BONE INFECTION (osteomyelitis)

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
Fracture tibia and fibula
Advertisements

Station 15 LE preparation and ESR
The Skeletal System BENJAWAN NUNTHACHAI.
Prevention & Control for Enterovirus
ห้องปฏิบัติการโรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน
Wound healing with Whirlpool Whirlpool
Wound classification Wound Healing.
การล้างมือ (hand washing)
ระบบผลิตอากาศอัดทางทันตกรรม
Disability-adjusted life year (DALYs)
Sheet Ac 313 การปันส่วนค่าใช้จ่ายการผลิต
Eosinophilic fasciitis. ด. ญ. จุฑามาศ จักอะโน อายุ 12 ปี HN ภูมิลำเนา จังหวัดน่าน เบอร์โทรศัพท์ Dx eosinophilic fasciitis.
การป้องกันการติดเชื้อจากการให้สารน้ำ ทางหลอดเลือดดำส่วนกลาง
Bone and joint infections
Power Point ประกอบการบรรยาย แก่ “ประธานกรรมการและเลขานุการ กรรมการสถานศึกษา ตามโครงการส่งเสริมประสิทธิภาพการดำเนินงานของกรรมการสถานศึกษา” วันที่ 19 ธันวาคม.
สรุปจำนวน APN และแผนการส่งศึกษาต่อ APN
Anaerobic culture methods
นำเสนอ “นวัตกรรมดีเด่น” และ
สถานการณ์ และข้อมูลเกี่ยวกับ Ebola และ MERS COV
สาขา 13 รับบริจาคและปลูกถ่ายอวัยวะ
โครงการพัฒนารูปแบบการจัดบริการเชิงรุกเพื่อค้นหาโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในเรือนจำ นพ.สุเมธ องค์วรรณดี ผู้อำนวยการสำนักโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
Nursing Care of patients with arthritis
สุขลักษณะส่วนบุคคลและการป้องกัน การปนเปื้อนในอาหาร
ความหมายของกระดูกหัก
ชี้แจง ตัวชี้วัดการดำเนินงานควบคุมวัณโรค สำหรับโรงพยาบาล
Nerve injury Kaiwan Sriruanthong M.D. Nan Hospital.
ความปลอดภัยจาก ไฟฟ้า นายนภดล ชัยนราทิพย์พร.
โดย…ศรีอัมพร หนูกลับ นักวิทยาศาสตร์ ภาควิชาเภสัชวิทยา
PRINCIPLE OF ORTHOPAEDIC TREATMENT
สรุปโรคที่พบการให้รหัสผิดพลาดบ่อย
ประเด็นนำเสนอ(DM/HT,Stroke,CPOD)
กล้องจุลทรรศน์และการย้อมสี
บทที่ 10 การนำระบบไปใช้/การบำรุงรักษาระบบ
สรุปผลการดำเนินงาน กลุ่มงานควบคุมโรคไม่ติดต่อ สุขภาพจิตและยาเสพติด
AFP surveillance การเฝ้าระวังผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรงเฉียบพลัน
การพัฒนาระบบบริการสุขภาพ Service Plan จังหวัดเชียงใหม่
Orthopaedic Emergency นงลักษณ์ อนันต์ประดิษฐ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับงานกราฟิก
ICD 10 TM for PCU ศวลี โสภา เจ้าพนักงานเวชสถิติชำนาญงาน โรงพยาบาลสตูล.
การใช้งานอุปกรณ์การเรียนการสอน
กลุ่มงานเทคนิคการแพทย์
สื่อเทคโนโลยีประกอบการสอน
ทิศทางการขับเคลื่อนหลักสูตรส่งเสริมและพัฒนาเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
สรุปรายงานสถานการณ์วัณโรค จังหวัดปทุมธานี ปี
กระบวนการพัฒนาระบบงาน
ความรู้เกี่ยวกับ กองทุนประกันสังคม 1.
ต้นทุนต่อหน่วยรายหลักสูตร
อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่
มนุษย์กับเศรษฐกิจ.
14 กรกฎาคม 2560 ห้องประชุมพลับพลึง ชั้น5 อาคารผู้ป่วยนอก รพพ.
การพัฒนาเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ (DHS) จังหวัดเพชรบุรี ปี 2558
โครงการพัฒนาลดอัตราการติดเชื้ออช.1
สายรัดห่วงใยลด CA-UTI
PrEP คืออะไร Pre- Exposure Prophylaxis ยาต้านไวรัสเพื่อการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี รูปยา.
ผลกระทบที่มีต่อประชาชนผู้รับบริการ
เวชระเบียน และ สถิติ Medical Record and Statistics
รายงานการปฏิบัติงาน งานบริหารและธุรการ
โครงการปรับปรุง และสร้างฐานข้อมูลหลักมาตรฐานสากล
The Child with Renal Dysfunction
The Child with Renal Dysfunction
(กลุ่มอาการไข้ ไอ หอบ)
การบริหารกล้ามเนื้อปากและใบหน้า Oral – motor exercise
นโยบายการคลัง รายวิชา : Week 06.
ดร.ฐิตวันต์ หงษ์กิตติยานนท์ สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
เครือข่ายบริการ สุขภาพ อำเภอแม่ฟ้าหลวง
ศัพท์บัญญัติ.
การกู้ยืมเงินทุนประกอบอาชีพ
ใบสำเนางานนำเสนอ:

BONE INFECTION (osteomyelitis) เพ็ญศิริ คลังเพชร หัวหน้าหอผู้ป่วยกระดูกหญิง โรงพยาบาลนครพิงค์

โรคกระดูกอักเสบติดเชื้อ (osteomyelitis) กระดูกอักเสบติดเชื้อ หมายถึง การอักเสบติดเชื้อที่เกิดขึ้นกับกระดูกทุกชั้น คือ ชั้นของเยื่อหุ้มกระดูกภายนอก (periosteum) ชั้นเปลือกกระดูก (cortex) ชั้นเยื่อหุ้มภายในกระดูก (endosteum) และในชั้นโพรงกระดูก (medullary canal)

osteomyelitis สาเหตุแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ 1. แบคทีเรีย 2. เชื้อรา 3. ไวรัส 4. ปาราสิต

osteomyelitis เชื้อโรคสามารถเข้าสู่กระดูกได้โดย 1. haematogenous spreading 2. direct spreading 3. indirect spreading

osteomyelitis 2. subacute osteomyelitis 3. chronic osteomyelitis แบ่งตามระยะและความรุนแรงของโรคเป็น 3 ระยะ 1. acute osteomyelitis 2. subacute osteomyelitis 3. chronic osteomyelitis

acute osteomyelitis หมายถึง การอักเสบติดเชื้อของกระดูกอย่างปัจจุบันหรือเฉียบพลัน เชื้อโรคกระจายเข้าสู่กระดูกได้หลายทาง แต่ที่พบบ่อยและมีความสำคัญอย่างยิ่ง คือ ชนิดที่เชื้อกระจายมาตามกระแสโลหิต

acute osteomyelitis - มากกว่า 90 % เกิดในเด็กอายุน้อยกว่า 10 ปี - มากกว่า 80 % มีสาเหตุจากเชื้อ S. aureus - พบมากบริเวณกระดูกยาว (tibia femur humerus fibula) - ตำแหน่งของกระดูกที่มีการติดเชื้อมาก คือ บริเวณ metaphysis

acute osteomyelitis อาการและอาการแสดง 1. อาการทั่วไป : ไข้สูง 1. อาการทั่วไป : ไข้สูง 2. อาการเฉพาะที่ : ปวด บวม แดง ร้อน บริเวณกระดูก ที่มีการอักเสบติดเชื้อ

acute osteomyelitis การวินิจฉัยโรค 1. ประวัติความเจ็บป่วย 2. การตรวจร่างกาย 3. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ 4. การวินิจฉัยทางรังสี 5. การตรวจทางรังสีนิวเคลียร์ 6. การตรวจทาง Computer tomography 7. การตรวจวินิจฉัยด้วยคลื่นแม่เหล็ก 8. การดูดเจาะจากบริเวณที่มีพยาธิสภาพ

acute osteomyelitis การรักษาทั่วไป - ให้ส่วนที่มีพยาธิสภาพได้พัก - ให้ยาปฏิชีวนะ - ให้ยาบรรเทาอาการปวด ลดไข้ - ให้ได้รับอาหารที่มีประโยชน์

acute osteomyelitis การรักษาเฉพาะที่ - ประคบด้วยความเย็น เพื่อบรรเทาอาการปวด - ทำผ่าตัดเอาหนองออก (incision and drain)

subacute osteomyelitis - เป็นการอักเสบติดเชื้อชนิดค่อยๆ เกิด - มักไม่มีอาการเจ็บป่วย ไม่พบรอยอักเสบเฉพาะที่ - อาจมีอาการปวดเล็กน้อย มักตรวจพบโดยบังเอิญ

subacute osteomyelitis การรักษาทั่วไป - ให้ยาปฏิชีวนะ - ให้ส่วนที่มีพยาธิสภาพได้พัก - ทำการขูดล้างโพรงกระดูก ( Debridement )

chronic osteomyelitis หมายถึง การอักเสบติดเชื้อที่เป็นผลจากการประเมินกระดูกอักเสบติดเชื้อเฉียบพลันที่ได้รับการรักษาไม่เพียงพอ หรือมีการดำเนินของโรคที่รุนแรงต่อเนื่อง

chronic osteomyelitis สาเหตุ มีการติดเชื้อจากภายนอกร่างกาย มักพบในกรณี open fracture มีการติดเชื้อในร่างกาย จากการติดเชื้อตำแหน่งอื่นลุกลามเข้าสู่ กระแสเลือด และไปอยู่ยังตำแหน่งของกระดูก มีความผิดปกติของหลอดเลือดจากโรคต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน มีสาเหตุจาก acute osteomyelitis ที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและต่อเนื่อง

chronic osteomyelitis อาการและอาการแสดง ไข้ ปวดบริเวณที่มีการอักเสบติดเชื้อ ผิวหนังแดง ตึง รูหนอง (sinus tract)

chronic osteomyelitis การวินิจฉัย 1. ประวัติความเจ็บป่วย 2. อาการและอาการแสดง 3. ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ 4. การวินิจฉัยทางรังสี

chronic osteomyelitis การรักษา 1. การให้ยาปฏิชีวนะทั่วไป 2. การทำผ่าตัดเอากระดูกที่เน่าตายออก (sequestrectomy) การทำแผล 3. จัดให้กระดูกที่มีการอักเสบอยู่นิ่ง ๆ 4. การปลูกกระดูก (bone graft) 5. การใช้ยาปฏิชีวนะเฉพาะที่

chronic osteomyelitis ภาวะแทรกซ้อน - กระดูกหักบริเวณที่มีพยาธิสภาพ - ข้อติดแข็ง กล้ามเนื้อลีบ - แผลเป็น - กระดูกสั้นกว่าปกติ - แผลเป็นกลายเป็นมะเร็ง

การพยาบาลผู้ป่วยกระดูกอักเสบติดเชื้อ

การประเมินทางการพยาบาล การประเมินทางการพยาบาล ประกอบด้วยการประเมิน 2 ข้อใหญ่ๆ คือ ข้อมูลอัตนัย จากการซักประวัติ ข้อมูลปรนัย จากการตรวจร่างกาย การตรวจทางห้องปฏิบัติการ และการตรวจพิเศษต่างๆ

ข้อมูลอัตนัย ได้จากการซักถามประวัติผู้ป่วย ประวัติทั่วไป เพศ อายุ อาชีพ อาการนำสำคัญ อาการปวด: ระยะเวลา ตำแหน่ง อาการบาดเจ็บหรือความเจ็บป่วยร่วม ลักษณะการปวด การบรรเทาความปวดโดยใช้ยา ความพิการผิดรูป การสูญเสียความรู้สึกเจ็บปวด การสูญเสียหน้าที่ การใช้งานของข้อ อาการทั่วไป เช่น การมีไข้ ปวดเมื่อย ร่างกายอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร

ข้อมูลปรนัย ประกอบด้วย การตรวจร่างกายทั่วไป: การแสดงออกทางสีหน้า เช่น แสดงความเจ็บปวด การดู คลำ ขยับ และการตรวจอื่นๆ เช่น motor power, sensation, muscle testing การตรวจทางรังสี การถ่ายภาพรังสีธรรมดา (plain film) ในภาพรังสีจะเห็นลักษณะของข้อที่มีการอักเสบติดเชื้อ การตรวจเพื่อช่วยในการวินิจฉัยที่นิยมทำคือ ESR (erythrocyte sedimention rate) คือ การตรวจการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดง การตรวจทางเซลล์วิทยา: gram stain, acid fast stain หรือ culture

การพยาบาลผู้ป่วยกระดูกอักเสบติดเชื้อ วินิจฉัยการพยาบาล มีการอักเสบติดเชื้อบริเวณกระดูกเสี่ยงต่อการแพร่กระจายของการติดเชื้อ ไม่สุขสบายจากความเจ็บปวดบริเวณกระดูกที่มีพยาธิสภาพ ภูมิต้านทานของร่างกายลดลงจากพยาธิสภาพความเรื้อรังของโรค เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนบริเวณกระดูกที่มีพยาธิสภาพ และบริเวณ ใกล้เคียง วิตกกังวลเกี่ยวกับการรักษา โดยการทำผ่าตัดเอากระดูกเน่าตายออก ไม่ทราบวิธีการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องเมื่อกลับไปบ้าน วิตกกังวลต่อความเจ็บป่วยเรื้อรังและภาพลักษณ์ของตนเอง

การพยาบาลผู้ป่วยกระดูกอักเสบติดเชื้อ วินิจฉัยการพยาบาล มีการอักเสบติดเชื้อบริเวณกระดูกเสี่ยงต่อการแพร่กระจายของการติดเชื้อ วัตถุประสงค์การพยาบาล - ลดภาวะการอักเสบติดเชื้อที่กระดูก - ป้องกันการแพร่กระจายของการติดเชื้อ

ลดภาวะการอักเสบติดเชื้อที่กระดูก กิจกรรมพยาบาล 1. ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาเกี่ยวกับภาวะการติดเชื้อ 1.1 ทำแผล 1.2 ให้ยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา และสังเกตผลข้างเคียง ของยา 2. สังเกตและประเมินความก้าวหน้าของโรคและผลการรักษา 2.1 บันทึกสัญญาณชีพ 2.2 บันทึกลักษณะและการเปลี่ยนแปลงของบาดแผล 2.3 บันทึกจำนวนและลักษณะของเสียจากบาดแผลและรายงาน ให้แพทย์ทราบ

ป้องกันการแพร่กระจายของการติดเชื้อ กิจกรรมพยาบาล ล้างมือก่อนและหลังให้การพยาบาล ใช้หลัก aseptic technique ในการทำแผล ดูแลทำความสะอาด unit และสิ่งแวดล้อมของผู้ป่วย ให้ผู้ป่วยดูแลรักษาความสะอาดของร่างกาย แนะนำสารอาหารที่มีประโยชน์ แนะนำการปฏิบัติตัวเกี่ยวกับการมีบาดแผล contact precautions กรณีเชื้อดื้อยา

contact precautions แนวทางการปฏิบัติมีดังนี้ ห้องแยก - ไม่ต้องควบคุมความดันอากาศ - ปิดประตูทุกครั้งหลังเข้าหรือออกจากห้องผู้ป่วย กรณีที่ไม่มีห้องแยกให้จัดผู้ป่วยที่ติดเชื้อชนิดเดียวกันไว้บริเวณเดียวกัน สวมถุงมือทุกครั้งเมื่อจับต้องผู้ป่วย ล้างมือแบบ hygienic hand washing ทุกครั้งหลังถอดถุงมือ ผู้เข้าเยี่ยมให้ล้างมือแบบ hygienic handwashing หลังจากการเยี่ยมผู้ป่วย ไม่ควรเคลื่อนย้ายผู้ป่วย

เกณฑ์การประเมินผล 1. อุณหภูมิของร่างกายไม่เกิน 37.5๐C 2. บริเวณแผลไม่มีลักษณะการปวด บวม แดง ร้อนมากขึ้น 3. ไม่มีหนอง กระดูกเน่าตายจากแผล 4. ผลการตรวจทางห้องทดลองไม่พบเชื้อ 5. ผลการตรวจการตกตะกอนของเม็ดเลือด (ESR) ปกติ

การพยาบาลผู้ป่วยกระดูกอักเสบติดเชื้อ วินิจฉัยการพยาบาล ไม่สุขสบายจากความเจ็บปวดบริเวณกระดูกที่มีพยาธิสภาพ วัตถุประสงค์การพยาบาล - ให้ได้รับความสุขสบายมากขึ้น อาการปวดลดลง

บรรเทาอาการปวด กิจกรรมพยาบาล ดูแลให้ได้พักผ่อน และยกบริเวณอวัยวะที่มีพยาธิสภาพให้สูงบนหมอน การเคลื่อนไหวควรใช้อุปกรณ์ช่วยพยุง ให้การพยาบาลอย่างนุ่มนวล และเบามือ ให้ยาแก้ปวดตามแผนการรักษาในกรณีที่มีอาการปวดมาก ใช้เทคนิคการผ่อนคลายต่างๆ

เกณฑ์การประเมินผล บริเวณกระดูกที่มีพยาธิสภาพปวดลดลง / ไม่ปวด เคลื่อนไหวอวัยวะได้โดยไม่เจ็บปวด

การพยาบาลผู้ป่วยกระดูกอักเสบติดเชื้อ วินิจฉัยการพยาบาล ภูมิต้านทานของร่างกายลดลงจากพยาธิสภาพความเรื้อรังของโรค วัตถุประสงค์การพยาบาล - ให้ภูมิต้านทานของร่างกายดีขึ้น

เพิ่มภูมิต้านทานของร่างกาย กิจกรรมพยาบาล 1. ดูแลให้ได้พักผ่อนร่างกาย และจิตใจ 2. ดูแลรักษาความสะอาดของบาดแผล, ปาก-ฟัน และร่างกายทั่วไป 3. ดูแลให้ได้รับอาหารที่มีแคลอรี่, โปรตีน รวมทั้งมีวิตามินซีสูง 4. ดูแลให้ได้รับน้ำดื่มที่สะอาดอย่างเพียงพอ 5. ในกรณีที่รับประทานอาหารได้น้อย ควรดูแลการได้รับสารละลายทางหลอดเลือดดำทดแทน 6. ดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา

เกณฑ์การประเมิน อาการแสดงของการติดเชื้อต่าง ๆ ลดลง / อยู่ในเกณฑ์ปกติ 1. สัญญาณชีพโดยเฉพาะอุณหภูมิอยู่ในเกณฑ์ปกติ 2. ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการต่าง ๆ ปกติ เช่น WBC, ESR

การพยาบาลผู้ป่วยกระดูกอักเสบติดเชื้อ วินิจฉัยการพยาบาล เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนบริเวณกระดูกที่มีพยาธิสภาพ และ บริเวณใกล้เคียง วัตถุประสงค์การพยาบาล - ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนบริเวณที่มีพยาธิสภาพ

ป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน กิจกรรมพยาบาล 1. ดูแลการใส่เฝือกบริเวณที่มีพยาธิสภาพ 2. ยกขาสูงวางบนหมอนให้ส้นเท้าลอยไม่กดทับหมอน 3. ดูแลให้มีการออกกำลังกล้ามเนื้อทุกๆ ส่วน และข้อที่ไม่ถูกจำกัด โดยการใส่เฝือก 4. ไม่ลงน้ำหนักขาข้างที่มีพยาธิสภาพ ป้องกันการหักของกระดูก

เกณฑ์การประเมิน สภาพกระดูกทั่วไปแข็งแรงดี รับน้ำหนักได้ ไม่มีอาการปวด บวม แดง ร้อน บริเวณกระดูกอักเสบ ไม่มีข้อติดแข็ง ไม่มีกล้ามเนื้อลีบ

การพยาบาลผู้ป่วยกระดูกอักเสบติดเชื้อ วินิจฉัยการพยาบาล วิตกกังวลเกี่ยวกับการรักษา โดยการทำผ่าตัดเอากระดูกเน่าตายออก (sequestrectomy) วัตถุประสงค์การพยาบาล - ลดความวิตกกังวล - ให้มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง

กิจกรรมพยาบาล อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงแผนการรักษา การปฏิบัติตัวก่อนและ หลังทำผ่าตัด เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยซักถาม เพื่อคลายความวิตกกังวล หรือ หวาดกลัว

เกณฑ์การประเมินผล สีหน้าสดชื่น ไม่ซึมเศร้า ให้ความร่วมมือในการรักษาพยาบาล รับประทานอาหารได้ นอนหลับพักผ่อนได้ตามปกติ

การพยาบาลผู้ป่วยกระดูกอักเสบติดเชื้อ วินิจฉัยการพยาบาล ไม่ทราบวิธีการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องเมื่อกลับไปบ้าน วัตถุประสงค์การพยาบาล - มีความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง

วิธีการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง กิจกรรมการพยาบาล ให้คำแนะนำเพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับวิธีปฏิบัติตัว ดังนี้ 1. การทำแผล 2. การปฏิบัติตัวทั่วไปเกี่ยวกับการดูแลแผล 3. การดูแลเฝือก หรือเครื่องพยุง 4. รับประทานยาตามแผนการรักษาของแพทย์ให้ครบ ทั้งจำนวน และขนาดของยา 5. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ 6. ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว

กิจกรรมพยาบาล (ต่อ) 7. สังเกตอาการผิดปกติที่เกิดขึ้น ถ้ามีควรรีบมาพบปรึกษาแพทย์ทันที มีไข้ หนาวสั่น ปวดบริเวณกระดูก หรืออวัยวะที่อยู่ใกล้เคียง แผลมีกลิ่นเหม็น มีหนอง มีกระดูกเน่าตายออกมากขึ้น เฝือกหรือ slab ที่ใส่ไว้หลวม หรือคับกว่าปกติ มีอาการบวมของอวัยวะ ขยับนั่งไม่ได้ ชา ปลายนิ้วซีด 8. มาตรวจตามแพทย์นัดทุกครั้ง เพื่อให้ได้รับการรักษาที่ต่อเนื่อง

เกณฑ์การประเมินผล บอกวิธีการดูแลตนเองทั่วไปได้ สังเกตอาการผิดปกติ และการป้องกันการเกิดโรคซ้ำได้ถูกต้อง

การพยาบาลผู้ป่วยกระดูกอักเสบติดเชื้อ วินิจฉัยการพยาบาล วิตกกังวลต่อความเจ็บป่วยเรื้อรัง วิตกกังวลต่อการเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ของตนเอง จากพยาธิสภาพ ของโรค วัตถุประสงค์การพยาบาล - ลดความวิตกกังวล - เข้าใจและยอมรับสภาพ - มีกำลังใจในการรักษาต่อเนื่อง

กิจกรรมพยาบาล 1. เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น พูดถึงปัญหา 2. ให้ความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรค วิธีการรักษา-พยาบาล 3. สอนให้ผู้ป่วยรู้จักวิธีการดูแลตนเอง 4. สนใจและเอาใจใส่พูดคุยกับผู้ป่วยสม่ำเสมอ ไม่เพิกเฉย 5. ให้ญาติ และครอบครัวมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยขณะอยู่โรงพยาบาล 6. ส่งเสริมให้ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันด้วยตนเอง 7. ถ้ามีปัญหาด้านค่ารักษา แนะนำใช้ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า / ส่งต่อ รพ.ใกล้บ้าน

เกณฑ์การประเมินผล ให้ความร่วมมือในการรักษาพยาบาล สีหน้าสดชื่น มีกิจกรรม และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้