งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ผศ. ดร. พรชัย วิสุทธิศักดิ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ผศ. ดร. พรชัย วิสุทธิศักดิ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ผศ. ดร. พรชัย วิสุทธิศักดิ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
การประกันภัยทางทะเล ผศ. ดร. พรชัย วิสุทธิศักดิ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

2 ประเภทของการประกันภัยทางทะเล
1. การประกันภัยตัวเรือ (Hull Insurance) 2. การประกันภัยสินค้า (Cargo Insurance) 3. การประกันภัยสำหรับการขนส่งสินค้าภายในประเทศ (Inland Transit Insurance)

3 1. การประกันภัยตัวเรือ (Hull Insurance) : คุ้มครองความเสียหายต่อ ตัวเรือจากอุบัติเหตุต่างๆ เช่น ภัยจากลมพายุ, เรือเกยตื้น, เรือชนกัน, เรือชนหิน โสโครก เป็นต้น และยังหมายความรวมไปถึงการประกันค่าระวางด้วย Source:

4 2. การประกันภัยสินค้า (Cargo Insurance) : คุ้มครอง สินค้าที่เอาประกันภัยซึ่งอยู่ในระหว่างการขนส่งทางทะเล ภัยที่ได้รับการ คุ้มครองขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่ผู้เอาประกันภัยเลือกซื้อ ความคุ้มครองไว้ Source:

5 3. การประกันภัยสำหรับการขนส่งสินค้าภายในประเทศ
(Inland Transit Insurance) คุ้มครองสินค้าที่เอาประกันภัยซึ่งอยู่ในระหว่างการขนส่งทางบ คุ้มครองความเสียหายต่อ ทรัพย์สินที่เอาประกันภัยโดยไฟไหม้, การระเบิด, การชน หรือการคว่ำ ระหว่างการ ขนส่งภายในประเทศ Source:

6 การประกันภัยขนส่งสินค้าทางทะเล (Marine Insurance)
ประเภทการขนส่งต่างๆ ซึ่งสามารถทำประกันภัยสำหรับสินค้า r Sea Freight r Air Freight r Parcel Post Truck Rail

7 บุคคลผู้มีสิทธิหรือมีส่วนได้ส่วนเสียที่อาจจะเอาประกันภัยทางทะเลได้
ผู้ที่จะเอาประกันภัยได้ต้องมีส่วนได้ส่วนเสียในเหตุที่เอาประกันภัย เจ้าของเรือ เจ้าของสินค้าหรือผู้รับขนส่ง ใครเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในสินค้าขณะเกิดความเสียหาย ผู้นั้นย่อม มีสิทธิเรียกร้องให้บริษัทชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้กับตนเองได้

8 ภัยที่คุ้มครองและเงื่อนไขความคุ้มครองในกรมธรรม์
1. ภัยทางทะเล(Peril of the sea) เช่น ภัยจากพายุ, มรสุม, เรือจม, เรือชนกัน และเรือเกยตื้น 2. อัคคีภัย(Fire) ได้แก่ ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากไฟไหม้ แต่ต้องไม่เกิดจาก ความประพฤติผิดของผู้เอาประกันภัยเอง หรือเกิดจากการลุกไหม้ขึ้นมาเองของ สินค้าอันเนื่องมาจากธรรมชาติ 3. การทิ้งทะเล(Jettisons) หมายถึง การเอาของทิ้งทะเลเพื่อให้เรือเบาลง 4. โจรกรรม (Thieves) หมายถึง การโจรกรรมอย่างรุนแรงโดยการใช้กำลัง เพื่อช่วงชิงทรัพย์ 5. การกระทำโดยทุจริตของคนเรือ(Barratry) หมายถึง การกระทำโดย มิชอบของคนเรือโดยเจตนากลั่นแกล้งทุจริต ตั้งแต่นายเรือจนกระทั่งถึงลูกเรือใน อันที่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่ ทรัพย์สินและการกระทำนั้นต้องปราศจากการรู้ เห็นเป็นใจ ของเจ้าของทรัพย์

9 การเลือกซื้อความคุ้มครอง
1. F.P.A. (Free from Particular Average) แปลว่า การ ประกันตามเงื่อนไขนี้ให้ความคุ้มครองแคบที่สุด กล่าวคือ บริษัทประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเฉพาะเมื่อสินค้าเสียหายโดย สิ้นเชิง (Total Loss) เท่านั้น ถ้าสินค้านั้นได้รับความเสียหายแต่เพียงบางส่วน (Partial Loss) จะไม่ได้รับการชดใช้ 2. W.A. (With Average) แปลว่า การประกันภัยตามเงื่อนไขนี้ให้ ความคุ้มครองความเสียหายโดยสิ้นเชิง และความเสียหายบางส่วนด้วย แต่ความ เสียหายบางส่วนนี้จะต้องไม่ต่ำกว่า 3% ของข้อมูลค่าทรัพย์สินที่เอาประกันภัย 3. All Risks เป็น เงื่อนไขความคุ้มครองที่กว้างที่สุด คือ ให้ความคุ้มครองทั้ง ความเสียหายบางส่วน และสิ้นเชิงโดยไม่จำกัดเปอร์เซ็นต์ความสูญเสีย

10 เงื่อนไขและขอบเขตความคุ้มครองในการประกันภัยทางทะเลและขนส่ง
ใน ตลาดการประกันภัยทางทะเลและขนส่งประเทศไทย เงื่อนไข ความคุ้มครองที่ผู้รับประกันภัยส่วนใหญ่ จัดให้แก่ผู้เอาประกันภัย มักจะยึดถือตามเงื่อนไขความคุ้มครองที่ใช้กันในประเทศอังกฤษ ซึ่ง เป็นเงื่อนไขความคุ้มครองที่จัดทำขึ้นโดย กลุ่มผู้รับประกันภัย อัน ได้แก่ The Institute of London Underwriters, the Liverpool Underwriters Association และ Lloyds Underwriters Association

11 เงื่อนไขความคุ้มครองที่จัดทำโดยกลุ่มผู้รับประกันภัยดังกล่าว ข้างต้น จะขึ้นด้วยคำว่า ‘Institute’ ซึ่ง เป็นที่รู้จักแล ยอมรับกันดีทั่วไป ในวงการธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น ผู้ ส่งออก ผู้นำเข้า ธนาคาร หรือ ตัวแทนในการพิจารณาค่าสินไหม ทดแทนในการประกันภัย ขนส่งสินค้าทางทะเลโดยทั่วไป มีชุด เงื่อนไขความคุ้มครอง 3 ชุด ที่เป็นที่นิยมกัน ซึ่งได้กำหนด ขอบเขตความเสี่ยงภัยที่คุ้มครอง ลดหลั่นลงไปตามลำดับ ดังนี้

12 The Institute Cargo Clauses ‘A’
The Institute Cargo Clauses ‘B’ The Institute Cargo Clauses ‘C’

13 ภัยที่ให้ความคุ้มครอง (RISK COVERED)
สรุปความคุ้มครองการประกันภัยการขนส่งทางทะเล ภัยที่คุ้มครอง Institute Cargo Clauses การสูญเสียหรือเสียหายของวัตถุที่เอาประกันภัยที่เกิดจาก A B C 1. อัคคีภัย ภัยระเบิด YES 2. เรือจม เกยตื้น เรือล่ม เรือชนกัน 3. รถพลิกคว่ำ ชนกัน รถไฟตกราง 4. การขนส่งสินค้าที่ทำระหว่างทางซึ่งเรือใช้หลบภัย 5. General Average 6. Jettison การโยนสินค้าลงทะเลในขณะที่เรือประสบภัย 7. Sue & Labour Charges ค่ากู้เรือ และ ค่ากู้สินค้า 8. แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด NO 9. สินค้าถูกคลื่นซัดตกทะเล ที่มา บริษัทไทยศรีประกันภัย

14 ภัยที่ให้ความคุ้มครอง (RISK COVERED)
การสูญเสียหรือเสียหายของวัตถุที่เอาประกันภัยที่เกิดจาก A B C 10. สินค้าเสียหายอย่างสิ้นเชิงทั้งหีบห่อในขณะที่ขนขึ้นหรือ YES NO ลงเรือหรือระหว่างถ่ายลำสับเปลี่ยนเรือ 11. สินค้าเปียกเนื่องจากน้ำทะเล หรือน้ำในแม่น้ำเข้าสู่ระวางเรือหรือตู้คอนเทนเนอร์ หรือน้ำในแม่น้ำท่วมเข้าสถานที่เก็บสินค้า (ไม่รวมน้ำฝน) 12. เปียกน้ำฝน 13. การกระทำด้วยความมุ่งร้ายของบุคคลอื่น ๆ 14. การปล้นโดยโจรสลัด 15. การถูกลักขโมย 16. อุบัติเหตุอื่นๆ ที่ไม่เข้าข่ายตามข้อ 1-15 เช่น แตก, หัก, ฉีกขาด, เปื้อน, ภาชนะบุบสลายทำให้สินค้ารั่วไหลเกิดขึ้นในระหว่างขนส่ง ที่มา บริษัทไทยศรีประกันภัย

15 ภัยที่ยกเว้นความคุ้มครองตามเงื่อนไขความคุ้มครองมาตรฐาน Institute Cargo Clauses
ที่มา บริษัทไทยศรีประกันภัย

16 หลักฐานในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน
หนังสือเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน Claim Bill ต้นฉบับกรมธรรม์ประกันภัยทางทะเลและขนส่ง Original Marine Insurance Policy ใบกำกับสินค้าและใบแสดงการบรรจุหีบห่อ Invoice & Packing List ใบตราส่งสินค้า Bill of Lading หลักฐานแสดงความเสียหาย เช่น Survey Report, Wharf Survey Note, Shortlanded Cargo List หลักฐานหรือเอกสารประกอบอื่นๆ เช่น Charter Party, Sale Contract, Stowage Plan สำเนา หนังสือเรียกร้องค่าเสียหายถึงผู้ขนส่ง/ผู้ที่เกี่ยวข้องพร้อมหนังสือตอบจาก ผู้ขนส่ง/ผู้ที่ เกี่ยวข้อง ในความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น

17 สัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ กับการประกันภัยสินค้าทางทะเล
สัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ กับการประกันภัยสินค้าทางทะเล กลุ่ม E (Departure) - EXW EX Works กลุ่ม F (Main Carriage Unpaid) FCA Free Carrier FAS Free Alongside Ship FOB Free on Board กลุ่ม C (Main Carriage Paid) CFR Cost and Freight CIF Cost Insurance & Freight CPT Carriage Paid to CIP Carriage and Insurance Paid to กลุ่ม D (Arrival) DAF Delivered at Frontier DES Delivered Ex Ship DEQ Delivered Ex Quay DDU Delivered Duty Unpaid DDP Delivered Duty

18 สัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ ที่เกี่ยวกับการประกันภัยสินค้าทางทะเล
สัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ ที่เกี่ยวกับการประกันภัยสินค้าทางทะเล r FOB (Free on Board) r CFR (C & F) (Cost and Freight) r CIF (Cost, Insurance and Freight)

19 ผู้ขายสินค้า มีหน้าที่จัดส่งสินค้า จนกระทั่งลงเรือ
FOB (Free on Board) ผู้ขายสินค้า มีหน้าที่จัดส่งสินค้า จนกระทั่งลงเรือ เดินสมุทรโดยไม่ต้องทำประกันภัย และไม่ต้องเสียค่าระวางเรือให้ ผู้ซื้อสินค้า ที่ปลายทาง จะต้องชำระค่าระวางเรือ และจัดซื้อประกันภัยการขนส่งสินค้า ทางทะเล

20 ผู้ขายสินค้า มีหน้าที่จัดส่งสินค้า จนกระทั่งลงเรือสมุทร
CFR (Cost and Freight) ผู้ขายสินค้า มีหน้าที่จัดส่งสินค้า จนกระทั่งลงเรือสมุทร และชำระค่าระวางเรือล่วงหน้าแต่ไม่ต้องทำ ประกันภัยให้ด้วย ผู้ซื้อสินค้า ที่ปลายทาง จะต้องจัดซื้อประกันภัยการขนส่ง สินค้าทางทะเล

21 ผู้ขายสินค้า ที่ต้นทาง คิดค่าสินค้า รวมค่าระวาง
CIF (Cost, Insurance and Freight) ผู้ขายสินค้า ที่ต้นทาง คิดค่าสินค้า รวมค่าระวาง เรือเดินสมุทรและค่าประกันภัยการ ขนส่งสินค้าทางทะเลด้วย ผู้ซื้อสินค้า นิยมเงื่อนไขซื้อขายนี้ เพราะเข้าใจว่า สะดวกที่สุด ไม่ต้องมาคอยซื้อประกันภัยเอง

22


ดาวน์โหลด ppt ผศ. ดร. พรชัย วิสุทธิศักดิ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google