งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การวิเคราะห์กิจการเพื่อการวางแผน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การวิเคราะห์กิจการเพื่อการวางแผน"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การวิเคราะห์กิจการเพื่อการวางแผน
บทที่ 3 การวิเคราะห์กิจการเพื่อการวางแผน วัตถุประสงค์การเรียนรู้ 1.การประเมินสภาพโดยทั่วไปของกิจการ 2.ศึกษาสายผลิตภัณฑ์และฐานะการแข่งขันของกิจการ 3.การวิเคราะห์และประเมินคุณภาพของการจัดการทางการเงิน

2 ในอดีตการวิเคราะห์กิจการมักจะวิเคราะห์เพียงงบดุล โดยวิเคราะห์สินทรัพย์ หนี้สินและส่วนของทุน เมื่อสภาวะเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงมีความซับซ้อมมากขึ้น ส่งผลให้ประเด่นในการพิจารณามีความละเอียดลึกซึ้งมากขึ้น เช่นวิเคราะห์ปัจจัยภายใน(วิเคราะห์ประสิทธิภาพในการดำเนินงาน การทำกำไร การจ่ายชำระหนี้) วิเคราะห์ปัจจัยภายนอก (สภาพวะเศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง กฎหมาย การแข่งขัน)

3 การประเมินสภาพโดยทั่วไป
การประเมินสภาพโดยทั่วไปของกิจการอาศัยการวิเคราะห์ทางการเงิน ประกอบด้วย การวิเคราะห์แนวโน้ม การวิเคราะห์ความสามารถในการทำกำไร การวิเคราะห์งบกำไรขาดทุน การวิเคราะห์งบดุล และกรวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน ซึ่งในการวิเคราะห์จะทำให้กิจการทราบข้อมูลที่กิจการทำมาในปีนั้น แต่หากไม่มีการเปรียบเทียบแล้วกิจการจะไม่ทราบการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงได้ ในการเปรียบเทียบสามารถเปรียบเทียบกับผลการดำเนินงานย้อนหลังได้ตั้งแต่ 3ปี 5ปีและไม่ควรเกิด 10ปี และยังสามารถเปรียบเทียบกับคู่แข่งขันที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน เพื่อจะได้ทราบว่ากิจการเรากับคู่แข่งใครมีผลการดำเนินงานดีกว่า

4 การประเมินปัจจัยสำคัญของกิจการ
การวิเคราะห์ทางการเงินได้มีการพัฒนาขึ้นมาใช้ ส่วนใหญ่มักจะใช้โดยบริษัทที่ปรึกษาที่ต้องการทราบจุดอ่อนจุดแข็งทั้งหมดของกิจการ เพื่อทำให้ประเมินสภาพที่แท้จริงได้ ในการประเมินกิจการปัจจัยที่สำคัญที่ใช้ในการพิจารณา ดังนี้ 1.สายผลิตภัณฑ์และฐานการแข่งขัน 2.การวิจัยค้นคว้าพัฒนาและวิเคราะห์แผนการดำเนินงาน 3.ฐานะการเงิน การวิเคราะห์ทางการเงิน 4.ประเมินฝ่ายบริหารระดับสูง

5 สายผลิตภัณฑ์และฐานการแข่งขัน
สายผลิตภัณฑ์และฐานะการแข่งขัน ซึ่งจะต้องมีการศึกษาข้อมูลในอดีต ปัจจุบันและอนาคต สามารถอธิบายได้ ดังนี้ ข้อมูลอดีต :จุดอ่อนของกิจการ เช่น รูปร่าง การออกแบบ คุณภาพและอื่น ๆ ข้อมูลปัจจุบัน :ส่วนแบ่งของตลาด กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย เป็นต้น ข้อมูลอนาคต :การขยายตลาด แนวโน้มของส่วนแบ่งของตลาด แนวโน้มการแข่งขัน เป็นต้น การพิจารณาข้อมูลด้านสายการผลิตอย่างต่อเนื่อง จะช่วยให้ง่ายต่อการพิจารณาและวางแผนการผลิตตามความต้องการของตลาด เพื่อความสำเร็จของกิจการ

6 วงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ที่กิจการดำเนินการอยู่
การวิเคราะห์สายผลิตภัณฑ์อีกรูปแบบหนึ่งก็คือ การสร้างเส้นโค้งวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ซึ่งวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์จะแสดงให้เห็นถึงยอดขายและกำไรของผลิตภัณฑ์ตามช่วงเวลา

7 ตัวอย่าง ลักษณะของวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์
วงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (Product Life Cycle : PLC) หมายถึง ยอดขาย และ ผลกำไรของผลิตภัณฑ์หนึ่งๆ ในแต่ละช่วงเวลา 1 1 2 2 3 3 4 4 แนะนำ แนะนำ เติบโต เติบโต โตเต็มที่ โตเต็มที่ ตกต่ำ ตกต่ำ ยอดขาย เงิน ยอดขาย กำไร กำไร เวลา วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Product Life Cycle)

8 การพยากรณ์การขาย มักจัดเตรียมขึ้นภายใต้การอำนวยการผู้บริหารระดับสูงของฝ่ายขายปัจจัยที่นำมาพิจารณาการพยากรณ์ได้แก่ 1. ยอดขายในอดีต 2. การกะประมาณยอดขายของพนักงาน 3. สภาวะทางเศรษฐกิจทั่วๆ ไป 4. สภาวะทางเศรษฐกิจของอุตสาหกรรม 5. การเคลื่อนไหวของเครื่องชี้สภาวะเศรษฐกิจ 6. นโยบายราคาในอนาคต 7. การวิจัยตลาด 8. แผนการโฆษณาและการส่งเสริมการขาย 9. สภาวะการแข่งขันของธุรกิจ 10. อัตราส่วนการขายในตลาด

9 การวิจัยค้นคว้า พัฒนาและการวิเคราะห์แผนการดำเนินงาน
เมื่อวิเคราะห์สายผลิตภัณฑ์ของธุรกิจและสภาพการแข่งขันแล้ว ก็เข้าสู่กระบวนการการวิจัยและพัฒนางานด้านการตลาด การจัดจำหน่าย การดำเนินการผลิต ที่มีผลทำให้ผลิตภัณฑ์และลักษณะตลาดเปลี่ยนแปลง ประเด็นที่ใช้ในการพิจารณามี ดังนี้ 1.การวิจัยพัฒนาและปัญหาเชิงวิศวกรรม 2.การตลาด 3.การผลิต

10 การประเมินฝ่ายบริหารระดับสูง
ในการประเมินฝ่ายบริหารระดับสูง สามารถประเมินแยกเป็นประเด่นในการพิจารณาได้ ดังนี้ 1.องค์ประกอบของกลุ่มผู้บริหารระดับสูงและประวัติต่าง ๆ 2.ฝ่ายบริหารระดับสูงกับอนาคตของกิจการ 3.อำนาจในการควบคุมของคณะกรรมการอำนวยการที่ทำอยู่ในปัจจุบัน

11 การประเมินกลยุทธ์ การประเมินกลยุทธ์มีความสำคัญมากในสถานการณ์ปัจจุบัน เพราะจะทำให้ทราบว่ากิจการมีผลการดำเนินงานอย่างไร ซึ่งปัจจุบันนิยมใช้การวิเคราะห์ SWOT ANALISIS เพราะทำให้ทราบถึง จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค์ในการดำเนินงาน กลยุทธ์ที่ใช้ได้อย่างเหมาะสมจะส่งผลให้การดำเนินงานบรรลุตามวัตถุประสงค์ในการดำเนินงาน

12 การวิเคราะห์และการประเมินคุณภาพของการจัดการทางการเงิน
การวิเคราะห์ทางการเงิน เป็นการวิเคราะห์เพื่อให้ทราบถึงการดำเนินงานที่ผ่านมา โดยใช้อัตราส่วนทางการเงิน การวิเคราะห์แนวโน้มของงบการเงิน การจัดทำงบประมาณเงินสด การปรับโครงสร้างทางการเงินของกิจการ การประเมินคุณภาพของการจัดการทางการเงิน คุณภาพของการจัดการทางการเงินขึ้นอยู่กับแผนงานที่ใช้อยู่มีความเหมาะสมกับลักษณะของกิจการหรือไม่ การวิเคราะห์ทางการเงินเป็นการชี้ให้เห็นถึงสาเหตุของปัญหา สาเหตุของความสำเร็จในการดำเนินกิจการ

13 การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน
การวิเคราะห์ความคล่องตัวทางการเงินเป็นการวิเคราะห์สภาพคล่องทางการเงินของกิจการโดยเน้นที่เงินทุนหมุนเวียน อัตราส่วนที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ 1.อัตราส่วนวัดสภาพคล่องของกิจการ (Liquidity Ratios) 2.อัตราส่วนที่ใช้วัดประสิทธิภาพของกิจการ (Efficiency Ratio) 3.อัตราส่วนที่ใช้เสริมการวัดสภาพคล่องและประสิทธิภาพของกิจการ

14 การวิเคราะห์ความอยู่รอดของกิจการในระยะยาว
อัตราส่วนที่ใช้ประเมินสถานะของกิจการในระยะยาว มี 2 ประการ คือ อัตราส่วนที่ใช้วัดความสามารถในการชำระหนี้ระยะยาวของกิจการ และอัตราส่วนที่ใช้วัดความสามารถในการทำกำไรและผลตอบแทนของกิจการ มีองค์ประกอบดังต่อไปนี้ 1.มูลค่าตามบัญชีของหุ้นทุน 2.โครงสร้างของเงินทุน (หนี้สินระยะยาว+ส่วนของทุน) 3.การคาดคะเนภาวะล้มละลายของกิจการ เป็นอัตราส่วนที่ดีที่สุดที่จะใช้ประเมินภาวะล้มละลายของกิจการประกอบด้วย 5 อัตราส่วน(หน้า 54)

15 ประเมินภาวะล้มละลายของกิจการ ด้วย 5 อัตราส่วน
1.อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน 2.อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น 3.อัตราส่วนการหมุนเวียนของเงินสดต่อหนี้สินรวม 4.อัตราหมุนของสินทรัพย์รวม 5.อัตราผลตอบแทนต่อเงินลงทุน สูตร Z = 1.2X X X X X5

16 การวิเคราะห์และการประเมินสถานะปัจจุบัน เพื่อจัดลำดับความสำคัญของงาน
การวิเคราะห์และการประเมินสถานะปัจจุบัน เพื่อจัดลำดับความสำคัญของงาน ต้องพิจารณาปัจจัย ดังต่อไปนี้ 1.ความหมายของธุรกิจ 2.ตลาด/ลูกค้าเป้าหมาย 3.คู่แข่งขัน 4.ลูกค้า 5.ผลิตภัณฑ์ใหม่ ลูกค้าใหม่ ตลาดใหม่ 6.การดำเนินงาน 7.การเงิน

17 การประเมินสถานะปัจจุบันมองจากสภาพแวดล้อม
การประเมินสถานะปัจจุบันมองจากสภาพแวดล้อม พิจารณาจากปัจจัย ดังต่อไปนี้ 1.ภาวะเศรษฐกิจ ตลาด 2.แนวโน้มสังคม 3.การแข่งขัน 4.เทคโนโลยี 5.การเมือง กฎหมาย พ.ร.บ. 6.การเงิน 7.อื่น ๆ เช่น อัตราแลกเปลี่ยน อัตราดอกเบี้ย

18 การวิเคราะห์และประเมินภาวะการตลาด
การวิเคราะห์และประเมินภาวการณ์ตลาด พิจารณาจากปัจจัย ดังต่อไปนี้ 1.ตลาดผลิตภัณฑ์ : ขอบเขต ลักษณะ สภาพปัจจุบันและอนาคต 2.การแบ่งส่วนการตลาด : การแบ่งกลุ่มลูกค้า พฤติกรรมการสั่งซื้อของลูกค้าแต่ละกลุ่ม 3.ตรวจสอบส่วนแบ่งการตลาด 4.นับจำนวนลูกค้า 5.ลูกค้าเป้าหมายคือใคร 6.นโยบายและกลยุทธ์การปฏิบัติงาน 7.การจูงใจลูกค้า 8.ยอดขายรวม 9.สรุป :จุดแข็ง จุดอ่อน

19 การวิเคราะห์และประเมินภาวะการผลิตและต้นทุน
การวิเคราะห์และประเมินภาวการณ์ผลิตและต้นทุน พิจารณาประเด่นดังต่อไปนี้ 1.การผลิต : ลักษณะการผลิต กระบวนการผลิต อุปกรณ์ เครื่องมือที่เกี่ยวข้อง ความชำนาญ การแข่งขัน เป็นต้น 2.ต้นทุนการผลิต : การจัดหา เก็บรักษาวัตถุดิบ สินค้ามีปัญหา จุดคุ้มทุนของการผลิต


ดาวน์โหลด ppt การวิเคราะห์กิจการเพื่อการวางแผน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google