หมวดวิชาที่ 3 บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทำงานของสถานประกอบกิจการ
ประกอบด้วยหัวข้อวิชา 3.1 การควบคุมและป้องกันการประสบอันตรายจากการทำงาน 3.2 การสำรวจความปลอดภัย 3.3 การจัดทำข้อบังคับ คู่มือและมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการทำงาน 3.4 การวางระบบการรายงานสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัย 3.5 การประเมินผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน 3.6 การประชุมและการติดตามงาน
หัวข้อวิชา 3.1 การควบคุมและป้องกันการประสบอันตรายจากการทำงาน หัวข้อวิชา 3.1 การควบคุมและป้องกันการประสบอันตรายจากการทำงาน ประกอบด้วยหัวเรื่อง 3.1.1 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากเครื่องจักร 3.1.2 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากไฟฟ้า 3.1.3 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากการเคลื่อนย้ายและการจัดเก็บวัสดุ 3.1.4 การป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบกิจการ 3.1.5 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสิ่งแวดล้อมการทำงาน 3.1.6 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสารเคมี 3.1.7 การป้องกันและควบคุมปัญหาด้านการยศาสตร์ 3.1.8 การป้องกันและควบคุมอันตรายในงานก่อสร้าง 3.1.9 อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล
หัวเรื่อง 3.1.1 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากเครื่องจักร หัวเรื่อง 3.1.1 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากเครื่องจักร ก. สาเหตุของอุบัติเหตุจากเครื่องจักร เครื่องจักรไม่มีเซฟการ์ดที่เหมาะสม ไม่มีหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยในการบำรุงรักษาเครื่องจักร พนักงานขาดทัศนคติความปลอดภัย และ การไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบและมาตรการเกี่ยวกับการทำงานกับเครื่องจักรที่ปลอดภัย พนักงานขาดการฝึกอบรมการทำงานกับเครื่องจักรอย่างเหมาะสม และปลอดภัย ก่อให้เกิดการทำงานแบบลองผิดลองถูก
หัวเรื่อง 3.1.1 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากเครื่องจักร หัวเรื่อง 3.1.1 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากเครื่องจักร ข. การป้องกันและควบคุมอันตรายจากเครื่องจักร 1. เครื่องจักรต้องมีเซฟการ์ดเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตราย 2. เครื่องจักรที่ต้องใช้คนป้อนชิ้นงาน ต้องมีอุปกรณ์ป้อนชิ้นงานแทนมือ 3. มีการตรวจสอบสภาพของเครื่องจักรให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานก่อนทำงานทุกครั้ง 4. มีการจัดทำรั้วกั้น หรือเส้นแสดงเขตอันตรายของเครื่องจักรให้ชัดเจน และมีทางเดินเข้า ออกสำหรับการปฏิบัติงานกับเครื่องจักรที่มีความกว้างไม่น้อยกว่า 80 เซนติเมตร สำหรับเครื่องจักรที่ก่อให้เกิดประกายไฟควรมีเครื่องป้องกันประกายไฟด้วย 5. มีมาตรฐานการปฏิบัติงานในการทำงานกับเครื่องจักร และมาตรฐานการปฏิบัติงานในการบำรุงรักษาเครื่องจักรให้ผู้ทำงานปฏิบัติตามได้ 6. พนักงานที่ทำงานกับเครื่องจักรควรใช้ PPE ตามลักษณะงานตลอดเวลา และสวมใส่เสื้อผ้าที่รัดกุม ไม่สวมเครื่องประดับและไม่ปล่อยให้มีผมยาวเกินไปโดยไม้ได้รวบให้เรียบร้อย 7. ฝึกอบรมพนักงานให้เข้าใจการทำงานกับเครื่องจักรอย่างเหมาะสมและปลอดภัย
หัวเรื่อง 3.1.1 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากเครื่องจักร หัวเรื่อง 3.1.1 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากเครื่องจักร ค. เซฟการ์ดของเครื่องจักร ลักษณะของการ์ดที่ดีควรจะมีลักษณะ ดังนี้ เป็นการป้องกันอันตรายที่ต้นเหตุ เป็นการป้องกันมิให้ส่วนของร่างกายเข้าใกล้เขตอันตราย ให้ความสะดวกแก่ผู้ทำงานได้เช่นเดียวกับที่ไม่ได้ใส่การ์ดป้องกัน การ์ดที่ดีไม่ควรรบกวนต่อการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน ไม่ขัดขวางการผลิต เหมาะสมกับงานและเครื่องจักร ติดตั้งมากับเครื่อง ง่ายต่อการตรวจสอบและการซ่อมบำรุงเครื่องจักร ทนทานต่อการใช้งานปกติได้ดีและง่ายต่อการบำรุงรักษา
หัวเรื่อง 3.1.1 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากเครื่องจักร หัวเรื่อง 3.1.1 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากเครื่องจักร การทำเซฟการ์ดเพื่อให้เกิดความปลอดภัย มีหลักสำคัญ คือ 1.หลักการป้องกันหรือขัดขวางการสัมผัสจุดอันตรายของเครื่อง โดย 1.1 ออกแบบเครื่องโดยวางจุดตำแหน่งอันตรายไว้ภายใน 1.2 จำกัดขนาดช่องเปิดมิให้มือหรืออวัยวะอื่นลอดเข้าไป 1.3จัดช่องว่างที่เหมาะสมเพื่อป้องกันมิให้เกิดการหนีบ อัด หรือกระแทกอวัยวะ 1.4 มีแผ่นหรือตะแกรงปิดกั้นการสัมผัสส่วนที่มีอันตราย 2. ควบคุมโดยให้มือพ้นจากบริเวณอันตราย โดย 1 การใช้ปุ่มควบคุม 2 ปุ่ม เพื่อให้มือทั้ง 2 ข้างพ้นจากจุดอันตรายโดยถ้ามือข้างหนึ่งข้างใดปล่อยจากปุ่มควบคุมเครื่องจะไม่ทำงาน 2 การใช้ชุดควบคุมที่อยู่ไกล(Remote control)
หัวเรื่อง 3.1.1 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากเครื่องจักร หัวเรื่อง 3.1.1 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากเครื่องจักร 3. ป้องกันโดยหลักการเครื่องจะไม่ทำงานถ้ามือไม่ออกจากเขตอันตราย โดย 1 การใช้ระบบลำแสงนิรภัย เมื่อลำแสงถูกบังจะส่งผลให้เครื่องหยุดทำงานและหากเกิดความบกพร่องของระบบแสงทำให้แสงดับเครื่องจะต้องไม่ทำงานด้วย 2 การใช้ราวนิรภัยหรือฝาครอบนิรภัย ซึ่งถ้าราวหรือฝาครอบนั้นปิดไม่เข้าที่เครื่องจะไม่ทำงาน 4.ป้องกันโดยใช้หลักการปัดให้พ้นเขตอันตรายก่อนทำงาน เช่นเครื่องปัดมือ หรือดึงมือออกก่อนเครื่องทำงาน 5. ใช้เครื่องจับชิ้นงานป้อนแทนมือ ใช้รางเท รางเลื่อน หรือจานหมุน เป็นต้น
รูปแสดงลักษณะของเซฟการ์ดต่าง ๆ
หัวเรื่อง 3.1.1 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากเครื่องจักร หัวเรื่อง 3.1.1 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากเครื่องจักร การบำรุงรักษาเซฟการ์ด กฎเกณฑ์ต่างๆ ในทางปฏิบัติสามารถใช้ เช่น 1) ห้ามถอด ปรับ หรือเคลื่อนย้ายเซฟการ์ดทุกชนิดเพื่อเหตุผลใดๆ ทั้งสิ้น เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากผู้ควบคุมงานให้ทำหน้าที่นั้นได้ 2) ก่อนที่จะถอด ปรับ หรือซ่อมบำรุงเซฟการ์ด จะต้องหยุดเครื่องจักร ยกสวิทช์ใหญ่แล้วล็อคไว้และแขวนป้ายเตือนไว้ทุกครั้ง 3) ต้องไม่เดินเครื่องจักรใดๆจนกว่าจะแน่ใจว่า เซฟการ์ดทุกชิ้นของเครื่องนั้นได้ติดตั้งเข้าที่และอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานแล้ว 4) เซฟการ์ดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของเซฟการ์ดชำรุดหรือหายไปให้รายงานผู้ควบคุมงานทราบทันที 5) ไม่ควรอนุญาตให้พนักงานที่ผูกเนคไท สวมเสื้อผ้าหลวมๆ ใส่นาฬิกา แหวน หรือเครื่องประดับอื่นๆทำงานกับเครื่องจักรหรือใกล้ๆเครื่องจักร
หัวเรื่อง 3.1.1 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากเครื่องจักร หัวเรื่อง 3.1.1 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากเครื่องจักร ง. การบำรุงรักษาเครื่องจักรอย่างปลอดภัย 1) ผู้ทำหน้าที่บำรุงรักษาหรือซ่อมแซมจะต้องแจ้งให้ผู้ใช้เครื่องทราบทุกครั้งที่ตนเข้าไปบำรุงรักษาเครื่องจักร 2) ต้องแน่ใจเสมอว่าในระหว่างที่ทำการบำรุงรักษาหรือซ่อมแซมนั้นต้องไม่มีผู้ใดสามารถเดินเครื่องจักรได้ ถ้าไม่ได้รับอนุญาตจากตนเอง 3) ควรใช้ล็อคเฉพาะตัวของตนเองล็อคเครื่องจักรทุกครั้ง โดยไม่คำนึงว่าผู้อื่นล็อคแล้วหรือไม่เพราะล็อคของผู้อื่นป้องกันท่านไม่ได้ 4) ในระหว่างที่ทำงานควรแขวนป้ายแสดงให้ผู้อื่นทราบตลอดเวลาว่ากำลังทำงานซ่อมบำรุงอยู่ 5) เมื่อเสร็จหรือหมดเวลาทำงาน ต้องปลดล็อคเฉพาะตัวออกด้วยตนเอง 6) ถ้าล็อคเฉพาะตัวหาย หรือกุญแจหาย ต้องรายงานทันที และเบิกล็อคและกุญแจชุดใหม่มาใช้
หัวเรื่อง 3.1.2 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากไฟฟ้า หัวเรื่อง 3.1.2 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากไฟฟ้า ก. อันตรายจากไฟฟ้าที่มีต่อชีวิตและร่างกาย ลักษณะที่เกิดอันตราย 1. การสัมผัสโดยตรง คือ การสัมผัสโดยตรงกับส่วนที่กระแสไฟฟ้าไหลอยู่ เช่น สัมผัสกับสายไฟฟ้าที่หมดอายุใช้งาน ซึ่งทำให้สภาพของฉนวนอยู่ในสภาพที่ไม่ปลอดภัย ฉนวนแตกร้าว ฉนวนกรอบ ร่อนหลุดออกเหลือแต่สายทองแดงตัวนำภายใน 2. สัมผัสโดยอ้อม คือ การสัมผัสกับเปลือกนอกของอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เป็นตัวนำไฟฟ้า เปลือกนอกของอุปกรณ์ไฟฟ้า อุปกรณ์เหล่านี้มีผิวสัมผัสที่เป็นโลหะเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น เมื่อเกิดกระแสไฟฟ้ารั่วขึ้นอุปกรณ์ดังกล่าวจะเป็นตัวนำไฟฟ้าที่ดี กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านสายตัวนำรั่วลงสู่อุปกรณ์เหล่านั้น ผู้ที่สัมผัสกับอุปกรณ์นั้นก็เท่ากับสัมผัสกับกระแสไฟฟ้า ทำให้กระแสไฟฟ้าผ่านร่างกายทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้
หัวเรื่อง 3.1.2 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากไฟฟ้า หัวเรื่อง 3.1.2 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากไฟฟ้า 3. ผลของกระแสไฟฟ้าที่มีต่อร่างกาย กล้ามเนื้อกระตุกหรือเกิดการหดตัว ระบบประสาทเกิดอาการชะงักงันหรือเป็นอัมพาตชั่วคราว หัวใจหยุดทำงานทันที หัวใจเกิดอาการเต้นกระตุกหรือเต้นถี่รัว เซลล์ภายในร่างกายเสียหรือตาย เนื้อเยื่อและเซลล์ต่างๆของร่างกายถูกทำลาย ดวงตาอักเสบจากแสงสว่างที่มีความเข้มสูงจากประกายไฟที่เกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร
หัวเรื่อง 3.1.2 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากไฟฟ้า หัวเรื่อง 3.1.2 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากไฟฟ้า ข. สาเหตุของอุบัติเหตุที่เกิดจากไฟฟ้า 1. การติดตั้งผิด เช่น การออกแบบ การก่อสร้าง การใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าผิดประเภท 2. อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้เกิดชำรุดเช่นฉนวนที่หุ้มสายไฟฟ้าชำรุด เสียหาย เสื่อมสภาพ เปราะแตก หรือขาดวิ่นไป 3. เกิดจากผู้ปฏิบัติงานหรือผู้ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า การปฏิบัติงานที่ไม่ถูกต้อง
หัวเรื่อง 3.1.2 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากไฟฟ้า หัวเรื่อง 3.1.2 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากไฟฟ้า ปัจจัยหรือสาเหตุที่ทำให้เกิดอันตรายจากไฟฟ้าได้แก่ 1) ขนาดของกระแสไฟฟ้า 2) ระยะเวลาที่สัมผัสกับปริมาณกระแสไฟฟ้า 3) ความต้านทานของร่างกายต่อกระแสไฟฟ้า ที่ผิวหนังของร่างกาย เมื่อผิวหนังส่วนที่สัมผัสกับไฟฟ้าเปียกชื้นด้วยเหงื่อหรือน้ำ กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านร่างกายได้มากขึ้นและอันตรายที่ได้รับจะสาหัสขึ้นด้วย 4) ขนาดของแรงดันไฟฟ้า 5) เส้นทางหรืออวัยวะภายในร่างกายที่กระแสไฟฟ้าผ่าน
หัวเรื่อง 3.1.2 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากไฟฟ้า หัวเรื่อง 3.1.2 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากไฟฟ้า การเกิดเพลิงไหม้เนื่องจากไฟฟ้า เนื่องจาก 4.1 การเกิดประกายไฟในบริเวณที่มีเชื้อเพลิงที่ไวไฟ 4.2 การลุกไหม้ที่สายหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าก่อนแล้วลุกลามไปไหม้เชื้อเพลิงที่อยู่ใกล้เคียง เกิดจากการใช้กระแสไฟฟ้าเกินกว่าอัตราที่กำหนดไว้สำหรับสายและอุปกรณ์ไฟฟ้า 4.3 การใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเกินกำลัง 4.4 อุปกรณ์ไฟฟ้ามีความร้อนสะสมเพิ่มมากขึ้นจนถึงจุดติดไฟของสิ่งที่รองรับหรือ สัมผัส 4.5 มีกระแสไฟฟ้ารั่ว 4.6 ความร้อนที่จุดต่อสาย เนื่องจากจุดต่อสายต่อไม่สนิท
หัวเรื่อง 3.1.2 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากไฟฟ้า หัวเรื่อง 3.1.2 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากไฟฟ้า ค. การป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า 1. การเรียนรู้ทฤษฎีทางไฟฟ้า 2. การเลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า 3. การติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าต้องติดตั้งตามหลักความปลอดภัย และมาตรฐานของการติดตั้ง 4. การซ่อมบำรุงและตรวจสภาพอุปกรณ์ไฟฟ้า ทำเป็นประจำสม่ำเสมอ โดยผู้มีความรู้ 5. การใช้ป้ายเตือน 6. การใช้เครื่องจักรและอุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างถูกวิธี 7. การปฏิบัติตามมาตรฐานทางไฟฟ้าซึ่งอ้างอิงจากมาตรฐานของ NEC, ANSI, OSHA , NIOSH และสามารถหาได้จากคู่มือปฏิบัติงานสำหรับพนักงาน ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
หัวเรื่อง 3.1.2 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากไฟฟ้า หัวเรื่อง 3.1.2 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากไฟฟ้า 8. การป้องกันอันตรายจากเพลิงไหม้เนื่องจากไฟฟ้าโดย 8.1 ใช้เครื่องป้องกันวงจรไฟฟ้า (ฟิวส์) ที่ถูกต้องและเหมาะสม 8.2 ใช้สายไฟและอุปกรณ์ไฟฟ้าตรงตามมาตรฐานที่กำหนด 8.3 ป้องกันไม่ให้มีการกระทำที่จะเป็นเหตุให้กระแสไฟฟ้าลัดวงจร 8.4 ไม่เดินสายดินหรือติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าใกล้แหล่งกำเนิดความร้อน 8.5 การต่อสายต้องต่อให้แน่นสนิท 8.6 ตรวจสอบว่ามีกระแสไฟฟ้ารั่วลงดินหรือไม่ 8.7 เลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ผลิตได้มาตรฐานความปลอดภัย 8.8 ต้องไม่มีเชื้อเพลิงอยู่ใกล้กับสายหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า 8.9 ตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าเป็นประจำตามระยะเวลาที่กำหนด 8.10 เมื่อพบความผิดปกติจะต้องรีบหาสาเหตุ ขจัดและป้องกันแก้ไขทันที
หัวเรื่อง 3.1.3 การป้องกันและควบคุมอันตราย จากการเคลื่อนย้ายและการจัดเก็บวัสดุ ก. ปัญหาจากการเคลื่อนย้ายและการจัดเก็บวัสดุ การเคลื่อนย้ายและจัดเก็บวัสดุที่ไม่ถูกวิธี อาจทำให้เกิด การปวดหลัง เคล็ด ขัด ยอก ฟกช้ำ และกระดูกหัก การกระแทกหรือการชนกับวัสดุที่ยื่นออกมา การร่วงหล่นหรือการล้มของกองวัสดุ การรั่วไหลของของเหลวหรือสารเคมีที่ทำให้ผู้ปฏิบัติงานได้รับอันตราย เป็นต้น สาเหตุจากการบาดเจ็บเหล่านี้พบว่าเนื่องมาจาก “การปฏิบัติงานที่ไม่ปลอดภัย” เป็นต้นว่า การยกของที่ไม่ถูกวิธี การยกของที่หนักเกินไป การจับวัสดุไม่ถูกต้อง และไม่สวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล
หัวเรื่อง 3.1.3 การป้องกันและควบคุมอันตราย จากการเคลื่อนย้ายและการจัดเก็บวัสดุ ผู้รับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงานควรพิจารณาและทบทวนถึงคำถามต่อไปนี้ ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นของการประเมินสภาพของปัญหา และการแก้ไขต่อไป 1) สามารถปรับปรุงดัดแปลงงานนั้นในเชิงวิศวกรรม เพื่อขจัดการยกย้ายวัสดุด้วยมือเปล่าได้หรือไม่ 2) การบาดเจ็บที่พนักงานได้รับจากการเคลื่อนย้ายวัสดุนั้น เกิดขึ้นอย่างไร และเกิดจากอะไร เช่น วัสดุที่แหลมคม สารเคมี ฝุ่น ฯลฯ 3) สามารถจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกในการยกเพื่อช่วยให้งานยกย้ายนั้นปลอดภัยขึ้นได้หรือไม่ เช่น ทำถุงหิ้ว จัดหารถเข็นหรือตะขอ เป็นต้น 4) สามารถเคลื่อนย้ายวัสดุโดยการใช้สายพาน หรืออุปกรณ์เครื่องมือกลอื่นๆเพื่อลดการยกย้ายวัสดุด้วยมือเปล่าให้น้อยลงได้หรือไม่
หัวเรื่อง 3.1.3 การป้องกันและควบคุมอันตราย จากการเคลื่อนย้ายและการจัดเก็บวัสดุ 5) อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลจะช่วยป้องกันการบาดเจ็บจากการยกย้ายนั้นๆ ได้หรือไม่ 6) สามารถจัดการอบรมเกี่ยวกับความปลอดภัยในการยกย้ายวัสดุให้แก่พนักงานต่างๆ เพื่อป้องกันการบาดเจ็บ ได้หรือไม่ 7) มีการควบคุมดูแลในการยกย้ายวัสดุของพนักงานอย่างเหมาะสมหรือไม่ 8) มีการกำหนดสถานที่เก็บและระบบการจัดเก็บวัสดุแต่ละประเภทหรือไม่ 9) มีข้อปฏิบัติในการจัดเก็บวัสดุที่มีรูปร่างต่างๆหรือไม่ เช่น ท่อ ถังที่มีความดันสูง กล่อง ถุง โลหะแผ่นเป็นต้น
หัวเรื่อง 3.1.3 การป้องกันและควบคุมอันตราย จากการเคลื่อนย้ายและการจัดเก็บวัสดุ ข. ความปลอดภัยในการเคลื่อนย้ายและการจัดเก็บวัสดุ 1. ความปลอดภัยในการเคลื่อนย้ายวัสดุด้วยมือ 1. ถ้าวัสดุขนาดใหญ่เกินไปหรือหนักเกินไป ซึ่งเกินความสามารถของผู้ปฏิบัติงานคนเดียวจะต้องหาคนมาช่วยเหลือ 2. พิจารณาระยะทางที่จะเคลื่อนย้ายวัสดุก่อนการยกวัสดุขึ้น และระยะเวลาที่ตนเองจะสามารถรับน้ำหนักวัสดุนั้นได้ 3. การวางวัสดุบนโต๊ะ ควรจะค่อยๆวางวัสดุลงที่ขอบโต๊ะเสียก่อน แล้วจึงผลักให้เข้าไปข้างใน ช่วยป้องกันมิให้นิ้วมือถูกหนีบหรือถูกทับได้ 4. ที่รองรับวัสดุต้องแข็งแรงที่สามารถรับน้ำหนักของวัสดุได้ และมีความมั่นคงจะไม่ล้มหรือพังลงมา มีหลักว่าควรจะให้วางอยู่ในความสูงระดับสะเอวเสมอ 5. การยกวัสดุขึ้นไหล่ ขั้นแรกจะต้องยกวัสดุขึ้นมาที่ระดับสะเอวก่อน แล้วพักวัสดุที่ขอบโต๊ะ หรือชั้นวางของหรือที่สะเอวหรือสะโพก หลังจากนั้นก็ต้องจัดตำแหน่งมือให้เหมาะสมแล้วย่อตัวเล็กน้อย เพื่อยกวัสดุขึ้นไหล่ พร้อมกับยืดเข่าให้ตรง 6. การเปลี่ยนทิศทางขณะยกวัสดุ จะต้องระลึกไว้เสมอว่า “อย่าเอี้ยวตัวหรือบิดตัว”
หัวเรื่อง 3.1.3 การป้องกันและควบคุมอันตราย จากการเคลื่อนย้ายและการจัดเก็บวัสดุ 2. ความปลอดภัยในการขนย้ายวัสดุด้วยเครื่องมือหรืออุปกรณ์ในการเคลื่อนย้าย 1. ชะแลง 1) เลือกชนิดและขนาดให้เหมาะสม 2) ผู้ใช้ไม่ควรยืนคร่อม เพราะชะแลงอาจลื่นหลุดจากวัสดุที่กำลังงัดได้ 3) ผู้ใช้ควรยืนอยู่ในตำแหน่งที่ปลอดภัยจากการถูกหนีบ หรือถูกกระแทกเวลที่ชะแลงลื่นหลุดจากวัสดุที่งัด หรือจากมือ หรือวัสดุนั้นเกิดหลุดออกมาอย่างฉับพลัน 4) หัวชะแลงต้องอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ไม่ทื่อหรือหัก 5) เวลาใช้เสร็จแล้วควรแขวนหรือเก็บเอาไว้ให้ปลอดภัย ไม่ให้ตกหล่นหรือทำให้ใครสะดุด 2. ล้อเลื่อน 1) ระวังมิให้นิ้วมือหรือนิ้วเท้าถูกล้อทับ 2) ถ้าจะเปลี่ยนทิศทาง ให้ใช้คันบังคับหรือไม้ขวาง ไม่ใช้มือ หรือเท้าขัดล้อให้เปลี่ยนทิศทาง 3) ไม่ควรเลี้ยวบ่อยโดยไม่จำเป็น จึงควรวางล้อเลื่อนให้ถูกทิศทางก่อนเลื่อนออกไป 4) ห้ามใช้ถังก๊าซเป็นล้อเลื่อน
หัวเรื่อง 3.1.3 การป้องกันและควบคุมอันตราย จากการเคลื่อนย้ายและการจัดเก็บวัสดุ ตะขอ 1) ตะขอมือต้องแหลมคมอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้ลื่นเวลาที่ใช้เกี่ยวกล่อง หรือวัสดุอื่นๆ 2) ด้ามตะขอจะต้องแข็งแรง และติดแน่นอยู่กับตัวตะขอ 3) ด้ามและปลายตะขอที่ยาวควรจะโค้งไปในระนาบเดียวกัน เพื่อให้ตัวตะขอวางทาบกับพื้นได้ และไม่ทำให้เดินสะดุด 4) ควรใส่ปลอกหุ้มปลายตะขอเวลาที่เลิกใช้แล้ว
หัวเรื่อง 3.1.3 การป้องกันและควบคุมอันตราย จากการเคลื่อนย้ายและการจัดเก็บวัสดุ พลั่ว ขอบของพลั่วควรจะเรียบเสมอกัน ตรวจดูด้ามพลั่วว่ามีเสี้ยนไม้หรือไม่ ผู้ใช้ควรสวมรองเท้านิรภัย ซึ่งมีพื้นแข็งแรง เวลาใช้ให้ยืนแยกขาจากกันพอสมควร เพื่อให้ทรงตัวดีและขยับเข่าได้สะดวก โดยที่ขาเป็นที่รอบรับน้ำหนัก ใช้ส้นเท้ากดพลั่วลงในวัสดุที่ตัก ไม่ควรใช้ฝ่าเท้ากด เพราะถ้าเท้าเกิดลื่นออกจากพลั่ว ก็อาจถูกขอบพลั่วซึ่งมีความคมบาดทะลุรองเท้าไปถูกได้ จุ่มพลั่วลงในน้ำเป็นครั้งคราว เพื่อวัสดุที่เหนียว และเกาะติดกับพลั่วหลุดออกทำให้ขุดง่ายขึ้น และไม่เหนื่อยแรง ทาน้ำมันหรือขี้ผึ้งบนใบพลั่ว เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้วัสดุบางอย่างเกาะติดใบพลั่ว เมื่อเลิกใช้แล้วควรพิงกำแพง หรือแขวนไว้ที่ราว หรือเก็บใส่กล่อง
หัวเรื่อง 3.1.3 การป้องกันและควบคุมอันตราย จากการเคลื่อนย้ายและการจัดเก็บวัสดุ 5.รถเข็น ข้อควรระวังทั่วไปในการใช้รถเข็น ระวังรถวิ่งตกกระดานพาด หรือทางที่ยกสูงขึ้น ระวังชนกับรถเข็นคันอื่น หรือสิ่งกีดขวาง ระวังมือถูกหนีบระหว่างรถเข็นกับสิ่งของอื่น เมื่อใช้เสร็จแล้ว นำไปไว้ในที่เก็บ ไม่ควรจอดทิ้งไว้ตรงทางเดินหรือที่ซึ่งอาจเกิดอันตราย เพราะอาจมีผู้เดินสะดุด หรือกัดขวางทางเดิน ทางจราจร รถเข็นที่มีด้ามเข็นพับได้ ควรจอดให้ด้ามยกขึ้น และไม่ขวางทางเวลาเก็บ
หัวเรื่อง 3.1.3 การป้องกันและควบคุมอันตราย จากการเคลื่อนย้ายและการจัดเก็บวัสดุ 6. รถติดเครื่องยนต์สำหรับงานอุตสาหกรรม หลักการทั่วไปในการใช้รถ 1) ควรติดตั้งอุปกรณ์ที่ทำให้ต้องใช้คนบังคับตลอดเวลาจึงเคลื่อนหรือทำงานได้ 2) ควรมีที่คลุมเหนือศีรษะผู้ขับ เช่น ผ้าคลุม หรือหลังคา 3) รถที่ออกแบบมาสำหรับงานใด ก็ควรใช้กับงานนั้นโดยเฉพาะเท่านั้น 4) รถยกควรมีสวิทช์ควบคุมจำกัดสูงสุด และต่ำสุดของการยก 5) ไม่ควรใช้รถยกเป็นลิฟต์ยกคน เว้นเสียแต่ว่าจะมีแป้นที่ปลอดภัยติดกับงาที่ยกของรถ และที่แป้นนี้จะต้องมีราวกันตกด้วย 6) ถ้าใช้รถซึ่งขับเคลื่อนด้วยน้ำมันเชื่อเพลิงในที่อับ ปริมาณของคาร์บอนมอนอกไซด์ ต้องมีไม่มากกว่า 50 ส่วนต่อล้านส่วนโดยปริมาตร ในเวลาการทำงาน 8 ชั่วโมงต่อเนื่อง และอากาศจะต้องมีออกซิเจนอยู่ไม่น้อยกว่า 19.5 % โดยปริมาตร ในบริเวณที่มีก๊าซหรือไอที่ติดไฟได้ หรือบริเวณที่มีฝุ่น เส้นใย หรือสะเก็ดของสารต่างๆ คลุ้งอยู่มากจนทำให้ติดไฟได้ง่ายควรใช้รถที่ออกแบบขึ้นมาเพื่อใช้ได้กับบริเวณดังกล่าวเท่านั้น
หัวเรื่อง 3.1.3 การป้องกันและควบคุมอันตราย จากการเคลื่อนย้ายและการจัดเก็บวัสดุ 7. สายพานลำเลียง ข้อกำหนดการใช้สายพานลำเลียง ไม่ปีน นั่ง หรือยืน บนสายพานลำเลียง ต้องไม่ลำเลียงสินค้าหนักเกินไป ไม่ถอดฝาปิดเฟืองหรือโซ่ออกในขณะเดินเครื่อง ต้องรู้จุดที่ติดตั้งระบบควบคุมสายพาน ตู้ระบบควบคุมสายพานตั้งอยู่ในตำแหน่งที่เข้าถึงได้สะดวก ก่อนเริ่มเดินสายพาน พนักงานทุกคนต้องอยู่ห่างในตำแหน่งที่ปลอดภัย ผู้ควบคุมสายพานลำเลียงควรผ่านการอบรมมาแล้ว
หัวเรื่อง 3.1.3 การป้องกันและควบคุมอันตราย จากการเคลื่อนย้ายและการจัดเก็บวัสดุ 7. สายพานลำเลียง (ต่อ) ข้อกำหนดการใช้สายพานลำเลียง เมื่อพบเห็นสิ่งที่จะก่อให้เกิดอันตรายให้รีบรายงานทันที บริเวณข้างๆ สายพานลำเลียงต้องไม่วางของเกะกะ ก่อนซ่อมแซมต้องแน่ใจว่าระบบควบคุมได้ล็อคไว้แล้ว ระวังส่วนของร่างกายและเสื้อผ้าให้ห่างจากสายพานลำเลียง ช่างซ่อมจะต้องมีความชำนาญ ต้องมีสวิทช์หยุดฉุกเฉินไว้หลายๆ จุดและต้องติดตั้งสัญญาณเตือนเมื่อเกินพิกัด
หัวเรื่อง 3.1.3 การป้องกันและควบคุมอันตราย จากการเคลื่อนย้ายและการจัดเก็บวัสดุ 8. ปั้นจั่น ข้อกำหนดเกี่ยวกับการใช้ปั้นจั่น 1) ให้ติดป้ายบอกน้ำหนักที่ยกได้และติดสัญญาณเตือนในขณะทำงาน 2) ต้องให้มีผู้ส่งสัญญาณให้ปั้นจั่นทำงาน 3) ต้องมีการตรวจสอบส่วนประกอบของปั้นจั่นและอุปกรณ์ทุก 3 เดือน โดยมีวิศวกรรับรอง 4) ในขณะทำงานต้องเหลือสลิงอยู่ในม้วนไม่น้อยกว่า 2 รอบ 5) ค่าความปลอดภัยของสลิงสำหรับรอกวิ่ง ไม่น้อยกว่า 6 และลวดยึดโยงไม่น้อยกว่า 3.5 6) ต้องมีเครื่องหมายแสดงเขตอันตรายในขณะที่ปั้นจั่นทำงาน และมีที่ครอบเพลาหรือปุลเล 7) ถ้าห้องควบคุมอยู่สูง ต้องมีราวกันตก พื้นเดินที่ปลอดภัยและรัดสายชูชีพตลอดเวลาทำงาน 8) ถ้ามีสายไฟแรงสูงต้องอยู่ห่าง 3 เมตร ขึ้นไป 9) การติดตั้งปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่จะต้องมีวิศวกรเป็นผู้รับรอง 10) ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับปั้นจั่นต้องสวมหมวกแข็ง ถุงมือ รองเท้าหัวโลหะ
หัวเรื่อง 3.1.3 การป้องกันและควบคุมอันตราย จากการเคลื่อนย้ายและการจัดเก็บวัสดุ 3. การเก็บรักษาวัสดุ 1. สถานที่เก็บวัสดุ 1) จะต้องเป็นระเบียบเรียบร้อย การที่มีของเกะกะ จะทำให้มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุมากขึ้น 2) การวางแผนการเก็บวัสดุ จะช่วยลดความจำเป็นในการขนย้ายวัสดุเพื่อนำไปผลิต 3) เมื่อจัดสถานที่สำหรับเก็บวัสดุ ต้องแน่ใจว่า วัสดุจะไม่กีดขวางหรือบัง อุปกรณ์ดับเพลิง ชุด ปฐมพยาบาล หลอดไฟ สวิตช์ไฟ และตู้ฟิวส์ ต้องไม่กีดขวางทางเข้าออก และช่องทางเดิน ไม่ ว่าขณะใดก็ตาม 4)จัดช่องทางสัญจรสำหรับพาหนะเดินทางเดียวให้เพียงพอ และควรจะเผื่อสำหรับวงเลี้ยวของ พาหนะ เมื่อพาหนะจะต้องเปลี่ยนทิศทาง ในช่องทางนั้น 5) ไม่ควรให้มีของกีดขวางอยู่ในช่องทางสัญจร 6) การใช้ภาชนะ ชั้น หรือหิ้งสำหรับวางวัสดุจะช่วยให้การเก็บรักษาวัสดุง่ายและปลอดภัย 7) การซ้อนวัสดุประเภทเดียวกันขึ้นสูง ไม่ควรให้สูงไปกว่าที่กำหนด
หัวเรื่อง 3.1.3 การป้องกันและควบคุมอันตราย จากการเคลื่อนย้ายและการจัดเก็บวัสดุ 2.ภาชนะและสิ่งอื่น ๆ สำหรับเก็บวัสดุ พื้น หรือกล่องอย่าให้ ต้องรับน้ำหนักมากเกินพิกัด ถุงหรือกระสอบ ต้องผูกปากถุงหรือกระสอบ และวางหันปากเข้าด้านในของกองที่ซ้อนกันอยู่ เพื่อมิให้ของในนั้นร่วงออกมาเมื่อปากถุงขาดหรือแตก ไม่ซ้อนสูงเกินไป เวลาเอาถุงหรือกระสอบออกจากกอง เอาออกจากทางด้านบนสุดเสมอ การเก็บท่อหรือวัสดุแท่งยาว ควรเก็บในราวที่ซึ่งเวลาเอาของออกจะไม่เป็นอันตราย กับผู้ที่ผ่านไปมาได้ ด้านหนึ่งของราวไม่ควรจะหันเข้าหาช่องทางสัญจรใหญ่ และอย่าให้ของนั้นยื่นออกไปในช่องทางสัญจร ท่อขนาดใหญ่หรือแท่งโลหะยาว ๆ ควรจะวางซ้อนเป็นชั้น ๆ โดยมีแท่งไม้หรือเหล็กแยกชั้นไว้ ท่ออาจจะกลิ้งหรือเลื่อนล้มได้ง่าย ฉะนั้นเวลากองซ้อนเป็นปิรามิดขึ้นมา
หัวเรื่อง 3.1.3 การป้องกันและควบคุมอันตราย จากการเคลื่อนย้ายและการจัดเก็บวัสดุ 4. โลหะแผ่น มักจะมีขอบคม เวลาหยิบยกจึงควรสวมถุงมือหนัง เมื่อต้องยกโลหะแผ่นทีละมาก ๆควรใช้อุปกรณ์ช่วยยก 5. ถังกลม ควรเก็บซ้อนเป็นปิรามิด โดยที่แถวล่างถูกคั่นขวางไว้อย่างแน่นหนา เพื่อป้องกันการกลิ้งทะลายลงมา 6. การเก็บรักษาก๊าซที่มีความดันสูง โดยการตั้งยืนบนพื้นเรียบ ๆ ควรล่ามหรือผูกถังไว้กับเสา กำแพงหรือสิ่งอื่น ๆ ที่ติดแน่น ควรแยกเก็บก๊าซต่างชนิดกัน 7.สารที่เป็นเม็ดละเอียดหรือฝุ่นผง อาจทำให้เกิดการระเบิดหรือไฝไหม้ได้เช่นผงถ่าน ปุ๋ย ฝุ่นไม้ แป้ง สารเคมี ต้องป้องกันไม่ให้เกิดการผสมกันของสิ่งต่างๆที่เป็นสารระเบิดได้ กำจัดแหล่งที่เป็นสาเหตุของเพลิง ข้อแนะนำในการการจัดเก็บคือ 1)ใช้ถังทรงสูงสำหรับเก็บวัสดุประเภทเม็ดเล็กหรือผง 2)ถังเก็บวัสดุเล็กๆละเอียดควรมีก้นถังเอียงลาดลงทางออกมากพอเพื่อให้วัสดุไหลออกได้สะดวกไม่อุดตัน อาจติดตั้งเครื่องสั่นหรือเขย่าก้นถังเพื่อให้วัสดุไหลต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอถ้าเป็นไปได้ควรมีตะแกรงปิดด้านบนของถังเพื่อป้องกันคนตกลงไป
หัวเรื่อง 3.1.4 การป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบกิจการ หัวเรื่อง 3.1.4 การป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบกิจการ ก. สาเหตุการเกิดอัคคีภัยในสถานประกอบกิจการ การเกิดเพลิงไหม้และการลุกลามของเพลิงไหม้โดยทั่วๆ ไปเกิดขึ้นจากองค์ประกอบ 4 อย่างคือ 1 เชื้อเพลิง 2 อากาศ (ออกซิเจน) 3 ความร้อน (อุณหภูมิที่ทำให้เชื้อเพลิงลุกไหม้) 4 ปฏิกิริยาลูกโซ่ องค์ประกอบที่ 4 จะเกิดขึ้นหลังจากที่เกิดเพลิงไหม้แล้ว แต่องค์ประกอบ 3 อย่างแรกนั้น ถ้าอยู่รวมกันเมื่อใดก็จะทำให้เกิดเพลิงไหม้ได้ ดังนั้น การป้องกันการเกิดเพลิงไหม้ก็คือการควบคุมองค์ประกอบ 3 อย่างแรก แต่การจะระงับอัคคีภัยนั้นต้องควบคุมองค์ประกอบที่ 4 ด้วย
องค์ประกอบของการเกิดเพลิงไหม้
หัวเรื่อง 3.1.4 การป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบกิจการ หัวเรื่อง 3.1.4 การป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบกิจการ การเกิดอัคคีภัยในสถานประกอบกิจการ ส่วนใหญ่มีสาเหตุจาก ประกายไฟจากอุปกรณ์ไฟฟ้าซึ่งมีความร้อนสูง ความเสียดทานของส่วนประกอบของเครื่องจักร เครื่องยนต์ การเชื่อมและการตัดโลหะ เตาเผาซึ่งไม่มีฝาปิดหรือเปลวไฟที่ไม่มีสิ่งปิดคลุมในกระบวนการผลิต การสูบบุหรี่หรือการจุดไฟในบริเวณที่มีไอของสารไวไฟหรือเชื้อเพลิงโดยไม่ระมัดระวัง 6. วัตถุที่ผิวร้อนจัด เช่น เหล็กที่ถูกเผา ท่อไอน้ำ ฯลฯ เมื่อมีการกระทบระหว่างผิวที่ร้อนจัดกับ เชื้อเพลิงอาจเกิดการลุกไหม้ขึ้น 7. ประกายไฟซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากการถ่ายเทประจุไฟฟ้าสถิตกับเชื้อเพลิงอาจทำให้เกิดการลุกไหม้ 8. การลุกไหม้ด้วยตนเอง เช่น พวกขยะ การสะสมของสารบางชนิด จะก่อให้เกิดควรร้อนขึ้นในตัวของมันเองจนกระทั่งถึงจุดติดไฟ เมื่ออยู่รวมกับเชื้อเพลิงก็ย่อมเกิดการลุกไหม้
หัวเรื่อง 3.1.4 การป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบกิจการ หัวเรื่อง 3.1.4 การป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบกิจการ ข. แนวทางการป้องกันและควบคุมอัคคีภัยในสถานประกอบกิจการ 1.ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่เหมาะสม และต้องแน่ใจว่าการต่อสายไฟทำอย่างถูกต้อง ควรมีการตรวจสอบสายไฟ และรอยต่อสายไฟอยู่เสมอ 2. การลดความเสียดทาน โดยการใช้สารสำหรับหล่อลื่นที่ไม่ไวไฟและเป็นชนิดที่ได้รับการแนะนำจากผู้สร้างอุปกรณ์หรือฝ่ายวิศวกรรม ควรมีการทำความสะอาดอุปกรณ์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อไม่ได้เกิดการสะสมของฝุ่นซึ่งอาจเป็นเชื้อไฟ 3. ของเหลวไวไฟที่มีจุดวาบไฟต่ำ หรือ สารที่มีความเสี่ยงต่อการลุกไหม้เองได้ ควรเก็บรักษาให้ถูกต้อง ซึ่งควรเป็นการเสนอแนะจากฝ่ายวิศวกรรมหรือผู้เชี่ยวชาญ 4. การเชื่อมและการตัดโลหะ ควรจัดเป็นบริเวณแยกต่างหากจากงานอื่นๆ และควรอยู่ในบริเวณที่มีการถ่ายเทอากาศสะดวกและพื้นที่จะต้องเป็นชนิดทนไฟ มีการป้องกันการกระเด็นของลูกไฟ โดยเฉพาะต้องไม่มีเชื้อเพลิงอยู่ในบริเวณใกล้เคียง และควรจัดหาอุปกรณ์สำหรับดับเพลิงไว้ในบริเวณนี้ด้วย
หัวเรื่อง 3.1.4 การป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบกิจการ หัวเรื่อง 3.1.4 การป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบกิจการ 5. การใช้เตาเผาแบบเปิดหรือเปลวไฟที่ไม่มีสิ่งปิดคลุม ต้องมีการป้องกันการกระเด็นของ ลูกไฟ ต้องไม่เก็บสารที่เป็นเชื้อไฟไว้ในบริเวณที่ใกล้เคียง รวมทั้งต้องมีการถ่ายเทอากาศที่เหมาะสม การสูบบุหรี่และการจุดไฟ ควรกำหนดห้ามสูบบุหรี่หรือมีบริเวณสำหรับสูบบุหรี่โดยเฉพาะ ในบริเวณที่อนุญาตให้สูบบุหรี่ควรจัดภาชนะสำหรับใส่ขี้เถ้าบุหรี่ ถ้าบริเวณใดห้ามสูบบุหรี่ควรติดป้ายบอกไว้และต้องเข้มงวดให้พนักงานปฏิบัติตาม และต้องจัดเตรียมการป้องกันการเกิดอัคคีภัยที่อาจเกิดจากความประมาทของพนักงาน รวมทั้งประกาศข้อปฏิบัติในการใช้บริเวณนี้เพื่อให้พนักงานเข้าใจและให้ความร่วมมือป้องกันอัคคีภัย วัตถุที่ผิวร้อนจัด เช่น ท่อไอน้ำ ท่อน้ำร้อน ควรเดินท่อเหล่านี้ผ่านผนังทนไฟหรือมีการหุ้มห่อท่อด้วยสารทนไฟและถ่ายเทความร้อนได้ สำหรับโลหะที่ถูกทำให้ร้อนจัดควรบรรจุในภาชนะและผ่านไปตามอุปกรณ์ที่จัดไว้โดยเฉพาะเท่านั้น
หัวเรื่อง 3.1.4 การป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบกิจการ หัวเรื่อง 3.1.4 การป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบกิจการ ไฟฟ้าสถิตที่เกิดขึ้นเนื่องจากการเสียดสีกันของสารที่ไม่เป็นตัวนำ ซึ่งเมื่อเกิดการถ่ายเทประจุไฟฟ้า ก็จะทำให้เกิดประกายไฟ และถ้าประกายไฟสัมผัสกับเชื้อเพลิงก็อาจเกิดการลุกไหม้ ถ้าไม่สามารถป้องกันการเกิดไฟฟ้าสถิตได้ วิธีแก้ไขที่นิยมใช้โดยทั่วไปก็คือ ก. การต่อสายลงดิน (Grounding) ข. การต่อกับวัตถุที่ทำหน้าที่เป็นตัวรับประจุได้ (Bonding) ค. รักษาระดับความชื้นสัมพัทธ์ในระดับที่เหมาะสม ง. การทำให้บรรยากาศรอบๆเป็นประจุไฟฟ้า ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นตัวนำประจุไฟฟ้าออกจากวัตถุที่เก็บประจุไฟฟ้าสถิตไว้ในตัวมัน แต่วิธีนี้ควรใช้ภายใต้คำแนะนำของ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้เท่านั้นเพราะมิฉะนั้นกรรมวิธีในการทำให้บรรยากาศรอบๆเป็นประจุไฟฟ้าอาจเป็นตัวก่อให้เกิดการลุกไหม้เสียเอง
หัวเรื่อง 3.1.4 การป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบกิจการ หัวเรื่อง 3.1.4 การป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบกิจการ 9. เครื่องทำความร้อน เชื้อเพลิงที่ใช้สำหรับเครื่องทำความร้อนควรมีจุดติดไฟที่อุณหภูมิสูง บริเวณที่ติดตั้งเครื่องควรมีการระบายอากาศที่ดี ควรอยู่ห่างจากสารไวไฟ กรณีที่มีเปลวไฟควรมีฝาปิดกั้นที่ทนไฟและไม่ติดไฟ มีปล่องสำหรับปล่อยอากาศร้อนหรือก๊าซที่เกิดจากการเผาไหม้ พวกขี้เถ้าที่เกิดขึ้นจากการเผาไหม้ไม่ควรตักออกจนกว่าไฟจะมอดหมดแล้ว เครื่องทำความร้อนที่หิ้วหรือย้ายเปลี่ยนที่ได้ ควรมีที่สำหรับหิ้วหรือสำหรับขนย้ายที่เหมาะสม 10. การลุกไหม้ด้วยตนเอง ซึ่งเกิดจากการสันดาปของออกซิเจนกับเชื้อเพลิงจนกระทั่งติดไฟและเกิดการลุกไหม้ขึ้น ส่วนมากมักจะเกิดขึ้นในบริเวณที่มีอากาศเพียงพอที่จะเกิดการสันดาป ดังนั้นในที่ที่เก็บสารเชื้อเพลิงที่อาจเกิดการสันดาปได้ควรมีการถ่ายเทอากาศเหมาะสมและปราศจากเชื้อเพลิงที่อาจเร่งปฏิกิริยาการสันดาป เพื่อไม่ให้เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ ควรใช้ถังขยะชนิดที่มีฝาปิดมิดชนิดสำหรับขยะที่เปื้อนน้ำมันหรือสีจะช่วยป้องกันการลุกไหม้ด้วยตนเองได้
หัวเรื่อง 3.1.4 การป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบกิจการ หัวเรื่อง 3.1.4 การป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบกิจการ 11.จัดให้มีสัญญาณเตือนภัย ระบบดับเพลิง และเครื่องดับเพลิงที่เหมาะสมกับเชื้อเพลิงและมีจำนวนที่เพียงพอ ติดตั้งในจุดที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย มีการตรวจสอบและบำรุงรักษาให้พร้อมใช้งานได้ 12. มีแผนป้องกันและระงับอัคคีภัยและจัดให้มีผู้รับผิดชอบตามแผนต่างๆ เช่นจัดให้มีทีมดับเพลิง ผู้นำทางหนีไฟ ทีมปฐมพยาบาล เป็นต้น และจัดให้มีการฝึกซ้อมดับเพลิงและฝึกซ้อมหนีไฟอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 13. จัดให้พนักงานได้รับการอบรมความรู้ด้านอัคคีภัยและสามารถใช้อุปกรณ์ดับเพลิงในพื้นที่ทำงานเพื่อระงับเหตุเพลิงไหม้ขั้นต้นได้
หัวเรื่อง 3.1.4 การป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบกิจการ หัวเรื่อง 3.1.4 การป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบกิจการ คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ควรมีบทบาทหน้าที่ที่สำคัญในการป้องกันและระงับอัคคีภัย ดังนี้ 1.ต้องทราบถึงปัจจัยเสี่ยงที่อาจให้เกิดจากเพลิงไหม้ในสถานประกอบกิจการ 2.เสนอแนะระบบตรวจสอบสถานประกอบกิจให้อยู่ในสภาพที่ปราศจากปัจจัยเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดอัคคีภัย 3.ส่งเสริมและกระตุ้นให้พนักงานเกิดความระมัดระวังการเกิดอัคคีภัยรวมทั้งกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือในการป้องกันอัคคีภัย 4.เสนอแนะระบบตรวจสอบ ทบทวนแผนป้องกันและระงับอัคคีภัย เพื่อการปรับปรุงแก้ไขให้มีความเหมาะสมอยู่เสมอ รวมทั้งกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตและอุปกรณ์ที่ใช้ในระบบดับเพลิง
หัวเรื่อง 3.1.4 การป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบกิจการ หัวเรื่อง 3.1.4 การป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบกิจการ 5. เสนอแนะระบบการตรวจสอบความพร้อมของเครื่องดับเพลิงแบบมือถือ ระบบน้ำดับเพลิง ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ระบบแสงสว่างฉุกเฉิน และอุปกรณ์เตือนต่างๆตามระยะเวลาที่กำหนด และดูแลให้มีการติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิงที่เหมาะสม 6. เสนอแนะระบบการตรวจสอบสถานที่ที่มีการเก็บรักษาวัตถุไวไฟหรือวัตถุระเบิดให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ สารที่ติดไฟหรือเชื้อไฟควรมีไว้ในบริเวณที่ทำงานเท่าที่จำเป็นสำหรับใช้งานเท่านั้น และจะต้องเก็บส่วนที่เหลือใช้ไว้ในที่ที่ปลอดภัยหลังจากเลิกใช้แล้วทุกครั้ง สารไวไฟควรเก็บไว้ในสถานที่ปลอดภัยที่กำหนดไว้เท่านั้น ที่เก็บดังกล่าวจะต้องอยู่ห่างไกลจากแหล่งกำเนิดของประกายไฟ และควรมีอุปกรณ์ดับเพลิงประจำอยู่ด้วยเสมอ 7. เสนอแนะระบบการตรวจสอบของเสียที่ติดไฟได้ง่ายไม่ให้มีการสะสมหรือตกค้างและมีระบบกำจัดที่เหมาะสม 8. เสนอแนะระบบการตรวจสอบทางหนีไฟและเส้นทางออกต่างๆ รวมถึงบันได ประตูต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง ต้องไม่มีการกอง สุม หรือเก็บวัตถุใดๆ กีดขวางการเข้าถึงอุปกรณ์ป้องกันและระงับอัคคีภัย
หัวเรื่อง 3.1.5 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสิ่งแวดล้อมการทำงาน หัวเรื่อง 3.1.5 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสิ่งแวดล้อมการทำงาน ก. การป้องกันและควบคุมอันตรายจากเสียงดัง เสียงดัง หมายถึง เสียงที่ไม่พึงปรารถนาหรือเสียงที่ก่อให้เกิดการรบกวน เสียงแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ 1. เสียงดังแบบต่อเนื่อง เป็นเสียงดังที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จำแนกออกเป็น 2 ลักษณะ คือ เสียงดังต่อเนื่องอย่างคงที่ เป็นเสียงดังต่อเนื่องที่มีระดับเสียงเปลี่ยนแปลงไม่เกิน 3 เดซิเบล ได้แก่ เสียงเครื่องทอผ้า เสียงเครื่องจักร เสียงพัดลม เสียงเครื่องยนต์ เป็นต้น เสียงดังต่อเนื่องที่ไม่คงที่ เป็นเสียงดังต่อเนื่องที่มีระดับเปลี่ยนแปลงเกินกว่า 10 เดซิเบล ได้แก่ เสียงเลื่อยวงเดือน กบไสไม้ไฟฟ้า เสียงไซเรน เป็นต้น 2. เสียงที่ดังเป็นช่วง ๆ เป็นเสียงที่ดังไม่ต่อเนื่อง มีความดังหรือเบากว่าเป็นระยะ ๆ สลับกันไปมา ได้แก่ เสียงจากเครื่องอัดลม เสียงการจราจร เสียงเครื่องบินที่บินผ่านไปมา เป็นต้น 3. เสียงกระทบหรือกระแทก เป็นเสียงดังที่เกิดขึ้นและสิ้นสุดอย่างรวดเร็วในเวลาน้อยกว่า 1 วินาที มีการเปลี่ยนแปลงของเสียงมากกว่า 40 เดซิเบล ได้แก่ เสียงตอกเสาเข็มในการก่อสร้าง เสียงจากการตี หรือทุบโลหะ เสียงเครื่องย้ำหมุด เป็นต้น
หัวเรื่อง 3.1.5 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสิ่งแวดล้อมการทำงาน หัวเรื่อง 3.1.5 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสิ่งแวดล้อมการทำงาน 1. อันตรายจากเสียงดัง เสียงดังมีผลต่อสุขภาพ ดังนี้ 1.1 ทำให้สูญเสียการได้ยิน ได้แก่ สูญเสียการได้ยินแบบชั่วคราว สูญเสียการได้ยินแบบถาวร 1.2 ผลต่อสุขภาพ เช่น ทำให้คลื่นไส้ หัวใจเต้นเร็วและแรง ความดันโลหิตสูง ทางเดินอาหารเคลื่อนไหวได้น้อยลง 1.3 ผลต่อความปลอดภัย ได้แก่ เกิดการรบกวนการพูดสนทนา กลบเสียงสัญญาณต่างๆอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้น
หัวเรื่อง 3.1.5 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสิ่งแวดล้อมการทำงาน หัวเรื่อง 3.1.5 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสิ่งแวดล้อมการทำงาน 2. หลักการป้องกันและควบคุมอันตรายจากเสียง 2.1 การควบคุมที่แหล่งเสียงหรือต้นตอของเสียง อาจทำได้โดยการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและบำรุงรักษาเครื่องจักร เครื่องมือ ที่เป็นต้นกำเนิดเสียง เพื่อให้มีความดังน้อยที่สุด 2.2 การควบคุมทางผ่านของเสียง อาจทำได้โดยใช้วัสดุกั้นระหว่างแหล่งเสียงกับตัวพนักงาน หรือ จัดให้พนักงานอยู่ห่างแหล่งเสียงให้มากที่สุด หรือ ใช้วัสดุดูดซับเสียงบุผนังป้องกันการสะท้อนของเสียง หรือให้มีห้องพิเศษกั้นแยกเฉพาะสำหรับคนงานทำงาน 2.3 ควบคุมและป้องกันที่ตัวผู้ปฏิบัติงาน อาจทำได้โดยการใช้ปลั๊กลดเสียง หรือที่ครอบหูลดเสียง แต่มาตรการนี้ ควรจะใช้เป็นมาตรการสุดท้าย
การใช้ปลั๊กลดเสียง และที่ครอบหูลดเสียง การใช้ปลั๊กลดเสียง และที่ครอบหูลดเสียง
หัวเรื่อง 3.1.5 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสิ่งแวดล้อมการทำงาน หัวเรื่อง 3.1.5 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสิ่งแวดล้อมการทำงาน ข. การป้องกันและควบคุม อันตรายจากความร้อน ความร้อน เป็นพลังงานรูปหนึ่งที่สามารถทำให้มนุษย์รับรู้ได้โดยประสาทสัมผัส ความร้อนที่เกิดขึ้นในสิ่งแวดล้อมการทำงานในสถานประกอบกิจการ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ - ความร้อนแห้ง เป็นสภาพความร้อนที่เกิดจากอุปกรณ์หรือกรรมวิธีการผลิตที่ร้อน โดยการแผ่รังสีความร้อนและการพาความร้อน สถานประกอบกิจการที่เกี่ยวข้อง เช่น โรงงานถลุงเหล็ก โรงงานตีเหล็ก โรงงานทำแก้ว - ความร้อนชื้น เป็นสภาพความร้อนที่มีไอน้ำไปเพิ่มความชื้นในอากาศ โดยความชื้น เกิดจากกรรมวิธีการผลิตแบบเปียก สถานประกอบกิจการที่เกี่ยวข้อง เช่น โรงงานผลิตกระดาษ ซักรีด ฟอกย้อม
หัวเรื่อง 3.1.5 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสิ่งแวดล้อมการทำงาน หัวเรื่อง 3.1.5 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสิ่งแวดล้อมการทำงาน 1. ผลของความร้อนต่อสุขภาพ 1.1 การเป็นตะคริวจากความร้อน เนื่องจากได้รับความร้อนมากเกินไป ทำให้ร่างกายสูญเสีย เกลือแร่ไปกับเหงื่อ กล้ามเนื้อเสียการควบคุม เกิดอาการเป็นตะคริว 1.2 การอ่อนเพลีย จากความร้อน เกิดเนื่องจากระบบหมุนเวียนของเลือดไม่พอ เลือดไปเลี้ยงสมองได้ไม่เต็มที่ ผู้ปฏิบัติงานจะมีอาการ รู้สึกอ่อนเพลีย ปวดศีรษะ เป็นลม หน้ามืดชีพจรเต้นอ่อนลง คลื่นไส้ อาเจียน ตัวซีด 1.3 การเป็นลม เกิดจากร่างกายได้รับความร้อนสูงทำให้อุณหภูมิในร่างกายสูงมาก และระบบควบคุมของร่างกายที่สมองไม่สามารถทำงานได้เป็นปกติผู้ปฏิบัติงานจะมีอาการ คลื่นไส้ ตาพล่า หมดสติ อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้น มีอาการชักกระตุกและชีพจรเต้นเบา อาจเกิดการชัก ช็อค และตายได้
หัวเรื่อง 3.1.5 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสิ่งแวดล้อมการทำงาน หัวเรื่อง 3.1.5 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสิ่งแวดล้อมการทำงาน 1.4 ผดผื่นคัน ตามบริเวณผิวหนังเกิดจากความผิดปกติของระบบต่อมขับเหงื่อทำให้มีผื่นขึ้นผู้ปฏิบัติงานจะมีอาการ คัน ท่อขับเหงื่อมีการอุดตัน 1.5 ร่างกายขาดน้ำ ผู้ปฏิบัติงานจะมีอาการ กระหายน้ำ ผิวหนังแห้ง น้ำหนักลด อุณหภูมิของร่างกายจะสูงขึ้น ทำให้ชีพจรเต้นเร็ว รู้สึกไม่สบาย ขาดความสมดุลของปริมาณเกลือแร่ในร่างกาย 1.6 เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เนื่องจากไวรัส หรือแบคทีเรียบางชนิดสามารถเจริญเติบโตได้ดีในอากาศที่มีความชื้นและอุณหภูมิที่เหมาะสม 1.7 เกิดการเจ็บป่วยมากขึ้นเมื่อมีสิ่งแวดล้อมอื่นเสริมด้วย เช่น ทำงานในที่มีอุณหภูมิสูงและได้รับก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ พบว่าจะมีอาการปวดศีรษะรุนแรงและไม่สามารถทำงานได้นาน 1.8 มีผลกระทบต่อจิตใจของผู้ปฏิบัติงาน ทำให้ขาดสมาธิในการทำงาน
หัวเรื่อง 3.1.5 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสิ่งแวดล้อมการทำงาน หัวเรื่อง 3.1.5 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสิ่งแวดล้อมการทำงาน 2. หลักการป้องกันและควบคุมอันตรายจากความร้อน โดย 2.1 ป้องกันที่ต้นกำเนิดและทางผ่านของความร้อนสู่ผู้ปฏิบัติงาน ได้แก่ 1) การใช้ฉนวนกั้น เพื่อลดการแผ่รังสีและการพารังสีความร้อน 2 ) การใช้ฉากป้องกันรังสี เช่น ฉากอลูมิเนียมบางๆ กั้น 3) การใช้ระบบระบายอากาศแบบธรรมชาติ เช่น เปิดช่องว่างบนหลังคาให้ มากที่สุด เปิดประตูและหน้าต่างให้ลมเย็นพัดเข้ามาแทนที่ 4) การระบายอากาศเฉพาะที่ หรือเฉพาะจุดที่ทำงาน พร้อมกับเป่าอากาศที่เย็น ให้เข้ามาแทนที่ 5) การติดตั้งระบบระบายอากาศที่จุดกำเนิด เช่น ที่เตาเผาหรือเตาหลอมโลหะ
หัวเรื่อง 3.1.5 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสิ่งแวดล้อมการทำงาน หัวเรื่อง 3.1.5 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสิ่งแวดล้อมการทำงาน 2.2 การป้องกันที่ตัวผู้ปฏิบัติงาน ได้แก่ 1 ) คัดเลือกคนที่เหมาะสม ปรับตัวให้เข้ากับความร้อนได้ดี 2) จัดให้มีการดูแลทางการแพทย์ ตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานและตรวจร่างกายเป็นระยะๆ 3) การกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน เช่น มาตรฐานการปฏิบัติงานในที่ร้อน จำกัดระยะเวลาทำงานและเวลาหยุดพัก ไม่ควรให้ผู้ปฏิบัติงานทำงานติดต่อกันโดยไม่มีการหยุดพัก กำหนดระยะเวลาการทำงานที่เหมาะสมกับ ความร้อนที่ได้รับ 4) การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล เช่น เสื้อ ถุงมือ หมวก แว่นตา ชุดเสื้อคลุมป้องกันความร้อน 5) สวัสดิการอื่นๆ ที่จำเป็น เช่น ห้องอาบน้ำ น้ำดื่มผสมเกลือที่เย็น
หัวเรื่อง 3.1.5 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสิ่งแวดล้อมการทำงาน หัวเรื่อง 3.1.5 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสิ่งแวดล้อมการทำงาน ค. การป้องกันและควบคุมอันตรายจากการสั่นสะเทือน การสั่นสะเทือนแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ - การสั่นสะเทือนทั่วร่างกาย เป็นลักษณะของการสั่นสะเทือนที่ส่งผ่านมาจากพื้นหรือโครงสร้างของวัตถุมายังส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น พนักงานขับรถงา รถแทรกเตอร์ รถบรรทุกและปั้นจั่น - การสั่นสะเทือนเฉพาะบางส่วนของร่างกาย โดยเฉพาะที่มือและแขน เช่น การใช้เครื่องเจาะถนน เครื่องย้ำหมุด เครื่องเจียร เครื่องเจาะ เครื่องเลื่อยไฟฟ้า
หัวเรื่อง 3.1.5 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสิ่งแวดล้อมการทำงาน หัวเรื่อง 3.1.5 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสิ่งแวดล้อมการทำงาน 1. ผลของการสั่นสะเทือนต่อสุขภาพ 1.1 อันตรายที่เกิดจากการสั่นสะเทือนทั่วร่างกาย ได้แก่ 1)เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของกระดูก 2) กระดูกสันหลังอักเสบ 3)ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ 4)ระดับโคเลสเตอรอลในเลือดต่ำ 5)ระดับของกรดแอสคอร์บิกต่ำ 6)ปวดท้องบริเวณช่องท้องส่วนบน 7)คลื่นไส้ น้ำหนักลด มองไม่ชัด นอนไม่หลับ เกิดความผิดปกติ ของหูชั้นใน
หัวเรื่อง 3.1.5 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสิ่งแวดล้อมการทำงาน หัวเรื่อง 3.1.5 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสิ่งแวดล้อมการทำงาน 1.2 อันตรายที่เกิดจากการสั่นสะเทือนเฉพาะบางส่วนของร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งนิ้วมือ ทำให้เกิดอาการ 1) กระดูกขาดแคลเซียมหรือเกลือแร่ 2) ทำให้เนื้อเยื่อของมือด้านและแข็ง 3)ทำให้ปวดข้อ ข้อต่อต่างๆ ข้อศอก 4)ความผิดปกติของหลอดเลือด ที่เรียกว่ามือตายหรือนิ้วซีด
หัวเรื่อง 3.1.5 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสิ่งแวดล้อมการทำงาน หัวเรื่อง 3.1.5 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสิ่งแวดล้อมการทำงาน 2. การป้องกันและควบคุมอันตรายจากการสั่นสะเทือน โดย 2.1 ป้องกันและควบคุมที่แหล่งต้นเหตุของการสั่นสะเทือน เช่น 1) ใช้วัสดุที่เหมาะสมหรือเทคนิคในการออกแบบที่เหมาะสม 2) ป้องกันไม่ให้ผู้ปฏิบัติงานได้รับการสั่นสะเทือนที่ส่งผ่านมาทางพื้นที่ยืนทำงาน 3) ใช้วัสดุป้องกันการสั่นสะเทือนรองไว้ใต้เครื่องจักร 4) ใช้วัสดุป้องกันและดูดซับการสั่นสะเทือนหุ้มด้ามเครื่องมือ หรืออุปกรณ์ เช่น เครื่องเจียร เครื่องเจาะ เครื่องเลื่อยไฟฟ้า เป็นต้น 5) ดูแลและบำรุงเครื่องจักรอย่างสม่ำเสมอ
หัวเรื่อง 3.1.5 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสิ่งแวดล้อมการทำงาน หัวเรื่อง 3.1.5 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสิ่งแวดล้อมการทำงาน 2.2 การป้องกันที่ตัวบุคคล 1)ใช้ถุงมือสองชั้น 2)ใช้รองเท้าชนิดพิเศษ 3) ที่นั่งควรมีการบุด้วยวัสดุที่ป้องกันการสั่นสะเทือน 4) ตรวจตราการทำงานของผู้ปฏิบัติงานที่ใช้เครื่องมืออย่างใกล้ชิด 2.3 จำกัดเวลาทำงาน โดยยึดหลักว่า 1) พัก 20 นาที ทุกๆ ระยะเวลาทำงาน 2 ชั่วโมง 2) ไม่ทำงานที่ใช้เครื่องสั่นสะเทือนเกินกว่า 2-4 ชั่วโมงต่อวัน 2.4 การควบคุมทางการแพทย์ โดยการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานและตรวจเป็นระยะๆ
หัวเรื่อง 3.1.5 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสิ่งแวดล้อมการทำงาน หัวเรื่อง 3.1.5 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสิ่งแวดล้อมการทำงาน ง. การป้องกันและควบคุมอันตรายจากรังสี รังสี เป็นพลังงานในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ อนุภาคที่มีพลังงานสะสมอยู่ รังสีแบ่งเป็น 2 ประเภทตามคุณสมบัติทางกายภาพ คือ 1. รังสีชนิดไม่ก่อไอออน(Non ionizing Radiation) เป็นพลังงานในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีพลังงานและความถี่ต่ำ ไม่ทำให้อากาศหรือตัวกลางที่รังสีผ่านไปแตกตัวเป็นไอออน ได้แก่ รังสีอัลตราไวโอเลต แสงสว่างหรือแสงในช่วงคลื่นที่ตามองเห็นได้ เลเซอร์ รังสีอินฟราเรด ไมโครเวฟ คลื่นวิทยุโทรทัศน์ 2. รังสีชนิดก่อไอออน(Ionizing Radiation) เป็นพลังงานในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่สามารถก่อให้เกิดการแตกตัวให้ไอออนได้ทั้งทางตรงหรือทางอ้อมในตัวกลางที่รังสีผ่านไป รังสีที่แตกตัวเป็นไอออน ได้แก่ รังสีแอลฟา รังสีบีตา รังสีแกมมา รังสีเอ็กซ์ อนุภาคนิวตรอน อิเล็กตรอน หรือโปรตอนที่มีความเร็วสูง
แสดงรังสี ความถี่ และความยาวคลื่น
หัวเรื่อง 3.1.5 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสิ่งแวดล้อมการทำงาน หัวเรื่อง 3.1.5 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสิ่งแวดล้อมการทำงาน 1. อันตรายจากรังสีชนิดไม่ก่อไอออน 1.1 อันตรายจากแสงในช่วงคลื่นที่ตามองเห็นได้ 1.1.1 อันตรายจากรังสีอัลตราไวโอเลตหรือแสงเหนือม่วง - นัยน์ตาอักเสบ อาการที่ปรากฏ คือ นัยน์ตาจะแดง เยื่อบุในชั้นตาดำอาจถูกทำลายทำให้เกิดการขุ่นมัวและมองเห็นไม่ชัด ถ้าผู้ปฏิบัติงานได้สัมผัสตั้งแต่ 30 นาทีขึ้นไป จะมีความรู้สึกคล้ายกับมีทรายอยู่ในตาถ้ามีการสัมผัสบ่อยๆ เป็นประจำโดยไม่มีการป้องกัน จะทำให้เกิดอาการในลักษณะกลัวแสง มีน้ำตาคลอ หรือ ซึมตลอดเวลา มีอาการกระตุกตามขอบตาและกล้ามเนื้อของนัยน์ตา - ผิวหนังอักเสบ โดยเส้นเลือดใต้ผิวหนังจะเกิดการขยายตัวทำให้เกิดอาการคันและอักเสบ ในปัจจุบันยังไม่มีทฤษฎีใดที่สามารถบอกได้เด่นชัดว่า แสงนี้ทำให้เกิดมะเร็งบนผิวหนัง
หัวเรื่อง 3.1.5 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสิ่งแวดล้อมการทำงาน หัวเรื่อง 3.1.5 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสิ่งแวดล้อมการทำงาน 1.1.2 อันตรายจากรังสีอินฟราเรดหรือแสงใต้แดง รังสีอินฟราเรดหรือแสงใต้แดงมักจะเกิดร่วมกับรังสีอัลตราไวโอเลตหรือแสงเหนือม่วง อาชีพที่เกี่ยวข้อง เช่น อุตสาหกรรมประเภทเป่าแก้ว หล่อหลอมโลหะ งานเชื่อมชนิดต่างๆ และการทำงานในแสงแดดที่จ้า ผู้ปฏิบัติงานมักได้รับแสงใต้แดงพร้อมๆกันกับแสงเหนือม่วงและแสงสว่างที่สามารถมองเห็นได้ อันตรายที่เห็นได้ชัดคือ อันตรายเกี่ยวกับผิวหนัง ผู้ปฏิบัติงานที่ทำงานในสภาพที่มีจุดกำเนิดที่ร้อนจัดของแสงใต้แดง ทำให้เกิดผิวหนังไหม้อย่างเฉียบพลัน เกิดการขยายตัวของเส้นเลือดฝอยที่อยู่บนผิวหนัง และอาจทำให้เส้นเลือดฝอยนั้นแตก สีของผิวหนังอาจมีการเปลี่ยนแปลงไป ในกรณีที่มีการสัมผัสอย่างต่อเนื่อง จะเกิดอาการคันและอักเสบเห็นได้ชัด
หัวเรื่อง 3.1.5 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสิ่งแวดล้อมการทำงาน หัวเรื่อง 3.1.5 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสิ่งแวดล้อมการทำงาน 1.1.3 อันตรายจากแสงสว่าง แสงสว่าง เป็นส่วนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า อันตรายของแสงสว่างนั้นมีผลกระทบต่อคนทำงาน ในกรณีแสงสว่างน้อยเกินไป จะมีผลเสียต่อนัยน์ตา ทำให้กล้ามเนื้อตาทำงานมากเกินไป เกิดอาการปวดตา มึนศีรษะ การหยิบจับโดยใช้เครื่องมืออุปกรณ์อาจผิดพลาดทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นได้หรือไปสัมผัสถูกส่วนที่เป็นอันตราย และในกรณีแสงสว่างที่มากเกินไปหรือแสงจ้า ซึ่งเป็นความสว่างจ้าที่ทำให้เกิดความรู้สึกไม่สบายตา หรือรบกวนการมองเห็น ความสว่างจ้านี้อาจเกิดจากแสงสว่างโดยตรงหรือจากแสงสะท้อนก็ได้ ดังนั้นเพื่อป้องกันปัญหา “แสงจ้า” ดังกล่าว จึงควรที่จะให้แหล่งของแสงนี้อยู่เหนือระดับสายตาหรืออาจห่อหุ้มแหล่งแสงด้วยวัตถุทึบแสง หรือกรองแสง ซึ่งทั้งแสงสว่างน้อยเกินไปและมากเกินไป นอกจากจะก่อให้เกิดผลทางจิตใจ คือเบื่อหน่ายในการทำงาน ขวัญและกำลังใจในการทำงานลดลงแล้ว ยังทำให้เกิดอุบัติเหตุในการทำงานเกิดขึ้นได้
หัวเรื่อง 3.1.5 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสิ่งแวดล้อมการทำงาน หัวเรื่อง 3.1.5 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสิ่งแวดล้อมการทำงาน 1.2 อันตรายจากแสงในช่วงคลื่นของวิทยุโทรทัศน์ แสงในช่วงคลื่นของวิทยุโทรทัศน์ รวมถึงคลื่นเรดาห์และไมโครเวฟด้วย คนงานที่ทำอาชีพเกี่ยวกับคลื่นประเภทนี้ ได้แก่ ช่างโทรเลข โทรพิมพ์ ผู้ควบคุมเครื่องส่งวิทยุ และเทเล็กซ์ (Telex) ผู้ปฎิบัติงานที่ทำงานเกี่ยวกับไมโครเวฟ (Microwave) และเรดาห์ (Redar)ทำงานเกี่ยวกับการสื่อสารบริเวณท่าอากาศยาน ทำงานเกี่ยวกับเตาอบขนาดใหญ่ ซึ่งใช้ระบบไมโครเวฟ เป็นต้น ผลกระทบของรังสีในช่วงคลื่นวิทยุ ที่มีต่อระบบทางชีวภาพของมนุษย์นี้ได้ทำการศึกษากันมากและเป็นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์กำลังให้ความสนใจ ทั้งนี้เพราะมีการนำเอาคลื่นเหล่านี้มาใช้เป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวันอย่างมาก และได้จากการทดลองในสัตว์ พบว่าการดูดกลืนของรังสีในช่วงคลื่นวิทยุสามารถทำให้เกิดความร้อนสูงในเนื้อเยื่อ ดังนั้น อวัยวะของร่างกายที่ไม่มีการบังคับการไหลเวียนของความร้อนที่ดี ก็จะเกิดอันตรายได้มาก เช่น ปอด อัณฑะ ถุงน้ำดี ทางเดินปัสสาวะ และบางส่วนของระบบทางเดินอาหาร
หัวเรื่อง 3.1.5 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสิ่งแวดล้อมการทำงาน หัวเรื่อง 3.1.5 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสิ่งแวดล้อมการทำงาน หลักการป้องกันและควบคุมอันตรายจากรังสีที่ไม่ก่อไอออน ควรสำรวจสภาพการทำงานว่ามีรังสีประเภทนี้หรือไม่ ถ้ามีเป็นประเภทอะไรมีปริมาณเท่าไรแล้วจึงดำเนินการป้องกันและควบคุม โดย 1. การควบคุมที่จุดกำเนิด โดยพิจารณาถึงปริมาณของรังสีที่แพร่กระจายออกมา ถ้ามีการรั่วไหลถึงขีดอันตราย ก็ต้องจัดให้มีการควบคุมจุดกำเนิดนั้น ปิดกั้นหรืออาจจะสร้างเป็นห้องพิเศษ และแยกกระบวนการนั้นออกไปให้ห่างจากกลุ่มคนงาน หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง 2. การเลือกที่กั้นสะท้อน เช่น อาจใช้แผ่นอลูมิเนียมบางๆ เป็นฉากกั้นในการแผ่รังสี และฉากนี้สามารถเลื่อนไปมาได้ 3. การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล เช่น เสื้อผ้า หมวก แว่นตา ถุงมือ และรองเท้าให้เหมาะสม 4. การเลือกแว่นตากันแสง และรังสี เนื่องจากการแผ่รังสีนี้มีผลกระทบต่อนัยน์ตาโดยตรง ดั้งนั้นการเลือกและจัดหาแว่นตาที่เหมาะสมและถูกต้องกับสภาพอันตรายจึงมีความจำเป็น 5. ผู้ปฏิบัติงานที่ทำงานเกี่ยวกับแสงและคลื่นวิทยุ ควรจะได้มีการตรวจเช็คสายตาและสมรรถภาพของการมองเห็นเป็นระยะๆ เช่น อาจทุก 6 เดือน หรือ 1 ปี พร้อมทั้งมีการจดบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพอย่างจริงจัง เพื่อประโยชน์ของการตรวจครั้งต่อๆ ไป
หัวเรื่อง 3.1.5 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสิ่งแวดล้อมการทำงาน หัวเรื่อง 3.1.5 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสิ่งแวดล้อมการทำงาน 6. การเฝ้าควบคุมสิ่งแวดล้อมในสถานประกอบการที่มีการใช้รังสีหรือคลื่นวิทยุ ควรจะมีการตรวจสภาพสิ่งแวดล้อม ตรวจสอบบริเวณที่เสี่ยงต่ออันตรายมากที่สุด และเฝ้าคุมเป็นประจำ รวมถึงกำหนดชั่วโมงการทำงานที่เหมาะสม 7. การให้ความรู้ด้านความปลอดภัยในการทำงานเป็นสิ่งที่สำคัญที่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง
หัวเรื่อง 3.1.5 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสิ่งแวดล้อมการทำงาน หัวเรื่อง 3.1.5 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสิ่งแวดล้อมการทำงาน 2. อันตรายจากรังสีชนิดก่อไอออน รังสีที่แตกตัวเป็นไอออน ได้แก่ รังสีแอลฟา รังสีบีตา รังสีแกมมา รังสีเอ็กซ์ อนุภาคนิวตรอน อิเล็กตรอน หรือโปรตอนที่มีความเร็วสูง ก่อให้เกิดอันตราย ดังนี้ 1. เกิดความผิดปกติของเซลล์และอันตรายต่อระบบอวัยวะต่างๆ ผลที่เกิดขึ้นจะเกิด 2 ลักษณะคือ การเกิดผลแบบเฉียบพลัน คือจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วภายหลังได้รับรังสีซึ่งขึ้นกับปริมาณรังสีและอวัยวะที่ได้รับ และการเกิดผลกระทบแบบที่อาศัยระยะเวลาหนึ่งก่อนปรากฏอาการซึ่งอาจใช้เวลานานหลายปี 2. เกิดความผิดปกติทางพันธุกรรม และรังสียังก่อให้เกิดความผิดปกติต่อทารกในครรภ์ถ้ามารดาได้รับปริมาณรังสีสูงในขณะตั้งครรภ์ 3. ผลกระทบในการเกิดมะเร็ง ซึ่งจากการศึกษาวิจัยการเกิดมะเร็งซึ่งเป็นผลมาจากรังสีนั้นมักเกิดขึ้น 2 ลักษณะคือการเกิดมะเร็งของเม็ดเลือกขาวและเกิดมะเร็งของผิวหนังหรือเนื้องอกเป็นไตแข็งที่เนื้อเยื่อต่างๆ
หัวเรื่อง 3.1.5 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสิ่งแวดล้อมการทำงาน หัวเรื่อง 3.1.5 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสิ่งแวดล้อมการทำงาน หลักการป้องกันและควบคุมอันตรายจากรังสีที่ก่อไอออน อันตรายที่จะเกิดจากรังสีนั้นขึ้นกับเวลาที่ได้รับรังสี ปริมาณรังสี และระยะทางระหว่างแหล่งกำเนิดกับผู้ปฏิบัติงาน ดังนั้น 1. การกำหนดพื้นที่ควบคุมบริเวณที่มีอันตรายจากการใช้รังสี 2.มีการติดเครื่องหมาย สัญลักษณ์ ป้านเตือนอันตราย 3.กำหนดวิธีการทำงานและเวลาการทำงานรวมถึงจัดให้มีเครื่องบันทึกปริมาณรังสี สะสม 4. ห้ามหญิงมีครรภ์เข้าไปในพื้นที่ควบคุม 5. มีแผนป้องกันและระงับอันตรายจากรังสี 6. จัดอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลตามสภาพและลักษณะงาน 7. จัดให้ผู้ปฏิบัติงานได้รับการอบรมถึงอันตรายและวิธีการป้องกันอันตรายจากรังสี 8. จัดให้มีกฎ ระเบียบ ว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับรังสี
หัวเรื่อง 3.1.5 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสิ่งแวดล้อมการทำงาน หัวเรื่อง 3.1.5 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสิ่งแวดล้อมการทำงาน ทั้งนี้สถานประกอบกิจการที่มีการใช้รังสีชนิดก่อไอออนจะศึกษาเพิ่มเติมได้จาก กฎหมายได้แก่ พระราชบัญญัติพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ พ.ศ. 2504 กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับรังสีชนิดก่อไอออน พ.ศ. 2547 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 27 (พ.ศ. 2535) มาตรฐานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มาตรฐานความปลอดภัยที่กำหนดโดย OSHA (Occupational Safety and Health Association) มาตรฐานความปลอดภัยที่กำหนดโดย NIOSH (National Institute of Occupational Safety and Health ) และ หน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
หัวเรื่อง 3.1.6 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสารเคมี หัวเรื่อง 3.1.6 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสารเคมี ก. อันตรายจากสารเคมี สารเคมีอาจจะอยู่ในรูปของก๊าซ ไอ ฝุ่น ฟูม ควัน ละออง หรืออยู่ในรูปของเหลว ของแข็ง 1. ทางเข้าสู่ร่างกายของสารเคมี 1.1 ทางการหายใจ 1.2 ทางการกิน 1.3 ทางผิวหนัง
หัวเรื่อง 3.1.6 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสารเคมี หัวเรื่อง 3.1.6 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสารเคมี 2. ความเป็นพิษของสารเคมี 2.1 สารที่ทำให้เกิดการระคายเคือง คัน แสบ ร้อน พุพอง เช่น กรดต่างๆ ก๊าซคลอรีน แอมโมเนีย ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ 2.2 สารที่ทำให้หมดสติได้ เนื่องจากสารเคมีนี้ไปแทนที่ออกซิเจน เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ คาร์บอนมอนอกไซด์ ไนโตรเจนไซยาไนด์ 2.3 สารที่ทำอันตรายต่อระบบประสาท เช่น สารที่ระเหยได้ง่าย ได้แก่ แอลกอฮอล์ เบนซิน อะซิโตน อีเทอร์ คลอโรฟอร์ม ทำให้ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ มึนงง 2.4 สารที่เป็นอันตรายต่อระบบการสร้างโลหิต เช่น ตะกั่วจะไปกดไขกระดูก ซึ่งทำหน้าที่สร้างเม็ดเลือดแดง ทำให้เม็ดเลือดแดงน้อยกว่าปกติ เกิดโลหิตจาง 2.5 สารที่เป็นอันตรายต่อกระดูก ทำให้กระดูกเสียรูปร่าง หรือทำให้กระดูกเปราะ เช่น ฟอสฟอรัส แคดเมี่ยม
หัวเรื่อง 3.1.6 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสารเคมี หัวเรื่อง 3.1.6 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสารเคมี 2.6 สารที่เป็นอันตรายต่อระบบการหายใจ เช่น เช่น ฝุ่นทราย ฝุ่นถ่านหิน แอสเบสตอส ทำให้เกิดเยื่อพังผืดในปอด ไม่สามารถแลกเปลี่ยนกับออกซิเจนได้ ความจุอากาศในปอดจะน้อยลงเมื่อมีเยื่อพังผืดมาก ทำให้เหนื่อยหอบง่าย 2.7 สารก่อกลายพันธุ์ ทำอันตรายต่อโครโมโซม เช่น สารกัมมันตรังสี สารฆ่าแมลงบางชนิด โลหะบางชนิด ยาบางชนิด ซึ่งความผิดปกติจะปรากฏออกมาให้เห็นในชั้นลูกหรือชั้นหลาน 2.8 สารก่อมะเร็ง ทำให้สร้างเซลล์ใหม่ขึ้นมาเรื่อยๆ จนมากเกินความจำเป็น ทำให้เกิดเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรง หรือร้ายแรง ตัวอย่างสารที่ทำให้เกิดมะเร็งได้ เช่นสารกัมมันตรังสี สารหนู แอสเบสตอส นิเกิล ไวนิลคลอไรด์ เบนซิน เป็นต้น 2.9 สารที่ทำให้ทารกเกิดความพิการ คลอดออกมาแล้วมีอวัยวะไม่ครบ เช่นปากแหว่งเพดานโหว่ แขนด้วน ขาด้วน ตัวอย่างของสารเคมีในกลุ่มนี้ ได้แก่ยาธาลิโดไมด์ ยาปราบศัตรูพืชบางชนิด
หัวเรื่อง 3.1.6 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสารเคมี หัวเรื่อง 3.1.6 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสารเคมี ข. การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสารเคมี หลักทั่วไปในการป้องกันและควบคุมอันตรายจากสารเคมี 1. ป้องกันและควบคุมที่ แหล่งกำเนิดของสารเคมี โดย 1) ใช้สารเคมีที่มีพิษน้อยกว่าแทน 2 ) เปลี่ยนกระบวนการผลิตใหม่ เช่น ใช้ระบบเปียกแทนระบบแห้ง เพื่อมิให้เกิด ฝุ่นฟุ้งกระจาย 3) แยกกระบวนการผลิตที่มีอันตรายออกห่างจากผู้ปฏิบัติงาน 4) สร้างที่ปกปิดกระบวนการผลิตให้มิดชิด เพื่อมิให้สารเคมีฟุ้งหรือ ระเหยออกไป
หัวเรื่อง 3.1.6 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสารเคมี หัวเรื่อง 3.1.6 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสารเคมี 2. ป้องกันและควบคุมที่ทางผ่านของสารเคมี โดย 1) การดูแลรักษาสถานที่ทำงานให้สะอาดเรียบร้อย 2) การติดตั้งระบบระบายอากาศทั่วไป 3) เพิ่มระยะห่างระหว่างผู้ปฏิบัติงาน กับแหล่งสารเคมี 4) การตรวจวัดปริมาณสารเคมี และควบคุมไม่ให้เกินค่ามาตรฐานความปลอดภัย และจะต้องปรับปรุงแก้ไข หากพบว่ามีปริมาณสารเคมีค่าสูงเกินกว่าค่ามาตรฐานความปลอดภัย
หัวเรื่อง 3.1.6 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสารเคมี หัวเรื่อง 3.1.6 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสารเคมี 3. ป้องกันและควบคุมที่ ผู้ปฏิบัติงาน โดย 1) การให้การศึกษาและฝึกอบรมให้ผู้ปฏิบัติงานทราบถึงอันตรายและ การ ป้องกัน 2) การลดชั่วโมงการทำงานที่ผู้ปฏิบัติงานต้องสัมผัสสารเคมีที่เป็นอันตราย ให้น้อยลง 3) จัดให้มีการหมุนเวียนหรือสับเปลี่ยนหน้าที่การปฏิบัติงาน 4) จัดให้ผู้ปฏิบัติงานทำงานอยู่ในห้องควบคุมเป็นพิเศษ 5) จัดให้มีการตรวจสุขภาพร่างกายก่อนรับเข้าทำงานและตรวจสุขภาพเป็น ระยะๆ 6) จัดอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลให้พนักงานสวมใส่
หัวเรื่อง 3.1.6 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสารเคมี หัวเรื่อง 3.1.6 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสารเคมี นอกจากนี้สถานประกอบกิจการจะต้องมีข้อมูลรายละเอียดของสารเคมีอันตรายที่อยู่ในครอบครอง ซึ่งจะต้องแจ้งตามกฎหมาย ประกอบด้วย รายละเอียดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ เช่น ชื่อทางเคมี ผู้ผลิต ผู้นำเข้า การจำแนกสารเคมีอันตราย สารประกอบที่เป็นอันตราย ค่ามาตรฐานความปลอดภัยของสารเคมีนั้น ข้อมูลทางกายภาพและข้อมูลทางเคมี ข้อมูลด้านอัคคีภัยและการระเบิด ข้อมูลเกี่ยวกับอันตรายต่อสุขภาพ มาตรการด้านความปลอดภัยเช่น การควบคุมความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน การปฐมพยาบาล ข้อปฏิบัติที่สำคัญ เช่น การขนย้าย การจัดเก็บ การป้องกันการกัดกร่อน การกำจัด เป็นต้น
หัวเรื่อง 3.1.7 การป้องกันและควบคุมปัญหาด้านการยศาสตร์ หัวเรื่อง 3.1.7 การป้องกันและควบคุมปัญหาด้านการยศาสตร์ ก. ปัญหาการยศาสตร์ในสถานที่ทำงาน การยศาสตร์เป็นการศึกษาสภาพการทำงานที่มีความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปฏิบัติงานและสิ่งแวดล้อมการทำงานที่อาจมีผลกระทบต่อความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยในการทำงาน และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้
หัวเรื่อง 3.1.7 การป้องกันและควบคุมปัญหาด้านการยศาสตร์ หัวเรื่อง 3.1.7 การป้องกันและควบคุมปัญหาด้านการยศาสตร์ ปัญหาการยศาสตร์ในสถานที่ทำงาน ในสถานที่ทำงานส่วนใหญ่ ผู้ปฏิบัติงานต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การทำงานที่มีการออกแบบไม่เหมาะสมต่อผู้ปฏิบัติงาน เช่น เก้าอี้ที่นั่งปฏิบัติงานไม่สบาย ป้าย/สัญลักษณ์ที่ยากต่อการอ่าน ปุ่มควบคุมและสวิตช์จัดวางไม่เป็นระบบ ประตูและช่องทางเดินที่คับแคบ การบิดเอี้ยวตัว กฎระเบียบข้อบังคับและข้อแนะนำในการทำงานที่สับสน การทำงานของพนักงานที่ทำให้ร่างกายอยู่ในอิริยาบถท่าทางที่ฝืนธรรมชาติ การทำงานที่ซ้ำซากจำเจ ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้น บางครั้งอาจรุนแรง เช่น เกิดการเมื่อยล้าของดวงตา เนื่องจากมีการจัดแสงสว่างที่ไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน หรือมีแสงจ้า มีปัญหาการไหลเวียนของกระแสโลหิต เนื่องจากเก้าอี้หรือที่นั่งมีการออกแบบไม่ดี ทำให้เกิดแรงกดที่ ด้านหลังของต้นขา เกิดอุบัติเหตุหรือการบาดเจ็บ เนื่องจากการจัดวางเครื่องมือไม่เหมาะสม เกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อและบริเวณมือ ข้อมือ หรือส่วนต่างๆ ของร่างกาย
หัวเรื่อง 3.1.7 การป้องกันและควบคุมปัญหาด้านการยศาสตร์ หัวเรื่อง 3.1.7 การป้องกันและควบคุมปัญหาด้านการยศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกิดจากการทำงานต่อไปนี้ การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่มีความสั่นสะเทือนซ้ำๆ เป็นเวลานาน เช่น Jackhammer การใช้เครื่องมือและลักษณะงานที่ต้องบิดข้อมือหรือข้อต่อส่วนต่างๆ ของร่างกายในการเคลื่อนไหว การออกแรงทำงานด้วยอิริยาบถท่าทางการทำงานที่ฝืนธรรมชาติ การทำงานที่ก่อให้เกิดแรงกดที่มากเกินไปหรือบริเวณมือ ข้อมือ ข้อต่อส่วนต่างๆ และหลัง การทำงานที่ต้องเอื้อมสุดแขน หรือยกแขนขึ้นสูงเหนือไหล่ การทำงานที่ต้องก้มหลัง การทำงานที่ต้องออกแรงยก หรือผลักดันสิ่งของที่มีน้ำหนักมาก ส่วนของร่างกายต้องอยู่ในอิริยาบถท่าทางเดียวเป็นเวลานาน ส่วนของร่างกายหรือศีรษะต้องโน้มหรือก้มมาก ส่วนข้อต่อของร่างกายต้องเอื้อมหรือเคลื่อนจนสุดช่วง บิดข้อมืออย่างรวดเร็วในขณะที่มือจับวัสดุสิ่งของ บิดเอี้ยวตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะที่ยกถือของหนัก การเคลื่อนไหวในอิริยาบถท่าทางเดิมซ้ำๆ บ่อยครั้ง
หัวเรื่อง 3.1.7 การป้องกันและควบคุมปัญหาด้านการยศาสตร์ หัวเรื่อง 3.1.7 การป้องกันและควบคุมปัญหาด้านการยศาสตร์ ข. การป้องกันและควบคุมปัญหาการยศาสตร์ 1. สถานีงาน (Work Station) เลือกและปรับให้เหมาะสมต่อผู้ปฏิบัติงานแต่ละคน อาทิ ระดับความสูงของศีรษะ เช่น จัดให้มีเนื้อที่ว่างสำหรับพนักงานที่สูงที่สุด ระดับความสูงของไหล่ เช่น จัดให้อุปกรณ์และปุ่มควบคุมอยู่ในระดับ ความสูงระหว่างไหล่และเอว หลีกเลี่ยงการจัดวางวัสดุสิ่งของให้อยู่สูงเกินกว่าระดับไหล่ ระยะการเอื้อมของแขน เช่น จัดวางวัสดุสิ่งของเพื่อให้ผู้ที่มีแขนสั้นที่สุดสามารถหยิบจับได้โดยไม่ต้องเอื้อมไกลสุดแขน จัดวางวัสดุสิ่งของเพื่อให้ผู้ที่สูงที่สุดไม่ต้องก้มตัวเพื่อหยิบจับชิ้นงาน จัดวางวัสดุสิ่งของและอุปกรณ์เครื่องมือไว้ทางด้านหน้าและใกล้ลำตัว ระดับความสูงของข้อศอก เช่น ระดับความสูงของพื้นหน้างานให้อยู่ในระดับข้อศอกหรือต่ำกว่าเล็กน้อย ความยาวของขา เช่น ปรับระดับความสูงของเก้าอี้ให้เหมาะกับความยาวของขาและพื้นหน้างาน จัดให้มีที่ว่างสำหรับวางขาจัดให้มีที่วางพักเท้าเพื่อขาจะได้ไม่ห้อยลง และยังช่วยให้สามารถปรับเปลี่ยนอิริยาบถท่าทางได้
หัวเรื่อง 3.1.7 การป้องกันและควบคุมปัญหาด้านการยศาสตร์ หัวเรื่อง 3.1.7 การป้องกันและควบคุมปัญหาด้านการยศาสตร์ ขนาดของมือ เช่น เลือกใช้เครื่องมือที่มีด้ามหรือที่จับเหมาะกับผู้ที่มีมือขนาดเล็ก จัดให้มีเนื้อที่ว่างมากพอสำหรับผู้ที่มีมือขนาดใหญ่ให้สามารถสอดลอกเข้าไปหยิบชิ้นงานได้ ขนาดความหนาของร่างกาย เช่น จัดให้มีเนื้อที่ว่างมากพอสำหรับผู้ที่มีรูปร่างใหญ่ที่สุด อื่นๆ เช่น จัดให้มีวัสดุสิ่งของที่พนักงานไม่ต้องบิดงอข้อมือ หรือยกแขนสูงเพื่อหยิบจับวัสดุสิ่งของที่อยู่ภายใน หรือมีสันขอบคม จัดให้มีเครื่องมือหรือการทำงานที่ไม่ว่าคนถนัดมือขวาหรือมือซ้ายก็สามารถทำงานได้ จัดให้มีอุปกรณ์ปุ่มควบคุมที่สามารถอ่านเข้าใจง่าย และอยู่ในตำแหน่งที่ร่างกายไม่ฝืนธรรมชาติ จัดให้สถานีงานที่ต้องยืนทำงานมีเก้าอี้เพื่อนั่งพักและเปลี่ยนอิริยาบถท่าทางเพื่อลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการยืนทำงานเป็นเวลานาน หลีกเลี่ยงการทำงานที่เกิดเงาและแสงจ้า ฯลฯ
หัวเรื่อง 3.1.7 การป้องกันและควบคุมปัญหาด้านการยศาสตร์ หัวเรื่อง 3.1.7 การป้องกันและควบคุมปัญหาด้านการยศาสตร์ การทำงานกับอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการจัดการประมวลผล และแสดงข้อมูลต่างๆ(Visual Display Terminals) เช่น งานป้อนข้อมูล งานต่อโทรศัพท์ งานในห้องควบคุม งานหนังสือพิมพ์ งานออกแบบ หรือ ควบคุมการผลิตโดยใช้คอมพิวเตอร์ ควรจัดให้ไม่มีปัญหาเรื่องของแสงสะท้อนจากวัตถุอื่นมาเข้าตา มุมในการมองจอคอมพิวเตอร์ ความสูงของจอคอมพิวเตอร์ เก้าอี้ แป้นพิมพ์ให้เหมาะสมกับขนาดร่างกายผู้ใช้ จัดแสงสว่างของวัตถุที่มองขณะทำงานควรมีความสว่างพอๆกัน จอคอมพิวเตอร์ต้องไม่อยู่ในตำแหน่งที่สามารถสะท้อนหลอดไฟหรือแสงสว่างอื่นเข้าตา เพราะจะทำให้เกิดปัญหาแสงจ้าได้ อาจใช้แผ่นกรองแสงติดที่หน้าจอเพื่อลดปัญหาแสงจ้า จัดระยะห่างจากตาถึงวัตถุที่ต้องมอง การหยุดพักงานเป็นระยะ หรือสับเปลี่ยนหมุนเวียนกับงานอื่นบ้างจะช่วยลดปัญหาความเครียดของกล้ามเนื้อและจิตใจได้
การจัดสถานีงานสำหรับงานคอมพิวเตอร์
หัวเรื่อง 3.1.7 การป้องกันและควบคุมปัญหาด้านการยศาสตร์ หัวเรื่อง 3.1.7 การป้องกันและควบคุมปัญหาด้านการยศาสตร์ 2. เก้าอี้นั่ง (Chair) เก้าอี้นั่งที่ดี จะสามารถทำให้นั่งทำงานในอิริยาบถท่าทางที่สะดวกสบายและปรับเปลี่ยนอิริยาบถท่าทางของร่างกายได้โดยง่าย โดยให้ผู้นั่งสามารถโน้มตัวไปข้างหน้าหรือหลังได้ และลุกขึ้นยืนหรือนั่งลงได้อย่างง่ายดาย ซึ่งเก้าอี้นั่งที่ดี ควรมีลักษณะดังต่อไปนี้ มีพนักพิงหลังที่สามารถรองรับหลังส่วนล่างได้ ที่นั่งควรไม่ก่อให้เกิดแรงกดที่ด้านหลังของต้นขาหรือหัวเข่า มีฐานที่มั่นคงแข็งแรง มีกลไกที่สามารถปรับระดับได้ง่าย มีท้าวแขนหรือที่รองรับแขนส่วนล่าง ซึ่งไม่เป็นอุปสรรคต่อการทำงาน ใช้วัสดุที่เหมาะสมสำหรับบุเก้าอี้
หัวเรื่อง 3.1.7 การป้องกันและควบคุมปัญหาด้านการยศาสตร์ หัวเรื่อง 3.1.7 การป้องกันและควบคุมปัญหาด้านการยศาสตร์ 3. สถานีงานสำหรับการยืนปฏิบัติงาน (Standing Work Station) การยืนทำงานเป็นระยะเวลานาน อาจทำให้ขาบวม การไหลเวียนของโลหิตไม่สะดวก เท้าเป็นแผลช้ำระบม กล้ามเนื้ออ่อนล้า และเกิดอาการปวดหลัง เป็นต้น ควรจัดให้มีเนื้อที่ว่างสำหรับขาและเข่าอย่างเพียงพอ เพื่อให้สามารถปรับเปลี่ยนระดับความสูงของพื้นหน้างานให้เหมาะสมกับงานที่ต้องปฏิบัติ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ ระดับความสูงของข้อศอกแต่ละคน ลักษณะของงาน (งานปกติทั่วไป งานละเอียดที่ต้องใช้สายตา งานหนักที่ต้องออกแรง) ขนาดของชิ้นงาน เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้
หัวเรื่อง 3.1.7 การป้องกันและควบคุมปัญหาด้านการยศาสตร์ หัวเรื่อง 3.1.7 การป้องกันและควบคุมปัญหาด้านการยศาสตร์ หากไม่สามารถปรับระดับความสูงของพื้นหน้างานได้ ควรจัดให้มียกพื้นสำหรับคนตัวเตี้ยและที่รองรับชิ้นงานให้สูงขึ้นสำหรับคนตัวสูง การจัดให้มีที่วางพักเท้า จะทำให้พนักงานสามารถสลับน้ำหนักตัวลงที่ขาข้างใดข้างหนึ่ง ซึ่งจะช่วยลดอาการปวดเมื่อยที่มีต่อระบบกล้ามเนื้อ กระดูกและข้อต่อที่ขาและหลัง การจัดให้มีที่นั่งสำหรับผู้ที่ต้องยืนทำงาน เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถปรับเปลี่ยนอิริยาบถท่าทางเป็นการนั่งได้บ้าง ควรจัดระดับความสูงของที่นั่งให้เหมาะสมกับความยาวของขา ระดับความสูงของพื้นที่หน้างาน และลักษณะงานที่ทำ (งานปกติทั่วไป งานละเอียดที่ต้องใช้สายตา งานหนักที่ต้องออกแรง) รองเท้าควรเป็นแบบที่สวมใส่สบาย และมีส้นเตี้ย พื้นควรสะอาด ไม่ลื่น และเสมอได้ระดับเท่ากัน จงแน่ใจว่าผู้ปฏิบัติงานอยู่ในอิริยาบถท่าทางที่ดีด้วย อาทิ หันหน้าเข้าหางาน ให้ลำตัวอยู่ใกล้งานที่ต้องปฏิบัติ หมุนเท้าไปในทิศทางที่ต้องการแทนการบิดเอี้ยวตัว
หัวเรื่อง 3.1.7 การป้องกันและควบคุมปัญหาด้านการยศาสตร์ หัวเรื่อง 3.1.7 การป้องกันและควบคุมปัญหาด้านการยศาสตร์ 4. หน้าปัดจอแสดงภาพและอุปกรณ์ปุ่มควบคุม (Displays and Controls) ผู้ปฏิบัติงานที่ใช้อุปกรณ์ปุ่มควบคุมเพื่อควบคุมการทำงานของอุปกรณ์เครื่องจักรต่างๆ และหน้าปัดจอแสดงภาพเพื่อดูผลการควบคุม จึงต้องมีปฏิสัมพันธ์กันอย่างดีกับผู้ปฏิบัติงานนั้นๆ จัดอุปกรณ์ปุ่มควบคุมให้เหมาะกับข้อจำกัดในเรื่องขนาดร่างกาย การออกแรง และการมองเห็น เช่น เลือกใช้อุปกรณ์ปุ่มควบคุมที่เหมาะสมต่อการบังคับด้วยมือหรือเท้า แน่ใจว่ามีที่ว่างมากพอที่จะจับอุปกรณ์ปุ่มควบคุมนั้นได้ จัดวางอุปกรณ์ปุ่มควบคุมที่สำคัญไว้ในตำแหน่งที่จับถึงได้ง่ายและสะดวก ซึ่งรวมถึงอุปกรณ์ปุ่มควบคุมที่ต้องบังคับอย่างรวดเร็ว ใช้บ่อย และเป็นงานที่ต้องการความละเอียดถูกต้องแม่นยำสูง จัดวางอุปกรณ์ปุ่มควบคุม ให้มีทิศทางการบังคับให้สอดคล้องกับสามัญสำนึกของผู้ปฏิบัติงาน เช่น เลื่อนจากซ้ายไปขวา หมุนตามเข็มนาฬิกา หรือดันออกนอกลำตัว จัดวางอุปกรณ์ปุ่มควบคุมตามมาตรฐานที่กำหนด มิฉะนั้นอาจเกิดความผิดพลาดในการใช้งาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้น จงแน่ใจว่า ได้จัดให้หน้าปัดจอแสดงภาพสามารถอ่านได้ง่าย เช่น มีการจัดให้มีแสงสว่างอย่างเพียงพอ ไม่มีแสงสะท้อนเข้าตา มีการใช้สีที่เหมาะสม จัดหน้าปัดจอแสดงภาพประเภทเดียวกันให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน เพื่อสะดวกในการแยกแยะ
หัวเรื่อง 3.1.7 การป้องกันและควบคุมปัญหาด้านการยศาสตร์ หัวเรื่อง 3.1.7 การป้องกันและควบคุมปัญหาด้านการยศาสตร์ 5. เครื่องมือ (Tools) เครื่องมือที่ได้รับการออกแบบมาเป็นอย่างดี จะช่วยทำให้มีตำแหน่งของร่างกายและการเคลื่อนไหวที่ดี ในกรณีที่ใช้เครื่องมือร่วมกัน จงแน่ใจว่าผู้ที่มีรูปร่างเล็ก สามารถใช้เครื่องมือดังกล่าวได้อย่างปลอดภัยและสะดวกสบาย เลือกใช้เครื่องมือที่มีด้ามจับยาวมากพอดีกับฝ่ามือ เพื่อหลีกเลี่ยงแรงกดที่อาจเกิดขึ้นบริเวณฝ่ามือ เลือกใช้เครื่องมือที่มีระยะห่างระหว่างด้ามไม่มากเกินไป อย่าเลือกใช้เครื่องมือที่มีด้ามเหมาะสำหรับมือเพียงขนาดเดียว จงแน่ใจว่ามีการใช้ฉนวนหุ้มด้าม เพื่อป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าและความร้อน อย่าเลือกใช้เครื่องมือที่มีด้ามเป็นสันขอบคม และลื่นต่อการจับถือ เลือกใช้เครื่องมือที่ไม่ทำให้ส่วนของร่างกายอยู่ในอิริยาบถท่าทางที่ฝืนธรรมชาติ เช่น กางข้อศอก บิดงอข้อมือ เลือกใช้เครื่องมือที่สามารถใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ๆ ที่ไหล่และแขน แทนที่จะใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กๆ ที่ข้อมือและนิ้วมือ
หัวเรื่อง 3.1.7 การป้องกันและควบคุมปัญหาด้านการยศาสตร์ หัวเรื่อง 3.1.7 การป้องกันและควบคุมปัญหาด้านการยศาสตร์ 6. ตารางการทำงาน (Work Schedules) ชั่วโมงการทำงาน มีผลกระทบที่สำคัญต่อสุขภาพอนามัย และความพึงพอใจในงานที่ปฏิบัติ รวมไปถึง การทำงานกะ (Shift Work) ทั้งนี้เนื่องจากการทำงานกะ จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจังหวะวงจรชีวิตในแต่ละวัน เช่น อุณหภูมิของร่างกาย อัตราการเต้นของหัวใจและฮอร์โมน เป็นต้น การทำงานกะจึงเป็นการปรับเปลี่ยนกลไกธรรมชาติของมนุษย์ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่างๆ ต่อร่างกายได้ เช่น เกิดความเหนื่อยล้า เป็นโรคกระเพาะอาหารและนอนไม่หลับ รวมทั้งยังส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตในครอบครัวและสังคมอีกด้วย ปัญหาดังกล่าวอาจลดลงได้โดย ลดจำนวนพนักงานที่ต้องทำงานกะกลางคืนให้มีจำนวนเท่าที่จำเป็นเท่านั้น แจ้งให้พนักงานทราบล่วงหน้าถึงกำหนดตารางเวลาการทำงานกะ จัดให้มีสวัสดิการต่างๆ เช่น บริการรถรับส่งพนักงาน อาหาร ในช่วงออกกะ พนักงานควรหลับให้เต็มที่ ในสถานที่เงียบและหลับได้สบาย พนักงานควรใส่ใจรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ออกกำลังกายพอเหมาะเพื่อให้มีสุขภาพอนามัยที่ดี
หัวเรื่อง 3.1.8 การป้องกันและควบคุมอันตรายในงานก่อสร้าง หัวเรื่อง 3.1.8 การป้องกันและควบคุมอันตรายในงานก่อสร้าง ก. ปัญหาอุบัติเหตุอันตรายในงานก่อสร้าง 1. อุบัติเหตุที่เกิดจากการปฏิบัติงานของคนงานก่อสร้าง ขณะทำงานคนงานแต่งกายไม่รัดกุม รุ่มร่าม สวมใส่รองเท้าแตะซึ่งทำให้ลื่นไถลได้ง่าย ไม่สวมใส่หมวกนิรภัย ไม่สวมใส่เข็มขัดนิรภัยขณะเดินบนไม้ที่พาดบนช่องเปิดหรือมีการหยอกล้อกันในขณะทำงาน 2. อุบัติเหตุที่เกิดจากลักษณะงาน ลักษณะของอุบัติเหตุจะมีความแตกต่างกันออกไปตามลักษณะของงานก่อสร้าง เช่น งานก่อสร้างถนน ลักษณะของอุบัติเหตุจะเกี่ยวข้องกับการใช้เครื่องจักรกล หรือจากการใช้เครื่องทุ่นแรง เป็นต้น งานก่อสร้างอาคารสูง ลักษณะของอุบัติเหตุ มักเกิดจากการพลัดตกจากที่สูง เช่น พลัดตกจากนั่งร้าน ช่องเปิด บันได ลิฟต์ หลุม เสาเข็มเจาะ หรือพลัดตกจากเครื่องจักรกลในขณะปฏิบัติหน้าที่ วัตถุหล่นใส่ ตะปูตำเท้า ไฟฟ้าช็อต เป็นต้น
หัวเรื่อง 3.1.8 การป้องกันและควบคุมอันตรายในงานก่อสร้าง หัวเรื่อง 3.1.8 การป้องกันและควบคุมอันตรายในงานก่อสร้าง 3. อุบัติเหตุที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมในการทำงาน คนงานก่อสร้างต้องพบกับสภาพแวดล้อมที่ไม่พึงประสงค์ เช่น เสียงดัง แสงที่จ้าหรือแสงน้อยจนเกินไป ความสั่นสะเทือน ฝุ่น ควัน กลิ่น เสียงรบกวน การขัดโลหะด้วยเครื่องขัด หรือเสียงอื่นๆ ที่ดังมากเกินไปซึ่งรบกวนการสื่อสาร 4. อุบัติเหตุเนื่องจากการทำงาน 1) ขั้นตอนการเตรียมการก่อสร้างและงานดิน คือ อุบัติเหตุจากการขุดดิน การตอกเสาเข็ม ดินยุบตัว โครงสร้างป้องกันดินพังทลาย 2) อันตรายในขณะตอกเสาเข็ม คนงานอาจถูกตุ้มน้ำหนักกระแทกมือหรือเท้า เป็นต้น 3) อันตรายจากสลิงที่ใช้ดึงตุ้มน้ำหนักขาด 4) อันตรายจากการประกอบปั้นจั่น คนงานไม่สวมเข็มขัดนิรภัย เกิดอุบัติเหตุพลัดตกจากที่สูง
หัวเรื่อง 3.1.8 การป้องกันและควบคุมอันตรายในงานก่อสร้าง หัวเรื่อง 3.1.8 การป้องกันและควบคุมอันตรายในงานก่อสร้าง 5) อันตรายจากปั้นจั่นล้ม อันตรายจากการบรรทุกน้ำหนักเกินอัตราที่กำหนด 6) อันตรายจากการตกรูเสาเข็มขนาดใหญ่ 7) อันตรายจากการสั่นสะเทือนจากการตอกเสาเข็ม 8) การก่อสร้างลิฟต์ขนส่งวัสดุชั่วคราวที่ไม่ได้มาตรฐาน 9) การใช้ลิฟต์ขนส่งวัสดุเป็นลิฟต์โดยสาร 10) ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดเกี่ยวกับการบรรทุกสิ่งของ 11) การพังของนั่งร้านและค้ำยัน 12) คนงานตกจากนั่งร้าน 13) การทำงานใกล้สายไฟฟ้าแรงสูง คนงานยกวัสดุไปสัมผัสสายไฟฟ้าแรงสูง 14) การใช้อุปกรณ์ เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ปลอดภัย แผงสวิทซ์ไฟฟ้าชั่วคราว และสายไฟฟ้าที่นำมาใช้สำหรับการต่อไฟฟ้าชั่วคราว
หัวเรื่อง 3.1.8 การป้องกันและควบคุมอันตรายในงานก่อสร้าง หัวเรื่อง 3.1.8 การป้องกันและควบคุมอันตรายในงานก่อสร้าง ข. การป้องกันและควบคุมอันตรายในงานก่อสร้าง แนวทางการป้องกันและควบคุมอันตรายในงานก่อสร้าง แบ่งเป็นขั้นตอนดังนี้ 1. ขั้นตอนการเตรียมการก่อสร้าง 1) ก่อนทำการก่อสร้างต้องมีการอบรมผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับอันตรายในงานก่อสร้างและการป้องกันอุบัติเหตุ 2) กำหนดกฎระเบียบในการปฏิบัติงานและควบคุมคนงานทุกคนที่เข้าไปในบริเวณก่อสร้างต้องแต่งกายให้รัดกุมและสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลทุกครั้ง 3) จัดทำเขตก่อสร้างเพื่อแสดงขอบเขตพื้นที่ก่อสร้างและป้องกันบุคคลภายนอกเข้ามาในบริเวณก่อสร้างและเพื่อการป้องกันเศษวัสดุหล่นใส่ผู้สัญจรไปมา 4) ติดป้าย “เขตก่อสร้าง” ไว้รอบบริเวณก่อสร้าง
หัวเรื่อง 3.1.8 การป้องกันและควบคุมอันตรายในงานก่อสร้าง หัวเรื่อง 3.1.8 การป้องกันและควบคุมอันตรายในงานก่อสร้าง 5) จัดตั้งหน่วยปฐมพยาบาลในบริเวณก่อสร้าง 6) จัดให้มีการอบรมการปฐมพยาบาลแก่ผู้ทำหน้าที่ประจำหน่วยพยาบาล 7) จัดอบรมการดับเพลิงขั้นต้นและการป้องกันและระงับอัคคีภัย 8) จัดให้มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยดูแล 9) จัดให้มีป้ายเตือน ป้ายห้าม และระเบียบข้อบังคับในการปฏิบัติงาน
หัวเรื่อง 3.1.8 การป้องกันและควบคุมอันตรายในงานก่อสร้าง หัวเรื่อง 3.1.8 การป้องกันและควบคุมอันตรายในงานก่อสร้าง 2. การป้องกันอุบัติเหตุในขณะปฏิบัติงาน 1)ควบคุมคนงานให้แต่งกายรัดกุม สวมอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วน บุคคล เช่น หมวกนิรภัย รองเท้านิรภัย ถุงมือ เข็มขัดนิรภัย เป็นต้น 2)การออกแบบและควบคุมการสร้างนั่งร้านตามมาตรฐานเพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่คนงานผู้ขึ้นไปปฏิบัติงานบนนั่งร้านหรือค้ำยัน ต้องมีการตรวจสอบสภาพของนั่งร้านหรือค้ำยันอย่างสม่ำเสมอ ถ้าพบว่านั่งร้านส่วนใดเกิดการชำรุดเสียหาย หรือเกิดจุดอ่อนเนื่องจากเหตุใดก็ตาม จะต้องดำเนินการซ่อมแซมทันที และห้ามไม่ให้ผู้ปฏิบัติงานใช้นั่งร้านนั้นจนกว่าจะได้ซ่อมแซมเสร็จเรียบร้อย 3) จัดทำราวกันตก ติดตั้งตาข่ายนิรภัย และจัดเข็มขัดนิรภัยให้คนงานสวมใส่เพื่อป้องกันคนงานตกจากที่สูง และป้องกันการตกของวัสดุ 4) จัดให้มีผู้ควบคุมงานก่อสร้าง เพื่อสอดส่องดูแลให้คนงานสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล และให้ปฏิบัติตามกฎระเบียบที่กำหนดไว้ 5) ติดตั้งระบบแสงสว่างไว้ที่แขนของปั้นจั่นหอสูง
หัวเรื่อง 3.1.8 การป้องกันและควบคุมอันตรายในงานก่อสร้าง หัวเรื่อง 3.1.8 การป้องกันและควบคุมอันตรายในงานก่อสร้าง 6) กำหนดมาตรการความปลอดภัยสำหรับลิฟต์โดยสาร 7) มีการป้องกันอุบัติเหตุจากไฟฟ้า 8) การเก็บรักษาถังก๊าซไวไฟ จะต้องจัดทำโครงเหล็กครอบไว้ เพื่อป้องกันการกระแทกและควรเก็บไว้ในร่ม 9) มีการกำหนดกฎแห่งความปลอดภัยในการทำงาน และข้อปฏิบัติในการทำงานก่อสร้าง
หัวเรื่อง 3.1.9 การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล หัวเรื่อง 3.1.9 การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ก. ประเภทของอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล 9 ประเภท ดังนี้ อุปกรณ์ป้องกันศีรษะ (Head Protection) ได้แก่ หมวกแข็ง (Safety Helmet) อุปกรณ์ป้องกันผม (Hair Protection) ได้แก่ ตาข่ายคลุมผม (Hair Net) อุปกรณ์ป้องกันตา (Eye Protection) ได้แก่ แว่นตา แว่นกรองแสง และหน้ากาก อุปกรณ์ป้องกันหู (Ear Protection) ได้แก่ ที่อุดหู(Ear Plugs)และที่ครอบหู(Ear Muffs)เพื่อลดอันตรายจากเสียงดัง อุปกรณ์ป้องกันลำตัวและขา (Body and Leg Protection) ได้แก่ชุดกันสารเคมี ชุดกันความร้อน ชุดกันสะเก็ดไฟ อุปกรณ์ป้องกันเท้า (Foot Protection) ได้แก่ รองเท้าหัวโลหะ รองเท้ายาง ฯลฯ ต้องเป็นรองเท้าชนิดพิเศษที่มีแผ่นเหล็กรองไว้ทางส่วนหน้าของรองเท้า เพื่อกันของหนักตกทับนิ้วเท้า
เรื่อง 3.1.9 การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล เรื่อง 3.1.9 การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล 7. อุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจ (Respiratory Protection Devices) ได้แก่ หน้ากาก ที่ครอบปากและจมูก ที่กรองอากาศชนิดต่างๆ ตามประเภทของสารเคมี 8. อุปกรณ์ป้องกันมือและแขน (Hand Protection) ได้แก่ ถุงมือ ถุงมือยาง ปลอกแขน งานที่ต้องใช้มือจับของหนัก ของแข็ง ของมีคม ของที่มีแง่มีมุม ของที่ร้อนหรือของที่เป็นพิษต่อผิวหนัง งานที่ต้องใช้มีดตัด เฉือน เจาะด้วยของแข็งคม และงานเกี่ยวกับไฟฟ้า 9. อุปกรณ์ป้องกันอื่นๆ ได้แก่ ครีมป้องกันอันตรายผิวหนัง (Barrier Cream) เข็มขัดนิรภัย (Safety Belt) เชือกนิรภัย (Life Line) 9.1 ครีมป้องกันอันตรายผิวหนัง (Barrier Cream) ลักษณะอาจเป็นขี้ผึ้ง หรือครีม หรือน้ำยา สำหรับทาลงบนผิวหนัง เพื่อป้องกันอันตรายจากการเสียดสี สารเคมี หรือจากเชื้อแบคทีเรีย 9.2 เข็มขัดนิรภัย (Safety Belt) และเชือกนิรภัย (Life Line) เมื่อทำงานอยู่บนที่สูง เช่น เสา นั่งร้าน หรือสิ่งก่อสร้าง ซึ่งมีทางไม่กว้างนัก หรือเป็นที่ลาดเอียงและไม่มีราวหรือ ขอบกั้น
เรื่อง 3.1.9 การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล เรื่อง 3.1.9 การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ข. การใช้การบำรุงรักษาและจัดเก็บ 1.ก่อนใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลทุกครั้ง ควรมีการตรวจสภาพว่า ยังมีสภาพดีอยู่หรือไม่ 2.อธิบายให้ผู้ปฏิบัติงานเข้าใจถึงความจำเป็นในการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล 3.การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่สวมใส่นั้นจะต้องไม่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงาน หรือเป็นอุปสรรคน้อยที่สุด 4.จัดให้มีการอบรมถึงวิธีการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล และเหตุผลความจำเป็นในการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล 5.ผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้างานต้องมีการตรวจตราเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลเป็นระยะๆ และมีการออกกฎระเบียบเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล
เรื่อง 3.1.9 การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล เรื่อง 3.1.9 การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล 6. การทำความสะอาดอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลบางชนิด เช่น หมวกนิรภัย แว่นนิรภัย วิธีที่ดีที่สุดคือ ถอดออกเป็นส่วนต่างๆล้างด้วยสบู่หรือผงซักฟอกในน้ำอุ่นๆ 7. กรณีที่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลได้รับความเสียหายมาก จะต้องทิ้งทันทีไม่ควรนำมาซ่อม เพราะอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลนั้นจะไม่สามารถป้องกันอันตรายได้เหมือนเดิมแล้ว 8. การให้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ใช้แล้วแก่พนักงานคนอื่นควรได้มีการล้างทำความสะอาดและใช้สารฆ่าเชื้อโรคเช็ดทำความสะอาดให้เรียบร้อยก่อนเสมอ 9. ควรตรวจอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลทุกส่วน ที่ใดมีรอยเย็บหรือรอยหมุดย้ำต้องตรวจสอบความแน่นและสภาพของด้ายหรือตัวหมุด 10. ควรเก็บอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลไว้ในที่ร่ม อากาศถ่ายเทได้สะดวก 11. ควรเก็บอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลไว้ที่พัสดุกลางหรือเก็บไว้ที่พัสดุย่อยของฝ่ายต่างๆ ภายในโรงงานและสามารถเบิกอุปกรณ์ใช้ฉุกเฉินได้ 12. ควรแยกเก็บอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลเป็นประเภท ลักษณะงาน หรือ แยกเก็บไว้ตามบุคคลที่ใช้ ตามฝ่าย/แผนกต่างๆ หรือตามความเหมาะสม
เรื่อง 3.1.9 การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล เรื่อง 3.1.9 การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ค. การจูงใจให้ผู้ปฏิบัติงานใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล 1. ต้องสอนให้ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องทราบว่า ต้องใช้อุปกรณ์ชนิดใดในการทำงานประเภทใด และเมื่อใด รวมทั้งต้องสอนให้ใช้อุปกรณ์นั้นๆได้อย่างถูกต้องด้วย 2. การจัดอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลและการเก็บรักษา ควรจะจัดให้มีอย่างเพียงพอ การเก็บรักษาควรจัดให้เป็นระเบียบ หยิบใช้ได้สะดวก และเก็บไว้ในสถานที่ที่สะอาด เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานที่มาใหม่และไปเบิกอุปกรณ์นั้นๆ มีความประทับใจในความมีระเบียบและการเอาใจใส่ของโรงงานและผู้ควบคุมงานในเรื่องความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งจะเป็นการจูงใจและเกิดความสำนึกในคุณค่าของอุปกรณ์นั้นๆ ด้วย 3. การจัดระบบการบำรุงรักษาและอะไหล่ของอุปกรณ์ให้พร้อม สามารถเปลี่ยนอุปกรณ์หรือชิ้นส่วนของอุปกรณ์ที่ชำรุดหรือเสื่อสภาพได้ทันที เพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้ใช้อุปกรณ์อย่างแท้จริง ถ้ามีอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ร่วมกันหลายคน เมื่อผู้ใดผู้หนึ่งใช้แล้ว จะต้องนำมาทำความสะอาดและตรวจสอบความพร้อมที่จะใช้งานต่อไปอยู่เสมอเป็นต้น
เรื่อง 3.1.9 การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล เรื่อง 3.1.9 การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล 4. ฝึกอบรมชี้แจงแนะนำให้ผู้ปฏิบัติงานทราบถึงอันตราย หรืออุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากการทำงานนั้นๆ อย่างตรงไปตรงมา อาจชี้ให้เห็นสาเหตุของอุบัติเหตุนั้นๆ ที่เกี่ยวกับการกระทำโดยตรงของผู้ปฏิบัติงานเอง หรือเพื่อนร่วมงาน และชี้ให้เห็นคุณประโยชน์ของอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ต้องใช้ในการทำงานนั้นว่าสามารถคุ้มครองและป้องกันอันตรายให้กับผู้ใช้อุปกรณ์ได้อย่างไร 5. เลือกและปรับอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ที่มีขนาดหรือระดับสายตา (ในกรณีที่ต้องมีเลนส์หรือแว่นตา) น้ำหนัก ฯลฯ ให้เหมาะสมกับผู้ใช้พอดี ไม่คับหรือหลวมเกินไป หรือถ้ามีการระคายเคืองต่อผิวหนัง อาจช่วยได้ด้วยการใช้ครีมทา หรือผ้าสำลีบางๆ รองรับอุปกรณ์ตอนที่สัมผัสกับผิวหนัง และควรจะมีการสอบถาม ติดตามการใช้ ผลการใช้อุปกรณ์ต่างๆ เพื่อปรับให้เหมาะสมพอดีอยู่เป็นระยะๆ
เรื่อง 3.1.9 การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล เรื่อง 3.1.9 การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล 6. ต้องแนะนำหรือช่วยให้มีการรักษาความสะอาดอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลทุกชนิด ให้มีความสะอาดและเรียบร้อยพร้อมที่จะใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพอยู่ตลอดเวลา ถ้าเป็นไปได้ ควรแจกอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลให้ไว้ประจำตัวผู้ปฏิบัติงานที่จำเป็นต้องใช้ และต้องคอยติดตาม ดูแล หรือบังคับให้มีการใช้และบำรุงรักษาอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลอย่างสม่ำเสมอ 7. จัดให้มีแผ่นป้ายเตือน โปสเตอร์ที่สะดุดตา แสดงเขตปฏิบัติงาน และกฎเกณฑ์ข้อปฏิบัติที่ถูกต้องติดไว้ให้เห็นได้ง่ายและชัดเจนรอบๆ บริเวณที่ทำงาน รวมทั้งการประชุมชี้แจงแนะนำแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ ตลอดจนยกย่องชมเชยผู้ที่ปฏิบัติถูกต้องตามกฎเกณฑ์ให้เป็นตัวอย่างแก่ผู้ร่วมงานเป็นประจำ 8. ผู้บังคับบัญชาทุกระดับ จะต้องเป็นตัวอย่างโดยปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และข้อปฏิบัติทุกประการอย่างเคร่งครัดด้วย
หัวข้อวิชา 3.2 การสำรวจความปลอดภัย หัวข้อวิชา 3.2 การสำรวจความปลอดภัย การสำรวจความปลอดภัย เป็นการค้นหาหรือสืบค้นปัจจัยเสี่ยงในเบื้องต้นทั้งด้านสภาพงาน เช่น เคมี กายภาพ ชีวภาพ เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ การยศาสตร์ จิตวิทยาสังคม และด้านการปฏิบัติงานของพนักงาน รวมทั้งยังเป็นการประเมินมาตรการควบคุมที่มีอยู่ในสถานประกอบกิจการว่ามีประสิทธิภาพและเพียงพอหรือไม่ การสำรวจความปลอดภัย ยังเป็นการส่งเสริม กระตุ้นหรือให้กำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงาน แต่การสำรวจความปลอดภัยโดยคณะกรรมการฯเป็นการดำเนินการอย่างเป็นทางการ
หัวข้อวิชา 3.2 การสำรวจความปลอดภัย หัวข้อวิชา 3.2 การสำรวจความปลอดภัย ประโยชน์หรือผลที่จะได้รับจากการสำรวจความปลอดภัย มีในเรื่องต่อไปนี้ ค้นหาอันตรายและปัญหาต่างๆ ใช้เป็นเครื่องมือในการวัดผลการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย แสดงออกถึงความห่วงใยต่อพนักงาน และช่วยสร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์อันดี ลดความเสี่ยงภัยและความสูญเสียในการทำงาน ช่วยให้สถานที่ทำงานสะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อย ปฏิบัติงานได้สะดวกรวดเร็วไม่มีสิ่งกีดขวาง ทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น ทำให้ใกล้ชิดกับผู้ปฏิบัติงานซึ่งจะได้ทราบปัญหาและข้อเสนอแนะของลูกจ้างในการป้องกันแก้ไข และจะเกิดความร่วมมือจากลูกจ้าง ซึ่งลูกจ้างจะพอใจมากกว่าการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่ตนเองไม่มีส่วนร่วมด้วย เป็นการสอนงานด้านความปลอดภัย เมื่อพบว่ามีการปฏิบัติงานที่ไม่ถูกต้อง โดยการแนะนำสอนงานขณะทำการสำรวจ ประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ที่มีหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยว่าสามารถปฏิบัติได้ตามมาตรฐานหรือโครงการที่กำหนดไว้มากน้อยเพียงใด กระตุ้นผู้ที่รับผิดชอบในเรื่องความปลอดภัยในการทำงาน ให้มีการปฏิบัติอย่างจริงจัง
หัวข้อวิชา 3.2 การสำรวจความปลอดภัย หัวข้อวิชา 3.2 การสำรวจความปลอดภัย การสำรวจความปลอดภัย จะช่วยให้ทราบถึงอันตรายต่างๆที่อาจเกิดขึ้นแก่ผู้ปฏิบัติงาน และนำไปสู่การควบคุม ป้องกันแก้ไข ควรมีขั้นตอนในการดำเนินการ ต่อไปนี้ 1. การเตรียมการก่อนการสำรวจ ได้แก่ การรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ เช่นกระบวนการผลิต มาตรการควบคุมที่ใช้อยู่ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง 2. การดำเนินการสำรวจ 3. การสรุปผล การจัดลำดับปัญหาและการรายงานเพื่อเสนอแนะการปรับปรุงแก้ไข 4. การติดตามผลการปรับปรุงแก้ไข 5. การรายงานผลต่อนายจ้าง
หัวข้อวิชา 3.2 การสำรวจความปลอดภัย หัวข้อวิชา 3.2 การสำรวจความปลอดภัย 1. การเตรียมการก่อนการสำรวจ รวบรวมข้อมูลของสถานประกอบกิจการหรืออาจดูจากรายงานการสำรวจในอดีตในเรื่อง ดังนี้ 1.กระบวนการผลิต และอันตรายที่จะเกิดขึ้นจากกระบวนการผลิต วัตถุดิบที่ใช้ ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมที่อาจเป็นอันตรายต่อลูกจ้าง 2.นโยบาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ มาตรฐานขององค์กร 3. กฎหมายความปลอดภัยในการทำงานและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 4. สถิติอุบัติเหตุ อุบัติการณ์ ข้อเสนอแนะ เรื่องร้องเรียน ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับสาเหตุ หน่วยงานที่เกิดปัญหา การสำรวจ ผลการสำรวจ และการปรับปรุงแก้ไขที่ผ่านมา ฯลฯ
หัวข้อวิชา 3.2 การสำรวจความปลอดภัย หัวข้อวิชา 3.2 การสำรวจความปลอดภัย 2.การดำเนินการสำรวจ 1. กำหนดสถานที่ และเส้นทางที่จะทำการสำรวจ ซึ่งควรมีการสำรวจครอบคลุมทุกบริเวณของสถานประกอบกิจการ รวมถึงบริเวณที่มีการปล่อยของเสียออกจากโรงงาน 2.กำหนดช่วงเวลาสำรวจ การสำรวจสถานประกอบกิจการเป็นการค้นหาชนิดของสิ่งคุกคามและประเมินปริมาณของสิ่งคุกคามเบื้องต้น ค้นหาข้อบกพร่องของมาตรควบคุม ป้องกันที่ใช้อยู่ โดยทั่วไปกำหนดให้มีการสำรวจเดือนละ 1 ครั้ง ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ ควรกำหนดให้มีการสำรวจทันที เมื่อมีเหตุการณ์ ดังนี้ มีการเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิต มีการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี เปลี่ยนวัตถุดิบ เปลี่ยนลักษณะ และวิธีการทำงาน มีการเข้า ออกงานบ่อย ฯลฯ
หัวข้อวิชา 3.2 การสำรวจความปลอดภัย หัวข้อวิชา 3.2 การสำรวจความปลอดภัย 3. กำหนดผู้สำรวจ คณะกรรมการฯ ควรกำหนดว่าในการสำรวจแต่ละครั้ง จะทำการสำรวจทั้งคณะ หรือแต่งตั้งคณะทำงานซึ่งมีกรรมการในคณะกรรมการฯร่วมด้วย เพื่อดำเนินการสำรวจ เพื่อนำผลการสำรวจเสนอต่อคณะกรรมการฯ ต่อไป นอกจากนี้ ผู้ที่ทำการสำรวจควรมีความพร้อมหรือมีลักษณะ ดังนี้คือ การศึกษาข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง เช่น ลักษณะอันตรายที่จะเกิดขึ้นได้ ปัจจัยเสี่ยงที่มีอยู่ การเตรียมความพร้อมก่อนการสำรวจ เช่น ศึกษาข้อมูลการสำรวจที่ผ่านมา ศึกษาข้อมูลสถิติอุบัติเหตุอุบัติการณ์ ข้อเสนอแนะต่างๆ การเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ที่จะใช้ในการสำรวจ ความช่างสังเกต ไม่สร้างความกังกลว่าจะเป็นการจับผิดหรือรบกวนการปฏิบัติ ไม่มีอคติ เป็นคนใจกว้าง มีความเป็นกลาง มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี การสอบถามข้อมูลประกอบจากผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ การขออนุญาตจากผู้ดูแลรับผิดชอบก่อนเข้าพื้นที่ หรือการให้มีส่วนร่วมในการสำรวจพื้นที่ของตน เพื่อป้องกันปัญหาการขัดแย้งขึ้นในภายหลัง
หัวข้อวิชา 3.2 การสำรวจความปลอดภัย หัวข้อวิชา 3.2 การสำรวจความปลอดภัย 4.กำหนดประเด็นที่สำรวจ เช่น ความเหมาะสมในการใช้พื้นที่การใช้งาน เช่น ความแออัด แผนผังพื้นที่การทำงาน การวางผังงานในกระบวนการผลิต ความถูกต้องของวิธีการทำงานและลักษณะการทำงานของลูกจ้าง เช่น การแต่งกาย พฤติกรรมการทำงาน การปฏิบัติตามข้อกำหนดในการทำงาน การทำงานกะ การทำงานล่วงเวลา ความปลอดภัยของเครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ที่พนักงานใช้ในการปฏิบัติงาน มลพิษหรือสิ่งคุกคามที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิต สารเคมี แสงสว่าง ความร้อน ความสั่นสะเทือน ข้อบกพร่องของมาตรการที่มีใช้อยู่ เช่น บริเวณที่มีเสียงดังแต่ไม่ได้ถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่ต้องสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล
หัวข้อวิชา 3.2 การสำรวจความปลอดภัย หัวข้อวิชา 3.2 การสำรวจความปลอดภัย 5. เทคนิควิธีการสำรวจ ในการสำรวจอาจดำเนินการโดยเทคนิคใด เทคนิคหนึ่ง หรือทุกวิธีก็ได้ คือ - การตรวจเบื้องต้น เป็นการสำรวจโดยการบันทึกผลตามแบบสำรวจปลายปิดซึ่งสามารถแปรผลได้ทันที หรือแบบสำรวจปลายเปิด - การสังเกต อาจมีแบบสังเกตหรือไม่มีก็ได้ โดยผู้สำรวจมาบันทึกผลการสังเกตที่ได้ในภายหลัง - การสัมภาษณ์ เป็นการสำรวจ โดยการพูดคุยกับพนักงานทุกระดับ เช่นผู้แทนคนงาน วิศวกรฝ่ายผลิต ผู้จัดการฝ่าย ฝ่ายบุคคล เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน แพทย์ พยาบาล เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูล ด้านสุขภาพ ด้านความปลอดภัย แต่ต้องระวังไม่ใช้คำถามที่เป็นคำถามนำ และควรสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำงานล่วงเวลาหรือการทำงานเร่งด่วนในกรณีที่ต้องการเพิ่มผลผลิต เพื่อจะได้ประเมินอันตรายด้วย
หัวข้อวิชา 3.2 การสำรวจความปลอดภัย หัวข้อวิชา 3.2 การสำรวจความปลอดภัย เครื่องมือที่ใช้ในการสำรวจ การสำรวจ ใช้เครื่องมือ ดังนี้ 1. เครื่องมือตรวจวัดประเภทอ่านผลได้ทันที เช่น detector tube , smoke tube 2. ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ การรับรู้กลิ่น การมองเห็น สำคัญที่สุด การฟัง ถ้าผู้สำรวจยืนห่างกัน 0.5 เมตร พูดคุยกันควรจะได้ยินเสียง ถ้าไม่ได้ยินแสดงว่าระดับเสียงในบริเวณดังกล่าวอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ ผิวหนัง แหล่งความร้อนที่แผ่รังสีความร้อนออกมาจะทำให้ผิวหนังร้อนและแดงได้ ส่วนอุณหภูมิและความชื้นที่สูง จะทำให้เกิดเหงื่อ และรู้สึกไม่สบาย การรับรส ประสาทสัมผัสด้านนี้ใช้ได้จำกัดมากเฉพาะสารเคมีบางชนิด ซึ่งอาจรู้สึกได้เมื่ออากาศเข้าสัมผัสริมฝีปากและลิ้น เช่น ขณะพูดคุย เลียริมฝีปาก หัวเราะ
หัวข้อวิชา 3.2 การสำรวจความปลอดภัย หัวข้อวิชา 3.2 การสำรวจความปลอดภัย 3. การสรุปผล การจัดลำดับปัญหาและการรายงานนายจ้างเพื่อเสนอแนะการปรับปรุงแก้ไข เมื่อมีการสำรวจความปลอดภัยเสร็จแล้ว คณะกรรมการความปลอดภัยฯ จะต้องสรุปผลสำรวจ และจัดลำดับปัญหาเพื่อรายงานนายจ้างเพื่อเสนอแนะการปรับปรุงแก้ไข โดยในการจัดลำดับปัญหามีแนวคิดในการพิจารณาดังต่อไปนี้ 1). โอกาสการเกิดอุบัติเหตุอันตราย 2). ระยะเวลาที่พนักงานสัมผัสต่อสิ่งที่อาจเกิดอุบัติเหตุอันตราย 3). ความร้ายแรงหรือผลเสียหายที่อาจเกิดขึ้น 4). ความยากง่าย เวลาและค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ 5). ความผิดพลาดของบุคคล ในการทำให้เกิดอุบัติเหตุ 6). การเห็นคุณค่าหรือประโยชน์ คำนึงถึงทัศนคติหรือการเห็นความสำคัญของฝ่ายบริหาร ที่ต้องการให้ลูกจ้างปลอดภัยมากน้อยเพียงใด
หัวข้อวิชา 3.2 การสำรวจความปลอดภัย หัวข้อวิชา 3.2 การสำรวจความปลอดภัย สำหรับการรายงานเพื่อเสนอแนะปรับปรุงแก้ไข ต้องระบุเรื่องที่จำเป็นเร่งด่วนตามลำดับ และแนวทางการปรับปรุงแก้ไข โดยระบุระยะเวลาที่ควรดำเนินการปรับปรุงให้แล้วเสร็จไว้ด้วย เพื่อให้เห็นถึงความเร่งด่วนและจะเป็นประโยชน์ในการติดตามผลต่อไป นอกจากนี้ การจัดทำรายงานผลการสำรวจ ควรเพิ่มเติมในประเด็นเหล่านี้ด้วยเช่นกัน ผลการประเมินอันตรายจากการทำงานแต่ละแผนกที่ทำการสำรวจ ประสิทธิภาพของระบบและมาตรการที่มีใช้อยู่ในสถานประกอบกิจการ ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะในจุดที่ต้องมีการประเมินปัจจัยเสี่ยงเพื่อวางแผนการตรวจโดยละเอียด และวางแผนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่อไป
หัวข้อวิชา 3.2 การสำรวจความปลอดภัย หัวข้อวิชา 3.2 การสำรวจความปลอดภัย 4. การติดตามผลการปรับปรุงแก้ไข คณะกรรมการฯ มีหน้าที่ต้องติดตามผลความคืบหน้าเรื่องที่เสนอนายจ้าง ดังนั้นเมื่อคณะกรรมการฯ ได้สรุปผล และรายงานนายจ้างเพื่อเสนอแนะการปรับปรุงแก้ไขตามผลที่ได้จากการสำรวจความปลอดภัยแล้ว คณะกรรมการฯ ต้องติดตามความคืบหน้าในการปรับปรุงแก้ไขตามที่เสนอแนะไว้ โดยวิธีการต่าง ๆ เช่น การกำหนดไว้ในระเบียบวาระการประชุม การมอบหมายกรรมการคนใดคนหนึ่งให้ติดตามงาน การกำหนดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรายงานผลเป็นระยะ ๆ ข้อมูลที่ได้จากการติดตามผล จะเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการสำรวจความปลอดภัยและการรายงานข้อเสนอแนะการปรับปรุงแก้ไขในครั้งต่อไป
หัวข้อวิชา 3.3 การจัดทำข้อบังคับ คู่มือ และมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการทำงาน ด้วยเจตนารมณ์ของกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 ลงวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2549 ข้อ 25(4)ได้กำหนดให้คณะกรรมการมีหน้าที่ในการพิจารณาข้อบังคับ และคู่มือรวมทั้งมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการทำงานของสถานประกอบกิจการเสนอต่อนายจ้าง ข้อ 3 กำหนดให้นายจ้างจัดให้มีข้อบังคับและคู่มือว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงานไว้ในสถานประกอบกิจการ โดยข้อบังคับว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงานนั้น อย่างน้อยต้องกำหนดขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติงานที่ปลอดภัย เพื่อควบคุมมิให้มีการกระทำที่อาจก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัยในการทำงาน ข้อ 4 กำหนดให้นายจ้างซึ่งมีผู้รับเหมาชั้นต้นหรือผู้รับเหมาช่วงเข้ามาปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการ จัดให้มีข้อบังคับและคู่มือตามข้อ 3 สำหรับผู้รับเหมาดังกล่าว เพื่อกำกับดูแลการดำเนินงานของผู้รับเหมา ให้เป็นไปตามกฎกระทรวงนี้ ข้อ 34 (3) กำหนดให้หน่วยงานความปลอดภัย มีหน้าที่จัดทำคู่มือและมาตรฐานว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงานไว้ในสถานประกอบกิจการ เพื่อให้ลูกจ้างหรือผู้ที่เกี่ยวข้องได้ใช้ประโยชน์
หัวข้อวิชา 3.3 การจัดทำข้อบังคับ คู่มือ และมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการทำงาน ดังนั้น ตามเจตนารมณ์ของกฎกระทรวงดังกล่าวข้างต้น ข้อบังคับว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงาน จะประกอบด้วย ขั้นตอนและวิธีปฎิบัติงานที่ปลอดภัย ซึ่งจะมีความหมายในลักษณะเดียวกับมาตราฐานการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยที่รวมถึงขั้นตอนการปฏิบัติงาน และวิธีการปฏิบัติงานว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงานสำหรับคู่มือว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงานจะเป็นเอกสารที่รวบรวมข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน เช่น นโยบาย เป้าหมาย กฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ซึ่งรวมถึงกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อแนะหรือมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการทำงาน และมาตรการต่างๆ ในด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเพื่อประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่น การควบคุมและป้องกันการประสบอันตรายจากการทำงาน การปฎิบัติงาน การฝึกอบรม การสอนงาน การแจกจ่ายเป็นคู่มือ เป็นต้น หัวข้อวิชานี้ จะกล่าวถึงการดำเนินการใน 2 ประเด็น ต่อไปนี้ การจัดทำข้อบังคับหรือมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการทำงาน การจัดทำคุ่มือว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงาน
หัวข้อวิชา 3.3 การจัดทำข้อบังคับ คู่มือ และมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการทำงาน การจัดทำข้อบังคับหรือมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการทำงาน ข้อบังคับหรือมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการทำงาน มักจะได้มาจากการวิเคราะห์ความเสี่ยงและชี้บ่งอันตราย ซึ่งปัจจุบันที่นิยมใช้มีหลายเทคนิควิธีการ เช่น การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย (Job Safety Analysis : JSA) การวิเคราะห์แผนภูมิต้นไม้ (Tree Analysis) เทคนิค WHAT –IF Analysis เทคนิค Hazard and Operability Studied (HAZOP) เทคนิค Fault – Tree Analysis (FTA) เทคนิค Failure Modes and Effects (FMEA) เป็นต้น แต่ในที่นี้จะเสนอขั้นตอนการจัดทำข้อบังคับหรือมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการทำงาน ที่ใช้เทคนิคการวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย (Job Safety Analysis :JSA)
หัวข้อวิชา 3.3 การจัดทำข้อบังคับ คู่มือ และมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการทำงาน 1.การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย (Job Safety Analysis :JSA) เป็นวิธีการค้นหาอันตรายที่มีอยู่ในแต่ละขั้นตอนของการทำงานแล้วกำหนดมาตรการในการป้องกันอันตรายเหล่านั้น 1) ศึกษาและบันทึกขั้นตอนของงานเพื่อให้ทราบถึงอันตรายที่มีอยู่หรือแฝงอยู่ของงานนั้นๆ(ทั้งด้านความปลอดภัยและสุขภาพอนามัย) 2) กำหนดแนวทางที่ดีที่สุดในการทำงาน เพื่อที่จะลดหรือขจัดและป้องกันและควบคุมอันตรายเหล่านั้น จากการศึกษาพบว่าการปรับปรุงวิธีการทำงานนี้สามารถลดค่าใช้จ่ายที่เนื่องมาจากการขาดงานและการจ่ายเงินทดแทน นอกจากนี้ยังสามารถนำไปสู่การเพิ่มผลผลิตได้อีกด้วย การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัยนี้สามารถนำผลการวิเคราะห์ซึ่งก็คือการปรับปรุงวิธีการทำงานเป็นวิธีการหนึ่งในการจัดทำเป็นขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ปลอดภัย (Work Procedure) และสามารถนำมาพัฒนาต่อไปเป็นมาตรฐานการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานได้
หัวข้อวิชา 3.3 การจัดทำข้อบังคับ คู่มือ และมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการทำงาน ขั้นตอนการวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย 1 ) รวบรวมงานทั้งหมดที่รับผิดชอบ โดยรวมประเภทของงาน กิจกรรมหรือตำแหน่งงานที่มีในหน่วยงานว่ามีงานใดบ้าง จำนวนผู้ปฏิบัติงาน จำนวนครั้งที่ปฏิบัติในแต่ละวัน และงานใดเป็นงานวิกฤต 2) เลือกงานที่จะวิเคราะห์เพื่อความปลอดภัย โดยปกติงานทุกงานควรได้รับการวิเคราะห์เพื่อความปลอดภัย แต่การจัดลำดับของงานต่างๆ ที่เป็นงานวิกฤตควรจะพิจารณาจากข้อมูลต่อไปนี้ - ความถี่ของการเกิดอุบัติเหตุของงานต่างๆ - ความร้ายแรงของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในแต่ละงาน - ความรุนแรงที่แฝงอยู่ในงานต่างๆแต่ยังไม่เคยเกิดความสูญเสียมาก่อน - งานใหม่ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิต หรือเครื่องมือชิ้นใหม่ 3) พนักงานที่เกี่ยวข้องกับงานที่จะวิเคราะห์ พิจารณาจำนวนพนักงานที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์งาน และชี้แจงทำความเข้าใจกับพนักงานที่เกี่ยวข้องว่าเป็นการศึกษาเพื่อให้ทราบอันตรายและเพื่อการขจัดและควบคุมอันตรายนั้น และควรให้พนักงานได้มีส่วนร่วมในการวิเคราะห์งานทุกขั้นตอน
หัวข้อวิชา 3.3 การจัดทำข้อบังคับ คู่มือ และมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการทำงาน 4 ) แบ่งขั้นตอนงานที่จะวิเคราะห์ ข้อควรระวังในการแบ่งแยกขั้นตอนของงานคือ ไม่ควรจะแบ่งแยกขั้นตอนของงานละเอียดจนเกินไป และไม่ควรแบ่งแยกงานหยาบจนเกินไป 5) ค้นหาอันตรายและความสูญเสียที่เกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอนของงาน พยายามตรวจสอบหรือค้นหาอันตรายที่มีอยู่หรือแฝงอยู่ หรืออาจเกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอน 5.1) ผู้ปฏิบัติงาน มีโอกาสได้รับอันตรายอะไรบ้าง เกิดอันตรายได้อย่างไร 5.2) เครื่องมือ อุปกรณ์ และวัสดุ ที่เป็นต้นเหตุของอันตราย 5.3) สภาพแวดล้อมในการทำงานที่เป็นอันตรายเช่น การสังเกตการทำงานตามขั้นตอนต่างๆนั้นผู้ดำเนินการจะต้องมีความรู้และเฝ้าสังเกตอย่างใกล้ชิด บางครั้งการเฝ้าสังเกตอาจต้องทำหลายครั้งเพื่อที่จะสามารถค้นหาและทราบถึงอันตรายทั้งหมดได้ 6) เสนอแนะเพื่อการป้องกันอันตรายและปรับปรุงแก้ไขในแต่ละขั้นตอนของงาน
หัวข้อวิชา 3.3 การจัดทำข้อบังคับ คู่มือ และมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการทำงาน 7) ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะ เมื่อได้มีการทบทวนหรือหารือกับผู้ปฏิบัติงานแล้วต้องดำเนินการแก้ไขตามข้อเสนอแนะโดย 7.1) กำหนดวิธีการทำงานใหม่ 7.2) บางครั้งไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนวิธีการทำงานใหม่ แต่อาจจะต้องพิจารณาว่า จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อมหรือออกแบบเครื่องมือ และอุปกรณ์ใหม่ทั้งนี้เพื่อขจัดและลดอันตรายลง 7.3) ถ้าหากอันตรายยังไม่หมดไป ก็ต้องพยายามลดความถี่ของการทำงานนั้นลง
แผนภูมิ แสดงขั้นตอนการวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย งานโรงงานต่างๆ งานที่เลือกเพื่อวิเคราะห์ (1) (2) การปรับปรุงและแก้ไขการวิเคราะห์งานเป็นระยะ แบ่งขั้นตอนงานที่จะวิเคราะห์ (4) ค้นหาอันตรายของแต่ละขั้นตอน เสนอแนะเพื่อป้องกันอันตราย (5) (6) (3) (7) ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะ
หัวข้อวิชา 3.3 การจัดทำข้อบังคับ คู่มือ และมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการทำงาน 2.ขั้นตอนการจัดทำข้อบังคับหรือมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการทำงาน 2.1 คัดเลือกงานที่จะต้องจัดทำข้อบังคับหรือมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงานโดยปกติทุกงานควรได้รับการพิจารณาดำเนินการ 2.2 ทำการวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย (Job Safety Analysis :JSA) 2.3 หลังจากนั้น ทำการทบทวน ตรวจสอบก่อนกำหนดเป็นขั้นตอนและวิธีการปฎิบัติงาน 2.4 นำข้อบังคับหรือมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการทำงานเข้าสู่การพิจารณาในที่ประชุมคณะกรรมการความปลอดภัยฯ 2.5 นายจ้างพิจารณาให้ความเห็นชอบออกเป็นข้อบังคับหรือมาตรฐานด้านความปลอดภัย ในการทำงานเพื่อให้พนักงานปฎิบัติตามต่อไป ซึ่งคณะกรรมการฯ ควรกำหนดให้มีการเฝ้าสังเกตงานตามข้อบังคับหรือมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการทำงาน เพื่อพัฒนาปรับปรุงต่อไป
หัวข้อวิชา 3.3 การจัดทำข้อบังคับ คู่มือ และมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการทำงาน ข้อควรพิจารณาในการจัดทำร่างมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการทำงาน ข้อความในการกำหนดเป็นร่างมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการทำงาน ควรมีลักษณะ ดังนี้ 1. เป็นข้อความที่กำหนด (Requirements) ในลักษณะให้ต้องปฏิบัติเมื่อจะทำงานนั้นๆ เช่น ต้องใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่กำหนดให้ใช้ ต้องใช้หรือสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ระบุให้ใช้ต้องปฎิบัติงานตามลำดับหรือขั้นตอนที่กำหนด ต้องขอใบอนุญาตการปฎิบัติงานตามระบบอนุญาตการทำงาน (Work permit system) ก่อนการปฎิบัติงาน เป็นต้น และอาจรวมถึงการกำหนดคุณสมบัติเฉพาะของผู้ที่จะปฏิบัติงานดังกล่าว 2. เป็นข้อความที่กำหนดในลักษณะให้ควรปฎิบัติ (Practices) หรือข้อแนะนำ (Guidelines) หรือเป็นข้อควรระวัง เพราะอาจเกิดความไม่ปลอดภัยหรืออุบัติเหตุที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงานนั้นๆ เช่น ให้เปิดพัดลมระบายอากาศขณะปฎิบัติงาน ให้เตรียมเครื่องดับเพลิงแบบมือถือไว้ในบริเวณปฎิบัติงาน ให้จัดแผ่นป้องกันเศษวัสดุหรือประกายไฟกระเด้นไปถูกวัตถุดิบหรือบุคคลอื่นในบริเวณใกล้เคียง เป็นต้น
หัวข้อวิชา 3.3 การจัดทำข้อบังคับ คู่มือ และมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการทำงาน สำหรับแนวทางการเขียนข้อควรปฎิบัติ มีดังนี้ การอธิบายขั้นตอนการทำงานที่ละขั้น โดยบอกว่า “ควรปฎิบัติงานนั้นอย่างไร” กล่าวในเชิงบวกให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยบอกว่า “จะต้องทำอะไร” บอกให้ทราบว่า “ทำไมต้องปฎิบัติตามนั้น” (ถ้าทำได้) ใช้รูปแบบที่ง่าย และสะดวกต่อการปฎิบัติ ส่วนแนวทางการเขียนข้อควรระวัง มีดังนี้ อธิบายแนวทางการปฎิบัติที่เหมาะสมในเชิงบวก โดยบวกเรื่องกฎระเบียบด้วย โดยทั่วไปแล้วจะไม่จำกัดเฉพาะงานที่ปฎิบัติเท่านั้น แต่จะบอกรายละเอียดให้กว้างขึ้น ครอบคลุมถึงกิจกรรมที่ต้องปฎิบัติ จะมีประโยชน์โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับกลุ่มอาชีพที่มีพนักงานซึ่งต้องปฎิบัติงานหลายอย่างแต่ ไม่บ่อยครั้ง หรือในสถานที่ซึ่งยากต่อการปฎิบัติตามข้อบังคับ เพราะว่าแนวทางที่จะปฏิบัติแตกต่างไปจากสภาพปกติอย่างมาก กระตุ้นด้วยการจูงใจ ชี้ให้เห็นจุดที่เป็นปัญหา บอกให้ทราบถึงการใช้เครื่องแต่งกายที่ เหมาะสม การใช้อุปกรณ์คุ้มครองอันตรายส่วนบุคคลที่ถูกต้อง แผนควบคุมภาวะฉุกเฉิน กฎระเบียบที่สำคัญ
หัวข้อวิชา 3.3 การจัดทำข้อบังคับ คู่มือ และมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการทำงาน การจัดทำคู่มือด้านความปลอดภัยในการทำงาน 1.ขั้นตอนในการจัดทำคู่มือด้านความปลอดภัยในการทำงาน 1) กำหนดผู้รับผิดชอบในการเตรียมร่างคู่มือ - กำหนดวัตถุประสงค์ เนื้อหา และรูปแบบของคู่มือ - จัดทำร่างคู่มือตามวัตถุประสงค์ เนื้อหาและรูปแบบที่กำหนด - เสนอคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานพิจารณา 2) คณะกรรมการความปลอดภัยฯ พิจารณาทบทวนร่างคู่มือ เพื่อแก้ไขปรับปรุง 3) คณะกรรมการความปลอดภัยฯ นำเสนอนายจ้างเพื่อให้ความเห็นชอบ 4) ดำเนินการจัดพิมพ์คู่มือฉบับจริง 5) แจกจ่ายคู่มือไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ของสถานประกอบกิจการ 6) แก้ไขปรับปรุงคู่มือให้ทันสมัยอยู่เสมอ
หัวข้อวิชา 3.3 การจัดทำข้อบังคับ คู่มือ และมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการทำงาน 2.เนื้อหาของคู่มือด้านความปลอดภัยในการทำงาน ควรประกอบด้วย 1) บทนำ สารบัญ 2) วัตถุประสงค์ของคู่มือ 3) สาส์นจากนายจ้าง หรือ CEO หรือผู้บริหารระดับสูง 4) นโยบายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของสถานประกอบกิจการ และเป้าหมาย 5) การจัดหน่วยงานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของสถานประกอบกิจการในแผนผังองค์กรและหน้าที่ความรับผิดชอบ 6) คณะกรรมการความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของสถานประกอบกิจการและหน้าที่ความรับผิดชอบ 7) ข้อมูลและความรู้เบื้องต้นด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน 8) ข้อบังคับความปลอดภัยทั่วไป (General Safety Rule) 9) มาตรฐานความปลอดภัยในการทำงานเฉพาะเรื่อง
ตัวอย่างแบบการวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย ชื่องาน................................................................. วันที่วิเคราะห์...................................................... แผนก................................................................... ผู้ทำการวิเคราะห์.................................................. ขั้นตอน ลักษณะอันตรายที่อาจเกิดขึ้น การป้องกันและการปรับปรุง
หัวข้อวิชา 3.4 การวางระบบการรายงานสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัย หัวข้อวิชา 3.4 การวางระบบการรายงานสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัย บุคคลที่เกี่ยวข้องในการรายงาน ลูกจ้าง หัวหน้างาน / เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน นายจ้าง / เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน บุคลากรทางการแพทย์ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง หรือระดับวิชาชีพ ผู้รับเหมาและลูกจ้างผู้รับเหมา บุคคลภายนอก หรือชุมชนใกล้เคียงโดยรอบสถานประกอบกิจการ
หัวข้อวิชา 3.4 การวางระบบการรายงานสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัย หัวข้อวิชา 3.4 การวางระบบการรายงานสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัย ช่องทางในการแจ้ง แจ้งด้วยวาจาด้วยตนเอง หรือทางโทรศัพท์ แจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรทางกล่องรับความคิดเห็น ทางสื่ออิเล็กทรอนิคส์ หรือทางไปรษณีย์ แจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรตามขั้นตอน หรือตามแบบรายงานที่สถานประกอบกิจการกำหนดไว้ ระบบการรายงาน การวางระบบการรายงานควรดำเนินการบุคคลที่พบเห็นสภาพที่ไม่ปลอดภัย โดยบังเอิญหรือจากการตรวจสภาพการทำงานตามกำหนดหน้าที่ แจ้งหรือรายงานให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ เพื่อพิจารณาหาวิธีการแก้ไขสภาพที่ไม่ปลอดภัย คณะกรรมการฯ พิจารณากำหนดแนวทางแก้ไข และแจ้งผู้รับผิดชอบดำเนินการแก้ไข คณะกรรมการฯ ติดตามผลหลังการแก้ไขปัญหาสภาพที่ไม่ปลอดภัย
ตัวอย่างระบบการรายงาน ผู้พบเห็นสภาพที่ไม่ปลอดภัย ตัวอย่างระบบการรายงาน - พนักงาน - ลูกจ้างรับเหมา - หัวหน้างาน - นายจ้าง / ผู้บริหาร - คณะกรรมการ - บุคลากรทางการแพทย์ - เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน - บุคคลภายนอก ผู้บังคับบัญชาชั้นต้น เลขาคณะกรรมการฯ ดำเนินการแก้ไข คณะกรรมการฯ ผู้ดำเนินการแก้ไขดำเนินการ (ซ่อมบำรุง , จป. , นายจ้าง , หัวหน้างาน , ผู้บริหาร) กำหนดแนวทางแก้ไขและติดตามเป็นระยะ รายงานผลการแก้ไข รายงาน แจ้ง
หัวข้อวิชา 3.4 การวางระบบการรายงานสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัย หัวข้อวิชา 3.4 การวางระบบการรายงานสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัย การรายงานสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัย ในปัจจุบันมีรูปแบบและกลยุทธ์หลายวิธี อาธิเช่น โดยการจัดกิจกรรม เช่น การแข่งขันรายงานสภาพที่ไม่ปลอดภัย กิจกรรมต่าง เช่น กิจกรรมระบบข้อเสนอแนะ กิจกรรมการค้นหาและประเมินอันตราย กิจกรรมการปรับปรุงสภาพการทำงาน การรายงานสภาพที่ไม่ปลอดภัยโดยความสมัครใจ การกำหนดเป็นกฎระเบียบโดยกำหนดให้เป็นหน้าที่ ตัวอย่างที่สถานประกอบกิจการต่างๆ ได้ดำเนินการในเรื่องนี้ ได้แก่ กิจกรรมการเสนอแนะเหตุการณ์ตกใจ หรือที่เรียกว่า ฮิ ยาริ ฉัทโตะ (HIY ARI HATTO) กิจกรรมการค้นหา และการประเมินอันตราย หรือที่เรียกว่า CCCF (COMPLETELY CHECK COMPLETELY FIND OUT) กิจกรรมเสนอแนะการปรับปรุงสภาพการทำงาน หรือที่เรียกว่า กิจกรรมไคเซ็น (KAIZEN) กิจกรรมเพื่อนเตือนเพื่อน เพื่ออุบัติเหตุเป็นศูนย์ โดยทั่วไป กิจกรรมต่างๆ เหล่านี้มักจะมีการจูงใจให้พนักงานเข้าร่วมกิจกรรม ด้วยการตอบแทนทั้งที่เป็นตัวเงิน และไม่เป็นตัวเงิน ทั้งที่ได้รับเฉพาะตัวบุคคล หรือหน่วยงาน ทั้งนี้เพื่อให้มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและขยายผลต่อไป
หัวข้อวิชา 3.5 การประเมินผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน หัวข้อวิชา 3.5 การประเมินผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน วัตถุประสงค์ของการประเมินผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน 1 เพื่อประเมินความก้าวหน้าของงานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของหน่วยงาน 2 เพื่อประเมินผลงานรวมของหน่วยงานว่าบรรลุตามเป้าหมายของแผนงานมากน้อยเพียงใด 3 เพื่อนำผลการประเมินประกอบการพิจารณาวางแผนงานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ต่อไป 4 เพื่อนำผลการประเมินประกอบการพิจารณาเพื่อปรับปรุงแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้น ในการดำเนินงานนั้นๆ 5 เพื่อนำผลการประเมินมาใช้ในการบริหารงานความปลอดภัยต่อไป
หัวข้อวิชา 3.5 การประเมินผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน หัวข้อวิชา 3.5 การประเมินผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน ประโยชน์ของการประเมินผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน การประเมินผลเป็นขั้นตอนการปฏิบัติงานที่มีความสำคัญและจำเป็นยิ่งไม่ว่าจะเป็นงานใดๆ ซึ่งประโยชน์ของการประเมินผล มีดังนี้ 1 การประเมินผลก่อให้เกิดการป้อนกลับ (Feedback) ของข้อมูลระหว่างผู้ปฏิบัติและผู้บริหารงาน 2 การประเมินผลทำให้ทราบความก้าวหน้าของงาน 3 การประเมินผลทำให้ทราบถึงปัญหาที่เกี่ยวข้อง 4 การประเมินผลจะช่วยในการพิจารณาปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องของงาน 5 การประเมินผลเป็นสิ่งกระตุ้นให้มีการพัฒนางานมากขึ้น
หัวข้อวิชา 3.5 การประเมินผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน หัวข้อวิชา 3.5 การประเมินผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน ข้อมูลที่ใช้ประกอบการประเมินผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน ข้อมูลเกี่ยวกับการเกิดอุบัติเหตุ และข้อมูลจากการสอบสวนอุบัติเหตุและโรคจากการทำงาน ข้อมูลเกี่ยวกับการเจ็บป่วยและภาวะสุขภาพของพนักงาน ข้อมูลเกี่ยวกับการเกิดเหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุ (near miss) และเหตุเดือดร้อนรำคาญ ข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจวัดสภาพแวดล้อมในการทำงาน ข้อมูลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการป้องกันการประสบอันตรายต่าง ๆ สถิติการประสบอันตรายจากการทำงาน เช่น อัตราการประสบอันตรายจากการทำงานต่อลูกจ้าง 1,000 คน อัตราความถี่การบาดเจ็บ ( I.F.R.) อัตราความรุนแรงของการบาดเจ็บ ( I.S.R. ) ดัชนีความรุนแรงโดยเฉลี่ยของการบาดเจ็บ ( A.S.I.) ดัชนีการบาดเจ็บพิการ ( D.I.I.) ข้อมูลผลการดำเนินการตามแผนงาน โครงการ กิจกรรม ด้านความปลอดภัยฯ
หัวข้อวิชา 3.5 การประเมินผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน หัวข้อวิชา 3.5 การประเมินผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน การคำนวณอัตราการประสบอันตรายจากการทำงาน 1 อัตราการประสบอันตรายจากการทำงานต่อลูกจ้าง 1,000 คน อัตราการประสบอันตรายจากการทำงานต่อลูกจ้าง 1,000 คน เป็นการคำนวณการเกิดการประสบอันตรายจากการทำงานที่เกิดขึ้นในช่วงเวลา ( เช่น ใน 1 ปี ) โดยคิดเป็นอัตราต่อจำนวนลูกจ้าง 1000 คน สูตรคำนวณคือ N x 1,000 M 2 อัตราการตายเนื่องจากการทำงานต่อลูกจ้าง 100,000 คน อัตราการตายเนื่องจากการทำงานต่อลูกจ้าง 100,000 คน เป็นการคำนวณอัตราการตายเนื่องจากการทำงานที่เกิดขึ้นในช่วงเวลา ( เช่น ใน 1 ปี ) โดยคิดเป็นอัตราต่อจำนวนลูกจ้าง 100,000 คน สูตรคำนวณคือ N x 100,000 N = จำนวนผู้ที่ตายจากการทำงานในหน่วยงานในช่วงเวลา M = จำนวนลูกจ้างโดยเฉลี่ยในหน่วยงานในช่วงเวลา
หัวข้อวิชา 3.5 การประเมินผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน หัวข้อวิชา 3.5 การประเมินผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน 3 อัตราความถี่การบาดเจ็บ ( I.F.R.) อัตราความถี่การบาดเจ็บ ( Injury Freguency Rate , I.F.R. ) เป็นการคำนวณอัตราความถี่ของการบาดเจ็บจากจำนวนรายของคนงานที่บาดเจ็บเนื่องจากการทำงานในช่วงเวลาหนึ่งต่อชั่วโมงการทำงานทั้งหมดจำนวน 1,000,000 ชั่วโมง สูตรคำนวณคือ I.F.R = N x 1,000,000 MH N = จำนวนรายผู้ที่ได้รับบาดเจ็บในหน่วยงาน MH = จำนวนชั่วโมงการทำงานทั้งสิ้นของคนงานในหน่วยงานนั้นๆ 4 อัตราความรุนแรงของการบาดเจ็บ ( I.S.R. ) อัตราความรุนแรงของการบาดเจ็บ( Injury Severity Rate , I.S.R. ) เป็นการคำนวณอัตราความรุนแรงของการบาดเจ็บ คำนวณจากวันทั้งหมดที่ลูกจ้างต้องหยุดงานเพื่อรักษาพยาบาลจนกว่าจะกลับไปทำงานใหม่ได้ต่อชั่วโมงการทำงาน 1,000,000 ชั่วโมง สูตรคำนวณคือ I.S.R = DL x 1,000,000 MH DL = จำนวนวันที่หยุดงานหรือสูญเสียไปเนื่องจากการเกิดการบาดเจ็บ MH = จำนวนชั่วโมงการทำงานทั้งสิ้นของลูกจ้างในหน่วยงานนั้นๆ
หัวข้อวิชา 3.5 การประเมินผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน หัวข้อวิชา 3.5 การประเมินผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน 5 ดัชนีความรุนแรงโดยเฉลี่ยของการบาดเจ็บ ( A.S.I.) ดัชนีความรุนแรงโดยเฉลี่ยของการบาดเจ็บ ( Average Severity Index , A.S.I. ) เป็นการคำนวณของจำนวนวันโดยเฉลี่ยที่ลูกจ้างหยุดงานเนื่องจากการบาดเจ็บจาก เป็นการคำนวณของจำนวน การทำงาน ต่อผู้บาดเจ็บหรือประสบอันตราย 1 ราย สูตรคำนวณคือ AS.I. = DL N DL = จำนวนวันที่หยุดงานหรือสูญเสียไปเนื่องจากการเกิดการบาดเจ็บ N = จำนวนรายผู้ที่ได้รับบาดเจ็บในหน่วยงาน หรือ = I.S.R. I.F.R.
หัวข้อวิชา 3.5 การประเมินผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน หัวข้อวิชา 3.5 การประเมินผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน 6 ดัชนีการบาดเจ็บพิการ ( D.I.I.) ดัชนีการบาดเจ็บพิการ ( Disabling Injury Index, D.I.I. ) เป็นการคำนวณเพื่อช่วยตัดสินความรุนแรงของปัญหา โดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างอัตราความถี่การบาดเจ็บและอัตราความรุนแรงของการบาดเจ็บรวมออกมาเป็นดัชนีเดียวกัน สูตรการคำนวณคือ D.I.I. = I.F.R. x I.S.R. 1,000
หัวข้อวิชา 3.5 การประเมินผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน หัวข้อวิชา 3.5 การประเมินผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน การประเมินผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน ปัจจุบันมีหลายวิธีการที่เหมาะสมสำหรับการประเมินผล เช่น ใช้การเปรียบเทียบ ( Benchmarking ) 6 sigma , Safety Matrixs ฯลฯ สำหรับหลักสูตรนี้ จะนำเสนอการประเมินผลด้วยวิธีการใช้การเปรียบเทียบ ( Benchmarking ) ซึ่งมีหลายวิธีการ ได้แก่ 1 การเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานกับปีที่ผ่านมา 1.1 การใช้ เซฟ ที สกอร์ ( Safe-T-Score, S.T.S. ) เซฟทีสกอร์ เป็นการประยุกต์สถิติวิเคราะห์กับงานด้านความปลอดภัยโดยการเปรียบเทียบความแตกต่างของอัตราความถี่ของการบาดเจ็บในปัจจุบันและอดีตและใช้การทดสอบแบบ ที เป็นสถิติทดสอบความแตกต่างอย่างมีวินัยสำคัญทางสถิติ เซฟ ที สกอร์ คำนวณได้จากสูตรต่อไปนี้ ค่าเซฟ ที สกอร์ = I.F.R. ในปัจจุบัน - ค่า I.F.R. ในอดีต ค่า I.F.R. ในอดีต จำนวนชั่วโมงการทำงานในปัจจุบันต่อล้านชั่วโมง
หัวข้อวิชา 3.5 การประเมินผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน หัวข้อวิชา 3.5 การประเมินผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน ค่าของเซฟ ที สกอร์ ไม่มีหน่วยและค่าที่คำนวณได้มีความหมายดังนี้ (1) ถ้าเซฟ ที สกอร์ อยู่ระหว่าง +2.00 และ -2.00 มีความหมายว่า ความแตกต่างของอัตราความถี่การเกิดการบาดเจ็บในทั้ง 2 ช่วงเวลาไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ แต่ความแตกต่างที่ปรากฏนั้นเนื่องจากการสุ่มแสดงว่าสถานการณ์การบาดเจ็บในการทำงานจะต้องปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นอีก (2) ถ้าเซฟ ที สกอร์ มากกว่า +2.00 ขึ้นไป มีความหมายว่า อัตราความถี่การบาดเจ็บที่เกิดขึ้นในปัจจุบันมากกว่าในอดีตอย่างมีนัยสำคัญ แสดงว่า สถานการณ์เกี่ยวกับการบาดเจ็บในการทำงานในปัจจุบันเลวร้ายขึ้น ต้องเร่งรัดแก้ไขปรับปรุงโดยด่วน (3) ถ้าเซฟ ที สกอร์ น้อยกว่า - 2.00 ลงไป มีความหมายว่า อัตราความถี่การบาดเจ็บที่เกิดขึ้นในปัจจุบันน้อยกว่าในอดีตอย่างมีนัยสำคัญ แสดงว่าสถานการณ์เกี่ยวกับการบาดเจ็บในการทำงานในปัจจุบันดีขึ้น และควรรักษาสถานการณ์เช่นนี้ไว้หรือปรับปรุงให้ดียิ่ง ๆ ขึ้น
หัวข้อวิชา 3.5 การประเมินผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน หัวข้อวิชา 3.5 การประเมินผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน 1.2 การเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานกับปีที่ผ่านมา การเปรียบเทียบผลงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานในปัจจุบันกับงานที่ผ่านมาในอดีตของสถานประกอบการต่างๆ เป็นเครื่องมือในการควบคุมกำกับได้ว่างานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานของสถานประกอบการนั้นมีความก้าวหน้าหรือไม่ ประสบผลสำเร็จเพียงไร ช่วงเวลาที่นำผลงานเปรียบเทียบนั้นอาจจะเป็นปี เดือนหรืออาทิตย์ก็ได้ แล้วแต่ความเหมาะสมหรือผลการเปรียบเทียบผู้บริหารจะสามารถใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นประกอบการพิจารณาตัดสินใจปรับปรุงแก้ไขหรือดำเนินการเร่งรัดงานต่อไป ตัวอย่างที่ 1 จะเห็นว่า อุบัติเหตุประเภทต่าง ๆ ของโรงงานผลิตรองเท้าตัวอย่างนั้นลดลงทุกปี ดังนั้นจึงพิจารณาได้ว่าการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของโรงงานแห่งนี้มีแนวโน้มดีขึ้น
อัตราการเกิดอุบัติเหตุของลูกจ้างในโรงงานผลิตรองเท้า (ต่อ 1000 ราย) แสดงอัตราการเกิดอุบัติเหตุของลูกจ้าง(ต่อลูกจ้าง 1000 ราย) ในปี พ.ศ. 2547-2549 ของโรงงานผลิตรองเท้า จำแนกตามประเภทของอุบัติเหตุ ประเภทของอุบัติเหตุ อัตราการเกิดอุบัติเหตุของลูกจ้างในโรงงานผลิตรองเท้า (ต่อ 1000 ราย) พ.ศ.2547 พ.ศ.2548 พ.ศ.2549 1. ของมีคมบาด 101 87 30 2. วัสดุกระเด็นเข้าตา 10 12 5 3.เครื่องจักรทำอันตราย 25 22 18 ฯลฯ
หัวข้อวิชา 3.5 การประเมินผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน หัวข้อวิชา 3.5 การประเมินผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน 2. การเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานกับแผนงาน การเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานกับแผนงาน เป็นการประเมินผลแผนงานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานที่คณะกรรมการฯ กำหนดไว้ตั้งแต่ต้นปี โดยจัดทำเป็นตารางกำหนดเวลาปฏิบัติงานของแต่ละกิจกรรมขึ้นเพื่อควบคุมกำกับการทำงานของแผนงาน / โครงการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน โดยแต่ละกิจกรรมจะต้องกำหนดเวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดแล้วเชื่อมโยงด้วยสัญลักษณ์ให้เห็นและเข้าใจง่ายๆ ทุกกิจกรรมจะรวมไว้ในตารางเดียวกันจะทำให้ผู้บริหารหรือคณะกรรมการสามารถควบคุมกำกับได้ทุกกิจกรรม ทั้งนี้ หากเป็นการประเมินระหว่างปีจะทำให้ทราบว่ามีความก้าวหน้าตามที่คาดว่าเป็นหรือไม่ จำเป็นต้องเร่งรัดการดำเนินงานของกิจกรรมใด และกิจกรรมมีปัญหาและอุปสรรคหรือไม่ ดังแสดงเป็นตัวอย่างตามตารางที่ 2
ตารางที่ 2 แสดงการประเมินผลแผนงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ประจำปี พ.ศ. 2549 ของบริษัท แรงงาน จำกัด ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2549
หัวข้อวิชา 3.5 การประเมินผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน หัวข้อวิชา 3.5 การประเมินผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน ก่อนที่จะกำหนดแผนงานความปลอดภัยฯ ประจำปี ผู้บริหารและคณะกรรมการฯ จะต้องกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดงาน เพื่อนำมาใช้สำหรับการประเมินผลการดำเนินงานตามแผนงานเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาที่กำหนด เป้าหมายและตัวชี้วัดการดำเนินการ อาจพิจารณากำหนดจากข้อมูลหรือสถิติการประสบอันตรายในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง โดยเปรียบเทียบเป็นรายปี รายเดือน รายไตรมาส แต่ส่วนมากจะกำหนดการประเมินผลตามเป้าหมายและตัวชี้วัดเป็นรายปี ทั้งนี้ หากเป็นหน่วยงานขนาดใหญ่ คณะกรรมการฯอาจกำหนดให้มีการเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานกับตัวชี้วัดระหว่างแผนก หรือฝ่าย เพื่อเป็นการเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานกันภายในหน่วยงานก็ได้ ดังแสดงตามตัวอย่างตามตารางที่ 3 บริษัท แรงงาน จำกัด มีลูกจ้าง 200 คน ตั้งเป้าหมายในปี พ.ศ. 2549 ให้ลดการประสบอันตรายจากการทำงาน และตั้งตัวชี้วัด 2 ตัว คือ มีจำนวนผู้ประสบอันตรายจากการทำงาน ไม่เกิน 20 คน และจำนวนวันที่หยุดงานเนื่องจากการประสบอันตรายจากการทำงานรวม ไม่เกิน75 วัน จากผลการประเมินจะเห็นว่าบริษัทไม่สามารถทำตามตัวชี้วัดตัวที่ 1 ได้ แต่สามารถทำตามตัวชี้วัดตัวที่ 2 ได้ ดังนั้นอาจประเมินได้ว่าแผนงานที่กำหนดหรือการดำเนินการตามแผนงานไม่ส่งผลให้ลดจำนวนครั้งที่เกิดเหตุการณ์ แต่สามารถลดความรุนแรงในการเกิดเหตุการณ์ได้ หรืออาจมีปัญหาอุปสรรคที่ไม่คาดไว้เกิดขึ้น
ผลการดำเนินการในปี พ.ศ. 2549 ตัวอย่างที่ 3 แสดงการประเมินผลงานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 ตามตัวชี้วัด ตัวชี้วัด ผลการดำเนินการ ในปี พ.ศ. 2548 เป้าหมาย ผลการดำเนินการในปี พ.ศ. 2549 จำนวนผู้ประสบอันตรายจากการทำงาน 27 คน ไม่เกิน 20 คน 30 คน จำนวนวันที่หยุดงานเนื่องจากการประสบอันตรายจากการทำงานรวม 89 วัน ไม่เกิน 75 วัน 61 วัน
หัวข้อวิชา 3.5 การประเมินผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน หัวข้อวิชา 3.5 การประเมินผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน 4 การเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานกับหน่วยงานอื่นที่คล้ายคลึงกัน การเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานกับหน่วยงานอื่นที่คล้ายกัน เป็นการเปรียบเทียบข้อมูลเกี่ยวกับงานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน หรือค่าสถิติการคำนวณอัตราการประสบอันตรายจากการทำงาน ของสถานประกอบการแห่งใดแห่งหนึ่งกับสถานประกอบการแห่งอื่นๆ ซึ่งมีลักษณะการดำเนินงานคล้ายคลึงกันในช่วงเวลาเดียวกัน ดังตัวอย่างในตารางที่ 4 และ 5 จะเห็นว่า การประสบอันตรายจากการทำงานของบริษัทผลิตพลาสติกที่ 2 สูงกว่าบริษัทอีก 2 แห่ง จากการเปรียบเทียบดังตัวอย่างที่ยกมานี้ผู้บริหารสามารถใช้เป็นสิ่งควบคุมกำกับการดำเนินของสถานประกอบการ พิจารณาและตัดสินใจปรับปรุงแก้ไขการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบการนั้น
สถานที่ ประเภทของอุบัติเหตุ ลื่นหกล้ม มีดบาด สารเคมี รวม บริษัทที่ 1 ตารางที่ 4 แสดงการ เปรียบเทียบอัตราการประสบอันตรายจาการทำงานของบริษัทผลิตพลาสติก 3 แห่งในปี พ.ศ.2549 (อัตราต่อลูกจ้าง 1,000) สถานที่ ประเภทของอุบัติเหตุ ลื่นหกล้ม มีดบาด สารเคมี รวม บริษัทที่ 1 60 10 20 90 บริษัทที่ 2 65 80 36 181 บริษัทที่ 3 30 25
อัตราความถี่การบาดเจ็บ ตารางที่ 5 แสดงการเปรียบเทียบอัตราความถี่การบาดเจ็บ ( I.F.R ) ของบริษัทผลิตพลาสติก 3 แห่ง ในปี พ.ศ. 2549 สถานที่ อัตราความถี่การบาดเจ็บ ( I.F.R )* หมายเหตุ บริษัทที่ 1 1,200 I.F.R = N x 1,000,000 MH บริษัทที่ 2 1,500 N = จำนวนรายที่บาดเจ็บใน หน่วยงานนั้น บริษัทที่ 3 700 MH = จำนวนชั่วโมงการทำงานทั้งสิ้นของลูกจ้างในหน่วยงานนั้น *I.F.R. = Injury Freguency Rate.
หัวข้อวิชา 3.5 การประเมินผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน หัวข้อวิชา 3.5 การประเมินผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน 5 การเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานกับหน่วยงานทั่วไป การเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานกับหน่วยงานทั่วไป เป็นการเปรียบเทียบข้อมูลเกี่ยวกับงานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน หรือค่าสถิติการคำนวณอัตราการประสบอันตรายจากการทำงาน ของสถานประกอบการแห่งใดแห่งหนึ่ง กับสถานประกอบการอื่นที่มีอุตสาหกรรมหรือกิจการแตกต่างกันที่มีความเด่นและเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่ามีการบริหารงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานดี เพื่อเปรียบเทียบการดำเนินการและนำมาปรับมาตรการภายใน ทั้งนี้การเปรียบเทียบวิธีนี้ค่อนข้างยากในทางปฏิบัติ
หัวข้อวิชา 3.6 การประชุมและการติดตามงาน หัวข้อวิชา 3.6 การประชุมและการติดตามงาน การประชุม หมายถึง การที่บุคคลมารวมกันเพื่อสนทนาปรึกษาหารือและแสดงความคิดเห็นอย่างเป็นระบบ มีจุดม่งหมายและระเบียบวิธี ตามวัน เวลา และสถานที่ที่กำหนดไว้ การประชุมอาจจะเสร็จสิ้นในครั้งเดียวภายในระยะเวลาอันสั้นหรือต้องต่อเนื่องกันหลายครั้ง วัตถุประสงค์ของการประชุม อาจมีเพียงข้อเดียวหรือหลายข้อก็ได้ ดังนี้ 1 เพื่อแจ้งข่าวสารและประสานงานข่าวสารที่ถูกต้องภายในเวลาที่เหมาะสม 2 เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างผู้เข้าประชุม 3 เพื่อกำหนดแนวทาง นโยบายที่ต้องการหรือข้อตกลงร่วมกัน 4 เพื่อหาทางแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น และหาข้อยุติหรือทางเลือกที่ดีสุดในการแก้ปัญหาที่พิจารณา
หัวข้อวิชา 3.6 การประชุมและการติดตามงาน หัวข้อวิชา 3.6 การประชุมและการติดตามงาน ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการประชุม 1 บุคคลที่เข้าร่วมประชุม - ประธานหรือผู้นำการประชุม ประธานที่มีประสบการณ์จะเป็นผู้กำหนดและระบุปัญหาได้ตรงประเด็นและชัดเจน สามารถให้สมาชิกได้อภิปรายแสดงความคิดเห็นอยู่ในขอบเขตของปัญหา สามารถใช้ไหวพริบแก้ปัญหาได้โดยไม่กระทบต่อความรู้สึกของผู้เข้าประชุม - เลขานุการ เป็นผู้ที่เตรียมระเบียบวาระการประชุมโดยต้องเข้าใจและมีความรู้ ประสบการณ์เกี่ยวกับประเด็นการประชุมหรือประสานผู้ที่สามารถเพิ่มเติมข้อมูลให้ที่ประชุมได้ ประสานงานการประชุม เตรียมข้อมูลประกอบการประชุม และบันทึกผลการประชุม - กรรมการ ต้องตั้งใจฟัง จดบันทึกสาระต่าง ๆ ที่จะเป็นประโยชน์ และเตรียมซักถามที่ประชุมในโอกาสอันควรอย่างมีมารยาท และปฎิบัติตนเป็นผู้เข้าประชุมที่ดี 2. ระเบียบวาระประชุม ให้ชัดเจนจึงจะเกิดผลดีต่อการประชุม เพราะว่าผู้ร่วมประชุมจะได้เตรียม ศึกษาสาระล่วงหน้าพร้อมจะแสดงความคิดเห็นอันเป็นประโยชน์ต่อการประชุมได้อย่างเต็มที่ 3. สถานที่ประชุมควรมีความเหมาะสมในด้านกายภาพและมีบรรยากาศที่ดี 4. อุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์ที่ใช้ในการประชุมควรมีเพียงพอ 5. ระยะเวลา การประชุมไม่ควรใช้เวลานานเกินไป ซึ่งจะทำให้เกิดการเบื่อหน่ายได้
หัวข้อวิชา 3.6 การประชุมและการติดตามงาน หัวข้อวิชา 3.6 การประชุมและการติดตามงาน การประชุมคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ที่กำหนดตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 มีองค์ประกอบ คือ ประธานกรรมการ กรรมการผู้แทนนายจ้างระดับบังคับบัญชา กรรมการผู้แทนลูกจ้าง และ กรรมการและเลขานุการ การประชุมคณะกรรมการความปลอดภัยฯ มีความสำคัญต่อการบริหารงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงควรบริหารการประชุมให้ได้ประสิทธิภาพ ปฏิบัติตามข้อบังคับของคณะกรรมการ กรรมการทุกคนควรจะต้องรู้เกี่ยวกับการดำเนินการประชุม และบทบาทและหน้าที่ขององค์ประชุม ดังนี้
หัวข้อวิชา 3.6 การประชุมและการติดตามงาน หัวข้อวิชา 3.6 การประชุมและการติดตามงาน ก. การดำเนินการประชุม จัดให้มีการประชุมคณะกรรมการฯ อย่างน้อย เดือนละ 1 ครั้ง หรือเมื่อกรรมการไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งร้องขอ จัดให้มีการประชุมในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุที่อาจเป็นเหตุให้ลูกจ้างหรือบุคคลภายนอกสูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต เพื่อทบทวนรายงานการสอบสวนอุบัติเหตุและเสนอแนะแนวทางป้องกันแก้ไข การประชุมจะต้องปฏิบัติตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนดไว้ ซึ่งคณะกรรมการต้องดำเนินการจัดทำข้อบังคับการประชุม โดยกำหนดประเด็นหลักที่สำคัญ เช่น ความถี่การประชุม องค์ประชุมที่ต้องประกอบด้วยทั้งผู้แทนนายจ้างระดับบังคับบัญชา และผู้แทนลูกจ้าง การลงมติการประชุม การประชุมของกรรมการเป็นการทำงานให้นายจ้าง โดยได้รับค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด หรือค่าล่วงเวลาในวันหยุด การประชุมต้องแจ้งมีการกำหนดการประชุมและระเบียบวาระการประชุมให้กรรมการทราบอย่างน้อย 3 วันก่อนถึงวันประชุม นำเสนอมติหรือข้อเสนอแนะของคณะกรรมการฯ ต่อนายจ้าง
หัวข้อวิชา 3.6 การประชุมและการติดตามงาน หัวข้อวิชา 3.6 การประชุมและการติดตามงาน ข.บทบาทหน้าที่ขององค์ประชุม 1) บทบาทหน้าที่ประธาน 1.1) เตรียมการประชุม ในระยะก่อนการประชุมประธานควรปฏิบัติดังนี้ - เตรียมวาระการประชุมร่วมกับเลขานุการ - กำหนดวันเวลา สถานที่นัดประชุม - เตรียมข้อมูลสนับสนุนการอภิปรายในที่ประชุม 1.2) ขณะดำเนินการประชุม ประธานจะมีบทบาท ดังนี้ - เข้าประชุมตรงเวลา - รักษาระเบียบการประชุมให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับ - สนใจต่อผู้เข้าประชุมทุกคนโดยให้ทุกคนได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็น - วางตัวเป็นกลาง แต่พยายามกระตุ้นให้ผู้เข้าประชุมแสดงความคิดเห็น - พยายามป้องกันไม่ให้บรรยากาศการประชุมไม่ดี - เสนอความคิดเห็นเป็นคนสุดท้าย เพราะว่าหากเสนอเป็นคนแรกผู้เข้าประชุม อื่นอาจเกรงใจไม่กล้าขัดคอ อันจะเกิดผลเสียแก่ที่ประชุม - เป็นผู้ตัดสินชี้ขาดในกรณีที่ต้องลงมติถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน
หัวข้อวิชา 3.6 การประชุมและการติดตามงาน หัวข้อวิชา 3.6 การประชุมและการติดตามงาน อนึ่งในขณะดำเนินการประชุม ประธานจะดำเนินการประชุมเป็นขั้นตอน ดังนี้ เปิดประชุม แจ้งวัตถุประสงค์ให้ผู้เข้าประชุมทราบ แจ้งเรื่องที่ต้องการให้ผู้เข้าประชุมทราบ รับรองรายงานการประชุมครั้งที่ผ่านมา เรื่องสืบเนื่องได้ดำเนินการแล้วเพียงใด พิจารณาเรื่องที่กำหนดพิจารณาใหม่ ดำเนินเรื่องให้เป็นไปตามระเบียบวาระการประชุม สรุปประเด็นการประชุม นัดประชุมครั้งต่อไป ปิดการประชุม 1.3) ภายหลังการประชุม ประธานจะดำเนินงานติดตามผล ตามที่ประชุมมอบหมายให้ไปดำเนินการต่อ
หัวข้อวิชา 3.6 การประชุมและการติดตามงาน หัวข้อวิชา 3.6 การประชุมและการติดตามงาน 2) บทบาทหน้าที่เลขานุการ เป็นตำแหน่งที่มีความจำเป็นและสำคัญในการประชุมอย่างยิ่ง เพราะมีบทบาทและหน้าที่ทั้งระยะก่อน ขณะและหลังการประชุม ดังนี้ 2.1) เตรียมการประชุม ก่อนมีการประชุมเลขานุการจะต้องเตรียมความพร้อม ดังนี้ - การจัดระเบียบวาระการประชุม - ส่งจดหมายเชิญประชุมพร้อมระเบียบวาระการประชุมและรายงานการประชุมครั้งที่ผ่านมา (ถ้ามี) ให้กรรมการทราบอย่างน้อย 3 วันก่อนถึงวันประชุม - กำหนดสถานที่และจัดเตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็น - การกำหนดวันและเวลาประชุม เลขานุการควรจะสอบถามวันเวลาว่างของทุกคนก่อนจะกำหนดวันและเวลาการประชุมเพื่อที่จะให้ได้ผู้เข้าประชุมมากที่สุด - รายงานการประชุม เลขานุการควรเตรียมรายงานการประชุมครั้งที่ผ่านมาไว้เพื่ออ่านรับรองรายงานการประชุม นอกจากนี้แล้วยังต้องเตรียมเครื่องดื่ม อาหารว่างด้วย - จัดเตรียมเอกสารประกอบการประชุมตามระเบียบวาระที่จัดไว้ให้ครบ - สอบถามความพร้อมในการเข้าประชุมของกรรมการก่อนถึงวันประชุม 1-2
หัวข้อวิชา 3.6 การประชุมและการติดตามงาน หัวข้อวิชา 3.6 การประชุมและการติดตามงาน 2.2) ขณะดำเนินการประชุม เลขานุการมีบทบาทหน้าที่ดังนี้ ให้ผู้เข้าร่วมประชุมเซ็นชื่อ ชี้แจงประเด็นหรือรายละเอียดตามที่ประธานมอบหมาย เสนอข้อมูลเพิ่มเติมตามที่ประชุมต้องการทราบ จดบันทึกรายงานการประชุม ซึ่งเป็นข้อความที่เลขานุการจดบันทึกตามความเห็นของผู้เข้าประชุมเพื่อเป็นหลักฐานในการดำเนินงานของคณะกรรมการฯ ทั้งนี้รายงานอาจเขียนบันทึกได้เป็น 3 วิธี คือ (1) จดย่อคำพูดที่เป็นประเด็นสำคัญพร้อมมติ (2) จดแต่เฉพาะเหตุผลกับมติที่ประชุมซึ่งเรียกกันว่าเป็นบันทึกการประชุม (3) กรณีที่การประชุมมีความสำคัญยิ่ง ให้จดรายละเอียดทุกคำพูดของผู้เข้าประชุมพร้อมทั้งมติหรืออัดเทปไว้ทุกครั้ง 2.3 ภายหลังการประชุม เลขานุการมีบทบาท คือ จัดทำรายงานการประชุมแล้วจัดส่งรายงานการประชุมให้กรรมการทุกคนได้รับทราบ
หัวข้อวิชา 3.6 การประชุมและการติดตามงาน หัวข้อวิชา 3.6 การประชุมและการติดตามงาน 3. บทบาทหน้าที่กรรมการ การประชุมจะสำเร็จหรือล้มเหลวก็ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของผู้เข้าประชุมเช่นกัน บทบาทหน้าที่ของกรรมการมีดังนี้ 3.1 เตรียมการประชุม ผู้เข้าร่วมประชุมควรปฏิบัติดังนี้ 1) แจ้งให้เลขานุการทราบว่าสามารถเข้าประชุมได้หรือไม่ 2) อ่านรายงานการประชุมอย่างละเอียดหากไม่ถูกต้องเตรียมข้อแก้ไข 3) ศึกษาระเบียบวาระการประชุมเพื่อจัดเตรียมข้อมูลสำหรับนำไปอภิปรายชี้แจงในที่ประชุม 3.2 ขณะดำเนินการประชุม ผู้เข้าร่วมประชุมควรปฏิบัติดังนี้ 1) เข้าประชุมตรงเวลา 2) ยึดถือประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสำคัญไม่พิทักษ์ประโยชน์ของบุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็น พิเศษ 3.3 ภายหลังการประชุม 1) สมาชิกควรบันทึกหัวข้อที่ได้รับมอบหมายเพื่อให้ดำเนินการต่อไป 2) ดำเนินการตามที่ประชุมมอบหมาย
หัวข้อวิชา 3.6 การประชุมและการติดตามงาน หัวข้อวิชา 3.6 การประชุมและการติดตามงาน ค. ศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับการประชุม องค์ประชุม - ผู้มีหน้าที่ต้องเข้าประชุม ได้แก่ ประธาน กรรมการ กรรมการและเลขานุการ ครบองค์ประชุม - กรรมการผู้มาประชุมครบตามที่ระบุไว้ในระเบียบข้อบังคับโดยทั่วไป หมายถึงไม่ น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดและต้องมีกรรมการผู้แทนทั้งสองฝ่าย ที่ประชุม - กรรมการผู้มาประชุมทั้งหมด ไม่ใช่สถานที่ประชุม ระเบียบวาระ - เรื่องที่จะนำเข้าที่ประชุม การอภิปราย - การแสดงความคิดเห็น การกล่าวสนับสนุนหรือคัดค้าน มติ - ข้อตกลงของที่ประชุมในระเบียบวาระต่าง ๆ มติที่ได้อาจเป็นมติโดยเอกฉันท์หรือ มติโดยเสียงข้างมากด้วยการออกเสียงลงคะแนนลับหรือลงคะแนนโดยเปิดเผย ผู้มาประชุม - กรรมการผู้ที่เข้าร่วมประชุม ผู้ไม่มาประชุม - กรรมการผู้ที่ไม่เข้าร่วมประชุม ผู้เข้าร่วมประชุม -ผู้เข้าประชุมที่ไม่ใช่กรรมการซึ่งคณะกรรมการเชิญเข้าร่วมประชุมเพื่อขอความคิดเห็น เช่น ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ประสบอุบัติเหตุ ประชาสัมพันธ์หรือผู้ที่กรรมการให้เข้ามา สังเกตการณ์การประชุม
หัวข้อวิชา 3.6 การประชุมและการติดตามงาน หัวข้อวิชา 3.6 การประชุมและการติดตามงาน การติดตามงาน การติดตามงาน คือ การติดตามความก้าวหน้าการดำเนินของแผนงาน โครงการ กิจกรรมและการดำเนินงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องของคณะกรรมการเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมาย ซึ่งจะมีการติดตามเป็นระยะ อย่างต่อเนื่อง คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน มีบทบาทหน้าที่ในการติดตามงาน ดังนี้ การติดตามงานตามแผนงาน โครงการ การติดตามผลความคืบหน้าเรื่องที่เสนอนายจ้าง การติดตามงานตามบทบาทหน้าที่คณะกรรมการ การติดตามงานตามที่ที่ประชุมมอบหมาย
หัวข้อวิชา 3.6 การประชุมและการติดตามงาน หัวข้อวิชา 3.6 การประชุมและการติดตามงาน 1. การติดตามงานตามแผนงาน โครงการ ติดตามงานตามแผนงานที่วางไว้ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม ได้แก่ หัวหน้างาน ผู้ปฏิบัติงาน วิศวกร เป็นต้น 2. การติดตามผลความคืบหน้าเรื่องที่เสนอนายจ้าง เป็นการติดตามงานที่คณะกรรมการฯ รายงานและเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้เป็นไปตามตามมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงานต่อนายจ้าง 3. การติดตามงานตามบทบาทหน้าที่คณะกรรมการ เป็นการติดตามผลการดำเนินการตามบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการ 4. การติดตามงานตามที่ที่ประชุมมอบหมาย เป็นการติดตามความคืบหน้าผลการดำเนินการตามที่ที่ประชุมครั้งก่อนได้มอบหมายให้มีดำเนินการ รวมทั้งปัญหาอุปสรรค โดยกำหนดไว้ในระเบียบวาระการประชุม
หัวข้อวิชา 3.6 การประชุมและการติดตามงาน หัวข้อวิชา 3.6 การประชุมและการติดตามงาน ผลการติดตามงานจะทำให้ทราบ 1 ความคืบหน้าของงาน 2. ปัญหา อุปสรรคในการดำเนินงาน 3. ประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของการดำเนินงาน 4. แนวทางในการทบทวน ปรับปรุงแก้ไขการดำเนินงาน