โรงเรียนธนรัตน์วิทยา

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
บทที่ 5 การดำรงชีวิตของพืช
Advertisements

Nickle.
Animal cell.
การบริหารการค้าปลีกและการค้าส่ง
เป็นอาหารที่มีคุณค่า
การรักษาดุลยภาพในร่างกาย
เซลล์ (Cell).
การรักษาดุลยภาพของเซลล์
ผัก.
โครเมี่ยม (Cr).
องค์ประกอบของร่างกายมนุษย์ เนื้อหา 1.1 โครงสร้างร่างกายมนุษย์ 1.2 ระบบอวัยวะ.
แบบจำลองอะตอม ครูวนิดา อนันทสุข.
ALLPPT.com _ Free PowerPoint Templates, Diagrams and Charts.
การออกแบบและเทคโนโลยี
กระบวนการ สังเคราะห์ด้วยแสง
นางสาวศิวพร แพทย์ขิม เอกสุขศึกษา กศ. บ. คณะพลศึกษา.
หน่วยที่ 1 ข้อมูลทางการตลาด. สาระการเรียนรู้ 1. ความหมายของข้อมูลทางการตลาด 2. ความสำคัญของข้อมูลทางการตลาด 3. ประโยชน์ของข้อมูลทางการตลาด 4. ข้อจำกัดในการหาข้อมูลทาง.
ดิน สมบัติ ของดิน ลักษณะ ของดิน ประโยชน์ ของดิน ฐานความช่วยเหลือด้านความคิดรวบยอด สถานการณ์ปัญหาที่ 2.
บทที่ 3 เซลล์ของสิ่งมีชีวิต
Gas Turbine Power Plant
บทที่ 2 ดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต
สมัยกลาง (EARLY MEDIVAL)
ความเค้นและความเครียด
เซลล์และองค์ประกอบสำคัญของเซลล์
ระดับความเสี่ยง (QQR)
การบัญชีต้นทุนช่วง (Process Costing).
การรักษาดุลภาพของเซลล์
มาทำความรู้จักกับ เห็ดปลวกฟาน.
ความหมายของเลเซอร์ เลเซอร์ คือการแผ่รังสีของแสงโดยการกระตุ้นด้วยการขยายสัญญาณแสง คำว่า Laser ย่อมาจาก Light Amplification by Stimulated Emission of Radiation.
บทที่ 4 เซลล์ของสิ่งมีชีวิต
บทที่ 8 การควบคุมโครงการ
เรื่อง ศึกษาตัวกลางที่เหมาะสมกับการชุบแข็งของเหล็กกล้าคาร์บอน
หลักการแต่ง คำประพันธ์ประเภท โคลง. หลักการแต่ง คำประพันธ์ประเภท โคลง.
วิธีการกรอกแบบเสนอโครงการในไฟล์ Power point นี้
บัตรยิ้ม สร้างเสริมกำลังใจ
โดย ศรีปัญญา ม่วงเพ็ชร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
ฝ่ายการดำเนินงานในโรงแรม
ยาที่ใช้ในโรคไตเรื้อรัง (Pharmacotherapy in CKD) ประกอบการประชุมอบรมพัฒนาศักยภาพพยาบาล หน่วยปฐมภูมิ เขต 3 ภญ.จันทกานต์ อภิสิทธิ์ศักดิ์ กลุ่มงานเภสัชกรรม.
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
โครงการจัดทำระบบฐานข้อมูล วัตถุเสพติดของกลาง (ระยะที่1)
แผ่นดินไหว.
โครงสรางพื้นฐานของเซลล
บทที่ 12 โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก
Delirium พญ. พอใจ มหาเทพ 22 มีนาคม 2561.
วิลเลี่ยม ฮาร์วี่ ได้กล่าวว่า..."ความเชื่อเปลี่ยนแปลงได้เสมอ   แต่ความจริงไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้" 
คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate)
SMS News Distribute Service
YRC LANNA LOCAL WISHDOM
มาทำความรู้จักกับ เห็ดหนังช้าง.
โปรตีน กรดอะมิโนหลายโมเลกุล จะยึดเหนี่ยวกันด้วยพันธะเพปไทด์
การผุพังอยู่กับที่ โดย นางสาวเนาวรัตน์ สุชีพ
วัฏจักรหิน วัฏจักรหิน : วัดวาอาราม หินงามบ้านเรา
อ.ณัฐวัฒน์ ธนสารโชคพิบูลย์
การแบ่งเซลล์ แบบไมโทซิส
บทที่ 9 การเรียงลำดับข้อมูล (Sorting)
ระบบย่อยอาหาร.
การออกแบบและนำเสนอบทเรียน
มะเร็งปากมดลูก โดย นางจุฑารัตน์ กองธรรม พยาบาลวิชาชีพ รพ.สต.บ้านโนนแต้
Structure of Flowering Plant
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การกำหนดประเด็นปัญหา
การแบ่งเซลล์ (CELL DIVISION)
กราฟการเติบโตของสิ่งมีชีวิต
สถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ
ปฏิกิริยาเคมีในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต
โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีถนนรีไซเคิลเพื่อลดขยะพลาสติกใน 4 ภูมิภาค
ทายสิอะไรเอ่ย ? กลม เขียวเปรี้ยว เฉลย ทายสิอะไรเอ่ย ? ขาว มันจืด เฉลย.
หน้าที่ของ - ไนโตรเจน (เอ็น) - ฟอสฟอรัส (พี) - โพแทสเซียม (เค)
กระดาษทำการ (หลักการและภาคปฏิบัติ)
ใบสำเนางานนำเสนอ:

โรงเรียนธนรัตน์วิทยา เซลล์ของสิ่งมีชีวิต คุณครูอรรถกร ถายะเดช โรงเรียนธนรัตน์วิทยา 1

การค้นพบเซลล์สิ่งมีชีวิต โครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์ การค้นพบเซลล์สิ่งมีชีวิต ลักษณะและรูปร่างของเซลล์ โครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์ แบบทดสอบ

การค้นพบเซลล์สิ่งมีชีวิต

อันตน ฟัน เลเวนฮุก (Anton Van Leewenhock) นักวิทยาศาสตร์ชาวดัทซ์เป็นผู้ประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์เป็นคนแรก  เขาใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องดูหยดน้ำ  ทำให้ค้นพบสิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าเป็นครั้งแรก

รอเบิรต์ ฮุก (Robert Hooke) นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษได้ประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์ที่มีกำลังขยายสูงประมาณ  270  เท่า ในปีพ.ศ.2208  มาใช้ศึกษาชิ้นไม้คอร์กที่ฝานเป็นแผ่นบาง ๆพบว่าชิ้นไม้คอร์ก ประกอบไปด้วยช่องขนาดเล็กมากมายเรียงติดกัน  ช่องเหล่านี้มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมเกือบกลม  เขาเรียกแต่ละช่องนั้นว่า เซลล์ ( cell)  ซึ่งแปลว่า  ห้องว่าง

ดิวโทรเชท์(Dutrochet)

รอเบิรต์ บราวน์(Robert Brown)

มัดทิอัส ยาคบชไลเดน( Matthias Jakob Schleiden)

เทโอดอร์ ชวานน์ (Theoder Schwann)

ทฤษฏีเซลล์ ชวานน์และชไลเดน  จึงรวมกันตั้งทฤษฏีเซลล์ขึ้นมาซึ่งมีใจความสำคัญว่า “ สิ่งมีชีวิตทั้งหลายประกอบด้วยเซลล์  และเซลล์คือหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด”

สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ เซลล์ของสิ่งมีชีวิต สิ่งมีชีวิตมีทั้งสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวและสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ เซลล์ของสิ่งมีชีวิตเหล่านี้จะมีลักษณะและรูปร่างแตกต่างกัน ดังนี้ สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์

สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว สิ่งมีชีวิตที่มีเซลล์เพียงเซลล์เดียวเรียกว่าสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว  สิ่งมีชีวิตเหล่านี้มีขนาดเล็กมากมองด้วยตาเปล่าไม่เห็นการศึกษาต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องดู สามารถทำกิจกรรมทุกอย่างที่สิ่งมีชีวิตทั่ว ๆ ไปทำได้เช่นเคลื่อนไหวกินอาหาร  สืบพันธุ์  เช่น อะมีบา พารามีเซียม ยูกลีนา

อะมีบา รูปร่างไม่แน่นอน เคลื่อนที่โดยใช้ ขาเทียม อะมีบา   รูปร่างไม่แน่นอน  เคลื่อนที่โดยใช้ ขาเทียม

พารามีเซียม พารามีเซียม รูปร่าง เรียวยาว  คล้ายรองเท้าแตะ  มีขนรอบ ๆ  ตัว  และใช้ขนในการเคลื่อนที่

ยูกลีนา ยูกลีนารูปร่างรียาว  มีแฟลกเจลลา( แส้) อยู่บริเวณด้านบนซึ่งใช้ในการเคลื่อนที่

สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ สิ่งมีชีวิตที่มีเซลล์หลายเซลล์มารวมกันเป็นรูปร่างโดยแต่ละเซลล์จะมีรูปร่างและหน้าที่แตกต่างกันแต่มีการทำงานประสานกันของเซลล์ทั้งหมดที่ประกอบกันเป็นรูปร่างอันมีผลทำให้สิ่งมีชีวิตนั้น ๆสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้  นอกจากนั้นเซลล์ใหม่จะเกิดจากกระบวนการแบ่งเซลล์ของเซลล์ที่มีชีวิตอยู่ก่อน และเซลล์ใหม่จะได้รับการถ่ายทอด ลักษณะทางพันธุกรรม จากเซลล์เดิมด้วยเรียกสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ว่า  สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์  ได้แก่ พืช  สัตว์  มนุษย์  และ เห็ดรา   เซลล์ของสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ที่มีขนาดเล็กมาก  มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ตัวอย่างเช่น เซลล์เม็ดเลือดแดงของกบและปลา เซลล์เม็ดเลือดแดงของคน เซลล์เม็ดเลือดขาวของคน เซลล์คุมของพืช

เซลล์เม็ดเลือดแดงของกบและปลา เซลล์เม็ดเลือดแดงของกบและปลามีรูปร่างรีเป็นรูปไข่และมีนิวเคลียสใหญ่อยู่ตรงกลาง ทำหน้าที่ลำเลียงแก๊สไปยังเซลล์ต่างของร่างกาย                   

เซลล์เม็ดเลือดแดงของคน เซลล์เม็ดเลือดแดงของคนมีรูปร่างกลมแบน  ตรงกลางเว้าเข้าหากัน   ไม่มีนิวเคลียส เพื่อเพิ่มพื้นที่ผิวในการแลกเปลี่ยนแก๊สและลำเลียงแก๊ส                    

เซลล์เม็ดเลือดขาวของคน เซลล์เม็ดเลือดขาวของคน   มีรูปร่างกลม  ไม่มีสี มีขนาดใหญ่กว่าเซลล์เม็ดเลือดแดง  แต่มีจำนวนน้อยกว่า  มีนิวเคลียสขนาดใหญ่ทำหน้าที่ทำลายเชื้อโรค      

เซลล์คุมของพืช เซลล์คุม    มีรูปร่างคล้ายเมล็ดถั่ว  1  คู่ประกบกัน   ทำให้เกิดรูตรงกลาง   เป็นทางแลกเปลี่ยนแก๊สและไอน้ำระหว่างภายในและภายนอกใบซึ่งเซลล์คุมนี้จะไม่พบในพืชใต้น้ำ

โครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์ เซลล์พืชและเซลล์สัตว์ถึงแม้จะมีลักษณะและรูปร่างแตกต่างกัน  ขึ้นอยู่กับชนิดและการทำหน้าที่ของเซลล์  แต่ก็มีโครงสร้างพื้นฐานหรือส่วนประกอบที่สำคัญภายในเซลล์คล้ายคลึงกัน  ดังภาพ โครงสร้างพื้นฐานส่วนใหญ่คล้ายกัน  คือประกอบด้วย  3  ส่วนใหญ่ ๆ ดังนี้ ส่วนที่ห่อหุ้มเซลล์ ไซโทพลาซึม นิวเคลียส

เยื่อหุ้มเซลล์( cell membrane หรือplasma membrane) ส่วนที่ห่อหุ้มเซลล์ ผนังเซลล์  (cell  wall)  เยื่อหุ้มเซลล์( cell membrane หรือplasma membrane)

ผนังเซลล์ ผนังเซลล์  (cell  wall)  เป็นผนังแข็งแรงอยู่ชั้นนอกสุด  มีลักษณะเป็นรูพรุนยอมให้สารผ่านเข้าออกได้สะดวกประกอบขึ้นจากสารเซลลูโลส (cellulose) เป็นสำคัญ  ช่วยให้เซลล์พืชแข็งแรงทนทานอยู่ได้นานนับปี  แม้ว่าเซลล์อาจตายไปแล้วก็ตาม  และถ้านำเซลล์พืชแก่  ๆ ไปแช่ในน้ำกลั่น  เซลล์ก็จะไม่แตก  เพราะผนังเซลล์มีแรงต้านสูง   ส่วนเซลล์ของสัตว์ไม่มีผนังเซลล์แต่เซลล์สัตว์บางชนิดอาจมีสารเคลือบเยื่อหุ้มเซลล์ได้  ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิดของเซลล์นั้น ๆ ตัวอย่างเช่นเปลือกกุ้ง กระดองปู มีสารเคลือบพวกไกลโคโปรตีน( glycoprotein)  เซลล์ของพวกไดอะตอม  มีสารเคลือบเป็นพวกซิลิกา  สารเคลือบเหล่นนี้มีประโยชน์ทำให้เซลล์คงรูปร่างได้

เยื่อหุ้มเซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์  ( cell  membrane  หรือ  plasma  membrane)   อยู่ถัดจากผนังเซลล์เข้ามา  มีลักษณะเป็นเยื่อบาง ๆ เหนียวประกอบด้วยสารประเภทไขมันและโปรตีน รวมกัน  เรียกว่า  ไลโพโปรตีนเยื่อหุ้มเซลล์มีรูเล็กๆสามารถจำกัดขนาดของสารที่ผ่านเข้าออกได้ จึงมีสมบัติเป็นเยื่อเลือกผ่านซึ่งสารขนาดเล็กผ่านได้ ส่วนสารขนาดใหญ่ผ่านไม่ได้เป็นตัวควบคุมปริมาณและชนิดของสารบางอย่างเช่น อาหาร อากาศ และสารละลายเกลือแร่ต่างๆ  และยังแสดงขอบเขตของเซลล์และห่อหุ้มส่วนประกอบในเซลล์

ไซโทพลาสซึม(Cytoplasm) ไซโทพลาซึม  ประกอบด้วยของเหลวซึ่งเป็นสารประกอบหลายชนิดรวมทั้งอวัยวะของเซลล์หรือ ออแกเนลล(organelle)  ต่าง ๆ ซึ่งมีหน้าที่แตกต่างกัน  ที่สำคัญ ได้แก่ ไมโทคอนเดรีย  (mitochondria) คลอโรพลาสต์ (chloroplast) ไลโซโซม ( lysosomes) ไรโบโซม( ribosome) ร่างแหเอนโดพลาซึม เซนทริโอล (centriole) กอลจิคอมเพลกซ์ ( golgi complex) แวคิวโอล (vacuole)

ไมโตครอนเดรีย ไมโทคอนเดรีย  (mitochondria)  มีหน้าที่เผาผลาญอาหารเพื่อสร้างพลังงาน ATP  ให้แก่เซลล์ (การหายใจของเซลล์)  พบมากในเซลล์กล้ามเนื้อ  เซลล์ประสาท  และเซลล์ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับสิ่งขับถ่าย

ไลโซโซม ไลโซโซม ( lysosomes)  มีลักษณะคล้ายถุงเล็ก ๆ ภายในมีเอนไซม์สำหรับย่อยสารต่าง ๆ เช่น คาร์โบไฮเดรต  ไขมัน  โปรตีน  ฟอสโฟไลพิด และสิ่งที่เซลล์ไม่ต้องการ

ร่างแหเอนโดพลาสซึม ร่างแหเอนโดพลาซึมหรือเอนโดพลาสมิกเรติคิวลัม (endoplasmic reticulum)  ทำหน้าที่ขนส่งลำเลียงสิ่งต่าง ๆ ภายในเซลล์ไปยังเซลล์ข้างเคียง

กอลจิคอมเพลกซ์ กอลจิคอมเพลกซ์ ( golgi complex)  หรือกอจิบอดี (golgi bodies)  ทำหน้าที่สะสมโปรตีนเพื่ออัดแน่นส่งออกนอกเซลล์

คลอโรพลาสต์ คลอโรพลาสต์ (chloroplast)  พบเฉพาะในเซลล์พืช  ทำหน้าที่สังเคราะห์ด้วยแสง  เนื่องจากเป็นที่อยู่ของคลอโรฟิลล์  (chlorophyll)

ไรโบโซม( ribosome) ทำหน้าที่สังเคราะห์โปรตีนในเซลล์

เซนทริโอ เซนทริโอล (centriole)พบเฉพาะในเซลล์สัตว์  ทำหน้าที่ช่วยในการแบ่งเซลล์และการเคลื่อนที่ของโครโมโซมของสัตว์

แวคิวโอล แวคิวโอล (vacuole) พบในเซลล์พืชและเซลล์สัตว์  มีขนาดใหญ่มากในเซลล์พืช  ทำหน้าที่เก็บอาหารของเสีย  และเป็นที่พักอาหารก่อนเข้าสู่ไซโทพลาซึม

นิวเคลียส สารในนิวเคลียส เยื่อหุ้มนิวเคลียส นิวเคลียส (nucleus)เป็นส่วนที่สำคัญของเซลล์  โดยทั่วไปเซลล์จะมี  1  นิวเคลียสยกเว้นในเซลล์บางชนิด  เช่น  เซลล์พารามีเซียมมี  2  นิวเคลียส  เป็นต้น  นิวเคลียสเป็นโครงสร้างของเซลล์ที่เด่นชัดมากอาจจะอยู่ตรงกลางเซลล์  หรือค่อนไปข้างใดข้างหนึ่งของเซลล์ มีลักษณะเป็นรูปทรงกลมหรือรูปไข่ นิวเคลียสมีหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการควบคุมการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากพ่อแม่ไปสู่ลูกหลานและควบคุมกระบวนการทำงานต่าง ๆ ของเซลล์  เช่นกระบวนการแบ่งเซลล์   การสังเคราะห์โปรตีน  การสังเคราะห์เอนไซม์เป็นต้น นิวเคลียสประกอบด้วยโครงสร้าง  2  ส่วน  คือ สารในนิวเคลียส เยื่อหุ้มนิวเคลียส 

เยื่อหุ้มนิวเคลียส เยื่อหุ้มนิวเคลียส (nuclear membrane)  เป็นเยื่อหุ้ม  2  ชั้น  มีรูอยู่มากมายที่เรียกว่า  นิวเคลียร์พอร์ (nuclear  pores)  ทำหน้าที่เป็นทางติดต่อกับร่างแหเอนโดพลาซึม  เพื่อแลกเปลี่ยนสารระหว่างนิวเคลียสกับไซโทพลาซึม

สารในนิวเคลียส สารในนิวเคลียส (nucleoplasm) เป็นส่วนที่อยู่ภายในนิวเคลียสทำหน้าที่เป็นตัวกลางสำหรับเกิดปฏิกิริยาเคมีต่างๆประกอบด้วย นิวคลีโอลัส (nucleorus)ประกอบด้วยสารRNA และ  DNA  เป็นส่วนใหญ่  ทำหน้าที่สร้างไรโบโซม โครมาทิน ( chromatin) เป็นเส้นใยเล็ก ๆ  ยาว ๆ ขดไปมาเป็นร่างแห  เมื่อหดตัวสั้น ๆ และหนาขึ้นเรียกว่า โครโมโซม (chromosome) ประกอบด้วยโปรตีนและDNAหรือที่เรียกว่ายีน (Gene)  และโปรตีนหลายชนิดบนDNA  จะมีรหัสพันธุกรรมทำหน้าที่ควบคุมลักษณะต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต

แบบทดสอบ ข้อที่ 1  ข้อที่ 2  ข้อที่ 3 ข้อที่ 4  ข้อที่ 5  ข้อที่ 6  ข้อที่ 7  ข้อที่ 8  ข้อที่ 9  ข้อที่ 10  ข้อที่ 11  ข้อที่ 12  ข้อที่ 13  ข้อที่ 14  ข้อที่ 15  ข้อที่ 16  ข้อที่ 17  ข้อที่ 18  ข้อที่ 19  ข้อที่ 20 

ท่านตอบผิด

ถูกต้องแล้วครับ

ข้อที่ 1 เซลล์คืออะไร ก. หน่วยที่เล็กที่สุดของสัตว์ ข. หน่วยที่เล็กที่สุดของมนุษย์ ค. หน่วยที่เล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิต ง. เป็นส่วนประกอบหนึ่งของหัวใจ

ข้อที่ 2 นิวเคลียสมีหน้าที่อย่างไร ข้อที่ 2 นิวเคลียสมีหน้าที่อย่างไร ก. ควบคุมการเข้าออกของสารผ่านเซลล์ ข. ควบคุมกระบวนการทำงานของเซลล์ ค. สร้างอาหารภายในเซลล์ ง. สังเคราะห์แสง

ข้อที่ 3 หน้าที่สำคัญของเยื่อหุ้มเซลล์คืออะไร ข้อที่ 3 หน้าที่สำคัญของเยื่อหุ้มเซลล์คืออะไร ก. ป้องกันอันตรายจากสารแปลกปลอมที่จะเข้าสู่เซลล์ ข. ย่อยโปรตีน ค. เป็นแหล่งสะสมพลังงาน ง. คัดเลือกสารผ่านเซลล์

ข้อที่ 4 เอนโดรพลาสมิกเรติคูลัมมีกี่ชนิด ก. 1 ชนิด ข. 2 ชนิด ค. 3 ชนิด ง. 4 ชนิด

ข้อที่ 5 ไรโบโซมมีหน้าที่อย่างไร ก. สังเคราะห์แป้ง ข. สังเคราะห์คาร์โบไฮเดรต ค. สังเคราะห์ไขมัน ง. สังเคราะห์โปรตีน

ข้อที่ 6 ไซโทพลาสซึมอยู่ระหว่างส่วนประกอบใด ก. เยื่อหุ้มเซลล์ - เยื่อหุ้มนิวเคลียส ข. เยื่อหุ้มเซลล์ - ผนังเซลล์ ค. เยื่อหุ้มเซลล์ - นิวคลีโอลัส  ง. ผนังเซลล์ - คลอโรพลาสต์

ข้อที่ 7 เยื่อหุ้มเซลล์มีส่วนประกอบที่สำคัญคือข้อใด ข้อที่ 7 เยื่อหุ้มเซลล์มีส่วนประกอบที่สำคัญคือข้อใด ก. เซลลูโลสและซูเบอริน ข. โปรตีนและเซลลูโลส ค. ไขมันและเซลลูโลส ง. โปรตีนและไขมัน

ข้อที่ 8 ออร์แกเนลล์ที่ไม่ได้อยู่ในไซโทพลาสซึมคือออร์แกเนลล์ใด ข้อที่ 8 ออร์แกเนลล์ที่ไม่ได้อยู่ในไซโทพลาสซึมคือออร์แกเนลล์ใด ก. ไมโทคอนเดรีย ข. เซนตริโอล ค. โครมาติน ง. ไรโบโซม

ข้อที่ 9 ส่วนประกอบภายในเซลล์ที่สำคัญต่อกระบวนการหายใจได้แก่ ข้อที่ 9 ส่วนประกอบภายในเซลล์ที่สำคัญต่อกระบวนการหายใจได้แก่ ก. ไมโทคอนเดรีย ข. เซนตริโอล ค. โครมาติน ง. กลอจิคอมเพลกซ์

ข้อที่ 10 เซนตริโอลมีหน้าที่สำคัญในการควบคุมตรงกับข้อใด ข้อที่ 10 เซนตริโอลมีหน้าที่สำคัญในการควบคุมตรงกับข้อใด ก. เป็นโครงสร้างสำคัญในกระบวนการแบ่งเซลล์ ข. การสังเคราะห์โปรตีน ค. การสร้างผนังเซลล์ ง. การหายใจ

ข้อที่ 11 ออร์แกเนลล์ที่ทำหน้าที่ทำลายสิ่งแปลกปลอมจากภายนอกเซลล์คือข้อใด ก. ไรโบโซม ข. ไลโซโซม ค. ไมโทคอนเดรีย ง. โครโมโซม

ข้อที่ 12 สิ่งที่เป็นเกณฑ์กำหนดสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวและสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์คือ ก. จำนวนเซลล์ ข. ขนาดของเซลล์ ค. รูปร่างของเซลล์ ง. ส่วนประกอบของเซลล์

ข้อที่ 13 โครงสร้างใดที่ช่วยให้เซลล์พืชมีความแข็งแรงและคงรูปร่างอยู่ได้ ก. ผนังเซลล์ ข. เซลลูโลส ค. เยื่อหุ้มเซลล์ ง. ไซโทพลาสซึม

ข้อที่ 14 โครงสร้างใดของพืชทีทำหน้าที่ควบคุมการผ่านเข้าออกของสารภายในเซลล์ ก. ผนังเซลล์ ข. นิวเคลียส ค. เยื่อหุ้มเซลล์ ง. ไซโทพลาสซึม

ข้อที่ 15 นักวิทยาศาสตร์ที่ค้นพบเซลล์ของสิ่งมีชีวิตคนแรกคือใคร ข้อที่ 15 นักวิทยาศาสตร์ที่ค้นพบเซลล์ของสิ่งมีชีวิตคนแรกคือใคร ก. ชไลเดน ข. กาลิเลโอ ค. ชวานน์ ง. โรเบิร์ต ฮุก

ข้อที่ 16 โครงสร้างใดทำหน้าที่เสมือนรั่วบ้าน ข้อที่ 16 โครงสร้างใดทำหน้าที่เสมือนรั่วบ้าน ก. ไมโทคอนเดรีย ข. เซนตริโอล ค. โครมาติน ง. ผนังเซลล์

ข้อที่ 17 ข้อใดไม่พบในเซล์สัตว์ ข้อที่ 17 ข้อใดไม่พบในเซล์สัตว์ ก. ไมโทคอนเดรีย ข. เยื่อหุ้มเซลล์ ค. แวลคิวโอล ง. ผนังเซลล์

ข้อที่ 18 ในเซลล์พืชจะมีเม็ดกลมรีสีเขียวกระจายอยู่ คือข้อใด ข้อที่ 18 ในเซลล์พืชจะมีเม็ดกลมรีสีเขียวกระจายอยู่ คือข้อใด ก. แวลคิวโอล ข. เยื่อหุ้มเซลล์ ค. คลอโรพลาสต์ ง. ผนังเซลล์

ข้อที่ 19 สิ่งใดที่พบในเซลล์สัตว์แต่ไม่พบในเซลล์พืช ข้อที่ 19 สิ่งใดที่พบในเซลล์สัตว์แต่ไม่พบในเซลล์พืช ก. เซนทริโอล ข. เยื่อหุ้มเซลล์ ค. คลอโรพลาสต์ ง. ผนังเซลล์

ข้อที่ 20 เซลล์เยื่อหอมและเซลล์สาหร่ายหางกระรอกแตกต่างกันอย่างไร ก. เซลล์สาหร่ายหางกระรอกมีคลอโรพลาสต์ แต่เซลล์เยื่อหอมไม่มี ข. เซลล์สาหร่ายหางกระรอกมีผนังเซลล์ แต่เซลล์เยื่อหอมไม่มี ค. เซลล์สาหร่ายหางกระรอกมีเยื่อหุ้มเซลล์ แต่เซลล์เยื่อหอมไม่มี ง. เซลล์สาหร่ายหางกระรอกมีเซลล์คุมมากมาย แต่เซลล์เยื่อหอมไม่มี