งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

อารยธรรมกรีก โดย วรพร พรหมใจรักษ์ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนสงวนหญิง.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "อารยธรรมกรีก โดย วรพร พรหมใจรักษ์ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนสงวนหญิง."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 อารยธรรมกรีก โดย วรพร พรหมใจรักษ์ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนสงวนหญิง

2 1.สภาพภูมิศาสตร์ 1.1 ภาคเหนือ ได้แก่ แคว้นมาซิโดเนีย (Macedonia) เทสซาลี (Thessaly) และอิไพรัส (Epirus)  1.2 ภาคกลาง ได้แก่ บริเวณที่เป็นเนินเขาสูง เป็นที่ตั้งของนครทีบส์ (Thebes) นครเดลฟี (Delphi) ช่องเขาเทอร์มอปิเล (Thermopylae) และยอดเขาพาร์แนสซัส (Parnassus) ซึ่งเป็นที่ สถิตของอะพอลโล (Apollo) หรือสุริยเทพ ตรงปลายสุดของด้านตะวันออก คือ แคว้นอัตติกา (Attica) ซึ่งมีเมืองหลวง คือ นครเอเธนส์ (Athens) แหล่งกำเนิดการปกครองระบอบประชาธิปไตย 1.3 บริเวณคาบสมุทรเพโลพอนนีซัส (Peloponnesus) อยู่ตอนใต้อ่าว คอรินท์ เป็นที่ตั้งของนครรัฐสปาร์ตา (Sparta) ที่มีชื่อเสียงด้านการรบ และ โอลิมเปีย (Olympia) ซึ่งเป็นที่สิงสถิตของบรรดาเทพเจ้ากรีก

3 แผนที่กรีกโบราณ

4 2. ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ที่ส่งผลต่ออารยธรรมกรีก
 ภูมิประเทศของกรีก ประกอบด้วย ภูเขา พื้นดิน และทะเล  โดยกรีกมีพื้นที่ราบ น้อย พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา และหมู่เกาะในทะเลอีเจียน ประชาชนอาศัยอยู่ตาม หมู่บ้านในบริเวณที่ราบเล็กๆ ในหุบเขาที่ล้อมรอบด้วยภูเขาสูง ซึ่งเป็นอุปสรรค สำคัญในการติดต่อสื่อสาร ซึ่งสภาพภูมิศาสตร์เช่นนี้ทำให้แยกชุมชนต่างๆออกจาก กัน ส่งผลให้แต่ละเมืองแตกแยกเป็นนครรัฐต่าง ๆ มากมายซึ่งเป็นอิสระไม่ขึ้นแก่ กัน นครรัฐที่สำคัญได้แก่ นครรัฐเอเธนส์ และนครรัฐสปาร์ตา พื้นดินส่วนใหญ่ของ กรีกขาดความอุดมสมบูรณ์และมีพื้นดินขนาดเล็ก ประกอบกับมีแม่น้ำสายสั้น ๆ น้ำไหลเชี่ยวและพัดพาเอาความอุดมสมบูรณ์ของดินไป และจากลักษณะภูมิ ประเทศที่มีลักษณะคล้ายแหลมยื่นไปในทะเล ทำให้กรีกมีชายฝั่งทะเลที่ยาว ซึ่ง ความเว้าแหว่งของทะเลเป็นที่กำบังคลื่นลมได้เป็นอย่างดี ใช้เป็นอ่าวสำหรับจอด เรือ ทำให้ชาวกรีกเป็นคนชอบค้าขายทางทะเล นอกจากนี้ดินแดนกรีกยังเป็น ดินแดนที่มีทรัพยากรธรรมชาติมากมาย เช่น เหล็ก ทอง เงิน หินอ่อน เป็นต้น

5 3. อารยธรรมเริ่มต้นของกรีก
3.1 อารยธรรมไมนวน (Minoan Civilization) เป็นอารยธรรมที่ เกิดขึ้นที่เกาะครีต โดยมีชาวครีตหรือชาวครีตันเป็นชนพื้นเมืองของเกาะ นี้  กษัตริย์ที่มีอำนาจมากที่สุด คือ พระเจ้ามินอส พระราชวังที่สำคัญ คือ พระราชวังคนอสซุส

6 ภาพแสดง วิถีชีวิตของ ชาวไมโนน

7 ความเสื่อมของอารยธรรมไมโนน
1) เกิดจากการปะทุของภูเขาไฟที่ทำลายเมือง 2) การรุกรานของพวกไมซินีจากแผ่นดินใหญ่ ภาพเฟรสโกภายในพระราชวัง (ภาพที่ลงสีขณะปูนยังเปียกอยู่)

8 3.2 อารยธรรมไมซินี (Mycenae Civilization)
 เป็นอารยธรรมของพวกไมซีเนียน มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองไมซีเนบนคาบ สมทรเพโลพอนนีซัส โดย บรรพบุรุษของชาวไมซีเนียน คือ พวกเอ เคียน  มีความสามารถในการรบและการค้า ซึ่งพวกนี้โจมตีเกาะครีต ทำลายพระราชคนอสซุส และได้สร้างเมืองไมซีเนขึ้น ซึ่งมีป้อมปราการที่ แข็งแรง ทำให้พวกเอเคียนมีชื่อใหม่ว่าไมซีเนียนตามชื่อเมือง ต่อมาพวก เอเคียนได้ไปทำสงครามกับเมืองทรอยในสงครามโทจัน เนื่องจากเมือง ทรอยตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเอเชียไมเนอร์ ซึ่งเป็นคู่แข่ง ทางการค้ากับเมืองไมซีเนจนสำเร็จ   มรดกของอารยธรรมไมซีเน คือ การนับถือเทพเจ้าหลายองค์รวมทั้งเทพ เจ้าซุส (Zeus) เฮรา (Hera) และโพไซดอน เป็นต้น   ความเสื่อมของอารยธรรมไมซีเน คือถูกพวกดอเรียนซึ่งเป็นชาวกรีกเผ่า หนึ่งเข้ามารุกรานจนทำให้ความเจริญหยุดลงชั่วขณะ

9 แผนที่แสดงที่ตั้งของอารยธรรมไมซีนี

10 4. กรีกยุคมืด   เนื่องจากการขาดหลักฐานการเขียนทำให้ความรู้เกี่ยวกับยุคนี้ถูก จำกัด โดยสงครามเป็นเหตุให้เศรษฐกิจกรีกพินาศ ซึ่งสร้างความ ยากจนและสับสน ทางการเมืองอันยาวนาน  กษัตริย์ไมซีเนียนถูก แทนที่ด้วยหัวหน้าเล็ก ๆ ผู้มีอำนาจและทรัพย์สินจำกัด ศิลปินหยุด การวาดคนและสัตว์บนหม้อไห กรีกเพาะปลูกในพื้นดินน้อยนิด มีคน มาตั้งถิ่นฐานน้อย และการค้าสากลน้อยกว่าที่เคยมีมาก่อน ซึ่ง เรื่องราวต่าง ๆ ของกรีกยุคมืดปรากฏอยู่ในวรรณกรรมมุขปาฐะ เรื่องมหากาพย์อิเลียด และโอดิสซี ของมหากวีโฮเมอร์ (Homer) ซึ่งมหากาพย์อิเลียดเป็นเรื่องเกี่ยวกับการทำสงครามกับทรอย ส่วน มหากาพย์โอดิสซีเป็นเรื่องเกี่ยวกับชัยชนะจากการทำสงครามกับ ทรอย

11 สงครามเมืองทรอย ต้นเหตุ ของ สงคราม เมือง ทรอย เกิดจาก คำตัดสิน ของ เจ้าชาย ปารีส

12 พระนางเฮเลนพระชายากษัตริย์เมเนลอสแห่งสปาร์ตา

13  5. อารยธรรมของกรีก  5.1 อารยธรรมเฮเลนิก (Hellenic Civilization) หรือยุคคลาสสิก (Classical Age) ในสมัยนี้มีการสร้างอาณานิคมเกิดขึ้น มีการปฏิรูปทาง เศรษฐกิจและผู้นำชุมชนเริ่มตั้งสภาและกลุ่มต่าง ๆ เพื่อ จัดกิจกรรมสาธารณะที่อกอรา ซึ่งเป็นที่พบปะสังสรรค์กัน ของผู้คนในนครรัฐ ซึ่งยุคคลาสสิคนี้ได้เกิดนครรัฐขนาด ใหญ่ 2 นครรัฐ ได้แก่ นครรัฐสปาร์ตา และนครรัฐเอเธนส์

14 นครรัฐสปาร์ตา ชาวสปาร์ตาเป็นชาตินักรบ เนื่องจากต้องต่อสู้เพื่อให้ได้ ครอบครองลาโคเนียและเมอซีเนีย และเพื่อป้องกันการกบฏของ ลาโคเนียและเมอซีเนีย ชาวสปาร์ตาจึงต้องสร้างกองทัพให้ เข้มแข็ง จึงทำให้ชาวสปาร์ตากลายเป็นชาตินักรบ มีการปกครอง แบบคณาธิปไตย และเนื่องจากสภาพภูมิประเทศของ ชาว    สปาร์ตาไม่มีท่าเรือที่ดี และตั้งอยู่อย่างโดดเดี่ยวขนาบ ด้วยภูเขาจึงทำให้ชาวสปาร์ตาขาดการติดต่อจากโลกภายนอก และยังเป็นผลให้สปาร์ตาเป็นรัฐที่มีความสามารถในการรบอีก ด้วย

15 นครรัฐเอเธนส์ เนื่องจากชาวเอเธนส์อพยพแบบค่อยเป็นค่อยไปเข้ามาในคาบสมุทรกรีก และสภาพ ภูมิประเทศของชาวเอเธนส์มั่งคั่งด้วยแร่ธาตุและท่าเรือที่ดี จึงทำให้มีพัฒนาการ ทางด้านการค้าและมีความเจริญทางด้านวัฒนธรรม จึงทำให้นครรัฐแห่งนี้ปกครอง ด้วยระบอบประชาธิปไตย ทำให้ชาวเอเธนส์เป็นนักประชาธิปไตย และรัก ความก้าวหน้า

16 สงครามในยุคคลาสสิค (เฮเลนิค)
1.สงครามเปอร์เซีย สาเหตุเกิดจากความขัดแย้งระหว่างเอเธนส์กับเปอร์เซีย เพราะเปอร์เซียขยายอำนาจเข้ามาในเอเชีย ไมเนอร์ ผลของสงคราม คือ เอเธนส์ชนะเปอร์เซีย 2. สงครามเพโลพอนเนเชียน                ชาวกรีกเกิดความคิดในการเตรียมการป้องกันชาวเปอร์เซีย นครรัฐต่างๆ ของกรีกจึงต่าง เข้ามาเป็นสมาชิก และสมาชิกแต่ละนครรัฐมีสิทธิเท่าเทียม ทำให้นครรัฐกรีกร่วมกันตั้งสหพันธ์แห่ง เกาะเดลอส  สหพันธรัฐใช้เป็นศูนย์กลางและเป็นที่เก็บทรัพย์สมบัติ แต่ในความเป็นจริงแล้วนครรัฐ เอเธนส์มีอิทธิพลในการเป็นผู้นำ ต่อมาสหพันธรัฐเปลี่ยนสภาพเป็นจักรวรรดิของเอเธนส์ เอเธนส์ใช้ เงินเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง  ลดฐานะสมาชิกอื่น ๆ ให้อยู่ในฐานะบริวาร และห้ามไม่ให้รัฐ สมาชิกแยกตัวออกจากสหพันธ์ เมื่อรัฐใดก่อกบฏก็จะใช้กำลังปราบโดยยึดกองทหารเรือและเก็บ เครื่องราชบรรณาการ วิธีนี้ทำให้นครรัฐสปาร์ตากลัวว่า เอเธนส์จะเป็นผู้นำกรีกทั้งหมด และ เนื่องจากสภาพสังคมของทั้ง 2 รัฐแตกต่างกัน จึงทำให้เกิดสงครามขึ้น ผลของสงคราม คือ นคร รัฐสปาร์ตาชนะ ทำให้นครรัฐสปาร์ตาได้เอเธนส์ไว้ในอำนาจ และนำระบอบการปกครองแบบ คณาธิปไตยมาใช้ แต่การปกครองของสปาร์ตาไม่มั่นคงจึงทำให้นครรัฐสปาร์ตาพ่ายแพ้ต่อกองทัพ ของนครธีบีสและเอเธนส์ ในที่สุดกรีกทั้งหมดก็ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของมาซิโดเนีย

17  5.2 อารยธรรมเฮเลนิสติก เป็นช่วงที่นครรัฐต่างๆ ของกรีก เสื่อมลง เนื่องมาจากสงครามเพโล พอนเนเชียน  และแคว้นมาซิโดเนีย เจริญขึ้น โดยแคว้นมาซิโดเนียมี กษัตริย์องค์สำคัญ ได้แก่ พระเจ้าฟิ ลิปที่ 2 ได้นครรัฐกรีกไว้ในอำนาจ และกษัตริย์องค์ต่อมา คือ พระเจ้าอ เล็กซานเดอร์มหาราช ได้ทำการ ปลดปล่อยหัวเมืองกรีกต่างๆ บน เอเชียไมเนอร์ให้พ้นจากการ ปกครองเปอร์เซีย

18 6. มรดกทางอารยธรรมกรีก  6.1 สถาปัตยกรรม ใช้ระบบโครงสร้างแบบเสาและคาน แผนผังอาคารเป็นรูป สี่เหลี่ยมผืนผ้า มีการสร้างเสารายรอบอาคาร ซึ่งจะมีความแตกต่างตรงหัวเสา สามารถแบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ แบบดอริก (Doric) แบบไอโอนิก (Ionic) และแบบคอรินเธียน (Corinthian) และส่วนใหญ่ยังนิยมก่อสร้างอาคารเพื่อ กิจกรรมสาธารณะ เช่น วิหาร สนามกีฬา และโรงละคร วิหารที่มีชื่อเสียง สร้างบน ภูเขาที่มีชื่อเรียกว่า อะครอโพลิส (Acropolis) คือ วิหารพาร์เธนอน สร้างเพื่อ ถวายแด่เทพีอะธีนา (Athena)

19 6.2 ประติมากรรม ส่วนใหญ่เป็นรูปปั้นเทพเจ้าที่มีลายเส้นกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นคล้ายมนุษย์ที่มีชีวิต ดูเป็นธรรมชาติ

20 6.3 จิตรกรรม ส่วนใหญ่เป็นลวดลายที่ปรากฏบนเครื่องปั้นดินเผา เช่น แจกัน คนโท ไห ฯลฯ และฝาผนังที่พบในวิหารหรือกำแพง

21  6.4 นาฏกรรม ละครประเภทโศกนาฏกรรม (Tragedy) และสุขนาฏกรรม (Comedy) การแสดงจะใช้นักแสดงชายทั้งหมด โดยทุกคนจะสวมหน้ากาก และมีผู้พากย์และ หมู่นักร้อง (Chorus) ส่งเสียงประกอบ

22  6.5 วรรณกรรม วรรณกรรมที่โดดเด่น ได้แก่ มหากาพย์ของโฮเมอร์เรื่อง อีเลียด และ โอดิสซี ที่สะท้อน ถึงความรู้สึกที่กวีมีต่อโศกนาฏกรรมในสงครามทรอย (Troy) นอกจากนี้ยังให้ ข้อมูลทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับสถานที่ที่สำคัญ ประเพณี วิถีชีวิต และความคิดของ ชาวกรีกด้วย

23  6.6 ปรัชญา  6.6.1 โซเครติส (Socrates) เกิดที่เธนส์ เขาสอนให้คนใช้เหตุผลและสติปัญญาในการ แสวงหาความจริงเกี่ยวกับชีวิตมนุษย์ วิธีสอน ของเขาเรียกว่า “Socretic method” ไม่เน้นการท่องจำแต่ใช้วิธีตั้งคำถามโดยไม่ ต้องการคำตอบ (Inquiry) แต่ให้ผู้ถูก ถามขบคิดปัญหาเพื่อหาคำตอบด้วยตนเอง แม้โซเครติสมีลูกศิษย์มากมาย แต่ก็ไม่มี ผลงานเขียนของตนเอง ดังนั้นปรัชญา และ ทฤษฎีของเขาที่รู้จักจึงเป็นผลงานที่ถ่ายทอด โดยลูกศิษย์ของเขา

24  เมื่อโซเครตีสอายุได้ 70 ปี เมลิตุส (Melitus) อะนิตุส (Anytus) และลีคอน (Lycon) ซึ่งรับคำบงการมาจากผู้มีอำนาจของกรุงเอเธนส์ ได้ตั้งตัวเป็นโจทก์ยื่นฟ้องโซเคร ตีสด้วยข้อหา 3 กระทงคือ ไม่นับถือเทพเจ้าของรัฐ สร้างเทพเจ้าใหม่ และชักนำเยาวชนให้มี ความคิดกระด้างกระเดื่องต่อบ้านเมือง ข้อกล่าวหาทั้งหมดนี้หามีมูลความจริงไม่และไร้ซึ่งความ ยุติธรรมต่อโซเครตีสที่สุด และในที่สุดเขาถูกตัดสินให้ประหารชีวิตด้วยการดื่มยาพิษ

25 6.6.2 เพลโต (Plato) เป็นศิษย์เอกของ โซเครติส เป็นผู้รวบรวมหลักคำสอนของโซเค รติส เรียกว่า Dialogue และเป็นผู้ ถ่ายทอดหลักการและความคิดของโซเครติส ให้ชาวโลกได้รับรู้ เพลโตได้เปิดโรงเรียนชื่อ “อะคาเดมี” (Academy) และได้เขียน หนังสือที่สะท้อนแนวคิดเกี่ยวกับการ ปกครอง การศึกษา ระบบยุติธรรม ผลงานที่ โดเด่นจนทำให้ได้รับยกย่องว่าเป็นบิดาแห่ง ปรัชญาการเมืองสมัยใหม่คือหนังสือชื่อ สาธารณรัฐ (Republic) ซึ่งเสนอ แนวคิดในการปกครองประเทศและมีอิทธิพล ต่อความคิดทางการเมืองของผู้คนทั่วโลก

26 6.6.3 อริสโตเติล (Aristotle) เป็นทั้งนักปรัชญาและ นักวิทยาศาสตร์ เขาเป็นศิษย์ของ เพลโตและเคยเป็นอาจารย์ของ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช อริสโตเติลเป็นทั้งนักปราชญ์และ นักวิจัย ซึ่งนอกจากปรัชญาทาง การเมืองแล้ว เขายังสนใจ วิทยาการใหม่ๆด้วย เช่น ชีววิทยา ฟิสิกส์ ดาราศาสตร์ หลักตรรกศาสตร์ วาทกรรม จริย ศาสตร์ ฯลฯ ผลงานที่โดดเด่น ของเขาคือหนังสือชื่อ การเมือง (Politics) โรงเรียนของเขามี ชื่อว่า Lyceum

27 6.7ประวัติศาสตร์         กรีก เป็นชาติแรกในโลกตะวันตกที่เริ่มศึกษาประวัติศาสตร์ตามแบบวิธีการทาง ประวัติศาสตร์ โดยนักประวัติศาสตร์กรีกคนแรกที่เริ่มเขียนงาน ประวัติศาสตร์และได้รับการ ยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งวิชาประวัติศาสตร์ของโลกตะวันตก คือ เฮโรโดตัส (Herodotus) นอกจากนี้ยังมี ทูซิดิดีส (Thucydides) ซึ่งมีงานเขียน คือ The Peloponnesian War ซึ่งเป็นงานเขียนบันทึกเหตุการณ์ทาง ประวัติศาสตร์ด้วยวิธีการของนักวิชาการเป็นครั้งแรกเป็นชาติแรกในโลกตะวันตกที่เริ่ม ศึกษาประวัติศาสตร์ตามแบบวิธีการทางประวัติศาสตร์ โดยนักประวัติศาสตร์กรีกคนแรกที่ เริ่มเขียนงาน ประวัติศาสตร์และได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งวิชาประวัติศาสตร์ของโลก ตะวันตก คือ เฮโรโดตัส (Herodotus) นอกจากนี้ยังมี ทูซิดิดีส (Thucydides) ซึ่งมีงานเขียน คือ The Peloponnesian War ซึ่ง เป็นงานเขียนบันทึกเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ด้วยวิธีการของนักวิชาการเป็นครั้งแรก

28 เฮโรโดตัส บิดาแห่งประวัติศาสตร์

29 ทูซิดิดีส (Thucydides

30 6.8 คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์
นักคณิตศาสตร์เด่นของกรีก ได้แก่ ปิทาโกรัสแห่งเมืองซามอส ผู้ คิดค้นทฤษีบทปิทาโกรัส ยูคลิดแห่งเมืองอะเล็กซานเดรีย ผู้คิด เรขาคณิตแบบยูคลิด และเขียนหนังสือชุด Elements ซึ่งมี จำนวน 13 เล่ม เนื้อหาส่วนใหญ่กล่าวถึงเรขาคณิตระนาบและ เรื่องสัดส่วน อาร์คิมีดีสแห่งเซียราคิวส์ เป็นผู้คิดระหัดวิดน้ำแบบ เกลียวลูกกรอกชุด ตั้งกฎของคานดีดคานงัด และพบวิธีการหา ปริมาตรของวัตถุโดยการแทนที่น้ำ

31 ปิทากอรัส ยูคลิด และ อาร์คิมืดิส
ปิทากอรัส ยูคลิด และ อาร์คิมืดิส

32 6.9 การแพทย์ ฮิปโปเครตีส (Hippocrates) ได้รับ การยกย่องเป็น “บิดาแห่ง การแพทย์” ซึ่งค้นพบว่าโรคร้าย ต่างๆที่เกิดขึ้นเกิดจาก ธรรมชาติ ไม่ใช่การลงโทษของ พระเจ้า เขาเชื่อว่าวิธีการรักษา ที่ดีที่สุดคือ การควบคุมด้าน โภชนาการและการพักผ่อน นอกจากนี้ยังเป็นผู้ริเริ่มการ ผ่าตัด และการกำหนดหลัก จรรยาแพทย์ที่ถือปฏิบัติต่อมา จนถึงปัจจุบัน

33 6.10 ดาราศาสตร์และภูมิศาสตร์
เอราทอสทินีส (Eratosthenes) ที่เชื่อว่าโลกกลม สามารถคำนวณความ ยาวรอบโลกได้ และยัง ค้นพบว่าการขึ้นลงของ กระแสน้ำเกิดจาก อิทธิพลของดวงจันทร์


ดาวน์โหลด ppt อารยธรรมกรีก โดย วรพร พรหมใจรักษ์ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนสงวนหญิง.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google