บทบาทหน้าที่ของหน่วยงานความปลอดภัยตามกฏหมาย

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
แบบจำลองการสื่อสาร Communication Model.
Advertisements

ภาษาเพื่อการสื่อสารมวลชน
RODENTICIDE Veerakit Techakitiroj M.Sc. in Pharm. (Pharmacology)
หลักสูตร การเสริมสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพ การประปาส่วนภูมิภาค วิทยากร : วุฒทัย การสมใจ และคณะ.
ปฐมนิเทศนักศึกษาฝึกงานภายนอก 18 สิงหาคม 2558
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
การฝึกอบรมคืออะไร.
มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง กับการบรรจุแต่งตั้ง.
ระบบมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม
บทบาทของผู้บริหารรัฐวิสาหกิจที่มีต่อ
คำขวัญกลุ่ม สร้างสรรค์ ส่งเสริม ใส่ใจ เรียนรู้ผ่านกิจกรรม กลุ่ม RE-ACC
การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์
การประชาสัมพันธ์เบื้องต้นสำหรับงานสิ่งแวดล้อม Introduction to Public Relation for Environment อาจารย์น้ำทิพย์ คำแร่
ภารกิจ ศธภ./ศธจ..
วิชาหลักนิเทศศาสตร์ Communication Arts
Principles of Communication Arts
โครงการฝึกอบรม เรื่องการบริหารความเสี่ยงแก่หน่วยงานและ ผู้ประสานงานหรือผู้รับผิดชอบงาน ด้านการบริหารความเสี่ยง (Risk Coordinators) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.
พื้นฐานการอินเตอร์เฟส
บทที่ 7 หลักการบริหารงานคุณภาพ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์และ ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข
Risk Management System
หลักการให้คำปรึกษา (สำหรับผู้ตรวจสอบภายใน)
ความตระหนักการจัดการคุณภาพ
การทำงานเชิงวิเคราะห์
สำหรับธุรกิจบริหารจัดการเรือ
โดยสรุป 10 ขั้นตอนในการ implement
ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
บทที่ 2 ภาพรวมกระบวนการ (A Generic View of Process)
บทที่ 11 กิจกรรมพัฒนาตนเองและทีมงานคุณภาพเพื่อประสิทธิภาพในการทำงาน
เทคนิคการทำงานให้มีประสิทธิภาพ
คู่มือการปฏิบัติงาน (Work Manual)
ประสบการณ์การทำงาน ชื่อ – ชื่อสกุล นายมานะ ครุธาโรจน์
วัตถุประสงค์ในการเรียนรู้
เทศบาลนครขอนแก่น ยินดีต้อนรับ
การบริหารกำลังคนภาครัฐ
เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการศึกษา โดย อาจารย์สุวิสาข์ เหล่าเกิด
กฎกระทรวง ว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ. ศ
P S BB ART ระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้น ผลงานตามยุทธศาสตร์ กับ PART ผลผลิต
การจัดกิจกรรมฝึกอบรมประชาชน
โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนในชนบท จังหวัดสตูล
ระบบการประกันคุณภาพอาชีวศึกษา
แบบฟอร์มการบริหารโดยการควบคุมคุณภาพ (QCC) ดีเด่น ปี 2561
4.1 งานนโยบายรัฐบาล ปีงบประมาณ 2560 เดือน สิงหาคม 2560
Training & Development
Techniques Administration
หน่วยที่1 หลักการวางแผนเป้าหมายชีวิต
บรรยายโดย คุณครูกิริยา ทิพมาตย์ สพม. เขต 23
หมวดที่ 4 กายใจเป็นสุข นางอรวรรณ ดวงจันทร์ สำนักส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต 28 ธันวาคม 2559 ณ.โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น.
การบริหารโครงการ ด้วยระบบปฏิทินกิจกรรมแบบเบ็ดเสร็จ Project management with integrated calendar system โดย ... ธนาภรณ์ ฉิมแพ / ประจักษ์ สุขอร่าม / จารุวรรณ.
การจัดการความปลอดภัยระบบสารสนเทศ (Information Security Management System : ISMS) ด้วย เกณฑ์มาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัย ISO/IEC และ ISO/IEC
Risk Management in New HA Standards
กฎกระทรวง การประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 25๖๑
Educational Standards and Quality Assurance
จิตสำนึกคุณภาพ.
ตอนที่ 3.2 กลยุทธ์การบริหารเจ้าหน้าที่
Activity-Based-Cost Management Systems.
นโยบายเร่งด่วน ของ ผบ.ตร.
นพ.ชลทิศ อุไรฤกษ์กุล 16 ธ.ค.58
อาจารย์อภิพงศ์ ปิงยศ บทที่ 2 : มาตรฐานการรักษาความปลอดภัยข้อมูล สธ412 ความมั่นคงของระบบสารสนเทศ อาจารย์อภิพงศ์ ปิงยศ
แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ ( SRM )
By ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พีระ พันลูกท้าว
รหัสวิชา ศิลปกรรมกับการสื่อสาร Fine and Applied Arts and Communication
แนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice)
ความผิดวินัยทางงบประมาณและการคลังมีอัตราโทษปรับทางการปกครอง 4 ชั้นคือ
จุดที่ควรปรับปรุง SR 1 และ SR 2.
บทที่ 5 การวางแผนผังกระบวนการผลิต
องค์ประกอบของกระบวนการสื่อสาร
การสื่อสารทางการพยาบาลและการสร้างสัมพันธภาพกับผู้ใช้บริการ
การประเมินความเสี่ยง Risk Assessment
ดูง่าย จ่ายครบ จบในใบเดียว
ใบสำเนางานนำเสนอ:

บทบาทหน้าที่ของหน่วยงานความปลอดภัยตามกฏหมาย

บทบาทหน้าที่ของหน่วยงานความปลอดภัยตามกฏหมาย หน่วยงานความปลอดภัย หมายความว่า หน่วยงานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน ซึ่งนายจ้างให้ดูแล และปฏิบัติงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ

บทบาทหน้าที่ของหน่วยงานความปลอดภัยตามกฏหมาย หน้าที่ของหน่วยงานความปลอดภัย มีดังต่อไปนี้ 1. วางแผนการดำเนินงานสำหรับการขจัดความเสี่ยงของสถานประกอบกิจการและดูแลให้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง จัดทำแผนงานความปลอดภัยให้มีกิจกรรมการชี้บ่งอันตราย และประเมินความเสี่ยงในทุกงานอย่างต่อเนื่อง ก็จะทำให้ทราบถึงอันตรายที่มีระดับความเสี่ยงยอมรับไม่ได้ จึงกำหนดมาตรการเพื่อลดระดับความเสี่ยงให้ลดลงจนมีระดับความเสี่ยงยอมรับได้ ทุกอันตรายควรนำเข้าคณะกรรมการความปลอดภัยฯ

บทบาทหน้าที่ของหน่วยงานความปลอดภัยตามกฏหมาย 2. จัดทำข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการป้องกันอันตรายจากอุบัติเหตุ อุบัติภัย และควบคุมความเสี่ยงภายในสถานประกอบกิจการ แต่ละพื้นที่งานทำการชี้บ่งอันตราย และประเมินความเสี่ยงเป็นประจำ ซึ่งแต่ละอันตรายจะถูกระบุข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการป้องกันมาด้วย หรือไม่ได้กำหนดมาด้วยก็ตาม หน่วยงานความปลอดภัยควรพิจารณามาตรการต่างๆ เพื่อป้องกันแต่ละอันตรายนั้น แล้วนำเข้าคณะกรรมการความปลอดภัยฯ พิจารณา

บทบาทหน้าที่ของหน่วยงานความปลอดภัยตามกฏหมาย 3. จัดทำคู่มือและมาตรฐานว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงานไว้ในสถานประกอบกิจการ เพื่อให้ลูกจ้างหรือผู้ที่เกี่ยวข้องได้ใช้ประโยชน์ นำข้อมูลด้านความปลอดภัยของสถานประกอบกิจการ เอกสารที่เกี่ยวข้อง มาจัดทำคู่มือว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงานซึ่งโดยทั่วไป มี 9 รายการซึ่งอาจตั้งคณะทำงานโดยหน่วยงานความปลอดภัยเป็นเลขานุการคณะทำงาน ส่วนมาตรฐานว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงาน นั้นควรทำเป็นข้อบังคับว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงานตามกฏหมายโดยนำมาตรการจากตารางชี้บ่งอันตราย มาเขียนให้เป็นวิธีปฏิบัติงานอย่างปลอดภัย

บทบาทหน้าที่ของหน่วยงานความปลอดภัยตามกฏหมาย 4. กำหนดชนิดของอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่เหมาะสมกับลักษณะความเสี่ยงของงานเสนอต่อนายจ้าง เพื่อจัดให้ลูกจ้างหรือผู้ที่เกี่ยวข้องสวมใส่ขณะปฏิบัติงาน นำกฎหมายความปลอดภัยในการทำงานฉบับต่างๆในส่วนที่ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างสวมอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล มาพิจารณาก็จะทราบว่าลักษณะความเสี่ยงใดต้องใช้อุปกรณ์คุ้มครองชนิดใด นอกจากนั้นอาจได้จากเอกสารวิชาการต่างๆ

บทบาทหน้าที่ของหน่วยงานความปลอดภัยตามกฏหมาย 5. ส่งเสริม สนับสนุน ด้านวิชาการและการปฏิบัติงานของหน่วยงานต่างๆ ในสถานประกอบกิจการ เพื่อให้ลูกจ้างปลอดจากเหตุอันจะทำให้เกิดการประสบอันตรายหรือการเจ็บป่วยอันเนื่องจากการทำงาน รวมทั้งด้านการควบคุมป้องกันอัคคีภัยและอุบัติภัยร้ายแรงด้วย ให้เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ จัดรวบรวมเอกสารวิชาการ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับลักษณะงานต่างๆ ของสถานประกอบกิจการ พร้อมทั้งระบบสารสนเทศด้านความปลอดภัย เพื่อสามารถค้นหาข้อมูลทางวิชาการสนับสนุนหน่วยงานต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ

บทบาทหน้าที่ของหน่วยงานความปลอดภัยตามกฏหมาย 6. จัดอบรมเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานและข้อปฏิบัติเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานแก่ลูกจ้างที่เข้าทำงานใหม่ก่อนให้ปฏิบัติงาน รวมทั้งลูกจ้างซึ่งต้องทำงานที่มีความแตกต่างไปจากงานเดิมที่เคยปฏิบัติอยู่และอาจเกิดอันตรายด้วย จัดทำรายการความจำเป็นในการฝึกอบรม(Training needs) ให้แก่พนักงานใหม่ และพนักงานที่เปลี่ยนงาน โดยกำหนดคุณสมบัติตามลักษณะงาน แล้วจัดทำแผนงานฝึกอบรมตามรายการความจำเป็นนั้น และประสานส่วนงานฝึกอบรมจัดให้มีการอบรมพร้อมประเมินผลการอบรม

บทบาทหน้าที่ของหน่วยงานความปลอดภัยตามกฏหมาย 7. ประสานงานดำเนินงานความปลอดภัยในการทำงานกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกสถานประกอบกิจการ รวมทั้งหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง หัวหน้าหน่วยงานความปลอดภัยต้องรายงาน หรือขออนุมัติจากผู้บริหารสูงสุดของสถานประกอบกิจการโดยตรง ไม่ต้องผ่านหน่วยงานใด และต้องทำหน้าที่ประสานเพื่อให้ได้ข้อมูลที่จำเป็นของแต่ละหน่วยงาน นอกจากนั้นต้องประสาน และสนับสนุนให้หน่วยงานต่างๆสามารถปฏิบัติตามแผนงานโครงการ หรือกิจกรรมความปลอดภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

บทบาทหน้าที่ของหน่วยงานความปลอดภัยตามกฏหมาย 8. ตรวจประเมินระบบความปลอดภัยในการทำงานในภาพรวมของสถานประกอบกิจการ ทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจประเมินภายใน(Internal Audit) เพื่อตรวจประเมินความสอดคล้องกับข้อกำหนดของระบบที่นำมาใช้ ตามคู่มือการตรวจประเมิน ได้แก่ การตรวจเอกสาร และการตรวจการปฏิบัติ

บทบาทหน้าที่ของหน่วยงานความปลอดภัยตามกฏหมาย 9. รวบรวมผลการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานทุกระดับและติดตามผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงานให้เป็นไปตามนโยบายและแผนงานของสถานประกอบกิจการ พร้อมทั้งรายงานให้นายจ้างและคณะกรรมการความปลอดภัยฯทราบทุก 3 เดือน

บทบาทหน้าที่ของหน่วยงานความปลอดภัยตามกฏหมาย จัดทำสรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานความปลอดภัย ทั้งด้านปริมาณ และคุณภาพ ได้แก่ ผลการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัย ตามหน้าที่ที่กำหนด ตามนโยบาย และตามแผนงานความปลอดภัย โดยรายงานถึงจำนวนกิจกรรม จำนวนครั้งที่ปฏิบัติ อาจคิดออกมาเป็นร้อยละ และควรทำเป็นแบบฟอร์มกรอกรายงาน 10. ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานอื่นตามที่นายจ้างมอบหมาย

ภาวะผู้นำ และการพัฒนาภาวะผู้นำ

ภาวะผู้นำ และการพัฒนาภาวะผู้นำ “ผู้นำ” เป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่มีส่วนช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จหรือทำให้องค์กรประสบความล้มเหลว และสามารถแข่งขันได้หรือไม่ องค์กรใดมีผู้นำหรือผู้บริหารที่มีความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ ฯลฯ องค์กรนั้นก็สามารถที่จะแข่งขันกับผู้อื่นได้ และประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้

ภาวะผู้นำ และการพัฒนาภาวะผู้นำ ในอดีตลักษณะผู้นำที่ดีและเข้มแข็งนั้น จะมองเพียงในด้านกายภาพ บุคลิกภาพ ความรู้ความสามารถ ความมั่งคั่ง และบารมีเท่านั้น แต่สำหรับในปัจจุบันที่เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา ผู้นำที่ดีและเข้มแข็งยังต้องมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล มีการติดต่อสื่อสารในองค์กรที่ดี และยังต้องมีจริยธรรมด้วยเพื่อที่จะนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จตามที่เป้าหมายได้ตั้งไว้ ขณะเดียวกันก็ต้องทำให้สมาชิกในองค์กรเกิดความพึงพอใจในงานที่เขาทำด้วย

ภาวะผู้นำ และการพัฒนาภาวะผู้นำ ความหมายของความเป็นผู้นำ ผู้นำคืออะไร เป็นคำถามที่สามารถตอบได้ในหลายแง่มุม หรือหลายความหมาย ผู้นำ อาจจะหมายถึงผู้ที่สามารถสั่งการให้คนในองค์กรหรือลูกน้องปฏิบัติตามได้ หรือหมายถึง ผู้ที่มีความสามารถหรือความเชี่ยวชาญเป็นที่ยอมรับของผู้อื่น และได้รับการยกย่องให้เป็นผู้นำ ฯลฯ แต่โดยสรุปแล้ว “ผู้นำ” หมายถึง บุคคลที่สามารถชักจูงหรือชี้นำบุคคลอื่น ให้ปฏิบัติงานสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ได้อย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ นั่นเอง

ภาวะผู้นำ และการพัฒนาภาวะผู้นำ ลักษณะของผู้นำ ได้มีผู้ศึกษาถึงลักษณะผู้นำไปในหลายแนวทาง ทั้งในด้านคุณลักษณะ และบทบาท หน้าที่ แต่ในความเป็นจริงนั้นเราสามารถที่ จะแบ่งผู้นำออกเป็น 2 ลักษณะ คือ

ภาวะผู้นำ และการพัฒนาภาวะผู้นำ 1. ผู้นำแบบเป็นทางการ (Formal Leaders) หมายถึง ผู้บังคับบัญชาในหน่วยงาน เพราะว่าผู้บังคับบัญชานั้นคือผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้า หรือให้มีอำนาจ หน้าที่ในการดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามกฎระเบียบขององค์กร

ภาวะผู้นำ และการพัฒนาภาวะผู้นำ 2. ผู้นำแบบไม่เป็นทางการ (Informal Leaders) คือ ผู้นำที่ไม่ใช่ผู้บังคับบัญชา เพราะไม่มีตำแหน่งเป็นหัวหน้าในองค์กร แต่สมาชิกในหน่วยงานให้การยอมรับ และยกย่องให้เป็นผู้นำ เพราะเขามีคุณสมบัติบางประการที่หน่วยงานหรือสมาชิกในองค์กรต้องการ ให้การยอมรับ หรือให้ความไว้วางใจ เช่น ประสบการณ์ ความรู้ความสามารถ มนุษย์สัมพันธ์ และจริยธรรม เป็นต้น

ภาวะผู้นำ และการพัฒนาภาวะผู้นำ ลักษณะสำคัญประการหนึ่งของผู้นำไม่ว่าจะเป็นแบบทางการ หรือไม่เป็นทางการ ก็คือจะต้องมีลูกน้อง มีเงื่อนไขในการปกครองต่างๆ เช่นกฎระเบียบ ข้อบังคับ การให้คุณ ให้โทษ ฯลฯ นอกจากนี้ผู้นำยังมีเรื่องของวิสัยทัศน์ ความซื่อสัตย์ จริยธรรม การจัดลำดับความสำคัญก่อนหลัง ความสามารถในการสร้างสรรค์การเปลี่ยนแปลงทางบวก ความสามารถในการแก้ปัญหา ความสามารถในการสื่อสารที่ดี และมีวินัย

ภาวะผู้นำ และการพัฒนาภาวะผู้นำ ผู้นำกับการจูงใจในองค์กร มนุษย์แต่ละคนมีความแตกต่างกันในเรื่องความต้องการ ความสนใจ ทัศนคติ ค่านิยม บุคลิกภาพ ฯลฯ จึงเกิดปัญหาว่าควรจะจูงใจพนักงานในการทำงานด้วยรูปแบบใด เพื่อให้เขาเหล่านั้นทำงานให้แก่องค์กรอย่างเต็มความสามารถและเกิดความพอใจในงาน รวมทั้งขวัญ และกำลังใจที่ดี ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้นำจะต้องรู้และเข้าใจถึงวิธีการและรูปแบบ ในการจูงใจของพนักงานในองค์กร โดยปกติแล้วผู้นำควรคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ดังนี้ คือ

ภาวะผู้นำ และการพัฒนาภาวะผู้นำ 1. การจูงใจด้วยรางวัลตอบแทน (Rewards) การให้รางวัลจะทำให้พนักงานในองค์กรเกิดแรงจูงใจในการทำงาน และยังเพิ่มขวัญ กำลังใจให้มากขึ้น โดยรางวัลตอบแทนที่ดีนั้นต้องสามารถตอบสนอง ความต้องการขั้นพื้นฐาน และความมั่นคงปลอดภัยของพนักงานได้ เพื่อที่จะพนักงานจะทุ่มเท ความสามารถในการทำงานให้กับองค์กรอย่างเต็มที่ และยิ่งรางวัลที่ให้นั้นสามารถตอบสนอง ความต้องการขั้นสูงของพนักงานได้มากเท่าไร ความจริงจังในการทำงานของพนักงานก็จะเพิ่มมากขึ้นด้วย ดังนั้นคุณลักษณะของรางวัลที่จะให้จึงมีดังนี้ คือ

ภาวะผู้นำ และการพัฒนาภาวะผู้นำ 1.1 มีความสำคัญต่อผู้ที่ได้รับ (Importance) 1.2 มีการจัดสรรอย่างเป็นธรรม (Equitable Distribution) 1.3 โปร่งใส พนักงานทุกคนควรรู้เห็นอย่างกระจ่างชัด (Visibility) 1.4 มีความยืดหยุ่น (Flexibility)

ภาวะผู้นำ และการพัฒนาภาวะผู้นำ อย่างไรก็ตาม รางวัลตอบแทนที่ผู้นำ หรือผู้บริหารพึงให้แก่พนักงานนั้น อาจให้ในรูปของตัวเงิน การเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง หรือสวัสดิการต่างๆ เป็นต้น หรืออาจให้ในรูปของรางวัล ที่มิได้อยู่ในรูปของตัวเงิน เช่น การมอบรางวัลดีเด่น ประกาศเกียรติคุณ ยกย่องชมเชย หรือ ส่งไปฝึกอบรมความรู้เพิ่มเติม ซึ่งผู้บริหารหรือผู้นำมักจะให้รางวัลทั้งในรูปตัวเงิน และที่ไม่ได้อยู่ในรูปตัวเงินควบคู่กันไป

ภาวะผู้นำ และการพัฒนาภาวะผู้นำ 2. การจูงใจด้วยงาน ในการที่จะจูงใจพนักงานด้วยงานนั้น ควรทราบก่อนว่าลักษณะงานที่จะจูงใจให้พนักงานในองค์กรปฏิบัติตามเพื่อวัตถุประสงค์ขององค์กรนั้น ควรมีลักษณะที่ท้าทายความสามารถ และจูงใจให้พนักงานรักที่จะปฏิบัติ และควรเป็นงานที่ทำให้เขาเกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ด้วยเหตุนี้ผู้นำที่ดีต้องสามารถที่จะดึงเอาความสำคัญของลักษณะงานมาเป็นตัวกระตุ้น หรือจูงใจให้พนักงานเกิดความรู้สึกรักและสนุกกับงานที่ทำอยู่ โดยอาจใช้วิธี ดังต่อไปนี้

ภาวะผู้นำ และการพัฒนาภาวะผู้นำ 2.1 การเพิ่มความสำคัญของงาน (Job Enrichment) ซึ่งการเพิ่มความสำคัญของงานนี้ โดยปกติแล้วจะมี 2 วิธี คือ การเพิ่มความสำคัญของงานตามแนวนอน (Horizontal Job Enrichment) และการเพิ่มความสำคัญของงานตามแนวตั้ง (Vertical Job Enrichment)

ภาวะผู้นำ และการพัฒนาภาวะผู้นำ ซึ่งการเพิ่มตามแนวนอนนั้น เป็นการขยายขอบเขตของงานให้กว้างขึ้นให้เขามีความรับผิดชอบมากขึ้น อันจะทำให้พนักงานรู้สึกถึงความสำคัญในหน้าที่ของตนเองและรู้สึกว่ามีความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ส่วนการเพิ่มในแนวดิ่งนั้นเป็นการลดอำนาจ ในการบังคับบัญชาจากผู้นำให้น้อยลงเพื่อที่เขาจะสามารถทำงานได้อย่างอิสระ หรือมอบหมายงานเฉพาะอย่างที่เขามีความชำนาญเป็นพิเศษ เป็นต้น

ภาวะผู้นำ และการพัฒนาภาวะผู้นำ 2.2 การหมุนเวียนงาน (Job Rotation) เป็นการให้โอกาสพนักงานได้มีการโยกย้าย ไปทำงานอื่น และเรียนรู้งานใหม่ โดยจัดตารางเวลาการทำงานในแต่ละหน้าที่ล่วงหน้า ให้เหมาะสม เพื่อลดความจำเจในการทำงาน อีกทั้งยังทำให้พนักงานมีความรู้และประสบการณ์มากขึ้น

ภาวะผู้นำ และการพัฒนาภาวะผู้นำ 2.3 การขยายขอบเขตของงาน (Job Enlargement) เป็นการเพิ่มหน้าที่ของพนักงานให้มากขึ้น เพื่อลดความเบื่อหน่ายและเพิ่มความสนใจในการทำงานของพนักงาน ซึ่งการขยายขอบเขตของงานนี้จะเพิ่มจำนวนหน้าที่และความรับผิดชอบในระดับเดียวกันของพนักงาน เช่น จากหน้าที่เก็บรวบรวมข้อมูล ก็เพิ่มหน้าที่ให้มีหน้าที่วิเคราะห์ข้อมูลด้วย เป็นต้น เพื่อไม่ให้เขาเกิดความรู้สึกเบื่องานที่ทำ และบางครั้งอาจจะให้เขาแสดงความคิดเห็นในงานที่เขาทำด้วย

ภาวะผู้นำ และการพัฒนาภาวะผู้นำ 2.4 การปรับปรุงออกแบบงาน (Job Redesign) เป็นการปรับปรุงจัดโครงสร้างของงาน เพื่อดึงดูดความสนใจของพนักงานมากขึ้น เช่นลดความซับซ้อนของงานเพื่อลดเวลาในการทำงานลง หรือให้พนักงานสามารถออกแบบงานที่ตนเองต้องทำได้ เพื่อให้เกิดความพอใจในงานมากขึ้น

ภาวะผู้นำ และการพัฒนาภาวะผู้นำ 3. การจูงใจด้วยวัฒนธรรมขององค์กร องค์กรทุกแห่งจะจูงใจพนักงานของตนไปในทางที่จะทำให้พนักงานปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยปกติวัฒนธรรมหมายถึง พฤติกรรมของคนส่วนมาก ดังนั้นวัฒนธรรมองค์กรย่อมหมายรวมถึง พฤติกรรม ค่านิยม และความเชื่อของบุคคลในองค์กร ซึ่งในเรื่องนี้นั้น เราต้องหยิบยกประเทศญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกามาเป็นแบบในการศึกษา โดยญี่ปุ่นนั้นเป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงในการบริหาร เนื่องจากค่านิยม และความเชื่อของคนญี่ปุ่นที่มีต่อประเทศชาติ สังคม องค์กร และหมู่คณะ

ภาวะผู้นำ และการพัฒนาภาวะผู้นำ ซึ่งคนญี่ปุ่นมีความเชื่อที่ว่าประเทศเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน พนักงานก็เป็นส่วนหนึ่งขององค์กรโดยพนักงานทุกคนจะมีความรู้สึกเป็นเจ้าของ หรือส่วนหนึ่งขององค์กรอย่างแน่นแฟ้น หากองค์กรล้ม พนักงานก็จะหมดที่พึ่งทุกคนจะอยู่กับองค์กรตลอดชีวิต ดังนั้นพนักงานญี่ปุ่นหรือบุคลากรในองค์กรญี่ปุ่นจะมีความจงรักภักดีต่อองค์กรเป็นอย่างมาก ซึ่งจะต่างกับอเมริกาคือ คนอเมริกันจะเป็นคนที่รักเสรีภาพ ไม่ผูกพันตนเองกับองค์กร ชอบพึ่งตนเอง ย้ายงานบ่อย อย่างไรก็ดีคนอเมริกันมีจริยธรรมในการทำงานและไม่ดูถูกงาน สำหรับคนไทยแล้วมีความเป็นปัจเจกนิยมคล้ายกับอเมริกา

ภาวะผู้นำ และการพัฒนาภาวะผู้นำ แต่ข้อแตกต่างที่สำคัญ คือคนอเมริกันจะทำงานเป็นทีมได้ดีกว่าคนไทย คนไทยมักมีความฉลาด และมีความสามารถเฉพาะตัว เวลาทำงานจึงมักขาดความร่วมมือประสานงาน อย่างไรก็ดี ผู้นำจำเป็นต้องรู้ว่าควรใช้วัฒนธรรมองค์กรที่ตนเองมีอยู่ให้เป็นประโยชน์เช่นไร คงจะเป็นเรื่องยากที่จะตอบว่าแบบใดเหมาะสมที่สุด ซึ่งก็คงต้องขึ้นอยู่กับองค์กรนั้นๆ เองว่าเป็นเช่นไร แต่การจูงใจโดยการบริหารที่เน้นวัฒนธรรมองค์กรนั้นควรจะคำนึงถึงปัจจัย 2 ระดับ คือ ระดับบุคคล และระดับองค์กร อันได้แก่ เรื่องการกำหนดเป้าหมาย การวางแผน การติดต่อประสานงาน การประเมินผล และการสร้างความเชื่อถือซึ่งกันและกัน

ภาวะผู้นำ และการพัฒนาภาวะผู้นำ ความเปลี่ยนแปลงของภาวะผู้นำ ในสภาวะที่มีการแข่งขันสูง ภาวะผู้นำถือเป็นกำลังสำคัญที่จะช่วยผลักดันให้องค์กรประสบความสำเร็จ ดังนั้นภาวะผู้นำจึงต้องได้รับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงจากเดิมที่ผู้นำมีหน้าที่ในการวางแผน และบริหารเพื่อให้องค์กรประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้เท่านั้น แต่สำหรับในปัจจุบันซึ่งเป็นยุคแห่งข้อมูลข่าวสาร สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และต่อเนื่อง

ภาวะผู้นำ และการพัฒนาภาวะผู้นำ ดังนั้น นอกจากความสามารถในการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ผู้นำยังต้องมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล โดยอาศัยเทคโนโลยีทางด้านข้อมูลข่าวสารต่างๆ เป็นเครื่องมือในการที่จะรวบรวมข้อมูลต่างๆ ทั้งด้านความเคลื่อนไหวของกฎหมาย และมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง ความต้องการของลูกค้า ปัญหาอื่นๆ ที่มีผลต่อธุรกิจหรือองค์กร และที่มีผลต่อความปลอดภัยในการทำงาน ฯลฯ เพื่อนำมาใช้ในการวางแผน และดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิผลที่เรียกว่า “Integrated leadership”

ภาวะผู้นำ และการพัฒนาภาวะผู้นำ กล่าวคือ เป็นการใช้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่ได้รับจากทั้งในองค์กรและนอกองค์กรเพื่อใช้ในการวางแผนและดำเนินการภายใต้กรอบทางด้านคุณภาพ และความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือลูกค้าเป็นหลัก โดยเน้นไปที่กระบวนการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อรักษาความได้เปรียบ และรักษาความเป็นผู้นำไว้ โดยพิจารณาจากสิ่งสำคัญ 2 ประการคือ

ภาวะผู้นำ และการพัฒนาภาวะผู้นำ 1. ภาวะผู้นำ ที่จะมีส่วนช่วยในการเพิ่มขีดความสามารถของธุรกิจ ทีมงานในองค์กร การสื่อสารในองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยการสร้างภาวะผู้นำนั้นต้องอาศัยความตั้งใจ ความพยายาม รวมถึงประสบการณ์ของตัวผู้นำเอง

ภาวะผู้นำ และการพัฒนาภาวะผู้นำ 2. การใช้ระบบการรวบรวมข้อมูลสำคัญต่างๆทั้งจากภายในและภายนอกองค์กร ข้อมูลข่าวสารความรู้ต่างๆ ที่เรียกว่า Control panel เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนา องค์กรอย่างต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วนี้ ทำให้เกิดปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อองค์กรอย่างมากมายทั้งในด้านเทคโนโลยีที่สูงขึ้น สารเคมีอันตรายที่เกิดขึ้นใหม่ ความต้องการของลูกค้าในเรื่องความปลอดภัยในการทำงานเพิ่มมากขึ้น

ภาวะผู้นำ และการพัฒนาภาวะผู้นำ การที่โลกเข้าสู่ยุค Globalization ทำให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว และเข้าถึงคนได้ทั่วโลกเช่น Internet และอื่นๆ อีกมาก ทำให้บทบาทของผู้นำในอดีต หรือบุคคลเพียงคนเดียวไม่สามารถรับผิดชอบได้ ในยุคนี้จึงเน้นการพัฒนาภาวะผู้นำควบคู่ไปกับการทำงานเป็นทีมเป็นสำคัญ และในขณะเดียวกัน การติดต่อสื่อสารภายในองค์กรก็ได้กลายเป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะการที่จะสื่อสารในเรื่องของภารกิจ วิสัยทัศน์ และค่านิยมต่างๆขององค์กรไปสู่พนักงาน

ภาวะผู้นำ และการพัฒนาภาวะผู้นำ เนื่องจากหากพนักงานเหล่านั้น มีความเข้าใจและมีความรู้ไปในทิศทางเดียวกันประสิทธิภาพขององค์กรก็จะเพิ่มมากขึ้น และเป็นการช่วยลดปัญหาต่างๆ ในองค์กรได้เป็นอย่างดี และผู้นำยังต้องพยายามจูงใจพนักงานให้เขาเกิดความกระตือรือร้นในการทำงาน โดยใช้วิธีการต่างๆ เช่น ให้มีส่วนร่วมในทีมการค้นหาอันตราย ร่วมทำกิจกรรมอุบัติเหตุเป็นศูนย์ เป็นต้น

ภาวะผู้นำ และการพัฒนาภาวะผู้นำ นอกจากนั้นจะต้องมีส่วนร่วมในความสำเร็จที่สำคัญ มีการแบ่งผลกำไร(Profit Sharing) อย่างเป็นธรรม ให้การยอมรับในตัวพนักงาน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความเข้าใจ และแนวคิดในวัตถุประสงค์ขององค์กรที่ตรงกัน ซึ่งจะนำไปสู่ความสำเร็จขององค์กรในที่สุด นอกจากนี้การที่ภาวะผู้นำจะเกิดขึ้นได้นั้นต้องเกิดจากสภาพแวดล้อมในองค์กรมีส่วนช่วยสนับสนุน ดังนั้นผู้นำที่ต้องการพัฒนาภาวะผู้นำของตนเองจึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญในเรื่องต่อไปนี้

ภาวะผู้นำ และการพัฒนาภาวะผู้นำ 2.1 ผู้นำควรจะวางตัวให้เสมอต้นเสมอปลาย ไม่มากหรือน้อยจนเกินไป 2.2 ต้องสื่อสารความสำคัญของวิสัยทัศน์ให้แก่พนักงานทุกคน 2.3 ให้ความเคารพทุกคนในองค์กรอย่างเท่าเทียมกันในฐานะที่เป็นมนุษย์ เหมือนกัน 2.4 ให้ความสำคัญและเปิดกว้างต่อความคิดของผู้อื่น 2.5 ต้องโปร่งใส

ภาวะผู้นำ และการพัฒนาภาวะผู้นำ 2.6 พยายามทำให้คนในองค์กรยอมรับ 2.7 ช่วยผลักดันและแก้ไขเพื่อให้พนักงานประสบความสำเร็จในงานของเข2.8 กระจายอำนาจแก่พนักงานให้เหมาะสมกับความรับผิดชอบของเขา 2.9 เป็นภาวะผู้นำที่มองเห็นได้ (Visible Leadership) ปฏิบัติตามที่พูด

ภาวะผู้นำ และการพัฒนาภาวะผู้นำ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยในการพัฒนาภาวะผู้นำในองค์กร และในขณะเดียวกันก็เป็นการช่วยผลักดันให้องค์กรพัฒนาประสิทธิภาพด้วย การที่พนักงานรวมถึงทุกคนที่อยู่ในองค์กรจะให้การยอมรับในตัวผู้นำและเต็มใจที่จะทำงานให้กับองค์กรที่เขาอยู่อย่างเต็มที่ และเต็มความสามารถนั้น ผู้นำต้องทราบถึงความเป็นไปภายในองค์กร ทราบถึงความคิด และปัญหาของผู้ที่อยู่ภายในองค์กร ฯลฯ เพื่อที่จะได้กำหนดกลยุทธ์ในการดำเนินการ และการแก้ไขได้อย่างถูกต้อง

ภาวะผู้นำ และการพัฒนาภาวะผู้นำ ในยุคนี้นอกจากภาวะผู้นำมีความสำคัญแล้ว Control panel ก็มีความจำเป็นอย่างมาก เนื่องจาก Control panel เป็นที่รวมข้อมูล ความรู้ รวมทั้งเป็นเครื่องมือสำคัญต่อกลยุทธ์ และเทคนิคในการดำเนินงาน และเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารที่ทำให้ทุกคนที่ปฏิบัติงานสามารถเชื่อมโยงระหว่างกันได้ทั้งองค์กร ระบบของ Control panel อาจมีในส่วนของการวางแผน การรวมศูนย์ การใช้งานประจำวัน การทำงานเป็นทีม ระบบข้อมูลข่าวสาร ฯลฯ

ภาวะผู้นำ และการพัฒนาภาวะผู้นำ ซึ่งการวางแผนงาน การวางแผนกลยุทธ์ในอนาคตนั้น จะอาศัยระบบ Control panel มากขึ้น และจะเป็นกระบวนการที่มีความต่อเนื่อง คือมีการปรับเปลี่ยนให้ถูกต้องอยู่ตลอดเวลาโดย Control panel จะสร้างความเป็นหนึ่งเดียวเปรียบเสมือนสิ่งที่เป็นสื่อกลางขององค์กรและเป็นที่รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ เพื่อการตัดสินใจขององค์กร ในการกระจายทรัพยากรต่างๆ เป็นต้น

ภาวะผู้นำ และการพัฒนาภาวะผู้นำ ในระบบControl panel จะมีการรับข้อมูลจากหน่วยที่เรียกข้อมูลผลการดำเนินการขององค์กรในแต่ละส่วนได้อย่างรวดเร็ว เพื่อใช้ในการประมวลผล กำหนดกลยุทธ์ หรือแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ทันเวลาเพื่อลดความเสียหายให้น้อยที่สุด โดยเฉพาะในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน

วงจรการบริหารโดยใช้ PDCA

วงจรการบริหารโดยใช้ PDCA P = Plan คือ การวางแผนงานจากวัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่ ได้กำหนดขึ้น D = Do คือ การปฏิบัติตามขั้นตอนในแผนงานที่ได้เขียนไว้ อย่างเป็นระบบและมีความต่อเนื่อง

วงจรการบริหารโดยใช้ PDCA C = Check คือ การตรวจสอบผลการดำเนินงานในแต่ละขั้นตอน ของแผนงานว่ามีปัญหาอะไรเกิดขึ้น จำเป็นต้อง เปลี่ยนแปลงแก้ไขแผนงานในขั้นตอนใด A = Action คือ การปรับปรุงแก้ไขส่วนที่มีปัญหา หรือถ้าไม่มี ปัญหาใดๆ ก็ยอมรับแนวทางการปฏิบัติตาม แผนงานที่ได้ผลสำเร็จเพื่อนำไปใช้ในการทำงาน ครั้งต่อไป

วงจรการบริหารโดยใช้ PDCA เมื่อได้วางแผนงาน (P) นำไปปฏิบัติ (D) ระหว่างการปฏิบัติก็ดำเนินการตรวจสอบ (C) พบปัญหาก็ทำการแก้ไขหรือปรับปรุง (A) การปรับปรุงก็เริ่มจากการวางแผนก่อน แล้ววนไปเหมือนเดิมได้เรื่อยๆ จึงเรียกวงจร PDCA

วงจรการบริหารโดยใช้ PDCA

วงจรการบริหารโดยใช้ PDCA 1. การวางแผนงานก่อนการปฏิบัติงาน จะทำให้เกิดความพร้อมเมื่อได้ปฏิบัติงานจริง การวางแผนงานควรวางให้ครบ 4 ขั้นตอนดังนี้ 1.1 ขั้นการศึกษาคือ การวางแผนศึกษาข้อมูล วิธีการ ความต้องการของกฎหมาย มาตรฐาน ลูกค้า ข้อมูลด้านวัตถุดิบ ด้านทรัพยากรที่มีอยู่ หรือเงินทุน 1.2 ขั้นเตรียมงาน คือ การวางแผนการเตรียมงานด้านสถานที่ การออกแบบ ความพร้อมของพนักงาน อุปกรณ์ เครื่องจักร วัตถุดิบ

วงจรการบริหารโดยใช้ PDCA 1.3 ขั้นดำเนินงาน คือ การวางแนวทางการปฏิบัติงานของแต่ละคน และส่วนงาน 1.4 ขั้นการประเมินผล คือ การวางแผน หรือเตรียมการประเมินผลงานอย่างเป็นระบบ เช่น ประเมินจากกิจกรรมที่กำหนด จากผลการตรวจ หรือสำรวจด้านความปลอดภัย สถิติการประสบอันตรายจากการทำงาน เป็นต้น เพื่อให้ผลที่ได้จากการประเมินเกิดความเที่ยงตรง

วงจรการบริหารโดยใช้ PDCA 2. การปฏิบัติงานตามแผนงาน ทำให้ทราบขั้นตอน วิธีการ และสามารถเตรียมงานล่วงหน้าหรือทราบอุปสรรคล่วงหน้าด้วย ดังนั้น การปฏิบัติงานก็จะเกิดความราบรื่น และเรียบร้อย นำไปสู่เป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ 3. การตรวจสอบให้ได้ผลที่เที่ยงตรงเชื่อถือได้ ประกอบด้วย 3.1 ตรวจสอบจากเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ 3.2 มีเครื่องมือตรวจสอบที่เชื่อถือได้ 3.3 มีเกณฑ์การตรวจสอบที่ชัดเจน

วงจรการบริหารโดยใช้ PDCA 3.5 บุคลากรที่ทำการตรวจสอบต้องได้รับการยอมรับจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เมื่อการตรวจสอบได้รับการยอมรับ การปฏิบัติงานขั้นต่อไปก็ดำเนินงานต่อไปได้ 4. การปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนใดก็ตาม เมื่อมีการปรับปรุงแก้ไขคุณภาพก็จะเกิดขึ้น ดังนั้นวงจร PDCA จึงเรียกว่า วงจรบริหารงานคุณภาพ

เทคนิคการวางแผนงานความปลอดภัย การตรวจสอบและการบริหารทรัพยากร และการจัดองค์กรความปลอดภัย

เทคนิคการวางแผนงานความปลอดภัย การตรวจสอบและการบริหารทรัพยากร และการจัดองค์กรความปลอดภัย กระบวนการบริหารแผนงานโครงการ อย่างเป็นระบบ โดยอาศัยวงจร PDCA เป็นหลัก ซึ่งวงจรนี้จะหมุนเวียนต่อไปจากขั้นแก้ไขปรับปรุง กลับไปยังขั้นวางแผนใหม่อีกเพื่อให้เกิดการพัฒนาให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป

C (Check) ขั้นตรวจสอบผลการ ปฏิบัติตามแผน D (Do) เทคนิคการวางแผนงานความปลอดภัย การตรวจสอบและการบริหารทรัพยากร และการจัดองค์กรความปลอดภัย P (Plan) ขั้นวางแผน A (Act) ขั้นแก้ไขปรับปรุง D (Do) ขั้นปฏิบัติตามแผน การบริหารแผนงาน C (Check) ขั้นตรวจสอบผลการ ปฏิบัติตามแผน

เทคนิคการวางแผนงานความปลอดภัย การตรวจสอบและการบริหารทรัพยากร และการจัดองค์กรความปลอดภัย สำหรับแผนงานความปลอดภัย หัวหน้าหน่วยงานความปลอดภัย ควรทำการวิเคราะห์ การบริหารแผนงานทุกขั้นตอน เช่น ขั้นวางแผน (Plan) 1. วิเคราะห์แหล่งทรัพยากร เช่น 1.1 ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการวางแผนหรือไม่ 1.2 มีการพิจารณาปัจจัยต่างๆ ที่ต้องใช้ในการดำเนินการหรือไม่ ฯลฯ

เทคนิคการวางแผนงานความปลอดภัย การตรวจสอบและการบริหารทรัพยากร และการจัดองค์กรความปลอดภัย 2. วิเคราะห์สิ่งที่ต้องปฏิบัติ เช่น 2.1 มีการกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่สอดคล้องกับ นโยบายและกฎหมายหรือไม่ 2.2 มีการวิเคราะห์ข้อมูลในอดีต และปัจจุบันเพื่อคาดการณ์อนาคต ไว้หรือไม่ ฯลฯ

เทคนิคการวางแผนงานความปลอดภัย การตรวจสอบและการบริหารทรัพยากร และการจัดองค์กรความปลอดภัย 3. วิเคราะห์กระบวนการ เช่น 3.1 นำปัจจัยภายใน/ภายนอกมาพิจารณาถึงความเป็นเหตุเป็นผลที่ จะอธิบายถึงความสำเร็จของแผนงานหรือไม่ 3.2 แผนงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งของแผนการดำเนินงานของบริษัท หรือไม่ อย่างไร เหมาะสมกับเวลา และโอกาสหรือไม่

เทคนิคการวางแผนงานความปลอดภัย การตรวจสอบและการบริหารทรัพยากร และการจัดองค์กรความปลอดภัย ขั้นปฏิบัติตามแผน (Do) 1. วิเคราะห์ทรัพยากร เช่น 1.1 มีการจัดสรรเวลาในการเตรียมการ การดำเนินงานและการ ติดตามผลหรือไม่ 1.2 เครื่องมือและอุปกรณ์เหมาะสมเพียงพอต่อการดำเนินการ หรือไม่ ฯลฯ

เทคนิคการวางแผนงานความปลอดภัย การตรวจสอบและการบริหารทรัพยากร และการจัดองค์กรความปลอดภัย 2. วิเคราะห์สิ่งที่ต้องปฏิบัติ เช่น 2.1 มีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของพนักงานทุกระดับ หรือไม่ 2.2 ผู้เกี่ยวข้องได้รับการฝึกอบรมหรือชี้แจงการปฏิบัติตาม แผนงานหรือไม่ ฯลฯ

เทคนิคการวางแผนงานความปลอดภัย การตรวจสอบและการบริหารทรัพยากร และการจัดองค์กรความปลอดภัย 3. วิเคราะห์กระบวนการ เช่น 3.1 มีการกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดผลงานหรือไม่ 3.2 ผู้บริหารมีบทบาทในการควบคุมกำกับดูแลการปฏิบัติงาน หรือไม่ ฯลฯ

เทคนิคการวางแผนงานความปลอดภัย การตรวจสอบและการบริหารทรัพยากร และการจัดองค์กรความปลอดภัย ขั้นตรวจสอบผลการปฏิบัติตามแผน (Check) 1. วิเคราะห์แหล่งทรัพยากร เช่น 1.1 มีผู้มีความสามารถเฉพาะเป็นผู้ดำเนินการหรือไม่ 1.2 มีเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสำหรับตรวจสอบผล การดำเนินงานหรือไม่ ฯลฯ

เทคนิคการวางแผนงานความปลอดภัย การตรวจสอบและการบริหารทรัพยากร และการจัดองค์กรความปลอดภัย 2. วิเคราะห์สิ่งที่ต้องปฏิบัติ เช่น 2.1 มีการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานกับแผนงานที่วางไว้หรือไม่ 2.2 มีการตรวจสอบความคืบหน้าของการดำเนินการเป็นระยะ หรือไม่ ฯลฯ 3. วิเคราะห์กระบวนการ เช่น 3.1 มีระบบการรายงานผลหรือไม่ 3.2 มีการเสนอรายงานผลการปฏิบัติต่อคณะกรรมการความ ปลอดภัยฯ หรือไม่ ฯลฯ

เทคนิคการวางแผนงานความปลอดภัย การตรวจสอบและการบริหารทรัพยากร และการจัดองค์กรความปลอดภัย ขั้นแก้ไขปรับปรุง (Act) 1. วิเคราะห์แหล่งทรัพยากร เช่น 1.1 มีเครื่องมือหรืออุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการดำเนินการแก้ไข ปรับปรุง จุดบกพร่องหรือไม่ 1.2 มีข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องประกอบการดำเนินการหรือไม่ฯลฯ

เทคนิคการวางแผนงานความปลอดภัย การตรวจสอบและการบริหารทรัพยากร และการจัดองค์กรความปลอดภัย 2. วิเคราะห์สิ่งที่ต้องปฏิบัติ เช่น 2.1 มีการจัดทำแผนการแก้ไข ปรับปรุง หรือไม่ 2.2 มีการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานกับองค์กรอื่นเพื่อการ ปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นหรือไม่ ฯลฯ 3. วิเคราะห์กระบวนการ เช่น 3.1 มีการประเมินอันตรายก่อนการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงาน ใดๆ หรือไม่ 3.2 มีการให้ข้อมูลหรืออบรมชี้แจงผู้ได้รับผลกระทบจากการ ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงานหรือไม่ ฯลฯ

เทคนิคการวางแผนงานความปลอดภัย การตรวจสอบและการบริหารทรัพยากร และการจัดองค์กรความปลอดภัย เมื่อได้ดำเนินการวิเคราะห์ทั้ง 3 แนวทางข้างต้นแล้ว จะทำให้เรามีข้อมูลเชิงลึกที่จะตัดสินคุณค่าของแผนงานความปลอดภัยดังกล่าวว่ามีประสิทธิภาพและประสิทธิผลหรือไม่ กล่าวคือ พิจารณาประสิทธิภาพจากปัจจัยที่ใช้ในการดำเนินการกับผลที่ได้รับ ซึ่งนิยมวัดในรูปของสถิติการประสบอันตรายที่ลดลง ความสูญเสียลดลง และงบประมาณที่ใช้ นอกจากนั้นยังพิจารณาประสิทธิผลจากผลการดำเนินงานว่าบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่โดยดูจากตัวชี้วัดของวัตถุประสงค์แต่ละข้อ

เทคนิคการวางแผนงานความปลอดภัย การตรวจสอบและการบริหารทรัพยากร และการจัดองค์กรความปลอดภัย ในขั้นสุดท้ายของการวิเคราะห์แผนงานความปลอดภัย หน่วยงานความปลอดภัย ต้องสรุปข้อเสนอแนะเพื่อเป็นข้อมูลแก่ผู้บริหารนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจที่จะคงแผนงานนี้เช่นเดิม หรือต้องแก้ไขปรับปรุงอย่างไร หรือจะพัฒนาต่อในรูปแบบไหน หรือควรระงับ หรือยกเลิก ทั้งนี้ ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่จะสามารถสนองต่อนโยบายและวัตถุประสงค์ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของสถานประกอบกิจการเป็นสำคัญ

เทคนิคการวางแผนงานความปลอดภัย การตรวจสอบและการบริหารทรัพยากร และการจัดองค์กรความปลอดภัย สำหรับบุคลากรที่จะดำเนินการตามแผนงานความปลอดภัย จะมาจากองค์กรความปลอดภัยที่ถูกจัดตั้งขึ้น คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เป็นรูปแบบหนึ่งของการจัดองค์กรในสถานประกอบกิจการ และถือเป็นกลไกสำคัญในรูปแบบทวิภาคีที่จะนำผู้เกี่ยวข้องทั้งฝ่ายผู้แทนนายจ้าง เละฝ่ายผู้แทนลูกจ้างมาร่วมคิดร่วมทำเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน และหลายประเทศต่างกำหนดเป็นกฎหมาย ความไม่ปลอดภัยในการทำงานมีผลกระทบไม่เฉพาะผู้ปฏิบัติงานคนนั้นๆ เท่านั้น

เทคนิคการวางแผนงานความปลอดภัย การตรวจสอบและการบริหารทรัพยากร และการจัดองค์กรความปลอดภัย เท่านั้น แต่ผลกระทบนั้นอาจมีต่อเพื่อนร่วมงาน ทรัพย์สินของสถานประกอบกิจการ ชุมชนใกล้เคียง และสิ่งแวดล้อมโดยรอบ ประกอบกับเป็นที่ยอมรับกันว่าทุกคนย่อมมีความรับผิดชอบต่อความปลอดภัย และอาชีวอนามัย ลูกจ้างที่ต้องทำงานสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมการทำงานและสภาพการทำงานตลอดเวลา รวมทั้งเป็นผู้ใช้อุปกรณ์ เครื่องมือ เครึ่องจักร จึงย่อมทราบถึงความพร้อมใช้งานของสิ่งเหล่านี้เป็นอย่างดี

เทคนิคการวางแผนงานความปลอดภัย การตรวจสอบและการบริหารทรัพยากร และการจัดองค์กรความปลอดภัย ทำให้มีแนวความคิดที่จะให้ผู้ควบคุมงานและผู้ปฏิบัติงานเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมด้านความปลอดภัยในการทำงานกับฝ่ายบริหารซึ่งถือเป็นผู้แทนนายจ้าง ดังนั้นการจัดตั้งคณะกรรมการความปลอดภัยฯจึงเป็นกลไกสำคัญทีฝายนายจ้างและลูกจ้างจะได้ร่วมมือกันทำงานพัฒนา และรักษาไว้ซึ่งความปลอดภัยในการทำงาน

เทคนิคการวางแผนงานความปลอดภัย การตรวจสอบและการบริหารทรัพยากร และการจัดองค์กรความปลอดภัย ความสำคัญของการจัดตั้งคณะกรรมการความปลอดภัยฯ มีดังนี้ 1) เป็นกลไกการทำงานร่วมกันในเรื่องความปลอดภัยในการทำงาน ระหว่างฝ่ายบริหารและฝ่ายลูกจ้าง 2) เป็นช่องทางการสื่อสารของผู้บริหารที่แสดงว่าความปลอดภัยในการ ทำงานเป็นเรื่องสำคัญ 3) เปิดโอกาสให้ฝ่ายลูกจ้างได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมความปลอดภัย 4) เป็นเวทีให้มีการประสานแผนงาน หรือโครงการด้านความปลอดภัยใน การทำงาน

ก เทคนิคการวางแผนงานความปลอดภัย การตรวจสอบและการบริหารทรัพยากร และการจัดองค์กรความปลอดภัย โดยทั่วไป คณะกรรมการความปลอดภัยฯควรมีหน้าที่สำคัญ 3 ประการดังนี้ 1. การเสนอแนะนโยบายความปลอดภัย เนื่องจากการทำงานในรูปคณะกรรมการ ทำให้มีความคิดที่หลากหลายจะนำไปสู่ข้อเสนอแนะในเรื่องนโยบายความปลอดภัยที่เหมาะสมสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ และเป้าหมาย เพื่อเสนอต่อผู้บริหารสูงสุดต่อไป

เทคนิคการวางแผนงานความปลอดภัย การตรวจสอบและการบริหารทรัพยากร และการจัดองค์กรความปลอดภัย 2. การสำรวจความปลอดภัย เนื่องจากปัญหาเรื่องการกระทำที่ไม่ปลอดภัยและสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัย ตลอดจนการไม่ปฏิบัติตามคู่มือ และข้อบังคับว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงานเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องค้นหาเพื่อทำการแก้โข ปรับปรุงให้ทันท่วงทีก่อนที่จะเกิดการประสบอันตราย คณะกรรมการความปลอดภัยฯจึงควรทำหน้าที่สร้างขั้นตอนการชี้บ่งอันตราย ประเมินความเสี่ยง พิจารณามาตรการควบคุมป้องกัน และสำรวจการปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัย ตลอดจนเสนอแนะกิจกรรมความปลอดภัยต่อองค์กร

เทคนิคการวางแผนงานความปลอดภัย การตรวจสอบและการบริหารทรัพยากร และการจัดองค์กรความปลอดภัย 3. การให้ความรู้และการสื่อสารด้านความปลอดภัย เนื่องจากความตระหนักในความสำคัญของความปลอดภัย อาชีวอนามัย ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานที่ปลอดภัยจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงาน และข้อมูลข่าวสารด้านความปลอดภัยต้องมีการสื่อสารเพื่อสร้างทัศนคติที่ดีต่องานความปลอดภัย หน้าที่ในข้อนี้ยังรวมถึงการส่งเสริมสนับสนุนและการสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้ปลอดภัยแก่ผู้ปฏิบัติงาน

เทคนิคการวางแผนงานความปลอดภัย การตรวจสอบและการบริหารทรัพยากร และการจัดองค์กรความปลอดภัย ประเภทของคณะกรรมการความปลอดภัยฯ เมื่อพิจารณาในด้านขนาดของสถานประกอบกิจการ สามารถจัดประเภทของคณะกรรมการความปลอดภัยได้ดังนี้

เทคนิคการวางแผนงานความปลอดภัย การตรวจสอบและการบริหารทรัพยากร และการจัดองค์กรความปลอดภัย 1. คณะกรรมการความปลอดภัยฯส่วนกลาง ในกรณีเป็นสถานประกอบกิจการขนาดใหญ่ที่มีฝ่ายต่างๆ เป็นจำนวนมาก หรือมีบริษัทในเครือจำนวนมาก อาจจำเป็นต้องมีคณะกรรมการความปลอดภัยฯส่วนกลาง เพื่อเป็นศูนย์กลางการประสานงานและทำหน้าที่เชิงนโยบายให้กับฝ่ายต่างๆหรือบริษัทในเครือโดยมีหัวหน้าหน่วยงานความปลอดภัยเป็นเลขานุการ คณะกรรมการชุดนี้จะกำหนดนโยบายและมาตรการความปลอดภัยหลักๆ ให้ฝ่าย/หรือบริษัทในเครือข่ายไปถือปฏิบัติ

เทคนิคการวางแผนงานความปลอดภัย การตรวจสอบและการบริหารทรัพยากร และการจัดองค์กรความปลอดภัย 2. คณะกรรมการความปลอดภัยฯระดับฝ่าย เป็นคณะกรรมการ ที่กรรมการจะมาจากบุคลากรในฝ่ายนั้นๆ ซึ่งเป็นหัวหน้าแผนก วิศวกร และหัวหน้างาน โดยมีผู้อำนวยการ หรือผู้จัดการฝ่าย ซึ่งเป็นกรรมการในคณะกรรมการความปลอดภัยฯส่วนกลาง เป็นประธาน ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ข้อมูลข่าวสารจากคณะกรรมการส่วนกลางไม่สูญหายและถูกสื่อสารไปยังคณะกรรมการระดับฝ่าย อย่างครบถ้วน

เทคนิคการวางแผนงานความปลอดภัย การตรวจสอบและการบริหารทรัพยากร และการจัดองค์กรความปลอดภัย 3. คณะกรรมการความปลอดภัยฯระดับแผนก เพื่อให้การดำเนินงานของคณะกรรมการความปลอดภัยฯเป็นไปอย่างกว้างขวาง หน่วยงานระดับแผนกซึ่งมีหัวหน้าแผนกเป็นผู้บังคับบัญชาก็ควรมีกรรมการความปลอดภัยขึ้นมาด้วย โดยมีหัวหน้าแผนกเป็นประธาน มีหัวหน้างานและผู้ปฏิบัดิงาน ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเป็นกรรมการ อย่างไรก็ตาม สำหรับในประเทศไทย พบว่าในทางปฏิบัติแล้ว สถานประกอบกิจการโดยทั่วไปจะมีคณะกรรมการความปลอดภัยฯชุดเดียว ยกเว้นเป็นสถานประกอบกิจการขนาดใหญ่มาก หรือบริษัทที่มีเครือ

เทคนิคการวางแผนงานความปลอดภัย การตรวจสอบและการบริหารทรัพยากร และการจัดองค์กรความปลอดภัย สำหรับกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 กำหนดไว้สำหรับสถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้าง 50 คนขึ้นไป ต้องมีคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานโดยมีองค์ประกอบ ดังต่อไปนี้

เทคนิคการวางแผนงานความปลอดภัย การตรวจสอบและการบริหารทรัพยากร และการจัดองค์กรความปลอดภัย สถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไปแต่ไม่ถึงหนึ่งร้อยคน ให้มีคณะกรรมการ ไม่น้อยกว่าห้าคน ประกอบด้วย นายจ้างหรือผู้แทนนายจ้างระดับบริหารเป็น ประธานกรรมการ ผู้แทนนายจ้างระดับบังคับบัญชาหนึ่งคน และผู้แทนลูกจ้างสองคน เป็นกรรมการ โดยมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคขั้นสูง หรือระดับวิชาชีพ เป็นกรรมการและเลขานุการ

เทคนิคการวางแผนงานความปลอดภัย การตรวจสอบและการบริหารทรัพยากร และการจัดองค์กรความปลอดภัย สถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่หนึ่งร้อยคนขึ้นไปแต่ไม่ถึงห้าร้อยคน ให้มีคณะกรรมการ ไม่น้อยกว่าเจ็ดคน ประกอบด้วย นายจ้างหรือผู้แทนนายจ้างระดับบริหารเป็น ประธานกรรมการ ผู้แทนนายจ้างระดับบังคับบัญชาสองคน และผู้แทนลูกจ้างสามคน เป็นกรรมการ โดยมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ เป็นกรรมการและเลขานุการ

เทคนิคการวางแผนงานความปลอดภัย การตรวจสอบและการบริหารทรัพยากร และการจัดองค์กรความปลอดภัย สถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ห้าร้อยคนขึ้นไป ให้มีคณะกรรมการไม่น้อยกว่าสิบเอ็ดคน ประกอบด้วย นายจ้างหรือผู้แทนนายจ้างระดับบริหารเป็น ประธานกรรมการ ผู้แทนนายจ้างระดับบังคับบัญชา สี่คน และผู้แทนลูกจ้างห้าคน เป็นกรรมการ โดยมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ เป็นกรรมการและเลขานุการ

การประเมินผลการปฏิบัติงาน และตัวชี้วัดด้านความปลอดภัย

การประเมินผลการปฏิบัติงาน และตัวชี้วัดด้านความปลอดภัย การประเมินผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน มีความสำคัญสำหรับหน่วยงานความปลอดภัยเพราะแสดงให้ทราบว่าการบริหารงานความปลอดภัยในการทำงานประสบความสำเร็จหรือไม่ และเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาปรับปรุงแผนงาน และการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

การประเมินผลการปฏิบัติงาน และตัวชี้วัดด้านความปลอดภัย วัตถุประสงค์ของการประเมินผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน 1. เพื่อประเมินความก้าวหน้าของงานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของหน่วยงาน 2. เพื่อประเมินผลงานรวมของหน่วยงานว่าบรรลุตามเป้าหมายของแผนงานมากน้อยเพียงใด 3. เพื่อนำผลการประเมินมาประกอบการพิจารณาวางแผนงานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ต่อไป

การประเมินผลการปฏิบัติงาน และตัวชี้วัดด้านความปลอดภัย วัตถุประสงค์ของการประเมินผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน 4. เพื่อนำผลการประเมินมาประกอบการพิจารณาเพื่อปรับปรุงแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการดำเนินงานนั้นๆ 5. เพื่อนำผลการประเมินมาใช้ในการบริหารงานความปลอดภัยต่อไป

การประเมินผลการปฏิบัติงาน และตัวชี้วัดด้านความปลอดภัย ประโยชน์ของการประเมินผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน การประเมินผลเป็นขั้นตอนการปฏิบัติงานที่มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งไม่ว่าจะเป็นงานใดๆ ซึ่งประโยชน์ของการประเมินผล มีดังนี้

การประเมินผลการปฏิบัติงาน และตัวชี้วัดด้านความปลอดภัย 1. การประเมินผลก่อให้เกิดการป้อนกลับ (Feedback) ของข้อมูลระหว่างผู้ ปฏิบัติและผู้บริหารงาน 2. การประเมินผลทำให้ทราบความก้าวหน้าของงาน 3. การประเมินผลทำให้ทราบถึงปัญหาที่เกี่ยวข้อง 4. การประเมินผลจะช่วยในการพิจารณาปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องของงาน 5. การประเมินผลเป็นสิ่งกระตุ้นให้มีการพัฒนางานมากขึ้น

การประเมินผลการปฏิบัติงาน และตัวชี้วัดด้านความปลอดภัย ข้อมูลที่ใช้ประกอบการประเมินผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน การประเมินผลด้านความปลอดภัยในการทำงาน จะดำเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรมและเป็นที่ยอมรับ หน่วยงานความปลอดภัย จำเป็นต้องมีการจัดเก็บข้อมูล ดังต่อไปนี้

การประเมินผลการปฏิบัติงาน และตัวชี้วัดด้านความปลอดภัย 1. ข้อมูลเกี่ยวกับการเกิดอุบัติเหตุ ได้แก่ จำนวนราย จำนวนวันที่หยุดงาน ลักษณะการบาดเจ็บ ส่วนของร่างกายที่บาดเจ็บ ต้นตอที่ทำให้บาดเจ็บ ชนิดของอุบัติเหตุ สภาวะที่เป็นอันตราย ตัวการที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ ส่วนของตัวการที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ การกระทำที่ไม่ปลอดภัย การสูญเสียวันทำงาน วัน เวลา หน่วยงานที่เกิดอุบัติเหตุ และข้อมูลจากการสอบสวนอุบัติเหตุ และโรคจากการทำงาน

การประเมินผลการปฏิบัติงาน และตัวชี้วัดด้านความปลอดภัย 2. ข้อมูลเกี่ยวกับการเจ็บป่วยและภาวะสุขภาพของพนักงาน ได้แก่ ข้อมูลการเจ็บป่วยทั้งหมด ข้อมูลการพบแพทย์ ข้อมูลการใช้ยา การลาป่วย ผลการตรวจสุขภาพ 3. ข้อมูลเกี่ยวกับการเกิดเหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุ (Near miss) และเหตุเดือดร้อนรำคาญ ได้แก่จำนวนครั้งที่เกิด สาเหตุที่เกิด

การประเมินผลการปฏิบัติงาน และตัวชี้วัดด้านความปลอดภัย 4. ข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจวัดสภาพแวดล้อมในการทำงาน เช่น ผลการตรวจระดับความดังของเสียง ความร้อน แสงสว่างในสถานที่ทำงาน ปริมาณความเข้มข้นของสารเคมีในบรรยากาศการทำงาน 5. ข้อมูลเกี่ยวกับค่าใช้จ่าย เช่น ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ค่าใช้จ่ายที่สูญเสียจากการเกิดอุบัติเหตุและโรคจากการทำงาน ค่าใช้จ่ายในการอบรมด้านความปลอดภัย ค่าใช้จ่ายในการป้องกันการประสบอันตรายต่าง ๆ

การประเมินผลการปฏิบัติงาน และตัวชี้วัดด้านความปลอดภัย 6. สถิติการประสบอันตรายจากการทำงาน เช่น อัตราการประสบอันตรายจากการทำงานต่อลูกจ้าง 1,000 คน อัตราความถี่การบาดเจ็บ (I.F.R) อัตราความรุนแรงของการบาดเจ็บ (I.S.R) ดัชนีความรุนแรงโดยเฉลี่ยของการบาดเจ็บ (A.S.I.) ดัชนีการบาดเจ็บพิการ (D.I.I.) 7. ข้อมูลผลการดำเนินการตามแผนงาน โครงการ กิจกรรม ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

หลักการสื่อสารทั่วไป

หลักการสื่อสารทั่วไป คำว่า การสื่อสาร ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Communication และรากศัพท์มาจากคำว่า Cummuis ในภาษาละติน ซึ่งหมายถึงความเหมือนกันหรือความร่วม (Common) และการแลกเปลี่ยน (Communice, to Share) ดังนั้นตามรากศัพท์แล้ว การสื่อสารจึงเป็นการสร้างความเหมือนกันหรือสร้างลักษณะที่ร่วมกันโดยการแลกเปลี่ยนข่าวสาร หรือแนวคิดระหว่างกัน

หลักการสื่อสารทั่วไป เนื่องจากการสื่อสารมีบทบาทที่สำคัญในชีวิตมนุษย์ และมีความสำคัญในศาสตร์ต่างๆ ทุกแขนง ทั้งมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ดังนั้นจึงมีนักวิชาการสาขาต่างๆ ให้คำนิยาม ความหมาย ของการสื่อสารไว้มากมายในมุมมองที่แตกต่างกันไปตามความสนใจ และวัตถุประสงค์ของนักวิชาการแต่ละกลุ่มดังตัวอย่างต่อไปนี้

หลักการสื่อสารทั่วไป โรเจอร์ และซูเมคเกอร์ (Regers & Shoemaker) ให้ความหมายว่า การสื่อสารเป็นกระบวนการถ่ายทอดจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร มูตัน และแมคโดนัลด์ (Mouton & Mcdonald) ให้ความหมายว่า การสื่อสารเป็นการกระทำร่วมกัน หรือการแลกเปลี่ยนกันด้านความคิด ความรู้สึก โดยการบอกเล่าสัญลักษณ์ผ่านสื่อ คาร์ลไอ โฮฟแลนด์ (Carl I. Hoveland) และคณะ ให้ความหมายว่า การสื่อสาร คือ กระบวนการที่บุคคลหนึ่ง (ผู้ส่งสาร) กระทำให้เกิดสิ่งเร้า (โดยปกติเป็นการพูด หรือการเขียน) เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมของบุคคลอื่นๆ (ผู้รับสาร)

หลักการสื่อสารทั่วไป ชาร์ลส์ คูลีย์ (Charles Clooley) ให้ความหมายว่า การสื่อสาร หมายถึง กลไกที่ทำให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ในการดำรงชีวิตอยู่และพัฒนาต่อไป หรืออีกนัยหนึ่งหมายถึงสัญลักษณ์ของจิตใจทั้งหมด รวมถึงวิถีทางที่จะถ่ายทอดและรักษาสัญลักษณ์นั้นๆ ไว้ด้วย

หลักการสื่อสารทั่วไป เจอร์เกน รอยช์ และเกรกอรี่ เบตสัน (Jurgen Ruesh & Gregory Bateson) ให้ความหมายว่า การสื่อสารไม่ได้หมายถึงการถ่ายทอดสารด้วยการพูด การเขียน และแสดงเจตนารมณ์เท่านั้น แต่การสื่อสารยังรวมไปถึงกระบวนการทั้งหลายที่มนุษย์มีอิทธิพลต่อกันด้วย ซึ่งคำนิยามนี้ยึดหลักที่ว่าการกระทำ และเหตุการณ์ทั้งหลายมีลักษณะเป็นการสื่อสาร หากมีผู้เข้าใจการกระทำและเหตุการณ์เหล่านั้น นั่นหมายคามว่า ความเข้าใจที่เกิดขึ้นได้เปลี่ยนแปลงข่าวสารที่คนๆ นั้นมีอยู่ และมีอิทธิพลต่อบุคคลผู้นั้น

หลักการสื่อสารทั่วไป พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ให้ความหมายว่า การสื่อสารเป็นวิธีการนำถ้อยคำ ข้อความ หรือหนังสือ เป็นต้น จากบุคคลหนึ่ง หรือสถานที่หนึ่ง ไปยังอีกบุคคลหนึ่ง หรือสถานที่หนึ่ง จากนิยามความหมายข้างต้นจะเห็นได้ว่า คำว่า “การสื่อสาร” มีความหมาย หรือนิยามที่หลากหลาย อย่างไรก็ตาม นิยามดังกล่าวได้สะท้อนให้เห็นมิติ (Dimension) หรือลักษณะของคำว่าการสื่อสารดังนี้

หลักการสื่อสารทั่วไป 1) การสื่อสารเป็นกระบวนการที่เป็นระบบ (Systematic Process) โดยกระบวนการทำงานของการสื่อสารจะประกอบด้วย องค์ประกอบต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์ (Interactive) และมีอิทธิพลซึ่งกันและกัน 2) การสื่อสารเป็นกระบวนการที่เป็นพลวัต (Dynamic Process) คือมีการเกิดขึ้น และเป็นไปอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไม่หยุดนิ่ง

หลักการสื่อสารทั่วไป 3) การสื่อสารจะใช้สัญลักษณ์ (Symbol) เป็นเครื่องมือ โดยสัญลักษณ์ในที่นี้หมายถึง สิ่งที่มนุษย์ สร้างขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนแสดงความหมาย (Meaning) หรือสะท้อนความรู้สึกนึกคิดที่มีต่อสิ่งต่างๆ เพื่อเชื่อมโยงตนเองกับผู้อื่นในสังคม สัญลักษณ์ที่ใช้อาจเป็นภาษาที่เป็นถ้อยคำที่เรียกว่าวัจนภาษา (Verbal Language) หรือภาษาที่ไม่ใช้ถ้อยคำที่เรียกว่าอวัจนภาษา (Non Verbal Language)

หลักการสื่อสารทั่วไป 4) การสื่อสาร เป็นการกระทำที่เกิดจากความตั้งใจ (Intent) และมีจุดมุ่งหมาย (Purposive) ในการก่อให้เกิดผลอย่างใดอย่างหนึ่ง จึงพอสรุปได้ว่า การสื่อสาร คือ กระบวนการส่ง หรือถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารต่าง โดยใช้สัญลักษณ์อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นเครื่องมือจากผู้ส่งสาร

การสื่อสารด้านความปลอดภัยในการทำงาน ในสถานประกอบกิจการ

การสื่อสารด้านความปลอดภัยในการทำงาน ในสถานประกอบกิจการ ความปลอดภัย (Safety) หมายถึง สภาวะที่เป็นอิสระหรือปราศจากภัยคุกคาม (Hazard) ไม่มีอันตราย (Danger) ไม่เกิดการบาดเจ็บ (Injury) และการสูญเสีย (Loss) รวมถึงไม่มีความเสี่ยงใดๆ (Risk) ดังนั้น การสื่อสารเพื่อความปลอดภัย จึงหมายถึง กระบวนการส่งหรือถ่ายทอดข้อมูล ข่าวสารเกี่ยวกับความปลอดภัยจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสารโดยผ่านช่องทางหรือสื่อต่างๆ เพื่อให้เกิดสภาวะที่เป็นอิสระหรือปราศจากภัยคุกคาม ไม่มีอันตราย ไม่เกิดการบาดเจ็บและการสูญเสียรวมถึงไม่มีความเสี่ยงใดๆ เกิดขึ้น

การสื่อสารด้านความปลอดภัยในการทำงาน ในสถานประกอบกิจการ ในการบริหารจัดการงานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานให้ประสบผลสำเร็จนั้นไม่อาจจะปฏิเสธกระบวนการหรือขั้นตอนของการสื่อสารไปได้ ในหน่วยนี้จะกล่าวถึงการสื่อสารเพื่อความปลอดภัย ซึ่งแบ่งเป็น 4 ตอน ในตอนแรกจะกล่าวถึงความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการสื่อสารเพื่อความปลอดภัยได้แก่ ความหมาย วัตถุประสงค์ ความสำคัญ องค์ประกอบ ประเภท หลักการและอุปสรรคของการสื่อสารเพื่อความปลอดภัย สำหรับตอนที่สองจะกล่าวถึงเครื่องมือในการสื่อสารเพื่อความปลอดภัย

การสื่อสารด้านความปลอดภัยในการทำงาน ในสถานประกอบกิจการ โดยในที่นี้จะเน้นเครื่องมือที่เฉพาะเจาะจงในงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ได้แก่ เอกสารข้อมูลความปลอดภัย สีและเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัยโดยทั่วไปในสถานที่ทำงาน เครื่องหมายเพื่อความปลอดภัยด้านสารอันตราย และเครื่องมืออื่นๆ ที่สำคัญในการสื่อสารเพื่อความปลอดภัย ในตอนที่สามจะกล่าวถึงการจำแนกประเภทและการติดฉลากสารเคมีที่เป็นระบบเดียวกันทั่วโลก (Globally Harmonized System of Classification and Labeling of Chemicals : GHS)

การสื่อสารด้านความปลอดภัยในการทำงาน ในสถานประกอบกิจการ ซึ่งครอบคลุมการจำแนกประเภทสารเคมี การติดฉลาก และการจัดทำเอกสารข้อมูลความปลอดภัย สำหรับตอนสุดท้ายจะกล่าวถึงโปรแกรมการสื่อสารเพื่อความปลอดภัยเกี่ยวกับสารเคมีอันตรายของสำนักงานการบริหารความปลอดภัยและสุขภาพในการทำงาน (OSHA) ประเทศสหรัฐอเมริกา

การสื่อสารด้านความปลอดภัยในการทำงาน ในสถานประกอบกิจการ วัตถุประสงค์ของการสื่อสารเพื่อความปลอดภัย การสื่อสารเพื่อความปลอดภัยมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ ดังนี้ 1) เพื่อแจ้งให้ทราบ หรือบอกเล่าเรื่องราวข่าวสารด้านความปลอดภัยฯ เช่น เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานรายงานสถิติอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นแก่ผู้บริหารสถานประกอบกิจการ 2) เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านความปลอดภัยฯ เช่น การประชุมประจำเดือนของคณะกรรมการความปลอดภัยฯ ประจำสถานประกอบกิจการ

การสื่อสารด้านความปลอดภัยในการทำงาน ในสถานประกอบกิจการ 3) เพื่อให้การศึกษาหรือให้ความรู้ทางด้านความปลอดภัยฯ เช่น การจัดการฝึกอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ในเรื่องต่างๆ 4) เพื่อโน้มน้าวจิตใจให้เกิดการปฏิบัติ หรือมีพฤติกรรมที่ปลอดภัย เช่น การจัดโครงการรณรงค์ป้องกันอุบัติเหตุในสถานประกอบกิจการ

การสื่อสารด้านความปลอดภัยในการทำงาน ในสถานประกอบกิจการ ความสำคัญของการสื่อสารเพื่อความปลอดภัย ในการดำเนินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานให้ประสบผลสำเร็จนั้นจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของทุกคนในองค์กร รวมทั้งต้องอาศัยการผสมผสานระหว่างสาขาวิชาการต่างๆ หลากหลายสาขาวิชาการ (Multidiscipline)

การสื่อสารด้านความปลอดภัยในการทำงาน ในสถานประกอบกิจการ จากเหตุผลข้างต้น จะเห็นว่าในการดำเนินงานด้านความปลอดภัยฯ ให้ประสบผลสำเร็จ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยการสื่อสารเป็นองค์ประกอบสำคัญในทุกขั้นตอนของการดำเนินการ หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า การสื่อสารได้เป็นองค์ประกอบสำคัญที่สอดแทรกอยู่ในทุกๆ ขั้นตอนของการดำเนินงาน อย่างไรก็ตาม สามารถสรุปความสำคัญของการสื่อสารเพื่อความปลอดภัยได้ดังนี้

การสื่อสารด้านความปลอดภัยในการทำงาน ในสถานประกอบกิจการ 1) การสื่อสารเพื่อความปลอดภัยเป็นองค์ประกอบในการดำเนินงานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน กระบวนการสื่อสารเป็นองค์ประกอบสำคัญในการบูรณาการความรู้จากหลายสาขาวิชา และเป็นกลไกหลักที่จะก่อให้เกิดความตระหนักและความรับผิดชอบร่วมกันในการดำเนินงานให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนมีความปลอดภัยในการทำงานอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างเช่น

การสื่อสารด้านความปลอดภัยในการทำงาน ในสถานประกอบกิจการ - การจัดให้มีการบูรณาการความรู้จากสาขาวิชาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการกำหนดให้มีมาตรการป้องกัน และควบคุมอันตรายที่มีประสิทธิภาพ ด้วยการจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการความปลอดภัยฯ ที่มีประสิทธิภาพ โดยการกำหนดระเบียบวาระการประชุมให้สอดคล้องกับแผนงาน โครงการ และกิจกรรมความปลอดภัย

การสื่อสารด้านความปลอดภัยในการทำงาน ในสถานประกอบกิจการ - การให้ความรู้ทางด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความตระหนักและทราบถึงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นในขณะปฏิบัติงาน พร้อมทั้งแนวทางในการป้องกันและแก้ไขที่ถูกต้อง โดยการจัดให้มีการปฐมนิเทศเมื่อแรกเริ่มเข้าทำงาน และการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง

การสื่อสารด้านความปลอดภัยในการทำงาน ในสถานประกอบกิจการ - การกระตุ้นเตือน และจูงใจให้ผู้ปฏิบัติงานได้ปฏิบัติงานตามคู่มือ กฎระเบียบ และข้อบังคับว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงาน และมีพฤติกรรมที่ปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอ เพื่อที่จะลดความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายในขณะปฏิบัติงาน ด้วยมาตรการต่างๆ เช่น การติดป้าย สัญลักษณ์ การจัดทำคู่มือปฏิบัติงาน การจัดกิจกรรมรณรงค์ เป็นต้น

การสื่อสารด้านความปลอดภัยในการทำงาน ในสถานประกอบกิจการ - การเฝ้าระวัง ตรวจสอบ การประเมินผลการปฏิบัติงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งจัดให้มีการป้องกันแก้ไขที่ถูกต้องและทันการณ์โดยจัดให้มีการจัดทำรายงานในรูปแบบต่างๆ เช่น การตรวจสอบเครื่องจักร การตรวจสภาพแวดล้อมในการทำงาน การสอบสวนอุบัติเหตุ เป็นต้น

การสื่อสารด้านความปลอดภัยในการทำงาน ในสถานประกอบกิจการ 2) การสื่อสารเพื่อความปลอดภัยเป็นข้อกำหนดตามกฎหมาย และอนุกรมมาตรฐานต่างๆ ตามกฎหมายและอนุกรมมาตรฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานความปลอดภัย และอาชีวอนามัยได้กำหนดให้สถานประกอบกิจการต้องดำเนินการเกี่ยวกับการสื่อสารเพื่อความปลอดภัยในรูปแบบต่างๆ เช่น ตามกฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 ได้กำหนดให้มีการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสื่อสาร ดังนี้ เช่น

การสื่อสารด้านความปลอดภัยในการทำงาน ในสถานประกอบกิจการ - สถานประกอบกิจการต้องมีนโยบายทางด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเป็นลายลักษณ์อักษร และมีการประกาศแจ้งให้พนักงาน หรือลูกจ้างทราบ

การสื่อสารด้านความปลอดภัยในการทำงาน ในสถานประกอบกิจการ - สถานประกอบกิจการต้องมีการจัดตั้งคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน และต้องเผยแพร่และปิดประกาศรายชื่อและหน้าที่รับผิดชอบของคณะกรรมการฯโดยเปิดเผยเพื่อให้ลูกจ้างทราบ และต้องมีการประชุมคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง

การสื่อสารด้านความปลอดภัยในการทำงาน ในสถานประกอบกิจการ - นายจ้างต้องจัดให้มีข้อบังคับ และคู่มือว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงาน และต้องมีการจัดอบรมแก่พนักงานใหม่ - การให้พนักงานไปทำงาน ณ สถานที่ซึ่งอาจเสี่ยงต่อการเกิดอันตราย นายจ้างต้องแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับอันตรายจากการทำงานในสถานที่นั้นพร้อมวิธีการป้องกันอันตรายให้พนักงานทราบก่อนปฏิบัติงาน

การสื่อสารด้านความปลอดภัยในการทำงาน ในสถานประกอบกิจการ - เมื่อเกิดอุบัติเหตุ จำเป็นต้องมีการสอบสวนอุบัติเหตุเพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุเพื่อทำการป้องกันแก้ไข และมีการรายงานการประสบอันตรายตามลำดับชั้น - สถานประกอบกิจการ ต้องวางแผนการดำเนินงานสำหรับขจัดความเสี่ยงของสถานประกอบกิจการและดูแลให้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น

การสื่อสารด้านความปลอดภัยในการทำงาน ในสถานประกอบกิจการ นอกจากนี้ ตาม มอก. 18001-2542 มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย: ข้อกำหนด ได้กำหนดเรื่องการสื่อสารไว้ด้วย กล่าวคือ องค์กรต้องจัดทำ และปฏิบัติตามเอกสารขั้นตอนการดำเนินงานในการสื่อสารด้านความปลอดภัย และอาชีวอนามัย โดยให้องค์กรรับฟังข้อคิดเห็นและคำแนะนำ การประชาสัมพันธ์ การรับ และการตอบสนองข้อมูลข่าวสารระหว่างบุคคล ผู้เชี่ยวชาญ และหน่วยงานระดับต่างๆ ทั้งภายในและภายนอก

การสื่อสารด้านความปลอดภัยในการทำงาน ในสถานประกอบกิจการ 3) การสื่อสารเพื่อความปลอดภัยเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การสื่อสารเพื่อความปลอดภัยจะช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลทั้งภายในและภายนอกองค์กร ดังนี้ 3.1. ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลภายในองค์กร การสื่อสารมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ของบุคคลทุกระดับในองค์กร กล่าวคือ กระบวนการสื่อสารจะผสมผสานและสอดแทรกไปในทุกขั้นตอนการดำเนินงานทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการ เช่น การฝึกอบรม การประชุม การติดประกาศ การจัดนิทรรศการและรูปแบบที่ไม่เป็นทางการ เช่น

การสื่อสารด้านความปลอดภัยในการทำงาน ในสถานประกอบกิจการ การพูดคุยซักถามในระหว่างปฏิบัติงาน ในขณะเดินสำรวจงาน ในขณะเล่นกีฬา หรือในขณะรับประทานอาหาร เป็นต้น ซึ่งในกระบวนการสื่อสารดังกล่าวนั้น จะช่วยให้บุคลากรทุกระดับในองค์กรไม่ว่าจะเป็นระหว่างผู้ปฏิบัติงานด้วยกันเอง ระหว่างผู้ปฏิบัติงานและเจ้าหน้าที่ ความปลอดภัยในการทำงาน หรือระหว่างผู้ปฏิบัติงานและผู้บริหาร ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนข่าวสาร แสดงความคิดเห็น ปรับความเข้าใจ และลดข้อขัดแย้งที่จะเป็นอุปสรรคต่อการทำงานได้

การสื่อสารด้านความปลอดภัยในการทำงาน ในสถานประกอบกิจการ นอกจากนั้น ยังส่งผลให้เกิดการถ่ายทอดความรู้ในการปฏิบัติงานที่ถูกต้อง และปลอดภัย รวมทั้งการประสานงาน การตรวจสอบประเมินผล การป้องกัน และแก้ไขข้อบกพร่องในการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง

การสื่อสารด้านความปลอดภัยในการทำงาน ในสถานประกอบกิจการ 3.2 ความสัมพันธ์กับบุคคลภายนอกองค์กร กระบวนการสื่อสารไม่ได้มีบทบาทจำกัดเฉพาะการเสริมสร้างความสัมพันธ์ภายในองค์กรเท่านั้น ยังส่งผลต่อความสัมพันธ์กับบุคคลภายนอกองค์กรด้วย กล่าวคือ กระบวนการสื่อสารที่สอดแทรกไปในทุกขั้นตอนการดำเนินงานด้านความปลอดภัย และอาชีวอนามัย และปรากฏออกมาในหลายๆ รูปแบบ อาทิ ป้ายสัญลักษณ์ ป้ายแสดงสถิติอุบัติเหตุ รายงานประจำปี สื่อประชาสัมพันธ์ ตลอดจนรางวัล

การสื่อสารด้านความปลอดภัยในการทำงาน ในสถานประกอบกิจการ และใบรับรองที่ได้จากการประกวด และการตรวจประเมินตามข้อกำหนดและอนุกรมมาตรฐานต่างๆ เป็นต้น จะส่งผลให้ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมสถานประกอบกิจการ ลูกค้า ผู้บริโภค ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนบุคคลอื่นๆ ภายนอกองค์กรได้รับทราบผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัย และอาชีวอนามัย ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือ และภาพลักษณ์ที่ดีของสถานประกอบกิจการที่แสดงถึงความรับผิดชอบต่อสินค้า ความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน และสังคม

การสื่อสารด้านความปลอดภัยในการทำงาน ในสถานประกอบกิจการ โดยสรุปจะเห็นได้ว่า การสื่อสารเพื่อความปลอดภัยมีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยเป็นองค์ประกอบที่สอดแทรกอยู่ในทุกขั้นตอนของการดำเนินงานด้านความปลอดภัย และอาชีวอนามัย หากการสื่อสารไม่มีประสิทธิภาพแล้วจะส่งผลให้การดำเนินงานความปลอดภัย และอาชีวอนามัยไม่มีประสิทธิภาพตามไปด้วย นอกจากนี้ การสื่อสารเพื่อความปลอดภัย ยังเป็นส่วนหนึ่งของข้อกำหนดตามกฎหมายและอนุกรมมาตรฐานต่างๆ รวมทั้งมีส่วนในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลทั้งภายในและภายนอกองค์กร

การสื่อสารด้านความปลอดภัยในการทำงาน ในสถานประกอบกิจการ องค์ประกอบและประเภทของการสื่อสารเพื่อความปลอดภัย การสื่อสารเป็นกระบวนการที่เป็นระบบ ซึ่งการสื่อสารเพื่อความปลอดภัยก็เช่นเดียวกัน ในการศึกษากระบวนการและองค์ประกอบของการสื่อสาร ได้มีนักวิชาการเสนอแบบจำลองกระบวนการการสื่อสาร (Model) ไว้หลายรูปแบบ ในที่นี้จะขอกล่าวถึงแบบจำลองกระบวนการสื่อสารในรูปแบบพื้นฐานที่ง่ายๆ ดังภาพ

การสื่อสารด้านความปลอดภัยในการทำงาน ในสถานประกอบกิจการ สื่อ (Media/Chanel) สาร (Message) ผู้ส่งสาร (Sender/Source) ผู้รับสาร (Receiver) ภาพ แบบจำลองกระบวนการสื่อสาร

การสื่อสารด้านความปลอดภัยในการทำงาน ในสถานประกอบกิจการ จากแบบจำลองจะเห็นได้ว่า องค์ประกอบขั้นพื้นฐานที่สำคัญของการสื่อสาร มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ผู้ส่งสาร (Sender/Source) 2) สาร (Message) 3) สื่อ หรือช่องทางการสื่อสาร (Media/Channel) 4) ผู้รับสาร (Receiver)

การสื่อสารด้านความปลอดภัยในการทำงาน ในสถานประกอบกิจการ 1. ผู้ส่งสาร คือ ผู้เริ่มต้นทำการสื่อสารกับบุคคลอื่น ผู้ส่งสารอาจเป็นบุคคลเพียงคนเดียว หรืออาจมีมากกว่าหนึ่งคนโดยอาจเป็นกลุ่มหรือเป็นองค์กรก็ได้ สำหรับการสื่อสารเพื่อความปลอดภัย ผู้ส่งสารอาจเป็นบุคคลเพียงคนเดียว เช่น เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานในระดับต่างๆ หรืออาจเป็นกลุ่ม เช่น

การสื่อสารด้านความปลอดภัยในการทำงาน ในสถานประกอบกิจการ คณะกรรมการความปลอดภัยฯ หน่วยงานความปลอดภัย บทบาทของผู้ส่งสารคือ เลือกสรรความหมายที่มาจากความคิดเพื่อใช้สำหรับการสื่อสาร และทำการแปรสารให้อยู่ในรูปของสัญลักษณ์ที่มนุษย์คิดสร้างขึ้นแทนความคิด เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน (วัจนภาษา) หรืออากัปกิริยาท่าทางต่างๆ (อวัจนภาษา) จากนั้นเลือกสรรวิธีการหรือรูปแบบของการสื่อสาร เช่น อาจใช้การโทรศัพท์หรือจดหมาย เป็นต้น และดำเนินการส่งออกไป

การสื่อสารด้านความปลอดภัยในการทำงาน ในสถานประกอบกิจการ 2. สาร คือ สิ่งที่ผู้ส่งสารใช้สื่อความหมายให้แก่ผู้รับสาร หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า สาร คือ เนื้อหาสาระ เรื่องราว ข่าวสารที่ผู้ส่งสารต้องการส่งออกไปสู่ผู้รับสารโดยทั่วไปประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วนคือ 1) รหัสของสาร (Message Codes) คือ ภาษา (Language) หรือสัญลักษณ์ (Symbolic) หรือสัญญาณ (Signal) ที่มนุษย์คิดขึ้นเพื่อใช้แสดงออกแทนความคิดที่ต้องการถ่ายทอดให้ผู้อื่นทราบ

การสื่อสารด้านความปลอดภัยในการทำงาน ในสถานประกอบกิจการ 2) เนื้อหาของสาร (Message Content) คือ เรื่องราว ข้อมูล ข้อเท็จจริง ความรู้ ความคิดเห็น ความรู้สึก ความต้องการ ที่ต้องการถ่ายทอดแลกเปลี่ยน 3) การจัดสาร (Message Treatment) คือ การตัดสินใจของผู้ส่งสารในการกระทำต่อเนื้อหาและรหัสของสารให้อยู่ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งก่อนที่จะส่งออกไป เช่น การเรียบเรียง ลำดับความ

การสื่อสารด้านความปลอดภัยในการทำงาน ในสถานประกอบกิจการ สำหรับการสื่อสารเพื่อความปลอดภัย สารในที่นี้โดยทั่วไป หมายถึง เนื้อหาสาระ เรื่องราว ข้อมูล ข้อเท็จจริง ความรู้ ความคิดเห็น ความรู้สึกทางด้านความปลอดภัย และอาชีวอนามัย

การสื่อสารด้านความปลอดภัยในการทำงาน ในสถานประกอบกิจการ 3. สื่อ หรือช่องทางการสื่อสาร คือ เครื่องมือ หรือช่องทางที่ผู้ส่งสารจะใช้เพื่อให้สารนั้นไปถึงผู้รับสาร การแบ่งสื่อสารโดยใช้ลักษณะของสื่อเป็นเกณฑ์ แบ่งได้ 5 ประเภท คือ 1) สื่อธรรมชาติ ได้แก่ บรรยากาศที่อยู่รอบตัวมนุษย์ตามธรรมชาติ ทำหน้าที่เป็นการติดต่อของ การสื่อสารระหว่างบุคคลแบบเผชิญหน้า เช่น สภาพแวดล้อมในการทำงาน

การสื่อสารด้านความปลอดภัยในการทำงาน ในสถานประกอบกิจการ 2) สื่อมนุษย์ ได้แก่ บุคคลที่ทำหน้าที่เป็นสื่อนำสารไปสู่ผู้รับ เช่น คนนำสาร โฆษก ตัวแทน การเจรจาปัญหา เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน หัวหน้าหน่วยงานความปลอดภัย 3) สื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่ สื่อทุกชนิดที่อาศัยเทคนิคการพิมพ์ เช่น คู่มือ เอกสาร หนังสือ วารสาร นิตยสาร แผ่นพับ แผ่นปลิว โปสเตอร์

การสื่อสารด้านความปลอดภัยในการทำงาน ในสถานประกอบกิจการ 4) สื่ออิเลคทรอนิกส์ ได้แก่ สื่อที่พัฒนาขึ้นโดยใช้ระบบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นหลัก เช่น วิทยุ โทรทัศน์ โทรสาร คอมพิวเตอร์ แถบบันทึกเสียง แถบบันทึกภาพ 5) สื่อเฉพาะกิจ ได้แก่ สื่อที่ทำหน้าที่ได้ในวงจำกัดเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น ป้ายเตือน เฉพาะสถานที่ ป้ายโฆษณา รวมไปถึงการจัดกิจกรรมบางอย่าง เช่น นิทรรศการ/การประชุม สำหรับการสื่อสารเพื่อความปลอดภัย การใช้สื่อหรือช่องทางการสื่อสาร มักจะใช้สื่อที่ผสมผสานกัน

การสื่อสารด้านความปลอดภัยในการทำงาน ในสถานประกอบกิจการ 4. ผู้รับสาร คือ บุคคล หรือกลุ่มบุคคลที่สามารถรับทราบสารของผู้ส่งสารได้ ผู้รับสารเป็นจุดหมายปลายทางของข่าวสาร และเป็นบุคคลที่สำคัญในการพิจารณาว่าการสื่อสารนั้นประสบผลสำเร็จหรือไม่

การสื่อสารด้านความปลอดภัยในการทำงาน ในสถานประกอบกิจการ ในการสื่อสารเพื่อความปลอดภัย ผู้รับสารโดยทั่วไป คือ ตัวพนักงาน หรือตัวลูกจ้าง ผู้ทำงานในสถานประกอบกิจการ หากพนักงานทุกคนมีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักและปฏิบัติตนด้านความปลอดภัยได้ถูกต้อง รวมถึงให้ความร่วมมือในงานด้านความปลอดภัย และอาชีวอนามัยแล้ว การบาดเจ็บ เจ็บป่วยและสูญเสียจากการทำงานย่อมไม่เกิดขึ้น นั่นแสดงว่า การสื่อสารเพื่อความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการนั้นๆ ประสบผลสำเร็จ

การสื่อสารด้านความปลอดภัยในการทำงาน ในสถานประกอบกิจการ ประเภทของการสื่อสารเพื่อความปลอดภัย การสื่อสารเพื่อความปลอดภัย สามารถแบ่งได้เป็นหลายประเภทเช่นเดียวกันกับการสื่อสารโดยทั่วไปทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่นำมาใช้ในการแยกประเภท

การสื่อสารด้านความปลอดภัยในการทำงาน ในสถานประกอบกิจการ 1. ประเภทของการสื่อสารเพื่อความปลอดภัย จำแนกตามทิศทางของการสื่อสาร 1) การสื่อสารแบบทางเดียว (One Way Communication) เป็นกระบวนการสื่อสารที่ไม่เปิดโอกาสให้ผู้รับสารได้แสดงผลการตีความหมายของตนย้อนกลับไปยังผู้ส่งสารทันที ทำให้ไม่มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ตัวอย่างของการสื่อสารเพื่อความปลอดภัยแบบทางเดียว เช่น การติดประกาศนโยบาย หรือข้อบังคับทางด้านความปลอดภัย และอาชีวอนามัย แจ้งแก่พนักงาน การประกาศเสียงตามสาย เป็นต้น

การสื่อสารด้านความปลอดภัยในการทำงาน ในสถานประกอบกิจการ 2) การสื่อสารแบบสองทาง (Two Ways Communication) เป็นกระบวนการสื่อสารที่เปิดโอกาสให้ผู้รับสารได้แสดงผลการตีความหมายของตนย้อนกลับไปสู่ผู้ส่งสารได้ทันที ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ตัวอย่างของการสื่อสารเพื่อความปลอดภัยแบบสองทาง เช่น การประชุมวางแผนการดำเนินการลดความเสี่ยงของสถานประกอบกิจการ

การสื่อสารด้านความปลอดภัยในการทำงาน ในสถานประกอบกิจการ ในการสื่อสารเพื่อความปลอดภัย จำเป็นต้องเลือกใช้ประเภทของการสื่อสารให้เหมาะกับสถานการณ์ โดยการสื่อสารแบบทางเดียวจะรวดเร็ว และใช้เวลาน้อยกว่าการสื่อสารแบบสองทาง อย่างไรก็ตาม การสื่อสารแบบทางเดียวไม่มีการทบทวน และแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นซึ่งกันและกันทำให้ความถูกต้องของการรับข้อมูลข่าวสารอาจคลาดเคลื่อนได้ สำหรับการสื่อสารแบบสองทางควรใช้ในสถานการณ์ที่ต้องการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น ต้องการความร่วมมือจากหลายฝ่าย หรือเป็นเรื่องราวที่ใหม่ ยาก หรือซับซ้อน

การสื่อสารด้านความปลอดภัยในการทำงาน ในสถานประกอบกิจการ 2. ประเภทของการสื่อสารเพื่อความปลอดภัย จำแนกตามการใช้ภาษา 1) การสื่อสารโดยใช้ภาษา หรือวัจนภาษา (Verbal Communication) เป็นการสื่อสารโดยอาศัยถ้อยคำภาษา อาจจะอยู่ในรูปของภาษาพูด หรือภาษาเขียนก็ได้ ตัวอย่างของการสื่อสารเพื่อความปลอดภัยโดยใช้ภาษา เช่น

การสื่อสารด้านความปลอดภัยในการทำงาน ในสถานประกอบกิจการ การเขียนรายงานการประชุมคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน คู่มือว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงาน บันทึกการสอบสวนและวิเคราะห์อุบัติเหตุ รายงานการประสบอันตรายจากการทำงาน การนำเสนอรายงานสรุปการดำเนินงานความปลอดภัย อาชีวอนามัยแก่ผู้บริหาร การแนะนำ ฝึกสอน หรืออบรมการป้องกันอันตรายแก่พนักงาน เป็นต้น

การสื่อสารด้านความปลอดภัยในการทำงาน ในสถานประกอบกิจการ 2) การสื่อสารโดยไม่ใช้ภาษา หรืออวัจนภาษา (Non Verbal Communication) เป็นการสื่อสารที่ไม่ใช้ถ้อยคำภาษา แต่สื่อสารด้วยอากัปกิริยาท่าทาง หรือสัญลักษณ์ต่างๆ เช่น การแสดงสีหน้า การเคลื่อนไหวของร่างกาย ตัวอย่างของการสื่อสารเพื่อความปลอดภัยโดยไม่ใช้ภาษา

การสื่อสารด้านความปลอดภัยในการทำงาน ในสถานประกอบกิจการ เช่น การใช้สี และเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัย และการใช้สัญญาณมือต่างๆ เพื่อสื่อความหมายในงานความปลอดภัย ตัวอย่างเช่น ในการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่นมีการกำหนดให้ใช้สัญญาณมือในการสื่อสาร เช่น การงอข้อศอกขึ้นให้ได้ฉาก ใช้นิ้วชี้ ชี้ขึ้นแล้วหมุนเป็นวงกลม หมายถึง การให้สัญญาณมือให้ปั้นจั่นยกของขึ้นลงได้ เป็นต้น

การสื่อสารด้านความปลอดภัยในการทำงาน ในสถานประกอบกิจการ หลักการในการสื่อสารเพื่อความปลอดภัย ในการดำเนินการสื่อสารเพื่อความปลอดภัยให้มีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องยึดถือหลักการที่สำคัญ 7 ประการดังนี้

การสื่อสารด้านความปลอดภัยในการทำงาน ในสถานประกอบกิจการ 1) ความถูกต้องน่าเชื่อถือ การสื่อสารจะได้ผล เมื่อสารและผู้ส่งสารหรือแหล่งของสารมีความถูกต้องและน่าเชื่อถือ ดังนั้นในการสื่อสารเพื่อความปลอดภัย ผู้ส่งสารจะต้องตรวจสอบความถูกต้องและครบถ้วนของสารก่อนที่จะกระทำการสื่อสารออกไป เพราะหากสารผิดพลาดคลาดเคลื่อนหรือไม่สมบูรณ์เพียงพอแล้วอาจส่งผลกระทบให้เกิดอันตรายในการปฏิบัติงานได้ นอกจากนี้ยังอาจส่งผลต่อความน่าเชื่อถือในการสื่อสารครั้งต่อไป

การสื่อสารด้านความปลอดภัยในการทำงาน ในสถานประกอบกิจการ สำหรับความน่าเชื่อถือของผู้ส่งสาร หรือแหล่งของสารนั้น ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญต่อการสื่อสารเพื่อความปลอดภัยเช่นเดียวกัน ดังนั้น ตัวผู้สื่อสารต้องมีความรู้และประสบการณ์ในการทำงานด้านความปลอดภัยหรือมีความเชี่ยวชาญ รวมทั้งควรมีบุคลิกภาพเป็นที่ยอมรับ และน่าเชื่อถือจากผู้รับสาร

การสื่อสารด้านความปลอดภัยในการทำงาน ในสถานประกอบกิจการ 2) ความง่ายและชัดเจน การสื่อสารเพื่อความปลอดภัย ต้องเข้าใจง่ายและมีความชัดเจนไม่คลุมเครือ ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารด้วยการพูด การเขียนหรือการสื่อสารด้วยวิธีการใดๆ ผู้ส่งสารจะต้องคำนึงถึงความง่ายและชัดเจนของการสื่อสารเสมอ ซึ่งจะเป็นเช่นนั้นได้ ตัวผู้ส่งสารต้องมีความเข้าใจในเนื้อหาสาระของสารอย่างแท้จริง ต้องรู้จักเลือกใช้ภาษา หรือสัญลักษณ์ให้ตรงกับความหมาย และเหมาะสมกับผู้รับสาร

การสื่อสารด้านความปลอดภัยในการทำงาน ในสถานประกอบกิจการ 3) ความต่อเนื่องและสม่ำเสมอ การสื่อสารเพื่อความปลอดภัยมุ่งเน้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ถูกต้องเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน ดังนั้น จึงควรมีการย้ำเตือนความทรงจำของผู้รับสารอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ แต่ต้องระมัดระวังมิให้เกิดความซ้ำซากน่าเบื่อหน่าย

การสื่อสารด้านความปลอดภัยในการทำงาน ในสถานประกอบกิจการ 4) ความเหมาะสมของเนื้อหาสาระ การกำหนดเนื้อหาสาระที่จะใช้สื่อสารเป็นส่วนสำคัญต่อผลของการสื่อสารเพื่อความปลอดภัย เพราะหากเนื้อหาสาระมีความหมายต่อผู้รับ กล่าวคือ เป็นเนื้อหาสาระที่มีคุณค่ามีประโยชน์ มีความครบถ้วน และเพียงพอที่จะสนับสนุนความเข้าใจของผู้รับสารแล้ว ย่อมส่งผลต่อความสำเร็จของการสื่อสาร

การสื่อสารด้านความปลอดภัยในการทำงาน ในสถานประกอบกิจการ 5) ความเหมาะสมกับกาลเทศะ การสื่อสารเพื่อความปลอดภัยให้ประสบความสำเร็จต้องคำนึงถึง ความสอดคล้องกลมกลืนกับวัฒนธรรมความปลอดภัยที่เป็นอยู่ขององค์กรนั้นๆด้วย เพราะฉะนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องศึกษา และทำความเข้าใจกับวัฒนธรรมความปลอดภัยที่เป็นอยู่ขององค์กรให้ถ่องแท้ นอกจากนี้การสื่อสารเพื่อความปลอดภัยควรคำนึงถึงสถานการณ์สิ่งแวดล้อม บุคคล เวลา และสถานที่ที่จะทำการสื่อสารด้วย

การสื่อสารด้านความปลอดภัยในการทำงาน ในสถานประกอบกิจการ 6) ความเหมาะสมของการเลือกใช้สื่อหรือช่องทางการสื่อสาร เนื่องจากสื่อหรือช่องทางในการสื่อสารเพื่อความปลอดภัยมีอยู่หลายประเภท ดังนั้น ผู้ส่งสารจำเป็นต้องพิจารณาการเลือกใช้สื่อให้เหมาะสมในแต่ละสถานการณ์ โดยพิจารณาให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ เนื้อหาสาระตัวผู้รับสาร รวมทั้งสิ่งแวดล้อมในการสื่อสาร

การสื่อสารด้านความปลอดภัยในการทำงาน ในสถานประกอบกิจการ 7) ความสามารถของผู้รับสาร ผู้ส่งสารต้องคำนึงถึงขีดความสามารถของผู้รับสาร ทั้งด้านความรู้และการรับรู้ทั้งทางร่างกาย จิตใจและพฤติกรรมของผู้รับสาร โดยอาจพิจารณาจากคุณลักษณะทางประชากร เช่น เพศ อายุ การศึกษา ลักษณะทางจิตวิทยา (แรงจูงใจ ความต้องการ ฯลฯ) และลักษณะทางเศรษฐกิจ สังคม (สถานภาพ รายได้ การนับถือศาสนาฯลฯ) ทั้งนี้เพื่อจะเตรียมการสื่อสารให้เหมาะสมกับผู้รับสาร

การสื่อสารด้านความปลอดภัยในการทำงาน ในสถานประกอบกิจการ โดยสรุป การสื่อสารเพื่อความปลอดภัยให้มีประสิทธิภาพควรมีลักษณะดังนี้ ถูกต้องน่าเชื่อถือ ง่าย และชัดเจน มีความต่อเนื่องและสม่ำเสมอ เนื้อหาสาระ กาลเทศะ และสื่อเหมาะสม ต้องคำนึงความสามารถของผู้รับสาร

การสื่อสารด้านความปลอดภัยในการทำงาน ในสถานประกอบกิจการ อุปสรรคในการสื่อสารเพื่อความปลอดภัย อุปสรรคในการสื่อสาร คือ สิ่งสอดแทรก หรือสิ่งแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ในทุกขั้นตอนของกระบวนการสื่อสาร ทำให้การสื่อสารขาดประสิทธิภาพ อุปสรรคที่สำคัญที่มีผลต่อการสื่อสารเพื่อความปลอดภัยมีดังนี้

การสื่อสารด้านความปลอดภัยในการทำงาน ในสถานประกอบกิจการ 1) อุปสรรคที่เกิดจากผู้ส่งสาร สาเหตุที่สำคัญของอุปสรรคนี้เกิดขึ้นที่ตัวผู้ส่งสาร โดยผู้ส่งสารขาดความรู้ ความเข้าใจ ขาดข้อมูลทางด้านความปลอดภัย และอาชีวอนามัย และ/หรือมีบุคลิกภาพท่าทางไม่น่าเชื่อถือ ขาดความมั่นใจในตนเอง และ/หรือมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อตนเอง ต่อสารและผู้รับสาร ขาดทักษะในการสื่อสาร

การสื่อสารด้านความปลอดภัยในการทำงาน ในสถานประกอบกิจการ ตัวอย่างเช่น หัวหน้างานเข้าไปตักเตือนพนักงานให้ใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล แต่พนักงานไม่เชื่อ เพราะพนักงานไม่เคยเห็นหัวหน้างานใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลในขณะปฏิบัติงานเลย เป็นต้น

การสื่อสารด้านความปลอดภัยในการทำงาน ในสถานประกอบกิจการ 2) อุปสรรคที่เกิดจากตัวสาร สาเหตุสำคัญของอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากตัวสาร คือสารไม่ถูกต้อง ไม่ชัดเจน ไม่สมบูรณ์ ไม่สำคัญและไม่จำเป็น ไม่น่าสนใจ ขาดการเรียบเรียงสาร มีปริมาณมากเกินไป ไม่กระชับ รวมทั้งการใช้ภาษา หรือสัญลักษณ์ที่ไม่สามารถสื่อความหมายที่ถูกต้องกับผู้รับสารได้

การสื่อสารด้านความปลอดภัยในการทำงาน ในสถานประกอบกิจการ ตัวอย่างเช่น พนักงานกะกลางวันพบว่าการทำความสะอาดเครื่องก่อนทำการผลิตจะส่งผลให้ชิ้นงานออกมาสมบูรณ์มากขึ้น และด้วยความปรารถนาดีที่จะแนะนำพนักงานกะกลางคืนให้สามารถผลิตชิ้นงานที่สมบูรณ์ได้มากขึ้นเช่นเดียวกัน จึงเขียนบันทึกให้พนักงานกะกลางคืนที่คุมเครื่องจักรเดียวกัน “ถ้าต้องการให้งานออกมาดี ควรจะทำความสะอาดเครื่องจักรบ้าง” เมื่อพนักงานกะกลางคืนได้รับบันทึกดังกล่าว กลับแปลความหมายผิดเป็นว่า “การไม่ทำความสะอาดเครื่องจักรของตน ทำให้งานกะกลางวันลำบาก” เป็นต้น

การสื่อสารด้านความปลอดภัยในการทำงาน ในสถานประกอบกิจการ 3) อุปสรรคที่เกิดจากสื่อหรือช่องทางสื่อสาร สาเหตุที่สำคัญของอุปสรรคนี้เกิดขึ้นที่ตัวสื่อคือ การเลือกใช้สื่อไม่เหมาะสม หรือส่งสารผิดช่องทาง

การสื่อสารด้านความปลอดภัยในการทำงาน ในสถานประกอบกิจการ ตัวอย่างเช่น ในการเรียกชื่อเคมีภัณฑ์ที่ใช้ในกระบวนการผลิต ซึ่งมีจำนวนมาก และมีชื่อภาษาอังกฤษที่เรียกยาก อาจใช้รหัสตัวเลขแทนชื่อสารเคมี เช่น สารเคมีชนิดหนึ่งมีรหัส A 2276 หากสื่อสารด้วยคำพูดเพียงอย่างเดียว ผู้ฟังอาจฟังผิดเป็น J 2376 ทำให้เกิดความผิดพลาด และความเสียหายได้ เป็นต้น ดังนั้น ควรจะต้องมีเอกสารกำกับทุกครั้งที่จะต้องสื่อสารในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีดังกล่าว และควรจะมีระบบการสอบทวนกลับ หรือเป็นการติดต่อแบบสองทางเพื่อป้องกันความผิดพลาด

การสื่อสารด้านความปลอดภัยในการทำงาน ในสถานประกอบกิจการ 4) อุปสรรคที่เกิดจากผู้รับสาร สาเหตุที่สำคัญของอุปสรรคนี้เกิดขึ้นที่ตัวผู้รับสาร โดยผู้รับสารขาดความสามารถในการรับสาร เลือกรับสารเฉพาะที่ตนต้องการ มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อตนเอง สาร และผู้ส่งสาร ผู้รับสารไม่พร้อม และไม่สนใจที่จะรับสาร ตัวอย่างเช่น เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ ได้สอนให้หัวหน้างานคำนวณหาค่า IFR (Injury Frequency Rate) จากสถิติการเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งสามารถคำนวณได้ง่ายๆ จากสูตร แต่หัวหน้างานปฏิเสธที่จะทำ โดยอ้างว่าการคำนวณยุ่งยาก เสียเวลา ไม่เห็นมีประโยชน์อะไร เป็นต้น

การสื่อสารด้านความปลอดภัยในการทำงาน ในสถานประกอบกิจการ 5) อุปสรรคที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมของการสื่อสาร สาเหตุที่สำคัญของอุปสรรคนี้เกิดขึ้นที่สิ่งแวดล้อมของการสื่อสาร โดยสิ่งแวดล้อมของการสื่อสารขาดความเหมาะสม ทั้งในแง่ เวลา สถานที่ และบุคคล ตัวอย่างเช่น การสื่อสารระหว่างหัวหน้างานกับพนักงานในสถานที่ทำงานที่มีระดับเสียงดังรบกวนมากจะทำให้ผู้ปฏิบัติงานหรือผู้รับสารไม่ได้ยิน หรือไม่มีสมาธิที่จะรับฟังหัวหน้างานหรือผู้ส่งสารได้ เป็นต้น

หลักมนุษยสัมพันธ์ และจิตวิทยาอุตสาหกรรม

หลักมนุษยสัมพันธ์ และจิตวิทยาอุตสาหกรรม ในอุตสาหกรรมทั่วไปนั้น ผู้บังคับบัญชา หรือผู้ควบคุมงาน นับว่ามีความสำคัญต่อความสำเร็จของสถานประกอบกิจการเป็นอย่างยิ่ง ภารกิจของผู้ควบคุมงาน คือ การควบคุมการผลิตสินค้า และการบริการ หากไม่สามารถทำให้พนักงานทำงานอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ก็จะกระทบกระเทือนไปถึงการผลิตด้วย เพื่อทำให้งานที่รับผิดชอบดำเนินไปด้วยดี ผู้ควบคุมงานซึ่งเป็นผู้มีอิทธิพลโดยตรงต่อการทำงานของพนักงานจะต้องรู้และเข้าใจถึงความต้องการของพนักงานว่าเป็นอย่างไร

หลักมนุษยสัมพันธ์ และจิตวิทยาอุตสาหกรรม อะไรบ้างที่จะสนองตอบความต้องการของพนักงาน สิ่งใดที่จะจูงใจพนักงานให้เกิดความมั่นใจ และมีความรู้สึกอยากอุทิศตนให้กับงานอย่างเต็มที่ ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า ภารกิจหลักที่แท้จริงของผู้ควบคุมงานคือการจูงใจให้พนักงานได้ร่วมแรงร่วมใจกันทำงานให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นไปโดยปลอดภัย “มนุษยสัมพันธ์” จึงเป็นวิธีการที่จะก่อให้เกิดการจูงใจในระหว่างพนักงานให้ทำงานได้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กล่าวมาแล้วนั่นเอง

หลักมนุษยสัมพันธ์ และจิตวิทยาอุตสาหกรรม การจูงใจได้มุ่งเน้นในเรื่องการปรับสภาพแวดล้อมในการทำงานให้สอดคล้องกับลักษณะความต้องการของพนักงาน เนื่องจากเป็นการง่ายกว่าการจะปรับตัวพนักงานให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของการทำงานที่เป็นอยู่ เช่น การติดตั้งเครื่องป้องกันภัยที่เครื่องจักรจะดีกว่าการบอกให้พนักงานระมัดระวังเครื่องจักรเวลาทำงาน

หลักมนุษยสัมพันธ์ และจิตวิทยาอุตสาหกรรม 1. หลักการจูงใจ โดยทั่วไป คนเราจะถูกจูงใจให้กระทำในสิ่งที่สนองความต้องการได้เสมอ เมื่อพิจารณาถึงความต้องการของคนเราแล้ว อาจแบ่งแยกความต้องการเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 2 ประเภท ดังนี้

หลักมนุษยสัมพันธ์ และจิตวิทยาอุตสาหกรรม ความต้องการทางร่างกาย ความต้องการประเภทนี้เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ ซึ่งติดตัวมาแต่กำเนิด เช่น ความต้องการในเรื่องอาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น ความต้องการเหล่านี้ได้รับการตอบสนองด้วยการ ให้เงินเดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทนอื่นๆในอัตราที่พอเพียง

หลักมนุษยสัมพันธ์ และจิตวิทยาอุตสาหกรรม ความต้องการทางสังคม ความต้องการประเภทนี้เกิดขึ้นใหม่ และจะมีมากขึ้นเมื่อความต้องการประเภทแรกได้รับการสนองตอบแล้ว ความต้องการทางสังคมที่สำคัญ ๆ ได้แก่ ก. ความต้องการที่จะรู้ว่างานที่ตนทำนั้นมีคุณค่า ข. ความต้องการที่จะได้รับการยกย่องชื่นชม ค. ความต้องการความมั่นคงในการทำงาน ง. ความต้องการให้สังคมยอมรับเข้าเป็นพวกพ้อง

หลักมนุษยสัมพันธ์ และจิตวิทยาอุตสาหกรรม ความต้องการทางสังคมถือกันว่าเป็นปัจจัยจูงใจสำคัญในการทำงานของพนักงาน พนักงานจะไม่สามารถทำงานให้ได้ดีที่สุด หากสภาพแวดล้อมในการทำงานไม่อาจสนองความต้องการทางสังคมของผู้นั้นได้

หลักมนุษยสัมพันธ์ และจิตวิทยาอุตสาหกรรม รายละเอียดความต้องการทางสังคม มีดังนี้ ก. ความต้องการที่จะรู้ว่างามที่ตนทำนั้นมีคุณค่า คนเราย่อมปรารถนาที่จะทราบว่างานที่ตนเองทำอยู่นั้นมีคุณค่า มีความสำคัญต่อสถาบัน หรือหน่วยงานที่ตนเองทำงานอยู่ พนักงานทุกคนมีความรู้สึกอยากจะทราบว่างานของตนนั้นมีความสัมพันธ์สอดคล้องกับระบบงาน หรือกระบวนการผลิตของสถานประกอบกิจการอย่างไร ทั้งระบบได้อย่างไร

หลักมนุษยสัมพันธ์ และจิตวิทยาอุตสาหกรรม ต้องการทราบว่างานที่รับผิดชอบอยู่นั้นเป็นส่วนใดของกระแสงานทั้งหมดของกิจการ โดยทั่วไปแล้ว งานที่พนักงานแต่ละคนที่อยู่จะเป็นเพียงส่วนย่อยของกระบวนงานทั้งระบบ จึงเป็นการยากที่จะมองให้เห็นว่างานที่ทำอยู่นั้นอยู่ตรงไหน สอดคล้องกับงานทั้งระบบได้อย่างไร

หลักมนุษยสัมพันธ์ และจิตวิทยาอุตสาหกรรม คนเรามีความรู้สึกต้องการที่จะบรรลุความสำเร็จโดยการเรียนรู้งาน แต่หลังจากที่ได้ทำงานอย่างเดียวกันมาเป็นเวลาหลายปี ความต้องการจะเบาบางลงเนื่องจากมีความรู้สึกว่างาน หรือความพยายามนั้นได้ถูกกลืนหายไปรวมกับชิ้นงานอื่นที่คล้ายคลึงกันซึ่งผลิตโดยพนักงานอื่น ๆ ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องมีการเสริมสร้างความรู้สึกต้องการที่จะบรรลุความสำเร็จโดยการเรียนรู้งาน อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

หลักมนุษยสัมพันธ์ และจิตวิทยาอุตสาหกรรม ข. ความต้องการที่จะได้รับการยกย่องชื่นชม ทุกคนต้องการที่จะให้งานที่ทำไปนั้นเป็นที่พอใจ หรือต้องการได้รับคำยกย่องชมเชย การแสดงความไม่พอใจผลงาน จึงเปรียบเสมือนเป็นการไม่พอใจผู้ทำงานนั้นด้วย ผู้ควบคุมงานควรยกย่องชมเชยผลงานของพนักงานเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม โดยต้องทำด้วยความระมัดระวัง การชมเชยพนักงานในแต่ละครั้งจะมีความหมายต่อพนักงานผู้นั้นมาก

หลักมนุษยสัมพันธ์ และจิตวิทยาอุตสาหกรรม ถ้ากระทำไปด้วยความจริงใจ ดังนั้น ผู้ควบคุมงานจึงต้องยกย่องชมเชยเฉพาะผลงานที่ดีจริง ๆเท่านั้น การชื่นชอบกับชิ้นงานที่พนักงานเองรู้ดีว่าไม่ได้คุณภาพนั้น เป็นการลดคุณค่าการชมเชยของผู้ควบคุมงานในครั้งต่อๆไปอีกด้วย

หลักมนุษยสัมพันธ์ และจิตวิทยาอุตสาหกรรม ค. ความต้องการความมั่นคงในการทำงาน คนเราต้องการทำงานที่มีความมั่นคง ความมั่นคงในการทำงานนั้นมิได้หมายถึงงานที่มีรายได้ดีเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมไปถึงการได้ทราบถึงอนาคตของงานว่าจะเป็นอย่างไร อะไรจะเกิดขึ้น หรือคาดว่าจะเกิดขึ้นภายในกิจการนั้น ๆ รวมทั้งการได้ทราบต่อไปว่าเขาจะต้องทำอะไรบ้าง และจะต้องทำอย่างไร งานจึงจะดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และปลอดภัย

หลักมนุษยสัมพันธ์ และจิตวิทยาอุตสาหกรรม ปลอดภัย เพราะฉะนั้น ผู้ควบคุมงานจะต้องรับผิดชอบในการที่จะจัดให้พนักงานของตนได้รับการฝึกอบรมในการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมาย เรื่องนี้นับว่ามีความสำคัญยิ่งเพราะจะทำให้พนักงานปฏิบัติงานด้วยความปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ ทำให้พนักงานรู้สึกมีความมั่นคง ไม่ว่าผู้ควบคุมงานจะฝึกอบรมพนักงานด้วยตนเอง หรือมอบหมายให้ผู้อื่นทำก็ตาม

หลักมนุษยสัมพันธ์ และจิตวิทยาอุตสาหกรรม ง. ความต้องการให้สังคมยอมรับเข้าเป็นพวกพ้อง คนเรามีความต้องการที่จะให้สังคมยอมรับเข้าเป็นพวกพ้อง ดังนั้น ผู้ควบคุมงานที่ดีจะต้องพยายามอย่างดีที่สุดในการสร้างและรักษาไว้ซึ่งความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียว และความเป็นมิตรกันของพนักงานภายใน กลุ่มเดียวกัน ผู้ควบคุมงานควรหาโอกาสที่จะพูดคุยกับพนักงานภายในกลุ่มของตน และพยายามกระตุ้นเร่งเร้าความสนใจให้เกิดขึ้นภายในกลุ่ม

หลักมนุษยสัมพันธ์ และจิตวิทยาอุตสาหกรรม 2. หัวหน้าหน่วยงานในฐานะผู้นำ งานสำคัญของหัวหน้าหน่วยงาน คือจะต้องเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะคนไทยที่เคยชินกับการทำอะไรตามใจตัวเองนั้น ความเป็นผู้นำเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งในการที่จะให้ได้มาซึ่งความร่วมมือ ร่วมใจกันของพนักงานในหน่วยงาน

หลักมนุษยสัมพันธ์ และจิตวิทยาอุตสาหกรรม จากงานศึกษาวิจัยที่ผ่านมา พอจะสรุปได้ว่า ผู้นำควรมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (1) จะต้องเป็นผู้ที่ตระหนักดีว่า การแสดงให้พนักงานเห็นว่าความคิดหลาย ๆ ด้านที่เขานำมาใช้นั้นมาจากพนักงานในกลุ่มเป็นสิ่งที่สำคัญ (2) ผู้นำจะต้องยอมรับและปฏิบัติต่อพนักงานทั้งในฐานะที่เป็นบุคคล และที่เป็นสมาชิกของกลุ่ม ผู้นำจะต้องมีความรู้สึกไว และมีความเข้าใจความต้องการของพนักงาน

หลักมนุษยสัมพันธ์ และจิตวิทยาอุตสาหกรรม (3) ผู้นำจะต้องมีความจริงใจ ในกรณีที่ผู้นำได้รับการแต่งตั้งจากนายจ้าง หรือบริษัท ควรจะปฏิบัติตนให้เหมือนกับผู้นำที่มาจากการเลือกตั้ง กล่าวคือจะต้องเป็นผู้นำกลุ่มที่แท้จริง และเป็นไปโดยไม่ได้เสแสร้ง (4) ผู้นำที่ฉลาดจะต้องพอใจที่จะรู้ว่าตัวเองถูกต้อง แต่ไม่ต้องการที่จะพิสูจน์ว่าผู้อื่นผิด

หลักมนุษยสัมพันธ์ และจิตวิทยาอุตสาหกรรม (5) ผู้นำจะต้องปฏิบัติตนเสมือนเป็นกันชนระหว่างพนักงานกับฝ่ายจัดการในระดับสูงขึ้นไป มีความรับผิดชอบในสิ่งที่จะต้องทำ ถึงแม้ว่าไม่อยากทำ หรือเลือกไม่ได้ก็ตาม (6) ผู้นำจะต้องทิ้งปัญหาส่วนตัวของตนออกไป โดยต้องแสดงออกถึงความสัมพันธ์ที่มีต่อกลุ่มและต่อพนักงาน โดยมีอารมณ์เยือกเย็นเมื่อมีปัญหาในกลุ่มเกิดขึ้น การที่ผู้นำมีอารมณ์ไม่แน่นอนจะทำให้เกิดความตึงเครียดขึ้นในกลุ่มได้

หลักมนุษยสัมพันธ์ และจิตวิทยาอุตสาหกรรม (7) ผู้นำจะต้องเป็นคนยุติธรรม และตรงไปตรงมา ไม่มีความลำเอียง ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง หรือเห็นแก่ใครคนใดคนหนึ่ง จะต้องรักษาความเป็นผู้นำอยู่เสมอ (8) ผู้นำจะต้องปฏิบัติในสิ่งที่ได้พูดไป และจะต้องปฏิบัติให้เป็นตัวอย่างด้วย คำพูดที่ว่า “อย่าทำในสิ่งที่ฉันทำ แต่จงทำในสิ่งที่ฉันพูด” นั้น ไม่ใช่จิตวิทยาอุตสาหกรรมที่พึงปฏิบัติต่อพนักงาน

หลักมนุษยสัมพันธ์ และจิตวิทยาอุตสาหกรรม (9) ผู้นำจะต้องมีเวลาเสมอเมื่อมีพนักงานมาขอความช่วยเหลือ ไม่ควรทำให้พนักงานเห็นว่า ผู้นำไม่มีเวลาที่จะช่วย หรือรับฟังปัญหาที่พนักงานประสบอยู่ เมื่อไม่สามารถปลีกตัวมารับฟังปัญหาได้จริง ๆ ก็จะต้องบอกให้พนักงานทราบถึงความจำเป็น และบอกว่าจะรีบกลับมารับฟังโดยเร็วที่สุด (10) ผู้นำจะต้องได้รับการยอมรับว่าเป็นสมาชิกคนหนึ่งของกลุ่ม และการยอมรับดังกล่าวจะต้องไม่ทำลายฐานะความเป็นผู้นำไปได้

หลักมนุษยสัมพันธ์ และจิตวิทยาอุตสาหกรรม (11) ผู้นำจะต้องทำให้บรรยากาศในการทำงานเป็นไปอย่างดีที่สุด การเป็นผู้นำที่ดีคือเป็นผู้สามารถให้ความเมตตากรุณาอย่างดีที่สุด สามารถสนองความต้องการของพนักงานได้

หลักมนุษยสัมพันธ์ และจิตวิทยาอุตสาหกรรม 3. การตระเตรียมพนักงานเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงงาน เมื่อรูปแบบงานของพนักงานเปลี่ยนไป งานก็จะเป็นของใหม่สำหรับพนักงาน จึงต้องมีการปรับปรุงตนเองให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของงานอยู่เสมอ ถ้าจะมีการเปลี่ยนแปลงในงานที่ทำ พนักงานจำเป็นจะต้องได้รับการบอกกล่าวล่วงหน้า หากการเปลี่ยนแปลงกระทำไปโดยไม่มีการอธิบายชี้แจงแล้ว พนักงานจะกังวล และข้องใจในการเปลี่ยนแปลง โดยปกติแล้วทุกคนจะรับผิดชอบหน้าที่การงาน และจะป้องกันตัวเองถ้ามีการติเตียนว่างานนั้นบกพร่อง

หลักมนุษยสัมพันธ์ และจิตวิทยาอุตสาหกรรม 4. พนักงานที่มีปัญหาพิเศษ พนักงานทั่วไปจะมีความสามารถในการทำงานของตนได้อย่างดี เข้าใจว่าต้องทำงานตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ และตนเองต้องการที่จะทำเช่นนั้น จากการคัดเลือกเข้าทำงานจะพบว่า พนักงานส่วนใหญ่ต้องการความมั่นคง การยอมรับ และให้กลุ่มยอมรับเข้าเป็นพวกพ้อง

หลักมนุษยสัมพันธ์ และจิตวิทยาอุตสาหกรรม หัวหน้าหน่วยงาน หรือผู้ควบคุมงานจะต้องรู้วิธีการฝึกอบรม และจูงใจพนักงานเหล่านี้ให้เข้าใจ และสามารถแยกแยะเรื่องส่วนตัวกับเรื่องงานออกจากกันได้ ซึ่งจะทำให้สามารถทำงานของตนได้เป็นอย่างดี เพื่อช่วยให้พนักงานสามารถทำงานได้ดีขึ้น หัวหน้าหน่วยงาน หรือผู้ควบคุมงานจะต้องมีความสัมพันธ์ส่วนตัวเป็นอย่างดีกับพนักงาน และจะต้องรู้ปัญหาส่วนตัวของพนักงานให้มาก เพื่อที่จะแนะนำพนักงานได้ แต่ไม่ควรเข้าไปจัดการปัญหาส่วนตัวแทนพนักงาน เพราะไม่ใช่ความรับผิดชอบของหัวหน้าหน่วยงาน หรือผู้ควบคุมงาน และบางครั้งอาจนำมาซึ่งผลเสียหายมากกว่า

หลักมนุษยสัมพันธ์ และจิตวิทยาอุตสาหกรรม (1) ปัญหาชั่วคราว ในการบรรจุพนักงานให้เหมาะสมกับงาน จะต้องแน่ใจว่าพนักงานผู้นั้นรู้งาน และมีความสามารถเรียนรู้ได้ (2) การพูดจากันจะบรรเทาอารมณ์ที่รุนแรง หัวหน้าหน่วยงาน หรือผู้ควบคุมงานสามารถบรรเทาสถานการณ์จากอารมณ์รุนแรงของพนักงานได้ หัวหน้าหน่วยงาน หรือผู้ควบคุมงานย่อมจะประเมินอารมณ์ของพนักงานแต่ละคนได้เป็นอย่างดี และสามารถกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดเพื่อลดภาวะทางอารมณ์นั้น

หลักมนุษยสัมพันธ์ และจิตวิทยาอุตสาหกรรม (3) พนักงานที่ได้รับอุบัติเหตุบ่อย บุคคลที่มีลักษณะทางจิตใจที่จะก่อให้เกิดอุบัติเหตุกับตัวเอง และผู้อื่นได้ง่ายจะประสบอุบัติเหตุมากกว่าคนอื่น ที่เป็นเช่นนี้อาจเป็นเพราะว่าบุคคลนั้นไม่ได้รับการฝึกหัดงานที่ถูกต้อง หรือต้องการแสดงออกถึงความกล้าหาญ หรือต้องการที่จะได้รับคำชมเชย หรือสภาพทางร่างกายไม่เหมาะสมกับงาน

หลักมนุษยสัมพันธ์ และจิตวิทยาอุตสาหกรรม 5. จิตวิทยาในการทำงาน (1) ต้องเข้ากับผู้บังคับบัญชาได้ หมายถึง การตอบสนองบางสิ่งบางอย่างให้กับผู้บังคับบัญชาได้เป็นที่น่าพอใจ โดยเฉพาะเรื่องของงานที่ได้รับมอบหมาย (2) ต้องเข้ากับผู้ใต้บังคับบัญชาได้ หมายถึง การตอบสนองบางสิ่งบางอย่างให้กับลูกน้อง เช่น การดูแลเอาใจใส่ลูกน้องอย่างมีชีวิตจิตใจ ให้กำลังใจเมื่อเขามีผลงานดี เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น และมอบหมายงานให้ตรงกับความสามารถ

หลักมนุษยสัมพันธ์ และจิตวิทยาอุตสาหกรรม (3) ต้องเข้ากับเพื่อนร่วมงานได้ หมายถึง การให้ความเคารพนับถือยกย่องในคุณวุฒิ วัยวุฒิ ประสบการณ์ของเพื่อน และให้ความช่วยเหลือหรือร่วมมือตามสมควร แม้จะปฏิเสธก็ปฏิบัติด้วยความสุภาพ นุ่มนวล (4) ต้องเข้ากับบุคคลภายนอกได้ หมายถึง การปฏิบัติต่อทุกคนโดยสุจริต ยุติธรรม มีความสุภาพอ่อนโยน ยิ้มง่าย เข้ากับบุคคลภายนอกได้อย่างถูกต้อง ดังนั้น ต้องมีจิตวิทยาในการสร้างมนุษยสัมพันธ์ และควรได้รับการแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้นตลอดเวลา ทางด้านบริการสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือเราต้องระลึกเสมอว่า เราคือผู้ให้บริการ

หลักมนุษยสัมพันธ์ และจิตวิทยาอุตสาหกรรม 6. จิตวิทยาในการเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์ - สำรวจตัวเอง - ยกย่องผู้อื่น - เป็นกันเอง - แนบเนียน นุ่มนวล และหนักแน่น - เป็นผู้ฟังที่ดี - รู้จักกาลเทศะ จังหวะที่เหมาะที่ควร - มีศิลปะในการพูด - ปรารถนาดีทั้งการพูด และการกระทำ - เห็นใจผู้อื่น - พยายามศึกษาจิตใจของผู้ที่เราเกี่ยวข้อง - มีความจริงใจ - รู้จักธรรมชาติความต้องการของมนุษย์ - มีความเป็นมิตร

หลักมนุษยสัมพันธ์ และจิตวิทยาอุตสาหกรรม 7. องค์ประกอบสำคัญในการทำงาน มีอยู่ 8 ประการคือ (1) ความปลอดภัย บุคคลจะรู้สึกปลอดภัยเมื่อได้ทำงานที่มั่นคง เป็นงานต่อเนื่องระยะยาว มีระบบอาวุโสในการทำงาน มีความรู้สึกว่าองค์กรมองเห็นคุณค่าของตน มีโอกาสที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ จากองค์กร (2) ค่าจ้าง หรือเงินเดือน มีการกำหนด และการจ่ายค่าจ้าง และเงินเดือนอย่างเหมาะสม ยุติธรรมมีกฎเกณฑ์ในการประเมินผลงาน มีหลักเกณฑ์ในการขึ้นค่าจ้างเงินเดือน

หลักมนุษยสัมพันธ์ และจิตวิทยาอุตสาหกรรม (3) สภาพการทำงาน สถานที่ทำงานต้องสะอาด มีระเบียบ ปลอดภัย มีสิ่งต่าง ๆ ที่น่าสนใจ มีอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เหมาะสมและพร้อม มีเครื่องมือเครื่องจักรเหมาะสม อุณหภูมิเหมาะสม การถ่ายเทอากาศสะดวกไม่อับชื้น แสงสว่างเพียงพอ มีโรงอาหาร มีการจัดรถรับส่ง มีการดูแลรักษาพยาบาล ฯลฯ (4) สิ่งแวดล้อมทางสังคมในการทำงาน มีเพื่อนร่วมงานที่มีระดับการศึกษาใกล้เคียงกัน สามารถร่วมกันทำงานเป็นคณะเดียวกันได้ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงานเป็นแบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน

หลักมนุษยสัมพันธ์ และจิตวิทยาอุตสาหกรรม (5) การติดต่อสื่อสาร บุคคลจะพอใจถ้าได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาสิ่งใหม่ ๆ ภายในองค์กร ทราบว่าองค์กรขณะนี้กำลังทำอะไร อย่างไร ใครมีอำนาจ ใครมีหน้าที่อะไรในองค์กร ทุกคนต้องการรู้เกี่ยวกับรายงานประจำปีว่าองค์กรได้ทำอะไรไปบ้าง มีความก้าวหน้าอย่างไร (6) องค์กรและการบริหาร ทัศนคติขององค์กรที่มีต่อพนักงาน ควรที่จะทำให้พนักงานภูมิใจในผลผลิตขององค์กร โครงสร้างขององค์กร ชื่อเสียง และความสัมพันธ์ขององค์กรที่มีต่อชุมชน แผนระยะยาวขององค์กรทำให้สมาชิกสามารถมองเห็นอนาคตของตน

หลักมนุษยสัมพันธ์ และจิตวิทยาอุตสาหกรรม (7) ค่านิยมในการทำงาน บุคคลจะมีความพึงพอใจถ้างานทำให้มีชื่อเสียง มีสถานภาพ มีศักดิ์ศรี มีความสำคัญ เป็นที่ยอมรับในสังคม งานที่ทำมีโอกาสแสดงความสามารถให้ปรากฏแก่สายตาคนอื่น งานที่ทำเหมาะสมกับที่ได้รับการศึกษา และฝึกอบรมมา (8) มีโอกาสที่จะก้าวหน้า บุคคลจะมีความพอใจเมื่อมีการพิจารณาความดีความชอบ มีการให้เลื่อนตำแหน่งหน้าที่การงานเมื่อถึงโอกาสอันควร มั่นใจที่จะฝากอนาคตของตนไว้กับองค์กรได้

การฝึกอบรมพนักงานด้านความปลอดภัย 1. ความหมาย และความสำคัญของการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงาน การฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงาน (Safety Training) หมายถึง กระบวนการจัดการเรียนรู้หรือกิจกรรมเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานอย่างเป็นระบบ ทั้งนี้เพื่อให้พนักงาน หรือบุคลากรในองค์กรเกิดการเรียนรู้ หรือเพิ่มพูนความรู้ (Knowledge) สร้างเสริมทักษะ (Skill) และทัศนคติ (Attitude) ที่ถูกต้องและเหมาะสมอันจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน รวมทั้งสามารถดูแลรักษาสุขภาพของตัวเองให้ปลอดภัยจากการทำงานได้

การฝึกอบรมพนักงานด้านความปลอดภัย ในการดำเนินงานความปลอดภัย และอาชีวอนามัยให้ประสบความสำเร็จนั้น การฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานถือได้ว่าเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้เนื่องจากเหตุผลสำคัญดังต่อไปนี้ 1.1 ทรัพยากรบุคคล หรือบุคลากรเป็นสิ่งที่มีคุณค่าสำหรับทุกองค์กร ดังนั้น การป้องกันไม่ให้เกิดการสูญเสียของบุคลากร ไม่ว่าจะเป็นการได้รับการบาดเจ็บ สูญเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ หรือการเกิดความเจ็บป่วยจากโรคจากการทำงานกับบุคลากรจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ

การฝึกอบรมพนักงานด้านความปลอดภัย 1.2 ปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย เนื่องจากการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานมีความสำคัญมากดังกล่าวมาแล้วข้างต้น ดังนั้นในกฎหมายทางด้านความปลอดภัยหลายๆ ฉบับจึงกำหนดให้มีการฝึกอบรมมาเกี่ยวข้องด้วยเสมอ ดังนั้นในการดำเนินงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยให้ถูกต้องตามกฎหมาย จึงไม่อาจปฏิเสธในการดำเนินการเกี่ยวกับการฝึกอบรมด้านความปลอดภัยในการทำงานได้

การฝึกอบรมพนักงานด้านความปลอดภัย 2. ความจำเป็นในการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงาน จากความหมายและความสำคัญของการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงาน จะเห็นได้ว่า วัตถุประสงค์หลักของการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงาน คือ เพื่อป้องกันไม่ให้พนักงานได้รับการบาดเจ็บ สูญเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ หรือเกิดความเจ็บป่วยจากโรคจากการทำงานเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตามในการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานยังมีความจำเป็นในประเด็นอื่นๆ ดังนี้

การฝึกอบรมพนักงานด้านความปลอดภัย 2.1 ลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มประสิทธิภาพของงาน เมื่อพนักงานได้รับการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานที่มีประสิทธิภาพแล้ว พนักงานย่อมมีความรู้ ทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับการทำงาน อันจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรรมให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน อุบัติเหตุจากการทำงานย่อมลดลง 2.2 สร้างขวัญกำลังใจแก่พนักงาน และลดอัตราการลาออกของพนักงาน การฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานจะส่งผลให้พนักงานมีความมั่นใจ และพึงพอใจในการปฏิบัติงานที่ตนเองได้รับมอบหมาย

การฝึกอบรมพนักงานด้านความปลอดภัย 3. ความต้องการการฝึกอบรม (Training Needs) ความต้องการการฝึกอบรม หรือความจำเป็นในการฝึกอบรมนั้น หมายถึง การปฏิบัติงานของพนักงาน ณ ปัจจุบันนั้นมีข้อขัดข้อง หรือมีปัญหาต่างๆ เกิดขึ้น ทำให้เป็นอุปสรรคไม่สามารถปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ จึงจำเป็นต้องแก้ไขด้วยการให้ความรู้ ปรับเปลี่ยนทัศนคติใหม่ ทำให้เกิดการตระหนัก เห็นคุณค่าของความปลอดภัย สิ่งที่เป็นสัญญาณตัวบ่งชี้สำคัญว่า ณ ปัจจุบัน สถานประกอบกิจการ มีความจำเป็นต้องทำการฝึกอบรม ที่สำคัญคือ

การฝึกอบรมพนักงานด้านความปลอดภัย 3.1 มีการบาดเจ็บ หรือเจ็บป่วยจากการทำงาน 3.2 งานทำไม่เสร็จตามกำหนด 3.3 ผลิตภัณฑ์ไม่ได้มาตรฐานคุณภาพ 3.4 เครื่องจักรและอุปกรณ์การผลิตเสียบ่อย 3.5 การปฏิบัติงานของพนักงานล่าช้า มีอัตราการลาออกจากงานสูงฯลฯ

การฝึกอบรมพนักงานด้านความปลอดภัย การวิเคราะห์หาความจำเป็นการฝึกอบรม 1) การสังเกต (Observation) 2) การสัมภาษณ์ (Interviewing) 3) ใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) 4) การสำรวจ (Survey) 5) การทดสอบ (Testing) 6) การศึกษาจากเอกสาร (Secondary Data)

การฝึกอบรมพนักงานด้านความปลอดภัย โดยสรุปจะเห็นได้ว่า การฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานมีความสำคัญ มีประโยชน์ และมีความจำเป็นอย่างมากต่อทุกสถานประกอบกิจการ ซึ่งบางคนอาจมีคำถามว่าแล้วเมื่อไรจึงจำเป็นต้องมีการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงาน โดยทั่วไปแล้วการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานควรทำเมื่อมีเหตุการณ์ดังต่อไปนี้

การฝึกอบรมพนักงานด้านความปลอดภัย 1) มีการรับบุคลากร หรือพนักงานเข้ามาปฏิบัติงานใหม่ 2) พนักงานขาดทักษะในการปฏิบัติงานอย่างปลอดภัย 3) พนักงานมีการเปลี่ยนโยกย้าย หรือได้รับมอบหมายงานใหม่ 4) มีการปรับปรุงกฎระเบียบ เทคนิควิธีการทำงาน 5) มีการขยายกิจการ หรือมีการเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิต 6) ต้องการอบรมฟื้นฟูความรู้เดิม หรือเพิ่มเติมความรู้ใหม่ให้กับ พนักงานเดิม

การฝึกอบรมพนักงานด้านความปลอดภัย 4. ประเภทของการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงาน การแบ่งประเภทของการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงาน สามารถแบ่งออกได้หลายรูปแบบตามเกณฑ์ที่ใช้จัดแบ่ง ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

การฝึกอบรมพนักงานด้านความปลอดภัย 4.1. แบ่งตามชนิดของแหล่งการฝึกอบรม คือ พิจารณาตามสถานที่ที่จัดอบรม 1) การจัดฝึกอบรมโดยองค์กรหรือสถานประกอบกิจการเอง (In- House Training) เป็นการจัดการอบรมด้านความปลอดภัยโดยหน่วยงานที่รับผิดชอบงานความปลอดภัย 2) การส่งพนักงานไปฝึกอบรมกับหน่วยงานอื่นภายนอกสถานประกอบกิจการ(Outside Training) ในลักษณะนี้คือ มีหน่วยงานภายนอกจัดการฝึกอบรม แล้วบริษัทส่งพนักงานเข้าร่วมการฝึกอบรม

การฝึกอบรมพนักงานด้านความปลอดภัย 4.2. แบ่งตามช่วงระยะเวลาของการทำงาน คือ เป็นการอบรมที่ขึ้นกับลักษณะของการทำงานว่าขณะกำลังปฏิบัติงานอยู่ หรือหยุดพักการปฏิบัติงานชั่วคราวเพื่อเข้ารับการฝึกอบรมแบ่งได้เป็นดังนี้

การฝึกอบรมพนักงานด้านความปลอดภัย 1) การฝึกอบรมในงาน (On-the-Job Training) การฝึกอบรมในลักษณะนี้ก็คือ ให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้ฝึกอบรมลงมือปฏิบัติงานจริงตามที่รับมอบหมายให้ปฏิบัติ โดยมีผู้ให้การอบรมเป็นพี่เลี้ยงคอยดูแลแนะนำอย่างใกล้ชิด 2) การฝึกอบรมนอกงาน (Off-the-Job Training) บริษัทต้องอนุมัติให้พนักงานหยุดงานเพื่อเข้ารับการฝึกอบรมดังกล่าวตามระยะเวลาของการฝึกอบรมนั้น เพื่อนำความรู้ความสามารถ และทักษะมาใช้ปฏิบัติงานในงานของตนเองต่อไป

การฝึกอบรมพนักงานด้านความปลอดภัย 4.3. แบ่งตามระดับชั้นของพนักงาน คือ ระดับการปฏิบัติหน้าที่การทำงาน ความรับผิดชอบของพนักงานที่เข้ารับการฝึกอบรม โดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็นระดับต่างๆ ดังนี้ 1) ระดับผู้บริหารชั้นสูง (Executive Training 2) ระดับผู้จัดการ (Managerial Training 3) ระดับหัวหน้างาน (Supervisory Training) 4) ระดับพนักงาน (Employee Training)

การฝึกอบรมพนักงานด้านความปลอดภัย 5. รูปแบบการฝึกอบรม 1) การบรรยาย (Lecture) 2) การอภิปรายหมู่ (Panel Discussion) 3) การระดมสมอง (Brain Storming) 4) ทัศนศึกษา (Field Trip)

การฝึกอบรมพนักงานด้านความปลอดภัย 6. เทคนิควิธีการฝึกอบรมด้านความปลอดภัยในการทำงาน 1) การสาธิต (Demonstration) 2) การอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop Training) 3) สถานการณ์จำลอง (Simulation) 4) บทบาทสมมติ (Role Playing)

การฝึกอบรมพนักงานด้านความปลอดภัย 7. การวางแผนจัดการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงาน การจัดการฝึกอบรมด้านความปลอดภัยเป็นระบบการจัดการด้วยประเภทหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนที่สำคัญดังนี้ 1) ปัจจัยนำเข้า (Input) ได้แก่ พนักงานในระดับต่างๆ ของสถานประกอบกิจการที่ต้องการฝึกอบรม 2) ปัจจัยของกระบวนการ (Process) ได้แก่ เทคนิควิธีการฝึกอบรมทุกวิธีที่นำมาใช้เพื่อให้พนักงานเกิดการเรียนรู้

การฝึกอบรมพนักงานด้านความปลอดภัย 3) ผลลัพธ์ (Output) คือสิ่งที่คาดหวังที่จะเกิดขึ้นจากการใช้ปัจจัยกระบวนการ คือการฝึกอบรมทำให้พนักงานมีความรู้ทัศนคติที่ถูกต้อง และเกิดการปฏิบัติงานที่ปลอดภัยต่อไป 4) การป้อนกลับ (Feed Back) เป็นการประเมินผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นว่าบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้มากน้อยเพียงใด นั่นคือ ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานด้วยความปลอดภัยมาก-น้อยแค่ไหน

การฝึกอบรมพนักงานด้านความปลอดภัย ทั้งนี้เพื่อจะได้นำผลการประเมิน หรือการป้อนกลับนี้ไปทำการปรับปรุงแก้ไขในส่วนของปัจจัยนำเข้าและกระบวนการต่อไป ดังนั้นในการวางแผนจัดการฝึกอบรมด้านความปลอดภัยจึงประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ คือการวิเคราะห์ความต้องการในการฝึกอบรม(Training needs) การกำหนดวัตถุประสงค์ การออกแบบโครงการฝึกอบรม การดำเนินการฝึกอบรม และการประเมินผลการฝึกอบรม