หลักการทำงานของเครื่องยนต์

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
Motor Expo 2006 : Challenger hall, Muang Thong Thani
Advertisements

โปรแกรมฐานข้อมูลสำหรับร้านอะไหล่ Carparts Database Systems
บทที่ 7 รีเคอร์ซีฟ ระหว่างการออกแบบเขียนโปรแกรมแบบบนลงล่าง (Top-down Design) จะมีงานย่อย(Subtask) เพื่อแก้ปัญหาในแต่ละเรื่อง และผู้เขียนโปรแกรมต้องการใช้งานย่อยในลักษณะที่เรียกตัวเองขึ้นมาทำงาน.
นพ.ขวัญประชา เชียงไชยสกุลไทย
การใช้โปรแกรม Hospital Cost Analysis (พัฒนาโดย รศ.นพ.กำจร ตติยกวี)
คณะคุรุศาสตร์อุตสาหกรรม วิทยาลัยเทคนิคมหาสารคาม
ผลของจังหวะการฉีดเชื้อเพลิงต่อสมรรถนะและการปลดปล่อยมลพิษของเครื่องยนต์ดีเซล 6 สูบ ที่ใช้เชื้อเพลิงเอทิลเอสเทอร์ผสมดีเซล นพดล พินธุกนก ดร. จิรวรรณ เตียรถ์สุวรรณ.
การแข่งขันทักษะวิชาชีพครั้งที่ 28
ช่างเทคนิคโตโยต้า>>ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการรักษาตามระยะ
แก๊สโซฮอล E 20 น้ำมัน PTT E20 Plus คืออะไร
Retro 110: “Retro Never Die” “ตำนานที่ไม่มีวันตาย…”
ระบบผลิตอากาศอัดทางทันตกรรม
Principles ( หลักการ ) Applications ( การใช้ งาน ) Maintenance ( การ บำรุงรักษา )
Power Point ประกอบการบรรยาย แก่ “ประธานกรรมการและเลขานุการ กรรมการสถานศึกษา ตามโครงการส่งเสริมประสิทธิภาพการดำเนินงานของกรรมการสถานศึกษา” วันที่ 19 ธันวาคม.
ทำอย่างไรสู่ความสำเร็จใน งานศูนย์ความเป็นเลิศ ประเด็น “ การบริหารจัดการ โครงสร้าง ” ดร. พนิตนาฎ ชำนาญเสือ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี
งานสารบรรณ บุญช่วย แสงตะวัน.
แนวทางการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการส่งเสริม
เครื่องยนต์ เครื่องยนต์.
ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ และ การติดตั้งอุปกรณ์ตกแต่งรถยนต์
การแข่งขันทักษะวิชาชีพครั้งที่ 31
Automotive and Alternative Fuel Laboratory (AAFL)
เสถียรภาพของระบบไฟฟ้ากำลัง Power System Stability (Part 1)
หลักการทำงานของเครื่องยนต์
ประวัติและโครงสร้างของเครื่องยนต์
ศูนย์การศึกษาและฝึกอบรมโตโยต้า
การใช้งานและบำรุงรักษา
ผู้อำนวยการส่วนกฎหมายและเบียบ กรมสรรพสามิต
เครื่องดูดน้ำลายเคลื่อนที่
ทัศนธาตุในงานทัศนศิลป์ และสิ่งแวดล้อม เหมือนและต่างกันอย่างไร
การดูแลผู้สูงอายุ ระยะยาว (Long Term Care )
หมวด ๔ : การจัดการระบบบริการครอบคลุมประเภทและประชากรทุกกลุ่มวัย
คุณภาพน้ำมันเพื่อผู้บริโภค
ส่วนประกอบหลักของการทำความเย็น ประกอบด้วย 4 ส่วน คือ 1
โครงการพัฒนาเกษตรใช้น้ำน้อย (DESIGN BY AGRI MAP) สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าตำบลตูม อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา.
การโคลนและศึกษาคุณสมบัติของยีน OsDFR ซึ่งเกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์แอนโทไซยานินและโปรแอนโทไซยานิดินในข้าวไทย นางสาวกนกภรณ์ คำโมนะ.
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
หลักการของเครื่องทำความเย็นและปรับอากาศ
หม้อไอน้ำ (Boilers).
การวางแผน (Planning) คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
สรุปรายงานสถานการณ์วัณโรค จังหวัดปทุมธานี ปี
งานก่อสร้างฯ / ซ่อมแซมฯ อาคาร สิ่งปลูกสร้าง และสาธารณูปโภค
มนุษย์กับเศรษฐกิจ.
การวิเคราะห์กิจการเพื่อการวางแผน
การเบิกจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยใน ภายใต้เพดานงบประมาณ โดยใช้เกณฑ์กลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม ( DRG ) ( เริ่ม 1 เม.ย. 45 )
การพัฒนาการจัดการ และมาตรฐานการบริการ
การพัฒนาระบบสารสนเทศ
แบบมาตรฐานระบบบำบัดน้ำเสียแบบได้ก๊าซชีวภาพ สำหรับฟาร์มสุกร
การวางแผนระบบการผลิต
แผนการจัดตั้งคลินิกหมอครอบครัวจังหวัดสตูล ปี
HAND BAG 1 HM-01034B 42x31x16 น้ำตาล HM x36x6 แทน HL-01043B
เครื่องขูดหินปูนไฟฟ้า
การบริหารสัญญา และหลักประกัน.
ระบบไอดีไอเสียรถยนต์
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
งาน (Work) คือ การออกแรงกระท าต่อวัตถุ แล้ววัตถุ
การใช้เครื่องมือในงานช่างยนต์
งานและพลังงาน.
Chapter 8: Analysis of Variance : ANOVA
ระบบนิวแมติกส์.
บทนำระบบนิวแมติกส์ จัดทำโดยนายนภดล ชัยนราทิพย์พร
บทนำระบบนิวแมติกส์.
การสังเคราะห์ด้วยแสง
อาการของมะเร็งเต้านม ที่กลับเป็นซ้ำ และ หรือ แพร่กระจาย
อ.ดร.จิรพรรณ โพธิ์ทอง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชนนี สุพรรณบุรี
การใช้งานและบำรุงรักษา
จงลุกขึ้น ... ฉายแสง ภารกิจที่ท้าทาย ผู้วินิจฉัย 6: 12.
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดชนิดและอัตรา หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคำนวณปริมาณสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่
กองการพยาบาลสาธารณสุข สำนักอนามัย
แนวทางการจัดทำและการขับเคลื่อน แผนปฏิบัติการ สพฐ.
การประเมินราคา (Cost estimation).
ใบสำเนางานนำเสนอ:

หลักการทำงานของเครื่องยนต์

เครื่องยนต์ที่ใช้กับรถยนต์ในปัจจุบันเป็นเครื่องยนต์ประเภทสันดาปภายใน ซึ่งจะทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานความร้อนที่เกิดจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงภายในกระบอกสูบให้เป็นพลังงานกล เครื่องยนต์ที่ใช้มีใช้อยู่หลายประเภทด้วยกัน เช่น เครื่องยนต์ แก๊สโซลีน เครื่องยนต์ดีเซล และเครื่องยนต์แก๊สเทอร์ไบน์ เป็นต้น แต่เครื่องยนต์แก๊สโซลีนและเครื่องยนต์ดีเซลเป็นที่นิยมติดตั้งกับรถยนต์นั่งและรถบรรทุก เนื่องจากมีขนาดเล็กและติดตั้งในเนื้อที่จำกัดได้ดี

กลวัตรการทำงานของเครื่องยนต์ เครื่องยนต์แก๊สโซลีนจะทำงานโดยดูดเอาไอดี (อากาศกับน้ำมันเชื้อเพลิง)และอัดไอดีโดยการเคลื่อนที่ของลูกสูบ หัวเทียนจะจุดประกายไฟเผาไหม้ไอดีในกระบอกสูบ เกิดแก๊สที่มีแรงดันสูงดันให้ลูกสูบเคลื่อนที่ลง ส่วนเครื่องยนต์ดีเซลจะแตกต่างจากเครื่องยนต์แก๊สโซลีนตรงที่มันจะดูดอากาศบริสุทธิ์จากภายนอกเข้ากระบอกสูบและอัดอากาศด้วยแรงดันของลูกสูบที่เคลื่อนที่ขึ้นจนเกิดความร้อน หัวฉีดจะฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงให้เป็นฝอยละอองคลุกเคล้ากับอากาศที่ถูกอัดให้ร้อน เกิดการลุกไหม้ขึ้นดันให้ลูกสูบเคลื่อนที่ลง จากการเคลื่อนที่ขึ้น-ลงของลูกสูบภายในกระบอกสูบของเครื่องยนต์ทั้งสองประเภท จะทำให้เกิดแรงไปหมุนที่เพลาข้อเหวี่ยงผ่านทางก้านสูบ แก๊สที่เกิดจากการเผาไหม้จะถูกระบายออกไปจากกระบอกสูบทางลิ้นไอเสีย กระบวนการทำงานของเครื่องยนต์ดังกล่าวไปแล้วข้างต้นเรียกว่า กลวัตรหรือไซเกิล (cycle)

กลวัตรการทำงานของเครื่องยนต์ในแต่ละแบบย่อมมีความแตกต่างกัน เช่น เครื่องยนต์ 4 จังหวะ ลูกสูบจะเคลื่อนที่ขึ้น-ลงถึง 2 ครั้ง เพลาข้อเหวี่ยงจะหมุนถึง 2 รอบ จึงจะได้งาน 1 ครั้ง ตำแหน่งที่ลูกสูบเคลื่อนที่ขึ้นสูงสุดภายในกระบอกสูบเรียกว่า จุดศูนย์ตายบน (top dead center หรือ TDC) และตำแหน่งที่ลูกสูบเคลื่อนที่ลงต่ำสุดเรียกว่า จุดศูนย์ตายล่าง (bottom dead center หรือ BDC)

การทำงานของเครื่องยนต์แก๊สโซลีน 4 จังหวะ เครื่องยนต์แก๊สโซลีน 4 จังหวะ จังหวะการทำงานใน 1 กลวัตรจะประกอบด้วย จังหวะดูด จังหวะอัด จังหวะระเบิดหรือจังหวะกำลัง และจังหวะคายไอเสีย การประจุไอดีและคายไอเสียจะมีกลไกการเปิด-ปิดลิ้นไอดีและลิ้นไอเสีย เครื่องยนต์แก๊สโซลีน 4 จังหวะจะทำงานครบรอบของการทำงานเมื่อเพลาข้อเหวี่ยงหมุน 2 รอบ ซึ่งจะทำให้การจุดระเบิดเกิดขึ้น 1 ครั้ง

การทำงานของเครื่องยนต์แก๊สโซลีน 4 จังหวะมีรายละเอียดดังนี้ 1. จังหวะดูด (Suction Stroke) จังหวะนี้ลูกสูบจะเคลื่อนที่ลงจากศูนย์ตายบน (TDC) ลิ้นไอดีจะเปิดและลิ้นไอเสียปิดสนิท ไอดีจะถูกดูดเข้ากระบอกสูบเมื่อลูกสูบเคลื่อนที่ลงสู่จุดศูนย์ตายล่าง (BDC) แรงดันภายในกระบอกสูบจะเริ่มลดน้อยลงกว่าแรงดันบรรยากาศ ทำให้ไอดีถูกดูดเข้ากระบอกสูบจนเต็ม ลิ้นไอดีจะยังคงเปิดไปจนกระทั่งเพลาข้อเหวี่ยงหมุนเลยผ่านจุดศูนย์ตายล่างไป 44 องศา 2. จังหวะอัด (Compression Stroke) ภายหลังจากจังหวะดูดสิ้นสุดลง ลิ้นไอดีจะปิดลงภายหลังจากเพลาข้อเหวี่ยงหมุนเลยจุดศูนย์ตายล่างไป 44 องศา ด้วยกลไกการทำงานของลิ้น ลูกสูบจะเคลื่อนที่จากจุดศูนย์ตายล่างขึ้นสู่จุดศูนย์ตายบน ไอดีจะถูกอัดตัวให้มีปริมาตรน้อยลง ทำให้เกิดกำลังดันและอุณหภูมิสูงขึ้น

3. จังหวะระเบิดหรือจังหวะกำลัง (Power Stroke) ก่อนที่ลูกสูบจะเคลื่อนที่ขึ้นถึงจุดศูนย์บน (TDC) หัวเทียนจะจุดประกายไฟเผาไหม้ไอดี ไอดีเมื่อถูกเผาไหม้จะเกิดการลุกไหม้ขึ้นอย่างรวดเร็ว เกิดแรงดันให้ลูกสูบเคลื่อนที่ลงสู่จุดศูนย์ตายล่างอย่างรุนแรง เกิดกำลังงานขับเคลื่อนเครื่องยนต์ ซึ่งจังหวะนี้ ลิ้นไอเสียจะเริ่มเปิดก่อนเมื่อลูกสูบจะเลื่อนถึงจุดศูนย์ตายล่าง 48 องศา 4. จังหวะคาย (Exhaust Stroke) เมื่อสิ้นสุดการทำงานของจังหวะกำลัง ลิ้นไอเสียจะถูกเปิดด้วยกลไกการทำงานของลิ้น ลูกสูบจะเคลื่อนที่จากจุดศูนย์ตายล่างขึ้นสู่จุดศูนย์ตายบนเพื่อขับไล่แก๊สไอเสียที่เกิดจากการเผาไหม้ออกไปจากกระบอกสูบ ลิ้นไอเสียจะปิดเมื่อลูกสูบอยู่ในตำแหน่งจุดศูนย์ตายบนหรือเพลาข้อเหวี่ยงหมุนเคลื่อนเลยจุดศูนย์ตายบนไปประมาณ 10 องศา

การทำงานของเครื่องยนต์แก๊สโซลีน 4 จังหวะ

6.3 การทำงานของเครื่องยนต์แก๊สโซลีน 2 จังหวะ เครื่องยนต์แก๊สโซลีน 2 จังหวะจะมีกลวัตรการทำงานคือ จังหวะดูด จังหวะอัด จังหวะระเบิด และจังหวะคาย เช่นเดียวกับเครื่องยนต์แก๊สโซลีน 4 จังหวะ แต่จังหวะดูดกับจังหวะอัดจะเกิดขึ้นพร้อมกัน ส่วนจังหวะระเบิดกับจังหวะคายจะเกิดขึ้นพร้อมกัน ซึ่งก็จะทำให้มีจังหวะของการทำงานเพียง 2 จังหวะเท่านั้น เครื่องยนต์แก๊สโซลีน 2 จังหวะจะมีการทำงานดังนี้ เมื่อลูกสูบเคลื่อนที่ลงจากจุดศูนย์ตายบนลงสู่จุดศูนย์ตายล่าง ซึ่งเป็นผลมาจากการระเบิดภายในกระบอกสูบในจังหวะระเบิด แรงดันที่เกิดการเคลื่อนที่ลงของลูกสูบจะไปผลักดันให้ไอดีที่บรรจุอยู่ภายในห้องเพลาข้อเหวี่ยงไหลผ่านช่องทางไอดีเข้าบรรจุภายในห้องเผาไหม้เหนือหัวลูกสูบ ไอดีส่วนหนึ่งจะไปขับไล่ไอเสียให้ออกไปจากห้องเผาไหม้ให้หมด

ลูกสูบยังเคลื่อนที่ขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งเกิดจากแรงเฉื่อย มันจะปิดช่องทางไอดีและช่องทางไอเสีย จึงทำให้เกิดการอัดตัวของไอดี ทำให้ปริมาณของไอดีลดลง ก่อนที่ลูกสูบจะเคลื่อนที่ขึ้นถึงจุดศูนย์ตายบน หัวเทียนจะจุดประกายไฟเผาไหม้ไอดี ในเวลาเดียวกัน ช่องทางไอดีจะถูกเปิด ทำให้ห้องเพลาข้อเหวี่ยงเกิดสุญญากาศ ไอดีจะถูกดูดผ่านรีดวาล์วบรรจุภายในห้องเพลาข้อเหวี่ยง ลูกสูบจะเคลื่อนที่ลงสู่จุดศูนย์ตายล่างเมื่อลูกสูบได้รับแรงดันที่เกิดจากการระเบิดที่รุนแรง มันจะเคลื่อนที่ลงทำให้ช่องทางไอเสียเปิด แรงดันไอเสียภายในห้องเผาไหม้สูงมากกว่าแรงดันบรรยากาศภายนอก จึงเป็นเหตุให้แก๊สไอเสียถูกขับออกจากห้องเผาไหม้โดยเร็ว

6.4 การทำงานของเครื่องยนต์ดีเซล 4 จังหวะ เครื่องยนต์ดีเซล 4 จังหวะ การทำงานใน 1 กลวัตรประกอบด้วย จังหวะดูด จังหวะอัด จังหวะกำลัง และจังหวะคาย เช่น เดียวกับเครื่องยนต์แก๊สโซลีน 4 จังหวะทุกประการ แต่มันจะแตกต่างกันที่ส่วนประกอบและหลักการทำงานเท่านั้น กลวัตรการทำงานของเครื่องยนต์ดีเซล 4 จังหวะประกอบด้วยการทำงานดังนี้ 1. จังหวะดูด (Suction Stroke) ในจังหวะนี้ ลิ้นไอดีจะเปิดให้อากาศบริสุทธิ์จากภายนอกดูดเข้ากระบอกสูบ แต่ลิ้นไอเสียจะยังคงปิดสนิทอยู่ ลูกสูบจะเคลื่อนที่ลงสู่จุดศูนย์ตายล่าง อากาศบริสุทธิ์จะไหลเข้ากระบอกสูบจนลูกสูบเคลื่อนที่ถึงจุดศูนย์ตายล่าง เป็นอันสิ้นสุดการทำงานของจังหวะดูด

2. จังหวะอัด (Compression Stroke) ลูกสูบจะเคลื่อนที่จากจุดศูนย์ตายล่างขึ้นสู่จุดศูนย์ตายบน ลิ้นไอดีและลิ้นไอเสียจะปิดสนิท อากาศที่บรรจุอยู่ภายในกระบอกสูบจะถูกอัดจนกระทั่งมีแรงดันสูงขึ้นประมาณ 30 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร (427 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว) ทำให้เกิดอุณหภูมิความร้อนสูงขึ้นประมาณ 500 ถึง 800 องศาเซลเซียส 3. จังหวะระเบิด (Expansion Stroke) อากาศบางส่วนจะถูกขับดันเข้าสู่ห้องเผาไหม้ช่วยที่อยู่เหนือห้องเผาไหม้หลัก หัวฉีดจะฉีดเชื้อเพลิงให้เป็นฝอยละอองเข้าห้องเผาไหม้ช่วย เกิดผสมคลุกเคล้ากับอากาศร้อนเชื้อเพลิงจึงเกิดการลุกไหม้ขึ้นด้วยตนเอง เนื่องจากเกิดความร้อนและแรงดันสูง เชื้อเพลิงที่ยังไม่เกิดการลุกไหม้จะถูกขับดันให้กลับเข้าสู่ห้องเผาไหม้หลัก คลุกเคล้ากับอากาศในห้องเผาไหม้หลักและลุกไหม้ขึ้นอย่างรวดเร็ว พลังงานที่เกิดจากการเผาไหม้จะผลักดันให้ลูกสูบเคลื่อนตัวลงสู่จุดศูนย์ตายล่าง ส่งผ่านไปยังก้านสูบและเพลาข้อเหวี่ยงถ่ายทอดกำลังออกจากเครื่องยนต์ตามลำดับ

4. จังหวะคาย (Exhaust Stroke) ลิ้นไอเสียจะเปิด ส่วนลิ้นไอดีจะปิดสนิทอยู่ ลูกสูบจะเคลื่อนที่ขึ้นจากจุดศูนย์ตายล่างขึ้นสู่จุดศูนย์ตายบน แก๊สไอเสียที่เกิดจากการเผาไหม้จะถูกลูกสูบขับดันให้ไหลออกจากกระบอกสูบซึ่งอุณภูมิความร้อนภายในกระบอกสูบในจังหวะนี้สูงประมาณ 550 ถึง 700 องศาเซลเซียส เมื่อลูกสูบเคลื่อนที่ก่อนถึงจุดศูนย์ตายบน ลิ้นไอเสียจะปิด ส่วนลิ้นไอดีจะเริ่มเปิดเพื่อเริ่มจังหวะดูดอีกครั้ง

6.6 การทำงานของเครื่องยนต์ดีเซล 2 จังหวะ เครื่องยนต์ดีเซล 2 จังหวะ มีกลวัตรการทำงานคือ จังหวะดูด จังหวะอัด จังหวะระเบิดและจังหวะคาย เช่นเดียงกันกับเครื่องยนต์ดีเซล 4 จังหวะ แต่จังหวะดูดกับจังหวะอัดจะเกิดขึ้นพร้อมกัน ในกรณีเดียวกันกับจังหวะระเบิดกับจังหวะคายก็จะเกิดขึ้นพร้อมกัน ลูกสูบจะเคลื่อนที่ขึ้นและลง 2 ครั้ง เพลาข้อเหวี่ยงหมุน 1 รอบ ซึ่งก็จะทำให้จังหวะการทำงานมีเพียง 2 จังหวะเช่นเดียวกับเครื่องยนต์แก๊สโซลีน 2 จังหวะ

เครื่องยนต์ดีเซล 2 จังหวะมีหลักการทำงานดังนี้ 1. จังหวะที่หนึ่ง เป็นจังหวะดูดและจังหวะอัด จะเริ่มต้นขึ้นเมื่อลูกสูบอยู่ที่จุดศูนย์ตายล่างและเริ่มเคลื่อนที่ขึ้นสู่จุดศูนย์ตายบน ก่อนจะเคลื่อนที่ขึ้น หัวลูกสูบจะอยู่ต่ำกว่าช่องทางไอดีเข้า ทำให้ช่องทางไอดีเปิด โบลว์เออร์จะดูดอากาศจากภายนอกผ่านช่องทางไอดีจนบรรจุเต็ม ลูกสูบจะเคลื่อนที่จากจุดศูนย์ตายล่างขึ้นสู่จุดศูนย์ตายบนปิดช่องทางไอดี ลิ้นไอเสียทั้งสองจะปิดสนิท อากาศจะถูกอัดเต็มที่จนอุณหภูมิสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว

2. จังหวะที่สอง เป็นจังหวะระเบิดกับจังหวะคาย เมื่อลูกสูบเคลื่อนที่ขึ้นอัดอากาศ หัวฉีดจะฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงให้เป็นฝอยละอองเข้าสู่ห้องเผาไหม้คลุกเคล้ากับอากาศร้อน เกิดการเผาไหม้ระเบิดดันให้ลูกสูบเคลื่อนที่ลงสู่จุดศูนย์ตายล่าง ลูกสูบจะเคลื่อนที่ลงประมาณ 80 ถึง 85 เปอร์เซ็นต์ของระยะชัก ลิ้นไอเสียจะเปิดให้ไอเสียระบายออก ทำให้ไอเสียมีกำลังดันต่ำลง ลูกสูบจะเคลื่อนที่ผ่านช่องไอดี อากาศที่มีกำลังดันที่สูงจากโบลว์เออร์จะไหลเข้ากวาดล้างไอเสียที่ตกค้างอยู่ภายในกระบอกสูบออกผ่านทางลิ้นไอเสีย และในเวลาเดียวกันก็จะบรรจุเข้าในกระบอกสูบซึ่งจะเป็นจังหวะที่หนึ่งคือจังหวะดูดกับจังหวะอัดอีกครั้ง

6.7 ประเภทเครื่องยนต์ 6.7.1แบ่งตามลักษณะจังหวะการทำงานของเครื่องยนต์ แบ่งตามลักษณะการทำงานเป็น 2 แบบด้วยกันคือ 1. เครื่องยนต์ 4 จังหวะ การทำงานใน 1 กลวัตรจะสมบูรณ์ได้เมื่อลูกสูบเคลื่อนตัวขึ้นจากจุดศูนย์ตายบน (TDC) และจุดศูนย์ตายล่าง (BDC) เพื่อทำงานในจังหวะดูด จังหวะอัด จังหวะระเบิด และจังหวะคาย เพลาข้อเหวี่ยงจะหมุน 2 รอบ และเพลาลูกเบี้ยวจะหมุน 1 รอบ 2. เครื่องยนต์ 2 จังหวะ เครื่องยนต์ 2 จังหวะเป็นเครื่องยนต์ที่ใช้ช่องไอดีและช่องไอเสียแทนการทำงานของลิ้น จังหวะการทำงานใน 1 กลวัตรจะทำงานในจังหวะดูด จังหวะอัด จังหวะระเบิด และจังหวะคาย โดยทุกการทำงาน 2 จังหวะ เพลาข้อเหวี่ยงจะหมุน 1 รอบหรือ 360 องศา

6.7.2 แบ่งตามลักษณะการจัดวางของกระบอกสูบ โดยทั่วไปจะมีการจัดวางกระบอกสูบเป็น 3 แบบคือ 1. กระบอกสูบแบบเรียงแถว (Inline Cylinder Engine) เสื้อสูบของเครื่องยนต์แบบเรียงแถวจะถูกหล่อให้กระบอกสูบวางเรียงเป็นแถวเดียวกัน ซึ่งจะมีตั้งแต่ 2, 3, 4 และ 6 สูบ การจัดวางกระบอกสูบแบบนี้เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เนื่องจากมีลักษณะโครงสร้างที่เรียบง่าย 2. กระบอกสูบแบบตัววี (V-type Cylinder Engine) เสื้อสูบจะถูกหล่อให้กระบอกสูบถูกแยกเป็นออกเป็นลักษณะรูปตัววี การออกแบบจัดวางกระบอกสูบมากกว่า 4 สูบ เช่น เครื่องยนต์วี 6 สูบ เครื่องยนต์วี 8 สูบ และเครื่องยนต์วี 12 สูบ เป็นต้น 3. กระบอกสูบแบบตรงข้ามหรือแบบนอน (Opposed Cylinder Engine) เสื้อสูบจะหล่อให้กระบอกสูบอยู่ตรงข้ามหรือแนวนอน การจัดวางกระบอกสูบแบบนี้ก็เพื่อลดขนาดความสูงของเครื่องยนต์ ส่วนมากจะใช้กับเครื่องยนต์ที่มีขนาดปานกลาง

6.7.3 แบ่งตามลักษณะการจัดวางของกลไกลิ้น 1. แบบการจัดวางลิ้นอยู่เหนือฝาสูบ (Overhead Valve หรือ OHV) ลิ้นไอดีและลิ้นไอเสียจะถูกติดตั้งอยู่บนฝาสูบ ดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องมีลูกกระทุ้งและก้านกระทุ้งลิ้นเพื่อถ่ายทอดแรงไปยังกระเดื่องกดลิ้น ถ้าเป็นเครื่องยนต์ที่จัดวางลูกสูบแบบเรียงแถว ลิ้นทั้งสองจะถูกจัดเรียงอยู่บนฝาสูบเป็นแถวเดียวกัน 2. แบบเพลาลูกเบี้ยวอยู่เหนือฝาสูบ (Overhead Camshaft หรือ OHC) ออกแบบให้เพลาลูกเบี้ยวติดตั้งอยู่บนฝาสูบซึ่งจะหมุนขับลิ้นไอดีและลิ้นไอเสียโดยตรง การส่งถ่ายกำลังงานจากเพลาข้อเหวี่ยงจะผ่านทางโซ่หรือสายพาน ทำให้เครื่องยนต์มีโครงสร้างที่ไม่ซับซ้อนเนื่องจากไม่มีลูกกระทุ้งและก้านกระทุ้ง จึงทำให้มีสมรรถนะสูง รอบเครื่องยนต์สูง การเปิดและปิดลิ้นมีความแม่นยำ

3. เพลาลูกเบี้ยวคู่อยู่บนฝาสูบ (Double Overhead Camshaft หรือ DOHC) การออกแบบเครื่องยนต์แบบนี้จะออกแบบให้มีเพลาลูกเบี้ยวถึงสองเพลาติดตั้งอยู่บนฝาสูบ ซึ่งเพลาลูกเบี้ยวเพลาแรกจะทำหน้าที่ขับกลไกของลิ้นไอดี ส่วนเพลาลูกเบี้ยวเพลาที่สองทำหน้าที่ขับกลไกการเปิดและปิดลิ้นไอเสีย ด้วยเหตุนี้ จึงไม่จำเป็นที่จะต้องมีลูกกระทุ้งและก้านกระทุ้ง ทำให้มีชิ้นส่วนที่น้อยลง แต่จะมีสมรรถนะการทำงานที่สูง การเปิดและปิดลิ้นที่ความเร็วรอบสูงมีความแม่นยำเมื่อเปรียบเทียบกับแบบ OHV และแบบ OHC

6.7.4 แบ่งตามลักษณะการระบายความร้อน 1. เครื่องยนต์ระบายความร้อนด้วยอากาศ เครื่องยนต์แก๊สโซลีนที่ใช้การระบายความร้อนด้วยอากาศจำเป็นที่จะต้องออกแบบโครงสร้างให้มีลักษณะที่สามารถถ่ายเทความร้อนได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นวัสดุที่ใช้ผลิตเครื่องยนต์จึงต้องมีคุณสมบัติที่สามารถถ่ายเทความร้อนได้อย่างรวดเร็วเช่นกัน

2. เครื่องยนต์ที่ระบายความร้อยด้วยน้ำ เสื้อสูบของเครื่องยนต์แก๊สโซลีนที่ใช้การระบายความร้อนด้วยน้ำจะถูกออกแบบให้มีช่องทางของน้ำหล่อเย็น เพื่อให้น้ำหล่อเย็นสามารถไหลหมุนเวียนระบายความร้อนรอบ ๆ กระบอกสูบ น้ำหล่อเย็นจะไหลหมุนเวียนได้อย่างอิสระ ดังนั้นทั้งเครื่องยนต์แก๊สโซลีนและเครื่องยนต์ดีเซลจึงต้องมีหม้อน้ำเพื่อทำหน้าที่ให้อากาศจากภายนอกระบายความร้อนออกไปจากน้ำหล่อเย็น

6.8 สมรรถนะของเครื่องยนต์ สมรรถนะของเครื่องยนต์สามารถวัดได้จากองค์ประกอบดังต่อไปนี้ คือ 1. ขนาดความโตของกระบอกสูบและระยะชักของลูกสูบ (Bore and Stroke) ระยะชักที่ใช้กับเครื่องยนต์ได้จัดแบ่งช่วงระยะชักของลูกสูบและขนาดความโตของลูกสูบออกเป็น 3 แบบคือ *เครื่องยนต์ที่มีระยะชักยาว เครื่องยนต์ประเภทนี้จะมีช่วงระยะชักที่ยาวกว่าขนาดความโตของกระบอกสูบทำให้ความเร็วของลูกสูบมีมากกว่า การสึกหรอจะสูงกว่าในช่วงความเร็วรอบที่เท่ากัน แต่อย่างไรก็ตาม เครื่องยนต์ที่มีช่วงระยะชักที่ยาวจะสามารถให้แรงบิดกับเครื่องยนต์ได้ดีกว่า

*เครื่องยนต์ที่มีช่วงระยะชักปานกลาง นั้นคือเครื่องยนต์จะต้องมีช่วงระยะชักกับความโตของกระบอกสูบเท่ากัน *เครื่องยนต์ที่มีช่วงระยะชักสั้น เป็นเครื่องยนต์ที่มีช่วงระยะชักสั้นกว่าความโตของกระบอกสูบ ในปัจจุบันนี้รถยนต์นั่งโดยทั่วไปจึงมักใช้เครื่องยนต์ที่มีช่วงระยะชักสั้นและปานกลาง เนื่องจากมีความเร็วของลูกสูบที่ต่ำกว่าเครื่องยนต์ที่มีช่วงระยะชักของลูกสูบยาว จึงทำให้สามารถลดการสึกหรอของกระบอกสูบ ลูกสูบและแหวนได้ดีกว่า

2. ความจุของกระบอกสูบ (Piston Displacement) คือปริมาตรทั้งหมดของกระบอกสูบซึ่งวัดจากการเคลื่อนที่ของลูกสูบจากศูนย์ตายบนไปสู่จุดศูนย์ตายล่าง และสามารถคำนวณความจุของกระบอกสูบรวมของเครื่องยนต์ มีหน่วยวัดเป็นลูกบาศก์เซนติเมตร (cm3) หรือ CC ซึ่งสามารถหาได้จากสมการต่อไปนี้ V= ¶D2xLxN 4 โดยที่ V= ความจุของกระบอกสูบ ¶= อัตราส่วนของเส้นรอบวงของวงกลมต่อเส้นผ่าศูนย์กลางของวงกลม (22/7 หรือ 3.1416) D= ความโตของกระบอกสูบ L= ระยะชักของลูกสูบ N= จำนวนกระบอกสูบของเครื่องยนต์นั้น

3. อัตราส่วนกำลังอัด (Compression Ratio) คืออัตราส่วนของปริมาตรของส่วนผสมของไอดีที่ถูกดูดเข้าในกระบอกสูบในจังหวะดูดและจะถูกอัดตัวในจังหวะอัดให้มีปริมาตรหนึ่งภายในห้องเผาไหม้ ถ้าเครื่องยนต์มีอัตราส่วนของกำลังอัดมาก แรงดันที่เกิดจากการเผาไหม้ภายในกระบอกสูบจะมีสูงมาก เช่น เดียวกัน ทำให้เครื่องยนต์มีแรงบิดเพิ่มขึ้น มีกำลังงานมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน ก็จะประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงแต่อย่างไรก็ตาม ถ้าเครื่องยนต์มีอัตราส่วนของกำลังอัดสูงมากเกินไป จะทำให้อุณหภูมิของไอดีภายในห้องเผาไหม้สูงมาก เป็นสาเหตุให้การเผาไหม้ผิดปกติ (เกิดการน๊อค)

4. แรงบิดของเครื่องยนต์ (Torque) คือค่าที่แสดงถึงแรงหมุนหรือแรงบิดตัวของเพลาข้อเหวี่ยง ค่าที่ได้จะมีหน่วยวัดเป็นกิโลกรัม-เมตร เราสมารถคำนวณหาแรงบิดที่เกิดขึ้นได้เช่นเดียวกับการใช้ประแจขันโบลต์ได้ โดยกำหนดค่าดังนี้ ความยาวของประแจ = r น้ำหนักที่แขวนไว้ที่ปลายด้านประแจ = F ค่าแรงบิด = T จะได้สมการดังนี้ T = F + r

5. กำลังงานของเครื่องยนต์หรือแรงม้า คือความสามารถในการทำงานของเครื่องยนต์ในปริมาณที่กำหนดต่อหน่วยเวลา มีหน่วยวัดเป็นแรงม้า โดยกำหนดการเปลี่ยนแปลงของโหลดที่ชักลากของม้าโดยเฉลี่ยปัจจุบันหน่วยที่ใช้วัดแรงม้ามี 2 ชนิดคือ *แรงม้าในระบบเมตริก มีหน่วยวัดเป็น PS (pferdstarke) ซึ่งค่าวัดได้ใน 1PS = 75 กิโลกรัมเมตรต่อวินาที หรือ 0.9863 hp *แรงม้าในระบบอังกฤษ มีหน่วยวัดเป็น hp (horse-power) ซึ่งค่าที่วัดได้ 1 hp = 550 ฟุต-ปอนด์ต่อวินาทีหรือ 1.0139 PS

6.9 เครื่องยนต์หมุนไม่มีสูบ เครื่องยนต์แบบ Wankel ของเยอรมันใช้โรเตอร์รูปโค้งเกือบเป็นสามเหลี่ยมหมุนลอยตัวอยู่ในห้องเผาไหม้รูปไข่ โรเตอร์นี้ทำหน้าที่เป็นลูกสูบในตัว ซึ่งมีเฟืองในหมุนประสานตามไปกับเฟืองนอกของเพลาเครื่องซึ่งตรึงคงที่ รอบห้องเผาไหม้ก็จะมีช่องให้ไอดีเข้า ช่องหัวเทียนและช่องไอเสียออก เมื่อโรเตอร์หมุนจนเหลี่ยมหนึ่งปิดช่องไอเสีย ช่องไอดีก็จะเปิดให้เชื้อเพลิงเข้า (ดังหมายเลข ๒ ของ II) แล้วด้านนี้จะหมุนพาเชื้อเพลิงเข้าไปอัดกับผนังห้องเผาไหม้ตรงด้านหัวเทียน พร้อมกับหัวเทียนจุดระเบิด ( ตรงหมายเลข ๗ ของรูป II) ทำให้เกิดแรงผลักหมุนออกไปทางท่อไอเสีย ( ดังหมายเลข ๘ ของรูป VI) และหมุนโค้งต่อไปจนด้านนี้ของสามเหลี่ยมถึงท่อไอเสียก็จะปล่อยไอเสียออกไป

ขณะที่ด้านหนึ่งของโค้งสามเหลี่ยมทำงาน อีก ๒ ด้านที่เหลือของโค้งสามเหลี่ยมโรเตอร์ก็ทำงานด้วย จึงคล้ายกับมีเครื่องยนต์สามสูบทำงานไล่ลำดับกัน ภายในห้องเผาไหม้ห้องเดียว บริษัทรถยนต์ NSU ของเยอรมันได้ผลิตรถสปอร์ตสองที่นั่งขึ้นใช้ ต่อมาก็แพร่ออกไปถึงอเมริกา อังกฤษ และญี่ปุ่น ปัจจุบันบริษัท Mazda ก็ผลิตรถยนต์ Mazda R. 100 ซึ่งใช้เครื่องยนต์ประเภทนี้

รถที่ใช้เครื่องยนต์โรตารี่

Mazda R type (Rotary Engine)

6.10 เครื่องยนต์คอมมอนเรล รถยนต์ค่ายต่างๆ ก็พยายามพัฒนาเครื่องยนต์คอมมอนเรลกันเกือบทุกค่าย แม้ว่าจะมีหลักการทำงานเดียวกันแต่ก็มีการปรับแต่งที่แตกต่างกันไปและแน่นอนว่าด้วยเหตุผลด้านการตลาด ชื่อก็ต้องให้แตกต่างกัน อย่างเช่น D-4D (Toyota), i-TEQ (Isuzu), DI-D (Mitsubishi), YD-Di (Nissan), DuraTORQ TDCi (Ford) เป็นต้น

การทำงานของเครื่องดีเซลแบบเดิม เป็นที่รู้กันว่าหลักการทำงานของเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงดีเซลจะแตกต่างกันที่ เครื่องยนต์เบนซินต้องใช้หัวเทียนในการจุดระเบิด ในขณะที่เครื่องยนต์ดีเซลจุดระเบิดโดยแรงอัดของลูกสูบ (อัดจนอากาศร้อน) ส่วนการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ดีเซลแบบนี้จะใช้ปั๊มหัวฉีดในแต่ละสูบ ซึ่งนี่ก็คือความแตกต่างที่สำคัญที่สุดกับระบบคอมมอนเรล การทำงานของเครื่องดีเซลคอมมอนเรล สำหรับเครื่องยนต์แบบคอมมอนเรลนั้น จะใช้ท่อส่งน้ำมันเชื้อเพลิงแรงดันสูงหลักเป็นตัวส่งน้ำมันกับแรงดัน และใช้การควบคุมหัวฉีดที่เปิดปิดโดยอาศัยระบบแม่เหล็กเซเลนอยด์ในการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าห้องเผาไหม้ ส่วนการควบคุมตัวเซเลนอยด์ก็อาจใช้คอมพิวเตอร์ในการควบคุมอีกทีหนึ่ง ดังนั้นยิ่งมีแรงดันในท่อส่งมากเท่าไหร่ก็ยิ่งดี

ความเป็นมาในการพัฒนา นับได้ว่าแรงดันก็คือพระเอกสำหรับระบบนี้กันเลยทีเดียว ดังนั้นจึงได้มีการจัดลำดับรุ่นของการพัฒนาระบบคอมมอลเรลตามระดับแรงดันดังนี้ รุ่นที่ 1 มีแรงดันตั้งแต่ 1,000 บาร์ ขึ้นไป รุ่นที่ 2 มีแรงดัน 1,600 บาร์ รุ่นที่ 3 มีแรงดัน 1,600 บาร์ ควบคุมการจ่ายเชื้อเพลิงด้วย piezo (เป็นอุปกรณ์ที่นำมาใช้แทนแม่เหล็กเซเลนอยด์ สามารถขยายตัวได้อย่างรวดเร็วด้วยไฟฟ้า ทำให้การควบคุมแรงดันสูงๆ เป็นไปด้วยความแม่นยำมาก) รุ่นที่ 4 มีแรงดันตั้งแต่ 2,000 บาร์ ขึ้นไป

สรุปข้อดี การพัฒนาเครื่องยนต์คอมมอนเรลนั้นก็เพื่อวัตถุประสงค์หลักๆ คือ เพิ่มประสิทธิภาพทั้งแรงม้าและแรงบิดของเครื่องยนต์ดีเซล ประหยัดน้ำมันขึ้น ลดไอเสียและลดเสียงลง