การจัดการองค์การ (Organization Management)

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
Information systems; Organizations; Management; Strategy
Advertisements

Information Systems in the Enterprise
Foundations of Management Understanding
Organization Management
วิชา การตลาดระหว่างประเทศ
การจัดการ Management ความหมาย
Systems Analysis and Design
มองพัฒนาการเศรษฐกิจไทยผ่านกรอบ Daron Acemoglu
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
แนวทางดำเนินการจัดทำแผนปฏิรูปองค์การ :
การจัดทำแผนพัฒนารายบุคคล (Individual Development Plan - IDP
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบและการวิเคราะห์ระบบ
Prof.Emeritus Dr.ANURAK PANYANUWAT CAMT, CHIANG MAI UNIVERSITY
โครงการอบรมหลักสูตรประกาศนียบัตร ผู้ตรวจสอบภายในภาครัฐ
ความขัดแย้ง-การเปลี่ยนแปลง- การสร้างทีมงาน และภาวะผู้นำของผู้บริหาร : กรอบคิดเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ รองศาสตราจารย์ ดร.ภาณุวัฒน์ ภักดีวงศ์ ภาควิชาบริหารและพัฒนาการศึกษา.
การพัฒนาบุคลากรด้านโลจิสติกส์ เพื่อเข้าสู่ Industry 4.0
13 October 2007
การจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management)
ระบบจำแนกตำแหน่งและค่าตอบแทนใหม่
บุคลากรสาธารณสุข รู้ทันประชาคมอาเซียน
ระบบบัญชาการเหตุการณ์และ ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข
การใช้เครื่องมือการจัดการในองค์การภาครัฐ
ความเป็นมาและความสำคัญ ของการเพิ่มผลผลิต
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์
การจัดการการผลิตและการปฎิบัติการ
Peace Theory.
ทิศทางการดำเนินงาน ปีงบประมาณ 2560
การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance)
บทที่ 3 ระบบสารสนเทศกับการบริหารองค์กร
แนวทางดำเนินการจัดทำแผนปฏิรูปองค์การ :
โดยสรุป 10 ขั้นตอนในการ implement
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับระบบสารสนเทศ
13 October 2007
Organization Design.
รศ.ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์
Thailand Standards TMC.WFME.BME. Standards (2017)
Human Capital Management & Human Capital Investment
การวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมทางการตลาด Marketing Environmental Analysis
ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
นายวุฒิศักดิ์ รักเดช นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ 8 มีนาคม2559
การวางแผนเชิงกลยุทธ์ของธุรกิจ (Business Strategic Planning)
สมรรถนะของข้าราชการ กลุ่มงานบริการประชาชน ด้านสุขภาพและสวัสดิการ
มิถุนายน 2548 การประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 2
แนวทางดำเนินการจัดทำแผนปฏิรูปองค์การ :
Techniques Administration
แนวทางดำเนินการจัดทำแผนปฏิรูปองค์การ :
การจัดการทางการพยาบาล Management in Nursing
การแบ่งส่วนตลาดและการตลาดเป้าหมาย (Market Segmentation and Targeting)
ดร.ณัฐวัฒน์ นิปกากร. DMS.
การผลิตและการจัดการการผลิต
แนวทางดำเนินการจัดทำแผนปฏิรูปองค์การ :
สวัสดีครับ สวัสดีค่ะ.
Family assessment.
ความหมายของการจัดโครงสร้างองค์การ
การบริหารเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management)
ร่างแผนปฏิรูปองค์การ สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
แนวความคิดและทฤษฎีการจัดการ Concept and Management Theory
ความรู้เกี่ยวกับการจัดการ
การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน School- Based Management
การจัดการศูนย์สารสนเทศ หน่วยที่ 5
การจัดการและแนวความคิดทางการจัดการ
ความหมาย ขอบข่ายและพัฒนาการของการศึกษารัฐประศาสนศาสตร์
แพทย์หญิงประนอม คำเที่ยง
หลักการจัดการ Principle of Management
Program Evaluation Achakorn Wongpreedee, Ph.D.
Introduction to Structured System Analysis and Design
วิวัฒนาการทฤษฎีการจัดการ
องค์การและการจัดการ Organization and management (Mpp 5504)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นัทนิชา หาสุนทรี สาขา รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
บทที่ 3 ความรู้เกี่ยวกับการจัดการ
ใบสำเนางานนำเสนอ:

การจัดการองค์การ (Organization Management) ทฤษฎีองค์การ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เรวัต แสงสุริยงค์ URL: http://www.huso.buu.ac.th/rewat e-mail: rewat@buu.ac.th

วิวัฒนาการของแนวคิดองค์การ/การจัดการ แนวคิดดั้งเดิม (Classical Approaches) แนวคิดปัจจุบัน (Contemporary Approaches) 1890 1900 1910 1920 1930 1940 1950 1960 1970 1980 1990 2000 การจัดการเชิงระบบ (Systematic Management) การจัดการที่เป็นวิทยาศาสตร์ (Scientific Management) ระบบราชการ (Bureaucracy) การจัดการตามหลักการบริหาร (Administrative Management) มนุษยสัมพันธ์ (Human Relations) การจัดการเชิงปริมาณ (Quantitative Management) พฤติกรรมองค์การ (Organizational Behavior) ทฤษฎีระบบ (Systems Theory) ทฤษฎีตามสถานการณ์ (Contingency Theory) การปฏิวัติในปัจจุบันและอนาคต (Current and future revolutions)

การวิเคราะห์องค์การ การวิเคราะห์องค์การเป็นการอุปมาอุปไมย (metaphor) การวิเคราะห์องค์การ = ทุกสิ่งที่พูดหรือเขียนเกี่ยวกับองค์การ สิ่งที่เราอ่านจากหนังสือหรือเอกสารการสอนคือ การวิเคราะห์ที่เป็นทางการ(formal analysis). สิ่งที่เราได้ยินคนพูดหรือบ่น (complain) เกี่ยวกับงานที่เขาทำคือ การวิเคราะห์ที่ไม่เป็นทางการ (informal or folk analysis).

การอุปมาอุปไมยและอุดมการณ์ (Metaphor and ideology) การอุปมาอุปไมยเป็นอุดมการณ์ ถ้าเราพูดถึงเกี่ยวกับองค์การในแนวทางใดแนวทางหนึ่ง หรือนิยมชมชอบในทางใดทางหนึ่ง อย่างเชื่อมั่น สิ่งเหล่านี้ก็จะกลายมาเป็นฐานความคิด (assumed) ของเรา เช่น ถ้าเราเชื่อว่าองค์การของเราเหมือนจักรกล (machine) เราก็จะดำเนินงานแต่ละวันเหมือนกับการทำงานของจักรกล ถ้าเราเชื่อว่าองค์การเหมือนกับครอบครัว (family) ถ้าเราเป็นผู้บริหารองค์การ เราจะบริหารองค์การอย่างไร? เหตุใด Gareth Morgan จึงไม่อุปมาอุปไมยองค์การเป็นเสมือนครอบครัว?

ภาพการมององค์การของ Morgan (Gareth Morgan: Images of Organizations) เปรียบเทียบองค์การ เป็นดังนี้ (The metaphors - organization as:) จักรกล (Machine)-ทุกส่วนต้องทำงานร่วมกัน/อาศัยกันและกัน (interchangeable parts) อินทรีย์ (Organism)-ปรับตัวอย่างต่อเนื่องตามการเปลี่ยนแปลง (continually adapts to change) สมอง (Brain) – สามารถตอบสนอง (respond) ต่อการทำนาย (predict) และการเปลี่ยนแปลง (change) วัฒนธรรม (Culture) – เป็นการจัดการการอยู่ร่วมกันของคนที่มีค่านิยมและความเชื่อเหมือนกัน (shared values and beliefs) ระบบการเมือง (Political system) – มุ่งเน้นด้านการเมืองและความขัดแย้ง เพราะแต่ละบุคคลมีความทะเยอทะยาน (aspirations) ต่อความสำเร็จ และต่างมีผลประโยชน์ส่วนตัว (self-interest) คุกทางใจ (Psychic prison) – รูปแบบของพฤติกรรม (norms of behaviour) การเปลี่ยนแปลงและการจำแลงรูป (Flux and transformation) เครื่องมือของการครอบงำ (Instruments of domination) Morgan, G. (1986). Images of Organizations. London: Sage.

ความเชื่อมโยงภาพองค์การของ Morgan หัวข้อ จักรกล (Machine) อินทรีย์ (Organism) สมอง (Brain) วัฒนธรรม (Culture) ระบบการเมือง (Political System) คุกทางใจ (Psychic Prison) การเปลี่ยนแปลงและการจำแลงรูป (Flux and Transformation Metaphor) เครื่องมือของการครอบงำ (Domination ระบบราชการ (Bureaucracy) x   การนิยามความเป็นจริง ความเป็นเหตุผล และประสิทธิผล (Defining Reality, Rationality, and Efficiency) อำนาจทางการ, อัตตาธิปไตย และคณาธิปไตย (Formal authority, Autocracy, and Oligarchy) ลัทธิเทเลอร์ (Taylorism) การเปลี่ยนแปลงองค์การ (Organizational Change) ความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม (Relations to the Environment) วัฒนธรรมองค์การ (Company Culture) อำนาจขององค์การ (Organizational Power)

มิติองค์การโดย W. Richard Scott (Perspective on Organizations) องค์การเป็นระบบเหตุผล (Organization as Rational Systems) องค์การเป็นระบบธรรมชาติ (Organization as National Systems) องค์การเป็นระบบเปิด (Organization as Open Systems) มิติของการบูรณาการ (Combining the Perspectives)

องค์การเป็นระบบเหตุผล (Organization as Rational Systems) กรอบแนวคิด: องค์การเป็นการรวมตัวกันของบุคคล เพื่อดำเนินกิจกรรมให้สำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้อย่างเฉพาะเจาะจง (specific goals) และมีความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับโครงสร้างทางสังคมที่เป็นทางการ (formal social structures) โดยมีหลักการที่สำคัญคือ เน้นจุดมุ่งหมาย (purposeful) การประสานงานของคนในองค์การ (coordinated agents) มีเป้าหมายที่ชัดเจน (goal specificity) ความเป็นทางการ (Formalization) แนวคิดที่เกี่ยวข้อง: ทฤษฎีการจัดการที่เป็นแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Management Approach)

ระบบเหตุผล (1) เปรียบเหมือนจักรกล (The machine analogy) ส่วนต่าง ๆ ขององค์การมีความสำคัญและความจำเป็น ดังนั้นจึงต้องมีการออกแบบที่ดีเพื่อให้สามารถทำงานร่วมกันได้ทั้งระบบ (2) ความเป็นเหตุผลเชิงวิธีการและหน้าที่ (Technical or functional rationality) ปรับปรุงการดำเนินงานอย่างเป็นขั้นเป็นตอน เพื่อกำหนดให้เป้าหมายที่ออกมา (predetermined goals) มีประสิทธิภาพสูงสุด (maximum efficiency)

ลักษณะเฉพาะของระบบเหตุผล (1) คำนวณด้วยเหตุผล (Rational Calculation) สารสนเทศ (information) ประสิทธิภาพ (efficiency) ได้ผลดีเยี่ยม (optimization) การออกแบบ (design) การนำไปปฎิบัติ (implementation) (2) จำกัดขอบเขตความคิด (Cognitive Limitation) หรือข้อจำกัดของความมีเหตุผล (bounded rationality) บังคับ (constraints) สิทธิอำนาจ (authority) ระเบียบ (rules) โครงการผลสัมฤทธิ์ (performance programs) และประสานการทำงาน (coordination) (3) เป้าหมายที่ชัดเจนและเฉพาะเจาะจง (Goal Specificity) มีเงื่อนไขที่ชัดเจนในการเลือกในบรรดาทางเลือกที่ต้องกระทำ เป้าหมายทั่วไป กับเป้าหมายเฉพาะ (General Goals vs. Specific goals) (4) ความเป็นทางการของระเบียบและบทบาท (Formalization of Rules and Roles) กำหนดระเบียบที่ถูกต้องและมีความเที่ยงตรง (precisely) กำหนดบทบาทตามคุณลักษณะของบุคคลและสัมพันธ์กับตำแหน่งงานของแต่ละบุคคลในโครงสร้างขององค์การ ใช้ความเป็นทางการขององค์การควบคุมบุคคล

ประโยชน์ของความเป็นทางการ เพิ่มความสามารถในการทำนาย (predictability) และความรับผิดชอบ (accountability) ลดภาวะความขัดแย้งกัน (status battles) หรือความตึงเครียดระหว่างบุคคล (interpersonal tensions) ทำให้เห็น (objectifies) โครงสร้าง (structure) จากการกำหนดบทบาท (roles) ให้สัมพันธ์กับเป้าหมาย (objective) และผู้ที่เกี่ยวข้อง (participants) จากภายนอก (external) สร้างทางเลือกเชิงหน้าที่ต่อโครงสร้างทางสังคม (sociometric structure) – รูปแบบที่มีผลต่อการผูกมัดในบรรดาผู้ที่เกี่ยวข้อง ทำให้เกิดโครงสร้างของงานประจำ (routinized) และความเป็นระเบียบ (regularized) ที่เป็นอิสระในการปฏิบัติงานร่วมกันของคนในองค์การ

สำนักคิดระบบเหตุผล (1) การจัดการที่เป็นวิทยาศาสตร์ของเทเลอร์ (Taylor’s Scientific Management) - เฟดเดอริค วินส์โลว เทเลอร์ (Frederick Winslow Taylor) วิเคราะห์ทุกงานจากจุดที่เล็กที่สุดด้วยความประณีต และตรวจสอบประสิทธิภาพของผู้ปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิด แล้วทำการปรับปรุงให้เหมาะสมกัน เพื่อให้ได้ผลตอบแทนสูงสุด (greatest economy) ออกแบบกระบวนการทำงานที่เป็นวิทยาศาสตร์ (scientifically) เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานได้ผลงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุด (peak efficiency) ฐานความคิดของการจัดการที่เป็นวิทยาศาสตร์: ภาระงาน (Tasks) สามารถคำนวณได้ (calculable) แบ่งงานกันทำ (Division of labor) คือ ความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ใช้วิธีการที่ดีที่สุด (one best way) ในการทำงาน

สำนักคิดระบบเหตุผล (2) ทฤษฎีการบริหารของฟาโย (Fayol’s Administrative Theory) - อองรี ฟาโยล (Henri Fayol) การประสานงาน (Coordination) หลักความลดหลั่นของอำนาจ (scalar principle) หลักการมีผู้บังคับบัญชาคนเดียว (unity-of-command principle) หลักช่วงการบังคับบัญชา (span-of-control principle) หลักการขอยกเว้น (exception principle) ความชำนาญ (Specialization) หลักการจัดแบ่งหน่วยงาน (departmentalization principle) หลักสายงานหลัก-ทีมงาน (line-staff principle)

สำนักคิดระบบเหตุผล (3) ระบบราชการของเวเบอร์ (Weber’s Bureaucracy) - แมกซ์ เวเบอร์ (Max Weber) กระบวนการความเป็นเหตุผลคือ แนวคิดสำคัญที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังระบบราชการ การแบ่งงานกันทำ (Division of Labor) การมีสายบังคับบัญชาที่เป็นทางการตามลำดับขั้น (Hierarchy of Authority) มีกฎและระเบียบที่เป็นลายลักษณ์อักษร (Written Rules and Regulations) ปฏิบัติงานตามตำแหน่งหน้าที่ไม่ใช้ความสัมพันธ์ส่วนตัว (Impersonality) จัดหาพนักงานหรือจ้างงานด้วยการใช้วิธีการสอบคัดเลือก (Employment Based on Technical Qualifications)

สำนักคิดระบบเหตุผล (4) ทฤษฎีพฤติกรรมการบริหารของไซมอน (Simon's theory of administrative behavior) - เฮอร์เบิร์ท เอ ไซมอน (Herbert A. Simon) มนุษย์เชิงเศรษฐกิจ (Economic Man) กับ มนุษย์เชิงการบริหาร (Administrative Man) การมีส่วนร่วมตัดสินใจและร่วมกิจกรรมสามารถทำได้ง่ายและโดยตรงจากสมาชิกขององค์การ สนับสนุนให้ผู้ที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการติดสินใจให้มาก ข้อจำกัดของหลักเหตุผล (bounded rationality): บุคคลสามารถมีพฤติกรรมที่มีเหตุผลได้ เพราะพวกเขามีทางเลือก (alternatives) และการเลือกที่ถูกจำกัดไว้แล้ว

องค์การเป็นระบบธรรมชาติ (Organization as Natural Systems) กรอบแนวคิด: องค์การเป็นระบบของกลุ่มคนที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน (common interest) มาทำงานรวมตัวเพื่อความอยู่รอด (survival) และการมาร่วมกิจกรรมของกลุ่มคนดังกล่าว ดำเนินการไปภายใต้โครงสร้างที่ไม่เป็นทางการ (informally structured) จนกว่าจะบรรลุผลในที่สุด (secure this end) โดยมีหลักการที่สำคัญคือ เป้าหมายที่ซับซ้อน (goal complexity) ซึ่งตรงข้ามกับเป้าหมายเฉพาะ (as opposed to goal specificity) โครงสร้างองค์การที่ไม่เป็นทางการ (informal structures of organizations) ซึ่งตรงข้ามกับโครงสร้างองค์การที่เป็นทางการ (as opposed to formalization of organizations) แนวคิดที่เกี่ยวข้อง: ทฤษฎีมนุษยสัมพันธ์ (The Human Relations Approach)

ความซับซ้อนของเป้าหมาย (Goal Complexity) เป้าหมายขององค์การมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการของผู้ร่วมปฏิบัติงาน ดังนั้นเป้าหมายขององค์การตามแนวคิดธรรมชาติจึงมีปัญหามากกว่าทฤษฎีเหตุผล เป้าหมายที่กำหนด (stated goals) กับเป้าหมายที่แท้จริง (real goals) ไม่มีความสอดคล้องกัน ทุกองค์การต้องรักษาเป้าหมายขององค์การอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มผลผลิตของเป้าหมาย องค์การต้องมีการปรับเป้าหมายเพื่อความอยู่รอด

โครงสร้างที่ไม่เป็นทางการ (Informal Structure) การปฏิบัติงานในองค์การที่เป็นทางการทำให้เกิดโครงสร้างและการจัดระเบียบที่เป็นบรรทัดฐานและรูปแบบพฤติกรรมที่ไม่เป็นทางการ เช่นสถานภาพ อำนาจ เครือข่ายการสื่อสาร การจัดการการทำงาน เป็นต้น ตรรกะ (logic) จากความรู้สึก มักจะอยู่เหนือ(overrides) ตรรกะของต้นทุนและประสิทธิภาพเสมอ โครงสร้างไม่เป็นทางการทำให้เกิดผลกระทบของการไม่ทำหน้าที่ (Dysfunctional) กับการทำหน้าที่อย่างแท้จริง (positive functions)

สำนักคิดระบบธรรมชาติ (1) เมย์โยและแนวคิดมนุษยสัมพันธ์ (Mayo and the Human Relations School) - เอลตัน เมย์โย (Elton Mayo) การศึกษาที่ฮอว์ธอร์น (Hawthorne effect) เป็นการศึกษาวิจัยเชิงทดลองในบริษัท Western Electric Hawthorne Plant ให้ผลคือ ทีมงานมีประสิทธิภาพ เกิดจากการปฏิสัมพันธ์ และบรรยากาศ ผู้ปฏิบัติงานแต่ละคนที่เป็นสมาชิกของกลุ่ม (social groups) จะแสดงพฤติกรรมความผูกพัน (commitments) และความภักดี (loyalties) มากกว่าผลประโยชน์ส่วนตัว (self-interests) ของแต่ละคน บรรทัดฐาน (norms) ของกลุ่มที่ไม่เป็นทางการ (informal group) มักจะเป็นตัวจำกัดประสิทธิผล (productivity) และเป้าหมายขององค์การ (organizational goals) รูปแบบผู้นำ และการปกครองด้วยสถานะภาพที่ไม่เป็นทางการ

สำนักคิดระบบธรรมชาติ ทฤษฎี X และทฤษฎี Y ของดักลาส แมคเกรเกอร์ (Douglas McGregor) ทฤษฎี X (เกียจคร้าน ชอบหลีกเลี่ยง ไม่ทำงาน บิดพลิ้วเมื่อมีโอกาส-> ใช้วิธีควบคุมใกล้ชิด คอยแต่จับผิด ไม่ให้ทั้งเสรีภาพและโอกาส) ทฤษฎี Y (รักงาน พยายามเรียนรู้และปรับปรุงงาน มีความรับผิดชอบ->ใช้วิธีให้เสรีภาพ ให้โอกาสทดลองและริเริ่ม ทำงานด้วยตนเอง ควบคุมห่างๆ) ความสัมพันธ์ตรงกันข้ามระหว่าง ความพึงพอใจของผู้ปฏิบัติงาน (worker satisfaction) และผลิตภาพการผลิต (productivity) ปรับปรุงความขัดแย้งและขวัญ (morale) ของผู้ปฏิบัติงานแต่ละคน ความสำคัญในความสามารถของผู้ควบคุมงาน (supervisory skills) การอบรมผู้นำและทีมงาน ขยายขอบเขตงาน (job enlargement) หรือสับเปลี่ยนงาน ( job rotation) การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ (decision-making) ของผู้ปฏิบัติงาน

สำนักคิดระบบธรรมชาติ (2) ระบบความร่วมมือของบาร์นาร์ด (Barnard’s Cooperative System) – เชสเตอร์ บาร์นาร์ด (Chester Barnard) หน้าที่ทางการบริหาร (The Function of the Executive-1938) องค์การเป็นระบบของความร่วมมือ (cooperative systems) ที่เกิดจากการมีส่วนร่วมในความร่วมมือกันแต่ละคน หน้าที่ที่สำคัญของการบริหารคือ การสร้างเป้าหมายร่วมกัน (common purpose) และการทำให้เกิดความซาบซึ้ง (indoctrinate) ของการมีส่วนร่วม ด้วยความเชื่อในเป้าหมายร่วมกันที่มีอยู่จริง รางวัลที่เป็นวัตถุ (material rewards) เป็นเครื่องกระตุ้นที่มีความจูงใจต่ำ (weak incentives) ให้ความสำคัญกับการจูงใจเชิงจิตวิทยา (Psychological motivations) และรางวัลด้านสังคม (social rewards) ความสำเร็จขององค์การขึ้นอยู่กับความสามารถในการอยู่รอด อันเนื่องมาจากการสนับสนุนจากสมาชิกในองค์การ ที่ได้รับแรงกระตุ้นและรางวัลที่พอเพียง

สำนักคิดระบบธรรมชาติ (3) ทฤษฎีเชิงสถาบันของเซลนิกค์ (Selznick’s Institutional Approach) – ฟิลลิป เซลนิกค์ (Philip Selznick) ความเป็นสถาบัน (Institutionalization): กระบวนการที่มีลักษณะเฉพาะที่องค์การนำมาใช้ และได้รับความสำเร็จอย่างเห็นได้ชัด หรือเป็นสิ่งไม่มีศักยภาพที่ฝังอยู่ (a built-in incapacity) โครงสร้างหรือกิจกรรมดำเนินไปด้วยความชื่นชอบ/พึงพอใจมากกว่าการใช้วิธีการกำหนด/ควบคุมให้เกิดการทำงาน โครงสร้างองค์การสามารถปรับรูปร่างให้ตอบสนองลักษณะหรือข้อผูกมัดของการร่วมกันปฏิบัติงาน รวมถึงอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อมภายนอก TVA and the Grass Roots (1949) TVA=Tennessee Valley Authority (http://en.wikipedia.org/wiki/Tennessee_Valley_Authority) การเป็นเข้าร่วมเป็นสมาชิก (Co-optation) คือกลไกที่เกิดจากส่วนประกอบภายนอกเข้ามามีส่วนร่วมในโครงสร้างการตัดสินใจขององค์การ

องค์การเป็นระบบเปิด (Organization as Open Systems) กรอบแนวคิด: องค์การเป็นระบบของกิจกรรมที่ต้องมีการพึ่งพาซึ่งกันและกัน (interdependent) มีการเปลี่ยนแปลงที่เชื่อมโยงถึงกันและกัน (shifting coalitions) ระบบจะถูกตรึงอยู่ในสภาพแวดล้อมของการทำงานที่ต้องอาศัยการแลกเปลี่ยนกันอย่างต่อเนื่อง โดยมีหลักการที่สำคัญคือ องค์การเป็นระบบเปิดที่ต้องอาศัยสายธาร (flows) ของบุคคล (personnel) ทรัพยากร ( resources) และสารสนเทศ (information) จากภายนอก สภาพของสิ่งแวดล้อม (Environments shape) การสนับสนุน (support) และการยอมให้ไหลซึมเข้าไปในองค์การ (infiltrate organizations) แนวคิดที่เกี่ยวข้อง: ทฤษฎีตามสถานการณ์ (Contingency Theory) ของพอล ลอเรนซ และเจ ลอสช (Paul Lawrence and Jay Lorsch) ในปี 1967

ระบบเปิด 1. องค์การมีส่วนต่าง ๆ ที่ต้องการพึ่งพาซึ่งกันและกัน (interdependent) 2. องค์การมีสิ่งแวดล้อม (environments) แหล่งกำเนิดของวัตถุ (materials) พลังงาน (energy) สารสนเทศ (information) และระเบียบ (orders) 3. สิ่งสำคัญขององค์การ คือ กระบวนการจัดการ ระบบเปิดเปลี่ยนมุมมองที่สนใจจากโครงสร้าง (structure) องค์การ (organization) ไปสู่กระบวนการ (process) การจัดการ (organizing).

จุดเน้นและความเข้าใจระบบเปิด (1) องค์การเป็นระบบจักรกล (Organization as Cybernetic Systems) ระบบสามารถควบคุมตนเองได้ (self regulation) เช่น เครื่องควบคุมความร้อน (thermostat). ระบบประกอบด้วยส่วนที่แตกต่างกัน ทำงานร่วมกันและเปลี่ยนแปลง (convert) ปัจจัยนำเข้า (input) ไปสู่ผล (output) ตลอดจนควบคุม (control) กระบวนการ (process) ทำงานและการส่งย้อนกลับ (feedback) การมององค์การเป็นระบบจักรกล (cybernetic system) คือ การให้ความสำคัญกับการปฏิบัติงาน ( operations) การควบคุม (control) เป้าหมายของนโยบาย (policy center) ตลอดจนการเคลื่อนไหว (flows) ในบรรดาสิ่งเหล่านั้น ระบบย้อนกลับสองทาง (Double feedback system) คือกลไกที่สำคัญสำหรับการปรับตัวขององค์การ ติดตามการตอบโต้ต่อสภาพแวดล้อมจากผลสัมฤทธิ์ (performance) ของระบบในอดีต

จุดเน้นและความเข้าใจระบบเปิด (2) องค์การเป็นระบบที่ยึดเหนี่ยวกันแบบหลวม (Organizations as Loosely Coupled Systems) องค์การมีลักษณะกึ่งอัตโนมัติ (semi-autonomous) และมีการเชื่อมโยงกันของระบบย่อย ๆ (subparts) อย่างหลวม ๆ โครงสร้างเชิงปทัสฐาน (normative structure) ขององค์การ เช่น กฎ/ระเบียบและเป้าหมายที่เป็นทางการมีความเกี่ยวพันกับโครงสร้างเชิงพฤติกรรม (behavioral structure) แบบหลวม ๆ ผู้ปฏิบัติงานแต่ละคนมักจะมีความตั้งใจหรือเป้าหมายที่ไม่สัมพันธ์กับการกระทำของแต่ละคน ความแตกต่างระหว่างหน่วยงานหรือทีมงาน เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงภาพรวมของการเชื่อมโยงของแผนผังองค์การที่มีการเชื่อมโยงกันอย่างเบาบาง

ลักษณะเฉพาะของระบบเปิด ระบบเปิดสามารถบำรุงรักษาตัวเอง (self-maintenance) จากการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อม การปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม (Interaction with environment) คือ การทำหน้าที่ที่สำคัญของระบบเปิด ระบบเปิดมีอาณาเขต (boundaries) การคงรูปแบบ (Morphostasis) เป็นกระบวนการบำรุงรักษา (maintain) โครงสร้างของระบบหรือสภาพ. การพัฒนารูปแบบ (Morphogenesis) เป็นกระบวนการขยายตัว (elaborate) หรือเปลี่ยนแปลงของระบบ (Buckley 1967)

จุดเน้นและความเข้าใจระบบเปิด (4) องค์การเป็นระบบลำดับชั้น (Organizations as Hierarchical Systems) ระบบทุกระบบประกอบด้วยระบบย่อย (subsystems) และระบบย่อยจะรวมกับเป็นระบบที่ใหญ่กว่า การควบคุมแบบลำดับชั้น (hierarchy) เป็นสิ่งที่สำคัญในระบบที่ซับซ้อน การควบคุมแบบลำดับชั้นในรูปของกลุ่มและระดับ (clustering and levels) เมื่อระบบย่อยก่อรูปเป็น “ส่วนประกอบย่อยที่มีความเสถียร (stable subassemblies)” – หน่วยต่าง ๆ ก็จะสามารถรักษารูปโดยปราศจากความสนใจของผู้บริหารสูงสุดของหน่วยต่าง ๆ ดังนั้นรูปแบบการควบคุมแบบลำดับชั้นจึงมีความสำคัญต่อการดำรงอยู่ต่อไปของทั้งระบบ

สำนักคิดระบบเปิด (1) การออกแบบระบบ (System Design) เน้นการปฏิบัติการ (Pragmatic orientation) มองที่เส้นทางการไหลของสารสนเทศ พลังงาน และวัตถุดิบทั่วทั้งองค์การ การวิเคราะห์/พินิจพิจารณาเส้นทางการไหลของสารสนเทศเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก วิธีการเข้าใจองค์การที่ดีคือ การศึกษาการเคลื่อนไหวองค์การอย่างรอบด้าน

สำนักคิดระบบเปิด (2) ทฤษฎีตามสถานการณ์ (Contingency Theory) ไม่มีวิธีการใดวิธีการหนึ่งที่ดีที่สุด (no one best way) ในการบริหาร แต่ละวิธีการบริหารให้ประสิทธิผล (effective) ที่ไม่เท่ากัน วิธีการที่ดีที่สุดขึ้นอยู่กับธรรมชาติของสิ่งแวดล้อมที่องค์การมีความเกี่ยวข้อง

สำนักคิดระบบเปิด (2) ทฤษฎีตามสถานการณ์ (Contingency Theory) ลอเรนซ และลอสช (Lawrence and Lorsch) – องค์การและสิ่งแวดล้อม (Organization and Environment -1967) องค์การแต่ละประเภทเผชิญกับความต้องการที่แตกต่างกันในแต่ละสิ่งแวดล้อม หน่วยย่อย (subunits) ภายในองค์การแต่ละประเภทจะทำหน้าที่แตกต่างกันตามสภาพแวดล้อมภายนอกที่แตกต่างกัน ผลลัพธ์ที่ได้จากองค์การมีความแตกต่างกันตามลักษณะโครงสร้างขององค์การ ระดับความแตกต่าง/ซับซ้อน (differentiation/complexity)ขององค์การขึ้นอยู่กับความแตกต่าง/ความซับซ้อนของสิ่งแวดล้อ การบูรณาการ (Integration): คุณภาพของการประสานการทำงานร่วมกัน (collaboration) ที่มีอยู่ในบรรดาหน่วยงานต่าง ๆ ขององค์การขึ้นอยู่กับความต้องการของสิ่งแวดล้อม

สำนักคิดระบบเปิด (2) ทฤษฎีตามสถานการณ์ (Contingency Theory) เจ กัลเบิร์ท (Jay Galbraith) - 1973; 1977 เน้นประสิทธิผล (effective) ของการประมวลผลสารสนเทศ (information processing) “ความไม่แน่นอน (uncertainty) เป็นภาระที่หนักมาก หนักกว่าจำนวนของสารสนเทศที่ต้องประมวลผลในบรรดาผู้ตัดสินใจระหว่างบริหารงานเพื่อให้สำเร็จตามผลสัมฤทธิ์ องค์การจะเลือกปรับปรุงโครงสร้างองค์การให้เหมาะกับการประมวลผลสารสนเทศสำหรับการดำเนินงานขององค์การ

สำนักคิดระบบเปิด (3) ตัวแบบการจัดการของวีไอค์ (Weick’s Model of Organizing) - Karl Weick เปลี่ยนความสนใจจากโครงสร้าง (structure) ไปสู่กระบวนการ (process) การบริหาร (Organizing): “การกำจัดความไม่แน่นอนที่ถูกกำหนดโดยสิ่งแวดล้อม ด้วยวิธีการผูกมัดพฤติกรรมติดไว้ในเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ” การบริหาร คือ การจัดการการประมวลสารสนเทศทั่วไปและการกำจัดความคลุมเครือ (ambiguity) ออกไปจากระบบการประมวลสารสนเทศ กิจกรรมขององค์การคือ การลดความสอดคล้องกัน (equivocality) ของ 3 สภาวะ คือ การกำหนดกฎระเบียบ (enactment) การคัดเลือก (selection) และการคงไว้ (retention) นี่คือกระบวนเพิ่มความมีเหตุมีผลที่เกิดจากการสะสมอย่างซ้ำซากของงานประจำและรูปแบบการปฏิสัมพันธ์ (interaction) วัตถุประสงค์ของกระบวนการบริหารทั้งหมดคือ ลดความไม่แน่นอน (uncertainty)

มิติของการบูรณาการ (Combining the Perspectives) (1) ตัวแบบโครงสร้างนิยมของเอทซิโอนี (Etzioni’s Structuralist Model) - อมิไต เอทซิโอนี (Amitai Etzioni) ตัวแบบระบบเหตุผลและระบบธรรมชาติเป็นสิ่งคู่กัน (complementary) เอทซิโอนี บูรณาการด้วยการมองและพิจารณาว่า การกระจายอำนาจ (distribution of power) เป็นฐานของความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจ (power relations) ที่ได้รับการยอมรับและกลายมาเป็นความถูกต้องตามกฎหมายที่ต้องปฏิบัติร่วมกันในองค์การ ทุกองค์การเป็นที่รวมของความขัดแย้ง (conflicting) และผลประโยชน์(interests): ระหว่างโครงสร้างที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ พฤติกรรมที่มีเหตุผลและไม่มีเหตุผล การควบคุมและถูกควบคุม

มิติของการบูรณาการ (Combining the Perspectives) (2) ตัวแบบตามสถานการณ์ของลอเรนซและลอสช (Lawrence and Lorsch’s contingency model) - พอล ลอเรนซ และเจ ลอสช (Paul Lawrence and Jay Lorsch) การตัดสินใจออกแบบองค์การขึ้นอยู่กับสภาพของสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมที่มีความคล้ายคลึงกัน (homogeneous) และมีเสถียรภาพ (stable) เหมาะกับองค์การที่มีโครงสร้างที่เป็นทางการ (formalized) และการบังคับบัญชาแบบลำดับชั้น (hierarchical) สิ่งแวดล้อมที่มีหลากหลาย (diverse) และมีการเปลี่ยนแปลง (changing) มาก เหมาะกับองค์การที่มีโครงสร้างที่เป็นทางการน้อยและเป็นแบบอินทรีย์ (organic) มาก

มิติของการบูรณาการ (Combining the Perspectives) (3) ตัวแบบระดับต่าง ๆ ของทอมป์สัน (Thompson’s Levels Model) – เจมส์ ดี ทอมป์สัน (James D. Thompson) มี 3 แนวคิด (perspectives) ที่สามารถทำไปใช้ได้แตกต่างกันในหลาย ๆ ระดับของโครงสร้างองค์การ ระดับวิธีการ (Technical level) – หน้าที่ในการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยนำเข้าไปสู่ผลผลิต เช่น พื้นโรงงาน ห้องปฏิบัติการ ห้องเรียน ระดับการบริหาร (Managerial level) – ความรับผิดชอบด้านการออกแบบและการควบคุมระบบการผลิต เช่น แผนกวิศวกรรม แผนกการตลาด แผนกบุคลากร ระดับสถาบัน (Institutional level) – สิ่งแวดล้อมทั่วไป การกำหนดอาณาเขต การสร้างขอบเขต และการปฏิบัติตามกฎหมาย เช่น คณะกรรมการบริหาร การประชาสัมพันธ์ และแผนกกฎหมาย

มิติของการบูรณาการ (Combining the Perspectives) การจำแนกแบบไขว้ของสก็อตต์ (Scott’s Cross-Classification) หรือ ตัวแบบระดับชั้น (A Layered Model) – ดับบิว ริชาร์ด สก็อตต์(W. Richard Scott) (1) ตัวแบบระบบเหตุผลแบบปิด (Closed Rational System Models) ช่วง ค.ศ. 1900-1930 การจัดการที่เป็นวิทยาศาสตร์ของเทเลอร์ (Taylor’s Scientific Management) ทฤษฎีการบริหารของเฟโย (Fayol’s Administrative Theory) ทฤษฎีระบบราชการของเวเบอร์ (Weber’s Theory of Bureaucracy) (2) ตัวแบบระบบธรรมชาติแบบปิด (Closed Natural System Model) ช่วง ค.ศ. 1930-1950 สำนักคิดมนุษยสัมพันธ์ของเมโย (Mayo’s Human Relations School) ระบบความร่วมมือของเบอร์นาด (Barnard’s Cooperative System) (3) ตัวแบบระบบเหตุผลแบบเปิด (Open Rational System Models) ช่วง ค.ศ. 1960-1970 March and Simon’s Bounded Rationality ทฤษฎีตามสถานการณ์ (Contingency Theory) การวิเคราะห์โครงสร้างเชิงเปรียบเทียบ (Comparative Structural Analysis) แนวคิดต้นทุนทางธุรกรรม (Transaction Cost Approach) (4) ตัวแบบระบบธรรมชาติแบบเปิด (Open Natural System Models) ช่วง ค.ศ. 1970-ปัจจุบัน การจัดการของวีไอ (Weick’s Organizing) ระบบเทคโนโลยีสังคม (Socio-technical Systems) นิเวศวิทยาประชากร (Population Ecology) การพึ่งพาทรัพยากร (Resource dependence) ทฤษฎีสถาบัน (Institutional Theory)

มิติของการบูรณาการ (Combining the Perspectives) การจำแนกแบบไขว้ของสก็อตต์ (Scott’s Cross-Classification) หรือ ตัวแบบระดับชั้น (A Layered Model) – ดับบิว ริชาร์ด สก็อตต์(W. Richard Scott) ตัวแบบต้นทุนทางธุรกรรมของโอลิเวอร์ วิลเลี่ยมสัน (Oliver Williamson’s Transaction cost model ) เป้าหมายของตัวแบบนี้ คือ การอธิบายการคงอยู่ (existence) และการดำเนินงานที่ซับซ้อน (complex) ขององค์การ สิ่งแวดล้อมที่มีการทำธุรกรรมในพื้นที่ จะพัฒนาไปสู่ความไม่แน่นอนมากขึ้น และความไว้ใจแบบตรงไปตรงมาจะทำให้เกิดปัญหาเป็นจำนวนมากตามมา ผลที่เกิดขึ้นตามมาอันหนึ่งก็คือ การเกิดการบริหารงานแบบลำดับชั้น (hierarchies) การดำเนินธุรกรรมภายใต้องค์การที่มีการบริหารงานแบบลำดับชั้น เป็นสิ่งที่สามารถทำการตรวจสอบได้ การบริหารงานแบบลำดับขั้นสามารถควบคุมต้นทุนการดำเนินธุรกรรมให้ลดลงหรือน้อยลง

มิติของการบูรณาการ (Combining the Perspectives) การจำแนกแบบไขว้ของสก็อตต์ (Scott’s Cross-Classification) หรือ ตัวแบบระดับชั้น (A Layered Model) – ดับบิว ริชาร์ด สก็อตต์(W. Richard Scott) ตัวแบบนิเวศวิทยาประชากร (Population Ecology Model) – (Michael T. Hannan, John Freeman and Howard E. Aldrich) หน่วยวิเคราะห์ (Unit of Analysis): ประชากรขององค์การ (populations of organizations) คำถามหลัก: ทำไมองค์การบางรูปแบบและประเภทจึงดำรงอยู่ และเติบโตอย่างแพร่หลาย แต่ขณะที่องค์การบางประเภทตาย ? รูปแบบองค์การถูกคัดเลือกให้มีความเหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมตลอดเวลา องค์การที่กำลังก่อตัวหรือเกิด (Organizational foundings or births) องค์การที่มรณะหรือตายแล้ว (Organizational mortality or death)

มิติของการบูรณาการ (Combining the Perspectives) การจำแนกแบบไขว้ของสก็อตต์ (Scott’s Cross-Classification) หรือ ตัวแบบระดับชั้น (A Layered Model) – ดับบิว ริชาร์ด สก็อตต์(W. Richard Scott) ตัวแบบพึ่งพิงทรัพยากร (Resource Dependence Model) – Jeffrey Pfeffer and Gerald R. Salancik) ไม่มีองค์การใดสามารถผลิต (generate) ทรัพยากรทั้งหลายได้หมดตามที่องค์การต้องการ องค์การต้องอาศัยทรัพยากรจากสิ่งแวดล้อม (วัตถุดิบ เงินทุน บุคลากร การบริการ นวัตกรรมใหม่ ๆ สารสนเทศ กระบวนการผลิต ฯลฯ) องค์การอื่น ๆ เป็นแหล่งทรัพยากร – เช่น สิ่งแวดล้อมขององค์การ องค์การจะพยายามยักย้ายถ่ายเท (manipulate) สิ่งแวดล้อมมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อองค์การของตน ผู้บริหารองค์การจะทำการจัดการสิ่งแวดล้อมของตนเช่นเดียวกับองค์การของตน กิจกรรมขั้นก่อนอาจมีความสำคัญหรือมีความสำคัญมากกว่ากิจกรรมที่เกิดขึ้นทีหลัง (Aldrich and Pfeffer, 1976: p. 83).

มิติของการบูรณาการ (Combining the Perspectives) การจำแนกแบบไขว้ของสก็อตต์ (Scott’s Cross-Classification) หรือ ตัวแบบระดับชั้น (A Layered Model) – ดับบิว ริชาร์ด สก็อตต์(W. Richard Scott) ทฤษฎีสถาบัน (Institutional Theory) ในสังคมสมัยใหม่ ความเป็นสถาบันมีความเชื่อ กฎระเบียบ และรูปแบบที่ซับซ้อนมาก องค์การพยายามที่ประสานงานกับส่วนประกอบต่าง ๆ ของสังคมอย่างแนบแน่นและสมเหตุผล ในรูปแบบของโครงสร้างที่เป็นทางการ เพื่อให้เกิดความถูกต้องมากที่สุด รวมถึงการเพิ่มทรัพยากรและสามารถในการอยู่รอด ผลที่เกิดมากจากองค์การ คือ การเพิ่มความกลมกลืนภายในพื้นที่ของสิ่งแวดล้อมขององค์การ

กรอบแนวคิดด้านสิ่งแวดล้อม (Conceptions of Environments) การวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม (The analysis of environments) (1) ระดับการวิเคราะห์ (Levels of analysis) ระดับจิตวิทยาสังคม (Social psychological level) ระดับโครงสร้าง (Structural level) ระดับนิเวศวิทยา (Ecological level) ส่วนประกอบขององค์การ (Organizational sets) ประชากรขององค์การ (Organizational populations) ชุมชนระหว่างองค์การ (Interorganizational community) ขอบเขตหรือพื้นที่ขององค์การ (Organization fields)

การวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมองค์การ ระดับส่วนประกอบขององค์การ มองสิ่งแวดล้อมจากจุดรวมขององค์การ (a specific (focal) การพึ่งพาอาศัยกันระหว่างจุดรวมขององค์การและสิ่งแวดล้อมขององค์การ การมีส่วนร่วมขององค์การมีความหลากหลายรูปแบบความสัมพันธ์ ขึ้นอยู่กับลักษณะเฉพาะของของผู้ที่เกี่ยวข้อง (ลูกค้า คู่แข่ง ผู้จัดหาสินค้า ผู้จำหน่วย ฯลฯ) อาณาเขต (domain) ขององค์การเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เป็นอาณาเขตด้านภูมิประเทศ (terrain) การกำหนดอาณาเขตขององค์การ องค์การจะตัดสินว่าอะไรคือสิ่งแวดล้อมที่องค์การต้องมีความเกี่ยวข้อง

การวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมองค์การ ระดับประชากรขององค์การ ประชากรขององค์การ เกี่ยวกับกลุ่มขององค์การ (aggregates of organizations) ซึ่งมีความเหมือนกันในบางประการ (alike in some respect) สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา (institutions of higher educations) หนังสือพิมพ์ (newspapers) ปัจจัยพื้นฐานในการกำหนดประชากรคือ การมีรูปแบบ/คุณสมบัติบางอย่างร่วมกันขององค์การ นิยามทั่วไป เช่น องค์การในธุรกิจเดียวกัน เงื่อนทางภูมิศาสตร์ที่องค์การเกี่ยวข้อง

การวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมองค์การ ระดับชุมชนระหว่างองค์การ ความสัมพันธ์ทุกด้านระหว่างองค์การในแต่ละชุมชน หน่วยที่ใช้ศึกษาคือ ชุมชนทั้งชุมชน เครือข่ายความสัมพันธ์ระหว่างองค์การ

การวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมองค์การ ระดับขอบเขตหรือพื้นที่ขององค์การ ขอบเขตขององค์การเกี่ยวข้องกับองค์การในรูปของกลุ่ม (aggregate) องค์ประกอบ (constitute) ที่เห็นได้ในรูปของพื้นที่การดำเนินชีวิตของสถาบัน (institutional life) กลุ่มผู้จัดหาสินค้า ผู้บริโภค หน่วยงานควบคุม คู่แข่ง ที่สำคัญ ๆ สภาวะความเหมือนกันของโครงสร้าง (Structural Isomorphism) องค์การที่อยู่ในกิจกรรม/ธุรกิจเดียวกัน อยู่ภายใต้เงื่อนไขการดำเนินงานเหมือนกัน จะมีลักษณะโครงสร้างที่และรูปแบบความสัมพันธ์ที่เหมือนกัน นักวิจัยมีจุดเน้นในการมองอยู่ที่ ผลกระทบโดยทั่วไปของกระบวนการทางสังคมในองค์การ

การวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมองค์การ ลักษณะที่สำคัญของสิ่งแวดล้อม ด้านวิธีการและสถาบัน (Institutional and Technical Aspects) ลักษณะทางวิธีการ/เทคนิคของสิ่งแวดล้อมประกอบด้วย วัตถุและทรัพยากรจำนวนมากที่มีความสัมพันธ์กันตามลักษณะของสิ่งแวดล้อมขององค์การ ในทางตรงกันข้าม ลักษณะเชิงสถาบันของสิ่งแวดล้อม ห้อมล้อมไปด้วยปัจจัยด้านสัญลักษณ์ (symbolic) และวัฒนธรรม (cultural) จำนวนมากที่มีอิทธิพลต่อองค์การ.

การวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมองค์การ ลักษณะที่สำคัญของสิ่งแวดล้อม ด้านวิธีการและสถาบัน (Institutional and Technical Aspects) 1. สิงแวดล้อมด้านวิธีการ (Technical Environments) สิ่งแวดล้อมถูกมองว่าเป็นที่สะสมทรัพยากรและแหล่งของสารสนเทศ นี่เป็นแนวคิดของสิ่งแวดล้อมที่นิยามไว้กว้าง ๆ คือ สิ่งแวดล้อมทุกประเภทที่ความเป็นไปได้หรือเกี่ยวข้องกับการกำหนดเป้าหมายและทำให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ ตัวอย่างเช่น ธรรมชาติและวัตถุดิบที่เป็นปัจจัยนำเข้า ตลาดที่เป็นแหล่งของผลผลิต และรวมถึงคู่แข่ง การพึ่งพิงและความไม่แน่นอน (Dependency and Uncertainty) องค์การต้องพึ่งพิงกับองค์การอื่น ๆ เพื่อทรัพยากรที่จำเป็นต้องใช้ และองค์การมักจะต้องเผชิญหน้ากับความไม่แน่นอนที่ทำให้กระบวนการดำเนินการและการรวบรวมสารสนเทศลดลง

การวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมองค์การ ลักษณะที่สำคัญของสิ่งแวดล้อม ด้านวิธีการและสถาบัน (Institutional and Technical Aspects) 2. สิ่งแวดล้อมด้านสถาบัน (Institutional Environments) A. การควบคุม (Regulative features) กฎระเบียบและระบบการปกครอง (Rules or governance system) บทบาทของรัฐ-ชาติ (The role of the nation-state) กลไกหลักของการควบคุมและบังคับ (The major mechanism of compliance is coercion) ด้านพฤติกรรมองค์การมองว่า สิ่งที่เกี่ยวข้องกับความถูกต้อง ที่เป็นผลมาจากกฎหมาย และกฎระเบียบ (Organizational behavior is viewed as legitimate to the extent that it conforms to the laws and rules)

การวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมองค์การ ลักษณะที่สำคัญของสิ่งแวดล้อม ด้านวิธีการและสถาบัน (Institutional and Technical Aspects) 2. สิ่งแวดล้อมด้านสถาบัน (Institutional Environments) B. ปทัสถาน (Normative features) กรอบด้านศีลธรรมเป็นตัวกำหนดวิถีชีวิตขององค์การและสังคม บรรทัดฐานเป็นสิ่งที่มีอยู่ภายในทุก ๆ การปฏิบัติงาน พฤติกรรม กำหนดโดยสติว่าอะไรคือ เหมาะสม รวมถึงโดยการบังคับจากสังคม และข้อผูกมัดที่มีต่อสังคม

การวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมองค์การ ลักษณะที่สำคัญของสิ่งแวดล้อม ด้านวิธีการและสถาบัน (Institutional and Technical Aspects) 2. สิ่งแวดล้อมด้านสถาบัน (Institutional Environments) C. ความคิด (Cognitive features) ความเข้าใจร่วมกันและพฤติกรรมร่วมที่เป็นจริงในสังคม (Shared understandings and collectively constructed social reality) แนวคิดและความรู้พื้นฐานทั่วไป (Common frameworks and taken-for-granted elements) ความเป็นสถาบัน (Institutionalization): กระบวนการที่ทำซ้ำ ๆ และให้ความหมายที่เหมือน ๆ กันด้วยตนเองหรือผู้อื่น (the process by which actions are repeated and given similar meaning by self and others)

การวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมองค์การ ลักษณะที่สำคัญของสิ่งแวดล้อม ด้านวิธีการและสถาบัน (Institutional and Technical Aspects) ทฤษฎีสถาบัน (Institutional theory) ในสังคมสมัยใหม่ ความเป็นสถาบันมีความเชื่อ กฎระเบียบ และรูปแบบที่ซับซ้อนมาก ในความเป็นจริง สังคมจะเป็นตัวกำหนดและสร้างองค์การที่เป็นทางการ องค์การพยายามที่ประสานงานกับส่วนประกอบต่าง ๆ ของสังคมอย่างแนบแน่นและสมเหตุผล ในรูปแบบของโครงสร้างที่เป็นทางการ เพื่อให้เกิดความถูกต้องมากที่สุด รวมถึงการเพิ่มทรัพยากรและสามารถในการอยู่รอด ผลที่เกิดมากจากองค์การ คือ การเพิ่มความกลมกลืนภายในพื้นที่ของสิ่งแวดล้อมขององค์การ

การวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมองค์การ ลักษณะที่สำคัญของสิ่งแวดล้อม ด้านวิธีการและสถาบัน (Institutional and Technical Aspects) 3. พื้นฐานด้านสถาบันของสิ่งแวดล้อมทางวิธีการ (Institutional foundations of technical environments) ลักษณะและรูปร่างของเทคนิค/วิธีการ (technical) ทางสถาบันเป็นองค์ประกอบขององค์การ เทคโนโลยีทั้งหลายถูกสร้างขึ้นมาให้มีความเกี่ยวข้อง/สัมพันธ์กับสังคม ตลาด เป็นสิ่งที่สังคมสร้างขึ้นมา (socially constructed) และถูกฝังติดอยู่กฎระเบียบและการปฏิบัติของสถาบันอย่างซับซ้อน

การพึ่งพาต่อกันระหว่างองค์การและสิ่งแวดล้อม (The interdependence of organizations and environments) (1) การแสดงตามบทบาท (Enactment) ความสนใจ (Attention) และผลลัพธ์ (Outcomes) การแสดงตามบทบาท (Enactment) องค์การจะไม่เฝ้ามอง (observe) และตีความ (interpret) สิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่จะทำการเปลี่ยนแปลง/ปรับเปลี่ยน (modify) สิ่งแวดล้อมด้วย ความสนใจ (Attention) ผู้ตัดสินใจมีเวลาและความสามารถในการสนใจที่จำกัด คือ ไม่สามารถสนใจทุกสิ่งได้เท่า ๆ กันในเวลาเดียวกัน ผลก็คือ การพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้าง การรวบรวมสารสนเทศและการประมวลผลประจำวันจึงได้รับความสนใจเพียงบางส่วนเท่านั้น ผลลัพธ์ (Outcomes) สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อผลลัพธ์ขององค์การหรืออาจไม่มีความเกี่ยวข้องกันเลยก็ได้ ผลลัพธ์: สินค้าและบริการขององค์การ ผลลัพธ์: เป็นผลผลิตร่วมระหว่างผลสัมฤทธิ์ขององค์การและการตอบสนองของสิ่งแวดล้อม

สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อองค์การ แต่องค์การก็มีอิทธิพลต่อสิ่งแวดล้อม การพึ่งพาต่อกันระหว่างองค์การและสิ่งแวดล้อม (The interdependence of organizations and environments) (2) อิทธิพล (Influence) รูปแบบสิ่งแวดล้อม โครงสร้างองค์การ ผลสัมฤทธิ์ (performances) และผลลัพธ์ (outcomes) องค์การพยายามที่จะมีอิทธิพลโดยตรงต่อสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อองค์การ แต่องค์การก็มีอิทธิพลต่อสิ่งแวดล้อม

การพึ่งพาต่อกันระหว่างองค์การและสิ่งแวดล้อม (The interdependence of organizations and environments) (3) การดูดกลืน (Absorption) และแทรกซึมเข้าไป (Interpenetration) องค์การมีส่วนประกอบของสิ่งแวดล้อมไว้ในโครงสร้างขององค์การเสมอ ทรัพยากร เครื่องมือ บุคลากร และวิธีการดำเนินงาน ความเชื่อ วิธีการ และตัวแบบการจัดการ สิ่งแวดล้อมสอดแทรก (interpenetrate) และแพร่กระจายเข้าไปในองค์การด้วยค่านิยมและส่วนประกอบของสถาบัน และทำการเชื่อมโยงกับระบบสังคมทีใหญ่กว่า

วิวัฒนาการของสิ่งแวดล้อม (The evolution of environments) สิ่งแวดล้อมขององค์การมีความซับซ้อน (complex) และไม่แน่นอน (uncertain) ตลอดเวลา ความแตกต่าง (differentiation) และความเชื่อมโยงกัน (interconnectedness) ขององค์การที่เพิ่มมากขึ้น มีสาเหตุมาจากความไม่แน่นอนและการพึ่งพาซึ่งกันและกัน (interdependency) ของสิ่งแวดล้อมขององค์การที่เพิ่มมากขึ้น การปฏิบัติงานประจำวัน (routinization) ความเป็นมาตรฐาน (standardization) ได้สร้างพื้นที่ใหม่ของความเชื่อที่ผิด ๆ เกี่ยวกับความเป็นเหตุผล (rationalized myths) อย่างชัดเจน