พ.ร.ก.ยกเว้นและสนับสนุนฯ สำนักกฎหมาย กรมสรรพากร

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
สำนักมาตรฐานด้านการบัญชีภาครัฐ
Advertisements

การจัดการองค์ความรู้ ( KM )
1 ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับ ภาษีเงินได้ ( ฉบับที่ 183) เรื่อง กำหนด หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการลด อัตราภาษีเงินได้ของกิจการที่มีสถาน ประกอบกิจการตั้ง.
บทที่ 1 ภาพรวมของการสอบบัญชี
1.
โปรแกรมคำนวณคะแนน สหกรณ์ ตามเกณฑ์ดีเด่นแห่งชาติ กรมส่งเสริม สหกรณ์ กองพัฒนาสหกรณ์ด้านการเงิน และร้านค้า วิธีการใ ช้
ภาษีอากร.
การบริหารจัดเก็บภาษีสินค้ายาสูบ
๕ เรื่องเด่นในร่างรัฐธรรมนูญ
Strategy Map สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 16
วิชากฎหมายอาคาร รหัสวิชา ท-ป-น (2-0-2) หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปวช.2556 ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม สาขาวิชาช่างก่อสร้าง สาขาวิชาช่างโยธา.
ระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน ผอ.กลุ่มงานมาตรฐานการพัฒนาชุมชน
วาระที่ สรุปผลการปฏิบัติงาน ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2559
การให้เงินช่วยเหลือหรืออุดหนุนเพื่อส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน
Strategy Map สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร12
โดยอาจารย์ฐิติพร วัฒนชัย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
การกระทำอันไม่เป็นธรรม (Unfair Labour Practice)
กรณีที่กฎหมายกำหนดให้หักภาษี ณ ที่จ่าย
เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
โดย นายทรงเกียรติ ตาตะยานนท์ ผู้อำนวยการส่วนจัดการงบประมาณ
กรณีศึกษา : นักเรียน ระดับ ปวช.2 สาขาวิชาการบัญชี
ข่าวประชาสัมพันธ์สำนักงานเกษตรจังหวัดสุโขทัย
การบริหารจัดการหนี้ค้างชำระ กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี
ฝ่ายบัญชีและการเงิน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
ประกาศ ณ วันที่ 9 พฤศจิกายน 2561
ระบบติดตามงานของผู้ตรวจราชการกรม
ระบบติดตามงานของผู้ตรวจราชการกรม
การปฏิบัติราชการของส่วนราชการระดับหน่วยงานภายใน ประจำปีงบประมาณ พ. ศ
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์.
ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาตทำงาน และการอนุญาตให้ทำงานตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.
กำหนดกรอบระยะเวลาการขึ้นทะเบียนปี2556/57 1. ข้าว
กลุ่มเกษตรกร.
การให้เงินช่วยเหลือหรืออุดหนุน เพื่อส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน
โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณและการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ มีนาคม 2560.
ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
วาระที่ 3 เรื่องเพื่อทราบ
องค์กรตรวจสอบการทำงานภาครัฐ (สตง. / ปปช. / ปปท. )
ปี 2560 ปฏิทินการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส
ประกันภัยกับการพัฒนาเศรษฐกิจ
กรณีกองทุนหมู่บ้าน. กรณีกองทุนหมู่บ้าน กรณีกองทุนหมู่บ้าน (ต่อ) ตามหนังสือที่ พณ /1099 ลงวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ
จำนวนนิติบุคคลในจังหวัดเลย
ความคืบหน้าการจ้างลูกจ้างชั่วคราว เป็นพนักงานกระทรวงสาธารณสุข (พกส.)
Strategy Map สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 14
แนวปฏิบัติ การจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการ
กฎกระทรวง ความปลอดภัยทางรังสี พ.ศ.2561
ประชุม คปสจ.ประจำเดือนมิถุนายน ๒๕๕๙ MOTTO – กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ
ตัวอย่างการจัดทำรายงานการผลิต และงบการเงิน
ระบบติดตามงานของผู้ตรวจราชการกรม
ผู้ประกอบการโลจิสติกส์ในเขตปลอดอากร นักตรวจสอบภาษีชำนาญการพิเศษ
มาตรฐานการสอบทาน รหัส 2400 (ปรับปรุง)
บทที่ 6 เงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน
การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี และข้อผิดพลาด
Strategy Map สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 15
หลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ของผู้ให้บริการ
องค์กรต้นแบบอนามัยไร้พุง ปี 2552
จรรยาบรรณวิชาชีพและกฎหมายสำหรับการท่องเที่ยวและการโรงแรม
การบรรจุแต่งตั้งและอัตราเงินเดือน
การประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบ ภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.
ระบบติดตามงานของผู้ตรวจราชการกรม
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2560
27 , 30 ตุลาคม 2549 ธนาคารแห่งประเทศไทย
หุ้นส่วนและบริษัท การเป็นหุ้นส่วน คือ การทำสัญญาระหว่างบุคคลตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไปตกลงเข้ากันเพื่อทำกิจการร่วมกัน โดยประสงค์จะแบ่งปันผลกำไรที่จะพึงได้จากกิจการนั้น.
ขอบเขตของงานการจัดซื้อ
ประกาศกระทรวงพลังงาน ประกาศในราชกิจจานุเบกษา 22 ตุลาคม 2561
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
บทที่ 7 นิติบุคคล (Juristic Persons)
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
บทที่ 8 การบัญชีภาษีมูลค่าเพิ่ม
บทที่ 7 การบัญชีภาษีมูลค่าเพิ่ม
กระดาษทำการ (หลักการและภาคปฏิบัติ)
ใบสำเนางานนำเสนอ:

พ.ร.ก.ยกเว้นและสนับสนุนฯ สำนักกฎหมาย กรมสรรพากร

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง พ.ร.ก.ยกเว้นฯ - พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 595) พ.ศ. 2558 - พ.ร.ก.ยกเว้นและสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร พ.ศ.2558 - พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 595) พ.ศ. 2558 - ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฯ ลงวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2559 - คำชี้แจงกรมสรรพากร ลงวันที่ 4 มกราคม 2559

เหตุผลที่ต้องมีกฎหมาย พ.ร.ก.ยกเว้นฯ เพื่อสนับสนุนให้มีการจัดทำบัญชีให้สอดคล้องกับสภาพข้อเท็จจริงของกิจการ ซึ่งจะช่วยสะท้อนสภาพกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยรัฐบาลสามารถวิเคราะห์การและวางแผนในการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการได้ตรงต่อความต้องการ เพื่อเพิ่มศักยภาพทางการผลิตและการค้า รวมถึงการสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการ

นิติบุคคลที่จะได้รับสิทธิ พ.ร.ก.ยกเว้นฯ > บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จะได้รับสิทธิ - เสียภาษีจากฐานกำไรสุทธิ ได้แก่ (ก) บริษัทจำกัด (ข) บริษัทมหาชน จำกัด (ค) ห้างหุ้นส่วนจำกัด (ง) ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน (จ) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ ซึ่งประกอบกิจการในประเทศไทย ที่ไม่ใช่กิจการขนส่งผ่านประเทศต่าง ๆ (ฉ) กิจการร่วมค้า

นิติบุคคลที่จะได้รับสิทธิ พ.ร.ก.ยกเว้นฯ - มีรายได้จากการประกอบกิจการหรือเนื่องจากการประกอบกิจการ ซึ่งคำนวณตามหลักเกณฑ์สิทธิ์ ไม่เกิน 500 ล้านบาท ในรอบ บ/ช ที่ผ่านมาและมีกำหนดครบ 12 เดือน โดยวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุดก่อนหรือในวันที่ 31 ธ.ค. 58 > รอบ บ/ช ที่นำมาเป็นฐานในการคำนวณ 500 ล้านบาท คือรอบ บ/ช ล่าสุดที่ครบ 12 เดือน > รอบ บ/ช ก่อนไม่นำมาพิจารณา > รอบ บ/ช ถัดไปจะเกิน 500 ล้านบาท ก็ไม่ผิดเงื่อนไข

นิติบุคคลที่จะได้รับสิทธิ พ.ร.ก.ยกเว้นฯ ตัวอย่าง (ก) บริษัท ก จำกัด มีรอบ บ/ช ปกติ รายได้ที่เป็นฐานได้แก่ รายได้ของรอบ บ/ช ที่เริ่มในวันที่ 1 ม.ค. 58 ถึงวันที่ 31 ธ.ค. 58 (ข) บริษัท ข จำกัด มีรอบ บ/ช ปกติ แต่ได้รับอนุมัติให้เปลี่ยนแปลงวันสุดท้ายของรอบ บ/ช เป็นวันที่ 30 ก.ย. ของทุกปี ตั้งแต่รอบ บ/ช ที่เริ่มในวันที่ 1 ต.ค. 58 ถึงวันที่ 30 ก.ย. 59 เป็นต้นไป รายได้ที่เป็นฐาน ได้แก่ รายได้ของรอบ บ/ช ที่เริ่มในวันที่ 1 ม.ค. 57 ถึงวันที่ 31 ธ.ค. 57 รอบ บ/ช ที่เริ่มในวันที่ 1 ม.ค. 58 ถึงวันที่ 30 ก.ย. 58 ไม่ครบ 12 เดือน (ค) บริษัท ค จำกัด มีวันสุดท้ายของรอบ บ/ช วันที่ 31 มี.ค. ของทุกปี รายได้ที่เป็นฐาน ได้แก่ รายได้ของรอบ บ/ช ที่เริ่มในวันที่ 1 เม.ย. 57 ถึงวันที่ 31 มี.ค. 58

นิติบุคลที่จะได้รับสิทธิ พ.ร.ก.ยกเว้นฯ - จดแจ้งการได้รับสิทธิต่อกรมสรรพากร ตั้งแต่ 15 ม.ค. 59 - 15 มี.ค. 59 (ทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น)

สิทธิที่ได้รับยกเว้นจากการ พ.ร.ก.ยกเว้นฯ - ตรวจสอบ - ไต่สวน - ประเมิน - สั่งให้เสียภาษีอากร - ความผิดทางอาญาตามประมวลรัษฎากร

การยกเว้น พ.ร.ก.ยกเว้นฯ > ประเภทภาษีและช่วงเวลาที่ได้รับยกเว้น - ภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับรายได้ของรอบ บ/ช ที่มีวันเริ่มต้นของรอบ บ/ช ก่อนวันที่ 1 ม.ค. 59 และความผิดทางอาญาตามประมวลรัษฎากรที่เกี่ยวกับภาษีเงินได้นิติบุคคลดังกล่าว - ภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับมูลค่าของฐานภาษีที่เกิดขึ้นของเดือน ธ.ค. 58 และเดือนก่อนเดือน ธ.ค. 58 ทุกเดือน และความผิดทางอาญาตามประมวลรัษฎากรที่เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าว - ภาษีธุรกิจเฉพาะ สำหรับรายรับที่เกิดขึ้นของเดือนเดือน ธ.ค. 58 และเดือนก่อนเดือน ธ.ค. 58 ทุกเดือน และความผิดทางอาญาตามประมวลรัษฎากรที่เกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะดังกล่าว

การยกเว้น พ.ร.ก.ยกเว้นฯ > ประเภทภาษีและช่วงเวลาที่ได้รับยกเว้น - อากรแสตมป์ สำหรับการกระทำตราสารที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ 1 ม.ค. 59 และความผิดทางอาญาตามประมวลรัษฎากรที่เกี่ยวกับอากรแสตมป์ดังกล่าว *กรณีถูกประเมินหรือสั่งให้เสียภาษี หรือดำเนินคดีอาญาไปแล้ว ก็ให้ผลไปตามกฎหมายต่อไป

กรณีไม่อยู่ภายใต้บังคับ พ.ร.ก.ยกเว้นฯ > กรณีที่สามารถดำเนินการตรวจสอบฯ ต่อไปได้ - กรณีอยู่ระหว่างการตรวจสอบภาษีอากร โดยมีหมายเรียก ที่ออกก่อนวันที่ 1 ม.ค. 59 โดยเจ้าพนักงานประเมินสามารถดำเนินการตรวจสอบ ไต่สวน ประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากรสำหรับรอบ บ/ช ที่ออกหมายเรียกเท่านั้น รวมทั้งการดำเนินคดีอาญาตามประมวลรัษฎากรที่เกี่ยวกับความผิดสำหรับภาษีอากรที่ตรวจสอบดังกล่าว

กรณีไม่อยู่ภายใต้บังคับ พ.ร.ก.ยกเว้นฯ ตัวอย่าง บริษัท ง จำกัด ถูกเจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกตรวจสอบภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับรอบ บ/ช ที่เริ่มในวันที่ 1 ม.ค.57 ถึงวันที่ 31 ธ.ค. 57 เมื่อวันที่ 30 ธ.ค. 58 โดยบริษัท ง จำกัด ได้รับยกเว้นฯ ตาม พ.ร.ก. เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจตรวจสอบสำหรับรอบ บ/ช ดังกล่าวต่อไปได้ แต่ไม่มีอำนาจออกหมายเรียกตรวจสอบสำหรับรอบ บ/ช อื่นๆ ที่มีวันเริ่มต้นของรอบ บ/ช ก่อนวันที่ 1 ม.ค. 59 ซึ่งมิได้มีการออกหมายเรียกไว้ก่อนวันที่ 1 ม.ค. 59

กรณีไม่อยู่ภายใต้บังคับ พ.ร.ก.ยกเว้นฯ > กรณีที่สามารถดำเนินการตรวจสอบฯ ต่อไปได้ - กรณีอยู่ระหว่างการตรวจสอบของเจ้าพนักงานประเมินตามมาตรา 88/3 ที่ดำเนินการก่อนวันที่ 1 ม.ค. 59 โดยเจ้าพนักงานประเมินสามารถดำเนินการตรวจสอบ ไต่สวน ประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากรสำหรับเดือนภาษีที่ดำเนินการตรวจสอบเท่านั้น รวมทั้งการดำเนินคดีอาญาตามประมวลรัษฎากรที่เกี่ยวกับความผิดสำหรับภาษีอากรที่ตรวจสอบดังกล่าว

กรณีไม่อยู่ภายใต้บังคับ พ.ร.ก.ยกเว้นฯ ตัวอย่าง บริษัท จ จำกัด ถูกเจ้าพนักงานประเมินเข้าตรวจปฏิบัติการภาษีมูลค่าเพิ่มของปี 2557 (เดือนภาษี ม.ค. 57 ถึงเดือนภาษี ธ.ค. 57) เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 และการตรวจยังไม่เสร็จสิ้น โดยบริษัท จ จำกัด ได้รับยกเว้นฯ ตาม พ.ร.ก. เจ้าพนักงานประเมินสามารถดำเนินการตรวจสอบไต่สวน ประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากร สำหรับเดือนภาษี ม.ค. 57 ถึงเดือนภาษี ธ.ค. 57 ต่อไปได้ แต่ไม่มีอำนาจเข้าตรวจปฏิบัติการภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนภาษีอื่นซึ่งเป็นเดือนภาษีก่อนเดือนภาษี ม.ค. 59 ที่ยังไม่ได้เข้าไปตรวจปฏิบัติการภาษีมูลค่าเพิ่ม

กรณีไม่อยู่ภายใต้บังคับ พ.ร.ก.ยกเว้นฯ > กรณีที่สามารถดำเนินการตรวจสอบฯ ต่อไปได้ - กรณีเป็นผู้ออกหรือใช้ใบกำกับภาษีปลอม หรือหลีกเลี่ยงภาษีอากรโดยแสดงรายจ่ายอันเป็นเท็จ (ดำเนินการต่อไปได้เฉพาะกรณีดังกล่าวเท่านั้น) - กรณีอยู่ระหว่างการดำเนินคดีอาญาในชั้นพนักงานสอบ อัยการ หรือศาล

กรณีขอคืนภาษี พ.ร.ก.ยกเว้นฯ > การขอคืนภาษีที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ได้รับยกเว้น - กรณีได้ยื่นคำร้องขอคืนภาษี ก่อนวันที่ 1 ม.ค. 59 และเจ้าพนักงานประเมินได้ออกหมายเรียกตรวจสอบภาษีหรือดำเนินการตรวจสอบตามมาตรา 88/3 ก่อนวันที่ 1 ม.ค. 59 เจ้าพนักงานประเมินสามารถตรวจสอบ ไต่สวนรวมทั้งการประเมินภาษีอากรดังกล่าวได้ และคืนภาษีอากรดังกล่าวตามผลการตรวจตามที่ถูกต้องแท้จริงได้ หากมีภาษีอากรที่จะต้องชำระเพิ่มเติม (พร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามกฎหมาย) เนื่องจากเสียภาษีไม่ถูกต้องครบถ้วนตามกฎหมาย เจ้าพนักงานประเมินก็มีอำนาจประเมินออกใบแจ้งการประเมินภาษีให้ชำระภาษีอากรที่ต้องชำระเพิ่มเติม (พร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามกฎหมาย) ได้

กรณีขอคืนภาษี พ.ร.ก.ยกเว้นฯ - กรณีได้ยื่นคำร้องขอคืนภาษีอากรดังกล่าวก่อนวันที่ 1 ม.ค. 59 แต่เจ้าพนักงานประเมิน ยังไม่ได้ออกหมายเรียกหรือดำเนินการตรวจสอบตามมาตรา 88/3 หรือกรณีได้ยื่นคำร้องขอคืนภาษีอากรดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 59 เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจทำการตรวจสอบภาษีอากรที่ขอคืนหรือออกหมายเรียกเพื่อตรวจสอบภาษีอากรที่ขอคืน ไต่สวน และประเมินภาษีอากรได้ และคืนภาษีอากรดังกล่าวตามผลการตรวจตามที่ถูกต้องแท้จริงได้ โดยหากการตรวจสอบภาษีอากรที่ขอคืนแล้วปรากฏว่า มีภาษีอากรที่จะต้องชำระเพิ่มเติม (พร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม) เนื่องจากเสียภาษีไม่ถูกต้องครบถ้วนตามกฎหมาย มีอำนาจออกใบแจ้งการประเมินภาษีให้ชำระภาษีอากรที่ต้องชำระเพิ่มเติม (พร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามกฎหมาย) ได้

หลักเกณฑ์และเงื่อนไข พ.ร.ก.ยกเว้นฯ > เมื่อจดแจ้งและได้รับสิทธิยกเว้นแล้ว ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้ - ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ที่ต้องยื่นตั้งแต่ 1 ม.ค. 59 เป็นต้นไป - ยื่นแบบ ภ.พ.30 ที่ต้องยื่นตั้งแต่ ม.ค. 59 เป็นต้นไป - ยื่นแบบ ภ.ธ.40 ที่ต้องยื่นตั้งแต่ ม.ค. 59 เป็นต้นไป - ยื่นแบบขอเสียอากรเป็นตัวเงิน ที่ต้องยื่นตั้งแต่ ม.ค. 59 เป็นต้นไป - จัดทำบัญชีและงบการเงินให้สอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงของกิจการ (บัญชีเล่มเดียว) ตั้งแต่ 1 ม.ค. 59 เป็นต้นไป - ไม่กระทำการใดๆ ที่เป็นการหลีกเลี่ยงภาษีอากรตั้งแต่ 1 ม.ค. 59 เป็นต้นไป

หลักเกณฑ์และเงื่อนไข พ.ร.ก.ยกเว้นฯ ตัวอย่าง บริษัท ฉ จำกัด มีรอบ บ/ช ปกติ โดยรอบ บ/ช ที่เริ่มในวันที่ 1 ม.ค. 58 ถึงวันที่ 31 ธ.ค. 58 บริษัท ฉ จำกัด มีหน้าที่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ภายในวันที่ 29 พ.ค. 59 และต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 สำหรับรอบ บ/ช ถัดไปทุกรอบ บ/ช และถ้ามีภาษีที่ต้องชำระ ก็ต้องชำระภาษีพร้อมกับการยื่นแบบ ภ.ง.ด.50ดังกล่าว แต่ถ้ามีผลการคำนวณกำไรหรือขาดทุนสุทธิ เพื่อเสียภาษีเงินได้ นิติบุคคลแล้วปรากฏว่ามีผลขาดทุน ก็ไม่ต้องชำระภาษีพร้อมกับการยื่นแบบกล่าวแต่อย่างใด

กรณีไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข พ.ร.ก.ยกเว้นฯ > กรณีไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข - อธิบดีกรมสรรพากรจะมีคำสั่งเพิกถอนการได้รับสิทธิยกเว้นฯ และถือเสมือนว่าไม่เคยได้รับสิทธิยกเว้นใดๆ *เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจตรวจสอบ ไต่สวน ประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากร และดำเนินคดีอาญาได้ตามประมวลรัษฎากร

กรณีไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข พ.ร.ก.ยกเว้นฯ ตัวอย่าง บริษัท ช จำกัด ซึ่งได้รับยกเว้นตามที่กฎหมายกำหนด แต่ต่อมาปรากฏว่า บริษัท ช จำกัด ไม่ได้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 สำหรับรอบ บ/ช ที่เริ่มในวันที่ 1 ม.ค. 60 ถึงวันที่ 31 ธ.ค. 60 และอธิบดีกรมมีคำสั่งเพิกถอนการได้รับยกเว้นดังกล่าว เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจตรวจสอบ ไต่สวน ประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากร และดำเนินคดีความผิดทางอาญาตามประมวลรัษฎากร สำหรับรายได้ที่เกิดขึ้นในรอบ บ/ช ที่มีวันเริ่มต้นก่อนวันที่ 1 ม.ค. 59 หรือมูลค่าของฐานภาษี รายรับ การกระทำตราสาร หรือความผิดทางอาญาที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ 1 ม.ค. 59 ได้

กรณีการขอสินเชื่อ พ.ร.ก.ยกเว้นฯ > กรณีการขอสินเชื่อของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ตั้งแต่ 1 ม.ค. 62 เป็นต้นไป กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย จะดำเนินการที่จำเป็น ให้สถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแล ใช้บัญชีและงบการเงินที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลยื่นต่อกรมสรรพากร เป็นหลักฐานในการขอสินเชื่อ

ยกเว้นและลดอัตราภาษี พ.ร.ฎ. ฉบับที่ 595 > บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้จดแจ้งตาม พ.ร.ก.ยกเว้นและสนับสนุนฯ โดย - มีรายได้จากการขายสินค้าและให้บริการไม่เกิน 30 ล้านบาทและมีทุนที่ชำระแล้วไม่เกิน 5 ล้านบาท - ไม่ถูกเพิกถอนสิทธิตาม พ.ร.ก.ยกเว้นและสนับสนุนฯ - ไม่มีรอบ บ/ช ใดมีรายได้เกิน 30 ล้านบาท และมีทุนที่ชำระแล้วเกิน 5 ล้านบาท

ยกเว้นและลดอัตราภาษี พ.ร.ฎ. ฉบับที่ 595 > จะได้รับสิทธิยกเว้นและลดอัตราภาษี ดังนี้ - รอบ บ/ช ที่เริ่มในหรือหลัง 1 ม.ค .59 - 31 ธ.ค. 59 ยกเว้นกำไรสุทธิทั้งจำนวน - รอบ บ/ช ที่เริ่มในหรือหลัง 1 ม.ค. 60 - 31 ธ.ค. 60 ยกเว้น 3 แสนบาทแรก ส่วนที่เกินเสียภาษี 10%

สำนักกฎหมาย กรมสรรพากร จบ สำนักกฎหมาย กรมสรรพากร