งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทที่ 5 ระบบกำจัดขยะ (Solid Waste Disposal)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทที่ 5 ระบบกำจัดขยะ (Solid Waste Disposal)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทที่ 5 ระบบกำจัดขยะ (Solid Waste Disposal)
โดย.. อ.ภัทรลภา ฐานวิเศษ สาขาวิชาชีววิทยาและวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร

2 เกณฑ์การคัดเลือกพื้นที่สำหรับการจัดการขยะ
เกณฑ์การคัดเลือกพื้นที่ของสถานที่ขนถ่ายขยะและสถานนี่นำวัสดุกลับคืน เกณฑ์การคัดเลือกพื้นที่ของสถานที่กำจัดโดยเตาเผาและสถานที่หมักทำปุ๋ย เกณฑ์การคัดเลือกพื้นที่ของสถานที่ฝังกลบขยะมูลฝอย

3 เกณฑ์การคัดเลือกพื้นที่ของสถานที่ขนถ่ายขยะและสถานนี่นำวัสดุกลับคืน
ไม่ตั้งอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 ตั้งอยู่ห่างจากแนวเขตโบราณสถาน ตาม พรบ. โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ไม่น้อย กว่า 1 กิโลเมตร ควรตั้งอยู่ห่างจากชุมชนหลักไม่น้อยกว่า 1 กิโลเมตร

4 เกณฑ์การคัดเลือกพื้นที่ของสถานที่กำจัดโดยเตาเผาและสถานที่หมักทำปุ๋ย
ไม่ตั้งอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 ตั้งอยู่ห่างจากแนวเขตโบราณสถาน ตาม พรบ. โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ไม่น้อย กว่า 1 กิโลเมตร ควรตั้งอยู่ห่างจากชุมชนหลักไม่น้อยกว่า 2 กิโลเมตร ที่ตั้งของสถานที่กำจัดโดยวิธีเตาเผาควรเป็นที่โล่ง ไม่อยู่ในที่อับลม

5 เกณฑ์การคัดเลือกพื้นที่ของสถานที่ฝังกลบขยะมูลฝอย
ไม่ตั้งอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 ตั้งอยู่ห่างจากแนวเขตโบราณสถาน ตาม พรบ. โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ไม่น้อย กว่า 1 กิโลเมตร ตั้งอยู่ห่างจากแนวเขตสนามบินไม่น้อยกว่า 5 กิโลเมตร ควรอยู่ห่างจากบ่อน้ำดื่ม หรือ โรงผลิตน้ำประปาในปัจจุบันไม่น้อยกว่า เมตร

6 เกณฑ์การคัดเลือกพื้นที่ของสถานที่ฝังกลบขยะมูลฝอย (ต่อ)
ควรอยู่ห่างจากแหล่งน้ำธรรมชาติหรือมนุษย์สร้างขึ้นมา รวมทั้งพื้นที่ชุ่มน้ำ ไม่น้อยกว่า 300 เมตร ยกเว้นแหล่งน้ำที่ตั้งอยู่ในสถานที่ฝังกลบขยะ เป็นพื้นที่ซึ่งสภาพธรณีวิทยา หรือลักษณะใต้พื้นดินมั่นแข็งแรงพอที่จะรองรับขยะ ควรเป็นที่ดอน

7 เกณฑ์การคัดเลือกพื้นที่ของสถานที่ฝังกลบขยะมูลฝอย (ต่อ)
ควรเป็นพื้นที่ซึ่งระดับน้ำใต้ดินลึก ในกรณีที่ระดับน้ำใต้ดินอยู่สูงจะต้องมีมาตรการป้องกันแก้ไข ควรเป็นพื้นที่ต่อเนื่องผืนเดียวและมีขนาดเพียงพอ สามารถใช้งานฝังกลบได้ไม่น้อยกว่า 20 ปี

8 ระบบกำจัดมูลฝอยที่นิยม
ระบบหมักทำปุ๋ย (Composting) ระบบเผาในเตาเผา (Incineration) ระบบฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาล (Sanitary Landfill)

9 ระบบหมักทำปุ๋ย (Composting)
เป็นการย่อยสลายอินทรีย์สารโดยกระบวนการทางชีววิทยาของจุลินทรีย์เป็นตัวการย่อยสลายให้แปรสภาพเป็นแร่ธาตุที่มีลักษณะค่อนข้างคงรูป มีสีดำค่อนข้างแห้ง และมีค่าที่สามารถใช้ในการปรับปรุงคุณภาพของดิน กระบวนการหมักปุ๋ยสามารถแบ่งเป็น 2 กระบวนการ คือ กระบวนการหมักแบบใช้ออกซิเจน (Aerobic Decomposition) กระบวนการหมักแบบไม่ใช้ออกซิเจน (Anaerobic Decomposition)

10 กระบวนการหมักปุ๋ยตามธรรมชาติ
จุลินทรีย์ ออกซิเจน น้ำ สารอินทรีย์ ส่วนที่ละลายได้ CO2,น้ำ เซลลูโลส ลิกนิน เถ้า ปุ๋ยหรือ ฮิวมัส ผลผลิต จุลินทรีย์ตัวใหม่ ตาย พลังงาน ความร้อน

11 Organic Matter (C H O N S) Mineral Water Microorganism Finish Compose
Heat Organic Matter (C H O N S) Mineral (Cl and other mineral) Water Microorganism Raw Material Water Compost Pile CO2 Organic Matter (Including carbon, Chemical energy nitrogen, protein, humus );mineral; water; microorganism Finish Compose O2

12 สภาวะที่เหมาะสมในการหมักปุ๋ย
ปัจจัยที่ต้องคำนึง ภาวะที่เอื้ออำนวยต่อการหมักปุ๋ย 1 ชนิดของมูลฝอย - ประกอบด้วยมูลฝอยที่เน่าเปื่อยได้ง่าย - วัสดุที่ไม่เหมาะสมต่อการหมักทำปุ๋ย ไม่ควรเกิน 50% ของมูลฝอย 2 C/N ของมูลฝอย ต่อ 1 3 C/P ของมูลฝอย ต่อ 1 4 ความชื้น %

13 สภาวะที่เหมาะสมในการหมักปุ๋ย(ต่อ)
ปัจจัยที่ต้องคำนึง ภาวะที่เอื้ออำนวยต่อการหมักปุ๋ย 5 ขนาดของมูลฝอย นิ้ว 6 อุณหภูมิ - เฉลี่ยสูงสุดประมาณ 55oC 7 ปริมาณอากาศ - ถ้าแบบใช้อากาศ ft3/lb.-d. 8 การกวนมูลฝอย - พลิกเป็นครั้งคราว 9 สภาพกรดด่าง - ไม่ควบคุมมากนัก

14 วิธีการหมักปุ๋ย กระบวนการหมักแบบใช้ออกซิเจน (Aerobic Decomposition)
กระบวนการหมักแบบไม่ใช้ออกซิเจน (Anaerobic Decomposition)

15 การหมักแบบใช้ออกซิเจน (Aerobic Decomposition)
เป็นการย่อยโดยจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน ใช้เวลาน้อย เช่นประมาณ วัน ไม่ส่งกลิ่นเหม็นรบกวนรุนแรง ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น ดังแสดงในสมการ

16 กระบวนการหมักแบบไม่ใช้ออกซิเจน (Anaerobic Decomposition)
เป็นการสร้างสภาวะให้เกิดจุลินทรีย์ชนิดที่ดำรงชีพโดยไม่ใช้ออกซิเจนเป็นตัวช่วยย่อยสารอาหารและแปรสภาพกลายเป็นแร่ธาตุ อาจก่อให้เกิดกลิ่นเหม็นรบกวนรุนแรง เช่น ก๊าซไข่เน่า (Hydrogen Sulfide : H2S) เกิดผลดีทำให้เกิดก๊าซมีเทน (Methane gas) ซึ่งเป็นก๊าซที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์เป็นเชื้อเพลิงได้ การย่อยสลายที่เกิดขึ้น จะเกิดในสภาวะที่เหมาะสมในด้านความชื้น อุณหภูมิ อัตราส่วนที่เหมาะสมระหว่างคาร์บอนกับไนโตรเจน สามารถลดปริมาณขยะได้ประมาณ 30-65%

17 กระบวนการหมักแบบไม่ใช้ออกซิเจน (ต่อ) (Anaerobic Decomposition)
ใช้เวลามาก เช่น ประมาณ 2-12 เดือน ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น ดังแสดงในสมการ

18 รูปแบบของวิธีการหมักปุ๋ย

19 WINDROW SYSTEM กองบนพื้นให้ระบายอากาศเองตามธรรมชาติ
พลิกกองมูลฝอยเป็นครั้งคราว ย่อยสลายแบบใช้ออกซิเจนตามธรรมชาติ

20 STATIC COMPOSTING SYSTEM
เหมือนแบบ WINDROW แต่จะทำให้อากาศไหลผ่านเข้าในกองขยะ เช่น เช่นการใช้ไม้ไผ่เจาะช่องระบายอากาศเรียงเป็นฐาน เป็นต้น

21 Dynamic Composting System
มูลฝอยจะเคลื่อนตัวช้าๆ ในถังหมักที่หมุนตลอดเวลาประมาณ 1-2 วัน พวกเชื้อโรคจะตาย มูลฝอยที่ย่อยแล้วจะถูกนำออกตากเพื่อให้ย่อยสลายอย่างสมบูรณ์ต่อไป

22 Tunnel Reactor Composting System
การหมักมูลฝอยในห้องหมัก โดยเครื่องจักรต่างๆอยู่ภายนอกถังหมัก ทำให้ง่ายต่อการซ่อมแซม การระบายอากาศทั้งเข้าและออกใช้ควบคุมได้ ทำให้การหมักมูลฝอยได้ผลดี

23 ระยะของการหมักปุ๋ย (Composting Phase)
Lag Phase Maturation Phase

24 Lag Phase เป็นช่วงเริ่มต้นสั้นๆ ที่จุลินทรีย์ในขยะต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและเงื่อนไขของการหมัก จุลินทรีย์ที่พบในระยะนี้มักเป็นพวกแบคทีเรีย เป็นช่วงที่มีการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์อย่างรวดเร็ว ซึ่งจะทำให้อุณหภูมิในกองปุ๋ยหมักสูงขึ้นตามไปด้วย ซึ่งสามารถเป็นดรรชนีชี้วัดของประสิทธิภาพของกระบวนการหมักได้ดี

25 Lag Phase (ต่อ) ระยะนี้จะแบ่งออกได้เป็น 2 ระยะย่อย Growth Phase :
- เป็นระยะที่มีการเจริญเติบโตของ Mesophilic Microorganism Thermophilic Phase : อุณหภูมิสูงสุดพบ Thermophilic Thermotolulence Microorganism อุณหภูมิอาจสูงถึง 70oC สามารถทำลาย Pathogenic Microorganism ที่ติดมากับ ขยะได้ ระยะนี้ประมาณ 5-6 วัน ถึง 2-5 สัปดาห์

26 Maturation Phase เป็นระยะที่อุณหภูมิลดลง
Microorganism ลดลง เกิด Mummification Nitrification and Secondary Fermentation ระยะเวลาของ Phase นี้ ต่างกันมาก ขึ้นอยู่กับชนิดของขยะ เงื่อนไขของการหมักและประสิทธิภาพการหมัก มีระยะเวลาตั้งแต่ 2-3 สัปดาห์ถึง 1-2 ปี

27 การเผาในเตาเผา (Incineration)

28 คำจำกัดความ(Definition)
การเผาในเตาเผาที่ถูกหลักสุขาภิบาล หมายถึง กระบวนการเผาไหม้ของเสีย ทั้งส่วนที่เป็นของแข็ง ของเหลว และแก๊ส โดยใช้ความร้อนสูง เพื่อให้การเผาไหม้เป็นไปโดยสมบูรณ์ ไม่ทำให้เกิดกลิ่นและควันรบกวน รวมทั้งไม่เกิดปัญหาต่างๆด้านมลพิษอากาศ

29 การเผาในเตาเผา(Incineration)
เป็นการทำลายขยะด้วยวิธีการเผาทำลายในเตาเผาที่ได้รับการออกแบบก่อสร้างถูกต้องและเหมาะสม อุณหภูมิในการเผาที่ ,200 องศาเซลเซียสเพื่อให้การทำลายสมบูรณ์ที่สุด ต้องมีระบบควบคุมมลพิษด้านอากาศ ได้แก่ ฝุ่นขนาดเล็ก ก๊าซพิษต่างๆ เช่น ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfur dioxide : S2O) เป็นต้น

30 การเผาในเตาเผา (ต่อ) (Incineration)
อาจเกิด Dioxins ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งจึงจำเป็นจะต้องมีระบบควบคุมและดักมิให้อากาศที่ผ่านปล่องออกสู่บรรยากาศมีค่าเกินกว่าค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศจากเตาเผา สามารถลดปริมาตรขยะได้ถึง 85-95%

31 ข้อดีของระบบการเผาในเตาเผา
เทคโนโลยีการเผาไหม้ได้รับการพัฒนามาเป็นอย่างดี วัสดุเหลือทิ้งที่เป็นอินทรีย์สารเกือบทั้งหมด สามารถเผาไหม้ได้ โดยมีผลผลิตคือพลังงานความร้อน แก๊สและกากเถ้า พลังงานความร้อนที่ได้จากการเผาไหม้ขยะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ เช่น การนำมาให้ความร้อน การผลิตกระแสไฟฟ้า สามารถกำจัดขยะได้ทีละมาก ๆ ไม่ต้องการพื้นที่มากมายเพื่อใช้ก่อสร้างระบบ

32 ข้อเสียของระบบการเผาในเตาเผา
อุปกรณ์ราคาแพงและใช้งานยาก อาจต้องใช้เชื้อเพลิงอื่นๆ มาช่วยเผา เช่น แก๊ส น้ำมัน ถ่านหิน เป็นต้น เกิดเป็นเถ้าลอยและแก๊สพิษ จำเป็นต้องมีการบำบัดแก๊สให้มีคุณภาพตามมาตรฐานที่ทางราชการกำหนด ก่อนที่จะปล่อยออกจากปล่องเตาเผาด้วย ค่าเดินระบบแพง ค่าซ่อมบำรุงสูง ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญควบคุมการทำงานอย่างใกล้ชิด

33 รูปแบบระบบการเผาในเตาเผา

34 เตาเผาชนิดมีแผงตะกรับ (Stoker -Fired Incinerator)
มีแผงตะกรับทำหน้าที่ในการป้อนมูลฝอยในเตาเผา เผามูลฝอยในภาวะอากาศมากเกินพอ (Excess air) อาจใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเสริมในการเผาไหม้ด้วย อุณหภูมิในเตาประมาณ 850-1,200oC มีขนาดใหญ่ เผามูลฝอยได้มากกว่า 150 ตัน/วัน

35 เตาเผาชนิดมีแผงตะกรับ (Stoker-Fired Incinerator)

36 เตาเผาชนิดควบคุมการเผาไหม้ (Pyrolytic Incinerator)
เป็นเตาเผาที่แบ่งการเผาไหม้เป็น 2 ขั้นตอน ขั้นตอนแรกจะควบคุมการเผาไหม้มูลฝอยในสภาวะไร้อากาศ หรือใช้อากาศน้อย (Staved air) ที่อุณหภูมิประมาณ 450oC ขั้นสุดท้ายเผาไหม้ในสภาวะอากาศมากเกินพอ (Excess air) อาจใช้น้ำมันเชื้อเพลิงด้วย อุณหภูมิในเตาอาจสูงถึง 1,000-1,200oC มีขนาดเล็ก เผามูลฝอยได้น้อยกว่า 50 ตัน/วัน

37 เตาเผาชนิดควบคุมการเผาไหม้ (Pyrolytic Incinerator)

38 เตาเผาชนิดใช้ตัวกลางนำความร้อน (Fluidized-Bed Incinerator)
เป็นเตาเผาที่ภายในมีตัวกลางช่วงส่งผ่านความร้อน เช่น แร่ควอทซ์ หรือทรายแม่น้ำ ขนาด 1 มม. มูลฝอยต้องมีการถูกย่อยให้มีขนาดเล็กก่อน ตัวกลางและมูลฝอยจะถูกกวนผสมกันในเตาและ เผาไหม้ โดยใช้อากาศมากเกินพอ (Excess air) อุณหภูมิสูงถึง 850-1,200oC มีขนาดปานกลาง เผามูลฝอยได้ประมาณ ตัน/วัน

39 เตาเผาชนิดใช้ตัวกลาง
นำความร้อน (Fluidized-Bed Incinerator)

40 การควบคุมมลพิษทางอากาศ
ถ้าเชื้อเพลิงเป็นขยะล้วนๆ หรือใช้ก๊าซเป็นเชื้อเพลิงช่วยเผา มลพิษส่วนใหญ่ที่ปล่อยออกมาจะเป็น ฝุ่นละออง จากการเผาไหม้ไม่หมด เถ้าปลิวออกมากับไอเสีย มากกว่าก๊าซและกลิ่น ขนาดฝุ่นละอองที่ออกมาจากเตาเผาค่อนข้างหลากหลาย ตั้งแต่ 5 m จนถึง 130 m ประมาณ 1/3 ของฝุ่นละอองที่ออกมามีขนาดเล็กกว่า 10 m และจัดว่าเป็นอนุภาคขนาดเล็ก ที่เป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ หากมีการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงและถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง จะมีก๊าซพิษปนออกมาด้วย เช่น ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และ Dioxins เป็นต้

41 การควบคุมมลพิษทางอากาศ
เครื่องแยกด้วยไฟฟ้าสถิตย์ สำหรับ Settling Chamber จะสามารถแยกอนุภาคได้ต่ำกว่า 50 % ในกรณีที่ขนาดฝุ่นเล็กกว่า 10 m. Cyclone จะสามารถแยกอนุภาคได้ต่ำกว่า 50 % ในกรณีที่ขนาดฝุ่นเล็กกว่า 1 m. ถุงกรองจะให้ประสิทธิภาพมากกว่า 90 % ในกรณีที่ขนาดฝุ่นใหญ่กว่า 1 m เครื่องแยกด้วยไฟฟ้าสถิตย์จะให้ประสิทธิภาพมากกว่า 90 % ในกรณีที่ขนาดฝุ่นเล็กกว่า 0.1 m เครื่องฟอกจะให้ประสิทธิภาพมากกว่า 90 % ในกรณีที่ขนาดฝุ่นเล็กกว่า m

42 อุปกรณ์แยกบำบัดไอเสียจากเตาเผาขยะชนิดต่างๆ
ชนิดอุปกรณ์ ลักษณะการใช้งาน เครื่องตกตะกอน เป็นเครื่องขนาดใหญ่ โดยทั่วไปติดตั้งต่อจากเตาเผา ใช้แยกฝุ่นขนาดใหญ่และใช้เป็นเครื่องแยกฝุ่นขั้นต้น ก่อนที่จะเข้าสู่ระบบแยกฝุ่นละเอียดต่อไป เครื่องฟอก ฝุ่นละอองจะแยกจากไอเสียโดยละอองน้ำที่ฉีดพ่น และตกลงพื้นที่รองรับ และนำไปบำบัดต่อไป ไซโคลน เป็นการแยกฝุ่นแบบแห้งใช้หลักการหมุนวนของไอเสียให้อนุภาคตกลงสู่ภาชนะรองรับ เครื่องแยกฝุ่นด้วยไฟฟ้าสถิตย์ ฝุ่นละอองจะถูกชาร์จประจุโดยด้วยขั้วอิเลคโทรด ฝุ่นที่ถูกชาร์จจะเคลื่อนตัวไปสู่แผ่นดักฝุ่น ซึ่งมีประจุตรงข้าม และถูกดูดติดกับแผ่นดัก ถุงกรอง เป็นการกรองฝุ่นละอองด้วยด้วยวัสดุกรองชนิดต่างๆ ขนาดของรูถุงกรองขึ้นอยู่กับความต้องการในการกำจัดฝุ่นขนาดต่างๆ

43 กระบวนการในการจัดการเถ้า (Residue Handling Process)
เถ้าที่เกิดขึ้นในการเผามูลฝอย จะมี 2 ลักษณะ ได้แก่ เถ้าหนัก และเถ้าลอย มีวิธีการจัดการดังนี้ เถ้าหนัก ได้แก่เถ้าที่เกิดจากการเผา มีน้ำหนักมาก สามารถตกลง Hopper เองโดยใช้แรงโน้มถ่วง สามารถกวาดบรรจุภาชนะ รอนำไปกำจัดได้เลย เช่น การฝังกลบ เป็นต้น เถ้าบิน (Fly Ash) จะมีน้ำหนักเบา จะต้องใช้ระบบบำบัดอากาศที่ออกจากปล่องเตาเผา เพื่อดักเถ้าเหล่านี้นำไปกำจัด

44 กระบวนการในการทำให้ไอเสียเย็น (Flue Gas Cooling Process)
ไอเสียที่เกิดขึ้น มีอุณหภูมิ oC จะยังไม่สามารถผ่านตรงไปยังระบบบำบัดอากาศได้ ต้องลดอุณหภูมิให้เหลือประมาณ oC ก่อน มีวิธีการจัดการดังนี้ พ่นน้ำไปยังท่อไอเสียโดยตรง น้ำจะระเหย ทำให้อุณหภูมิไอลดลง ติดตั้งหม้อต้มน้ำ (Stream Boiler) เป็นการลดความร้อนของไอได้ทางอ้อม ขณะเดียวกัน ก็สามารถนำพลังงานมาใช้ประโยชน์ได้ด้วย

45 กระบวนการบำบัดน้ำเสียจากเตาเผา
มูลฝอย 1 ตันจะมีน้ำเกิดขึ้นจากกิจกรรมต่างๆ ม3 แต่หากระบบบำบัดอากาศแบบเปียกจะใช้น้ำ 3 ม3 ลักษณะสมบัติของน้ำเสียจะแตกต่างกัน ต้องบำบัดตามลักษณะสมบัติแต่ละประเภท น้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้ว อาจนำกลับมาใช้อีก หรือปล่อยลงสู่แหล่งรองรับน้ำก็ได้

46 การฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาล (Sanitary Landfill)

47 การฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาล (Sanitary Landfill)
เป็นการกำจัดขยะโดยการนำไปฝังกลบในพื้นที่ที่ได้จัดเตรียมไว้ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ได้รับการคัดเลือกตามหลักวิชาการ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม วิศวกรรม สถาปัตยกรรม และการยินยอมจากประชาชน ทำการออกแบบและก่อสร้างโดยมีการวางมาตรการป้องกัน ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น การปนเปื้อนของน้ำเสียจากกองขยะ ที่เรียกว่า น้ำชะขยะ (Leachate)

48 รูปแบบการฝังกลบมูลฝอย
วิธีฝังกลบบนพื้นราบ (Area Method) วิธีฝังกลบแบบขุดร่อง (Trench Method) วิธีฝังกลบแบบหุบเขา (Canyon Method)

49 วิธีฝังกลบบนพื้นราบ (Area Method)
เป็นการฝังกลบในพื้นที่ที่ระดับน้ำใต้ดินสูง ไม่สามารถขุดลึกลงไปได้ จึงต้องใช้ดินปูก้นบ่อแล้วบดอัด พร้อมกับก่อคันดินเพื่อให้เป็นบ่อฝังกลบ ลักษณะของพื้นที่ที่จำเป็นต้องใช้วิธีนี้ คือ ที่ราบลุ่มหรือที่ที่มีระดับน้ำใต้ดินอยู่ต่ำกว่าผิวดินเล็กน้อย (ไม่เกิน 1 เมตร)

50 วิธีฝังกลบแบบขุดร่อง (Trench Method)
เป็นการฝังกลบในพื้นที่ที่ระดับน้ำใต้ดินลึก สามารถขุดลึกลงไปเพื่อฝังกลบได้สามารถใช้ผนังบ่อด้านข้างเป็นคันบ่อฝังกลบได้ แต่ต้องมีการปูชั้นกันซึมก่อน อย่างน้อยระดับก้นร่องหรือพื้นล่างควรจะอยู่สูงกว่าระดับน้ำใต้ดินไม่น้อยกว่า เมตร โดยยึดระดับน้ำในฤดูฝนเป็นเกณฑ์

51 วิธีฝังกลบแบบหุบเขา (Canyon Method)
เป็นวิธีฝังกลบบนพื้นที่ที่มีลักษณะเป็นแอ่งขนาดใหญ่ ซึ่งอาจเกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือเกิดจากการขุด เช่น หุบเขา ห้วย บ่อ เหมือง ฯลฯ วิธีการในการฝังกลบและอัดมูลฝอยในบ่อแต่ละแห่งอาจแตกต่างกันไป

52 ระบบกำจัดขยะ ระบบกำจัดขยะ

53 ข้อดีของระบบฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาล
มีความยืดหยุ่นของระบบสูง ค่าลงทุนและค่าเดินระบบต่ำกว่าระบบอื่นๆ ระบบไม่ซับซ้อน เข้าใจง่าย ไม่ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญมากนัก สามารถใช้ปรับปรุงพื้นที่ที่หมดคุณค่าให้กลับมีประโยชน์ได้อีก เช่น เหมืองร้าง บ่อขุดดินลูกรัง สามารถกำจัดมูลฝอยได้เกือบทุกประเภท ยกเว้นมูลฝอยอันตราย และมูลฝอยติดเชื้อ เมื่อฝังกลบเต็มแล้ว สามารถใช้ประโยชน์พื้นที่อย่างอื่นได้ เช่น สวนสาธารณะ ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ หรือพื้นที่สีเขียวอื่นๆ ได้

54 ข้อเสียของระบบฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาล
ต้องการพื้นที่ขนาดใหญ่ หากที่ดินราคาแพง หน่วยงานเจ้าของระบบจะต้องลงทุนด้านที่ดินแพง สถานที่ฝังกลบ จะต้องอยู่ห่างไกลเขตเมือง ต้องสิ้นเปลืองค่าขนส่งมาก

55 ข้อดี-ข้อเสียของระบบกำจัดมูลฝอย ทั้ง 3 ระบบ
รายการ เตาเผา หมักปุ๋ย ฝังกลบ เทคโนโลยีที่ใช้ สูง สูงพอสมควร ไม่สูง ผู้ควบคุม ผู้เชี่ยวชาญ มีความรู้สูง มีความรู้ ปริมาณที่กำจัดได้ 80-95% 30-40% 100% สามารถฆ่าเชื้อได้ 100% 70% เล็กน้อย ความยืดหยุ่นของระบบ ไม่มี ต่ำ สูง ผลกระทบต่อน้ำผิวดิน ไม่มี อาจมี เป็นไปได้สูง ผลกระทบต่อน้ำใต้ดิน ไม่มี อาจมี เป็นไปได้สูง

56 ข้อดี-ข้อเสียของระบบกำจัดมูลฝอย ทั้ง 3 ระบบ
รายการ เตาเผา หมักปุ๋ย ฝังกลบ ผลกระทบต่ออากาศ มี ไม่มี อาจมีได้ กลิ่น,แมลงนำโรค ไม่มี อาจมีได้ มี ขนาดพื้นที่ น้อย ปานกลาง มาก เงินลงทุน สูง ค่อนข้างสูง ค่อนข้างต่ำ ค่าเดินระบบ,ซ่อมบำรุง สูง ค่อนข้างสูง ค่อนข้างต่ำ ผลพลอยได้ พลังงาน ปุ๋ยหมัก ก๊าซมีเทน ความร้อน สวนสาธารณะ

57 การกำจัดมูลฝอยแบบผสมผสาน
เป็นการรวมเอาวิธีการกำจัดขยะทั้ง 3 ระบบที่กล่าวมา คือระบบเผาในเตาเผา ระบบหมักทำปุ๋ย และระบบฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาล เข้ามากำจัดร่วมกันในแห่งเดียวในรูปศูนย์กำจัดขยะอย่างครบวงจร แต่ต้องมีปริมาณขยะเกิดขึ้นมากในแต่ละวัน มีโรงคัดแยกขยะแต่ละประเภท ขยะที่รีไซเคิลได้ นำไปขายเพื่อรีไซเคิล ขยะที่ย่อยสลายได้นำมาหมักทำปุ๋ย ปุ๋ยที่ได้นำไปขายให้เกษตรกรโดยอาจผ่านการปรับปรุงคุณภาพปุ๋ยก่อน ขยะที่ย่อยสลายยากแต่ลามารถเผาไหม้ได้ รวมทั้งขยะติดเชื้อจากสถานพยาบาล นำมากำจัดโดยการเผาในเตาเผา

58 การกำจัดมูลฝอยแบบผสมผสาน
พลังงานที่ได้จากการเผาสามารถนำไปใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า และใช้ในโรงงานได้ ส่วนที่เหลือจากการทำปุ๋ยหมักและการเผาในเตาเผา รวมทั้งกากเถ้าที่เกิดจากการเผาในเตาเผา จะนำมากำจัดแบบฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาล ทำให้ขยะที่จะนำไปกำจัดขั้นสุดท้าย คือฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาลนั้นมีปริมาณลดลง ทำให้ประหยัดพื้นที่ในการกำจัด เหมาะสำหรับเทศบาลขนาดใหญ่ที่มีพื้นที่กำจัดไม่มากนัก หรือการกำจัดขยะเป็นกลุ่มพื้นที่ (Cluster)

59 ศูนย์กำจัดขยะ โรงงานทำปุ๋ย ขยะเข้า สถานีคัดแยก เตาเผาขยะ โรงงานวัสดุ
ปุ๋ยอินทรีย์ ขยะเปียก ขยะเข้า สถานีคัดแยก ขยะแห้ง พลังงานจาก ความร้อน เตาเผาขยะ ขยะรีไซเคิล โรงงานวัสดุ รีไซเคิล ส่งโรงงาน ผลิต

60 ข้อดีระบบกำจัดมูลฝอยแบบผสมผสาน
ลดปริมาณและน้ำหนักมูลฝอยก่อนกำจัดขั้นสุดท้ายอย่างมีประสิทธิภาพและครบวงจร ใช้พื้นที่น้อย ลดปริมาณสารพิษและเชื้อโรคที่ปนเปื้อนมากับมูลฝอย ผลพลอยได้จากการกำจัดหลายอย่าง ทำให้สามารถลดค่าใช้จ่ายลงในระดับหนึ่ง

61 ข้อเสียระบบกำจัดมูลฝอยแบบผสมผสาน
ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างและดำเนินการสูง ต้องการบุคลากรที่มีความรู้และความชำนาญสูง หากเครื่องจักรชำรุด ต้องใช้เวลาและงบประมาณในการ ซ่อมมาก ต้องได้รับความร่วมมือจากประชาชนในการคัดแยกมูลฝอยขั้นต้น ระบบจึงจะประหยัดเวลาและงบประมาณในการจัดการ

62 ข้อพิจารณาในการเลือกวิธีการกำจัดขยะแบบผสมผสาน
ปริมาณและลักษณะสมบัติของขยะจะต้องเหมาะสมในการกำจัดทั้ง 3 ระบบ และคุ้มค่าในการลงทุน ประชาชนจะต้องให้ความร่วมมือในการคัดแยกขยะ และเทศบาลจะต้องมีแผนงานในการคัดแยกขยะอย่างชัดเจนและสามารถปฏิบัติได้จริงอย่างเป็นรูปธรรม ต้องมีความพร้อมทางด้านแหล่งเงินทุนและบุคลากรเพื่อรองรับการกำจัดระบบดังกล่าวอย่างพอเพียง

63 ข้อพิจารณาในการเลือกวิธีการกำจัดขยะแบบผสมผสาน (ต่อ)
มาตรการควบคุมมลพิษที่อาจเล็ดลอดออกไปสู่สิ่งแวดล้อมจะต้องบังคับใช้อย่างจริงจัง การคัดเลือกสถานที่ก่อสร้างสถานีกำจัดขยะอย่างครบวงจร ไม่จำเป็นที่จะต้องอยู่บริเวณเดียวกัน แต่ต้องไม่ไกลกันเกินไป เพื่อประหยัดงบประมาณในการขนส่ง จะต้องได้รับการยอมรับของประชาชนในท้องถิ่น ต้องศึกษาด้านผลพลอยได้ที่เกิดขึ้นจากการกำจัดอย่างจริงจัง เพื่อวางแผนในการนำไปใช้และลดงบประมาณของโครงการ

64 ความต้องการพื้นที่ในการกำจัดขยะ
ประชากรต่ำกว่า 5,000 คน ใช้พื้นที่ ไร่ ประชากร 5,000 – 10,000 คน ใช้พื้นที่ ไร่ ประชากร 10,000 – 50,000 คน ใช้พื้นที่ ไร่ ประชากร 50,000 – 100,000 คน ใช้พื้นที่ ไร่ ประชากร 100,000 – 1,000,000 คน ใช้พื้นที่ ไร่ขึ้นไป ประชากร 1,000,000 คนขึ้นไป ใช้พื้นที่ ไร่ขึ้นไป

65 เกณฑ์การคัดเลือกที่ฝังกลบขยะด้านวิศวกรรม
เป็นพื้นที่ด้อยคุณค่าทางการเกษตร ในกรณีที่เลือกใช้วิธีกำจัดขยะแบบฝังกลบ เพื่อทำการกลบขยะให้ชั้นล่างสุดของขยะต้องห่างจากระดับน้ำบาดาล และระดับน้ำใต้ดิน ลักษณะดินของพื้นที่ควรเป็นดินที่มีสัดส่วนของดินที่มีคุณสมบัติซึมน้ำได้พอสมควร เพื่อใช้เป็นวัสดุกลบทับคันดิน และกันน้ำให้ซึมซับได้ยาก ไม่เป็นพื้นที่ที่มีน้ำท่วมประจำ ซึ่งจะเป็นอุปสรรคในการดำเนินงาน เป็นพื้นที่ที่มีความลาดเอียงไม่มากนัก

66 การคำนวณหาพื้นที่ที่ต้องการในการฝังกลบมูลฝอยอย่างถูกหลักสุขาภิบาล
เกณฑ์ที่ใช้ในการคำนวณหาพื้นที่ที่ต้องการใช้ในการฝังกลบมูลฝอยอย่างถูกหลักสุขาภิบาล ความหนาแน่นของมูลฝอยหลังการบดอัด (Compacted Density) เท่ากับ 600 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร ความสูงของชั้นมูลฝอย (Lift Height) 2.00 เมตร

67 ตัวอย่าง จากการประเมินประมาณมูลฝอยของเทศบาลตำบลสะอาดตา 20 ปี มีปริมาณมูลฝอยสะสมทั้งสิ้น 136,230 ตัน จงหาความต้องการพื้นที่ในการฝังกลบมูลฝอยอย่างถูกหลักสุขาภิบาลว่าต้องใช้กี่ไร่?

68 วิธีทำ - ใช้ความหนาแน่นของมูลฝอยหลังการบดอัด (Compacted Density) เท่ากับ 600 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร - ทำการฝังกลบมูล 3 ชั้น ความสูงของมูลฝอยแต่ละชั้น (Lift Height) 2.00 เมตร หาปริมาตรของมูลฝอยหลังบดอัด 6 m A = ? 2 m

69 วิธีทำ (ต่อ) ปริมาตรของมูลฝอยหลังบดอัด หาพื้นที่ในการฝังกลบ (A) ไร่
6 m A = ? 2 m ปริมาตรของมูลฝอยหลังบดอัด หาพื้นที่ในการฝังกลบ (A) ไร่

70 เกณฑ์การคัดเลือกที่ฝังกลบขยะด้านกฎหมาย
ควรพิจารณาที่สาธารณประโยชน์ก่อน หรือที่ของส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจที่ไม่ได้ประโยชน์ (ในแง่กฎหมายต้องทำเรื่องขอใช้พื้นที่) จัดทำหรือขอเช่าที่จากเอกชนโดยกำหนดระยะเวลาเช่าอย่างน้อย 10 ปี (ในแง่กฎหมายให้ดำเนินการเป็นไปตามระเบียบพัสดุ) ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ให้ทำการเวนคืนที่ดิน โดยออก พระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดิน ข้อกำหนดต่าง ๆ ตามกฎหมายท้องถิ่น

71 เกณฑ์การคัดเลือกที่ฝังกลบขยะ ด้านเศรษฐกิจและสังคม
ระยะทางที่รถยนต์เก็บขนขยะไปกำจัดในสถานที่กำจัดขยะจะต้องไม่ห่างไกลกันมากนัก เพื่อมิให้กระทบต่อค่าใช้จ่าย เป็นพื้นที่ที่ไม่มีแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยของประชาชน พิจารณาความเป็นไปได้ในการใช้พื้นที่ร่วมกันกับหน่วยงานอื่น เช่น อบต. หรือเทศบาลที่อยู่ใกล้กัน เพื่อใช้พื้นที่กำจัดขยะร่วมกัน อันจะเป็นการลดค่าใช้จ่ายการกำจัดขยะ เพื่อใช้พื้นที่อย่างคุ้มค่า

72 เกณฑ์การคัดเลือกที่ฝังกลบขยะด้านสิ่งแวดล้อม
เป็นพื้นที่ที่อยู่ห่างไกลจากชุมชนและที่อยู่อาศัยของประชาชน เป็นพื้นที่ที่อยู่ห่างไกลจากแหล่งน้ำผิวดินที่เป็นสาธารณประโยชน์เพื่อการอุปโภคบริโภค เพื่อมิให้โอกาสปนเปื้อนกับแหล่งน้ำมัน เป็นพื้นที่ที่อยู่ห่างไกลจากเขตถนนหลวง หรือเส้นทางที่ประชาชนสัญจรอยู่เป็นประจำ ในระยะทางห่างพอสมควร ไม่ทำให้สูญเสียทัศนียภาพของพื้นที่โดยรอบ พื้นที่ไม่อยู่ในเขตที่จะต้องอนุรักษ์ใช้เป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธารหรือพื้นที่ป่าอนุรักษ์ และพื้นที่ที่มีความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์

73 แนวทางการจัดการขยะอย่างครบวงจร
การลดปริมาณผลิตขยะ การจัดการระบบรีไซเคิลเพื่อนำไปสู่การแปรรูปเพื่อใช้ใหม่ การขนส่ง ระบบกำจัด

74 แนวทางการจัดการขยะอย่างครบวงจร
ตัวอย่างโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการลดปริมาณผลิตขยะเทศบาลตำบลบ้านไผ่ (มหาวิทยาลัยขอนแกน,2550) แนวทางบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชนแบบแบ่งกลุ่มพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (กรมควบคุมมลพิษ,2550) พลังงานจากขยะ

75 เอกสารอ้างอิง กรมควบคุมมลพิษ. (2547). การจัดการขยะมูลฝอยชุมชนอย่างครบวงจร (คู่มือสำหรับผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น). พิมพ์ครั้งที่ 4. คุรุสภาลาดพร้าว กรุงเทพ.. สมศักดิ์ พิทักษานุรัตน์. (2548). การจัดการขยะ. คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.(2550).โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการลดปริมาณขยะเทศบาลตำบลบ้านไผ่. ธเรศ ศรีสถิตย์. (2553). วิศวกรรมการจัดการมูลฝอยชุมชน.พิมพ์ครั้งที่ 1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อุษา วิเศษสุมนา. (2537)”เทคโนโลยีการจัดการด้านขยะและกากเป็นพิษ. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

76 พ่อแม่คือผู้มีพระคุณที่สุด ถ้าไม่ทำให้พ่อแม่เสียใจ ทำอะไรก็เจริญ..


ดาวน์โหลด ppt บทที่ 5 ระบบกำจัดขยะ (Solid Waste Disposal)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google