การวิจัยทางการท่องเที่ยว

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
Dr.Smira Chittaladakorn
Advertisements

ประชากร (Population) จำนวน N สุ่ม (Random) กลุ่มตัวอย่าง (Sample)
การสุ่มตัวอย่างและเครื่องมือวิจัย
ผศ.(พิเศษ)น.พ.นภดล สุชาติ พ.บ. M.P.H.
ประชากรและการสุ่มตัวอย่าง
ประชากร การคำนวณขนาดตัวอย่าง และวิธีการสุ่มตัวอย่าง
ประชากร และกลุ่มตัวอย่าง
การออกแบบการสุ่มตัวอย่าง (sampling design)
การสุ่มตัวอย่าง (Sampling)
สถิติ Statistics โดย น.ท.อนุรักษ์ โชติดิลก
ประชากรและการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง
Sampling การสุ่มตัวอย่าง.
การสุ่มตัวอย่าง ( Sampling Technique)
ชื่อเรื่องอะไรว่าไป ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ
วิชา ระเบียบวิธีวิจัย Research Methodology บทที่ 4 ประชาการและการสุ่มตัวอย่าง อ.สุรินทร์ทิพ ศักดิ์ภูวดล สำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.
ผลงานวิจัยประเภทพัฒนาสถาบัน
ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 สาขางานการขาย รวมพร ประพฤติธรรม ผู้วิจัย วิทยาลัยเทคโนโลยีตั้งตรงจิตรพณิชย การ.
ระเบียบวิธีวิจัยทางการบัญชีบริหาร
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางการเงิน
การสุ่มตัวอย่าง สส ระเบียบวิจัยการสื่อสาร สื่อสารประยุกต์ ภาคพิเศษ
ISC2102 สถิติเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล
การออกแบบปัญหาการวิจัย
บทที่ 9 การกำหนดขนาดของตัวอย่าง
วิชา ระเบียบวิธีวิจัย Research Methodology บทที่ 4 ประชาการและการสุ่มตัวอย่าง อ.สุรินทร์ทิพ ศักดิ์ภูวดล สำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.
การวิจัยเชิงปริมาณ ดร.บรินดา สัณหฉวี.
รายวิชาชีวสถิติ (Biostatistics)
ความรู้เบื้องต้นเรื่องการวิจัย
วิชา ระเบียบวิธีวิจัย Research Methodology บทที่ 4 ประชาการและการสุ่มตัวอย่าง อ.สุรินทร์ทิพ ศักดิ์ภูวดล สำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.
วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางธุรกิจระหว่างประเทศ
วิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research)
บทที่ 7 การสุ่มตัวอย่าง.
ประเภทของสุ่มตัวอย่าง
การใช้ทฤษฎีในงานวิจัย
Multistage Cluster Sampling
ดร.เตือนใจ ดลประสิทธิ์
ประชากร การคำนวณขนาดตัวอย่าง และการเลือกวิธีการสุ่มตัวอย่าง
ระเบียบวิธีวิจัยทางการบัญชีบริหาร
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางการตลาด
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางการเงิน
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางการจัดการโลจิสติกส์
โดย นายไพสุข สุขศรีเพ็ง รหัสนักศึกษา
วิทยาลัยเทคโนโลยีวิมลบริหารธุรกิจ
ระเบียบวิธีวิจัยทางธุรกิจโรงแรมและท่องเที่ยว
4.2.4 แผนปฏิบัติงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ
ผศ.ดร. รัชนี มุขแจ้ง คณะบริหารธุริจ เศรษฐศาสตร์ และการสื่อสาร ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
“มิติใหม่ของ QR Code กับ งานสุขศึกษา” อุบัติเหตุ 1
ผลงานประเภทวิจัยชั้นเรียน
Don Bosco Banpong Technological College
การสำรวจตามกลุ่มอายุ สำนักทันตสาธารสุข
วิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ครั้งที่ 4
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางการตลาด
การตรวจสอบย้อนกลับ TRACEABILITY
ระเบียบวิธีวิจัยทางธุรกิจโรงแรมและท่องเที่ยว
กระบวนการเรียนการสอน
โรงเรียนราชโบริกานุเคราะห์ อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี
วิธีการสุ่มตัวอย่าง วิธีการสุ่มตัวอย่างมี 2 วิธี
ความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับเกมออนไลน์ ในเขตกรุงเทพมหานคร
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางการจัดการโลจิสติกส์
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางการจัดการ โลจิสติกส์
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางธุรกิจระหว่างประเทศ
พีสสลัลฌ์ ธำรงศ์วรกุล Ph.D. สุภาภรณ์ ตันตินันทตระกูล Ph.D.
ผู้วิจัย : สุภาพร อภิพันธุ์
Product Champion Cluster วัยเรียน : โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
การนำเสนอผลงานการวิจัยครั้งที่ ๘
สื่อการเรียนการสอนวิชาเครื่องรับโทรทัศน์ ( )
ครั้งที่ ๒/๒๕๖๒ วันศุกร์ที่ ๑๒ กรกฏาคม ๒๕๖๒
ระเบียบวิธีวิจัยทางการบัญชีบริหาร
ประชากรและการสุ่มตัวอย่าง
งานวิจัย.
ใบสำเนางานนำเสนอ:

การวิจัยทางการท่องเที่ยว Research in Tourism รหัสวิชา 151-008 โดย...อาจารย์กนิฏฐา เกิดฤทธิ์

ประชากรและกลุ่มตัวอย่างการวิจัยทางการท่องเที่ยว สารสำคัญ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ขั้นตอนในการเลือกกลุ่มตัวอย่าง การกำหนดขนาดตัวอย่างในการวิจัย การเลือกกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย

ความหมายของประชากรในการวิจัย หมายถึง กลุ่มทั้งหมดที่ต้องการศึกษาวิจัย ซึ่งอาจจะเป็นสิ่งมีชีวิต เช่น มนุษย์ สัตว์ พืช และสิ่งไม่มีชีวิต โดยเฉพาะมนุษย์ อาจเป็นบุคคล กลุ่มบุคคล และองค์กร ดังนั้นประชากรในการวิจัยท่องเที่ยวจึงหมายถึง กลุ่มที่ผู้วิจัยใช้ในการศึกษาวิจัย

ความสำคัญของประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ทำให้ทราบกรอบของการศึกษาวิจัยที่ชัดเจนเกี่ยวกับประชากร ทำให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย ระยะเวลา และงบประมาณ ทำให้การสำรวจข้อมูลมีทิศทางที่ชัดเจน

ตัวอย่างลักษณะประชากรที่ใช้ในการวิจัย เรื่องวิจัย ประชากรที่ศึกษา พฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวไทย นักท่องเที่ยวชาวไทย รูปแบบการจัดบริการของบริษัททัวร์ในภาคตะวันออกของประเทศไทย บริษัททัวร์ที่ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกของประเทศไทย ขีดความสามารถของรถรับส่งนักท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ รถรับส่งนักท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ ความเจริญเติบโตในอุตสาหกรรมในจังหวัดภูเก็ต โรงแรมในจังหวัดภูเก็ต

ตารางแสดงหน่วยวิเคราะห์ประชากรในการวิจัย ชื่อเรื่องการวิจัย หน่วยวิเคราะห์ ประชากร ความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อแหล่งท่องเที่ยวประเภทอุทยานแห่งชาติในจังหวัดเชียงใหม่ บุคคล นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติในจังหวัดเชียงใหม่ การศึกษากลยุทธ์การตลาดออนไลน์ของธุรกิจโรงแรม 5 ดาวในกรุงเทพฯ องค์กร โรงแรม 5 ดาวในกรุงเทพฯ

ประชากรในการวิจัยแบ่งได้ดังนี้ 1.ประชากรแบบจำกัด หมายถึง ประชากรที่ผู้วิจัยสามารถแจงนับได้ทั้งหมด เช่น จำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางกับบริษัทท่องเที่ยว A 2.ประชากรแบบไม่จำกัด หมายถึง ประชากรที่ผู้วิจัยไม่สามารถแจงนับจำนวนประชากรออกมาได้ทั้งหมด เช่น จำนวนมัคคุเทศก์ที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนในประเทศไทย เป็นต้น

ความหมายของกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มที่เลือกตัวอย่างขึ้นมาจากประชากร เพื่อใช้เป็นตัวแทนของการศึกษาวิจัย เนื่องจาก ในการวิจัยบางเรื่องผู้วิจัยไม่สามารถทำการวิจัยจากประชากรทั้งหมดได้ เพราะว่ามีจำนวนมากและยากต่อการรวบรวมข้อมูล เช่น ถ้าศึกษาพฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวไทยทั้งประเทศ เป็นสิ่งที่ทำได้ยาก จึงจำเป็นต้องเลือกตัวอย่างแทนการศึกษาทั้งประชากร

การศึกษากลุ่มตัวอย่าง ต้องคำนึงถึงสิ่งต่างๆต่อไปนี้ หน่วยการวิเคราะห์จะต้องสัมพันธ์กับกลุ่มตัวอย่างเสมอกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยจะต้องมีคุณสมบัติการเป็นตัวแทนที่ดีของประชากร

ข้อดีของการใช้กลุ่มตัวอย่างแทนประชากร - ช่วยประหยัดเวลา แรงงานและงบประมาณ - เก็บข้อมูลได้รวดเร็ว ง่ายและสะดวก - ผู้วิจัยสามารถควบคุมคุณภาพ ปัจจัยต่างๆได้ดีกว่าและอาจได้ข้อมูลที่ กว้างขวางและลึกซึ้งกว่า

1. นิยามประชากรที่จะเลือกกลุ่มตัวอย่าง ขั้นตอนในการเลือกกลุ่มตัวอย่าง 1. นิยามประชากรที่จะเลือกกลุ่มตัวอย่าง ผู้วิจัยจะต้องให้ความหมายที่ชัดเจนว่าประชากรคืออะไร มีขอบเขตแค่ไหน มีคุณลักษณะของสมาชิกเช่นไร เช่น การวิจัยเกี่ยวกับวัฒนธรรมของแหล่งท่องเที่ยวแหล่งใดแหล่งหนึ่ง ประชากรก็คือ ประชาชนที่เป็นคนในท้องถิ่นนั้น

2. กำหนดหน่วยของการสุ่มตัวอย่าง 3. การวางแผนเลือกกลุ่มตัวอย่าง ใช้วิธีเลือกแบบใดจึงจะเป็นตัวแทนที่ดีของประชากร 4. ทำการเลือกกลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่

วิธีการกำหนดขนาดตัวอย่างในการวิจัย  หลักเบื้องต้นของการกำหนดขนาดตัวอย่าง 1) พิจารณาตามสัดส่วนของประชากร หากประชากรมีจำนวนมาก ขนาดตัวอย่างก็ควรมีมาก ตามสัดส่วนของประชากร หากประชากรมีจำนวนน้อย ขนาดตัวอย่างก็ควรมีน้อยลงตามลำดับ หากประชากรมีจำนวนหลักร้อย ควรใช้ขนาดตัวอย่างประมาณ 25 % ของประชากรหากประชากรมีจำนวนหลักพัน ควรใช้ขนาดตัวอย่างประมาณ 10 % ของประชากร หากประชากรมีจำนวนหลักหมื่น ควรใช้ขนาดตัวอย่างประมาณ 5 % ของประชากร หากประชากรมีจำนวนหลักแสน ควรใช้ขนาดตัวอย่างประมาณ 1 % ของประชากร

2) พิจารณาความคล้ายคลึงของประชากร หากประชากรเป้าหมายมีลักษณะที่เหมือนหรือคล้ายคลึงกัน ผู้วิจัยก็ไม่จำเป็นต้องใช้จำนวนตัวอย่างมาก แต่หากประชากรมีลักษณะที่แตกต่างกันมาก เช่น ภูมิหลัง วัฒนธรรม ความคิดเห็น หรือลักษณะทางจิตวิทยาที่แตกต่างกันมาก ในกรณีนี้ต้องใช้กลุ่มตัวอย่างมากขึ้นตามลำดับ

3) พิจารณาความยากง่ายของประชากร หากประชากรเป้าหมายเข้าถึงง่ายก็ควรเก็บตัวอย่างมาก หากประชากรเป้าหมายเข้าถึงยาก ก็อาจจะสำรวจตัวอย่างให้น้อยลงตามลำดับ

 วิธีการกำหนดขนาดตัวอย่างในการวิจัยทางสังคมศาสตร์ 1.ใช้ตารางสำเร็จรูปเกี่ยวกับการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง 2. ใช้สูตรคำนวณ

ตารางสําเร็จรูปของ krejcie and morgan

ตารางสําเร็จรูปของ Taro Yamane

สูตรในการคำนวณขนาดตัวอย่าง ด้วยการที่มีลักษณะของการทราบจำนวนประชากรที่แน่นอน และการไม่ทราบขนาดประชากรที่แน่นอน จึงต้องมีวิธีการคำนวณขนาดตัวอย่างด้วยสูตรที่ต่างกัน สูตรที่นิยมใช้ในการคำนวณขนาดตัวอย่างเมื่อทราบจำนวนประชากรที่แน่นอนคือ สูตรของ Taro Yamane (1973) เหตุผลเพราะเป็นสูตรที่ง่าย ไม่ซับซ้อน ที่สำคัญคือ บอกถึงจำนวนตัวอย่างขั้นต่ำที่ต้องเก็บมาเพื่อการวิเคราะห์

การวิจัยทางการท่องเที่ยวส่วนใหญ่ มักกำหนดความคาดเคลื่อนของการสุ่มตัวอย่างไว้ที่ .05 คือ ใน 100 ผิดพลาดได้แค่ 5

วิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย

การสุ่มตัวอย่างโดยไม่ใช้ความน่าจะเป็น ( Nonprobability sampling )

วิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย 1.  การสุ่มตัวอย่างโดยไม่ใช้ความน่าจะเป็น ( Nonprobability sampling ) เป็นการเลือกตัวอย่างโดยไม่คำนึงว่าตัวอย่างแต่ละหน่วยมีโอกาสถูกเลือกมากน้อยเท่าไรทำให้ไม่ทราบความน่าจะเป็นที่แต่ละหน่วยในประชากรจะถูกเลือก การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบนี้ไม่สามารถนำผลที่ได้อ้างอิงไปยังประชากรได้ แต่มีความสะดวกและประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายมากกว่า ซึ่งสามารถทำได้หลายแบบ ดังนี้

1.1 การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental sampling) เป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างเพื่อให้ได้จำนวนตามต้องการโดยไม่มีหลักเกณฑ์ กลุ่มตัวอย่างจะเป็นใครก็ได้ที่สามารถให้ข้อมูลได้

1.2 การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบโควต้า ( Quota sampling ) เป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างโดย คำนึงถึงสัดส่วนองค์ประกอบของประชากร เช่นเมื่อต้องการกลุ่มตัวอย่าง 100 คน ก็แบ่งเป็นเพศชาย 50 คน หญิง 50 คน แล้วก็เลือกแบบบังเอิญ คือเจอใครก็เลือกจนครบตามจำนวนที่ต้องการ

1. 3 การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ( Purposive sampling ) 1.3 การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ( Purposive sampling ) เป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยพิจารณาจากการตัดสินใจของผู้วิจัยเอง ลักษณะของกลุ่มที่เลือกเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงต้องอาศัยความรอบรู้ ความชำนาญและประสบการณ์ในเรื่องนั้นๆของผู้ทำวิจัย การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า Judgement sampling

1.4 การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบก้อนหิมะ ( Snowball sampling ) วิธีการสุ่มแบบนี้ผู้วิจัยจะเลือกตัวอย่างมาจำนวนหนึ่งอาจจะหน่วยเดียวหรือสองหน่วยก็ได้ ที่มีลักษณะตรงตามจุดมุ่งหมายของการวิจัย แต่ผู้วิจัยไม่สามารถเลือกได้ครบตามจำนวนที่ต้องการได้ เช่นต้องการศึกษาพฤติกรรมของมือปืน โดยจะใช้จำนวนตัวอย่างจำนวน 20 คน แต่ผู้วิจัยไม่สามารถจะหาได้ครบตามจำนวนที่ต้องการ ปัญหาอย่างนี้ผู้วิจัยควรเลือกเทคนิคการสุ่มเชิงก้อนหิมะ นั่นคือในขั้นแรกผู้วิจัยจะต้องได้ตัวอย่างที่เป็นมือปืนอย่างน้อยคนหนึ่งก่อนเมื่อเก็บข้อมูลคนนี้เสร็จแล้วก็จะขอให้แนะนำหรือขอรายชื่อมือปืนคนอื่นๆ ที่มีลักษณะเหมือนตนเองอีกจำนวนหนึ่ง ขั้นที่สองผู้วิจัยก็จะเก็บข้อมูลเหมือนกับขั้นแรกเมื่อเสร็จแล้วก็จะขอให้มือปืนคนนั้นแนะนำคนอื่นๆอีกที่มีลักษณะเหมือนตนเอง ขั้นต่อๆไปผู้วิจัยจะทำอย่างนี้เรื่อย ๆ จนกว่าจะได้จำนวนตัวอย่างครบตามที่ต้องการ ที่เรียกว่า ก้อนหิมะ ก็เนื่องจากวิธีการเหมือนกับการกลิ้งของก้อนหิมะที่แรกๆจะมีขนาดเล็ก เมื่อกลิ้งไปแต่ละรอบจะทำให้ก้อนหิมะขนาดโตขึ้นเรื่อย ๆ

การสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็น ( Probability sampling )

2. การสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็น ( Probability sampling ) เป็นการสุ่มตัวอย่างโดยสามารถกำหนดโอกาสที่หน่วยตัวอย่างแต่ละหน่วยถูกเลือก ทำให้ทราบความน่าจะเป็นที่แต่ละหน่วยในประชากรจะถูกเลือก การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบนี้สามารถนำผลที่ได้อ้างอิงไปยังประชากรได้ สามารถทำได้หลายแบบ ดังนี้

2.1 การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) เป็นการสุ่มตัวอย่างโดยถือว่าทุกๆหน่วยหรือทุกๆสมาชิกในประชากรมีโอกาสจะถูกเลือกเท่าๆกัน การสุ่มวิธีนี้จะต้องมีรายชื่อประชากรทั้งหมดและมีการให้เลขกำกับ วิธีการอาจใช้วิธีการจับสลากโดยทำรายชื่อประชากรทั้งหมด หรือใช้ตารางเลขสุ่มโดยมีเลขกำกับหน่วยรายชื่อทั้งหมดของประชากร ข้อดี ง่าย ไม่ซับซ้อน ข้อเสีย ไม่เหมาะกับประชากรที่แต่ละหน่วยแตกต่าง กันมาก ต้องใช้ตัวอย่างขนาดใหญ่เพื่อลด ความคลาดเคลื่อน ค่าใช้จ่ายสูง กรณีที่ ตัวอย่างอยู่กระจัดกระจาย

2.2 การสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ ( Systematic sampling) เป็นการสุ่มตัวอย่างโดยมีรายชื่อของทุกหน่วยประชากรมาเรียงเป็นระบบตามบัญชีเรียกชื่อ การสุ่มจะแบ่งประชากรออกเป็นช่วงๆที่เท่ากันอาจใช้ช่วงจากสัดส่วนของขนาดกลุ่มตัวอย่างและประชากร แล้วสุ่มประชากรหน่วยแรก ส่วนหน่วยต่อๆไปนับจากช่วงสัดส่วนที่คำนวณไว้ ข้อดี ง่าย รวดเร็ว ทำได้แม้ไม่มีกรอบตัวอย่าง ข้อเสีย ต้องมีรายชื่อกลุ่มตัวอย่างแน่นอน

2.3 การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified sampling) เป็นการสุ่มตัวอย่างโดยแยกประชากรออกเป็นกลุ่มประชากรย่อยๆ หรือแบ่งเป็นชั้นภูมิก่อน โดยหน่วยประชากรในแต่ละชั้นภูมิจะมีลักษณะเหมือนกัน (homogenious) แล้วสุ่มอย่างง่ายเพื่อให้ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างตามสัดส่วนของขนาดกลุ่มตัวอย่างและกลุ่มประชากร ข้อดี ได้ตัวอย่างจากทุกชั้น เป็นตัวอย่างที่ใกล้เคียงประชากร ข้อเสีย ต้องระมัดระวังเรื่องเกณฑ์การแบ่งชั้น ถ้าชั้นมากเกินไปก็ ยุ่งยาก  

2.4 การสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster sampling ) เป็นการสุ่มตัวอย่างโดยแบ่งประชากรออกตามพื้นที่โดยไม่จำเป็นต้องทำบัญชีรายชื่อของประชากร และสุ่มตัวอย่างประชากรจากพื้นที่ดังกล่าวตามจำนวนที่ต้องการ แล้วศึกษาทุกหน่วยประชากรในกลุ่มพื้นที่นั้นๆ หรือจะทำการสุ่มต่อเป็นลำดับขั้นมากกว่า 1 ระดับ โดยอาจแบ่งพื้นที่จากภาค เป็นจังหวัด จาก จังหวัดเป็นอำเภอ และเรื่อยไปจนถึงหมู่บ้าน ข้อดี ใช้ได้เมื่อมีกรอบตัวอย่าง ประหยัดเวลา แรงงาน ค่าใช้จ่าย ข้อเสีย ยุ่งยากในการประมาณค่า

CD AB LM QR EFG JK HI QR EFG JK

2.5 การสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi - Stage Sampling) โดยหลักแล้วจะต้องพิจารณาวิธีการสุ่มทั้ง 4 แบบนี้มาใช้ให้ได้ประโยชน์สูงสุดเพื่อให้ได้กลุ่มตัวอย่างที่ผู้วิจัยต้องการอย่างแท้จริง เรียกว่าการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ตัวอย่างเช่น ประชากรคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตการศึกษา 10 ใช้การสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม แบ่งออกเป็น 7 จังหวัด สุ่มได้มา 3 จังหวัด ในทั้ง 3 จังหวัดมี 45 โรงเรียน ใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้น โดยแบ่งตามขนาดของโรงเรียน คือโรงเรียนขนาดใหญ่ 10 โรงเรียน ขนาดกลาง 12 โรงเรียน และขนาดเล็ก 23 โรงเรียน สุ่มได้โรงเรียนขนาดใหญ่ 2 โรงเรียน ขนาดกลาง 3 โรงเรียน และขนาดเล็ก 5 โรงเรียน ใน 10 โรงเรียนมีนักเรียนทั้งหมด 10,000 คน ใช้การสุ่มอย่างง่ายมา 20% จากจำนวนนักเรียนทั้งหมด ได้นักเรียนมาเป็นกลุ่มตัวอย่าง 2,000 คน

สรุป เป้าหมายของการสุ่ม คือ การได้กลุ่มตัวอย่างที่ลักษณะเป็นตัวแทนของประชากร หลักการสุ่มที่จะทำให้ได้กลุ่มตัวอย่างที่ดีต้องใช้วิธีสุ่มที่เหมาะสม และกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างที่ใหญ่เพียงพอ การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างที่ใหญ่เพียงพอ สามารถดำเนินการได้โดยใช้สูตรคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสม หรือการใช้ตารางสำเร็จรูป

งานวิจัยเรื่องแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวตลาดน้ำวัดสะพาน ตัวอย่างประชากรและกลุ่มตัวอย่าง งานวิจัยเรื่องแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวตลาดน้ำวัดสะพาน ตลิ่งชัน กรุงเทพฯ ประชากร (Population) ประชากรนักท่องเที่ยวจำนวน 33,600 คน อย่าลืมบอกแหล่งที่มาด้วย กลุ่มตัวอย่าง (Sample) ได้มาอย่างไร ใช้วิธี ตารางหรือสูตรของใครสูตร yamane ใช้ตารางสำเร็จรูปเกี่ยวกับการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 380 คน

วิธีการสุ่มตัวอย่าง (Sampling) ใช้การกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental sampling)

Any Question?