ระบบฐานข้อมูล (Database System) บทที่ 5 ระบบฐานข้อมูล (Database System) อ.พิณรัตน์ นุชโพธิ์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
การรวบรวมและการจัดระเบียบข้อมูลในสมัยแรก โดยปกติ การจัดการข้อมูลด้วยระบบคอมพิวเตอร์ จะมีหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage Device) เช่น เทปแม่เหล็ก จานแม่เหล็ก และดิสก์ ทำหน้าที่เก็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งเราสามารถนำข้อมูลมาจัดเรียงเข้าด้วยกันได้หลายวิธีตามคุณสมบัติของอุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูล วิธีการประเมินผลข้อมูล และลักษณะการดำเนินการแฟ้มข้อมูล ซึ่งจะส่งผลให้เข้าถึงข้อมูลและการนำข้อมูลออกมาใช้ที่แตกต่างกัน โดยแบ่งการจัดแฟ้มข้อมูลออกเป็น 2 แบบดังนี้
การจัดแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับ (Sequential File Organization) เป็นวิธีการจัดเก็บและรวบรวมระเบียน (Record) ของข้อมูลตามลำดับก่อนหลัง โดยจัดเรียงจากน้อยไปมากหรือจากมากไปน้อย โดยผู้ใช้จะต้องเรียกข้อมูลตามลำดับที่จัดไว้ เหมาะกับงานที่มีระยะเวลาในการประมวลผลค่อนข้างแน่นอน และต้องใช้ข้อมูลปริมาณมากในการประมวลผล
การจัดแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับ (Sequential File Organization) ข้อดี ช่วยให้งานออกแบบแฟ้มข้อมูลง่าย เนื่องจากการจัดข้อมูลจะต้องดำเนินงานตามขั้นตอนโดยเรียงลำดับก่อนหลัง สะดวกต่อการออกแบบและประหยัดค่าใช้จ่ายสำหรับการประมวลผลข้อมูลในปริมาณมาก เนื่องจากระบบข้อมูลจะดำเนินงานครั้งเดียวอย่างต่อเนื่อง ประหยัดค่าใช้จ่ายด้านอุปกรณ์ การจัดแฟ้มข้อมูลเรียงลำดับจะใช้เทปแม่เหล็กเป็นอุปกรณ์จัดเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งใช้เทคโนโลยีที่ไม่ซ้ำซ้อนและจะมีราคาสูงกว่า โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับอุปกรณ์อื่น
การจัดแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับ (Sequential File Organization) ข้อจำกัด เสียเวลาในการดำเนินงาน เนื่องจากผู้ใช้ต้องเสียเวลาในการเข้าถึงแฟ้มข้อมูลทั้งหมดถึงแม้จะต้องการใช้ข้อมูลเพียงบางส่วน ข้อมูลไม่ทันสมัยหรือไม่เป็นไปตามความจริง (Real Time) เนื่องจากการเข้าถึงข้อมูลต้องเป็นไปตามลำดับและใช้ระยะเวลามาก ดังนั้นผู้ใช้จึงต้องรอทำการปรับปรุงข้อมูลตามระยะเวลาที่กำหนด ต้องจัดลำดับข้อมูลที่ต้องการเปลี่ยนแปลงก่อนที่จะมีการนำไปแก้ไขแฟ้มข้อมูล ทำให้ล่าช้า ใช้แรงงานซับซ้อน และยุ่งยากในการดำเนินงาน
การจัดแฟ้มข้อมูลแบบสุ่ม (Random File Organization) เป็นวิธีการจัดรวบรวมระเบียนข้อมูลที่ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยตรง และไม่ต้องผ่านระเบียบอื่น ตามลำดับก่อนหลัง การจัดแฟ้มข้อมูลแบบสุ่มทำให้การใช้เวลาในการเข้าถึงข้อมูลไม่มาก
การจัดแฟ้มข้อมูลแบบสุ่ม (Random File Organization) ข้อดี การเข้าถึงข้อมูลสะดวกและรวดเร็ว เนื่องจากผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยตรงไม่ต้องผ่านแฟ้มข้อมูลอื่นเหมือนการจัดแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับ สะดวกในการปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัย เนื่องจากการปรับปรุงแฟ้มข้อมูลทำได้โดยง่าย ไม่จำเป็นจะต้องเรียงลำดับหรือรอเวลา มีความยืดหยุ่นและเหมาะสมกับงานที่ต้องการประมวลผลแบบโต้ตอบ ตลอดจนมีระยะเวลาในการประมวลผลไม่แน่นอน
การจัดแฟ้มข้อมูลแบบสุ่ม (Random File Organization) ข้อจำกัด ข้อมูลมีโอกาสผิดพลาดและสูญหาย เนื่องจากการดำเนินงานมีความยืดหยุ่น ถ้าการจัดการที่เป็นระบบและมีประสิทธิภาพ อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพในการจัดเก็บ ความถูกต้องและความแน่นอนของแฟ้มข้อมูล การเปลี่ยนแปลงจำนวนระเบียนจะทำได้ลำบากกว่าวิธีเรียงลำดับ เนื่องจากต้องจัดรูปแบบความสัมพันธ์ขึ้นใหม่ มีค่าใช้จ่ายสูง เนื่องจากต้องใช้อุปกรณ์ที่มีเทคโนโลยีสูง และผู้ใช้ต้องมีทักษะในงานมากกว่าแฟ้มข้อมูลระบบเรียงลำดับ
เราไม่สามารถกล่าวได้ว่า การจัดแฟ้มข้อมูลแบบใดมีประสิทธิภาพสูงกว่ากัน ดังนั้นผู้ใช้หรือผู้มีความรับผิดชอบในการจัดแฟ้มข้อมูล จะต้องพิจารณาตามความเหมาะสมของงาน เช่น คุณสมบัติและปริมาณของข้อมูล เทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูล บุคลากร และเงินทุนสนับสนุน เป็นต้น
ฐานข้อมูล สมัยเริ่มต้นของการรวบรวมและจัดระเบียบข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์แต่ละหน่วยงาน เช่น แผนกบัญชี แผนกขาย แผนกผลิต แผนกจัดซื้อ และแผนกบุคลกร มักจะจัดซื้อคอมพิวเตอร์ ชุดคำสั่ง และอุปกรณ์ต่อพ่วง แล้วทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลของตนเอง ไม่เกี่ยวข้องกับแผนกอื่น โดยแต่ละหน่วยงานจะพัฒนาบุคลากร อุปกรณ์ ขั้นตอน และวิธีการจัดระเบียบข้อมูลของตนเอง เพื่อใช้งานตามความต้องการของผู้ใช้ในหน่วยงานนั้น ๆ
ฐานข้อมูล เมื่อเวลาผ่านไปข้อมูลที่ถูกสะสมในแต่ละหน่วยงานจะมีจำนวนมาก และมีความหลากหลายขึ้นตามลำดับ จนทำให้เกิดความสับสนในการที่หน่วยงานอื่นภายในองค์การจะนำข้อมูลนั้น ๆ ไปใช้ให้เป็นประโยชน์ วิธีการจัดการข้อมูลในลักษณะนี้เป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ได้แก่
ฐานข้อมูล มีความซ้ำซ้อนในการเก็บข้อมูลภายในองค์การ ไม่สามารถนำข้อมูลมาใช้ร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อมูลขาดความยืดหยุ่นในการนำไปใช้งาน ความปลอดภัยของข้อมูลต่ำ ข้อมูลสูญหายและผิดพราดได้ง่าย ข้อมูลแต่ละชนิดจะแตกต่างกัน และขึ้นอยู่กับชุดคำสั่งในการจัดการข้อมูลของแต่ละหน่วยงาน สิ้นเปลืองเวลา สถานที่ และบุคลากรในการทำงาน
ฐานข้อมูล ปัญหาที่พบก่อให้เกิดความล่าช้าและมีผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน ทำให้หลายองค์การพยายามที่จะแก้ไขปัญหาเหล่านี้ให้หมดไปโดยเริ่มศึกษาพัฒนาและสร้างระบบฐานข้อมูล เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในองค์การ โดยหวังว่าระบบฐานข้อมูลจะสามารถบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้นในการรวบรวม การจัดระเบียบ และการประมวลผลข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ฐานข้อมูล หมายถึง การเก็บรวบรวมข้อมูลเข้าไว้ด้วยกันอย่างมีแบบแผน ณ ที่ใดที่หนึ่งในองค์การ เพื่อที่ผู้ใช้จะสามารถนำข้อมูลมาประมวลผล และประยุกต์ใช้งานตามที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ฐานข้อมูลของบุคลากรที่เก็บข้อมูลพนักงาน แทนที่จะเก็บเป็นแฟ้มข้อมูลประวัติพนักงาน แฟ้มข้อมูลเงินเดือน การฝึกอบรม และสัมมนา เก็บไว้ตามหน่วยงานต่าง ๆ ภายในองค์การ อาจก่อให้เกิดความคลาดเคลื่อน ความปลอดภัย และขาดประสิทธิภาพในการใช้งาน
ฐานข้อมูล ข้อมูลมักประกอบด้วยข้อมูลย่อยหลาย ๆ ส่วน (Field) โดยแต่ละส่วนจะไม่มีความหมาย ชื่อนิสิต ชื่อวิชา หรือเกรด แต่ถ้าเอาหลาย ๆ ส่วนมารวมกันจะเกิดความหมายขึ้น เช่น ชื่อนิสิตคนนี้ชื่ออะไร ลงทะเบียนวิชาอะไร เกรดเท่าไหร่ การที่เอาข้อมูลหลายส่วนมารวมกันจะเกิดเป็นรายการ (Record) กรณีที่เอาหลาย ๆ รายการมารวมกันจะเกิดเป็นแฟ้มข้อมูล (File) แต่หากเอาหลาย ๆ แฟ้มมารวมกันจะเกิดเป็นฐานข้อมูล (Database)
องค์ประกอบของฐานข้อมูล Database ฐานข้อมูลนักศึกษา 50220202 น.ส.ใจดี เก่งมาก MBA F 50220203 นายแมน ชื่นขอบ M 50220204 น.ส.กานดา มั่งมี File Record 50220202 น.ส.ใจดี เก่งมาก MBA F Field ใจดี Byte จ Bit 0 กับ 1
คุณสมบัติของระบบฐานข้อมูล มีความรวดเร็วตอบสนองต่อความต้องการ และสะดวกต่อการใช้งานของผู้ใช้โดยเฉพาะระบบฐานข้อมูลที่ใช้ภาษาแบบตอบโต้ (Query Language) ทำให้การประสานงานระหว่างผู้ใช้กับระบบฐานข้อมูลมีประสิทธิภาพ มีความสมดุลระหว่างอุปกรณ์ ชุดคำสั่ง และผู้ใช้ ซึ่งช่วยให้การใช้งานระบบฐานข้อมูลและการดำเนินงานขององค์การมีประสิทธิภาพ
คุณสมบัติของระบบฐานข้อมูล สามารถจัดการและปรับปรุงข้อมูลอย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และตรงตามความต้องการโดยเฉพาะสถานการณ์ปัจจุบันที่ธุรกิจต้องสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม ภายใต้ความกดดันของสถานการณ์และระยะเวลา ความปลอดภัยของข้อมูล ระบบฐานข้อมูลที่ดีต้องสร้างความมั่นใจแก่ผู้ใช้ว่าข้อมูลปลอดภัยจากการโจรกรรม การก่อการร้าย หรือความผิดพลาดที่เกิดขึ้นโดยไม่ตั้งใจ เช่น ต้องมีรหัสในการเข้าถึงข้อมูล จำกัดระดับในการเข้าถึงและการจัดการ เป็นต้น
โครงสร้างข้อมูล โครงสร้างข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ โครงสร้างเชิงกายภาพ (Physical Data Structure) วิธีการจัดเก็บข้อมูลในสื่อต่าง ๆ เช่น เทปแม่เหล็ก และดิสก์ โครงสร้างเชิงตรรกะ (Logical Data Structure) การจัดเก็บข้อมูลและความสัมพันธ์ต่าง ๆ ของข้อมูลในระบบฐานข้อมูล
โครงสร้างเชิงตรรกะ (Logical Data Structure) โครงสร้างชนิดนี้ใช้แบบจำลอง 3 ประเภท ดังต่อไปนี้ แบบจำลองการจัดข้อมูลเชิงลำดับ (Hierarchical Data Model) แบบจำลองการจัดข้อมูลแบบเครือข่าย (Network Data Model) แบบจำลองการจัดข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Data Model)
โครงสร้างเชิงตรรกะ (Logical Data Structure) โครงสร้างชนิดนี้ใช้แบบจำลอง 3 ประเภท ดังต่อไปนี้ แบบจำลองการจัดข้อมูลเชิงลำดับ (Hierarchical Data Model) แสดงโครงสร้างข้อมูลที่มีความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหลาย (One-to-Many) โดยจะมีโครงสร้างลักษณะเหมือนต้นไม้ (Tree Structure) ที่เริ่มจากส่วนราก (Root) แล้วแพร่ขยายออกไปเป็นสาขา (Node) ซึ่งแต่สาขาสามารถแตกออกเป็นสาขาย่อยได้อีก โดยมีข้อจำกัดว่าแต่ละสาขาจะต้องเกิดมาจากต้นกำเนิด (Parent) เพียงจุดเดียวเท่านั้น
แบบจำลองการจัดข้อมูลเชิงลำดับขั้น กระทรวง กรม กอง แผนก หน่วย กรม กอง แผนก หน่วย กระทรวง
โครงสร้างเชิงตรรกะ (Logical Data Structure) โครงสร้างชนิดนี้ใช้แบบจำลอง 3 ประเภท ดังต่อไปนี้ แบบจำลองการจัดข้อมูลแบบเครือข่าย (Network Data Model) เป็นแบบจำลองโครงสร้างข้อมูลที่แสดงความสัมพันธ์ซับซ้อนกว่าแบบจำลองแบบลำดับขั้น เนื่องจากโครงสร้างประเภทนี้จะมีความสัมพันธ์ในลักษณะอื่น เช่น หลายต่อหนึ่ง (Many-to-One) หรือหลายต่อหลาย (Many-to-Many) ดังนั้นจะอนุญาตให้สาขาสามารถมาจากต้นกำเนิดได้มากกว่า 1 แห่ง
แบบจำลองการจัดข้อมูลแบบเครือข่าย โครงการ A หน่วยงาน D หน่วยงาน C หน่วยงาน B โครงการ B หน่วยงาน A
โครงสร้างเชิงตรรกะ (Logical Data Structure) โครงสร้างชนิดนี้ใช้แบบจำลอง 3 ประเภท ดังต่อไปนี้ แบบจำลองการจัดข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Data Model) เป็นแบบจำลองโครงสร้างข้อมูลที่แสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลในรูปตาราง 2 มิติ ซึ่งแบบจำลองข้อมูลเชิงสัมพันธ์แสดงความสัมพันธ์ข้อมูลที่อยู่ในตารางเดียวกัน หรือตารางที่มีความเกี่ยวข้องกัน
แบบจำลองการจัดข้อมูลเชิงสัมพันธ์ แฟ้มข้อมูลนักศึกษา รหัสนักศึกษา ชื่อนักศึกษา ที่อยู่ รหัสอาจารย์ 50444000 น.ส.อรทัย นนทบุรี T001 50444001 น.ส.อรษา พิษณุโลก T002 50444002 นายอักษร กรุงเทพฯ แฟ้มข้อมูลอาจารย์ รหัสอาจารย์ ชื่ออาจารย์ เบอร์โทรศัพท์ T001 ดร.สมพงษ์ 081444556 T002 ดร.ไพบูลย์ 081444879
เปรียบเทียบการใช้งานของแบบจำลองการจัดข้อมูล ชนิดของแบบจำลอง ประสิทธิภาพ การทำงาน ความยืดหยุ่น ความสะดวกต่อ การใช้งาน เชิงลำดับขั้น สูง ต่ำ เครือข่าย ค่อนข้างสูง ค่อนข้างต่ำ ปานกลาง เชิงสัมพันธ์ ต่ำ (กำลังพัฒนา) สูงหรือต่ำ
ระบบจัดการฐานข้อมูล การจัดการฐานข้อมูล (Database Management) คือ การบริหารแหล่งข้อมูลที่ถูกเก็บรวบรวมไว้ที่ศูนย์กลาง เพื่อตอบสนองต่อการใช้ของโปรแกรมประยุกต์อย่างมีประสิทธิภาพและลดการซ้ำซ้อนของข้อมูล รวมทั้งความขัดแย้งของข้อมูลที่เกิดขึ้นภายในองค์การ
ระบบจัดการฐานข้อมูล ระบบฐานข้อมูล (Database Management System; DBMS) หมายถึง ชุดคำสั่งซึ่งทำหน้าที่สร้าง ควบคุม และดูแลระบบฐานข้อมูล เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูล คัดเลือกข้อมูล และสามารถนำข้อมูลนั้นมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย DBMS จะทำหน้าที่เสมือนตัวกลางระหว่างชุดคำสั่งสำหรับการใช้งานต่าง ๆ กับหน่วยเก็บข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยส่วนประกอบหลัก 3 ส่วน ดังนี้
ระบบจัดการฐานข้อมูล ภาษาสำหรับนิยามข้อมูล (Data Definition Language; DDL) เป็นส่วนประกอบ DBMS ที่ Programmer เขียนขึ้นเพื่อกำหนดรายละเอียดของเนื้อหาและโครงสร้างของฐานข้อมูล โดย DDL จะทำหน้าที่กำหนดความหมายของแต่ละส่วนประกอบข้อมูล (Data Element) ในฐานข้อมูลนั้นๆ และผลที่ได้จากการรวบรวมประโยคที่เขียนด้วย DDL จะถูกนำมาใช้สร้าง Data Dictionary
ระบบจัดการฐานข้อมูล ภาษาสำหรับการใช้ข้อมูล (Data Manipulation Language; DML เป็นภาษาที่ผู้ใช้ฐานข้อมูลหรือผู้เขียนชุดคำสั่งใช้ในการติดต่อสั่งงานกับฐานข้อมูล เพื่อนำข้อมูลที่เก็บอยู่ในฐานข้อมูลออกมาใช้งาน เราสามารถแบ่ง DML ออกได้เป็น 2 ชนิดคือ ภาษาสำหรับการใช้ข้อมูลแบบมีการจัดระเบียบ และภาษาสำหรับการใช้ข้อมูลแบบไม่มีการจัดระเบียบ
ระบบจัดการฐานข้อมูล พจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary) เป็นเครื่องมือที่จัดเรียบเรียงความหมาย และอธิบายลักษณะที่สำคัญของข้อมูลในฐานข้อมูลเข้าไว้ด้วยกันอย่างเป็นระบบและระเบียบ เพื่อให้ง่ายต่อการค้นคว้าและนำไปใช้อ้างอิงในอนาคต เนื่องจากอาจมีการพัฒนาระบบฐานข้อมูล เปลี่ยนแปลงผู้บริหารฐานข้อมูล หรือเกิดปัญหาขึ้นในอนาคต เป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ต้องเกี่ยวข้องกับระบบจัดการฐานข้อมูล เพราะจะช่วยให้สามารถศึกษาและทำความเข้าใจระบบได้ง่ายขึ้น
หน้าที่ของระบบจัดการฐานข้อมูล ผู้ใช้ระบบไม่จำเป็นที่จะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับรายละเอียดและขั้นตอนของการจัดการข้อมูลที่เกิดขึ้น เนื่องจากระบบสารสนเทศในปัจจุบันถูกพัฒนาขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้งานแก่ผู้ใช้ที่มีความรู้จำกัดทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ เช่นเดียวกับระบบจัดการข้อมูลสมัยใหม่ โดยที่ระบบจัดการฐานข้อมูลจะถูกพัฒนาขึ้นมาให้ปฏิบัติหน้าที่ดังต่อไปนี้
หน้าที่ของระบบจัดการฐานข้อมูล ประสานงานกับผู้จัดการแฟ้มข้อมูล ในการจัดเก็บ เรียกใช้ และแก้ไขข้อมูล ควบคุมความสมบูรณ์แน่นอนของข้อมูลให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมกับการใช้งานตลอดเวลา ควบคุมความปลอดภัยของข้อมูลมิให้ถูกโจรกรรม ก่อการร้าย สูญหาย หรือถูกทำลายโดยไม่ตั้งใจ
หน้าที่ของระบบจัดการฐานข้อมูล ดูแลรักษาข้อมูลให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม ตลอดจนสร้างระบบข้อมูลสำรองขึ้น เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นจากความผิดพลาด อุบัติเหตุ หรือการกระทำที่จงใจ ควบคุมความต่อเนื่องและลำดับในการทำงานที่เหมาะสม เพื่อให้การใช้งานสะดวกรวดเร็วและถูกต้อง
ผลที่ได้รับจากการใช้ระบบจัดการฐานข้อมูล ลดความยุ่งยากและซับซ้อนในการจัดการข้อมูล ลดความขัดแย้งของข้อมูลในหน่วยงานและระบบองค์การ สนับสนุนการใช้ข้อมูลร่วมกัน เพิ่มความปลอดภัยให้ข้อมูล ช่วยให้ข้อมูลมีความถูกต้องและทันเหตุการณ์
ผลที่ได้รับจากการใช้ระบบจัดการฐานข้อมูล สามารถควบคุมและสร้างมาตรฐานของข้อมูลในองค์การ สร้างความยืดหยุ่นในการนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ สามารถนำข้อมูลมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการบริการข้อมูล ข้อมูลมีอิสระจากชุดคำสั่งที่ใช้
การบริหารฐานข้อมูล การที่หน่วยงานสามารถนำระบบจัดการฐานข้อมูลมาประยุกต์ในองค์การอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจเลือกซื้ออุปกรณ์ และชุดคำสั่งของระบบจัดการฐานข้อมูลที่เหมาะสมกับการใช้งานเท่านั้น ผู้บริหารระดับสูงจำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และสนับสนุนการนำระบบฐานข้อมูลมาใช้งาน นอกจากนี้การที่ระบบจัดการฐานข้อมูลมีขอบข่ายการทำงานกว้างขวางกว่าการจัดแฟ้มข้อมูล ทำให้แต่ละองค์การจำเป็นต้องมีการวางแผนที่รอบคอบเกี่ยวข้องกับการจัดข้อมูลอย่างเป็นระบบ
การบริหารฐานข้อมูล โดยอาศัยการวิเคราะห์การทำงานและความต้องการข้อมูลทั้งหมดที่เกิดขึ้นภายในองค์การ เพื่อพิจารณาความต้องการทางด้านสารสนเทศของแต่ละหน่วยงาน ดังนั้นหลายองค์การจึงมีความจำเป็นต้องจัดตั้งหน่วยงานเฉพาะเพื่อทำหน้าที่โดยตรงในการดูแลรักษาและพัฒนาระบบฐานข้อมูล ตลอดจนจัดทำนโยบายวางแผน และดำเนินการจัดการเกี่ยวกับข้อมูลของธุรกิจ โดยมีหลักการว่า “ข้อมูลเป็นทรัพยากรอย่างหนึ่งขององค์การ” ดังนั้นหน่วยงานต่าง ๆ สามารถเข้าถึง และนำข้อมูลที่ต้องการไปใช้ประโยชน์ตามความต้องการของงาน
การบริหารฐานข้อมูล ผู้บริหารฐานข้อมูล (Database Administration) จะครอบคลุมไปจนถึงเทคนิคการปฏิบัติในการจัดการฐานข้อมูลทั้งเชิงตรรกะและเชิงกายภาพ การออกแบบ การปรับปรุง การใช้งาน และดูแลรักษาระบบฐานข้อมูลให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจำเป็นต้องใช้บุคลากรที่มีความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ที่หลากหลายเข้ามาร่วมกัน เพื่อทำหน้าที่ดังนี้
การบริหารฐานข้อมูล กำหนดและจัดระเบียบโครงสร้างฐานข้อมูล เนื่องจากปัจจุบันมีความต้องการสารสนเทศที่หลากหลาย ถ้าขาดการจัดการระบบการบริหารข้อมูลอย่างเป็นระบบและหลักการ อาจทำให้การใช้งานสารสนเทศขาดความสมบูรณ์และด้อยประสิทธิภาพ ตลอดจนก่อให้เกิดความผิดพลาด
การบริหารฐานข้อมูล พัฒนาขั้นตอนการรักษาความปลอดภัยของฐานข้อมูล เนื่องจากระบบฐานข้อมูลจะบรรจุข้อมูลที่สำคัญต่อการดำเนินงาน โดยมีผู้ใช้ที่มีความต้องการและระดับในการใช้งานสารสนเทศวามผิดที่หลากหลาย ถ้าเกิดความผิดพลาดขึ้น อาจก่อให้เกิดความสูญเสียแก่ระบบข้อมูล และความลับรั่วไหลไปสู่คู่แข่ง อาจก่อให้เกิดผลร้ายต่อการดำรงอยู่ของธุรกิจ
การบริหารฐานข้อมูล จัดทำหลักฐานอ้างอิงของระบบฐานข้อมูล เนื่องจากความหลากหลายในการใช้งานสารสนเทศ ตลอดจนการพัฒนาระบบฐานข้อมูลให้มีความสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้อยู่เสมอ ผู้บริหารฐานข้อมูลต้องจัดทำหลักฐานอ้างอิง เพื่อที่จะสอบทานความถูกต้องเมื่อเกิดความจำเป็น
การบริหารฐานข้อมูล ดูแลรักษาระบบฐานข้อมูลให้ทำงานอย่างปกติ เพื่อให้การใช้ข้อมูลขององค์การเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะองค์การที่มีความต้องการและการใช้งานข้อมูลมาก ถ้าเกิดความผิดพลาดหรือข้อบกพร่องในระบบฐานข้อมูล ย่อมก่อให้เกิดความสูญเสียขึ้นกับธุรกิจ
การบริหารฐานข้อมูล ประสานงานกับผู้ใช้ เพื่อความคล่องตัวในการนำข้อมูลไปใช้งาน การแก้ปัญหา และการพัฒนาระบบในอนาคต โดยเฉพาะการบริหารระบบฐานข้อมูลในปัจจุบันที่ให้ความสำคัญกับการสร้างระบบที่สะดวกและสนองความต้องการของผู้ใช้
ระบบฐานข้อมูลในอนาคต ระบบฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distributed Database System) หมายถึง ระบบฐานข้อมูลที่เก็บข้อมูลไว้ในที่ต่าง ๆ มากกว่า 1 แห่ง โดยที่ข้อมูลส่วนหนึ่งจะถูกเก็บไว้ในสถานที่หนึ่ง ขณะข้อมูลส่วนที่เหลืออาจจะถูกเก็บรวมไว้อีกที่หนึ่ง หรือถูกแยกเก็บไว้ตามที่ต่าง ๆ กันออกไป โดยข้อมูลเหล่านี้สามารถถูกเรียกมาประมวลผลและใช้งานได้เช่นเดียวกับการเก็บข้อมูลไว้ที่แห่งเดียวกัน
โครงสร้างทางกายภาพของระบบฐานข้อมูลแบบกระจาย เครือข่ายสื่อสาร ฐานข้อมูล 1
ระบบฐานข้อมูลในอนาคต ระบบฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distributed Database System) การเก็บข้อมูลแบบกระจ่ายมี 2 ลักษณะ คือ ระบบฐานข้อมูลกระจายแบบมีดัชนีรวม (Central Index Distributed Database) ระบบฐานข้อมูลกระจายแบบถามเครือข่าย (“Ask-The-Network” Distributed Database)
ระบบฐานข้อมูลในอนาคต คุณสมบัติของระบบฐานข้อมูลแบบกระจาย สามารถเรียกใช้ข้อมูลซึ่งอยู่ในระบบเครือข่ายได้ สามารถจัดระบบและบริหารข้อมูลจากส่วนต่าง ๆ ในระบบเครือข่าย สามารถปรับปรุง แก้ไข และฟื้นฟูข้อมูลในความรับผิดชอบของตน
ระบบฐานข้อมูลในอนาคต ระบบฐานข้อมูลแบบกระจายจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการข้อมูลขององค์การ แต่ปัจจุบันยังอยู่ในขั้นเริ่มต้นของการนำมาใช้งานเท่านั้น ซึ่งจำเป็นต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีของระบบชุดคำสั่ง อุปกรณ์ ระบบเครือข่าย และการออกแบบระบบฐานข้อมูลให้เหมาะสมกับการนำไปใช้งานได้จริง เป็นที่คาดว่า ผลกระทบของเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าและโครงสร้างการทำงานของแต่ละองค์การที่เปลี่ยนไปในอนาคต จะมีส่วนทำให้เกิดการตื่นตัวในการนำฐานข้อมูลแบบกระจายมาใช้ประโยชน์เพิ่มมากขึ้น
ระบบฐานข้อมูลในอนาคต ระบบฐานข้อมูลอื่น ๆ ระบบฐานข้อมูลแบบมุ่งเป้าหมาย (Object-Oriented Database) ระบบฐานข้อมูลแบบหลายสื่อ (Hypermedia Database) คลังข้อมูล (Data Warehouse) การทำเหมืองข้อมูล (Data Mining)