกับ จิตใจ หรือประสาทสัมผัสได้อย่างรวดเร็ว เช่น การได้ยิน การเห็น การเคลื่อนไหวตามต้องการ การแสดงสีหน้า ท่าทาง การสื่อสารโดยใช้เสียง เป็นต้น
ลำดับขั้น Psychomotor Behavior
1. รับรู้หลักการปฏิบัติที่ถูกต้อง หรือ เป็นการเลือกหาตัวแบบที่สนใจ 2. พยายามฝึกตามแบบที่ตนสนใจและพยายามทำซ้ำ เพื่อที่จะให้เกิดทักษะตามแบบที่ตนสนใจให้ได้ หรือ สามารถปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนำ 3. สามารถปฏิบัติได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องอาศัยเครื่องชี้แนะ เมื่อได้กระทำซ้ำแล้ว ก็พยายามหาความถูกต้องในการปฏิบัติ 4. กระทำอย่างต่อเนื่องหลังจากตัดสินใจเลือกรูปแบบที่เป็นของตัวเองจะกระทำตามรูปแบบนั้นอย่างต่อเนื่อง จนปฏิบัติงานที่ยุ่งยากซับซ้อนได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง คล่องแคล่ว การที่ผู้เรียนเกิดทักษะได้ ต้องอาศัยการฝึกฝนและกระทำอย่างสม่ำเสมอ 5. กระทำได้อย่างเป็นธรรมชาติ พฤติกรรมที่ได้จากการฝึกอย่างต่อเนื่องจนสามารถปฏิบัติ ได้คล่องแคล่วว่องไวโดยอัตโนมัติ เป็นไปอย่างธรรมชาติ ซึ่งถือเป็นความสามารถของการปฏิบัติในระดับสูง
Bloom กล่าวว่า เมื่อเกิดการเรียนรู้ในแต่ละครั้งจะต้องมี การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น 3 ประการ จึงจะเป็นการเรียนรู้ที่สมบูรณ์
ท่านรู้ เข้าใจ เพียงใด กับคำว่า “การวิจัย” หรือ “Research” แล้วไงละ Are you ready?
การวิจัยคืออะไร แสวงหา ด้วย ความจริงส่วนบุคคล (Private facts) ความรู้ความจริง ความจริงสาธารณะ (Public facts) ด้วย วิธีการที่เป็นระบบ ความเชื่อถือได้
ตอบได้หลายแง่มุม ขึ้นอยู่กับความเชื่อหรือสำนึกคิดของนักปรัชญา ความจริงคืออะไร ตอบได้หลายแง่มุม ขึ้นอยู่กับความเชื่อหรือสำนึกคิดของนักปรัชญา ดังนั้น จึงขอสรุปว่า “ความจริงคือสิ่งที่เชื่อว่าจริง”
ค้นพบความจริงได้อย่างไร วิธีการค้นพบความจริง แบ่งเป็น 2 วิธีการ (กลุ่ม) กลุ่มแรก : การจะค้นพบความจริงทำได้โดยการให้เหตุผล ครุ่นคิด (คิดอย่างมีเหตุผลจะทำให้ได้ความจริง) โดยอาศัยหลักการนิรนัย (Deductive) เป็นเครื่องมือ ความจริงที่ได้มาจากภายในมิใช่ภายนอกหรือจากประสบการณ์ ที่ผ่านเข้ามา ความจริงเป็นสิ่งนิรันดรไม่แปรเปลี่ยน หากใช้เหตุผลคิด อย่างรอบคอบก็จะพบความจริงดังกล่าว ดังนั้นกลุ่มนี้จึงถูกเรียกว่า กลุ่มเหตุผลนิยม (Rationalism)
กลุ่มที่สอง : การจะค้นพบความจริงต้องอาศัยประสบการณ์ทั้งสิ้น วิธีการ ค้นหาจะใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้ากับประสบการณ์เดิม โดยอาศัยหลักการอุปนัย (Inductive) เป็นเครื่องมือสรุปข้อค้นพบ ดังนั้นกลุ่มนี้จึงถูกเรียกว่า กลุ่มประจักษ์นิยม (Empiricalism)
วิจัยกับการค้นพบความจริง ด้วยพื้นฐานความเชื่อเกี่ยวกับความจริงและวิธีการค้นพบความจริงที่กล่าวมาแล้ว นำไปสู่การเกิด ระเบียบวิธีวิจัยหรือวิธีวิทยาการวิจัย (Research Methodology) ที่แตกต่างกัน 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มแรก : Rational Research Methodology (ระเบียบวิธีวิจัยเชิงตรรกะ หรือ เชิงเหตุผล) กลุ่มที่สอง : Empirical Research Methodology (ระเบียบวิธีวิจัยเชิงประจักษ์)
กลุ่มแรก : Rational Research Methodology (ระเบียบวิธีวิจัยเชิงตรรกะ หรือ เชิงเหตุผล) การดำเนินการวิจัยมุ่งหาความจริงที่มีลักษณะเป็นการคิดและใช้ เหตุผล สรุปอย่างสมเหตุสมผลโดยอาศัยการนิรนัย ความถูกต้อง หรือความรู้ความจริงที่ได้รับจะพิจารณาจากการลงสรุปอย่างสมเหตุ สมผลเป็นสำคัญ โดยไม่สนใจว่าจะสอดคล้องกับสิ่งที่เกิดขึ้นใน ธรรมชาติหรือไม่ ตัวอย่างความรู้ความจริงที่ได้จากระเบียบวิธีวิจัยประเภทนี้ ได้แก่ ปรัชญา ตรรกศาสตร์ เรขาคณิต คณิตศาสตร์ เป็นต้น
กลุ่มที่สอง : Empirical Research Methodology (ระเบียบวิธีวิจัยเชิงประจักษ์) การดำเนินการวิจัยมุ่งหาความจริงโดยใช้ประสบการณ์ที่ผ่านประสาท สัมผัสทั้งห้าเป็นหลัก ความจริงที่มุ่งค้นหาจึงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นหรือเป็น ปรากฏการณ์ในธรรมชาติที่สามารถจับต้องได้ ความถูกต้องและน่าเชื่อถือเพียงใด ขึ้นอยู่กับความสามารถใน การทดสอบพิสูจน์ด้วยประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ประกอบกัน ตัวอย่างความรู้ความจริงที่ได้จากระเบียบวิธีวิจัยประเภทนี้ ได้แก่ ความรู้ความจริงที่เกี่ยวกับปรากฏการณ์ในธรรมชาติทั้งหมด
กลุ่มที่สอง : Empirical Research Methodology กลุ่มสำนักคิดที่ใช้ Empirical Research Methodology ยังแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มสำนักย่อย เนื่องจากพื้นฐานความเชื่อในการมองปรากฏการณ์ในธรรมชาติแตกต่างกัน ได้แก่ 1. กลุ่มปฏิฐานนิยม (Positivism) 2. กลุ่มปรากฏการณ์นิยม (Phenomenologism)
1. กลุ่มปฏิฐานนิยม (Positivism) มุ่งค้นหาความจริงของปรากฏการณ์ในธรรมชาติ โดยเน้นศึกษาปรากฏการณ์ที่เป็นวัตถุสสารที่สามารถสัมผัส จับต้อง วัดค่าได้อย่างเป็นวัตถุวิสัยหรือมีความเป็นปรนัย และมีความเชื่อว่าปรากฏการณ์ในธรรมชาติที่มุ่งศึกษานั้น เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอไม่แปรเปลี่ยนง่ายๆ นักวิจัยมีหน้าที่ค้นหา ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อที่จะใช้ความรู้ความจริงที่ค้นพบนี้ ไปควบคุมปรากฏการณ์ต่าง ๆ ในธรรมชาติให้เกิดหรือไม่เกิดขึ้น ตามความต้องการ
2. กลุ่มปรากฏการณ์นิยม (Phenomenologism) มุ่งศึกษาปรากฏการณ์โดยอาศัยประสบการณ์และประสาทสัมผัสทั้งห้าเป็นพื้นฐาน (เช่นเดียวกับกลุ่มแรก) แต่กลุ่มนี้มีความเชื่อ เกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางสังคม (ของมนุษย์) แตกต่างกับปรากฏการณ์ในธรรมชาติอื่นๆ โดยเชื่อว่า ปรากฏการณ์ทางสังคมมีลักษณะเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง หรือมีความเป็นพลวัตสูงมาก นอกจากนั้น ยังขึ้นอยู่กับความเชื่อ การให้คุณค่า ความหมาย และวัฒนธรรมของกลุ่มคนในสังคมนั้น ด้วยเหตุนี้ การที่จะทำการศึกษาให้ได้ความรู้ความจริง และเข้าใจถึงปรากฏการณ์ทางสังคมอย่างแท้จริงจึงไม่ สามารถกระทำได้โดยการแจงนับ วัดค่าออกมาเป็นตัวเลข หากแต่ จะต้องเข้าใจถึงความหมาย ระบบคุณค่า วัฒนธรรมของกลุ่มคนเสียก่อน
2. กลุ่มปรากฏการณ์นิยม (Phenomenologism) 1. กลุ่มปฏิฐานนิยม (Positivism) 2. กลุ่มปรากฏการณ์นิยม (Phenomenologism) กลุ่มที่สอง : Empirical Research Methodology ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research Methodology) ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research Methodology)
Qualitative Research Methodology Quantitative Research Methodology เข้าศึกษา ปรากฏการณ์ เก็บรวบรวม /วิเคราะห์ ข้อมูล สร้างข้อสรุป อธิบาย ปรากฏการณ์ ทฤษฎี จากพื้นที่ (weak theory) กำหนด สมมติฐาน เก็บรวบรวม /วิเคราะห์ ทดสอบ สมมติฐาน ทฤษฎีแข็ง (strong theory) นิรนัย ยืนยัน ปฏิเสธ Qualitative Research Methodology Quantitative Research Methodology ความสัมพันธ์ ของ 2 กลุ่ม
สังเกต ปรากฏการณ์ ในธรรมชาติ แล้วกำหนด ปัญหา ตั้ง สมมติฐาน เก็บรวบรวม ข้อมูล วิเคราะห์ ข้อมูล สรุปผล การค้นพบความจริง ด้วยกระบวนการวิทยาศาสตร์ อนุมาน อุปมาน
เพื่อควบคุม (Control) เป้าหมายของการวิจัย เพื่อควบคุม (Control) (การทำให้เกิดหรือไม่เกิดปรากฏการณ์ใดๆ ตามที่ต้องการ) เพื่อทำนาย (Prediction) (การบอกเล่าในลักษณะ ถ้า.........แล้ว) เพื่ออธิบาย (Explanation) (การบอกเล่าในเชิงสาเหตุและผลของปรากฏการณ์ หรือความสัมพันธ์ :why) เพื่อบรรยายหรือพรรณนา (Description) (การบอกเล่าตอบคำถาม who what where when how)
ขั้นตอนการทำวิจัยทั่วไป 6. สร้าง/เลือกเครื่องมือรวบรวมข้อมูล 1. ตระหนักถึงปัญหา 9. สรุปผลและเขียนรายงานวิจัย 2. กำหนดขอบเขตของปัญหา 8. การจัดกระทำข้อมูล 3. ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง 7. ดำเนินการรวบรวมข้อมูล 4. กำหนดสมมติฐาน 6. สร้าง/เลือกเครื่องมือรวบรวมข้อมูล 5. เขียนโครงการวิจัย
จรรยาบรรณนักวิจัย โดย สภาวิจัยแห่งชาติ www.research.cmru.ac.th/Site/files/banner/appendix10.pd
นักวิจัย หมายถึง ผู้ที่ดาเนินการค้นคว้าหาความรู้อย่างเป็นระบบ เพื่อตอบประเด็นที่สงสัย โดยมีระเบียบวิธีอันเป็นที่ยอมรับใน แต่ละศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งครอบคลุมทั้งแนวคิด มโนทัศน์ และวิธีการที่ใช้ในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล จรรยาบรรณ หมายถึง หลักความประพฤติอันเหมาะสมแสดงถึง คุณธรรมและจริยธรรมในการประกอบอาชีพ ที่กลุ่มบุคคลแต่ละ สาขาวิชาชีพประมวลขึ้นไว้เป็นหลัก เพื่อให้สมาชิกในสาขาวิชาชีพ นั้น ๆ ยึดถือปฏิบัติ เพื่อรักษาชื่อเสียงและส่งเสริมเกียรติคุณของ สาขาวิชาชีพของตน
จรรยาบรรณของนักวิจัย (สภาวิจัยแห่งชาติ) จรรยาบรรณนักวิจัย หมายถึง หลักเกณฑ์ควรประพฤติปฏิบัติ ของนักวิจัยทั่วไป เพื่อให้การดาเนินงานวิจัยตั้งอยู่บนพื้นฐาน ของจริยธรรมและหลักวิชาการที่เหมาะสม ตลอดจนประกัน มาตรฐานของการศึกษาค้นคว้าให้เป็นไปอย่างสมศักดิ์ศรีและ เกียรติภูมิของนักวิจัย
ข้อ 1 นักวิจัยต้องซื่อสัตย์และมีคุณธรรมในทางวิชาการ และการจัดการ นักวิจัยต้องมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองไม่นาผลงานของผู้อื่น มาเป็นของตน ไม่ลอกเลียนงานของผู้อื่น ต้องให้เกียรติและอ้างถึงบุคคลหรือแหล่งที่มาของข้อมูลที่นามาใช้ในงานวิจัย ต้องซื่อตรงต่อการแสวงหา ทุนวิจัย และมีความเป็นธรรมเกี่ยวกับผลประโยชน์ ที่ได้จากการวิจัย
ข้อ 2 นักวิจัยต้องตระหนักถึงพันธกรณีในการทาวิจัย ตามข้อตกลงที่ทาไว้กับหน่วยงานที่สนับสนุน การวิจัยและต่อหน่วยงานที่ตนสังกัด ข้อ 3 นักวิจัยต้องมีพื้นฐานความรู้ในสาขาวิชาการที่ทาวิจัย ข้อ 4 นักวิจัยต้องมีความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ศึกษาวิจัย ไม่ว่าเป็นสิ่งที่มีชีวิตหรือไม่มีชีวิต
ข้อ 5 นักวิจัยต้องเคารพศักดิ์ศรี และสิทธิของมนุษย์ ที่ใช้เป็นตัวอย่างในการวิจัย ข้อ 6 นักวิจัยต้องมีอิสระทางความคิด โดยปราศจากอคติ ในทุกขั้นตอนของการทาวิจัย ข้อ 7. นักวิจัยพึงนาผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในทางที่ชอบ ข้อ 8 นักวิจัยพึงเคารพความคิดเห็นทางวิชาการของผู้อื่น ข้อ 9 นักวิจัยพึงมีความรับผิดชอบต่อสังคมทุกระดับ
จรรยาบรรณของนักวิจัย ในไฟล์เอกสาร แนบ
for your best intentions.