ประวัติศาสตร์กฎหมายไทย เอกสารประกอบการสอน (1) ภาคเรียนที่ 1 /2557 รองศาสตราจารย์ ดิเรก ควรสมาคม คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ
ประโยชน์ของวิชาประวัติศาสตร์กฎหมายไทย 1. รู้รากฐาน ความเป็นมา สภาพของสังคม ประเพณีวัฒนธรรมไทยในอดีต แนวคิดวิธีการของคนในสังคม 2.ทำให้รู้ถึงวิวัฒนาการของกฎหมายในอดีต ในอารยธรรมต่างๆ เปรียบเทียบกับของไทย 3. จะทำให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องในหลักกฎหมายเบื้องหลังตัวบทหรือเจตนารมณ์กฎหมาย ส่งผลต่อการใช้การตีความกฎหมายได้อย่างถูกต้อง 4. ทราบถึงที่มารูปแบบและบริบทการเมือง รูปแบบการปกครองของแต่ละประเทศ เข้าใจความสัมพันธ์ของผู้ปกครองกับราษฎรในอดีต ตลอดจนลักษณะวิวัฒนาการเกี่ยวกับรัฐ ข้อดีข้อเสียต่างๆ ประโยชน์ต่อตนเอง ประโยชน์ต่อสังคม ประโยชน์ต่อประเทศชาติ
ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของกฎหมายในอารยธรรมโลก บาบิโลน (1500 B.C.) กรีก (1000 -146 ปีก่อนคริสตกาล) โรมัน : (753 ก่อนคริสตกาล B.C. – ค.ศ.476) จีน: (683 ก่อนคริสตกาล) อินเดีย : ศาสนาพราหมณ์ (ฮินดู) พุทธศาสนา
อารยธรรม :แหล่งความเจริญที่เป็นรากฐาน ตะวันตก บาบิโลน อียิปต์ กรีก โรมัน ยุโรป อเมริกา ตะวันออก จีน อินเดีย ไทย
อารยธรรม :แหล่งความเจริญที่เป็นรากฐาน สมัยโบราณ สมัยกลาง สมัยใหม่ อียิปต์/ บาบิโลน กรีก 1000-146 BC โรมัน 753BC-476CE ยุคกลาง ในยุโรป 500 CE -1500CE ยุคใหม่ 1600CE พระพุทธเจ้า 623-543 BC. (ก.พ.ศ.80-0) พระเยซู 1 CE ฮิจเราะห์ ศักราช 622 CE หลังยุคใหม่ (Post Modern) 1900CE อารยธรรม สินธุ
ยุโรปยุคฟื้นคืนชีพ1500 CE ศาสนจักรเหนืออาณาจักร สายความคิดตะวันตก อียิปต์/บาบิโลน ยุคโบราณ ยุคกลาง ยุคใหม่ 1600-1900CE ยุโรปตอนต้น500 CE ยุโรปยุคมืด 600-1100 CE ยุโรปยุคฟื้นคืนชีพ1500 CE กรีก 1000-146 BC โรมัน 753 BC – 476 CE อาณาจักรเหนือศาสนจักร ศาสนจักรเหนืออาณาจักร สินธุ 2600-1500 BC พราหมณ์ พระพุทธเจ้า 623-543 BC (ก.พ.ศ.80-0) พระเยซูคริสต์ 1 CE ฮิจเราะห์ศักราช 622CE 6
บาบิโลน (1500 B.C.) พระเจ้าฮัมมูราบี (Hummourabi) Hummourabi Code ส่วนอาญา(ลักทรัพย์ ทำร้ายร่างกาย) ส่วนแพ่ง(การยืม การเรียกร้องเกี่ยวกับหนี้ ครอบครัว) ส่วนที่เกี่ยวกับบ้านเมืองคือ บทบัญญัติเกี่ยวกับฐานะและหน้าที่ของอำมาตย์ ข้าราชการ
กษัตริย์ฮัมมูราบี Hammurabi 1810-1750 ปีก่อนคริสตกาล Hammurabi Code
กรีก (1000 -146 ปีก่อนคริสตกาล) กรีก (1000 -146 ปีก่อนคริสตกาล) รูปแบบการปกครองนครรัฐ (Polis หรือ City state) โซลอน (Solon) โดยให้สิทธิพลเมืองเอเธนส์ ชายเข้าร่วมประชุมสภาราษฎร/สภาประชาชน (Assembly/Ecclesia) -กฎหมายบังคับให้บิดาสอนบุตรของตนให้ทำการค้าขาย -กฎหมายห้ามการส่งพืชผลทุกชนิดออกนอกประเทศ เว้นแต่น้ำมันมะกอก ซึ่งมีอยู่มาก -กฎหมายจำกัดเสรีภาพของหญิง เช่น ห้ามไม่ให้ออกนอกบ้านเวลากลางคืน
กรีก (1000 -146 ปีก่อนคริสตกาล) กรีก (1000 -146 ปีก่อนคริสตกาล)
กรีก โสเครติส (Socrates) วิธีการสอนโดยการให้ตั้งคำถาม ความรู้คู่คุณธรรมการปกครองที่ดีควรมาจากบุคคลคนเดียวหรือกลุ่มบุคคล โดยบุคคลนั้นต้องมีความสามารถและมีจริยธรรมสูง (เน้นคุณธรรมจริยธรรม) เพลโต้ (Plato) The Republic Philosopher King -ผู้ปกครองจะต้องมีสติปัญญาความรู้ความสามารถสูง ในลักษณะเป็นพระราชาผู้เป็นนักปราชญ์/ราชาปราชญ์ (Philosopher King) -ผู้ปกครองคนเดียวที่มีความสามารถและมีศีลธรรม(ราชาปราชญ์/รัฐบุรุษ) ย่อมดีกว่าผู้ปกครองหลายคนที่ไม่มีการศึกษาและศีลธรรม อริสโตเติ้ล (Aristotle) ชีวิตที่ดีต้องมีความสามารถที่จะเลือกในสิ่งที่ถูกต้อง หรือต้องมีคุณธรรม การใช้กฎหมายเป็นหลักมากกว่าเน้นบุคคล (Rule of law) แนวคิดกฎหมายธรรมชาติ (Natural law) งานเขียน Politics (การเมือง)
ราชอาณาจักรโรมัน การปกครอง ระบบกษัตริย์ คือ การปกครอง ระบบกษัตริย์ คือ กษัตริย์โรมิวลุส (Romulus) และแผ่ขยายอำนาจออกไปจนถึงยุคกษัตริย์อีทรัสกัน ซึ่งถูกโค่นล้มโดยขุนนางในราวปี 509 ก่อนคริสต์ศักราช
2.สาธารณรัฐโรมัน ชนชั้นขุนนางเรียกว่า กงสุล (Consuls) เป็นผู้ปกครอง มีสภาขุนนาง (สภาซีเนท) มีการแบ่งชนชั้น -ชนชั้นสูง เรียกว่า พาทรีเชียน (Prtrician) -ชนชั้นต่ำ เรียกว่า เพลเบียน (Plebeian) กฎหมายของพลเมืองโรมันที่เรียกว่า Jus Civile กฎหมายของสามัญชนกับคนต่างด้าวเรียกว่า Jus Gentium กฎหมายสิบสองโต๊ะ(Twelve Table law)
ยุคจักรวรรดิโรมัน การรบและมีดินแดนครอบครองกว้างขวาง จักรพรรดิ ออกุสตุส (Augustus) นักกฎหมายสำคัญคือ อัลเปียน (Ulpian) “กฎหมายมหาชนคือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของรัฐโรมัน” จักรพรรดิจัสติเนียน = ประมวลกฎหมายจัสติเนียน หรือ ประมวลกฎหมายโรมัน (Corpus Juris Civilis) อิทธิพลของศาสนาคริสต์ (ยิว) เริ่มแผ่เข้ามา
อารยธรรมจีน 683 ก่อนคริสตกาล ระเบียบชุมชน การสำรวจสัมมะโนครัว และว่าด้วยการสมรส กฎหมายมหาชน = ราชสำนักและขุนนาง จอหงวน เปาปุนจิ้น
อารยธรรมอินเดีย ชมพูทวีป ก่อนพุทธกาลและถึงพุทธกาล แว่นแคว้น 16 แห่ง -แคว้นมคธ(เมืองราชคฤห์) แคว้นกาสี (เมืองพาราณสี) แคว้นโกศล (เมืองสาวัตถี) แคว้นวัชชี(เมืองเวสาลี) แคว้นวังสะ (เมืองโกสัมพี)
การปกครอง แคว้นมคธ ราชาธิปไตย พระเจ้าพิมสาร แคว้นวัชชี กษัตริย์ลิจฉวี การปกครองแบบสามัคคีธรรม (คณราช) หลักมีส่วนในการปกครองหรือหลักสามัคคีธรรม (หลักอปริหานิยธรรม)
พระเจ้าอโศกมหาราช (พ.ศ.218 -260) อาณาจักรมคธ พระเจ้าอโศกมหาราช (พ.ศ.218 -260) การเอาชนะโดยการรบการสงคราม การเอาชนะด้วยธรรม เรียกว่า “ธรรมวิชัย” หมายความว่า การเอาชนะด้วยธรรม ด้วยความดี การศาสนา - สร้างวัด การศึกษา -มหาวิทยาลัยนาลันทา สาธารณูปโภคและสาธารณูปการ โรงพยาบาลคน สัตว์ สร้างถนนหนทางเชื่อมโยงกัน ปลูกต้นไม้ ขุดบ่อน้ำ สร้างที่พักคนเดินทาง สร้างอ่างเก็บน้ำ
2. การแบ่งวรรณะหรือชนชั้นต่างๆ พราหมณ์ ความไม่เสมอภาค 2.1 วรรณะพราหมณ์ 2.2 วรรณะกษัตริย์ 2.3 วรรณะแพศ 2.4 วรรณะศูทร พุทธ ไม่มีการแบ่งชนชั้น ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน (หลักความเสมอภาค) คนทุกคนเป็นมนุษย์เหมือนกัน แต่มนุษย์ทุกคนไม่มีใครเหมือนกัน
หลักประพฤติปฏิบัติสำหรับผู้ปกครอง ทศพิศราชธรรมหรือราชธรรม 10 1.ทาน หมายถึง การให้ 2. ศีล หมายถึงความประพฤติต่อผู้อื่น 3. ปริจจาคะ หมายถึง การบริจาค 4.อาชชวะ หมายถึง ความซื่อสัตย์ ซื่อตรง 5.มัททวะ หมายถึง ความอ่อนโยน 6.ตบะ หมายถึง ความเพียรหรือขยันหมั่นเพียร 7.อักโกธะ หมายถึง ความไม่โกรธ 8.อวิหิงสา หมายถึง ความไม่เบียดเบียน 9.ขันติ หมายถึง ความอดทน ต่อความยากลำบาก 10.อวิโรธนะ หมายถึง ความไม่คลาดธรรม หรือความเที่ยงธรรม มาจากไหน ??