ผลิตภัณฑ์ธัญพืชอบแห้งกึ่งสำเร็จรูปจากข้าวและข้าวโพดอินทรีย์ Dried cereal semi complete product from organic rice and organic corn วิภาวดี พันธ์หนองหว้า 1 ภูวิพัฒน์ เกียรติ์สาคเรศ 2 สาคร แสงสุวอ2 อนุชิตา มุ่งงาม3 และเกรียงศักดิ์ มั่นเสถียรสิน4 สาขาอุตสาหกรรมเกษตร คณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ Punnongwa@hotmail.com บทคัดย่อ เครื่องดื่มธัญญาหารสำเร็จรูปจากข้าวโพดและข้าวเม่าหอมมะลิอินทรีย์ ได้นำมาพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มธัญพืชสำเร็จรูปโดยใช้การทำแห้งแบบลมร้อน (hot air oven) จากการทดลองพบว่า การศึกษาการทำเครื่องดื่มธัญญาหารสำเร็จรูปจากข้าวอินทรีย์และข้าวโพดหวานอินทรีย์ โดยใช้ข้าวเม่า (ข้าวที่อายุยังน้อย มีสีเขียวและกลิ่นหอม) ของข้าวหอมมะลิ 105 พบว่า เครื่องดื่มธัญญาหารสำเร็จรูปจากข้าวเม่าที่อบที่อุณหภูมิ 55 องศาเซลเซียส และข้าวโพดที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส นำมาบดให้ละเอียด มีความเหมาะสมต่อการนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์เพราะมีกำลังการพองตัวสูง การละลายสูง aW และความชื้นต่ำ เมื่อนำผลิตภัณฑ์ธัญพืชที่ได้มาทดสอบทางด้านประสาทสัมผัสด้วยวิธี Hedonic scale (9- point ) กับผู้ทดสอบชิม 30 คน ที่ไม่ผ่านการฝึกฝน พบว่าผู้ทดสอบมีความชอบเครื่องดื่มธัญญาหารสำเร็จรูปซึ่งมี ปริมาณข้าวโพดต่อข้าวเม่า (10.2 กรัม : 3.4 กรัม) โดยมีปริมาณโปรตีน เถ้า ไขมัน เส้นใย ความชื้น และคาร์โบไฮเดรต ร้อยละ 4.91, 2.01, 6.69, 1.56, 5.21 และ 75.98 ตามลำดับ มีอัตราการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์โดยวิธี Total plate count agar method น้อยกว่า 10 CFU/ml เมื่อทำการตรวจการปนเปื้อนของโลหะหนัก โดยเครื่อง Atomic absorbtion spectroscopy (AAS) และยาฆ่าแมลง โดยเครื่อง High performance liquid chromatography (HPLC) ไม่พบโลหะหนักและยาฆ่าแมลงปนเปื้อน คำสำคัญ : ข้าวเม่า, ผลิตภัณฑ์ธัญพืช บทนำ ปัจจุบันผลิตภัณฑ์อาหารที่ทำจากพืชอินทรีย์ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากกระบวนการปลูกพืชอินทรีย์หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี เช่น ปุ๋ยเคมี ยาปราบศัตรูพืชในกระบวนการผลิต แต่จะเน้นการใช้สารอินทรีย์เช่น ปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยคอก นอกจากนี้การแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารพื้นบ้านที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้บริโภค โดยนำข้าวเม่า ที่เป็นข้าวอ่อนไม่ขัดสีมีสีเขียวธรรมชาติของเมล็ดข้าวผลิตภัณฑ์คงคุณค่าสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ข้าวเม่ามีลักษณะเฉพาะตัวที่มีความหอม มีประโยชน์กับสุขภาพ เช่นวิตามินบี ธาตุเหล็กและฟอสฟอรัสสารกลุ่มวิตามินอี สารประกอบฟีนอลลิก สารต้านอนุมูลอิสระ รวมทั้งแร่ธาตุต่าง ๆ งานวิจัยนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาการพัฒนาสูตรผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มธัญญาหารสำเร็จรูปที่ทำจากข้าวและข้าวโพดหวาน รวมถึงการวิเคราะห์ยาฆ่าแมลงและโลหะหนัก อันเป็นแนวทางหนึ่งในการเพิ่มคุณค่าและรายได้แก่เกษตรกร วัตถุประสงค์ของโครงการ 1. เพื่อศึกษาการแปรรูปผลิตภัณฑ์ธัญพืชอบแห้งกึ่งสำเร็จรูปจากข้าวและข้าวโพด ได้แก่ข้าวโพดพันธุ์ซุปเปอร์ฮาโก้สวีท และข้าวขาวดอกมะลิอินทรีย์ 105 ที่ทำการเพาะปลูกแบบอินทรีย์ 2. เพื่อศึกษาปริมาณและชนิดของโลหะหนักตกค้างในอาหารที่ผลิตจากข้าวและข้าวโพดอินทรีย์ 3. เพื่อศึกษาปริมาณและชนิดของยาฆ่าแมลงในอาหารที่ผลิตจากข้าวและข้าวโพดอินทรีย์ อุปกรณ์และวิธีการ 1.ศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมของปริมาณข้าวโพดและข้าวเม่าในผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มธัญญาหารสำเร็จรูป 2.ทดสอบอัตราการพองตัวและการละลายกลับ ปริมาณน้ำอิสระ (aW) 3.การทดสอบทางด้านลักษณะสัมผัส การทดสอบอายุการเก็บรักษา 4.ทดสอบหาปริมาณโลหะหนักตกค้าง โดยวิธี Atomic absorption spectroscopy (AAS) (AOAC, 1995) 5.ทดสอบหาปริมาณยาฆ่าแมลงตกค้างโดยวิธี High performance liquid Chromatography (HPLC) (AOAC, 1995) ผลการทดลอง ชนิดของยาฆ่าแมลง ปริมาณที่ตกค้างในข้าวอินทรีย์ ปริมาณที่ตกค้างในข้าวโพดอินทรีย์ ปริมาณที่ตกค้างในผลิตภัณฑ์ malathion ไม่พบ Pirimiphos methyl fenitrothion Chlopyrifos methyl โลหะหนัก (ตะกั่ว) โลหะหนัก (แคดเมียม) สรุปผลการทดลอง การศึกษาการทำเครื่องดื่มธัญญาหารสำเร็จรูปจากข้าวอินทรีย์และข้าวโพดหวานอินทรีย์ โดยใช้ข้าวเม่า (ข้าวที่อายุยังน้อย มีสีเขียวและกลิ่นหอม) ของข้าวหอมมะลิ 105 โดยการทำแห้งแบบใช้เครื่องอบแห้งชนิดเป่าลมร้อน (hot air oven) พบว่า เครื่องดื่มธัญญาหารสำเร็จรูปจากข้าวเม่าที่อบที่อุณหภูมิ 55 องศาเซลเซียส และข้าวโพดที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส นำมาบดให้ละเอียด มีความเหมาะสมต่อการนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์เพราะมีกำลังการพองตัวสูง การละลายสูง aW และความชื้นต่ำ เมื่อนำผลิตภัณฑ์ธัญพืชที่ได้มาทดสอบทางด้านประสาทสัมผัสด้วยวิธี Hedonic scale (9-point) กับผู้ทดสอบชิม 30 คน ที่ไม่ผ่านการฝึกฝน พบว่าผู้ทดสอบมีความชอบเครื่องดื่มธัญญาหารสำเร็จรูปซึ่งมี ปริมาณข้าวโพดต่อข้าวเม่า (10.2 กรัม : 3.4 กรัม) โดยมีปริมาณโปรตีน เถ้า ไขมัน เส้นใย ความชื้น และคาร์โบไฮเดรต ร้อยละ 4.91, 2.01, 6.69, 1.56, 5.21 และ 75.98 ตามลำดับ เมื่อทำการตรวจการปนเปื้อนของโลหะหนัก โดยเครื่อง Atomic absorption spectroscopy (AAS) และยาฆ่าแมลง โดยเครื่อง High performance liquid chromatography (HPLC) ไม่พบโลหะหนักและยาฆ่าแมลงปนเปื้อน เอกสารอ้างอิง AOAC. 1995. Offical Methods of Analysis. (17 th ed). Washington D.C Association of Official Analytical Chemical Jung, C.H. Antioxidant properties of Various solvent extracts from Wild Ginseng Leaves. LWT 39 : 266 – 274, 2006. JXu†.J.G., Hu.Q.P‡., Wang† X.D., Luo§.J.Y., Liu†.Y. and Tian§.C.R. 2010. Changes in the Main Nutrients, Phytochemicals, and Antioxidant Activity in Yellow Corn Grain during Maturation. J. Agric. Food Chem. 58 : 5751–5756.