ประกาศการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่ 76/2560 เรื่อง กำหนดมาตรฐานทั่วไปในการระบาย น้ำเสียลงสู่ระบบบำบัดน้ำเสียส่วนกลางในนิคมอุตสาหกรรม ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
สรุปสาระสำคัญ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 10 (4) แห่งพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยพ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2539 ข้อ 17 และข้อ 29 ของข้อบังคับคณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม พ.ศ. 2551 ผู้ว่าการจึงออกประกาศไว้
สรุปสาระสำคัญ ให้ยกเลิกประกาศการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่ 78/2554 เรื่อง หลักเกณฑ์ทั่วไปในการระบายน้ำเสียเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสียส่วนกลางในนิคมอุตสาหกรรม ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2554 โดยใช้ประกาศความต่อไปนี้แทน
สรุปสาระสำคัญ ระบบระบายน้ำเสียที่จะระบายลงสู่ระบบบำบัดน้ำเสียส่วนกลางในนิคมอุตสาหกรรมจะต้องดำเนินการออกแบบก่อสร้างระบบระบายน้ำตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ 1.) ท่อระบายน้ำเสียต้องเป็นระบบท่อปิด 2.) ระบบระบายน้ำเสียต้องแยกออกจากระบบระบายน้ำฝนโดยเด็ดขาด 3.) ต้องมีบ่อตรวจคุณภาพน้ำ (INSPECTION MANHOLE) อย่างน้อย 1 บ่อภายในสถานประกอบกิจการก่อนที่จะระบายน้ำเสียลงสู่ระบบระบายน้ำเสียส่วนกลาง
สรุปสาระสำคัญ 4.) ต้องมีบ่อเก็บกักขนาดเหมาะสมเพียงพอที่จะปรับปรุงคุณลักษณะของน้ำเสียให้คงที่ในกรณีที่น้ำเสียมีคุณลักษณะเปลี่ยนแปลงมากในช่วงเวลาหนึ่งก่อนที่จะระบายน้ำเสียลงสู่ระบบระบายน้ำเสียส่วนกลาง 5.) จะต้องมีประตูน้ำปิด - เปิด ก่อนที่จะระบายน้ำเสียลงท่อระบายน้ำเสียส่วนกลาง 6.) การเชื่อมต่อท่อน้ำเสียเข้าท่อระบายน้ำเสียส่วนกลาง จะต้องต่อท่อจากบ่อตรวจคุณภาพน้ำ (INSPECTION MANHOLE) ของสถานประกอบกิจการ เชื่อมกับบ่อพักน้ำเสีย (MANHOLE) ที่ กนอ. ได้จัดเตรียมไว้ให้ โดยต้องเชื่อมรอยต่อให้สนิทเพื่อป้องกันน้ำซึมเข้า - ออก
สรุปสาระสำคัญ 2. ห้ามมิให้ผู้ประกอบกิจการระบายสารที่มีผลต่อการระบายและการบำบัดน้ำเสียลงสู่ระบบระบายน้ำเสียส่วนกลางในนิคมอุตสาหกรรม เช่น สารที่มีความหนืดสูง สารที่จับหรือตกตะกอนในท่อระบายแล้วทำให้อุดตัน หรือวัสดุที่ทำให้อุดตัน ตะกอนแคลเซี่ยมคาร์ไบด์ (Calcium Carbide Sludge) หรือสารตัวทำละลาย (Solvent)
สรุปสาระสำคัญ 3.กำหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำเสียที่จะระบายลงสู่ระบบบำบัดน้ำเสียส่วนกลางในนิคมอุตสาหกรรมไว้ ดังต่อไปนี้ 1.) ความเป็นกรดและด่าง (pH) ตั้งแต่ 5.5 ถึง 9.0 2.) อุณหภูมิ (Temperature) ไม่เกิน 45 องศาเซลเซียส 3.) สี (Color) ไม่เกิน 600 เอดีเอ็มไอ 4.) กลิ่น (Odor) ต้องไม่เป็นที่พึงรังเกียจ 5.) ของแข็งละลายน้ำทั้งหมด (Total Dissolved Solids หรือ TDS) ไม่เกิน 3,000 mg/l
สรุปสาระสำคัญ 6.) ของแข็งแขวนลอยทั้งหมด (Total Suspended Solids) ไม่เกิน 200 mg/l 7.) บีโอดี (Biochemical Oxygen Demand) ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส เวลา 5 วัน ไม่เกิน 500 mg/l 8.) ซีโอดี (Chemical Oxygen Demand) ไม่เกิน 750 mg/l 9.) ซัลไฟด์ (Sulfide) ไม่เกิน 1 mg/l 10.) ไซยาไนด์ (Cyanides HCN) ไม่เกิน 0.2 mg/l 11.) น้ำมันและไขมัน (Fat Oil and Grease) ไม่เกิน 10 mg/l 12.) ฟอร์มาลดีไฮด์ (Formaldehyde) ไม่เกิน 1 mg/l
สรุปสาระสำคัญ 13.) สารประกอบฟีนอล (Phenols Compound) ไม่เกิน 1 mg/l 14.) คลอรีนอิสระ (Free Chlorine) ไม่เกิน 1 mg/l 15.) สารฆ่าศัตรูพืชและสัตว์ (Pesticide) ต้องตรวจไม่พบ 16.) ทีเคเอ็น (Total Kjeldahl Nitrogen) ไม่เกิน 100 mg/l 17.) ฟลูออไรด์ (Fluoride) ไม่เกิน 5 mg/l 18.) สารซักฟอก (Surfactants) ไม่เกิน 30 mg/l
สรุปสาระสำคัญ 19) โลหะหนัก มีค่าดังนี้ 19.1) สังกะสี (Zinc) ไม่เกิน 5.0 mg/l 19.2) โครเมียมเฮกซะวาเลนท์ (Hexavalent Chromium) ไม่เกิน 0.25 mg/l 19.3) โครเมียมไตรวาเลนท์ (Trivalent Chromium) ไม่เกิน 0.75 mg/l 19.4) สารหนู (Arsenic) ไม่เกิน 0.25 mg/l 19.5) ทองแดง (Copper) ไม่เกิน 2.0 mg/l 19.6) ปรอท (Mercury) ไม่เกิน 0.005 mg/l 19.7) แคดเมียม (Cadmium) ไม่เกิน 0.03 mg/l
สรุปสาระสำคัญ 19.8) แบเรียม (Barium) ไม่เกิน 1.0 mg/l 19.9) ซีลีเนียม (Selenium) ไม่เกิน 0.02 mg/l 19.10) ตะกั่ว (Lead) ไม่เกิน 0.02 mg/l 19.11) นิกเกิล (Nickel) ไม่เกิน 1.0 mg/l 19.12) แมงกานีส (Manganese) ไม่เกิน 5.0 mg/l 19.13) เงิน (Silver) ไม่เกิน 1.0mg/l 19.14) เหล็กทั้งหมด (Total Iron) ไม่เกิน 10.00 mg/l
สรุปสาระสำคัญ การตรวจวัดหรือตรวจวิเคราะห์ต้องดำเนินการโดยห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ที่ได้รับอนุญาตจากหน่วยงานของราชการว่า มีความสามารถในการตรวจวัดหรือตรวจวิเคราะห์คุณลักษณะน้ำเสียในพารามิเตอร์นั้น มาตรฐานคุณภาพน้ำเสียที่ผู้ประกอบกิจการจะระบายลงสู่ระบบบำบัดน้ำเสียส่วนกลางในนิคมอุตสาหกรรมให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ เว้นแต่ในกรณีในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้กำหนดไว้แตกต่างกับประกาศนี้
สรุปสาระสำคัญ 6. ผู้ประกอบกิจการจะต้องก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียเบื้องต้นที่มีขนาดและประสิทธิภาพเพียงพอที่จะปรับปรุงคุณภาพน้ำเสียของสถานประกอบการของตนให้มีคุณลักษณะตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ในประกาศนี้หรือตามที่กำหนดไว้ในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมดังกล่าว ก่อนระบายน้ำเสียทุกส่วนลงสู่ระบบระบายน้ำเสียส่วนกลาง
จบการนำเสนอ