การจัดบริการอาชีวอนามัย สำหรับแรงงานสูงวัย

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
ถาวร ชลัษเฐียร ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ การพัฒนากำลังแรงงาน ในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ 14 ธันวาคม 2558 เสนอต่อ คณะกรรมการพัฒนาแรงงานและ.
Advertisements

การเขียนแบบ รายงาน การเยี่ยมสำรวจ นันทา ชัยพิชิตพันธ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ.
WIND Work Improvement in Neighbourhood Development.
การจัดการการดูแล (Care Management) นางอุไลวรรณ์ ไขสังเกต พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ.
ศึกษานิเทศน์และเจ้าหน้าที่จากองค์การแพธ
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบและการวิเคราะห์ระบบ
วิชา การพัฒนางานด้วยระบบคุณภาพและเพิ่ม ผลผลิต (Work Development with Quality Management.
เอกสารประกอบการบรรยาย หลักสูตร Fundamental หัวข้อวิชา องค์กรและระบบงานตรวจสอบภายใน สำนักกำกับและพัฒนาการตรวจสอบภาครัฐ กรมบัญชีกลาง.
การบรรยายพิเศษ สหกิจศึกษานานาชาติ International Cooperative Education โดย ดร.สุเมธ แย้มนุ่น อุปนายกสมาคมสหกิจศึกษาไทย โครงการเตรียมความพร้อมสู่สหกิจศึกษานานาชาติ
(P7S10P1G2) การประชุมถ่ายทอดนโยบายและตัวชี้วัดด้านสาธารณสุข
การประชุมผู้บริหารกรมอนามัย เพื่อทบทวน วิสัยทัศน์ พันธกิจ และ ค่านิยม
ภารกิจ ศธภ./ศธจ..
ระบบสารสนเทศในงานบริหารงานบุคคล และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
โครงการสนับสนุนและพัฒนาเครือข่ายระบบสุขภาพอำเภอ (District Health System) เขตเมืองและเขตชนบท ใน 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง ดร.นพ.วรสิทธิ์ ศรศรีวิชัย เลขาธิการ.
Human resources management
ระบบจำแนกตำแหน่งและค่าตอบแทนใหม่
Market System Promotion & Development Devision
หมวดวิชาที่ 3 บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทำงานของสถานประกอบกิจการ.
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์
การเตรียมความพร้อมข้าราชการ สู่ประชาคมอาเซียน ปี 2558
การสร้างเว็บไซด์อีคอมเมิร์ซ
ความรู้เบื้องต้นการส่งเสริมพัฒนาการและสุขภาพเด็ก
Risk Management System
Marketing Concept วิวัฒนาการของแนวความคิดทางการตลาด แบ่งได้ 5 แนว
ทิศทางการดำเนินงาน ปีงบประมาณ 2560
E. I. SQUARE. All rights reserved
Dr. Mano Choondee. By Director of Angthong
ทิศทางการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ
การประชุมการบริหารยุทธศาสตร์กรมอนามัย ครั้งที่ 4/2559
หลักการและแนวคิดเกี่ยวกับ การจัดการกระบวนการ
ระเบียบวาระที่ 3 : เรื่องเพื่อพิจารณา
กอบกู้วิกฤตการศึกษาไทย ความหวังการสร้างชาติที่ยั่งยืน
Health Promotion & Environmental Health
การประเมินความจำเป็นด้านสุขภาพ Health Needs Assessment - HNA
บทที่ 1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสุขภาพ
งานสนับสนุนบริการ สู่การบริการที่เป็นเลิศ
การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มสุกร 2552 VS 2558
แนะนำรายวิชา การออกแบบระบบการจัดการเรียนรู้บนเครือข่าย
Introduction to information System
Introduction to information System
ดร. ฐิตวันต์ หงษ์กิตติยานนท์
สู่สุขภาพและคุณภาพชีวิต
การเตรียมความพร้อม สหกิจศึกษา
โครงการแลกเปลี่ยนความรู้ การเสวนาแนวทางเพื่อสร้างมาตรฐานในการทำงานของเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ ; (การเขียนคู่มือปฏิบัติงาน (Work Manual) วันที่ 22 มีนาคม.
หมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง
การบริหารจัดการประเมินและดูแลผู้ป่วย ก่อนกลับเข้าทำงาน
การดำเนินงานส่งเสริมพัฒนาการเด็ก เขตสุขภาพที่ 5
บรรยายโดย คุณครูกิริยา ทิพมาตย์ สพม. เขต 23
การแบ่งส่วนตลาดและการตลาดเป้าหมาย (Market Segmentation and Targeting)
ดร.ณัฐวัฒน์ นิปกากร. DMS.
การจัดการความปลอดภัยระบบสารสนเทศ (Information Security Management System : ISMS) ด้วย เกณฑ์มาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัย ISO/IEC และ ISO/IEC
ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
ทพ.สุธา เจียมมณีโชคชัย รองอธิบดีกรมอนามัย
นโยบายและทิศทางการส่งเสริมสุขภาพในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง
การสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ
สิ่งแวดล้อมกับคุณภาพชีวิต
Public Health Nursing/Community Health Nursing
อาจารย์อภิพงศ์ ปิงยศ บทที่ 2 : มาตรฐานการรักษาความปลอดภัยข้อมูล สธ412 ความมั่นคงของระบบสารสนเทศ อาจารย์อภิพงศ์ ปิงยศ
บทที่ 2 การวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมทางการตลาด
พืชเกษตรอย่างครบวงจรในระดับพื้นที่
โครงการคลินิกโรคจากการทำงาน
Happy work place index & Happy work life index
บทที่ 1 ผลิตภัณฑ์บริการ
แพทย์หญิงประนอม คำเที่ยง
คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
[ บทที่ 3 ] ระบบสารสนเทศ.
การรายงานผลการดำเนินงาน
แบบฟอร์มที่ 2 1. ชื่อวิชา  IFM4302 การจัดการความรู้ (Knowledge Management) 2. หัวข้อที่ประจำ สัปดาห์นี้  Knowledge Management Tools   วัตถุประสงค์ (เมื่อศึกษาเนื้อหาในหน่วยการเรียนแล้ว.
โดย สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดจันทบุรี
ใบสำเนางานนำเสนอ:

การจัดบริการอาชีวอนามัย สำหรับแรงงานสูงวัย นพ. สมเกียรติ ศิริรัตนพฤกษ์ กรมควบคุมโรค

คำนิยาม “แรงงานสูงวัย” อายุ Vs อายุที่เพิ่มขึ้น (Aging) ผู้สูงอายุ ผู้สูงวัย (อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ตาม พรบ. ผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546) วัยแรงงาน วัยทำงาน (ช่วงอายุ 15 – 60 ปี) Older workers Aging workers

คำนิยาม “แรงงานสูงวัย” Aging workers คือ ผู้ทำงานที่มีอายุอยู่ในช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมากที่มีผลเกี่ยวข้องกับการทำงาน โดยเฉพาะในประเด็นของสมรรถนะในการทำงาน ในตลอดช่วงอายุเวลาการทำงานทั้งหมด จากข้อมูลทางวิชาการพบว่า ความสามารถทางกายภาพในการทำงานจะเริ่มลดลงเมื่ออายุ 30 ปี และคนส่วนใหญ่จะเริ่มรับรู้ว่าความสามารถในการทำงานของตนจะมีสมรรถนะสูงสุดในช่วงอายุ 50 ปี ดังนั้นในมิติทางด้านอาชีวอนามัยจึงได้กำหนดเกณฑ์ Aging workers คือแรงงานที่มีอายุ 45-50 ปีขึ้นไป ในการจัดการดูแลทางสุขภาพที่เกี่ยวกับงาน เพื่อที่จะป้องกันโรคหรือผลกระทบทางสุขภาพและเป็นการเตรียมตัวทางสุขภาพเพื่อให้มีความพร้อมในการทำงานและใช้ชีวิตในระยะต่อไปได้อย่างมีคุณภาพ

สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร โดยเฉพาะทางด้านอายุ สาเหตุหลักคือ การมีลูกมากช่วงหลังสงครามโลก (Baby boom) การมีลูกน้อยในช่วงปัจจุบัน ความก้าวหน้าทางด้านการแพทย์ดีขึ้น ประชาชนอายุยืนยาวขึ้น

อัตราการพึ่งพิงตามช่วงอายุ (The age dependency ratio) หมายถึงอัตราจำนวนผู้ที่อยู่ในช่วงอายุวัยแรงงาน ต้องทำงานเพื่อดูแลกลุ่มที่ต้องพึ่งพิงที่อยู่ในกลุ่มอายุอื่น (ที่ไม่สามารถทำงานหารายได้เพื่อเลี้ยงดูตนเองได้) ได้แก่กลุ่มเด็ก (ช่วงอายุ 0 - 14 ปี) และกลุ่มผู้สูงอายุ (อายุ 60 - 65 ปีขึ้นไป) ปัจจุบันค่าเฉลี่ยอัตราการพึ่งพิงตามช่วงอายุทั่วโลกอยู่ที่ 50 ผู้พึ่งพิง (dependents) ต่อจำนวนผู้ทำงาน 100 คน แต่มีการคาดการณ์ว่าในปี 2025 ในยุโรปค่าอัตราจะเป็น 58 ต่อ 100 ในบางประเทศ เช่น ฟินแลนด์จะเป็น 66 ต่อ 100 เป็นต้น นอกจากการคำนวณอัตราดังกล่าวแล้ว ในสภาพความเป็นจริงพบว่าผู้ที่มีอายุในช่วง 55 ปีขึ้นไป ไม่ได้ทำงานหรือลาออกจากงานแล้วมีเป็นจำนวนมาก เช่น ในยุโรปพบว่าผู้ที่มีอายุ 55 ปีขึ้นไปที่ยังทำงานอยู่มีเพียง 60% เท่านั้น รวมทั้งในกลุ่มวัยรุ่นที่มีอายุ 14 – 19 ปี ส่วนใหญ่ยังไม่ทำงานเพราะกำลังศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ดังนั้นทำให้อัตราการพึ่งพิงมีจำนวนสูงมากขึ้น

ทิศทางการจ้างงานจากสภาพการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากรอันเนื่องมาจากอายุ สรุปจากประสบการณ์ในยุโรป ประชากรช่วงอายุ 50 ปีขึ้นไป เมื่อเทียบกับวัยแรงงานทั้งหมด ที่จะอยู่ในตลาดแรงงานจะมีสัดส่วนสูงขึ้น โดยคาดการณ์ว่าจะสูงถึง 30% ในช่วง 25 ปีข้างหน้า วัยแรงงานที่อายุน้อยกว่า 25 ปี จะมีสัดส่วนลดลงเรื่อยๆ อย่างไรก็ตาม ผู้ทำงานที่อายุมากกว่า 55 ปีขึ้นไป จะมีสัดส่วนในการทำงานต่อลดลงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อัตราการพึ่งพิงจะเพิ่มสูงขึ้นในช่วง 15-25 ปีข้างหน้า

การเปลี่ยนแปลงของสุขภาพตามอายุ การเปลี่ยนแปลงทางด้านกาย (Physical) การเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจ (Mental) การเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม (Social) จะมุ่งพิจารณาความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงต่อการทำงาน

การเปลี่ยนแปลงทางกายต่อสมรรถนะการทำงาน (Physical work capacity) ระบบอวัยวะที่เปลี่ยนแปลงไปตามอายุที่อาจมีผลต่อสมรรถนะการทำงาน ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ โครงสร้างของร่างกาย ระบบประสาท

การเปลี่ยนแปลงของระบบหัวใจและหลอดเลือด Maximum oxygen consumption (Vo2 max) จะลดลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเมื่ออายุ 45 ปี จะลดลงถึง 25% ดังนั้นจะมีผลต่อการทำงานที่ต้องออกแรงมาก อย่างไรก็ตามการออกกำลังกายสม่ำเสมอจะช่วยให้ค่า Vo2 max คงที่หรือดีขึ้น ข้อแนะนำต่อการปรับสภาพการทำงาน จะต้องปรับสภาพการทำงานที่ต้องออกแรงมากให้ลดลง ตามอายุที่มากขึ้น ส่งเสริมให้พนักงานออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อเพิ่มสมรรถนะในการทำงานของระบบหัวใจและหลอดเลือด

การเปลี่ยนแปลงของระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ค่า Maximum isometric trunk extension and flexion strength ภายหลังอายุ 45-50 ปี จะลดลง 40-50 % ภายในทุกๆ 10 ปี นอกจากนี้ยังมีผลการศึกษาบ่งชี้ว่า คนงานที่ต้องทำงานออกแรงทางกายเป็นประจำไม่ได้ช่วยป้องกันให้สภาพความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลง คนงานที่ต้องทำงานที่ต้องใช้แรงทางกาย จำเป็นต้องออกกำลังกายเสริม เพื่อให้คงสภาพความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่เหมาะสมกับอายุของตน สภาพการทำงานและการใช้ชีวิตนอกงาน (เช่น การชอบออกกำลังกาย) จะมีผลต่อการเพิ่มหรือลดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ดังนั้นคนอายุ 65 ปีที่ออกกำลังกายเป็นประจำอาจมีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมากกว่าคนอายุ 45 ปีได้ มีการศึกษาพบว่าคนงานในสายการผลิต (Blue collar workers) มีสัดส่วนในการออกกำลังกายนอกงานน้อยมาก ข้อเสนอแนะในการปรับสภาพงานเช่นเดียวกับระบบหัวใจและหลอดเลือด

การเปลี่ยนแปลงสมรรถนะทางด้านความคิดและจิตใจ (Mental functional capacity) สมรรถนะทางด้านความคิดและจิตใจ หมายถึง ความสามารถในการทำงานอย่างหลากหลายที่ต้องอาศัยความเฉลียวฉลาดและความสามารถทางจิตใจในด้านต่างๆ เช่น สมรรถนะทางด้าน cognitive functions และสมรรถนะในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับสภาพแวดล้อมภายนอก Cognitive functions ได้แก่ สมรรถนะในด้านการรับรู้ ความจำ ความสามารถในการเรียนรู้ การคิด และการสื่อสารในการใช้ภาษา สมรรถนะในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับสภาพแวดล้อมภายนอก ได้แก่ ความสามารถในการรับรู้ตัวตน การเห็นคุณค่าของตน การเห็นความสามารถของตน และการควบคุมตนเองได้ การเปลี่ยนแปลงตามอายุที่เกิดกับจิตใจที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน มักจะผสมผสานไปกับการเปลี่ยนแปลงของระบบทางกายด้วย โดยเฉพาะระบบการรับรู้ทางประสาท เช่น การจำแนกสิ่งกระตุ้นอย่างถูกต้องและความเร็วในการตอบสนอง ซึ่งประเด็นหลักที่กระทบกับการทำงาน คือ กระบวนการจัดการข้อมูล

การเปลี่ยนแปลงสมรรถนะทางด้านความคิดและจิตใจ (Mental functional capacity) (ต่อ) กระบวนการจัดการข้อมูลของร่างกาย (Information processing) มี 3 องค์ประกอบ คือ การรับข้อมูล (Sensori-perceptive system) เป็นขั้นตอนที่ร่างกายรับข้อมูลเข้ามาผ่านทางประสาทรับสัมผัสทั้งหลาย เช่น ตา หู จมูก ลิ้น ผิวหนัง เป็นต้น การวิเคราะห์และแปลผล (Cognitive system) เมื่อรับสิ่งกระตุ้นเข้ามาแล้ว ทำการวิเคราะห์ แปลผลจากประสบการณ์ในอดีตและสั่งการ การตอบสนอง (Motor system) เป็นการตอบสนองของร่างกายต่อสิ่งกระตุ้นนั้นๆ จากการศึกษาพบว่าระบบกระบวนการจัดการข้อมูลของร่างกายจะช้าทุกองค์ประกอบเมื่อร่างกายมีอายุมากขึ้น

การเปลี่ยนแปลงสมรรถนะทางด้านความคิดและจิตใจ (Mental functional capacity) (ต่อ) อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาผลการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการจัดการข้อมูลของร่างกายกับการประกอบอาชีพของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เมื่อเทียบกับอายุที่เพิ่มขึ้น พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก นอกจากนี้ จากการศึกษาในด้าน cognitive functions พบว่า ความสามารถในการสื่อสารและการแก้ไขปัญหาที่ยุ่งยากซับซ้อนในสถานการณ์ต่างๆ ความสามารถจะดีขึ้นเมื่ออายุเพิ่มขึ้น ส่วนข้อจำกัดในด้านการรับรู้และตอบสนองต่อสิ่งเร้าทั้งในด้านความแม่นยำและความเร็วในผู้สูงอายุ สามารถทดแทนด้วยความมุ่งมั่นต่องาน ประสบการณ์และความรู้ที่ผ่านมาในอดีต จึงทำให้ผู้สูงอายุสามารถที่จะเรียนรู้การทำงานแบบใหม่ๆได้ ประสบการณ์การทำงาน คุณภาพของผลงาน และอายุมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ประสบการณ์การทำงาน (ซึ่งสัมพันธ์กับอายุ)จะมีผลเชิงบวกกับ cognitive functions และคุณภาพของผลงาน โดยสรุป อายุที่เพิ่มขึ้นจะทำให้สมรรถนะทางกายด้อยลง แต่สมรรถนะทางความคิดและจิตใจจะดีขึ้น ดังนั้นการจัดสภาพงานสำหรับแรงงานที่อายุมากขึ้น คือลดความต้องการงานที่ต้องใช้แรงลง แต่เพิ่มลักษณะของงานที่ใช้สมรรถนะทางความคิดและจิตใจแทน

สรุปความสัมพันธ์ระหว่างอายุที่เพิ่มขึ้นกับการพัฒนาทางด้านจิตใจที่เกี่ยวกับการทำงาน เฉลียวฉลาดขึ้น ความสามารถในการกระจายงาน ความสามารถในการให้เหตุผล ความรู้ความเข้าใจในภาพรวมของงานทั้งหมด ความสามารถในการสื่อสารได้ดีกว่า การควบคุมอารมณ์และชีวิตดีกว่า มีความรับผิดชอบต่องานมากกว่า ซื่อสัตย์และมั่นคงต่อนายจ้างมากกว่า ขาดงานน้อยกว่า มีประสบการณ์ต่องานมากกว่า มีความตั้งใจที่จะเรียนรู้ในงานมากกว่า

ความสามารถในการทำงาน (Work ability) เป็นกรอบแนวคิดใหม่ที่เกี่ยวกับกระบวนการการจัดการต้นทุนของมนุษย์ (human resources) ที่สัมพันธ์กับงาน แนวคิดนี้ริเริ่มโดย The Finnish Institute of Occupational Health เมื่อปลายทศวรรษ 1990 ความสัมพันธ์ระหว่างทุนมนุษย์และงาน เพื่อนำไปสู่ความสามารถในการทำงาน ทุนมนุษย์ งาน ความสามารถในการทำงาน

ปัจจัยความสัมพันธ์ระหว่างต้นทุนมนุษย์และงาน ต้นทุนของมนุษย์ บริบทของงาน สุขภาพและกำลังความสามารถทั้งทางกาย ใจและสังคม การเรียนรู้และสมรรถนะ คุณค่าและทัศนคติ แรงจูงใจ อุปสงค์ของงาน (Work demand): ลักษณะและความต้องการของเนื้องาน สภาพองค์กรและการบริหารจัดการ สภาพแวดล้อมในการทำงาน

การเปลี่ยนแปลงในปัจจัยหนึ่งจะกระทบต่อ ความสามารถในการทำงาน อายุมากขึ้น เจ็บป่วย Work process & tools มนุษย์ งาน

ความสามารถในการจ้างงาน (Employability) หมายถึง การดำเนินการโดยการพัฒนาและปรับปรุงมาตรการต่างๆ ที่จะนำไปสู่การจ้างงานที่เพิ่มขึ้น โดยมาตรการดังกล่าวประกอบด้วย การจ้างงาน การให้การศึกษา นโยบายการออกจากงานหรือเกษียณจากงาน ระบบสุขภาพและระบบการดูแลทางด้านสังคมที่จะรองรับ การป้องกันการกีดกันการจ้างงานอันเนื่องจากอายุ สิ่งที่สำคัญที่สุด คือการสร้างความเข้าใจและการมีส่วนร่วมของสังคมในภาพรวม โดยเฉพาะประเด็นการดูแลคุณภาพชีวิตผู้ทำงานตลอดช่วงอายุของการจ้างงาน

ปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการจ้างงาน การส่งเสริมด้านความสามารถในการทำงาน (Promotion of workability) การพัฒนาความสามารถในการจ้างงาน (Development of employability)

การส่งเสริมด้านความสามารถในการทำงาน (Promotion of workability) การดำเนินการจะต้องทำทั้งในส่วนบริบทของงาน (Work) และผู้ทำงาน (Human resources) กิจกรรมหรือมาตรการที่สำคัญ ได้แก่ การฝึกอบรมเรื่องการบริหารจัดการและดูแลแรงงานในประเด็นที่เกี่ยวกับอายุ ในทุกระดับ การใช้มาตรการทางการยศาสตร์สำหรับแรงงานสูงวัย การส่งเสริมการออกกำลังกาย การฝึกอบรมแรงงานสูงวัยในด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับกระบวนการทำงาน

การบริหารจัดการและดูแลแรงงานในประเด็นที่เกี่ยวกับอายุ ในสถานประกอบการ (กรณีศึกษาของ APS)

การจัดบริการอาชีวอนามัยสำหรับแรงงานสูงวัย การจัดบริการอาชีวอนามัยถือเป็นหัวใจสำคัญในการดูแลสุขภาพของผู้ประกอบอาชีพ วัตถุประสงค์หลักของการจัดบริการอาชีวอนามัย คือการป้องกันโรคหรืออันตรายที่เกิดจากการทำงาน อย่างไรก็ตามองค์ประกอบของการจัดบริการจะมีครบทั้ง 4 ด้านของการให้บริการทางสุขภาพ ได้แก่ การป้องกันโรค การส่งเสริมสุขภาพ การวินิจฉัยและรักษาโรค และการฟื้นฟูสุขภาพ รวมทั้งการดูแลสุขภาพนอกงานด้วย

กิจกรรมการจัดบริการอาชีวอนามัยสำหรับแรงงานสูงวัย การป้องกันโรคหรือการบาดเจ็บที่เกิดจากหรือเกี่ยวเนื่องจากการทำงาน โดยเฉพาะสิ่งคุกคามที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงสูงต่อแรงงานสูงอายุ การบริหารจัดการให้ผู้ทำงานที่เจ็บป่วยเป็นโรคหรือบาดเจ็บจากการทำงาน หรือเจ็บป่วยด้วยโรคนอกงาน สามารถกลับมาทำงานได้อย่างเหมาะสม (Return to work management) การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคตามวัยหรือวิถีชีวิต เช่น โรคไม่ติดต่อต่างๆ การส่งเสริมสุขภาพและบริหารจัดการเพื่อเพิ่มความสามารถในการทำงาน (Promotion of health and workability)

ตัวอย่างกิจกรรมการจัดบริการที่มุ่งเน้นแก่แรงงานสูงวัยเป็นการเฉพาะ การปรับปรุงสภาพการทำงาน โดยอาศัยหลักการยศาสตร์และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อเพิ่มสมรรถนะทางกายของแรงงานสูงอาย การพัฒนาสมรรถนะทั้งทางกาย จิตใจและสังคม โดยปรับสภาพการทำงานให้เหมาะสมกับแรงงานสูงอายุ เช่นการลดความเครียดจากการทำงาน การสร้างความพึงพอใจในงาน เป็นต้น การปรับทัศนคติผู้จัดการหรือหัวหน้างานให้เห็นคุณค่าและความสำคัญของแรงงานสูงวัย การปรับเวลาการทำงานให้แก่แรงงานสูงวัย เช่น การปรับเวลาการทำงานเป็นกะ เพื่อลดปัญหาการนอนในผู้สูงวัยและทำให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้น การตรวจคัดกรองสุขภาพในกลุ่มแรงงานสูงวัย เพื่อคัดกรองโรคที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงในการลดความสามารถในการทำงานหรือต้องลาออกจากงานก่อนอายุเกษียณ

ตัวอย่างกิจกรรมการจัดบริการอาชีวอนามัยเป็นการทั่วไป แต่มีประโยชน์ต่อแรงงานสูงวัยเพิ่มขึ้น การส่งเสริมสุขภาพทั่วไปและการป้องกันโรคไม่ติดต่อ เช่น การออกกำลังกาย การมีโภชนาการที่ดี การรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ การลดความอ้วน เป็นต้น การส่งเสริมด้านความสามารถในการทำงาน เช่น การเฝ้าระวังดัชนีความสามารถในการทำงาน (workability index) การปรับสภาพแวดล้อมในสถานที่ทำงาน เพื่อการส่งเสริมสุขภาพ เช่น การรณรงค์ให้เดินขึ้นบันได เป็นต้น การตรวจคัดกรองทางสุขภาพและลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น การวิเคราะห์และบริหารจัดการเกี่ยวกับการลาป่วยของพนักงาน (sickness absence) การบริหารจัดการ Return to work

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโปรแกรมการส่งเสริมด้านความสามารถในการทำงาน ผลผลิตของงานเพิ่มขึ้น คุณภาพของงานดีขึ้น คน มีสุขภาพดี มีคุณภาพชีวิตที่ดี ผลของเป้าหมายในระยะยาว คุณภาพชีวิตในช่วงอายุที่สามของชีวิต (The quality of life in the third age) ใช้ชีวิตหลังเกษียณจากการทำงานอย่างมีความสุข ประสบความสำเร็จในชีวิต ชีวิตมีความหมาย และมีสุขภาพดีตามช่วงอายุ

สรุป แรงงานสูงวัยเป็นกลุ่มประชากรที่มีความสำคัญต่อองค์กร สถานประกอบการ และการจ้างงานในภาพรวม ซึ่งจะมีผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน เศรษฐกิจและสังคมของประเทศ อายุที่เพิ่มมากขึ้นมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย จิตใจและสังคม ซึ่งมีผลต่อสมรรถนะและความสามารถในการทำงาน การส่งเสริมด้านความสามารถในการทำงาน (Workability) จำเป็นต้องดำเนินการไปทั้ง 2 ส่วน คือ ที่ตัวคนและบริบทของงาน การจัดบริการอาชีวอนามัยถือเป็นหัวใจสำคัญในการดูแลสุขภาพที่เกี่ยวกับงานให้แก่แรงงานสูงอายุ

ขอบคุณครับ