13 October 2007 E-mail:wichai@buu.ac.th
Decision Support Systems 13 July 2002 บทที่ 8 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม (Group Decision Support Systems: GDSS) Decision Support Systems Email:wichai@buu.ac.th
การตัดสินใจแบบกลุ่ม (Group Decision) เหตุการณ์มากมายที่เกิดขึ้นกับองค์กร จำเป็นต้องอาศัยการตัดสินใจร่วมกันเป็นกลุ่ม ในอดีตจะต้องนัดประชุม ซึ่งนับได้ว่าสิ้นเปลืองเวลาและค่าใช้จ่าย จึงมีความพยายามที่จะปรับปรุงรูปแบบการประชุมร่วมกันเสียใหม่ โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ และระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม (Group Decision Support Systems: GDSS) ก็เป็นเทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้แก้ปัญหา 13 October 2007 E-mail:wichai@buu.ac.th
เนื้อหา การตัดสินใจแบบกลุ่ม (Group Decision) ระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม (Group Decision Support Systems: GDSS) ความสัมพันธ์ระหว่าง GDSS และ Groupware เทคโนโลยีที่ใช้สนับสนุนการทำงานเป็นกลุ่ม ซอฟต์แวร์ระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม การพัฒนาและความสำเร็จของระบบ GDSS
การตัดสินใจแบบกลุ่ม (Group Decision) ในบางครั้ง การตัดสินใจดำเนินการบางอย่างในองค์กรขนาดใหญ่ อาจไม่สามารถกระทำได้เพียงบุคคลคนเดียว อาจต้องอาศัยการตัดสินใจร่วมกันเป็นกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มของผู้บริหาร หรือผู้ปฏิบัติงาน ข้อดีของการตัดสินใจแบบกลุ่ม คือ ทำให้สามารถเข้าถึงปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจน และช่วยกันระดมสมองเพื่อแก้ปัญหา โดยการสร้างทางเลือกในการแก้ปัญหาขึ้นมาจากกลุ่มบุคคลเหล่านั้น ทำให้สามารถลดปัญหาในการต่อต้านจากบุคคลที่ไม่เห็นด้วยได้
การตัดสินใจแบบกลุ่ม (Group Decision) ข้อเสียของการตัดสินใจแบบกลุ่ม คือ ใช้เวลาในการตัดสินใจยาวนาน กว่าการตัดสินใจเพียงคนเดียว เนื่องจากต้องมีการเสนอความคิดเห็นจากแต่ละบุคคล มีข้อโต้แย้ง จำเป็นต้องมีการทบทวนผลสรุป ตรวจสอบ และรับรองผลสรุป ในขั้นตอนสุดท้าย บ่อยครั้งผู้ร่วมเข้าประชุมบางคนไม่ต้องการให้เสียเวลาในการประชุม ก็อาจให้ความเห็นชอบในข้อสรุปนั้นโดยจำยอม ทั้งที่มีความคิดเห็นแย้งกับข้อสรุปนั้น ซึ่งก็มีความหมายโดยนัยว่าข้อสรุปดังกล่าวอาจไม่ใช่ข้อสรุปที่ดีที่สุดก็เป็นได้
การตัดสินใจแบบกลุ่ม (Group Decision) สรุปข้อเสียของการตัดสินใจแบบกลุ่มได้ ดังนี้ ไม่สามารถสร้างความเข้าใจในเป้าหมายของการแก้ปัญหาได้อย่างสมบูรณ์ สารสนเทศที่ใช้ประกอบการตัดสินใจมีน้อย เนื่องจากต้องรีบหาข้อสรุป ทีมงานบางคนอาจบิดเบือนสารสนเทศที่รวบรวมมาได้ การตัดสินใจร่วมกันเป็นกลุ่ม เป็นรูปแบบการพิจารณาที่มีกระบวนการและขั้นตอนมาก จนส่งผลทำให้การพิจารณานั้นใช้เวลาค่อนข้างยาวนานกว่าการตัดสินใจด้วยคน ๆ เดียว การดำเนินการประชุมจะต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายมากกว่าการตัดสินใจเพียงคนเดียว
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม (Group Decision Support Systems: GDSS) ลักษณะของระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม องค์ประกอบของระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม
ความหมายของ GDSS Huber (1984) : ระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม หมายถึง การผสมผสานการใช้งานระหว่าง ซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ ภาษา และกระบวนการเพื่อสนับสนุน การประชุมของกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง
ความหมายของ GDSS DeSanctis, Gallupe (1987) : ระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม หมายถึง ระบบที่มีการปฏิสัมพันธ์ด้วยคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะอำนวยความสะดวกให้กลุ่มคนในเรื่องการตัดสินใจแก้ปัญหาที่ไม่มีโครงสร้าง ดังนั้นองค์ประกอบของระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม จึงต้องประกอบด้วย ซอฟต์แวร์ ฮารด์แวร์ ผู้ใช้ และกระบวนการที่ใช้สนับสนุนการดำเนินการประชุม จนสามารถทำให้การประชุมเป็นไปได้ด้วยดี
ลักษณะของระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม 1. เป็นระบบสารสนเทศที่ถูกออกแบบขึ้นโดยเฉพาะ ซึ่งไม่ใช่การนำองค์ประกอบต่าง ๆ ที่มีอยู่แล้ว มาประยุกต์ใช้แต่จะต้องสร้างขึ้นมาใหม่จึงจะเรียกว่าเป็นระบบ GDSS 2. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม ถูกออกแบบมาโดยมีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงกระบวนการตัดสินใจขององค์ประชุม 3. ถูกออกแบบมาเพียงเพื่อต้องการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า หรือแก้ไขปัญหาทั่วไปก็ได้
ลักษณะของระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม 4. ง่ายต่อการเรียนรู้ และใช้งานได้สะดวก และให้ความหลากหลายกับผู้ใช้ในแต่ละระดับ 5. มีกลไกที่ให้ผลในเรื่องของการปรับปรุงจุดบกพร่องที่เกิดจากพฤติกรรมของผู้เข้าร่วมประชุม เช่น การทำให้ผู้เข้าร่วมประชุมเข้าใจในความหมายต่าง ๆ ตรงกัน 6. ต้องออกแบบให้ระบบสามารถกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมต่างๆ เช่น กระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ แนวความคิดที่แตกต่าง และ การมีอิสระทางความคิด เป็นต้น
องค์ประกอบของระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม GDSS Software Database Model Base Processor User Interface Procedure
องค์ประกอบของระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ซอฟต์แวร์ (Software) ผู้ใช้ (User) กระบวนการ (Procedure)
ฮาร์ดแวร์ (Hardware) เครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับผู้เข้าร่วมประชุม (Client) เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนกลาง (Server) ประกอบด้วยฐานข้อมูล และฐานแบบจำลอง ที่ทุกคนสามารถเข้าถึง หรือป้อนข้อมูล แล้วสามารถแสดงข้อมูลให้ผู้ร่วมประชุมได้ ห้องประชุม อุปกรณ์เชื่อมโยงเครือข่าย อินทราเน็ต (Intranet) หรือ อินเทอร์เน็ต (Internet)
ซอฟต์แวร์ (Software) ซอฟต์แวร์ของระบบ GDSS โปรแกรมต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่สนับสนุนการทำงานส่วนบุคคล กลุ่ม กระบวนการทำงาน และสามารถทำหน้าที่เฉพาะด้าน 1. มีความสามารถในการสรุปข้อคิดเห็น และการลงคะแนนของสมาชิกในกลุ่มได้ทั้งในรูปของตัวเลขและกราฟิก 2. มีความสามารถในการคำนวณแนวโน้มของความเป็นไปได้แต่ละทางเลือก 3. มีความสามารถในการส่งผ่านข้อความ และข้อมูลระหว่างสมาชิกในกลุ่มได้ รวมถึงการอำนวยความสะดวกในการค้นหา และเรียกข้อมูลออกมาใช้ได้ด้วย
ผู้ใช้ (User) ผู้ใช้ (User) คือ ผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด รวมถึงผู้ประสานงาน หรือผู้ดำเนินการประชุม ซึ่งทำหน้าที่ขับเคลื่อนให้การประชุมดำเนินการไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กระบวนการ (Procedure) คือ ขั้นตอนและวิธีการดำเนินการประชุม ที่จะทำให้การประชุม ดำเนินการได้อย่างดี มีประสิทธิภาพ และได้ผลลัพธ์ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้
ความสัมพันธ์ระหว่าง GDSS และ Groupware
ความสัมพันธ์ระหว่าง GDSS และ Groupware อาจเรียก Groupware ว่า “Computer-Supported Cooperative Work: CSCW หรือ “Group Support System: GSS ระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม (GDSS) มีความเกี่ยวข้องกับ “DSS” และ “Groupware” กล่าวคือ GDSS เป็น DSS ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม ไม่ใช่สนับสนุนการตัดสินใจของผู้ใช้เพียงคนเดียว ดังนั้น GDSS เป็นประเภทหนึ่งของ DSS sinv GDSS เป็นสับเซ็ท (Subset) ของ DSS
เทคโนโลยีที่ใช้สนับสนุนการทำงานเป็นกลุ่ม เทคโนโลยีที่ใช้สนับสนุนการทำงานเป็นกลุ่ม ในบางครั้ง ก็ต้อง ขึ้นอยู่กับเวลา (Time) และสถานที่ (Place) ที่สมาขิกจะประชุม ซึ่ง เทคโนโลยีส่วนใหญ่ ก็จะเกี่ยวข้องกับการเอื้ออำนวยต่อการ ส่งผ่านข้อมูลและสารสนเทศระหว่างสมาชิกในกลุ่ม จึงได้มีการจัดทำตารางเมตริกซ์ 2 มิติ มาอธิบาย มิติที่ 1 แนวตั้ง (Column) แทนเวลา แบ่งเป็นเวลาเดียวกัน และต่าง เวลากัน และมิติที่ 2 แนวนอน (Row) แทนสถานที่ แบ่งเป็นสถานที่เดียวกัน และต่างสถานที่กัน
เทคโนโลยีที่ใช้สนับสนุนการทำงานเป็นกลุ่ม เวลาเดียวกัน (Same Time) ต่างเวลา (Different Time) สถานที่เดียวกัน (Same Place) -ห้องประชุม -ไวท์บอร์ด -ใช้ไฟล์ข้อมูลร่วมกัน -Web-based GSS -Workflow Management System -Email ต่างสถานที่กัน (Different Place) -โทรศัพท์ -การประชุมทางไกล -เครื่องแฟกซ์
เทคโนโลยีที่ใช้สนับสนุนการทำงานเป็นกลุ่ม Same Time/Same Place เวลาและสถานที่เดียวกัน หมายถึง การที่ สมาชิกในกลุ่มได้มีการพบปะเพื่อทำงานร่วมกันในสถานที่เดียวกัน และในเวลาเดียวกัน ซึ่งลักษณะดังกล่าวนี้ไม่จำเป็นต้องอาศัย เทคโนโลยีที่ทันสมัยใด ๆ เนื่องจากเป็นลักษณะการประชุมแบบ ดั้งเดิม Same Time/Different Place เวลาเดียวกันแต่ต่างสถานที่กัน หมายถึง การที่สมาชิกอยู่ต่างสถานที่กันแต่จะต้องติดต่อสื่อสารเพื่อ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในเวลาเดียวกัน ในกรณีนี้อาจ จำเป็นต้องเลือกใช้เทคโนโลยีที่ช่วยให้สมาชิกในกลุ่มสามารถ ติดต่อสื่อสารกันได้
เทคโนโลยีที่ใช้สนับสนุนการทำงานเป็นกลุ่ม 3. Different Time/Same Place ต่างเวลาแต่สถานที่เดียวกัน หมายถึง การทำงานเป็นกะนั่นเอง สมาชิกในกลุ่มหนึ่งทำงานในกะหนึ่ง จากนั้นจะฝากข้อมูลบางอย่างไว้เพื่อให้สมาชิกอีกกลุ่มมา ดำเนินงานต่อไป ในกรณีนี้ต้องอาศัยเทคโนโลยีที่สามารถจดจำ หรือจัดเก็บข้อมูลการทำงานก่อนหน้าไว้ได้ 4. Different Time/Different Place ต่างเวลาและสถานที่กัน หมายถึง สมาชิกในกลุ่มอยู่ต่างสถานที่กันและการแลกเปลี่ยนข้อมูล สารสนเทศนั้นก็ต่างเวลากันด้วย ในกรณีนี้จะเกิดขึ้นเมื่อสมาชิก ต้องออกไปทำงานนอกสถานที่ มีตารางงานที่ไม่ตรงกัน ซึ่งต้อง อาศัยเทคโนโลยีที่สามารถสนับสนุนการรับส่งข้อมูลได้
เทคโนโลยีที่ใช้สนับสนุนการทำงานเป็นกลุ่ม ระบบการประชุมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Meeting System) ระบบส่งข้อความและจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail and Messaging System) ระบบปฏิทินและตารางนัดหมายกลุ่ม (Group Calendaring and Scheduling) ระบบการติดตามผลการทำงาน (Workflow System)
Electronic Meeting System ระบบการประชุมอิเล็กทรอนิกส์ เป็นระบบที่สนับสนุนการทำงานเป็น กลุ่มในลักษณะของการประชุมทั้งที่เป็นการประชุมทางไกลหรือประชุมใน เวลาและสถานที่เดียวกัน โดยต้องประกอบไปด้วยเครื่องมือที่เป็นทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ ระบบการประชุมอิเล็กทรอนิกส์ที่สมาชิกผู้ร่วมประชุมอยู่ในเวลาและ สถานที่เดียวกัน จำเป็นต้องประกอบไปด้วย 1. ห้องประชุมอิเล็กทรอนิกส์ หรือห้องตัดสินใจ (Electronic Room/Decision Room) ก็สามารถจัดได้ว่าเป็น “ห้องสำหรับการตัดสินใจเป็น กลุ่ม” ได้ ภายในห้องจะมีการติดตั้งอุปกรณ์ทั่วไป และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ จะประกอบกันขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกในการประชุมให้ได้มากที่สุด
Electronic Meeting System 2. ซอฟต์แวร์สนับสนุนการประชุม ควรจะช่วยให้ผู้ประชุมสามารถวางแผนงาน แสดงหัวข้อการประชุม บันทึกการประชุม แสดงตารางปฏิทินนัดหมาย ใช้ไฟล์ข้อมูลร่วมกันได้ ในระหว่างการประชุมซอฟต์แวร์ควรช่วยให้ผู้ประชุมสามารถจัดการกับข้อคิดเห็นของตนเองได้ 3. อุปกรณ์ทั่วไป และฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ ที่จะทำหน้าที่เป็นเครื่องลูกข่ายและเครื่องแม่ข่าย อุปกรณ์เชื่อมต่อระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่จะทำให้ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้หรือสามารถเชื่อมโยงกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ และสามารถส่งสัญญาณภาพและเสียงจากสมาชิกที่ร่วมประชุมแต่อยู่ต่างสถานที่กันมาแสดงบนจอภาพส่วนกลางได้
Electronic Meeting System การประชุมอิเล็กทรอนิกส์สามารถจัดการประชุมได้ 3 รูปแบบ แบบที่ 1 Chauffered Style รูปแบบนี้ในการประชุม จะมีบุคคลเพียงคนเดียวที่ เป็นผู้ใช้และควบคุมการใช้งานซอฟต์แวร์ บุคคลดังกล่าวจะเรียกว่า “Chauffer” (โชเฟอร์) โดยจะทำการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ เข้ากับเครื่อง คอมพิวเตอร์ลูกข่ายของสมาชิกคนอื่น ๆ สมาชิกคนอื่นในกลุ่มจะไม่สามารถ จัดการหรือใช้งานซอฟต์แวร์และระบบคอมพิวเตอร์ได้ การแสดงความ คิดเห็นหรือการโต้แย้งใด ๆ จะใช้การพูด จากนั้น Chauffer จะบันทึกและ แสดงผลความคิดเห็นบนจอภาพของสมาชิกทุกคนเหมือนกัน เสมือนเป็น จอภาพกลาง ในระหว่างการประชุม Chauffer จะเป็นผู้จัดการวาระการประชุม และบันทึกการประชุมดังแสดงในจอภาพกลาง
Electronic Meeting System แบบที่ 2 Support Style ลักษณะนี้จะคล้ายกับ Chaufered Style แต่จะต่างกันตรงที่ในแบบ Support สมาชิกทุกคนสามารถใช้งานซอฟต์แวร์ของระบบประชุมได้อย่างอิสระ สามารถบันทึกการประชุมเป็นส่วนตัวได้สามารถจัดการกับหน่วยความจำของเครื่องได้ การประชุมในลักษณะนี้การแสดงความคิดเห็นจะมีลักษณะผสมผสานทั้งแบบการพูดและการพิมพ์ข้อคิดเห็นในระบบคอมพิวเตอร์
Electronic Meeting System แบบที่ 3 Interactive Style สมาชิกทุกคนสามารถใช้ซอฟต์แวร์และระบบ คอมพิวเตอร์ได้อย่างเต็มความสามารถและอย่างอิสระ สามารถบันทึกการ ประชุมของตนเองได้ สามารถจัดการแสดงความคิดเห็นให้ปรากฎบนจอภาพ กลางโดยไม่ระบุชื่อของความคิดเห็นนั้นได้ สมาชิกสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ และสามารถดึงจอภาพกลางมาแสดงที่จอภาพของตนเองได้ สำหรับองค์กรที่มีการใช้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่มหรือ GDSS ควบคู่ไปกับ Groupware ในลักษณะการประชุมอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าว องค์กรจะต้องพิจารณาถึงสมาชิกผู้เข้าร่วมประชุมการตัดสินใจแบบกลุ่มทั้งใน แง่ของเวลาและสถานที่
Electronic Mail and Messaging System เป็นระบบที่ใช้เพื่อการส่งข้อความและจดหมายแบบอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากสมาชิกสามารถฝากข้อความหรือจดหมายไว้ในตู้จดหมายของสมาชิกอีกคนหนึ่งได้ Groupware ลักษณะนี้จะถูกเลือกใช้เมื่อสมาชิกในกลุ่มต้องทำงานต่างสถานที่และเวลากัน ไม่สามารถโต้ตอบกันได้แบบตัวต่อตัวหรือเห็นหน้ากัน
Group Calendaring and Scheduling เป็นระบบปฏิทินแสดงเวลานัดหมายแบบอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการทำงานแบบกลุ่ม ที่อาศัยซอฟต์แวร์ที่สามารถจัดการตารางนัดหมายและแสดงปฏิทินเวลาได้ สมาชิกในกลุ่มจะต้องใช้ซอฟต์แวร์ชนิดเดียวกันจึงจะสามารถเรียกดูปฏิทินตารางเวลานัดหมายของสมาชิกคนอื่น ๆ ได้พร้อมกัน โดยที่ไม่จำเป็นต้องใช้โทรศัพท์เพื่อสอบถามวันและเวลาที่ว่างของสมาชิกนั้น ๆ เลย
Workflow System Workflow System
ซอฟต์แวร์ระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม การติดตั้งซอฟต์แวร์นั้น ต้องติดตั้งมากกว่า 1 โปรแกรม และแต่ละโปรแกรมก็จะมีความสามารถเฉพาะตัวต่างกัน ในที่นี้ ขอยกตัวอย่างซอฟต์แวร์บางผลิตภัณฑ์ GroupSystem for Windows VisionQuest SAMM Lotus Domino/Notes Netscape Communicator TCBWorks Expert Choice
การพัฒนาและความสำเร็จของระบบ GDSS การเลือกซอฟต์แวร์ที่ใช้ติดตั้งในห้องประชุม การพัฒนากระบวนการที่เหมาะสมกับการประชุม การฝึกอบรมบุคลากรที่ทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในที่ประชุม (Facilitator Training) การจัดวางองค์ประกอบข้างต้นให้ลงตัว
ปัจจัยสู่ความสำเร็จของระบบ GDSS ปัจจัยสู่ความสำเร็จของระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม ตัวอย่างประสบการณ์การดำเนินงานด้านการวางระบบสนับสนุนการ ตัดสินใจแบบของกลุ่มบริษัท IBM ซึ่งได้พบข้อบ่งชี้ถึงความสำเร็จในการ สร้างระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม ซึ่งต้องเกี่ยวข้องกับปัจจัยต่าง ๆ มากมาย ดังต่อไปนี้ จะต้องพิจารณาถึงตัวองค์กรที่เป็นผู้ว่าจ้างให้พัฒนาระบบ GDSS ขึ้น พิจารณาว่าผู้บริหารคนใดที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้สนับสนุนการ ปฏิบัติงานของผู้พัฒนาระบบ เพื่อจะได้ติดต่อกับผู้บริหารคนนั้นได้ทันที พิจาณาถึงความรู้สึกสะดวกสบายของผู้เข้าร่วมการประชุมในกรณีที่ต้อง นั่งประชุมกันเป็นเวลานาน ๆ
ปัจจัยสู่ความสำเร็จของระบบ GDSS ปัจจัยสู่ความสำเร็จของระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม พิจารณาเงินที่ลงทุนไป กับประโยชน์ที่ได้รับกลับมาว่าคุ้มค่ากันหรือไม่ อย่างไร พิจารณาถึงซอฟต์แวร์ที่ใช้ในห้องตัดสินใจ ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในระบบ GDSS จะต้องมีส่วน Interface ที่น่าสนใจ ดึงดูดให้ผู้ใช้รู้สึกดีในขณะใช้งาน ระบบ GDSS ต้องมีความสามารถที่ทำให้ผู้เข้าร่วมประชุม เสนอ ข้อคิดเห็นต่าง ๆ ได้โดยไม่ต้องระบุนาม สามารถกำหนดให้ระบบ GDSS เลือกที่จะสนับสนุนการประชุมได้ หลากหลายประเด็น
ปัจจัยสู่ความสำเร็จของระบบ GDSS ปัจจัยที่เกี่ยวกับการออกแบบ (Design) - พิจารณาให้มีการส่งเสริมการตัดสินใจอย่างไม่มีโครงสร้างได้ - สามารถออกความคิดเห็น หรือลงคะแนนเสียงได้โดยไม่ต้อง ออกนาม - สามารถจัดการผลกระทบที่เกิดจากการร่วมประชุมโดยบุคคล หลายระดับ ตั้งแต่ระบบผู้บริหารระดับสูงลงไปจนถึงผู้บริหาร ระดับล่าง - ให้ระบบสามารถใช้ได้โดยง่าย
ปัจจัยสู่ความสำเร็จของระบบ GDSS ปัจจัยที่เกี่ยวกับการนำระบบไปใช้ (Implementation) - จัดเตรียมการฝึกอบรมวิธีใช้ให้ครอบคลุมระบบ GDSS อย่างทั่วถึง - ต้องเป็นระบบที่สร้างขึ้นเพื่อการทำงานของผู้บริหารระดับสูงเท่านั้น - จัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกในการประชุมอย่างครบครัน - สามารถทดลองควบคุมระบบ GDSS ได้ เพื่อความแน่ใจใน ประสิทธิภาพการทำงานจริงเมื่อถึงเวลาประชุม
ปัจจัยสู่ความสำเร็จของระบบ GDSS ปัจจัยที่เกี่ยวกับการจัดการระบบ (Management) - ผู้ใช้ต้องสามารถมั่นใจในประสิทธิภาพการทำงานของระบบได้ กล่าวคือ ระบบจะต้องทำงานได้โดยไม่มีข้อผิดพลาด - ต้องจัดการปรับปรุงให้ระบบมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นอยู่เสมอ โดยนำ Feedback ที่ได้จากการประชุมที่ผ่านมาในแต่ละครั้ง มาปรับปรุงวิธีการใหม่ ๆ อยู่เสมอ - ทีมงานที่ดูแลระบบ GDSS ขององค์กรจะต้องหมั่นตรวจสอบความ ทันสมัยของเทคโนโลยีให้เข้ากับยุคสมัยอยู่เสมอ
การพัฒนาและความสำเร็จของระบบ GDSS การออกแบบ (Design) การประยุกต์ใช้ (Implementation) การจัดการ (Management)
การออกแบบ (Design) รองรับการตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้างได้ รองรับการแสดงความคิดเห็น หรือลงคะแนนเสียงโดยไม่ออกนาม รองรับการจัดการกับผู้ใช้ในหลาย ๆ ระดับ ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูง ถึงระดับล่าง ใช้งานง่าย
การนำระบบไปใช้ (Implementation) มีการฝึกอบรมวิธีใช้ให้ครอบคลุมระบบ GDSS จัดทำระบบเพื่อการทำงานของผู้บริหารเท่านั้น จัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกในการประชุมอย่างครบถ้วน มีการทดสอบระบบ เพื่อให้แน่ใจในประสิทธิภาพการทำงาน เมื่อถึงเวลาประชุมจริง
การจัดการ (Management) ระบบต้องมีความน่าเชื่อถือ ต้องมีการปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ ต้องมีการพัฒนาระบบให้ทันสมัยอยู่เสมอ
สรุป การตัดสินใจแบบกลุ่ม (GDSS) เป็นระบบสนับสนุนการตัดสินใจที่มีผู้ร่วมกระบวนการตัดสินใจมากกว่าหนึ่งคน ส่งผลดีในการแก้ไขปัญหา เนื่องจากทุกคนสามารถระดมความคิดระหว่างกันแต่ก็อาจใช้เวลานานในการประชุม เพื่อให้ได้ข้อสรุปสำหรับแก้ปัญหาหนึ่ง ๆ และยังอาจก่อให้เกิดข้อขัดแย้งในการลงคะแนนเสียงสำหรับกรรมการผู้เข้าร่วมประชุมอีกด้วย GSS หรือ GDSS เป็นระบบที่ต้องนำเทคโนโลยีทั้งด้าน Hardware และ Software มาช่วยสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม เพื่อขจัดปัญหาการลงคะแนนเสียง เรื่องเวลา และเรื่องสถานที่ ลดความขัดแย้งในการประชุม 5 April 2014 E-mail:wichai@buu.ac.th
สรุป Groupware จึงถูกใช้เป็นเครื่องมือในการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม ซึ่งมี Software หลายชนิดที่จัดเป็น Groupware การเรียนรู้ทางไกล(DL) ก็เป็นอีกระบบหนึ่งของการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม สามารถประยุกต์ใช้ได้ในองค์กรในการฝึกอบรมพนักงาน (Training) และใช้กับองค์กรด้านการศึกษาระหว่างผู้เรียนและผู้สอนที่อยู่ต่างสถานที่ / ต่างเวลากัน มีข้อดีและประโยชน์มากมาย ในขณะเดียวกันก็มีข้อเสียและผลกระทบอื่นตามมาด้วย 5 April 2014 E-mail:wichai@buu.ac.th
สรุป การตัดสินใจแบบกลุ่ม (GDSS) เป็นระบบสนับสนุนการตัดสินใจที่มีผู้ร่วมกระบวนการตัดสินใจมากกว่าหนึ่งคน ส่งผลดีในการแก้ไขปัญหา เนื่องจากทุกคนสามารถระดมความคิดระหว่างกันแต่ก็อาจใช้เวลานานในการประชุมเพื่อให้ได้ข้อสรุปสำหรับแก้ปัญหาหนึ่ง ๆ และยังอาจก่อให้เกิดข้อขัดแย้งในการลงคะแนนเสียงสำหรับกรรมการผู้เข้าร่วมประชุมอีกด้วย GSS หรือ GDSS เป็นระบบที่ต้องนำเทคโนโลยีทั้งด้าน Hardware และ Software มาช่วยสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม เพื่อขจัดปัญหาการลงคะแนนเสียง เรื่องเวลา และเรื่องสถานที่ ลดความขัดแย้งในการประชุม 5 April 2014 E-mail:wichai@buu.ac.th
5 April 2014 E-mail:wichai@buu.ac.th
คำถามท้ายบทที่ 8 1. จงบอกเหตุผล ข้อดีและข้อเสียของการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม 2. GDSS จำเป็นและสำคัญอย่างไรต่อผู้บริหาร 3. อธิบายความสัมพันธ์ของ Groupwork กับ Groupware จงแนะนำเทคโนโลยี (Hardware) ที่นำเข้ามาใช้ในการสนับสนุนการทำงานกลุ่ม 4. จงค้นหารายละเอียดและความสามารถของโปรแกรม (Software) ที่สนับสนุนการทำงานกลุ่ม มา 2 โปรแกรม โดยให้ค้นหา (Search) ข้อมูลจาก Web Site และทำการสรุป 5 April 2014 E-mail:wichai@buu.ac.th
ความคิดเห็นที่หลากหลาย 13 October 2007 E-mail:wichai@buu.ac.th
ส วั ส ดี 5 April 2014 E-mail:wichai@buu.ac.th 27 March 2001 E-mail: wichai@bucc4.buu.ac.th