เรวัต แสงสุริยงค์ rewat@buu.ac.th ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับการบริการสังคม (Research Method of Social Service) ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวิจัย เรวัต แสงสุริยงค์ rewat@buu.ac.th
การวิจัยคืออะไร (What Research Is) “…กระบวนการรวบรวมและการวิเคราะห์สารสนเทศ (ข้อมูล) อย่างเป็นระบบ เพื่อสร้างความเข้าใจปรากฏการณ์ที่เราสนใจ” วิธีการค้นหาคำตอบในสิ่งที่เราสงสัย ซึ่งเป็นคำตอบที่น่าเชื่อถือและถูกต้องแม่นยำ ความน่าเชื่อถือ (Reliability) ความถูกต้อง (Validity)
ความเข้าใจเบื้องต้น (Clarifying Terms) กรอบแนวคิดเชิงปรัชญา ความเชื่อพื้นฐาน ระเบียบวิธี (Methodology) แผนปฏิบัติการ การทดลอง การสำรวจ ชาติพันธุ์วรรณา การออกแบบ (Design) การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล วิธีการ (Methods)
คำถามเบื้องต้น (Basic Questions) เรารู้ได้อย่าง (How do we know?) อะไรคือ สิ่งที่เรารู้ (What is knowing?) สิ่งที่เรารู้ มีความแน่นอนไหม (Can we know with certainty?) เราเชื่อได้อย่างไรว่า มีความแน่นอน (Can we believe something with certainty?) สิ่งเหล่านั้นเป็นข้อเท็จจริงหรือเปล่า (Are there facts?) สิ่งเหล่านั้นมีความถูกต้องหรือเปล่า (Is there truth?) สมมติฐาน ถูกหรือผิด (Can an hypothesis be verified or falsified?)
ความรู้เกิดขึ้นได้อย่างไร? นิรนัย (deduction) อุปนัย (Induction) อนุมานนิยม (Priorism) เหตุผลนิยม (Rationalism) ประจักษนิยม (Empiricism) เหตุผลนิยม+ประจักษนิยม (Rationalism)+(Empiricism)
ปรัชญาคือ อะไร (What is Philosophy?) รากศัพท์มาจากภาษากรีก หมายถึง ความรัก/ความชอบในการหาความรู้/แสวงหาความรู้ (the love of wisdom) คำที่ใช้กล่าวถึง ค่านิยมของบุคคล (person’s code of value) หรือความเชื่อต่างๆ (beliefs) ที่เขาใช้ในการดำเนินชีวิต (they live) สาขาวิชาหนึ่ง (An academic discipline) วิธีการที่เป็นกระบวนการ (A methodology) ที่ซ่อนอยู่ในฐานราก (root) ของทุกๆสาขาวิชา การกระทำที่ขึ้นอยู่กับความเป็นจริง (practical) ในการพัฒนาคำถามเบื้องต้น (fundamental questions) และความพยายามในการตอบคำถาม (answer) ในการคิด (thinking) และการเขียน (writing)
มุมมองเกี่ยวกับการวิจัย (Research Framework) ปรัชญาการวิจัย (Research philosophy) วิธีการวิจัย (Research approaches/paradigms) กระบวนการวิจัย (Research strategies) วิธีการรวบรวมข้อมูล (Data collection methods) กรอบเวลา (Time horizons)
The research ‘onion’ Source: © Mark Saunders, Philip Lewis and Adrian Thornhill 2006
มุมมองเกี่ยวกับการวิจัย (Research Framework) ปรัชญาการวิจัย (Research philosophy): ปฏิฐานนิยม (positivism) สัจจนิยม (realism) และการตีความ (interpretivism) วิธีการวิจัย (Research approach): นิรนัย (deductive) อุปนัย (inductive) กลนัย (retroductive) และจารนัย (abductive) สมมติฐาน (hypothesis) ความคิดเชิงทฤษฎี (theorizing) การวิเคราะห์และวิจารณ์ (critical analysis) กระบวนการวิจัย (Research strategy): สำรวจ (survey) กลุ่มสนทนา (focus groups) สัมภาษณ์ (interviews) แบบสอบถาม (questionnaires) สังเกต (observations) ข้อมูลทุติยภูมิ-เชิงประจักษ์ (secondary-empirical) วิธีการรวบรวมข้อมูล (Data collection methods): ทุติยภูมิ (secondary) หรือ ปฐมภูมิและทุติยภูมิ (primary and secondary)
พัฒนาการด้านความรู้
มุมมองเชิงประวัติศาสตร์ ขั้นเทววิทยาหรือขั้นศาสนา (Logical or Fictitious stage) ขั้นอภิปรัชญา (Metaphysical or Abstract stage) ขั้นวิทยาศาสตร์ (Scientific or Positive stage)
ความเชื่อกับความรู้ ความเชื่อ ความรู้ ความเชื่อ ขาดการอ้างเหตุผลสนับสนุน (justification) ความรู้ ได้รับการอ้างเหตุผลสนับสนุน ความรู้แบบเอไพรออไร หรือ ความรู้ก่อนประสบการณ์ (a priori knowledge) ความรู้แบบเอโพสเทอริออไร หรือ ความรู้หลังประสบการณ์ (a posteriori knowledge or empirical knowledge) ความรู้ที่ไม่ต้องมีการอ้างเหตุผลสนับสนุนโดยอาศัยประสบการณ์ ความรู้ที่ต้องได้รับการอ้างเหตุผลสนับสนุนจากประสบการณ์ ความรู้ได้มาจากความสามารถหยั่งรู้ (insight) ความรู้ได้มาจากประสบการณ์ (empirical) ความรู้สามารถได้มาโดยการให้เหตุผลแบบนิรนัยในทุกขั้นตอน ความรู้ไม่สามารถได้มาโดยการให้เหตุผลแบบนิรนัยล้วนๆ ในทุกขั้นตอน บางขั้นตอนต้องเป็นแบบอุปนัย
แบบนิรนัย (deduction) แบบอุปนัย (induction) การให้เหตุผล แบบนิรนัย (deduction) แบบอุปนัย (induction) ใช้แบบแผนทางตรรกศาสตร์ในการให้เหตุผล การประมาณการณ์จากประสบการณ์ซึ่งเกินกว่าที่ข้อมูลบอก ถ้าไม่มีข้อผิดพลาดทางตรรกศาสตร์ ข้ออ้างเป็นจริง -> ข้อสรุปเป็นจริง ข้อมูลเป็นจริง -> ข้อสรุปเป็นจริง ก สูงกว่า ข ข สูงกว่า ค ฉะนั้น ก สูงกว่า ค สังเกตได้ว่า กาจำนวนมาก ทุกตัวเป็นสีดำ -> กาทุกตัวมีสีดำ แบบแผนทางตรรกศาสตร์มิได้มีความสำคัญต่อการให้เหตุผลแบบนิรนัยทั้งหมด ข้อมูลนี้ให้การสนับสนุนและให้ความน่าเชื่อถือแก่ข้อสรุป ไม่ได้เป็นหลักประกันความจริงอย่างสมบูรณ์แต่ประการใด
การค้นหาความรู้
พัฒนาการของปรัชญาความรู้ ยุคก่อนสมัยใหม่ (Premodern) ก่อน ปี ค.ศ. 1600 สมัยโบราณ (7 ศตวรรษก่อนคริสกาล - คริสศตวรรษที่ 5) สมัยกลาง (ค.ศ. 500-1500) ความจริงมีมาตรฐานเดียว (เอกนิยม: Monisms) ได้แก่ ความเชื่อของทาเลส (Thales) ที่เชื่อว่า โลกเริ่มต้นมาจากน้ำ ความเชื่อของโสเครติส (Socrates) ที่เชื่อว่า ความจริงเป็นสิ่งสัมบูรณ์ (Absolute) หรือเป็นสากล (Universe) และคำสอนของศาสนาต่างๆ ความจริงได้มาจากความสงสัย การซักถามและแสวงหาคำตอบ (Sceptical) ด้วยวิภาษวิธี (dialectic) ความจริงเป็นสิ่งสัมพัทธ์ (Relativism) ความจริงเปลี่ยนแปลงไปกาละและเทศะหรือ ความจริงเป็นเรื่องของแต่ละบุคคล ได้แก่ ความเชื่อของกลุ่มโสฟิสต์ (Sophists) ความจริงเป็นสิ่งที่สามารถเข้าใจได้และสามารถมองเห็นได้ (Visible vs intelligible realms) ได้แก่ Platonic/Augustinian ความจริงเป็นวัตถุที่สัมผัสได้ (Sensible objects) ได้แก่ พวกAristotelian/Thomist ยุคสมัยใหม่ (Modern) ปี ค.ศ. 1600-1950 เหตุผลนิยม/คาร์ทีเซียน (Rationalism/Cartesian) ความรู้เกิดมาจากการหยั่งรู้ที่เกิดขึ้นในใจ (intuition) ความคิดของมนุษย์เป็นแหล่งที่มาของความรู้ และการใช้หลักคณิตศาสตร์ของเรอเน เดการ์ต (René Descartes) ประสบการณ์นิยมหรือประจักษ์นิยม (Empiricism) ความรู้ทั้งมวลได้มาจากประสบการณ์ผ่านประสาทสัมผัส ได้แก่ John Locke, George Berkeley และDavid Hume หรือพวก Humean อุดมคตินิยมหรือจิตนิยม (Idealism) ความรู้เกิดมาจากมโนคติ (idea) และจิตใจ (mind) และเป็นอิสระจากประสบการณ์ ปฏิเสธการมีอยู่ของสสารและยอมรับการมีอยู่ของสสาร ได้แก่ พวก Kantian ยุคหลังสมัยใหม่ (Postmodern) ปี ค.ศ. 1950-? แนวคิดความสงสัย (Scepticism) และสัมพัทธนิยม (Relativism) แนวคิดอริสโตเติล (Aristotelian) แสวงหาความรู้ด้วยเหตุผล ใช้เหตุผลแบบนิรนัย (deductive reasoning) และโทมัสนิยม (Thomism) ของ Saint Thomas Aquinas ที่เชื่อว่า การหาความรู้สามารถใช้หลักเหตุผลในการคิดจากการหยั่งรู้ของจิตมนุษย์ได้
ความเชื่อของปรัชญาการวิจัย (Philosophical Assumptions) คำถาม ภาววิทยา (Ontological) What is the nature of reality? ญาณวิทยา (Epistemological) What is the relationship between the researcher and that being researched? คุณวิทยา (Axiological) What is the role of values? วาทวิทยา (Rhetorical) What is the language of research? วิธีวิทยา (Methodological) What is the process of research?
หลักปรัชญาของธรรมชาติ (ความจริงแท้)ของความรู้ (Philosophical Ontology) ภาววิทยา (ONTOLOGY) - (‘ontos’ + ‘logos’) The study of existence. อภิปรัชญา (METAPHYSICS) ญาณวิทยา (EPISTEMOLOGY) - (‘epistemé’ + ‘logos’) The study of knowledge. ภาววิทยาต้องมาก่อนญาณวิทยา เพราะว่า ความรู้ คือ สิ่งที่เกิดมาจากสรรพสิ่งที่มีอยู่แล้ว (existence of objects) (Knowledge is always knowledge of ‘x’) สำรับสิ่งที่เกี่ยวกับจิตใจ (mental items) เช่น ความเชื่อ การตัดสินใจ ขึ้นอยู่กับความรู้ที่มีอยู่ของแต่ละบุคคล แต่ภาววิทยาจำนวนหนึ่ง (พอประมาณ/พอเหมาะ) สามารถทำให้เกิดตัวแบบ (model) ได้มากกว่า สิ่งที่เกี่ยวกับจิตใจ เช่น แนวคิด (conceptual) ดังนั้น ภาววิทยาจึงไม่สามารถสร้างขึ้นมาได้ด้วยการใช้กระบวนการทางด้านญาณวิทยา (epistemological) ตามที่มีนักวิชาการบางคนเสนอ
ภาววิทยาคืออะไร (What is an Ontology?) มีตัวอย่างคำตอบให้ 2 คำตอบ Information Sciences: “ภาววิทยา คือ คุณลักษณะเฉพาะ/รายละเอียด (a specification) ของแนวความคิดชุดหนึ่ง (a conceptualization)” - T. Gruber (1993) Philosophy: “ภาวิทยา คือ การศึกษา (science) เกี่ยวกับความเป็นจริง (reality) ทุกๆ ด้าน (every area) ของสรรพสิ่ง (objects) สิ่งของ (properties) เหตุการณ์ (events) กระบวนการ (processes) และความสัมพันธ์ (relations) ว่า เป็นอะไรและมีโครงสร้างอย่างไร (kinds and structures)” - B. Smith and C. Welty (2001)
ภาววิทยาคืออะไร (What is an Ontology?) สิ่งที่มีอยู่จริง (existence) สิ่งมีชีวิต (being) ความเป็นจริง (reality) แต่ละสิ่งที่มีอยู่ในโลกนี้
โครงสร้างของความจริง (Reality Structure) โลกของสิ่งที่สัมผัสได้/World of The Senses (Apparent reality) โลกของจิตใจ/World of The Mind (True reality) สิ่งที่เป็นเงาๆ (shadows) สิ่งที่เป็นจริง (real things) คณิตศาสตร์หรือสิ่งที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ (mathematical entities) ความคิด (ideas) การคาดเดา (conjecture) ความเชื่อ (belief) เหตุผล (reasoning) สิ่งที่เห็นได้จากจิตสำนึกหรือโทรจิต/สิ่งที่รับรู้ได้ (perception) จากจิตใจ (noetic vision) ความเห็น (opinion or dóxa) จิตใจ (mind or noûs) ที่มา: Marías, Julián. 1966. History of Philosophy. New York: Dover Publications, Inc.
ขั้นตอนของภาววิทยา (ONTOLOGY STEPS) 1. สร้างคำศัพท์ (DEVELOP A LEXICON) The lexicon should contain a sufficiently large sample of terms which represent those items found within a given domain. Sample Level 2/3 Fusion Terms: Ability, Fog of War, Center of Gravity. 2. กำหนดประเภท (DEVELOP UPPER-ONTOLOGY CATEGORIES) Upper-level categories contain highly abstract metaphysical items. Samples: Item - Spatial region, Dependent parts, Independent parts ขั้นตอนของภาววิทยา (ONTOLOGY STEPS) 3. กำหนดขอบเขต (DEVELOP REGIONAL ONTOLOGIES) Regional ontologies contain those specific (Level 1 Fusion) items which exist within a given spatio-temporal domain. 4. สร้างความสัมพันธ์ (FORMALIZE ONTOLOGICAL RELATIONS) Map relations between upper- and lower-level ontological items using a sufficiently complex formal logic (e.g. mereotopology, set theory, etc.) 5. เขียนเป็นภาษาเฉพาะ (CODE INTO MACHINE LANGUAGE) Develop a machine language which can capture all necessary relations.
วิธีการหาความรู้ (Ways of Knowing) ญาณวิทยา/ทฤษฎีความรู้ (epistemology): พื้นฐานของความรู้ที่ได้มาจากธรรมชาติ (nature) จุดกำเนิด (origins) และขอบเขต (limits) ความรู้
ทฤษฎีความรู้ (Epistemology) เหตุผลนิยม (rationalism): มีฐานคติว่า บ่อเกิดของความรู้ คือ ความคิดที่เป็นตรรกะ (logical) และ ความมีเหตุผล (reasoning) ไม่ให้ความสำคัญกับประสบการณ์ (experience) ความจริง (truth) คือ ตรรกะ (logical) สิ่งที่น่าจะมีเหตุผล (plausible) และสิ่งที่น่าจะเชื่อถือได้ (believable) ประสบการณ์นิยม (empiricism): มีฐานคติว่า บ่อเกิดของความรู้ คือ ประสบการณ์ของตัวเรา (experiences) สิ่งที่สังเกตหรือเห็นได้ (observations) ในโลกของเรา ไม่สนใจตรรกะและเหตุผล (logic and reason) ความจริง (truth) คือ สิ่งที่สังเกตได้ (observable) และสามารถวัดได้ (measurable)
วิธีการหาความรู้ (Ways of knowing) วิธีไม่ใช่เชิงประจักษ์ (Nonempirical methods) ผู้เป็นต้นตำรับ (Authority) ตรรกะ (Logic) วิธีเชิงประจักษ์ (Empirical methods) ปัญญาญาณ (Intuition) ศาสตร์ (Science)
ญาณวิทยา (Epistemology) คืออะไร ทฤษฎีความรู้ (theory of knowledge) ความรู้คืออะไร (What is knowledge?) หาความรู้อย่างไร (How is knowledge acquired?) คนเรารู้อะไร (What do people know?)
ภาววิทยากับญาณวิทยา (Ontology VS. Epistemology) ความจริง (REALITY) ให้ข้อมูล (informs) การรับรู้ทางประสาทสัมผัส (Sensory Perception) ผลลัพธ์ที่เป็นความคิด (Mental Events) รายงาน (informs) การค้นหาความจริง (ความจริงแท้) DISCOVERY OF TRUTH (VERIDICAL) EPISTEMOLOGY: การสร้างความจริง (ไม่ใช่ความจริงแท้) CREATION OF TRUTH (NON-VERIDICAL)
การค้นหาความรู้ วิธีการค้นหาความรู้ (Logic of inquiry) ภาววิทยา (Ontology) ญาณวิทยา (Epistemology) กลยุทธ์การวิจัย (Research Strategy) อุปนัย (Induction) นักสมัยใหม่ (Modernist) โลกทางสังคม (social world) คือ ความจริง (real) และแยกออกจากการกระทำของมนุษย์ (human action) ปฏิฐานนิยม (Positivism) สร้างกฎทั่วไป/ข้อสรุปทั่วไป (universal laws/generalization) จากข้อมูล นิรนัย (Deduction) เหตุผลนิยม(Rationalism) สร้างและทดสอบสมมติฐาน (hypotheses) จากกฎทั่วไป/ทฤษฎี (universal laws/theory) กลนัย (Retroduction) นักหลังสมัยใหม่ (Postmodern) โลกของสังคม (social world) คือ สิ่งที่ถูกสร้างขึ้นจากสังคม (socially constructed) สัจจนิยมเชิงวิพากษ์ (Critical Realism) เสนอโครงสร้าง/กลไกเชิงสาเหตุ (causal mechanism or structure) และพยายามสร้าง/ทดสอบโครงสร้าง/กลไกให้มีอยู่จริง (existence) จารนัย (Abduction) สัมพัทธนิยมเชิงวิพากษ์ (Critical Relativism) การอธิบายทางวิทยาศาสตร์สังคม (social scientific) จากบอกเล่าเรื่องราวในการดำเนินชีวิตประจำวัน (everyday accounts)
ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ (The Nature of Science)
ตัวอย่างคำถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ 1) นี่คืออะไร (What Is There?) 2) มันเกิดขึ้นมาได้อย่างไร (How Does It Work?) 3) มันกลายมาเป็นเช่นนี้ได้อย่างไร (How Did It Come To Be This Way?)
4 วิธีการทำงานของวิทยาศาสตร์ (Science Works in 4 Specific Ways) Principles, Processes, Characteristics, & through a Cultural Context
1-วิทยาศาสตร์มีหลักการ (Science has Principles) อธิบายโลกที่เป็นธรรมชาติ (Explain the natural world) ทำการทดสอบสิ่งที่อธิบายด้วยหลักฐานจากโลกของธรรมชาติ (Explanations tested with evidence from the natural world) เราสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับโลกที่เป็นธรรมชาติจากการรวบรวมหลักฐาน (We can learn about the natural world by gathering evidence)
2- วิทยาศาสตร์เป็นกระบวนการ (Science Is A Process) การกล่าวอ้างที่เป็นวิทยาศาสตร์ต้องวางอยู่บนฐานของความเป็นเหตุผล การทดสอบ และคำตอบที่สามารถตรวจสอบได้ (Scientific claims are based on reasoning, testing, and replication; “falsifiable”) สมบูรณ์และเรียบง่าย (Parsimony) “THE” Scientific Method? ทฤษฎีคือหัวใจที่สำคัญของการคิดที่เป็นวิทยาศาสตร์ (Theories are central to scientific thinking.)
3- ลักษณะของวิทยาศาสตร์ (Characteristics of Science) ข้อสรุปที่เชื่อถือได้ และเป็นข้อสรุปชั่วคราวที่อาจเปลี่ยนแปลงใหม่ได้ (Conclusions are reliable, though tentative) วิทยาศาสตร์ ไม่ใช่ ความเห็นของคนส่วนใหญ่ (Science is not democratic) วิทยาศาสตร์ ไม่ยึดติด (Science is non-dogmatic) วิทยาศาสตร์ ไม่ใช่คำสอน หรือข้อสรุปที่สมบูรณ์แบบ (Science cannot make moral or aesthetic decisions.)
4-วิทยาศาสตร์ขึ้นอยู่กับแต่ละบริบทของวัฒนธรรม (Science Exists in a Cultural Context) วิทยาศาสตร์ไม่ใช่ความจริงเสมอไป (Science is not always a direct ascent toward the truth.) วิทยาศาสตร์มีความถูกต้องในตัวของมันเอง (Science corrects itself.) วิทยาศาสตร์ คือ การศึกษาของมนุษย์อันหนึ่ง ที่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลความชอบของสมมติฐานของคนใดคนหนึ่ง และเริ่มมาจากการคิดไว้ล่วงหน้า ((Science is a human endeavor: a) Falling in love with one’s own hypothesis b) Being drawn in by preconceptions)
ลักษณะที่เป็นวิทยาศาสตร์และไม่ใช่วิทยาศาสตร์ (Non-scientific VS ลักษณะที่เป็นวิทยาศาสตร์และไม่ใช่วิทยาศาสตร์ (Non-scientific VS. Scientific characteristics) ด้าน ไม่ใช่วิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิธีการดำเนินการ (General Approach) สัญชาติญาณ (Intuitive) เชิงประจักษ์ (Empirical) การสังเกต (Observation) โดยบังเอิญ, ไม่มีการควบคุม (Casual, uncontrolled) เป็นระบบ, มีการควบคุม (Systematic, controlled) การรายงานผล (Reporting) ลำเอียง, ความคิดเห็น (Biased, subjective) ไม่ลำเอียง, ความจริง (Unbiased, objective) แนวคิด (Concepts) คลุมเครือ, เติมแต่ง (Ambiguous, surplus meaning) ชัดเจน, ความหมายเฉพาะเจาะจง (Clear definition, operational specificity) เครื่องมือ (Instruments) ไม่แม่นยำ, ไม่แน่นอน (Inaccurate, imprecise) แม่นยำ, แน่นอน (Accurate, precise) การวัด (Measurements) ไม่ถูกต้องและไม่เที่ยงตรง (Not valid or reliable) ถูกต้องและเที่ยงตรง (Valid and reliable) สมมติฐาน (Hypothesis) ไม่สามารถทดสอบได้ (Un-testable) ทดสอบได้ (Testable) ความคิดเห็น (Attitude) ไม่สมเหตุผล. เชื่อถือไม่ได้ (Uncritical, accepting) มีเหตุ-ผล, เชื่อถือได้ (Critical, accepting) Not all approaches adhere strictly to the criteria set out above: it depends on the level of analysis being used, which influences the method and the area being investigated.
ปรัชญาและแนวคิดการค้นหาความรู้
แนวคิดหลักของการวิจัยสังคมศาสตร์ แนวคิดเชิงปฏิฐานนิยม (Positivism) แนวคิดเชิงสัจนิยม (Realism) แนวคิดเชิงการตีความ (Interpretism) การอธิบายแบบปฏิฐานนิยมและสัจนิยม -> ได้รับอิทธิพลจากปรัชญาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ การอธิบายแบบตีความ -> ได้รับอิทธิพลจากปรัชญาสังคมศาสตร์
แนวคิดเชิงปฏิฐานนิยม (Positivism)
แนวคิดและวิธีการมองปัญหาของแนวคิดเชิงปฏิฐานนิยม เน้นการพิสูจน์ทฤษฎี ความรู้ที่แท้จริงเกิดจากการสังเกต ถ้าเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้นก่อน และมีเหตุการณ์หนึ่งเกิดตามมาเสมอ ก็แสดงว่าเหตุการณ์แรกเป็นสาเหตุของเหตุการณ์หลังนั่นเอง การที่ปัจจัยหนึ่งนำไปสู่การเกิดปรากฏการณ์หนึ่งอย่างไร ไม่ใช้สิ่งที่จำเป็นต้องอธิบาย เพราะปัจจัยดังกล่าวเชื่อมโยงกันอยู่อย่างสม่ำเสมอ ก็เพียงพอที่จะสรุปความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลได้แล้ว ไม่ยอมรับสิ่งที่ระบุไว้ในทฤษฎีแต่ยังไม่สามารถสังเกตเห็นได้ ต่อต้านสิ่งที่อยู่นอกเหนือหรือไม่อาจจะอธิบายในเชิงกายภาพได้ (metaphysics)
การอธิบายแบบวิทยาศาสตร์ ปรากฏการณ์ที่จะอธิบายได้นั้นต้องมีข้อมูลที่เชื่อได้ชี้ชัดว่าเคยเกิดขึ้นหรือปรากฏอยู่จริง ๆ (requirement of explanatory relevance) หลักการที่จะใช้อธิบายจะต้องมีลักษณะเป็นประโยค ที่สามารถพิสูจน์หรือทดสอบได้ (requirement of testability) คำอธิบายใดที่มีลักษณะนามธรรมจนไม่อาจทดสอบได้ถือว่าไม่มีประโยชน์ต่อการอธิบายแบบวิทยาศาสตร์
องค์ประกอบหลักในการอธิบายแบบวิทยาศาสตร์ ตัวอธิบาย (explanans) ได้แก่ กฎหรือหลักการทั่วไป ซึ่งจะระบุถึงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ต่าง ๆ ในเชิงทฤษฎี ปรากฏการณ์หรือสิ่งที่ถูกอธิบาย (explanadum)
วิธีการหาข้อสรุปแบบวิทยาศาสตร์ การอธิบายตามกฎในเชิงนิรนัย (deductive nomological explanation) ที่ต้องมีลักษณะที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ไว้อย่างตายตัว (deterministic law) ซึ่งสามารถนำไปสู่การหาข้อสรุป (deduction) ได้โดยชัดเจน การอธิบายในเชิงแนวโน้มทางสถิติหรือในแง่ความน่าจะเป็น (statistical or probabilistic explanation) ซึ่งอยู่ใต้ข้อจำกัดของสถานที่และเวลา อันเป็นข้อจำกัดในทางสังคมศาสตร์
แนวคิดเชิงสัจนิยม (Realism)
ที่มาของแนวคิดสัจนิยม สัจนิยมแบบเพลโตหรืออริสโตเติล (Platonic or Aristotelian realism) ที่ยืนยันถึงการดำรงอยู่ของสภาวะที่เป็นนามธรรม (abstract entities) เพลโต -> การดำรงอยู่ของสภาวะที่เป็นนามธรรม ไม่ขึ้นอยู่กับสถานที่และเวลา อริสโตเติล -> การดำรงอยู่ของสภาวะที่เป็นนามธรรม เป็นคุณลักษณะของสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะ สัจนิยมในเชิงการรับรู้ (perceptual realism) เชื่อว่า สรรพสิ่งที่เป็นวัตถุทั้งหลายจะดำรงอยู่ในสถานะและเวลาหนึ่งโดยไม่จำเป็นต้องเกี่ยวกับการรับรู้ของเรา (สิ่งนั้นมีอยู่แม้ว่าเราจะรู้จักหรือไม่) สัจนิยมทางวิทยาศาสตร์ (scientific realism) หรือสัจนิยมด้านปรัชญาความรู้ (epistemological realism) เชื่อว่า สิ่งต่าง ๆ ที่เป็นเป้าหมาย (objects) มีอยู่และดำเนินไปอย่างเป็นอิสระ หรือมีภาวะตามธรรมชาติของตนเอง ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการรับรู้หรือตีความของผู้ศึกษา
การอธิบายปรากฏการณ์ตามแนวคิดแบบสัจนิยม การเชื่อมโยงอย่างสม่ำเสมอของเหตุการณ์ต่าง ๆ สิ่งสำคัญที่ยึดเหนี่ยวเหตุการณ์เหล่านั้นเข้าด้วยกัน อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างเหตุกับผล มุ่งตอบคำถามว่าทำไมเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้น มีอะไรเป็นสาเหตุ และเหตุดังกล่าวนำไปสู่ผลได้อย่างไร
วิธีการอธิบายปรากฏการณ์ตามแนวคิดแบบสัจนิยม วิธีการอธิบายในเชิงทฤษฎี เริ่มจากการพรรณนาสาเหตุของพฤติกรรม พิจารณาแนวการอธิบายต่าง ๆ อย่างละเอียดลออ (elaboration) และกำจัดการอธิบายที่ใช้ไม่ได้ออกไป ระบุให้เห็นกลไกที่ก่อให้เกิดพฤติกรรม วิธีการอธิบายในเชิงปฏิบัติ เริ่มจากแยกแยะองค์ประกอบให้ชัดเจน (resolution) พรรณนาให้เห็นองค์ประกอบ พิจารณาสิ่งที่น่าจะเป็นที่มาขององค์ประกอบดังกล่าว
กระบวนการอธิบายปรากฏการณ์ตามแนวสัจนิยม การเสนอแนวคิดทางทฤษฎี การเก็บรวบรวมข้อมูล การกำจัดทฤษฎีที่เป็นตัวเลือกในการอธิบายอื่น ๆ ออกไป
จุดเน้นของแนวคิดสัจนิยม โครงสร้างของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรหรือกลไกต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงระหว่างเหตุกับผล เน้นการอธิบายในแง่โครงสร้างทางสังคมเป็นหลัก
แนวคิดเชิงการตีความ (Interpretism)
แนวคิดพื้นฐานของการตีความ ความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์ที่มีความหมายอยู่ในตัวของมันเอง และไม่อาจจะอธิบายได้โดยวิธีการของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ทำความเข้าใจ ด้วยการให้ความกระจ่างเกี่ยวกับวิธีที่บุคคลหนึ่งจะเข้าใจการกระทำหรือถ้อยคำหรือสิ่งต่าง ๆ อันมีความหมาย ที่บุคคลอีกคนหนึ่งแสดงออกมา มีลักษณะเป็นวงจรหรือวัฏจักร จากภาพรวมทั้งหมดและการพิจารณารายละเอียด ตีความที่ผู้ตีความเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งที่ตนเองตีความ การแสวงหาความรู้ จะต้องแยกศาสตร์สองด้าน คือวิทยาศาสตร์ธรรมชาติและศาสตร์เกี่ยวกับจิตใจ มนุษย์ หรือวัฒนธรรม
สิ่งที่ใช้ในการตีความ ตัวบท (text) เอกสาร ภาพวาด รูปปั้น ปรากฏการณ์ทางสังคม
แนวการอธิบายเชิงการตีความปลีกย่อย การตีความด้านปฏิสัมพันธ์เชิงสัญลักษณ์ (symbolic interactionism) เน้นพิจารณาว่า ในกระบวนการปฏิสัมพันธ์กันหรือติดต่อตกลงกันระหว่างบุคคลในสถานการณ์ต่าง ๆ นั้น ปรากฏการณวิทยา (phenomenology) มุ่งศึกษาว่า โลกในความคิดของคนหรือในฐานะที่เป็นระเบียบสังคม ซึ่งบุคคลรับรู้ ยอมรับ และให้ความหมายอย่างเดียวกันนั้น ดำรงอยู่ และเปลี่ยนแปลงได้อย่างไรและด้วยวิธีใด วิธีศึกษาเชิงชาติพันธ์ (ethnomethodology) ตีความให้ครอบคลุมตั้งแต่กระบวนการปฏิสัมพันธ์ ความแตกต่างในด้านโลกทัศน์ ความคิดที่เป็นทางเลือกในการทำความเข้าใจการเกิดขึ้น การดำรงอยู่ และการเปลี่ยนแปลงของการจัดระเบียบสังคม
จะตีความเมื่อใด การตีความนั้นสามารถให้ระบบความหมายที่มีแบบแผนชัดเจน ความเข้าใจในแง่ที่เป็นเหตุเป็นผล ความเข้าใจที่เกิดจากการมีความรู้สึกร่วมกับผู้กระทำ ว่าทำไมการกระทำอย่างหนึ่งเกิดขึ้นในเวลาและสถานการณ์หนึ่ง จึงได้จากการเข้าใจผู้กระทำว่าเขาคิดอย่างไรจึงทำเช่นนั้น มีแรงจูงใจอะไรที่ทำให้เขาคิดหรือรู้สึกอย่างนั้น นำมาใช้ในการหาความรู้สึกนึกคิดร่วมของคนในสังคม ในอุดมคติ
เงื่อนไขสิ่งที่นำมาตีความ มีเหตุผลและระเบียบแบบแผนบางอย่างปรากฏชัดเจนจนอยู่ในวิสัยที่พอจะตีความได้ มีความหมายที่แฝงเร้นอยู่ และความหมายนั้นสามารถเข้าใจได้ เป็นความหมายสำหรับคน (subject)
สรุป
สรุปแนวคิดปฏิฐานนิยม ไม่สนใจศึกษาว่าเหตุนำไปสู่ผลได้อย่างไร โดยพิจารณาเฉพาะความเชื่อมโยงอย่างสม่ำเสมอระหว่างตัวแปรที่เกี่ยวข้องเท่านั้น เน้นการทำนายปรากฏการณ์ และถือว่าการอธิบายแยกไม่ออกจากการทำนาย ให้ความสำคัญกับการตั้งสมมุติฐานและพิสูจน์สมมุติฐานโดยอาศัยกฎหรือหลักการทั่วไป เพื่อหาข้อสรุปตามหลักตรรกวิทยาว่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเป็นไปตามกฎหรือหลักเกณฑ์ทั่วไปอย่างคงเส้นคงวาหรือไม่
สรุปแนวคิดสัจนิยม เน้นศึกษาสภาพความเป็นจริงของปรากฏการณ์ที่ศึกษา ให้ความสำคัญเป็นลำดับแรกกับการอธิบายปรากฏการณ์ โดยพยายามชี้ให้เห็นกลไกความสัมพันธ์ระหว่างเหตุกับผลอย่างชัดเจน มีการตั้งสมมุติฐานและการพิสูจน์ที่ซับซ้อนมากกว่า เพราะจะต้องระบุและทดสอบกลไกความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่เกี่ยวข้องให้เห็นชัดเจน และในบางกรณีก็อาจจะแสดงออกมาในรูปของการเสนอและพิสูจน์ตัวแบบก็ได้
สรุปแนวคิดการตีความ ไม่อธิบายหรือทำนาย แต่เป็นการทำความเข้าใจแบบแผนของการเกิดปรากฏการณ์นั้นเป็นกรณี ๆ ไปเท่านั้น ทำความเข้าใจปรากฏการณ์ทางสังคม เป็นการเข้าไปอ่านความหมายหรือรับรู้สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในลักษณะเดียวกับผู้ที่มีบทบาทอยู่ในปรากฏการณ์ กรอบทฤษฎีเป็นแนวทางในการตีความ แต่ไม่เชื่อว่ามีหลักการทั่วไปที่สามารถอธิบายได้กับทุกกรณี เพราะมนุษย์อาจจะแสดงพฤติกรรมเหมือนกัน แต่มีเหตุผลในการกระทำที่ต่างกัน พฤติกรรมอย่างเดียวกันจึงไม่อาจอธิบายโดยอาศัยหลักการทั่วไป แต่จะต้องทำความเข้าใจเป็นกรณี ๆ ไป โดยใช้ความรู้สึกร่วมและจินตนาการ
สรุป นักวิชาการปฏิฐานนิยมและสัจนิยมเป็นโลกของวัตถุ (object) นักวิเคราะห์ในเชิงการตีความเป็นโลกของสิ่งที่มีชีวิตจิตใจ (subject)
เอกสารอ้างอิง บาร์เกอร์, สตีเฟน เอฟ. (2551). ปรัชญาคณิตศาสตร์. (แปลจาก Philosophy of mathematics โดย สิริเพ็ญ พิริยจิตรกรกิจ). กรุงเทพฯ: สำนักงาน คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. อนุสรณ์ ลิ่มมณี. (2542). การอธิบายกับการวิเคราะห์ทางการเมือง: ข้อพิจารณาเบื้องต้นในเชิงปรัชญาสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกร์ มหาวิทยาลัย. Blaikie, Norman. (2010). Designing social research. Cambridge: Polity Press. Creswell, John W. (2007). Qualitative inquiry and research design: choosing among five approaches. 2nd ed. Thousand Oaks : Sage. Glenbrook South High School. The nature of science. [Online]. Available from: http://gbs.glenbrook.k12.il.us/Academics/gbssci/bio/apbio/HTML Presentation folder/NatureScience.ppt Little, Eric. Initial taxonomical structure for upper-level military ontology categories of level 2 and 3 information fusion constructs. Available from: http://www.acsu.buffalo.edu/~eglittle/current research/MIL (PWRPNT).ppt Roger, Wendy Stainton. (2010) Alternative logics of inquiry. [Online]. Available from: http://design.open.ac.uk/research/documents/LogicsofInquiryNov10.ppt McBurney, Donald H. and White, Theresa L.. 2007. Research methods. 7th Australia : Thomson Wadsworth Watson, Colin. Deciding on the research philosophy. Available from: http://www.colinwatsonleeds.co.uk/