จรรยาบรรณ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กับการท่องเที่ยวเชิงบำบัดรักษาสุขภาพ

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
สร้างสรรค์คุณภาพชีวิตและความสุข
Advertisements

News & Event. โครงการสัมมนา “ นักขายสายพันธุ์ใหม่ ” ณ Maritime Park & Spa Resort จังหวัดกระบี่ เมื่อวันที่ 9-11 พฤษภาคม 2551.
ระบบวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ Business Intelligence (BI)
โดย... จิรวัฒน์ พรหมพร แผนกสนับสนุนฝ่ายทรัพยากร อิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา บริษัท บุ๊ค โปรโมชั่น แอนด์ เซอร์วิส จำกัด โดย... จิรวัฒน์
แผนธุรกิจ (Business Plan)
ถอดบทเรียน ยุทธศาสตร์การค้าอาเซียน
บริษัทอินโนเวทีฟ บิสซิเนส จำกัด หรือ “INNOBIZ” ก่อตั้งเมื่อ วันที่ 24 มิถุนายน 2552 โดยทีมผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศและการวิเคราะห์ข้อมูล.
เกี่ยวกับ บริษัท อินโนเวทีฟ บิสซิเนส จำกัด
การขับเคลื่อน ด้านการตลาดเกษตรอินทรีย์ไทย
บทที่ 3 : การป้องกันการเจาะระบบ Part1 สธ412 ความมั่นคงของระบบสารสนเทศ
การพัฒนาการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษากับการขับเคลื่อนประเทศไทย ๔.๐
บทที่ 4 กลยุทธ์ระบบสารสนเทศ
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบและการวิเคราะห์ระบบ
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อชีวิต
การเพิ่มผลผลิต.
DoGGy Family Care – hOng hOng Dog Care Delivery
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัลยา ธเนศพงศ์ธรรม ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ
ความเป็นมาและความสำคัญ ของการเพิ่มผลผลิต
DoGGy Family Care – hOng hOng Dog Care Delivery
นโยบายการพัฒนาสถานประกอบการเพื่อสุขภาพมุ่งสู่คุณภาพ
จริยธรรมทางธุรกิจ (Business Ethics)
โครงการอบรม e-commerce สำหรับประชาชน
สถานการณ์ และแนวโน้มของการท่องเที่ยวเชิงบำบัดรักษาสุขภาพ
การประชุมการบริหารยุทธศาสตร์กรมอนามัย ครั้งที่ 4/2559
แนวทางการออกแบบนามบัตร
การจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
ทบทวนมาตรฐานHA ตอนที่ III กระบวนการการดูแลผู้ป่วย
เส้นทางสู่ วิชาชีพนักกฎหมาย
การสร้างการเรียนรู้การใช้ SPA in Action เพื่อจุดประกายการพัฒนาคุณภาพ
BUSINESS TAXATION รศ.ดร.กฤษฎา สังขมณี
ผลการดำเนินงานกรมอนามัย รอบ 6 เดือน (ตุลาคม 2558 – มีนาคม 2559)
การพัฒนาระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ National e-Payment
กระทรวงยุติธรรม   รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ  แนวทางการปฏิรูปประเทศ
กระทรวงยุติธรรม  แนวทางการปฏิรูปประเทศ  การปรองดองสมานฉันท์
จรรยาบรรณ จรรยาบรรณ คือ จริยธรรมวิชาชีพ วิชาชีพ มีองค์ประกอบ 4 ประการ
การประชุมจัดทำ Roadmap กระทรวงยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
ยินดีต้อนรับสู่ PowerPoint โฉมใหม่
ความหมายของปรัชญา.
แผนบริหารความเสี่ยง (องค์กร) ปี 2562 มทร.พระนคร
Yeunyong Kantanet School of Information and Communication Technology
อีคอมเมิร์ซกับจริยธรรม กฎหมาย และสภาพแวดล้อมทางสังคม
สิทธิทางปัญญาและจริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
การท่องเที่ยวเชิงบำบัดรักษา/ การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์
สร้างคุณค่าจากพลัง ชาว HACC นครชัยบุรินทร์
คุณลักษณะของผู้บริหารมืออาชีพ
อนาคตประเทศไทยหลังปี 2560 ผลกระทบจาก AEC ดีกับไทยหรือไม่
ธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษา
การจัดทำแผนอัตรากำลัง 3 ปี
การออกแบบธุรกิจออนไลน์
คำนิยาม จริยธรรม: สิ่งที่ควรประพฤติ (ตามข้อกำหนด เพราะทำให้ สังคมเป็นสุข) ศิลธรรม: จริยธรรมที่กำหนดโดยหลักศาสนา คุณธรรม: ธรรมที่ปฏิบัติแล้วเป็นคุณทั้งต่อผู้อื่นและตนเอง.
สัมมนาเชิงปฏิบัติการเกษตรสมัยใหม่ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร
การขับเคลื่อนการพัฒนาองค์กร นายแพทย์ธงชัย เลิศวิไลรัตนพงศ์
กฎหมายธุรกิจ : สัญญาตั๋วเงิน
Promoter - Supporter -Coordinator-Regulator
RDU Hospital ผลการดำเนินงาน ไตรมาส 1/2560 (ระดับการพัฒนา RDU ขั้นที่1) ปีงบประมาณ 60  ขั้นที่ 1 (เงื่อนไข 9 ข้อ) RDU- hospital 1. มีคณะกรรมการดำเนินงาน.
Career Path บุคลากรสายงานกิจการนิสิต
การวางแผนพัฒนาจังหวัด และกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ
คณะที่ 2 : การพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (ยุทธศาสตร์ด้านบริการเป็นเลิศ)
จาก Recommendation สู่การพัฒนาคุณภาพ
กองคลัง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี
แบบฟอร์มที่ 2 1. ชื่อวิชา THM๒๒๐๗ กฎหมายและจรรยาบรรณวิชาชีพสำหรับอุตสาหกรรม ท่องเที่ยวและบริการ 2. หัวข้อที่ประจำสัปดาห์นี้ จริยธรรมและจรรยาบรรณในงานด้านอุตสาหกรรมบริการ(ต่อ)
แนวทางปฏิบัติด้านการเงินของ ศบท. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562
วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ นนทบุรี
ชื่อโครงการ ผู้เสนอโครงการ: บริษัท XX จำกัด โดย: คุณ.
การพัฒนาสหกรณ์ภาคการเกษตรเป็นองค์กรหลัก ระดับอำเภอ ปี
บทที่ 1 กรอบแนวคิดสำหรับการรายงานทางการเงิน
บทที่ ๑ บทนำ วิธีการและมาตรการด้านวิศวกรรมในการควบคุมอุบัติเหตุ
สังคม วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย
บทที่ 2 ขอบเขตของการจัดการเชิงกลยุทธ์
ใบสำเนางานนำเสนอ:

จรรยาบรรณ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กับการท่องเที่ยวเชิงบำบัดรักษาสุขภาพ

1. จรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงบำบัดรักษาสุขภาพ 1. จรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงบำบัดรักษาสุขภาพ

จรรยาบรรณ ประมวลความประพฤติผู้ประกอบอาชีพการงาน แต่ละอย่าง โดยกำหนดขึ้นเพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียงและฐานะของสมาชิก

จรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว เชิงบำบัดรักษาสุขภาพ จรรยาบรรณสำหรับผู้ให้บริการ จรรยาบรรณผู้ประกอบวิชาชีพสปา ข้อบังคับแพทยสภา ว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2549 จรรยาบรรณวิชาชีพพยาบาล

1. จรรยาบรรณสำหรับผู้ให้บริการ จำชื่อลูกค้าที่มาใช้บริการให้ได้ พบและจากต้องน่าประทับใจ จัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกแก่ลูกค้า รับข้อร้องเรียน แก้ไข และติดตามผล ไม่รับปากหากไม่มั่นใจว่าจะทำได้หรือไม่ แต่งกายสุภาพ เรียบร้อย บันทึกข้อมูลความต้องการของลูกค้า มีความรอบรู้ แนะนำลูกค้าได้ การรักษาความลับของลูกค้า

2.จรรยาบรรณผู้ประกอบวิชาชีพสปา ( Spa Business Ethics) หมวดที่ 1 คุณธรรมและจริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพสปา กล่าวถึงเรื่องคุณธรรม และจริยธรรมที่ผู้ประกอบวิชาชีพสปาพึงปฏิบัติ เช่น การมีความซื่อสัตย์ การไม่เอาเปรียบลูกค้า การสร้างบริการที่เป็นเลิศ มีจิตใจดี การมีความอ่อนน้อมถ่อมตนในการให้บริการ และการไม่เรียกร้องค่าบริการเพิ่มเติมจากลูกค้า เป็นต้น

2.จรรยาบรรณผู้ประกอบวิชาชีพสปา ( Spa Business Ethics) หมวดที่ 2 ทัศนคติต่ออาชีพและภาพลักษณ์ที่ดีของพนักงานสปา กล่าวถึงเรื่องความรู้สึกนึกคิดต่ออาชีพซึ่งจะต้องมีความรู้สึกที่ดีต่ออาชีพของตน เพื่อแสดงออกมาซึ่งภาพลักษณ์ที่ดีของพนักงานสปา เช่น ความเข้าใจและรักในงานบริการ การตระหนักถึงความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านและพัฒนาตนเองด้วยการฝึกอบรมอย่างสม่ำเสมอ การให้ความช่วยเหลือผู้อื่น การเสริมสร้างบุคลิกที่ดี เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือในการให้บริการ เป็นต้น

2.จรรยาบรรณผู้ประกอบวิชาชีพสปา ( Spa Business Ethics) หมวดที่ 3 กริยามารยาท กล่าวถึงการแสดงออกที่ดีในการให้บริการ ได้แก่ การใช้วาจาที่สุภาพ การให้ความเคารพต่อสถานที่ประกอบการ การมีหน้าตายิ้มแย้มอยู่เสมอ การไม่นินทาลูกค้า การใช้มารยาทไทยที่เป็นการยอมรับในสังคมเป็นแนวปฏิบัติในการให้บริการ เป็นต้น

2.จรรยาบรรณผู้ประกอบวิชาชีพสปา ( Spa Business Ethics) หมวดที่ 4 การปฏิบัติตนในสถานประกอบการ กล่าวถึงการประพฤติปฏิบัติตนตามกฎ ระเบียบของสถานประกอบการ เช่น การปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถานปฏิบัติการอย่างเคร่งครัด การดูแลและบำรุงรักษาสถานประกอบการให้สะอาดและได้มาตรฐานอยู่เสมอ การใส่ใจในรายละเอียดและรู้จักช่วยเหลือเพื่อนร่วมงาน เป็นต้น

2.จรรยาบรรณผู้ประกอบวิชาชีพสปา ( Spa Business Ethics) หมวดที่ 5 มาตรฐานการแต่งกายของพนักงานสปา กล่าวถึงลักษณะการแต่งกายที่ถูกต้องตามกาลเทศะเพื่อแสดงออกถึงบุคลิกภาพที่ดีในการให้บริการ เช่น การรักษาความสะอาดของตนอยู่เสมอ การแต่งหน้าแต่พองามไม่ฉูดฉาด การมัดผมให้รวบตึงไม่รกรุงรัง การไม่ไว้เล็บยาว การไม่ใส่เครื่องประดับ การรักษาร่างกายของตนให้แข็งแรงอยู่เสมอ เป็นต้น

3. ข้อบังคับแพทยสภา ว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม พ. ศ 3. ข้อบังคับแพทยสภา ว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2549 หมวดที่ 4 การประกอบวิชาชีพเวชกรรม กล่าวถึงพฤติกรรม และการปฏิบัติตนอันพึงมีสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม เช่น การรักษามาตรฐานของการประกอบวิชาชีพเวชกรรม การปฏิบัติต่อผู้ป่วยโดยสุภาพ การประกอบวิชาชีพโดยคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วย การไม่เปิดเผยความลับของผู้ป่วย การไม่หลอกลวงผู้ป่วย เป็นต้น

4. จรรยาบรรณวิชาชีพพยาบาล ประกอบวิชาชีพด้วยความมีสติ ปฏิบัติต่อประชาชนด้วยความเสมอภาค ละเว้นการปฏิบัติที่มีอคติ พึงเก็บรักษาเรื่องส่วนตัวของผู้รับบริการไว้เป็นความลับ พึงปฏิบัติหน้าที่โดยใช้ความรู้ความสามารถอย่างเต็มที่ พึงป้องกันอันตรายอันจะมีผลต่อสุขอนามัยของประชาชน

2. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงบำบัดรักษาสุขภาพ 2. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงบำบัดรักษาสุขภาพ

กฎหมาย ข้อบังคับของรัฐที่เป็นข้อบังคับขั้นต่ำของสังคม เป็นสิ่งที่ต้องมีเจ้าหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามสภาพบังคับ และมีบทลงโทษหากมีการละเมิดหรือทำผิดข้อบังคับดังกล่าว

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว เชิงบำบัดรักษาสุขภาพ กฎหมายว่าด้วยสถานบริการ กฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข กฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

1. กฎหมายว่าด้วยสถานบริการ 1. กฎหมายว่าด้วยสถานบริการ ความเป็นมา แต่เดิมสังคมไทยจะมีกิจกรรมอาบ อบ นวด ซึ่งมีความหมิ่นเหม่ที่จะส่งผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของสังคม รัฐจึงจำเป็นต้องมีการควบคุมดูแล โดยอาศัยกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ การบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวได้กระทำผ่าน “พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. 2509”

พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. 2509 กำหนดให้สถานอาบน้ำ นวด หรืออบตัวซึ่งมีผู้บริการให้แก่ลูกค้า เป็นสถานบริการตามกฎหมายต้องขออนุญาตก่อนประกอบกิจการ ยกเว้น สถานที่ที่เข้าข่ายสถานพยาบาล สถานที่เพื่อสุขภาพหรือเพื่อเสริมสวยที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศ

พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. 2509 ดังนั้น กิจการสปาเพื่อสุขภาพ กิจการนวดเพื่อสุขภาพ และกิจการนวดเพื่อเสริมสวย จึงได้รับการยกเว้นจากกฎหมายสถานบริการ แต่ กิจการเหล่านี้ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน โดยได้รับใบรับรองมาตรฐานจากกระทรวงสาธารณสุข

พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. 2509 มาตรฐานของสถานที่ การบริการ และผู้ให้บริการตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข แบ่งเป็น 5 ด้าน ด้านที่ 1 มาตรฐานสถานที่ ด้านที่ 2 มาตรฐานผู้ดำเนินการ ด้านที่ 3 มาตรฐานผู้ให้บริการ ด้านที่ 4 มาตรฐานการบริการ ด้านที่ 5 มาตรฐานความปลอดภัย

2. กฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข 2. กฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข ความเป็นมา เนื่องด้วยกิจการอาบ อบ นวด มีความจำเป็นต้องมีการดูแลด้านสุขาภิบาล กระทรวงสาธารณสุขจึงจำเป็นต้องใช้ “กฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข” เพื่อควบคุมดูแลด้านสุขลักษณะ นอกจากนี้ กิจการสถานที่อาบน้ำ อบไอน้ำ อบสมุนไพร ก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุขด้วยเช่นกัน

กฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข ประกาศเรื่องกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (ฉบับ 4) กฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข ประกาศกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2551

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2546 กำหนดให้กิจการสปาเพื่อสุขภาพเป็นกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เว้นแต่ เป็นการให้บริการในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล “กิจการสปาเพื่อสุขภาพ” หมายความว่า การประกอบกิจการที่ให้การดูแลและสร้างสุขภาพ โดยบริการหลักที่จัดไว้ ประกอบด้วย การนวดเพื่อสุขภาพ การใช้น้ำเพื่อสุขภาพ โดยอาจมีบริการเสริมประกอบด้วย เช่น การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ การอบเพื่อสุขภาพ โภชนาการบำบัดและการควบคุมอาหาร โยคะและการทำสมาธิ การใช้สมุนไพรหรือผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ตลอดจนการแพทย์ทางเลือกอื่น ๆ หรือไม่ก็ได้ บริการที่จัดไว้จะต้องไม่ขัดต่อกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะและกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพทางการแพทย์ และต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนด

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2551 เรื่อง การกำหนดสถานที่เพื่อสุขภาพหรือเพื่อเสริมสวย มาตรฐานของสถานที่ การบริการ ผู้ให้บริการ หลักเกณฑ์ และวิธีการตรวจสอบเพื่อการรับรองให้เป็นไปตามมาตรฐานสำหรับสถานที่เพื่อสุขภาพหรือเพื่อเสริมสวย ตามพระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. 2509

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2551 หมวดที่ 1 สถานที่เพื่อสุขภาพหรือเพื่อเสริมสวย หมวดที่ 2 มาตรฐานของสถานที่ การบริการ และผู้ให้บริการ หมวดที่ 3 หลักเกณฑ์ และวิธีการตรวจสอบเพื่อการรับรองให้เป็นไปตามมาตรฐาน หมวดที่ 4 อุทธรณ์ ในกรณีที่ไม่ได้ใบรับรองมาตรฐานหรือไม่ต่ออายุใบรับรองมาตรฐานหรือถูกเพิกถอนการรับรองมาตรฐานสถานประกอบการ

สถานประกอบการที่ถูกบังคับใช้กฎหมาย ว่าด้วยสถานบริการ และกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข กิจการสปาเพื่อสุขภาพ กิจการนวดเพื่อสุขภาพ และกิจการนวดเพื่อเสริมสวย ถูกควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข และกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ ทั้งนี้ จะได้รับการยกเว้นจากกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ เมื่อปรับปรุงได้มาตรฐานตามประกาศฯและได้รับการรับรองจากกระทรวงสาธารณสุข แต่ยังคงต้องขอรับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 ด้วย ในฐานะกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามที่ราชการส่วนท้องถิ่นออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น

สถานประกอบการที่ถูกบังคับใช้กฎหมาย ว่าด้วยสถานบริการ และกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข 2. กิจการสถานที่อาบน้ำ อบไอน้ำ อบสมุนไพร / กิจการเสริมสวยหรือแต่งผม / กิจการควบคุมน้ำหนักโดยวิธีการทางโภชนาการ การบริหารร่างกาย ถูกควบคุมโดยกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ และกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุขในด้านอนามัยและสุขลักษณะ ในฐานะที่เป็นกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

3. กฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล 3. กฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล ความเป็นมา กิจการสถานพยาบาล คือ กิจการสปาเพื่อสุขภาพที่เน้นเรื่องการรักษาโรค ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมหรือประกอบโรคศิลปะ

3. กฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล 3. กฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล กิจการสถานพยาบาลดังกล่าวต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพเวชกรรมหรือประกอบโรคศิลปะ และต้องอยู่ภายใต้การควบคุมในฐานะสถานพยาบาล ตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลด้วย การใช้เครื่องมืออุปกรณ์ใด ๆ เพื่อการรักษาพยาบาล ต้องเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องมือแพทย์

4. กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง 4. กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม กฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต และประกาศกรมสรรพสามิต กฎหมายของกระทรวงพาณิชย์ ระเบียบข้อบังคับของกรมสรรพากร ข้อบัญญัติของท้องถิ่น