การจัดการความปลอดภัยในการทำงาน หมวดวิชาที่ 1 การจัดการความปลอดภัยในการทำงาน สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย)
การจัดการความปลอดภัยในการทำงาน หัวข้อวิชา 1.1 แนวคิดการจัดการความปลอดภัยในการทำงาน 1.2 บทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร วัตถุประสงค์ อธิบายแนวทางการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในสถานประกอบกิจการเพื่อป้องกันและควบคุมการประสบอันตรายและความสูญเสียได้ อธิบายบทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหารรวมถึงแนวทางการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวได้ สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย)
หัวข้อวิชา 1.1 แนวคิดการจัดการความปลอดภัยในการทำงาน 1.1.1 อุบัติเหตุและความสูญเสีย 1.1.2 หลักการจัดการความปลอดภัยในการทำงาน วัตถุประสงค์ ทราบถึงคำจำกัดความต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการประสบอันตรายและความปลอดภัยในการทำงาน สามารถอธิบายสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุและความสูญเสียจากอุบัติเหตุได้ สามารถอธิบายหลักการบริหารจัดการเพื่อความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการได้ สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย)
1.1.1 อุบัติเหตุและความสูญเสีย ความปลอดภัยในการทำงาน หมายถึง ความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยในการทำงานของผู้ประกอบอาชีพทั้งหลาย การประสบอันตรายจากการทำงาน มีความหมายครอบคลุมถึง การเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานและหรือการเจ็บป่วยหรือเกิดโรคจากการทำงาน โรคจากการทำงาน หรือ โรคจากการประกอบอาชีพ หรือ โรคอันเกิดขึ้นเกี่ยวเนื่องกับการทำงาน หมายถึง การเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงานอันมีสาเหตุมาจากสภาพแวดล้อมการทำงานที่เป็นอันตราย ลักษณะท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสม สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย)
1.1.1 อุบัติเหตุและความสูญเสีย (ต่อ) อุบัติการณ์ หรือ เหตุการณ์ผิดปกติ หมายถึง เหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์เกิดขึ้นแล้วมีผลให้เกิดอุบัติเหตุหรืออาจหมายถึงเหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุ เหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุ หมายถึง เหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วมีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดอุบัติเหตุ อุบัติเหตุ หมายถึง เหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดจากการที่ไม่ได้คาดคิดไว้ล่วงหน้า หรือไม่ทราบล่วงหน้าหรือขาดการควบคุม แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วมีผลให้เกิดการบาดเจ็บ หรือความเจ็บป่วย หรือการเสียชีวิต หรือความสูญเสียต่อทรัพย์สิน หรือความเสียหายต่อสภาพแวดล้อมในการทำงาน หรือต่อสาธารณชน ความเจ็บป่วยจากการทำงาน หมายถึง ความเจ็บป่วยที่ได้พิจารณาว่ามีสาเหตุจากกิจกรรมการทำงานหรือสิ่งแวดล้อมของที่ทำงาน สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย)
1.1.1 อุบัติเหตุและความสูญเสีย (ต่อ) เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน หมายถึง ลูกจ้างที่นายจ้างแต่งตั้งขึ้นตามกฎหมายให้ปฏิบัติหน้าที่เป็น จป.ระดับหัวหน้างาน ระดับบริหาร ระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูงและระดับวิชาชีพ จป.ระดับบริหาร หมายถึง ลูกจ้างระดับบริหารท่นายจ้างแต่งตั้งขึ้นตามกฎหมายให้ปฏิบัติหน้าที่เป็น จป.ระดับบริหาร ในสถานประกอบกิจการนั้น สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย)
1. การประสบอันตรายและความสูญเสียในประเทศไทย แนวโน้มอัตราการประสบอันตรายต่อลูกจ้าง1,000ราย ปี 2543-2548 สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย)
2. อุบัติเหตุจากการทำงาน ANSI ได้จำแนกประเภทดังนี้ ถูกกระแทก ถูกหนีบหรือดึง ตกจากที่สูง หกล้ม ลื่นล้ม เอื้อมแขนมากเกินไป อุบัติเหตุจากรถยนต์ อื่นๆ เช่น ถูกไฟฟ้าช็อค การชน สัมผัสกับความร้อน การเสียดสีหรือถลอก ปฏิกิริยาภายในร่างกาย สัมผัสกับรังสี สารเคมีต่างๆ อุบัติเหตุจากการคมนาคมขนส่ง ไม่ทราบสาเหตุ สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย)
3. สาเหตุของอุบัติเหตุ H.W. Heinrich (1920) สาเหตุที่เกิดจากคน 88 % สาเหตุที่เกิดจากความผิดพลาดของเครื่องจักร 10% สาเหตุที่เกิดจากดวงชะตา 2% สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย)
3. สาเหตุของอุบัติเหตุ (ต่อ) ทฤษฎีโดมิโน หรือ ลูกโซ่ของอุบัติเหตุ ภูมิหลังของบุคคล ความบกพร่องของบุคคล การกระทำ หรือสภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัย อุบัติเหตุ การบาดเจ็บหรือความเสียหาย สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย)
แสดงสาเหตุและผลของอุบัติเหตุ สาเหตุนำของอุบัติเหตุ สภาวะทางด้านร่างกายและจิตใจ ของคนงานที่ไม่เหมาะสม ความผิดพลาดของการจัดการ สาเหตุโดยตรง คือ การปฏิบัติงานที่ไม่ปลอดภัย และสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัย อุบัติเหตุ เกิดความเสียหาย และ ผลผลิตหยุดชะงัก บาดเจ็บ สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย)
แบบจำลองของสาเหตุของอุบัติเหตุและความสูญเสีย (Loss Causation Model) ขาดการควบคุม สาเหตุพื้นฐาน สาเหตุในขณะนั้น เหตุการณ์ผิดปกติ ความสูญเสีย 1.โครงการ ไม่เพียงพอ 2.มาตรฐานของ โครงการ 3.การปฏิบัติตาม มาตรฐาน ปัจจัยจากคน ปัจจัยจากงาน การปฏิบัติและ สภาพการณ์ ที่ต่ำกว่ามาตรฐาน สัมผัสกับพลังงาน หรือวัตถุ คน ทรัพย์สิน กระบวนการผลิต สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย)
อัตราส่วนการเกิดอุบัติเหตุ 1 = การบาดเจ็บสาหัส หรืออาการรุนแรงถึงขั้นพิการ 10 = การบาดเจ็บไม่รุนแรง 30 = อุบัติเหตุที่ทำให้ทรัพย์สินเสียหายทุกประเภท 600 = เหตุการณ์ที่ไม่เกิดการบาดเจ็บหรือหรือความเสียหายใดๆ (เหตุการณ์เกือบกลายเป็นอุบัติเหตุ สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย)
4. ความสูญเสียจากการเกิดอุบัติเหตุ 4.1 ความสูญสียทางตรง ค่ารักษาพยาบาล ค่าทดแทน ค่าทำขวัญ ค่าทำศพ ค่าประกันชีวิต 4.2 ความสูญเสียทางอ้อม สูญเสียเวลาทำงาน ค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซม วัตถุดิบหรือสินค้าได้รับความเสียหาย ผลผลิตลดลง การผลิตหยุดชะงัก ค่าสวัสดิการต่างๆของผู้บาดเจ็บ ค่าจ้างแรงงานของผู้บาดเจ็บ การสูญเสียโอกาสในการทำกำไร การเสียชื่อเสียง สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย)
5. สิ่งแวดล้อมในการทำงานที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ความร้อน แสง เสียง รังสี ฯลฯ ทางกายภาพ ทางชีวภาพ ทางเคมี ทางจิตวิทยาสังคม สารเคมี แบคทีเรีย ไวรัส ฯลฯ ชั่วโมงการทำงาน ตำแหน่งหน้าที่ สัมพันธภาพระหว่างบุคคล ค่าตอบแทน สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย)
วงจรสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมการทำงานและผู้ปฏิบัติงาน ที่ไม่เหมาะสม การบาดเจ็บ/พิการ จากอุบัติเหตุ การเจ็บป่วย/โรค วินิจฉัย ผู้ประกอบอาชีพ รักษา ฟื้นฟูสภาพ หายป่วย กลับเข้าทำงาน สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย)
6. องค์ประกอบที่ทำให้เกิดการเจ็บป่วยจากการทำงาน ตัวคนที่ทำงาน สิ่งแวดล้อมที่ทำให้เกิดการเจ็บป่วยหรือโรค สภาพการทำงานและสภาพแวดล้อม โรค สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย)
7. โรคจากการทำงาน ตามประกาศกระทรวงแรงงานฯ เรื่อง กำหนดชนิดของโรคซึ่งเกิดขึ้นตามลักษณะหรือสภาพของงานหรือเนื่องจากการทำงาน ลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2538 จำนวน 32 โรค โรคจากตะกั่วหรือสารประกอบของตะกั่ว โรคจากแมงกานีสหรือสารประกอบของแมงกานีส โรคจากสารหนูหรือสารประกอบของสารหนู โรคจากเบอริลเลี่ยมหรือสารประกอบเบอริลเลี่ยม โรคจากปรอทหรือสารประกอบปรอท โรคจากโครเมี่ยมหรือสารประกอบของโครเมี่ยม โรคจากนิเกิ้ลหรือสารประกอบของนิเกิ้ล โรคจากสังกะสีหรือสารประกอบสังกะสี โรคจากแคดเมี่ยมหรือสารประกอบแคดเมี่ยม โรคจากฟอสฟอรัสหรือสารประกอบฟอสฟอรัส โรคจากคาร์บอนไดซัลไฟด์ โรคจากไฮโดรเจนซัลไฟด์ โรคจากซัลเฟอไดอ๊อกไซด์หรือกรดซัลฟูริค โรคจากไนโตรเจนอ๊อกไซด์หรือกรดไนตริค โรคจากแอมโมเนีย โรคจากคลอรีนหรือสารประกอบคลอรีน โรคจากคาร์บอนมอนอกไซด์ โรคจากเบนซีนหรือสารประกอบเบนซีน โรคจากฮาโลเจนซึ่งเป็นอนุพันธ์ของไฮโดรเย็นกลุ่มน้ำมัน โรคจากสารกำจัดศัตรูพืช สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย)
7. โรคจากการทำงาน (ต่อ) โรคจากสารเคมีอื่นหรือสารประกอบของสารเคมีอื่น โรคจากเสียง โรคจากความร้อน โรคจากความเย็น โรคจากความสั่นสะเทือน โรคจากความกดดันอากาศ โรคจากรังสีไม่แตกตัว โรคจากรังสีแตกตัว โรคจากแสงหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าอื่นๆ โรคจากฝุ่น โรคติดเชื้อจากการทำงาน โรคอื่นๆ ซึ่งเกิดขึ้นตามลักษณะหรือสภาพของงานหรือเนื่องจากการทำงาน สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย)
9.การจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัยเพื่อลดอุบัติเหตุและความสูญเสีย แนวทางการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัยเพื่อลดอุบัติเหตุและความสูญเสีย มีดังนี้ 9.1 การป้องกันและควบคุมอุบัติเหตุและความสูญเสียก่อนเกิดเหตุ 1) การกำหนดนโยบายความปลอดภัยในการทำงาน 2) การฝึกอบรมผู้บริหารในสถานประกอบกิจการ 3) การวางแผนการตรวจความปลอดภัย 4) การวิเคราะห์งานและการจัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงาน 5) การสังเกตการปฏิบัติงาน 6) กำหนดกฎระเบียบด้านความปลอดภัยในการทำงาน 7) การฝึกอบรมพนักงานทุกระดับ สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย)
9.การจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัยเพื่อลดอุบัติเหตุและความสูญเสีย (ต่อ) 8) การป้องกันและควบคุมด้านสุขภาพอนามัยของผู้ปฏิบัติงาน 9) การประเมินผลโครงการป้องกันและควบคุม 10) การป้องกันและควบคุมทางด้านวิศวกรรม 11) การสื่อสารระหว่างบุคคลในองค์กร 12) การประชุมกลุ่ม 13) การส่งเสริมด้านความปลอดภัยในการทำงาน 14) การจ้างและการบรรจุเข้าตำแหน่งงาน 15) การควบคุมการจัดซื้อ 16) ความปลอดภัยนอกเวลาทำงาน สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย)
9.การจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัยเพื่อลดอุบัติเหตุและความสูญเสีย (ต่อ) 9.2 การป้องกันและควบคุมอุบัติเหตุและความสูญเสียขณะเกิดการสัมผัสกับอันตราย ได้แก่ การจัดอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล 9.3 การป้องกันและควบคุมอุบัติเหตุและความสูญเสียภายหลังที่อันตรายเกิดขึ้น 1) การสอบสวนอุบัติเหตุและเหตุการณ์ที่ผิดปกติ 2) การโต้ตอบเหตุฉุกเฉิน 3) การวิเคราะห์อุบัติเหตุและอุบัติการณ์ สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย)
คำถามท้ายบท จงอธิบายสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุและความสูญเสียพร้อมยกตัวอย่างอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น จงอธิบายถึงแนวทางการป้องกันและควบคุมอุบัติเหตุและความสูญเสียตามข้อ 1 สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย)
เรื่องที่ 1.1.2 หลักการจัดการความปลอดภัยในการทำงาน แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการจัดการทั่วไป การจัดการ คือ กระบวนการที่จะบรรลุความสำเร็จขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยกระบวนการจัดการประกอบด้วย 1.1 การวางแผน 1.2 การจัดองค์กร 1.3 การนำ 1.4 การควบคุม สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย)
เรื่องที่ 1.1.2 หลักการจัดการความปลอดภัยในการทำงาน(ต่อ) 2. หลักการบริหารงานความปลอดภัยในการทำงาน องค์ประกอบสำคัญในการบริหารงานความปลอดภัยในการทำงาน ได้แก่ 2.1 การกำหนดนโยบายความปลอดภัยในการทำงาน 2.2 การดำเนินนโยบายความปลอดภัยในการทำงาน 2.3 การมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน 2.4 การจัดองค์กรความปลอดภัยในการทำงาน - หน่วยงานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ - คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย)
เรื่องที่ 1.1.2 หลักการจัดการความปลอดภัยในการทำงาน (ต่อ) 2.5 การวางแผนงานความปลอดภัยในการทำงาน 2.5.1 การศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์เกี่ยวกับความปลอดภัยขององค์กร 2.5.2 กำหนดวัตถุประสงค์ของแผนงาน 2.5.3 กำหนดเป้าหมายด้านความปลอดภัยในการทำงานที่ชัดเจน 2.5.4 จัดทำแผน 2.5.5 องค์ประกอบที่สำคัญเพื่อพิจารณาในการกำหนดแผนงานโครงการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน 2.6 ความเป็นผู้นำด้านความปลอดภัยในการทำงาน 2.7 การควบคุมงานด้านความปลอดภัย สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย)
กิจกรรม คำถามท้ายบท จงอธิบายสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุและความสูญเสียพร้อมยกตัวอย่างอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในสถานประกอบกิจการของท่านมาเป็นกรณีศึกษา จงอธิบายถึงแนวทางการจัดการในการป้องกันและควบคุมอุบัติเหตุตามข้อ 1 ในฐานะผู้บริหารขอให้ท่านอธิบายถึงหลักการจัดการด้านความปลอดภัยในการทำงานในสถานประกอบกิจการของท่าน พร้อมยกตัวอย่างประกอบ ท่านจะใช้อะไรเป็นตัวชี้วัดในการวัดผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการของท่าน สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย)
หัวข้อวิชา 1.2 บทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร 1.2.1 บทบาทหน้าที่ของผู้บริหาร 1.2.2 หน้าที่ของ จป.บริหาร และแนวทางการปฏิบัติหน้าที่ วัตถุประสงค์ 1. อธิบายบทบาทหน้าที่ของผู้บริหารด้านความปลอดภัยในการทำงานในสถานประกอบกิจการได้ 2. อธิบายแนวทางการปฏิบัติหน้าที่เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหารตามที่กฎหมายกำหนดได้ สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย)
เรื่องที่ 1.2.1 บทบาทหน้าที่ของผู้บริหาร ความหมายของผู้บริหาร 1.1 ผู้บริหารระดับสูง ได้แก่ กรรมการผู้จัดการ รองกรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการโรงงาน ผู้อำนวยการ เป็นต้น 1.2 ผู้บริหารระดับกลาง เป็นกลุ่มบุคคลที่อยู่ระหว่างผู้บริหารระดับสูง และผู้บริหารระดับปฏิบัติการหรือหัวหน้างานหรือผู้บังคับบัญชาระดับต้น 1.3 ผู้บริหารระดับปฏิบัติการหรือหัวหน้างานหรือผู้บังคับบัญชาระดับต้น จะเป็นผู้บังคับบัญชาคนแรกที่มีพนักงานธรรมดาเป็นผู้ใต้บังคับบัญชา ตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2549 ให้คำจำกัดความ ไว้ว่า ลูกจ้างระดับบริหาร หมายความว่า ลูกจ้างซึ่งเป็นหัวหน้าหน่วยงานที่มีระดับสูงกว่าหัวหน้างานขึ้นไปไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไรก็ตาม ลูกจ้างระดับหัวหน้างาน หมายความว่า ลูกจ้างซึ่งทำหน้าที่ควบคุม ดูแล บังคับบัญชา สั่งงานให้ลูกจ้างทำงานตามหน้าที่ของหน่วยงานนั้นๆ สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย)
เรื่องที่ 1.2.1 บทบาทหน้าที่ของผู้บริหาร บทบาทของผู้บริหาร การให้ข้อมูลข่าวสาร การติดต่อสื่อสารและประสานงานระหว่างคนในที่ทำงานและระหว่างหน่วยงาน การสร้างความสำเร็จในการจัดการ ทักษะที่สำคัญของผู้บริหาร ทักษะในด้านเทคนิค ทักษะด้านคน ทักษะด้านความคิด สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย)
เรื่องที่ 1.2.1 บทบาทหน้าที่ของผู้บริหาร (ต่อ) หน้าที่ของผู้บริหาร อย่างน้อยต้องประกอบด้วย การวางแผน การจัดองค์กร การบริหารงานบุคคล การสั่งการ การประสานงาน การรายงาน การงบประมาณ สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย)
เรื่องที่ 1.2.2 หน้าที่ของ จป.บริหาร และแนวทางการปฏิบัติหน้าที่ เรื่องที่ 1.2.2 หน้าที่ของ จป.บริหาร และแนวทางการปฏิบัติหน้าที่ หน้าที่ของ จป.บริหาร ตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2549 กำกับ ดูแล เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานทุกระดับซึ่งอยู่ในบังคับบัญชาของ จป.บริหาร เสนอแผนงานโครงการด้านความปลอดภัยในการทำงานในหน่วยงานที่รับผิดชอบต่อนายจ้าง ส่งเสริม สนับสนุน และติดตามการดำเนินงานเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานให้เป็นไปตามแผนงานโครงการเพื่อให้มีการจัดการด้านความปลอดภัยในการทำงานที่เหมาะสมกับสถานประกอบกิจการ กำกับ ดูแล และติดตามให้มีการแก้ไขข้อบกพร่องเพื่อความปลอดภัยของลูกจ้างตามที่ได้รับรายงานหรือตามข้อเสนอแนะของ จป. คณะกรรมการ หรือหน่วยงานความปลอดภัย สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย)
เรื่องที่ 1.2.2 หน้าที่ของ จป.บริหาร และแนวทางการปฏิบัติหน้าที่ (ต่อ) เรื่องที่ 1.2.2 หน้าที่ของ จป.บริหาร และแนวทางการปฏิบัติหน้าที่ (ต่อ) 2. แนวทางการปฏิบัติหน้าที่ของ จป.บริหาร 2.1 กำหนดนโยบายความปลอดภัยในการทำงาน 2.2 มีการมอบหมายความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน 2.3 การกำกับดูแลเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานทุกระดับที่อยู่ในบังคับบัญชา 2.4 เสนอแผนงานโครงการด้านความปลอดภัยในการทำงานในหน่วยงานที่รับผิดชอบต่อนายจ้าง 2.5 ส่งเสริม สนับสนุน และติดตามการดำเนินการเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานให้เป็นไปตามแผนงานโครงการเพื่อให้มีการจัดการด้านความปลอดภัยในการทำงานที่เหมาะสมกับสถานประกอบกิจการ สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย)