Enterprise Decision Support Systems: EDSS

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
สรุปประเด็นสำคัญเรื่องเล่า
Advertisements

บทที่ 3 การบริหารพนักงานขาย
ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ (Business Information Systems)
การประเมินผลโครงการ บทที่ 9 ผศ.ญาลดา พรประเสริฐ yalada.
 เครือข่ายคอมพิวเตอร์  การที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทและ ความสำคัญเพิ่มขึ้น เพราะไมโครคอมพิวเตอร์ได้รับ การใช้งานอย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะ.
วิชา หลักการตลาด บทที่ 3
ซอฟต์แวร์ระบบที่รู้จักกันดี คือซอฟต์แวร์ควบคุมการปฏิบัติการ ของคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า ระบบปฏิบัติการ ระบบปฏิบัติการเป็นชุดคำสั่งที่ใช้ควบคุมระบบฮาร์ดแวร์และ.
จัดทำโดย ด. ญ. ดลยา มณีขัติย์ ชั้น ม.1/12 เลขที่ 18 ด. ญ. ณัฐธิดา วันเวียง ชั้น ม.1/12 เลขที่ 19 เสนอ อาจารย์ อรอุมา พงค์ธัญญะดิลก.
Chapter I พฤติกรรมผู้บริโภค.
การบริหารการค้าปลีกและการค้าส่ง
บทที่2 การวางแผนการผลิตและกำลังการผลิต
ประชุมจัดทำแผนปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาบริการกลุ่มวัยรุ่น ปี 2558 วันที่ 15 มิถุนายน 2558 ณ ห้องประชุมสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ จำกัด.
การปรับโครงสร้างการผลิตเป็นแปลงใหญ่
การประเมินผลโครงการ คปสอ.คลองใหญ่.
LOGO แนวคิดเกี่ยวกับระบบ สารสนเทศ นางสาวกนกรัตน์ นพ โสภณ SMET
การพัฒนาโปรแกรมระบบ รายงาน หน่วยงานเวชสารสนเทศ หน่วยงานเวชสารสนเทศ กลุ่มพัฒนาระบบบริการ สุขภาพโรงพยาบาลสุโขทัย.
CSIT-URU อ. กฤษณ์ ชัยวัณณคุปต์ Mathematics and Computer Program, URU บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ เทคโนโลยีสารสนเทศ Introduction to Information.
Adaptive Software Development. วงจรชีวิตของการพัฒนาซอฟแวร์ หรือ Software Development Life Cycle (SDLC) เป็นโครง ร่างหรือแนวทางวิธีการ เพื่อใช้ทำความเข้าใจและเพื่อ.
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับระบบ คุณภาพ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับระบบ คุณภาพ.
บทที่ 3 นักวิเคราะห์ระบบและการ วิเคราะห์ระบบ. 1. นักวิเคราะห์ระบบ (System Analysis) 1.1 ความหมายของนักวิเคราะห์ระบบ นักวิเคราะห์ระบบ (System Analysis:
ประเภทของ CRM. OPERATIONAL CRM เป็น CRM ที่ให้การสนับสนุนแก่กระบวนการธุรกิจ ที่เป็น “FRONT OFFICE” ต่างๆ อาทิ การขาย การตลาด และการ ให้บริการ SALES FORCE.
การกำจัดขยะ โดยใช้หลัก 3R. มารู้จักหลัก 3R กัน Reduce Reuse Recycle.
ระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน ผอ.กลุ่มงานมาตรฐานการพัฒนาชุมชน
เทคโนโลยีพื้นฐานของระบบสารสนเทศ
ระบบบัญชาการในสถานการณ์ Incident Command System: ICS
นำเสนอวิธีปฏิบัติที่ดี ด้านกิจกรรมพัฒนานักศึกษา
Material requirements planning (MRP) systems
การกำจัดขยะ โดยใช้หลัก 3R. มารู้จักหลัก 3R กัน Reduce Reuse Recycle.
หน่วยที่ 1 ข้อมูลทางการตลาด. สาระการเรียนรู้ 1. ความหมายของข้อมูลทางการตลาด 2. ความสำคัญของข้อมูลทางการตลาด 3. ประโยชน์ของข้อมูลทางการตลาด 4. ข้อจำกัดในการหาข้อมูลทาง.
ระบบ ISO 9001:2015 สำหรับธุรกิจบริหารจัดการเรือ
บทที่ 1 สถาปัตยกรรมของระบบฐานข้อมูล (Database Architecture)
11 May 2014
แบบฟอร์มที่ 2 ลักษณะสำคัญขององค์การ
Presentation การจัดการข้อร้องเรียนในธุรกิจบริการ Customer Complaint Management for Service.
บทที่ 1 ระบบสารสนเทศ (Information System)
บทที่ 8 การควบคุมโครงการ
บทที่ 3 แฟ้มข้อมูลและฐานข้อมูล
วิธีการกรอกแบบเสนอโครงการในไฟล์ Power point นี้
Information System MIS.
บทที่ 5 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์
การประเมินผลการปฏิบัติงาน
การประเมินผลการปฏิบัติงาน
Chapter 3 Executive Information Systems : EIS
ขั้นตอนการออกแบบ ผังงาน (Flow Chart)
บทที่ 3 ซอฟต์แวร์ประยุกต์
แนวคิดเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ
การบริหารโครงการซอฟต์แวร์
การประเมินผลการปฏิบัติงาน
โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณและการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ มีนาคม 2560.
โครงการจัดทำระบบฐานข้อมูล วัตถุเสพติดของกลาง (ระยะที่1)
รูปแบบ และ ประโยชน์การขายสินค้าออนไลน์
แผนการตลาดสำหรับ [ชื่อผลิตภัณฑ์]
กรอบรายการตรวจรับ อุปกรณ์ Firewall สำหรับจังหวัด
Integrated Information Technology
SMS News Distribute Service
บทที่ 4 หลักทฤษฎีและปฏิบัติการธุรกิจ ผศ.ญาลดา พรประเสริฐ
แบบฟอร์มที่ 2 ลักษณะสำคัญขององค์การ
โซ่อุปทานและโลจิสติกส์ ญาลดา พรประเสริฐ คณะวิทยาการจัดการ
บทที่ 9 การเรียงลำดับข้อมูล (Sorting)
บทที่ 7 การบริหารงานขนส่ง ( Transportation Management System : TMS )
การวางแผนกำลังการผลิต
Supply Chain Management
อ.ชิดชม กันจุฬา (ผู้สอน)
รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา Self – Assessment Report
8/26/2019 ชื่อบริษัท แผนธุรกิจ.
การประเมินผลโครงการ บทที่ 9 ผศ.ญาลดา พรประเสริฐ yalada.
อ. อรนพัฒน์ เหมือนเผ่าพงษ์ สาขาวิชาการจัดการโรงแรมและธุรกิจที่พัก
โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีถนนรีไซเคิลเพื่อลดขยะพลาสติกใน 4 ภูมิภาค
กระดาษทำการ (หลักการและภาคปฏิบัติ)
การใช้ระบบสารสนเทศในการวิเคราะห์ข่าว
ใบสำเนางานนำเสนอ:

Enterprise Decision Support Systems: EDSS อาจารย์สุรินทร์ทิพ ศักดิ์ภูวดล สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาเขตสารสนเทศพะเยา

เนื้อหา ความหมายของ EIS, ESS และ EDSS ประโยชน์ของ EIS ความแตกต่างและการทำงานร่วมกันของ EIS กับ DSS ความสัมพันธ์ระหว่าง EIS, Data Access, Data Warehouse และ OLAP Soft Information ภายใน Enterprise Systems ระบบสนับสนุนการตัดสินใจและระบบธุรกิจขององค์กร MRP, ERP และ SCM แนวโน้มของระบบ EIS และ ESS ในอนาคต

ความหมายของ EIS, ESS และ EDSS (1/3) ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง (Executive Information System: EIS) หมายถึง ระบบสารสนเทศที่มีพื้นฐานการทำงานด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่ช่วยให้ผู้บริหารระดับสูงสามารถเข้าถึง รวบรวม วิเคราะห์ และประมวลผล สารสนเทศ ทั้งภายในและนอกองค์กรตามต้องการได้อย่างสะดวก รวดเร็วยิ่งขึ้น เช่น การกำหนดนโยบาย การวางแผน การจัดตั้งงบประมาณ

ความหมายของ EIS , ESS และ EDSS (2/3) ระบบสนับสนุนการทำงานของผู้บริหารระดับสูง (Executive Support System: ESS) หมายถึง ระบบ EIS ที่มีการเพิ่มเติมความสามารถ เช่น ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อค้นหาสารสนเทศได้ สามารถประชุมทางไกล หรือการมีระบบสำนักงานอัตโนมัติรวมอยู่ด้วย ระบบสารสนเทศระดับองค์กร (Enterprise Information System: EIS) หมายถึง ระบบที่สนับสนุนการใช้สารสนเทศร่วมกันทั้งองค์กรตามความต้องการในแต่ละส่วนงาน สำหรับผู้ใช้ตั้งแต่ระดับปฏิบัติการจนถึงระดับสูง และสามารถทำงานร่วมกับองค์กรอื่น ได้ ซึ่งจัดว่าเป็นส่วนสำคัญของระบบ Enterprise Resource Planning (ERP)

ความหมายของ EIS , ESS และ EDSS (2/3) ระบบสนับสนุนการทำงานขององค์กร (Enterprise Support Systems: ESS) หมายถึงระบบที่ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจในระดับบุคคล กลุ่ม และ องค์กร โดยมีระบบ Enterprise Information Systems เป็นส่วนประกอบ และมีระบบ Decision Support Systems เพื่อช่วยในการวางแผนงานต่าง ๆ ในบางครั้งระบบ ESS จะใช้ประโยชน์จากคลังข้อมูลขององค์กร (Data Warehouse) อันจะทำให้การจัดเก็บและเข้าถึงข้อมูลสะดวกและรวดเร็วมากขึ้น และในที่สุดจึงเรียกระบบดังกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า “ระบบสนับสนุนการตัดสินใจระดับองค์กร (Enterprise Decision Support Systems: EDSS)”

โอกาสในการแก้ปัญหาหรือไม่? ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ประโยชน์ของ EIS สารสนเทศภายนอก สารสนเทศภายใน ประเมินและจำแนก สารสนเทศ ตรวจสอบสารสนเทศ ตรวจสอบสารสนเทศ วิเคราะห์เชิงคุณภาพ วิเคราะห์เชิงปริมาณ สารสนเทศเหล่านั้นมี โอกาสในการแก้ปัญหาหรือไม่? ไม่ใช่ EIS ใช่ DSS ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ

คุณลักษณะและความสามารถของ EIS โดยทั่วไป คุณภาพของสารสนเทศ มีความยืดหยุ่นสูง เป็นสารสนเทศที่มีความสมบูรณ์ เป็นสารสนเทศที่มีความทันสมัย เชื่อมโยงข้อมูลส่วนต่างๆ เข้าด้วยกันได้ เป็นสารสนเทศที่เชื่อถือได้ เป็นสารสนเทศที่สามารถตรวจสอบได้ ความสะดวกของผู้ใช้ ใช้งานง่ายเนื่องจากแสดงผลในรูปแบบ Web Page ใช้งานร่วมกับ Hardware ได้หลายรูปแบบ แสดงผลในรูปแบบ GUI ได้ดี มีระบบรักษาความปลอดภัยและควบคุมการเข้าใช้ เชื่อมโยงกับระบบ Internet ได้ มีระบบแนะนำการใช้งาน

คุณลักษณะและความสามารถของ EIS โดยทั่วไป ความสามารถทางเทคนิค เข้าถึงแหล่งข้อมูลได้ทั่วโลก สืบค้นข้อมูลเก่า และปัจจุบันได้พร้อมกัน เข้าถึงข้อมูลภายใน E-mail ได้ ใช้พยากรณ์ข้อมูลได้ เรียกใช้งานข้อมูลจากภายนอกได้ บ่งชี้ปัญหาและสาเหตุของปัญหาได้ เขียนคำอธิบายข้อมูลได้ มีระบบวิเคราะห์แบบ Ad hoc ประโยชน์ที่ได้รับ เพิ่มประสิทธิภาพของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ เข้าถึงข้อมูลได้สะดวก ประหยัดเวลา ทำให้วางแผนงานได้ง่ายและมีประสิทธิภาพ เพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารข้อมูล ช่วยค้นหาปัญหาและทางแก้ไข

คุณลักษณะและความสามารถของ EIS ความสามารถในการขุดเจาะสารสนเทศ (Drill Down) ความสามารถในการสร้างความสำเร็จ (Critical Success Factor) ความสามารถในการเข้าถึงสารสนเทศที่สำคัญได้ทุกสถานะ (Status Access) ความสามารถในการวิเคราะห์ (Analysis) ความสามารถในการสร้างรายงานกรณีพิเศษ (Exception Reporting) ความสามารถในการใช้สีและแสง (Color and Audio) ความสามารถในการนำร่องสารสนเทศ (Navigation of Information) ความสามารถในการติดต่อสื่อสาร (Communication)

คุณลักษณะและความสามารถของ EIS ความสามารถในการขุดเจาะสารสนเทศ (Drill Down) การบ่งบอกรายละเอียดของรายงานหรือสารสนเทศแบบสรุปได้ ความสามารถในการสร้างความสำเร็จ (Critical Success Factor) Critical Success Factor (CSF’s) เป็นคุณลักษณะของ EIS ที่ช่วยกำหนดเป้าหมายขององค์กร เพื่อนำไปสู่การกำหนดแผนกลยุทธ์ การบริหาร หรือการวางแผนควบคุมการทำงานภายในองค์กร ความสามารถในการเข้าถึงสารสนเทศที่สำคัญได้ทุกสถานะ (Status Access) หากระบบ EIS มีความสามารถในการเข้าถึงสารสนเทศที่สำคัญผ่านระบบเครือข่ายได้ตลอดเวลา จะช่วยให้การตัดสินใจของผู้บริหารมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

คุณลักษณะและความสามารถของ EIS ความสามารถในการวิเคราะห์ (Analysis) มีลักษณะการทำงานดังนี้ 1. เป็นฟังก์ชัน Built-In ของ EIS ระบบ EIS จะต้องประกอบด้วย ฟังก์ชัน Analysis ที่เป็น Built-In รวมอยู่ในระบบเรียบร้อยแล้ว เช่น OLAP 2. เป็นส่วนที่สามารถทำงานร่วมกับผลิตภัณฑ์ DSS ได้ เช่น สามารถใช้ภาษา Script ชนิดเดียวกันเพื่อเชื่อมโยงระหว่างคอมพิวเตอร์แม่ข่าย – ลูกข่าย หรือใช้งานเครื่องมือของ DSS ได้ รวมทั้งมี OLAP เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูลได้

คุณลักษณะและความสามารถของ EIS ความสามารถในการวิเคราะห์ (Analysis) (ต่อ) 3. วิเคราะห์โดยตัวแทนความฉลาด (Intelligent Agent) หรือตัวแทนปัญญา สามารถเตือนผู้บริหารในกรณีที่ข้อมูลหรือสารสนเทศที่กำลังวิเคราะห์มีความเบี่ยงเบนจากค่ามาตรฐาน เช่น การนำ Intelligent Agent มาใช้ในอุตสาหกรรมกระดาษของประเทศฟินแลนด์ ตัวแทนปัญญา จะทำการตรวจสอบสภาพแวดล้อมต่างๆจาก Web site เช่น ข่าว ราคาสินค้าในช่วงเดือนต่างๆ หรือความต้องการกระดาษ เมื่อข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลง ระบบจะส่งข้อความเตือนไปยังผู้บริหาร จากการวิเคราะห์และเปรียบเทียบกับข้อมูลเดิมขององค์กรที่เก็บไว้ในแหล่งจัดเก็บข้อมูล

คุณลักษณะและความสามารถของ EIS ความสามารถในการสร้างรายงานกรณีพิเศษ (Exception Reporting) เช่นข้อมูลที่มีค่าต่ำกว่ามาตรฐาน หรือดีกว่ามาตรฐาน เมื่อระบบ EIS พบค่าความแปรปรวนที่ผิดปกติ จะทำการสร้างแถบสีให้กับข้อมูลดังกล่าวได้ ความสามารถในการใช้สีและแสง (Color and Audio) เพื่อเพิ่มความสามารถในการแสดงส่วนที่เด่น และค้นหาข้อผิดพลาดเร็วขึ้นในรายงาน เช่น สีเขียวแสดงสถานการณ์ทำงาน, สีเหลืองแสดงสถานะเตือน ความสามารถในการนำร่องสารสนเทศ (Navigation of Information) หากระบบ EIS มีระบบนำร่องข้อมูลที่ไม่เหมาะสม จะทำให้เสียเวลาในการสืบค้น และเสียเวลาในการตัดสินใจ ความสามารถในการติดต่อสื่อสาร (Communication) ระบบสนับสนุนการต่อสื่อสารของ EIS เช่น E-mail, EDI หรือ Internet ซึงติดต่อได้รวดเร็ว และสามารถติดต่อสื่อสารได้ทั่วโลก

ความแตกต่างและการทำงานร่วมกันของ EIS กับ DSS ตารางเปรียบเทียบคุณลักษณะระหว่างระบบ DSS และ EIS DSS EIS ส่วนประกอบของ DSS ช่วยให้สามารถแก้ไขและค้นหาปัญหาที่เกิดกับระบบย่อยได้ ไม่สามารถแก้ไข หรือ คาดการณ์ปัญหาที่เกิดในระบบย่อยได้ การพัฒนาระบบ DSS จำเป็นต้องผ่านกระบวนการ Adaptive ไม่จำเป็นต้องใช้กระบวนการ Adaptive ในการพัฒนา มีแบบจำลองเป็นส่วนประกอบของระบบ ไม่มีแบบจำลองเป็นส่วนประกอบ ใช้ประโยชน์จากข้อมูลและแบบจำลอง ไม่ใช้ประโยชน์จากแบบจำลอง

ความแตกต่างและการทำงานร่วมกันของ EIS กับ DSS ตารางเปรียบเทียบระบบ DSS และ EIS มุมมอง DSS EIS ประโยชน์ที่มุ่งเน้น การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ การขุดเจาะข้อมูลสารสนเทศ กลุ่มผู้ใช้ นักวิเคราะห์และออกแบบระบบผู้จัดการ ผู้บริหารระดับสูง การสนับสนุนการตัดสินใจ สนับสนุนการตัดสินใจทุกรูปแบบโดยตรง สนับสนุนการตัดสินใจทางอ้อมในระดับสูงและการตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้าง ชนิดของสารสนเทศที่ใช้ สารสนเทศเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่เกิดขึ้น สารสนเทศทั่วไป เช่น ข่าวสาร ข้อมูลภายในภายนอกองค์กร ข้อมูลลูกค้า ตารางเวลา เป็นต้น การทำงานเบื้องต้น วางแผน จัดการองค์กร บุคลากร และควบคุม ติดตาม ควบคุมการทำงาน วางแผนและกำหนดทิศทางและโอกาสในการเกิดปัญหา

ความแตกต่างและการทำงานร่วมกันของ EIS กับ DSS ตารางเปรียบเทียบระบบ DSS และ EIS มุมมอง DSS EIS Graphics มีรูปแบบของ Graphic ในบางส่วน มีรูปแบบเป็น Graphic ในทุกส่วน การใช้งาน ใช้งานง่ายเมื่อไม่มีการทำงานร่วมกับระบบอื่น ใช้งานง่าย ระบบจัดการสารสนเทศ จากปัญหาที่ค้นพบด้วย EIS นำมาค้นหาแนวทางแก้ไข ด้วย DSS มีระบบกรอง ตรวจสอบ ติดตาม และเปรียบเทียบข้อมูล แบบจำลอง เป็นส่วนประกอบหลักของ DSS ที่จะต้องมี จัดเป็นเพียงส่วนประกอบที่จะมีการติดตั้งเมื่อผู้ใช้ต้องการ การพัฒนาระบบ บุคคลทั่วไป หรือ ส่วนงาน IT บริษัทผู้ผลิต Information System อุปกรณ์ประกอบ Mainframe, Workstation, PC, LAN Mainframe, Workstation, LAN ผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ สามารถจำลองแบบสถานการณ์ปัญหาต่างๆ ได้ และสร้างแบบจำลองเองได้ ต้องเข้าถึงฐานข้อมูลต่างชนิดได้ง่าย มีการเข้าถึงแบบ Online

การทำงานร่วมกันระหว่าง EIS และ DSS ตัวอย่าง ในการเพิ่มมูลค่าทางการตลาดซึ่งเป็นปัญหาในส่วนการตลาด องค์กรจะใช้ EIS ในการสืบค้น ตรวจสอบ และกรองสารสนเทศเพื่อกำหนดปัญหา จากนั้นนำปัญหาที่เป็นไปได้ดังกล่าวเป็นหลักเกณฑ์ในการเลือกใช้แบบจำลองของ DSS หลังจากได้คำตอบจากการใช้ระบบ DSS ในการตัดสินใจแก้ปัญหาแล้ว ข้อมูลดังกล่าวสามารถส่งกลับเข้าสู่ระบบ EIS ได้อีกครั้งเพื่อวางแผนจัดการในอนาคต

การทำงานร่วมกันระหว่าง EIS และ GDSS ในการตัดสินใจแบบกลุ่ม ระบบ EIS จะต้องสามารถทำงานร่วมกับ GDSS ได้ ซึ่งในปัจจุบันได้มีผู้พัฒนา EIS ให้สามารถ Integrate เข้ากับ GDSS ได้เช่น IMRS และ Domino เป็นต้น

ความสัมพันธ์ระหว่าง EIS, Data Access, Data Warehouse และ OLAP การพัฒนาระบบ EIS สำหรับจัดการฐานข้อมูลหลายรูปแบบ ทำให้การเข้าถึงข้อมูลจากระบบคลังข้อมูล (Data Warehouse) และระบบการจัดการฐานข้อมูลต้องเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเตรียมข้อมูลและสารสนเทศ ปัจจุบัน EIS สามารถเชื่อมโยงเข้ากับระบบเครือข่ายผ่าน Web Browser ทำให้มีผู้ผลิตชุดซอฟต์แวร์ EIS ได้รวมหน้าที่การติดต่อกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่ เรียกว่า “Web Ready” ไว้ในชุด Software EIS สำหรับผู้บริหาร เช่น Lotus Note เป็นต้น การสืบค้นข้อมูลผ่านระบบเครือข่าย โดยใช้เครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลหลายมิติ (Multidimensional Analysis) รวมกับเครื่องมือการประมวลผลเชิงวิเคราะห์แบบออนไลน์ (Online Analytical Processing: OLAP) ช่วยให้ผู้บริหารสามารถแสดงผลข้อมูลได้ทั้งในรูปกราฟิก และตารางคำนวณได้

Soft Information ภายใน Enterprise Systems Soft Information หมายถึง ข้อมูลที่ยังไม่ได้ผ่านการกลั่นกรอง ประเมินค่า หรือ ประมวลผล แต่มีประโยชน์ต่อกระบวนการตัดสินใจของผู้บริหาร ในระบบธุรกิจขององค์กร (Enterprise Systems) หลายด้าน ตัวอย่าง Soft Information ได้แก่ ข้อมูลการคาดการณ์แนวโน้มของตลาด ข้อมูลการวางแผน การตัดสินใจ และการประเมินผล ข้อมูลรายงานข่าว แนวโน้มอุตสาหกรรม ข้อมูลตารางการทำงานและการวางแผน ข้อมูลการแสดงความคิดเห็น หรือแสดงความรู้สึกของบุคลากร ข้อมูลข่าวลือ

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจและระบบธุรกิจขององค์กร ห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) หมายถึง การศึกษาการเคลื่อนไหวของวัตถุดิบ สารสนเทศ และบริการจากผู้จัดจำหน่าย (Suppliers) ผ่านโรงงานไปจนถึงผู้บริโภคคนสุดท้าย โดยมีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องคือ การสั่งซื้อ การขนส่งวัตถุดิบ การวางแผนและการควบคุมการผลิต การพาณิชย์และการควบคุมสินค้าคงคลัง การกระจายและขนส่งสินค้า ห่วงโซ่แห่งคุณค่า (Value Chain) Primary Activities (ส่วนปฏิบัติงาน หรือส่วนกิจกรรมปฐมภูมิ) Support Activities (ส่วนสนับสนุน)

องค์ประกอบของห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) (1/3) Upstream เป็น องค์ประกอบแรกสุดของห่วงโซ่อุปทาน เกี่ยวข้องกับวัตถุดิบ รวมถึงการเคลื่อนที่ของวัตถุดิบจากผู้ผลิตวัตถุดิบลำดับที่ 1, 2 จนเป็นวัตถุดิบในการผลิตและเข้าสู่กระบวนการผลิตขององค์กร Internal Supply Chain เป็น องค์ประกอบส่วนกลางของห่วงโซ่ เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการผลิต หลังจากรับวัตถุดิบจากผู้ค้า ไปจนถึงการบรรจุหีบห่อ และจัดเก็บในคลังสินค้า Downstream เป็น องค์ประกอบส่วนท้ายของห่วงโซ่ จะเริ่มต้นที่ผู้กระจายสินค้า ผู้ค้าปลีก ผู้ขายตรง จนถึงผู้บริโภคคนสุดท้าย

องค์ประกอบของห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) (2/3) ผู้ผลิตวัตถุดิบ ลำดับที่ 2 ผู้ผลิตวัตถุดิบ ลำดับที่ 1 ผู้ผลิตวัตถุดิบ ลำดับที่ 2 กระบวนการผลิต และ บรรจุหีบห่อ สายส่ง และตัวแทน จำหน่าย ผู้ผลิตวัตถุดิบ ลำดับที่ 2 ผู้ผลิตวัตถุดิบ ลำดับที่ 1 ผู้ค้าปลีก ผู้บริโภค Upstream Internal Downstream

องค์ประกอบของห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) (3/3) โรงงานผลิตถังไม้ ไร่องุ่น โรงเลื่อย สายส่ง และตัวแทน จำหน่าย โรงงานกระดาษ ผู้ผลิตฉลาก การบรรจุขวด ผู้ค้าปลีก โรงเป่าแก้ว โรงงานผลิตขวด ผู้บริโภค อื่น ๆ โรงงานผลิตไวน์ Upstream Internal Downstream

MRP, ERP และ SCM ระบบการวางแผนควบคุมความต้องการวัตถุดิบ (Material Requirements Planning: MRP) เป็นระบบที่ใช้ควบคุมการใช้วัตถุดิบ โดยจะใช้งาน MRP ควบคู่กับ การจัดการห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Management: SCM) ในยุคแรก MRP มีความผิดพลาดเกิดขึ้นบ่อยครั้ง เนื่องจากการวางแผนการผลิต การจัดการสินค้าคงคลัง และการจัดซื้อนั้น ล้วนแต่มีความสัมพันธ์กับ การจัดการทางการเงิน และทรัพยากรบุคคล จึงมีการพัฒนา MRP II ขึ้น ต่อมาได้พัฒนาระบบวางแผนการจัดการทรัพยากรในระดับองค์กร(Enterprise Resource Planning: ERP) มีวัตถุประสงค์เพื่อการทำงานร่วมกันระหว่างกิจกรรมต่าง ๆ ในกระบวนการธุรกิจภายในองค์กร และได้พัฒนาเป็นการจัดการทรัพยากรภายนอกองค์กรอันเนื่องมาจาก Supply Chain และเรียก Software ดังกล่าวว่า “ERP/SCM Software”

วิวัฒนาการของ ERP 1960 ‘s 1970 ‘s 1980 ‘s 1990 ‘s Supply Chain Management (SCM) Tele Computing 1960 ‘s Material Requirement Planning (MRP) Fuzzy Logic, LAN 1970 ‘s EIS, ES, GDSS, Customer Relation Management (CRM) Neural Networks, Internet 1980 ‘s BI, Data Mining, Data Warehouse, OLAP Intelligence Agency 1990 ‘s Enterprise Resource Planning (ERP)

แนวโน้มของระบบ EIS และ ESS ในอนาคต สนับสนุนการทำงานแบบ Multimedia เช่น แผนที่ ภาพ เสียง แสดงข้อมูลในหลายมิติ (Multidimensional Data) ซอฟต์แวร์ระบบ จะมีลักษณะการทำงานบน Web มากขึ้น มีการรวบรวมระบบสำนักงานอัตโนมัติเข้ากับระบบวิเคราะห์ข้อมูลของ EIS เช่น การพิมพ์จดหมาย การทำรายงาน และการคำนวณ เป็นต้น สนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่มมากขึ้น แนวโน้ม Global Support Systems องค์กรที่มีการดำเนินธุรกิจทั่วโลกจะต้องการระบบที่สามารถเชื่อมโยงและสื่อสารข้อมูลกันได้อย่างรวดเร็ว

Exception Report (รายงานความผิดปรกติ หรือรายงานกรณียกเว้น) รายงานที่ออกในกรณีพิเศษ เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นเมื่อมีสิ่งผิดปกติ หรือปัญหาเกิดขึ้น เพื่อรายงานให้ผู้บริหารรับทราบ และทำการตัดสินใจแก้ไขปัญหา เช่น รายงานกรณียกเว้นเมื่อมีการทำงานล่วงเวลามากกว่า 10% ของเวลาการทำงานรวมทั้งหมด Exception Report (รายงานกรณีเฉพาะ) เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นในกรณีพิเศษ ที่ไม่มีปรากฎในแผนงาน เช่น ในกรณีมีการหยุดงานของพนักงานมากผิดปกติจนทำให้กำลังการผลิตลดลง ผู้บริหารอาจจะต้องการดูรายงานการลาหยุดเฉพาะพนักงานที่มีจำนวนวันลาหยุดมากเกินไป และสามารถดูรายงานกำลังการผลิตที่ลดลงด้วย จะเห็นว่ารายงานประเภทนี้มักจะมีเงื่อนไขในการจัดทำรายงานที่นอกเหนือจากที่มีอยู่แล้ว http://g3.buildboard.com/images/attachpic/g3/B33/B33F1828T2935_6636209123f849794687e0d9b9b0b58f.doc