กฎหมายการค้าของเอกชนระหว่างประเทศ วิวัฒนาการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
John Rawls  John Rawls is the most famous American social contract theorist argued that “Justice is fairness” He Thought human natural have a appropriate.
Advertisements

เลตเตอร์ออฟเครดิตหรือ ตราสารเครดิต
บทที่ 3 เครดิตและการให้สินเชื่อของธนาคาร CREDIT FROM COMMERCIAL BANK
Negotiating Int’l Transaction Negotiating by contestNegotiating by contest –Adversarial standoff style Negotiating by building consensusNegotiating by.
สัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ
ผู้รับประกัน (Insurer) ผู้เอาประกัน (Insured) ผู้รับผลประโยชน์ (Beneficiary)
Skills Development and Lifelong Learning: Thailand in 2010s Tipsuda Sumethsenee Office of the Education Council Thailand’s Ministry of Education.
International Trade Contract สัญญาซื้อขายสินค้า ระหว่างประเทศ อ. ดร. พรชัย วิสุทธิศักดิ์
เรื่อง ประเทศไทยกับประชาคมอาเซียน การประชุมวิชาการ ปขมท ประจำปี 2555
International Trade Agreement สัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ
Letter of Credit เลตเตอร์ออฟเครดิตหรือ ตราสารเครดิต
MRT 2210 Marine Insurance - การประกันภัยทางทะเล
วันชัย รุจนวงศ์ อธิบดีอัยการสำนักงานต่างประเทศ สำนักงานอัยการสูงสุด
ส่วนที่ 1 ความเบื้องต้น
กม.152 กฎหมายมหาชนเบื้องต้น Introduction to Public law
Lecture บทที่ 5 การจัดการคลังสินค้า และการกระจายสินค้า
เอกสารรายวิชา: : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย
การค้าระหว่างประเทศและกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ
ผศ. ดร. พรชัย วิสุทธิศักดิ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
กม.152 กฎหมายมหาชนเบื้องต้น Introduction to Public law (ตอน 02)
ระเบียบปฏิบัติในการส่งออกสินค้า
บทที่ 1 แนวคิด ทฤษฎี และพัฒนาการของกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค
กม.152 กฎหมายมหาชนเบื้องต้น Introduction to Public law (ตอน 02)
สถานการณ์การผลิตและการตลาด พืชตระกูลถั่ว
อนุญาโตตุลาการ (Arbitration)
ศูนย์ข้อมูลตราสารการเงิน ประชุมคณะทำงานพหุภาคี ครั้งที่ 1
Chapter 6 Diplomatic and Consular Privileges and Immunities
เรื่องขั้นตอนการเตรียมการจัดการเอกสารเพื่อการขนส่ง
การขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคล กับ ผลประโยชน์ส่วนรวม
เอกสารในการนำเข้าและส่งออก
ภัยธรรมชาติและการระวังภัยในทวีปเอเชีย ออสเตรเลีย และโอเชียเนีย
เอกสารการส่งออก.
GATT & WTO.
มาตรฐานสากลแห่งการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม
Legal Phenomena: Law & Social Change
AEC ผลกระทบการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ต่อนายจ้างและแรงงานไทย
การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มสุกร 2552 VS 2558
การระงับข้อพิพาทด้วยอนุญาโตตุลาการ
Globalization and the Law
การเปลี่ยนแปลงบริษัทและควบรวมกิจการ
วิชา กฎหมายกับสังคม (Law and Society) (SSP 2403) อาจารย์ สุรศักดิ์ มีบัว สาขา สังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ครั้งที่ 1-4.
กฎหมายอาญา(Crime Law)
Chapter 9 กฎหมายพาณิชย์ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส Edit
ปรัชญากฎหมายเชิงประวัติศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ผศ. ดร.พรชัย วิสุทธิศักดิ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อ –สกุล นายอนุพันธ์ วุธประดิษฐ์ ตำแหน่ง ผช.หัวหน้าหน่วย (พพธ.7)
กฎหมายและ โลกสมัยใหม่
การป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflict of interests)
Review - Techniques of Environmental Law
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ผู้สอนวิชากฎหมายธุรกิจและภาษีอากร(bus226)
พืชเกษตรอย่างครบวงจรในระดับพื้นที่
การจัดการเงินสด และหลักทรัพย์ ในความต้องการของตลาด
Third World Party Convention 15 December 2019, Kathmandu, Nepal
การรับกฎหมายสมัยใหม่จากตะวันตก และการจัดทำประมวลกฎหมาย
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้า
หัวหน้ากลุ่มบริหารยุทธศาสตร์ ศูนย์บริหารกฎหมายสาธารณสุข
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข
International Trade Agreement สัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ
นักท่องเที่ยวในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
เนื้อหาที่สำคัญของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ฉบับที่ 3 พ.ศ มีดังนี้ มาตรา 13 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา.
ผศ.ดร.พรชัย วิสุทธิศักดิ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
การระงับข้อพิพาทด้วยอนุญาโตตุลาการ
กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ และ 801
โดย อ.ดร. นวพร เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา
Third World Party Convention 15 December 2019, Kathmandu, Nepal
International Commercial Terms
โดย สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดจันทบุรี
การจัดการงานคลังและงบประมาณ อ.บุญวัฒน์ สว่างวงศ์
ใบสำเนางานนำเสนอ:

กฎหมายการค้าของเอกชนระหว่างประเทศ วิวัฒนาการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ กฎหมายการค้าของเอกชนระหว่างประเทศ วิวัฒนาการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ ผศ. ดร.พรชัย วิสุทธิศักดิ์

วิวัฒนาการของกฎหมายวิวัฒนาการของกฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจและการค้าระหว่างประเทศ (1) ยุคกฎหมายวาณิชย์ (Law Merchant) (ค.ศ. 500 -1500) เป็นผลพวงอันเกิดจากพ่อค้าวาณิชย์ด้วยกันเอง ไม่ใช่เกิดจากนักกฎหมาย อาทิ ประมวลกฎหมายทะเลแห่งเมดิเตอร์เรเนียน ที่ใช้ในการเดินเรือทางมหาสมุทร แอตแลนติคด้วย อันเป็นรากฐานของกฎหมายทะเลของอังกฤษมาจนถึงปัจจุบัน หรือประเพณีปฏิบัติของพ่อค้าอื่น ๆ ในยุคนี้ ก็กลายมาเป็นหลักกฎหมายธุรกิจที่ สำคัญ ๆ ในปัจจุบัน เช่น กฎหมายเกี่ยวกับใบตราส่ง – ตั๋วเงิน (Bill of Lading) และการเช่าเรือ (Charter-Party) เป็นต้น

ยุคกฎหมายวาณิชย์ (ต่อ) มีลักษณะของความเป็นสากลอยู่ในตัวเองและตกทอดสืบกันมานาน เนื่องด้วยเหตุผล 4 ประการคือ (1) เป็นธรรมเนียมการค้าที่ใช้กันในตลาดการค้าเกือบทุก ๆ แห่ง (2) เป็นประเพณีทางทะเลซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป (3) มีการยอมรับอำนาจศาลที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อพิจารณาข้อพิพาททาง การค้าโดยเฉพาะ (4) มีการปฏิบัติทางทะเบียนในรูปของ Notary Public

วิวัฒนาการของกฎหมายวิวัฒนาการของกฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจและการค้าระหว่างประเทศ (ต่อ) (2) ยุคกฎหมายประเพณีทางการค้า (Trade Usages) (ศตวรรษที่ 16-17) ประเทศต่าง ๆ ได้รวบรวมประเพณีทางการค้าระหว่างประเทศเข้าเป็นกฎหมาย ภายในของตน ทำให้กฎหมายแขนงนี้ของแต่ละประเทศมีความแตกต่างกันไปตามลักษณะเฉพาะ ของกฎหมายภายในของตน อาทิ การจัดทำ Code Napoleon (ค.ศ. 1807) ในประเทศฝรั่งเศส การเปลี่ยนแปลงกฎหมายวาณิชย์เป็นคอมมอนลอว์ (Common Law) ในประเทศอังกฤษ

ยุคกฎหมายประเพณีทางการค้า (ต่อ) การจัดทำกฎหมายในส่วนพาณิชย์ คือกฎหมายตั๋วเงินเมื่อ ค.ศ. 1848 ประมวลกฎหมายพาณิชย์เมื่อ ค.ศ. 1861 อันเป็นที่มาของประมวลกฎหมาย พาณิชย์ฉบับปี 1897 ในประเทศเยอรมัน เกิดการซื้อขายแบบ CIF (Cost, Insurance, Freight) และ FOB (Free on Board) และการชำระค่าสินค้าโดยผ่าน ธนาคาร (Banker’s Commercial Credit) ขึ้นด้วย ทำให้กฎหมายพาณิชย์ภายในของนานาประเทศเกิดความแตกต่างกันขึ้น ส่งผลให้ในยุคต่อมามีความพยายามในการปรับหลักกฎหมายในแขนงนี้มี ความสอดคล้องกัน

วิวัฒนาการของกฎหมายวิวัฒนาการของกฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจและการค้าระหว่างประเทศ (ต่อ) (3) ยุคกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ (International Trade) (ศตวรรษที่ 18 – ปัจจุบัน) ศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้ ประเทศต่าง ๆ พยายามปรับหลักกฎหมายภายในของตนในแขนงนี้ให้มีหลักเกณฑ์ที่สอดคล้องกัน เพื่อความสะดวกในทางการค้า ด้วยการพัฒนากฎหมายพาณิชย์ภายในของประเทศต่าง ๆ ให้กลับไปมีลักษณะของกฎหมาย ระหว่างประเทศในยุคแรกอีก เป็นผลให้กฎหมายการค้าระหว่างประเทศในยุคปัจจุบัน ประกอบด้วยข้อบัญญัติต่าง ๆ (Authoritative Texts) ที่กำหนดขึ้นจากธรรมเนียมประเพณีและแนวทางที่ปฏิบัติกัน มาเป็นเวลานาน และที่จัดทำขึ้นโดยองค์การและสถาบันระหว่างประเทศหลาย ๆ แห่ง อาทิ ICC, UNCITRAL, UNIDROIT ฯลฯ

ยุคกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ (ต่อ) ทั้งนี้ ประเทศต่าง ๆ ไม่ว่าอยู่ในระบบหรือระบอบใด ส่วนมากได้ยอมนำข้อบัญญัติ ทั้งหลายเหล่านี้ไปใช้ ทำให้กฎหมายพาณิชย์ของแต่ละประเทศมีความคล้ายคลึงกันมากยิ่งขึ้น เนื่องจาก ประเทศทั้งหลายต่างยอมรับในหลัก (1) ‘ความศักดิ์สิทธิ์ของสัญญา’(Sanctity of Contract) (2) ‘สัญญาต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเคร่งครัด’ หรือ ‘สัญญาต้องเป็น สัญญา’(pactasuntservada) สรุป ประกอบด้วย (1) นิติบัญญัติระหว่างประเทศ (International Legislation) อันได้แก่ อนุสัญญาต่าง ๆ (Convention) อาทิ CISG, (2) ประเพณีทางการค้าต่าง ๆ (Trade Usages) อาทิ INCOTERMS, UCP - Letter of Credit

องค์ประกอบของกฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจและการค้าระหว่างประเทศ (1) กฎหมายภายในประเทศ (Domestic Law) (1.1) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (‘ป.พ.พ.’) ไม่มีการแยกอย่างชัดเจนว่าส่วนใดเป็น‘แพ่ง’หรือส่วนใดเป็น ‘พาณิชย์’ เป็นที่เข้าใจว่า‘เเพ่ง’ คือส่วนที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ในครัวเรือน อันได้แก่ ครอบครัวและมรดก แตกต่างจาก‘พาณิชย์’อันเป็นความสัมพันธ์ในเชิงเศรษฐกิจ อันได้แก่ บทบัญญัติทั้งหลายในเรื่องเอกเทศ สัญญา เช่น ซื้อขาย เช่าทรัพย์ เช่าซื้อ จ้างแรงงาน ฯลฯ (1.2) กฎหมายเฉพาะอื่น ๆ อาทิ พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 และ พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544

กฎหมายภายในประเทศ (Domestic Law) (ต่อ) ทั้งหมด ถือได้ว่าเป็นรากฐานของ ‘กฎหมายธุรกิจและการค้า’ ของเอกชนหรือรัฐ ที่ดำเนินการอย่างเอกชนผ่านทางรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ เมื่อไรก็ตามที่ ‘ธุรกิจ’และ‘การค้า’ ทั้งหลาย มีความเกี่ยวข้องกับคู่ค้าที่อยู่ต่างรัฐกับประเทศไทย โดยได้กำหนดให้กฎหมาย ไทยเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับแก่สัญญา (Governing law/Applicable Law) (1.3) พระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481 - คือกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล (Private International Law หรือ PIL) ตาม Slide ต่อไป - จะนำมาใช้ เมื่อไรก็ตามที่ ‘ธุรกิจ’และ‘การค้า’ทั้งหลาย มีความเกี่ยวข้องกับคู่ค้าที่ อยู่ต่างรัฐกับประเทศไทย แต่มิได้กำหนดให้กฎหมายใดเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับแก่สัญญา (Governing law/Applicable Law) และมีการฟ้องคดีที่ศาลไทย

องค์ประกอบของกฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจและการค้าระหว่างประเทศ (ต่อ) (2) กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล (Private International law / PIL) หรือ ‘กฎเกณฑ์ว่าด้วยการขัดกันของกฎหมาย’ หรือ Conflict of Laws เป็นกฎเกณฑ์ที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลต่อบุคคลด้วยกันในทางแพ่งหรือทาง พาณิชย์ ซึ่งมีข้อเท็จจริงที่กระทบถึงระบบกฎหมายของประเทศสองประเทศขึ้นไป โดยกำหนดว่า ข้อเท็จจริงที่เป็นปัญหานั้น ให้ใช้กฎหมายของประเทศใดบังคับแก่คดี กฎเกณฑ์ดังกล่าวของไทยส่วนใหญ่เป็นไปตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่ง กฎหมาย พ.ศ. 2481

องค์ประกอบของกฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจและการค้าระหว่างประเทศ (ต่อ) (3) กฎหมายภายนอกประเทศ (Foreign Law / International Law / Model Law) 1. กฎหมายภายในของประเทศของเอกชนคู่ค้า (Foreign Law) ซึ่งอาจอยู่ในรูป ของประมวลกฎหมาย (Code) และกฎหมายลายลักษณ์อักษร (Statutory Law) ในรูปแบบต่าง ๆ 2. กฎหมายระหว่างประเทศ (International Law) ซึ่งอยู่ในรูปของ อนุสัญญา (Convention) สนธิสัญญา (Treaty) 3. กฎหมายแม่แบบ (Model Law) ต่าง ๆ เช่น UNIDROIT Principles

กฎหมายภายนอกประเทศ (Foreign Law / International Law / Model Law) (ต่อ) หากกฎหมายภายในของประเทศคู่ค้า ถูกกำหนดให้เป็นกฎหมายที่ใช้บังคับแก่สัญญาหรือ กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลดังกล่าวข้างต้น ได้ชี้ให้กฎหมายนั้นเป็นกฎหมายที่ใช้ บังคับแก่สัญญา กฎหมายดังกล่าวจะถูกนำมาปรับใช้แก่สัญญาทันที หากเป็นกรณีของอนุสัญญาและสนธิสัญญาต่าง ๆ การบังคับใช้จะมีผลก็ต่อเมื่อแต่ละรัฐเข้า เป็นภาคีสมาชิก เช่น CISG กรณีของ Model Law เช่น UNIDROIT Principles หรือ CISG ที่ คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายไม่ได้อยู่ในรัฐภาคีของ CISG ประสงค์จะตกลงกันให้นำ CISG มาใช้ เป็นกฎหมายที่ใช้บังคับแก่สัญญาของตนนั้น จะกระทำได้หรือไม่อย่างไร เนื่องจาก CISG ไม่ใช่กฎหมายซื้อขายภายในของรัฐใดรัฐหนึ่ง

UNIDROIT Principles UNIDROIT Principles เป็นผลงานชิ้นสำคัญของ UNIDROIT หรือ The International Institute for the Unification of Private Law ถูกก่อตั้งขึ้นโดยรัฐบาลอิตาลี เพื่อการจัดทำกฎหมายเอกชนระหว่างประเทศให้มีความเป็นเอกภาพ ในปี ค.ศ. 1994 อันเป็นระยะเวลาภายหลังจากที่ประชาคมโลกบางส่วนได้นำ CISG มาใช้แล้ว จึงถูกออกแบบให้มีความ แตกต่างจาก CISG ในสาระสำคัญบางประการ คือ (1) อยู่ในรูปแบบของกฎหมายแม่แบบ หรือ Model Law ซึ่งใครจะหยิบยกไปใช้ก็ได้ ไม่ได้อยู่ในรูปแบบของอนุสัญญา (Convention) ดังเช่น CISG และ (2) สามารถใช้ได้กับสัญญาทางการค้าระหว่างประเทศ (International Commercial Contract) ทุกประเภท ไม่เฉพาะสัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ แม้จะมีที่มาและมีความแตกต่างจาก CISG ดังกล่าว UNIDROIT Principles ก็ไม่มีความขัดแย้ง ใด ๆ กับ CISG ด้วยสามารถนำมาใช้ในการตีความและอุดช่องว่าง CISG ได้เป็นอย่างดี

ทฤษฎีกฎหมายและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง (1) ทฤษฎีว่าด้วยสัญญา หลักกฎหมายสัญญาของประเทศไทยไทย ถือได้ว่าเป็นหลักตามระบบ Civil Law ซึ่งมีรากฐานมาจากกฎหมายโรมัน (Roman Law) ซึ่งแตกต่างจากระบบกฎหมายอังกฤษซึ่งเป็นระบบ Common Law ซึ่งมี รากฐานมาจากกฎหมายวาณิชย์ของพ่อค้า Common Law vs Civil Law “Less moral but more practical” แม้ทฤษฎีทางกฎหมายอาจแตกต่างกันในสาระสำคัญ แต่ในทางปฏิบัติแล้ว จาก วิวัฒนาการที่ผ่านมา ความแตกต่างของกฎหมายการค้าระหว่างประเทศกลับมีไม่มาก เนื่องจาก ทั้งสองระบบต้องมีการปรับตัวเข้าหากันเพื่อความสะดวกในการติดต่อค้าขาย

ทฤษฎีว่าด้วยสัญญา (ต่อ) ปัจจัยทางศีลธรรม (Moral Factor) และปัจจัยทางเศรษฐกิจ (Economic/Business Factor) เป็นวิวัฒนาการของกฎหมายสัญญา ประเทศอังกฤษและประเทศในภาคพื้นยุโรปซึ่งมีมาตรฐานทางศีลธรรมเกาะเกี่ยวอยู่กับคริสต์ศาสนา กฎหมายสัญญาจึงยึดโยงอยู่กับหลักศาสนาที่ว่า เมื่อบุคคลใดได้ให้คำมั่นสัญญาที่จะกระทำอะไรแก่ บุคคลอีกคนหนึ่งแล้ว บุคคลนั้นจะต้องปฏิบัติตามคำมั่นสัญญา ตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา เมื่อมีปัจจัยทางเศรษฐกิจเข้ามาเกี่ยวข้อง กฎหมายสัญญาจึงมี วิวัฒนาการที่สอดคล้องกับปัจจัยนี้ด้วยจนมีรูปแบบอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน คือ (1) มีการคำนึงถึง การแบ่งแยกแรงงาน (Division of Labour) ตามความรู้ความชำนาญของแต่ละชุมชน (2) มีการก่อตัวและเติบโตของสถาบันเครดิตต่าง ๆ (Institution of Credit) เช่น ธนาคารต่าง ๆ ถึงแม้กฎหมายสัญญาของไทยในปัจจุบัน มีที่มาจากระบบกฎหมายของภาคพื้นยุโรป หรือ Civil Law ดังกล่าวแต่อิทธิพลของกฎหมายสัญญาอังกฤษที่อยู่ในระบบ Common law ซึ่ง ประเทศไทยมีความคุ้นเคยอยู่ จึงต้องควรมีความรู้เกี่ยวกับหลักกฎหมายอังกฤษด้วย อาทิ Natural Law, Laissez – Faire, Freedom of Contract, Sanctity of Contract, Mutual Agreement, Free Choice

เกร็ดการงานวิจัย การค้าในต่างประเทศ