ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับศาสตร์ทางจิตวิทยา

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
เครื่องชี้วัดคุณภาพ วัตถุประสงค์: เพื่อให้ผู้เรียน
Advertisements

Mind Mapping อ. พิมพ์ชนก หาคำ 23 เมษายน 2556.
ผู้วิจัย สิริภิญญ์ อินทรประเสริฐ คณะวิทยาการจัดการ ปีการศึกษา 2556
แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับทีม
กระบวนการของการอธิบาย
ประชุมจัดทำแผนปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาบริการกลุ่มวัยรุ่น ปี 2558 วันที่ 15 มิถุนายน 2558 ณ ห้องประชุมสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ จำกัด.
Adaptive Software Development. วงจรชีวิตของการพัฒนาซอฟแวร์ หรือ Software Development Life Cycle (SDLC) เป็นโครง ร่างหรือแนวทางวิธีการ เพื่อใช้ทำความเข้าใจและเพื่อ.
การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ วิชาคอมพิวเตอร์พื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเฉลิมราชประชาอุทิศ.
การจัดกิจกรรมการ เรียนรู้แบบการทำ โครงงานคอมพิวเตอร์ การจัดกิจกรรมการ เรียนรู้แบบการทำ โครงงานคอมพิวเตอร์ ครูชาญณรงค์ ปานเลิศ โรงเรียนพระบางวิทยา ครูชาญณรงค์
องค์ประกอบของร่างกายมนุษย์ เนื้อหา 1.1 โครงสร้างร่างกายมนุษย์ 1.2 ระบบอวัยวะ.
ชุมชนปลอดภัย.
ร่างกายและสมองของนักเรียน รักษาไว้ให้แข็งแรง
ง21101 การงานอาชีพและเทคโนโลยี ม. 1 เจตคติต่อการประกอบอาชีพ
ALLPPT.com _ Free PowerPoint Templates, Diagrams and Charts.
ระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน ผอ.กลุ่มงานมาตรฐานการพัฒนาชุมชน
การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ
นางสาวศิวพร แพทย์ขิม เอกสุขศึกษา กศ. บ. คณะพลศึกษา.
หน่วยที่ 1 ข้อมูลทางการตลาด. สาระการเรียนรู้ 1. ความหมายของข้อมูลทางการตลาด 2. ความสำคัญของข้อมูลทางการตลาด 3. ประโยชน์ของข้อมูลทางการตลาด 4. ข้อจำกัดในการหาข้อมูลทาง.
เทศบาลเมืองวังน้ำเย็น อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว
ระดับความเสี่ยง (QQR)
กลุ่มคำและประโยค ภาษาไทย ม. ๓
หลักสูตรอาเซียน เพื่อสร้างประชาคมอาเซียน ให้เป็นประชาคมที่มุ่งเน้น การปฏิสัมพันธ์กับต่างประเทศ มีความมั่นคง มีสันติภาพ และมีความมั่งคั่ง.
ทฤษฎีการวางเงื่อนไข แบบการกระทำ (Operant Conditioning Theory)
Presentation การจัดการข้อร้องเรียนในธุรกิจบริการ Customer Complaint Management for Service.
Scene Design and Lighting Week1-3
บทที่ 8 การควบคุมโครงการ
One Point Lesson (OPL).....บทเรียนประเด็นเดียว
กรณีศึกษา : นักเรียน ระดับ ปวช.2 สาขาวิชาการบัญชี
หลักการแต่ง คำประพันธ์ประเภท โคลง. หลักการแต่ง คำประพันธ์ประเภท โคลง.
วิธีการกรอกแบบเสนอโครงการในไฟล์ Power point นี้
บัตรยิ้ม สร้างเสริมกำลังใจ
การประเมินผลการปฏิบัติงาน
การรายงานความคืบหน้าหรือสถานะ
หลักการ และ วิธีการ ของ บี.-พี.
เริ่มทำแบบทดสอบ แบบทดสอบก่อนเรียน หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
เริ่มทำแบบทดสอบ แบบทดสอบก่อนเรียน หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
ผลการดำเนินงาน การบริหารจัดการประเมิน และดูแลผู้ป่วยก่อนกลับเข้าทำงาน
ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๐ ผู้สอน : คุณครูภาคภูมิ คล้ายทอง
พฤติกรรม (Behavior) สิ่งเร้า ภายนอก ภายใน
การบริหารโครงการซอฟต์แวร์
บทที่ 4 การดูแลให้ได้รับการพักผ่อนและความปลอดภัย การจัดการสิ่งแวดล้อม การทำเตียง อ.กรวรรณ สุวรรณสาร.
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์
ณ ห้องประชุมกำธร สุวรรณกิจ
แผ่นดินไหว.
การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการศึกษาด้านการสอบด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer-based Assessment) การรู้เรื่องการอ่าน ด้านคณิตศาสตร์และด้านวิทยาศาสตร์
โดย ผศ.ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
SMS News Distribute Service
YRC LANNA LOCAL WISHDOM
สร้างภูมิคุ้มกัน (แสงหิ่งห้อย)
วัฏจักรหิน วัฏจักรหิน : วัดวาอาราม หินงามบ้านเรา
รายวิชา การบริหารการศึกษา
การวัดและประเมินผลด้านพุทธิพิสัย (ตามลำดับขั้นการเรียนรู้ของ Benjamin Bloom) รศ. บรรพต พรประเสริฐ.
Legal Culture วัฒนธรรมทางกฎหมาย
จุดมุ่งหมายทางการศึกษา และ จุดประสงค์การเรียนรู้
การวัดพฤติกรรมทางด้านทักษะพิสัย
ทิศทางการดำเนินงานลดโรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD)
มะเร็งปากมดลูก โดย นางจุฑารัตน์ กองธรรม พยาบาลวิชาชีพ รพ.สต.บ้านโนนแต้
การวิจัยทางการท่องเที่ยว
ทรัพยากรไทย:ก้าวสู่โลกกว้างอย่างมั่นใจ
พฤติกรรมมนุษย์เพื่อการพัฒนาตน
หัวใจหยุดเต้น หยุดหายใจ ปั๊มหัวใจ ทำอย่างไร ?
กิจกรรมที่ 7 นายปรีชา ขอวางกลาง
การทำงานของระบบประสาทอัตโนวัติ
สถานการณ์เด็กไทยในปัจจุบัน
การจัดการความรู้ สำนักชลประทานที่ 15
โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีถนนรีไซเคิลเพื่อลดขยะพลาสติกใน 4 ภูมิภาค
ทายสิอะไรเอ่ย ? กลม เขียวเปรี้ยว เฉลย ทายสิอะไรเอ่ย ? ขาว มันจืด เฉลย.
กระดาษทำการ (หลักการและภาคปฏิบัติ)
การใช้ระบบสารสนเทศในการวิเคราะห์ข่าว
ใบสำเนางานนำเสนอ:

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับศาสตร์ทางจิตวิทยา อ.วัลลภา วาสนาสมปอง

จิตวิทยาคืออะไร จิตวิทยาไม่ได้เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับความลึกลับของจิต หรือความมหัศจรรย์ของวิญญาณมนุษย์ จิตวิทยาไม่ได้เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับการอ่านใจคน หรือการใช้เล่ห์เหลี่ยมกับผู้อื่น จิตวิทยาเป็นศาสตร์ที่มีวิวัฒนาการและประวัติความเป็นมา จึงทำให้ความหมายของวิชานี้มีทั้งความหมายตามรากศัพท์เดิม และความหมายในปัจจุบัน กู๊ด (Good. 1959) ให้ความหมายว่า จิตวิทยาเป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับการปรับตัวของอินทรีย์หรือสิ่งมีชีวิตให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ฮิลการ์ด (Hilgard. 1959) ให้ความหมายว่า จิตวิทยา หมายถึง ศาสตร์ที่ศึกษาถึงพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์

ความหมายตามรากศัพท์ คำว่า “จิตวิทยา” ตรงกับภาษาอังกฤษว่า “Psychology” ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษากรีก 2 คำ คือ Psyche (Soul = วิญญาณ หรือ Mind = จิต) และ Logos (Study = การศึกษา) ดังนั้น ถ้านำรากศัพท์สองคำมารวมกัน (Psyche + Logos) จิตวิทยาจึงมีความหมายตาม รากศัพท์ว่า การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องของจิตวิญญาณ (A study of soul) แต่ต่อมาความเข้าใจ เรื่องจิตวิทยาที่ว่าเป็นการศึกษาเกี่ยวกับวิญญาณก็เปลี่ยนไปเป็นการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องของจิตใจ และความหมายของจิตวิทยาจึงหมายถึงการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องของจิตใจ (A study of mind)

ความหมายในปัจจุบัน ความหมายของวิชาจิตวิทยาในปัจจุบันที่เป็นที่ยอมรับกันมากคือ “ศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรม และกระบวนการของจิต โดยอาศัยวิธีการเชิงวิทยาศาสตร์ในการค้นหาความรู้” (Psychology can be defined as the scientific study of behavior and mental process : Atkinson,1987) จากคำนิยามของวิชาจิตวิทยา จะเห็นได้ว่า มีคำสำคัญอยู่ 3 คำ ได้แก่ พฤติกรรม (Behavior) กระบวนการทางจิต (Mental Process) และ การศึกษาเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific Study) ที่ต้องนำมาพิจารณาเพื่อให้เข้าใจตรงกัน

เนื่องจากจิตใจของมนุษย์ไม่สามารถเรียนรู้ได้โดยตรง จึงเน้นการศึกษาพฤติกรรมและกระบวนการทางความคิดของมนุษย์ โดยศึกษาอย่างเป็นระบบกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการหาคำตอบ พฤติกรรมของมนุษย์ที่แสดงออกมาโดยการกระทำทั้งหมดจัดเป็นจิตวิทยา พฤติกรรม (behavior) หมายถึง การกระทำกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์เมื่อเผชิญกับสิ่งเร้า (Stimulus) หรือสถานการณ์ต่าง ๆ ที่สามารถสังเกตได้และที่สังเกตไม่ได้ สิ่งเร้าภายใน สิ่งเร้าที่เกิดจากความต้องการทางกายภาพ เช่น ความหิว ความกระหาย สิ่งเร้าภายในนี้จะมีอิทธิพลสูงสุดในการกระตุ้นให้ แสดงพฤติกรรมในวัยเด็ก และจะลดความสาคัญลงเมื่อเติบโตขึ้น สิ่งเร้าภายนอก สิ่งกระตุ้นต่าง ๆ จากสิ่งแวดล้อมทางสังคมที่ สามารถสัมผัสได้ด้วยประสาททั้ง 5 คือ หู ตา คอ จมูก การสัมผัส เมื่ออยู่ ในสังคมสิ่งเร้าภายนอกจะมีอิทธิพลมากกว่าในการกาหนดว่าบุคคลควร จะแสดงพฤติกรรมอย่างใดต่อผู้อื่น

กระบวนการของจิต หมายถึง กระบวนการที่เกิดขึ้นภายในสมองของบุคคล หรืออินทรีย์(Organism) ซึ่งไม่สามารถสังเกตได้โดยตรง ต้องอาศัยเครื่องมือบางอย่างเพื่อที่จะศึกษากระบวนการเหล่านี้ เช่น การฝันต้องอาศัยเครื่องมือวัดคลื่นสมอง ความจำต้องอาศัยการทดสอบ เป็นต้น ตัวอย่างของกระบวนการทางจิตได้แก่ การรับรู้ การคิด การจำ การลืม ฯลฯ การศึกษาเชิงวิทยาศาสตร์ หมายถึง การใช้วิธีการสังเกต การพรรณา และการทดลองเพื่อที่จะรวบรวมความรู้ แล้วจัดความรู้นี้ให้เป็นระบบ (โยธิน ศันสนยุทธและคณะ, 2533 : 3) ความสำคัญของจิตวิทยา จิตวิทยามีอิทธิพลและบทบาทต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ การศึกษาทางจิตวิทยาจะทำให้เข้าใจความรู้สึกนึกคิดของเราเองและพฤติกรรมของคนในสังคมต่อการกระทำที่เกิดขึ้น จึงทำให้สามารถใช้เป็นแนวทางในการประเมินเหตุการณ์ต่างๆได้

จุดมุ่งหมายการศึกษาทางจิตวิทยา จิตวิทยาสนใจศึกษา คือ พฤติกรรมและกระบวนการของจิตมนุษย์ในแง่มุมต่าง ๆ โดยมีจุดมุ่งหมายหลักในการศึกษา 4 ประการ คือ 1. ต้องการบรรยาย ลักษณะพื้นฐานของพฤติกรรมและกระบวนการทางจิต โดยใช้การสังเกตอย่างเป็นระบบ 2. ต้องการอธิบาย(สร้างความเข้าใจ) ว่าทำไมพฤติกรรมและกระบวนการทางจิตจึงเกิดขึ้นได้ 3. ต้องการทำนาย เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตบนพื้นฐานของเหตุการณ์ในอดีตที่ผ่านมา 4. ต้องการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมและกระบวนการทางจิตให้มีลักษณะที่เหมาะสมยิ่งขึ้น

จิตวิทยาเทียม (Pseudo psychology) เป็นความเชื่อของบุคคลที่ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ เป็นระบบข้อมูลที่ไม่มีข้อมูลความจริงใด ไม่มีหลักฐาน ข้อพิสูจน์ เช่น ความเชื่อเรื่องโชคลาง ศาสตร์ทางด้านนี้จัดเป็นรูปแบบหนึ่งของสิ่งเหนือธรราชาติ เป็นความเชื่อที่ไม่มีหลักฐานเชิงประจักษ์มาสนับสนุน อธิบายนั่นเอง แต่ความคิดความเชื่อดังกล่าวส่งผลต่อพฤติกรรม อารมณ์ ความรู้สึกของมนุษย์ด้วย

ปัญหาเกี่ยวกับดวงดาว เป็นจิตวิทยาเทียมอีกแขนงหนึ่งที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวกับดวงดาว เป็นโหราศาสตร์ที่ถือว่าตำแหน่งของดาวและดาวเคราะห์ตามเวลาเกิดหรือตามราศีของบุคคลเป็นเครื่องกำหนดลักษณะบุคลิกภาพและมีผลต่อพฤติกรรม โดยไม่มีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์มารองรับ ซึ่งอาจเกิดจากการคาดคะเนหรือประสบการณ์การทดลองจากการสังเกต

ปัจจัยที่ทำให้บุคคลเกิดความเชื่อในศาสตร์ดวงดาวและการพยากรณ์ การยอมรับโดยการลำเอียง เกิดแนวโน้มที่จะเชื่อเพราะดูเหมือนจะเป็นจริงสำหรับบุคคลหรือเป็นสิ่งที่ดีหากเป็นจริงตามคำทำนายนั้น ซึ่งการทำนายทั่วไปเกิดจากการยกยอ เมื่อบุคลิกภาพได้รับการอธิบายที่ดีและพึงปรารถนา จึงเป็นเรื่องยากที่จะปฏิเสธว่าคำทำนายนั้นไม่จริง อคติในการยืนยันความเชื่อของตัวเอง บ่อยครั้งที่พบว่าคำทำนายจะมีรายละเอียดที่เกี่ยวกับบุคลทั้งด้านบวกและด้านลบ ก็คือสิ่งที่ปรากฏลวงความรู้สึกนั่นเอง ปรากฏการณ์บาร์นัม (The Barnum Effect) บุคคลมีแนวโน้มที่จะพิจารณารายละเอียดส่วนบุคคลได้ตรงกับตนเองหากบุคคลอยู่ในสภาพแวดล้อมเงื่อนไขทั่วไปที่ไม่เฉพาะเจาะจง เพราะการทำนายชะตา มักมีสิ่งเล็กๆน้อยๆที่ตรงสำหรับทุกคนเสมอ

กลุ่มแนวคิดต่างๆทางจิตวิทยา แนวคิดจิตวิเคราะห์ (Psychoanalytic) แนวคิดพฤติกรรมนิยม (Behavioral) แนวคิดปัญญานิยมหรือการรู้คิด (Cognitive) แนวคิดกลุ่มปรากฏการณ์หรือมนุษยนิยม (Humanistic) กลุ่มโครงสร้างนิยม (Structuralism) กลุ่มหน้าที่นิยม (Functionalism) กลุ่มเกสตอลท์ (Gestalt)

สมองกับพฤติกรรม สมองเป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดของมนุษย์ เป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์มีความเป็นมนุษย์และทำให้มนุษย์แตกต่างจากสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น สมองยังทำให้มนุษย์มีความแตกต่างกันเองระหว่างเผ่าพันธุ์เดียวกันด้วยรูป ร่างทางกายภาพของสมองมนุษย์มีรอยหยัก ภายในสมองของมนุษย์ประกอบไปด้วยเซลล์ประสาทจำนวนมากกว่าร้อยล้านเซลล์ประสาท โดยทั้งหมดมีความเกี่ยวเนื่องกันในรูปแบบของเครือข่าย (network) ที่มีกระบวนการเก็บข้อมูลที่ใหญ่โตมาก

จุดเริ่มต้นของการเกิดพฤติกรรมมาจากการทำงานของเซลล์ประสาทสมองมนุษย์ประกอบด้วยเซลล์ประสาทประมาณแสนล้านเซลล์ การส่งกระแสประสาทในสมองมีลักษณะคล้ายเครือข่ายใยแมงมุม โดยเซลล์ประสาทเหล่านี้มีการเคลื่อนที่ทุกขณะที่มนุษย์กระทำพฤติกรรม ทั้งพฤติกรรมกรรมที่สังเกตได้โดยตรง และพฤติกรรมที่ไม่สามารถสังเกตได้โดยตรง

ระบบประสาท (Nervous System) ในทุกกิจกรรมของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมที่ซับซ้อนหรือกิจกรรมที่ไม่ซับซ้อน เช่น จับปากกา ล้วนทำให้เกิดการทำงานของระบบประสาททั้งสิ้น ข้อมูลจำนวนมหาศาลเข้ามาสู่การสัมผัส การตีความหมาย และส่งไปยังเส้นใยกล้ามเนื้อนับไม่ถ้วน

ระบบประสาทส่วนกลาง (Central Nervous System / CNS) สมองใหญ่ (cerebral cortex) จะมีลักษณะเป็นรอยหยักประกอบด้วย 2 ซีก ซึ่งปกคลุมส่วนบนของ สมองทั้งหมด สมอง 2 ซีกนี้ประกอบไปด้วยกลีบ (lobe) เล็กๆ แต่ละกลีบมีหน้าที่ในการตอบสนองที่แตกต่างกัน ได้แก่ กลีบที่ตอบสนองต่อการรับรู้ การมองเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหว การคิด การพูด เป็นต้น

ซีกของสมอง (Cerebral Hemispheres) สมองชั้นบนสุด (cortex) ประกอบไปด้วยสมอง 2 ข้างเรียกว่า “cerebral hemispheres” เชื่อมต่อ กันด้วยสะพาน คือ คอร์ปัส คอโลซัม (corpus callosum) สมองด้านซ้ายควบคุมการทำงานของร่างกายซีก ขวาเป็นหลักและในทำนองเดียวกันสมองด้านขวามีการควบคุมการทำงานของร่างกายซีกซ้ายเป็นหลัก กรณี ที่เห็น ได้ชัดคือการที่บุคคลที่ป่วยเป็นเส้นเลือดในสมองแตก (stroke) สมองซีกขวาของผู้ป่วยถูกทำลาย เป็น สาเหตุทำให้เกิดอัมพาตของร่างกายซีกซ้ายโดยร่างกายซีกซ้ายจะไม่มีความรู้สึก

สมองซีกขวา /สมองซีกซ้าย พบว่าสมองแบ่งแยกงานกันอย่างน่าสนใจ โดยร้อยละ 95 ของสมองซีกซ้ายเกี่ยวข้องกับภาษา ได้แก่ การพูด การเขียน การเข้าใจ เป็นต้น อีกทั้งสมองซีกซ้ายยังมีความสามารถด้านการคำนวณ การประมาณเวลา จังหวะและประสานงานในการเคลื่อน ไหวที่มีความซับซ้อน เช่น การพูดสุนทรพจน์ (Pineal & Dehaene, 2010) แม้ว่าสมองซีกขวาจะไม่เชี่ยวชาญด้านภาษา แต่ถนัดด้านการเข้าใจภาษา ถ้าสมองซีกขวาบาดเจ็บหรือเสียหาย บุคคลจะสูญเสียความสามารถในการเข้าใจเรื่องตลก เรื่องขำขัน การพูดเหน็บแนม ความหมายโดยนัยและความแตกต่างในรายละเอียดของภาษา (Beeman & Chiarello, 1998; Dyukova et al., 2010)

Cerebral Cortex สามารถแยกบริเวณหลักๆ ออกได้เป็นส่วนโดยพิจารณาจากร่องขนาดใหญ่ (fissure) บนผิวของชั้นนอกสุดของสมอง (cortex) ส่วนหรือบริเวณที่พบนั้นมีลักษณะเป็นพูหรือเป็นกลีบ (lobe) หลาย ๆ ส่วน ในแต่ละส่วนมีการทำหน้าที่ที่แตกต่างกัน

สมองส่วนหลัง (The hindbrain) คือ บริเวณกระดูกสันหลังที่เชื่อมต่อกับสมองในส่วนของสมองส่วนหลัง (brainstem) ซึ่งประกอบ เมดูล่า (medulla) เป็นศูนย์กลางการควบคุมอัตโนมัติของการทำหน้าที่ต่างๆ ที่ทำให้มนุษย์มีชีวิตอยู่ได้ เกี่ยวข้องกับอัตราการเต้นของหัวใจ การหายใจ การกลืน ซึ่งการบาดเจ็บในสมองส่วนเมดุลล่า (Medulla) อาจทำให้เสียชีวิตได้ พอนด์ (pons) ลักษณะเป็นก้อนอยู่ที่สมองส่วนหลัง (brainstem) เป็นสะพานเชื่อมต่อระหว่างเมดุลล่ากับสมองบริเวณอื่น ๆ รวมถึงเชื่อมต่อกับเซเลเบลลัม นอกจากนี้ พอนด์(pons) ยังมีผลต่อการนอนและการเร้าทางอารมณ์ด้วย

 เซเลเบลลัม (cerebellum) ลักษณะคล้ายเซเลบลัม (cerebral) ขนาดเล็ก การศึกษาเกี่ยวกับเซเล-เบลลัม พบว่ามีหน้าที่เกี่ยวกับการรู้คิดและอารมณ์ (Schmahmann, 2010) และยังทำหน้าที่กำกับเรื่องการทรงตัว การตึงตัวของกล้ามเนื้อ รวมทั้งการทำงานประสานกันของกล้ามเนื้อ นอกจากนี้ เซเลเบลลัม (cerebellum) ยังทำหน้าที่เก็บความทรงจำที่เกี่ยวกับทักษะและพฤติกรรมที่ทำจนเป็นนิสัย หรือเป็นกิจวัตรประจำวันด้วย (Christian & Thompson, 2005)

สมองส่วนหน้า (The Forebrain) ธาลามัส (thalamus) ทำหน้าที่เป็นสถานีสับเปลี่ยนสัญญาณจากการรับสัมผัสผ่านไปยัง cortex การมองเห็น การได้ยิน การรับรสและการรับสัมผัส จะต้องผ่านบริเวณเล็กๆนี้ซึ่งมีรูปร่างคล้ายลูกฟุตบอล ดังนั้นการได้รับบาดเจ็บในบริเวณเล็กๆ ของธาลามัสอาจเป็นสาเหตุทำให้หูหนวก ตาบอด หรือสูญเสียการ รับสัมผัสและการรับกลิ่นได้

ไฮโปธาลามัส (hypothalamus) ของมนุษย์มีขนาดประมาณองุ่นเม็ดเล็กๆ ถึงแม้จะมีขนาดเล็กแต่ไฮโปธาลามัสก็เป็นศูนย์ควบคุมหลักของอารมณ์ความรู้สึกและการเคลื่อนไหวพื้นฐาน และไฮโปธาลามัสส่งผลต่อพฤติกรรมต่างๆ เช่น พฤติกรรมทางเพศ ความรุนแรง การควบคุมอุณหภูมิ การหลั่งฮอร์โมน การกิน ดื่ม การนอนหลับ การตื่น ฯลฯ ไฮโปธาลามัสเป็นทางแยกซึ่งเชื่อมต่อไปยังส่วนต่างๆ ของสมองหลายจุด ไฮโปธาลามัสจึงเป็นที่สุดท้ายที่จะมารวบรวมจัดการกับพฤติกรรมก่อนตัดสินใจว่าจะส่งสัญญาณนั้นไปยังสมองเพื่อให้ร่างกายเกิดการตอบสนองหรือไม่

ระบบลิมบิก (limbic system) เป็นกลุ่มของสมองส่วนต่างๆ ได้แก่ ไฮโปธาลามัส (hypothalamus) ส่วนของธาลามัส (thalamus) อะมิกดารา (amygdala) ฮิปโปแคมปัส (hippocampus) และส่วนอื่นๆ ซึ่ง ระบบลิมบิก (limbic system) มีหน้าที่หลักในการทำให้เกิดอารมณ์ความรู้สึกและการจูงใจให้เกิดพฤติกรรม ความรุนแรง ความหวาดกลัว การตอบสนองทางเพศ อารมณ์ขันและการให้ความสนใจในการเข้าสังคมของมนุษย์ก็มาจากระบบลิมบิก (limbic system) ด้วยเช่นกัน

- อะมิกดารา (amygdala) เป็นทางผ่านที่รวดเร็วไปยังชั้นเปลือกสมอง (cortex) ทำให้เรารู้สึกตกใจและตอบสนองต่ออันตรายที่เกิดขึ้นก่อนที่เราจะรับรู้ถึงอันตรายนั้นอย่างเต็มที่ ในสถานการณ์ที่อันตราย เช่น การรบทางการทหาร อะมิกดารา จะตอบสนองอย่างรวดเร็วเพื่อช่วยให้เกิดการเอาชีวิตรอด อย่างไรก็ตามกรณีที่เกิดการเรียนรู้ในการหลบเลี่ยงมาแล้ว บางครั้งยังเกิดเป็นพฤติกรรมอัตโนมัติได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น เมื่อทหารผ่านศึกได้ยินเสียงระเบิดของเครื่องยนต์จะกระโดดเข้าพุ่มไม้ หรือหลบหลีกโดยทันที อย่างไม่ตั้งใจ นอกจากนี้บทบาทของอะมิกดารา ที่ควบคุมเรื่องอารมณ์สามารถอธิบายผู้ป่วยที่มีอาการโฟเบีย (phobia) และผู้ที่ป่วยด้วยอาการวิตกกังวล ที่เกิดอาการกลัวโดยที่ไม่ทราบสาเหตุด้วย (Lamprecht et al., 2009)

- ฮิปโปแคมปัส (hippocampus) ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดความจำระยะยาว (Kumaran & Maguire, 2005) ฮิปโปแคมปัสอยู่ในสมองส่วนขมับ (temporal lobe) ซึ่งเมื่อสมองส่วนขมับได้รับการกระตุ้นจะทำให้เกิดความทรงจำหรือความฝัน ฮิปโปแคมปัสช่วยในการเดินทางซึ่งฮิปโปแคมปัสด้านขวาจะทำงานเรื่องการค้นหาทางได้ดี เช่น การวางแผนการขับรถข้ามจังหวัด

ไขสันหลัง(The Spinal Cord) เป็นตัวเชื่อมต่อสมองกับร่างกายส่วนอื่นๆ ภาพตัดขวางของไขสันหลังจะพบชั้นของเนื้อเยื้อสีขาว (white matter) เป็นกลุ่มของแอกซอน (axon) หุ้มด้วยเยื่อไมอีลิน (myelin) โดยเนื้อเยื่อสีขาวมีหน้าที่ส่งคำสั่งออกจากไขสันหลังไปยังระบบประสาทส่วนปลาย (PNS) เส้นประสาทไขสันหลัง (spinal nerve) จำนวน 31 คู่ นำส่งข้อมูลการรับสัมผัสและข้อมูลจากอวัยวะรับสัมผัส ไปและกลับจากไขสันหลัง ขณะเดียวกันมีเส้นประสาทอีกจำนวน 12 คู่ ที่ออกจากสมองโดยตรงและไม่ผ่านไขสันหลัง (cranial nerves) เส้นประสาทเหล่านี้ทำงานนำส่งข้อมูลเพื่อติดต่อกับสมอง

ตัวอย่างเช่น ถ้าเราเดินไปเหยียบตะปู ความเจ็บปวดที่เท้าที่ได้รับการกระตุ้นจากผิวหนังจะส่งกระแสประสาทไปยังไขสันหลังโดยเซลล์ประสาทรับสัมผัส (sensory neuron) เป็นเซลล์ประสาทที่ส่งข้อมูลจากอวัยวะรับสัมผัสไปประมวลยัง CNS พร้อมกันนี้ยังสั่งงานไปยังไขสันหลังเพื่อให้ส่งกระแสประสาทกลับมายังที่กล้ามเนื้อให้ยกเท้าหนีโดยอัตโนมัติด้วย (reflex) ซึ่งการทำงานดังกล่าวเป็นการป้องกันโดยอัตโนมัติของร่างกาย

ระบบประสาทส่วนปลาย (The Peripheral Nervous System หรือ PNS) somatic nervous system (SNS) ทำหน้าที่นำข้อมูลเข้าและออกจากอวัยวะรับสัมผัส และกล้ามเนื้อลาย โดยทำหน้าที่ควบคุมการกระทำหรือพฤติกรรมที่อยู่ภายในอำนาจจิตใจ (voluntary behavior) autonomic nervous system (ANS) จะใช้ในการควบคุมอวัยวะภายในและต่อมต่างๆ คำว่า “Autonomic” มีความหมายว่า ควบคุมด้วยตัวเอง กิจกรรมที่ควบคุมด้วยระบบ ANS มักจะเกิดโดยอัตโนมัติ เช่น อัตราการเต้นของหัวใจ การย่อย การขับเหงื่อ เป็นต้น

ดังนั้นข้อความที่ถูกส่งโดยระบบประสาทโซมาติกจะทำให้มือขยับได้ แต่ไม่สามารถทำให้ม่านตาของคุณขยายได้ และข้อความที่นำส่งโดย ANS จะสามารถกระตุ้นการย่อยอาหารแต่ไม่สามารถช่วยคุณในการจัดการกับการกระทำภายในอำนาจจิตใจ อย่างการเขียนจดหมายได้ ระบบ ANS แบ่งแขนงย่อยออกเป็น 2 ระบบ ได้แก่ ซิมพาเธติก (sympathetic) และพาราซิมพาเธติก (parasympathetic) โดยทั้ง 2 ระบบต่างเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการตอบสนองของอารมณ์ เช่น ร้องไห้ เหงื่อออก อัตราการเต้นของหัวใจ และพฤติกรรมนอกอำนาจจิตใจอื่นๆ

ระบบ SNS และ ANS จะทำงานควบคู่กันเพื่อตอบสนองต่อเหตุการณ์ต่างๆ ภายนอก ตัวอย่าง เช่น เมื่อนาย ก เห็นสุนัขเห่า และสุนัขพุ่งตัวกำลังจะมากัด ระบบซิมพาเธติก (sympathetic) จะควบคุมกล้ามเนื้อขาของนาย ก ให้เขาสามารถวิ่งได้อย่างรวดเร็ว ในขณะเดียวกันระบบ ANS จะเพิ่มความดันโลหิตของนาย ก รวมทั้งเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจให้เร็วมากขึ้น เป็นต้น