การวิจัยทางการท่องเที่ยว Research in Tourism รหัสวิชา 151-008 โดย...อาจารย์กนิฏฐา เกิดฤทธิ์
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างการวิจัยทางการท่องเที่ยว สารสำคัญ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ขั้นตอนในการเลือกกลุ่มตัวอย่าง การกำหนดขนาดตัวอย่างในการวิจัย การเลือกกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย
ความหมายของประชากรในการวิจัย หมายถึง กลุ่มทั้งหมดที่ต้องการศึกษาวิจัย ซึ่งอาจจะเป็นสิ่งมีชีวิต เช่น มนุษย์ สัตว์ พืช และสิ่งไม่มีชีวิต โดยเฉพาะมนุษย์ อาจเป็นบุคคล กลุ่มบุคคล และองค์กร ดังนั้นประชากรในการวิจัยท่องเที่ยวจึงหมายถึง กลุ่มที่ผู้วิจัยใช้ในการศึกษาวิจัย
ความสำคัญของประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ทำให้ทราบกรอบของการศึกษาวิจัยที่ชัดเจนเกี่ยวกับประชากร ทำให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย ระยะเวลา และงบประมาณ ทำให้การสำรวจข้อมูลมีทิศทางที่ชัดเจน
ตัวอย่างลักษณะประชากรที่ใช้ในการวิจัย เรื่องวิจัย ประชากรที่ศึกษา พฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวไทย นักท่องเที่ยวชาวไทย รูปแบบการจัดบริการของบริษัททัวร์ในภาคตะวันออกของประเทศไทย บริษัททัวร์ที่ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกของประเทศไทย ขีดความสามารถของรถรับส่งนักท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ รถรับส่งนักท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ ความเจริญเติบโตในอุตสาหกรรมในจังหวัดภูเก็ต โรงแรมในจังหวัดภูเก็ต
ตารางแสดงหน่วยวิเคราะห์ประชากรในการวิจัย ชื่อเรื่องการวิจัย หน่วยวิเคราะห์ ประชากร ความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อแหล่งท่องเที่ยวประเภทอุทยานแห่งชาติในจังหวัดเชียงใหม่ บุคคล นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติในจังหวัดเชียงใหม่ การศึกษากลยุทธ์การตลาดออนไลน์ของธุรกิจโรงแรม 5 ดาวในกรุงเทพฯ องค์กร โรงแรม 5 ดาวในกรุงเทพฯ
ประชากรในการวิจัยแบ่งได้ดังนี้ 1.ประชากรแบบจำกัด หมายถึง ประชากรที่ผู้วิจัยสามารถแจงนับได้ทั้งหมด เช่น จำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางกับบริษัทท่องเที่ยว A 2.ประชากรแบบไม่จำกัด หมายถึง ประชากรที่ผู้วิจัยไม่สามารถแจงนับจำนวนประชากรออกมาได้ทั้งหมด เช่น จำนวนมัคคุเทศก์ที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนในประเทศไทย เป็นต้น
ความหมายของกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มที่เลือกตัวอย่างขึ้นมาจากประชากร เพื่อใช้เป็นตัวแทนของการศึกษาวิจัย เนื่องจาก ในการวิจัยบางเรื่องผู้วิจัยไม่สามารถทำการวิจัยจากประชากรทั้งหมดได้ เพราะว่ามีจำนวนมากและยากต่อการรวบรวมข้อมูล เช่น ถ้าศึกษาพฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวไทยทั้งประเทศ เป็นสิ่งที่ทำได้ยาก จึงจำเป็นต้องเลือกตัวอย่างแทนการศึกษาทั้งประชากร
การศึกษากลุ่มตัวอย่าง ต้องคำนึงถึงสิ่งต่างๆต่อไปนี้ หน่วยการวิเคราะห์จะต้องสัมพันธ์กับกลุ่มตัวอย่างเสมอกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยจะต้องมีคุณสมบัติการเป็นตัวแทนที่ดีของประชากร
ข้อดีของการใช้กลุ่มตัวอย่างแทนประชากร - ช่วยประหยัดเวลา แรงงานและงบประมาณ - เก็บข้อมูลได้รวดเร็ว ง่ายและสะดวก - ผู้วิจัยสามารถควบคุมคุณภาพ ปัจจัยต่างๆได้ดีกว่าและอาจได้ข้อมูลที่ กว้างขวางและลึกซึ้งกว่า
1. นิยามประชากรที่จะเลือกกลุ่มตัวอย่าง ขั้นตอนในการเลือกกลุ่มตัวอย่าง 1. นิยามประชากรที่จะเลือกกลุ่มตัวอย่าง ผู้วิจัยจะต้องให้ความหมายที่ชัดเจนว่าประชากรคืออะไร มีขอบเขตแค่ไหน มีคุณลักษณะของสมาชิกเช่นไร เช่น การวิจัยเกี่ยวกับวัฒนธรรมของแหล่งท่องเที่ยวแหล่งใดแหล่งหนึ่ง ประชากรก็คือ ประชาชนที่เป็นคนในท้องถิ่นนั้น
2. กำหนดหน่วยของการสุ่มตัวอย่าง 3. การวางแผนเลือกกลุ่มตัวอย่าง ใช้วิธีเลือกแบบใดจึงจะเป็นตัวแทนที่ดีของประชากร 4. ทำการเลือกกลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่
วิธีการกำหนดขนาดตัวอย่างในการวิจัย หลักเบื้องต้นของการกำหนดขนาดตัวอย่าง 1) พิจารณาตามสัดส่วนของประชากร หากประชากรมีจำนวนมาก ขนาดตัวอย่างก็ควรมีมาก ตามสัดส่วนของประชากร หากประชากรมีจำนวนน้อย ขนาดตัวอย่างก็ควรมีน้อยลงตามลำดับ หากประชากรมีจำนวนหลักร้อย ควรใช้ขนาดตัวอย่างประมาณ 25 % ของประชากรหากประชากรมีจำนวนหลักพัน ควรใช้ขนาดตัวอย่างประมาณ 10 % ของประชากร หากประชากรมีจำนวนหลักหมื่น ควรใช้ขนาดตัวอย่างประมาณ 5 % ของประชากร หากประชากรมีจำนวนหลักแสน ควรใช้ขนาดตัวอย่างประมาณ 1 % ของประชากร
2) พิจารณาความคล้ายคลึงของประชากร หากประชากรเป้าหมายมีลักษณะที่เหมือนหรือคล้ายคลึงกัน ผู้วิจัยก็ไม่จำเป็นต้องใช้จำนวนตัวอย่างมาก แต่หากประชากรมีลักษณะที่แตกต่างกันมาก เช่น ภูมิหลัง วัฒนธรรม ความคิดเห็น หรือลักษณะทางจิตวิทยาที่แตกต่างกันมาก ในกรณีนี้ต้องใช้กลุ่มตัวอย่างมากขึ้นตามลำดับ
3) พิจารณาความยากง่ายของประชากร หากประชากรเป้าหมายเข้าถึงง่ายก็ควรเก็บตัวอย่างมาก หากประชากรเป้าหมายเข้าถึงยาก ก็อาจจะสำรวจตัวอย่างให้น้อยลงตามลำดับ
วิธีการกำหนดขนาดตัวอย่างในการวิจัยทางสังคมศาสตร์ 1.ใช้ตารางสำเร็จรูปเกี่ยวกับการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง 2. ใช้สูตรคำนวณ
ตารางสําเร็จรูปของ krejcie and morgan
ตารางสําเร็จรูปของ Taro Yamane
สูตรในการคำนวณขนาดตัวอย่าง ด้วยการที่มีลักษณะของการทราบจำนวนประชากรที่แน่นอน และการไม่ทราบขนาดประชากรที่แน่นอน จึงต้องมีวิธีการคำนวณขนาดตัวอย่างด้วยสูตรที่ต่างกัน สูตรที่นิยมใช้ในการคำนวณขนาดตัวอย่างเมื่อทราบจำนวนประชากรที่แน่นอนคือ สูตรของ Taro Yamane (1973) เหตุผลเพราะเป็นสูตรที่ง่าย ไม่ซับซ้อน ที่สำคัญคือ บอกถึงจำนวนตัวอย่างขั้นต่ำที่ต้องเก็บมาเพื่อการวิเคราะห์
การวิจัยทางการท่องเที่ยวส่วนใหญ่ มักกำหนดความคาดเคลื่อนของการสุ่มตัวอย่างไว้ที่ .05 คือ ใน 100 ผิดพลาดได้แค่ 5
วิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย
การสุ่มตัวอย่างโดยไม่ใช้ความน่าจะเป็น ( Nonprobability sampling )
วิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย 1. การสุ่มตัวอย่างโดยไม่ใช้ความน่าจะเป็น ( Nonprobability sampling ) เป็นการเลือกตัวอย่างโดยไม่คำนึงว่าตัวอย่างแต่ละหน่วยมีโอกาสถูกเลือกมากน้อยเท่าไรทำให้ไม่ทราบความน่าจะเป็นที่แต่ละหน่วยในประชากรจะถูกเลือก การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบนี้ไม่สามารถนำผลที่ได้อ้างอิงไปยังประชากรได้ แต่มีความสะดวกและประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายมากกว่า ซึ่งสามารถทำได้หลายแบบ ดังนี้
1.1 การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental sampling) เป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างเพื่อให้ได้จำนวนตามต้องการโดยไม่มีหลักเกณฑ์ กลุ่มตัวอย่างจะเป็นใครก็ได้ที่สามารถให้ข้อมูลได้
1.2 การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบโควต้า ( Quota sampling ) เป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างโดย คำนึงถึงสัดส่วนองค์ประกอบของประชากร เช่นเมื่อต้องการกลุ่มตัวอย่าง 100 คน ก็แบ่งเป็นเพศชาย 50 คน หญิง 50 คน แล้วก็เลือกแบบบังเอิญ คือเจอใครก็เลือกจนครบตามจำนวนที่ต้องการ
1. 3 การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ( Purposive sampling ) 1.3 การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ( Purposive sampling ) เป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยพิจารณาจากการตัดสินใจของผู้วิจัยเอง ลักษณะของกลุ่มที่เลือกเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงต้องอาศัยความรอบรู้ ความชำนาญและประสบการณ์ในเรื่องนั้นๆของผู้ทำวิจัย การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า Judgement sampling
1.4 การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบก้อนหิมะ ( Snowball sampling ) วิธีการสุ่มแบบนี้ผู้วิจัยจะเลือกตัวอย่างมาจำนวนหนึ่งอาจจะหน่วยเดียวหรือสองหน่วยก็ได้ ที่มีลักษณะตรงตามจุดมุ่งหมายของการวิจัย แต่ผู้วิจัยไม่สามารถเลือกได้ครบตามจำนวนที่ต้องการได้ เช่นต้องการศึกษาพฤติกรรมของมือปืน โดยจะใช้จำนวนตัวอย่างจำนวน 20 คน แต่ผู้วิจัยไม่สามารถจะหาได้ครบตามจำนวนที่ต้องการ ปัญหาอย่างนี้ผู้วิจัยควรเลือกเทคนิคการสุ่มเชิงก้อนหิมะ นั่นคือในขั้นแรกผู้วิจัยจะต้องได้ตัวอย่างที่เป็นมือปืนอย่างน้อยคนหนึ่งก่อนเมื่อเก็บข้อมูลคนนี้เสร็จแล้วก็จะขอให้แนะนำหรือขอรายชื่อมือปืนคนอื่นๆ ที่มีลักษณะเหมือนตนเองอีกจำนวนหนึ่ง ขั้นที่สองผู้วิจัยก็จะเก็บข้อมูลเหมือนกับขั้นแรกเมื่อเสร็จแล้วก็จะขอให้มือปืนคนนั้นแนะนำคนอื่นๆอีกที่มีลักษณะเหมือนตนเอง ขั้นต่อๆไปผู้วิจัยจะทำอย่างนี้เรื่อย ๆ จนกว่าจะได้จำนวนตัวอย่างครบตามที่ต้องการ ที่เรียกว่า ก้อนหิมะ ก็เนื่องจากวิธีการเหมือนกับการกลิ้งของก้อนหิมะที่แรกๆจะมีขนาดเล็ก เมื่อกลิ้งไปแต่ละรอบจะทำให้ก้อนหิมะขนาดโตขึ้นเรื่อย ๆ
การสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็น ( Probability sampling )
2. การสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็น ( Probability sampling ) เป็นการสุ่มตัวอย่างโดยสามารถกำหนดโอกาสที่หน่วยตัวอย่างแต่ละหน่วยถูกเลือก ทำให้ทราบความน่าจะเป็นที่แต่ละหน่วยในประชากรจะถูกเลือก การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบนี้สามารถนำผลที่ได้อ้างอิงไปยังประชากรได้ สามารถทำได้หลายแบบ ดังนี้
2.1 การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) เป็นการสุ่มตัวอย่างโดยถือว่าทุกๆหน่วยหรือทุกๆสมาชิกในประชากรมีโอกาสจะถูกเลือกเท่าๆกัน การสุ่มวิธีนี้จะต้องมีรายชื่อประชากรทั้งหมดและมีการให้เลขกำกับ วิธีการอาจใช้วิธีการจับสลากโดยทำรายชื่อประชากรทั้งหมด หรือใช้ตารางเลขสุ่มโดยมีเลขกำกับหน่วยรายชื่อทั้งหมดของประชากร ข้อดี ง่าย ไม่ซับซ้อน ข้อเสีย ไม่เหมาะกับประชากรที่แต่ละหน่วยแตกต่าง กันมาก ต้องใช้ตัวอย่างขนาดใหญ่เพื่อลด ความคลาดเคลื่อน ค่าใช้จ่ายสูง กรณีที่ ตัวอย่างอยู่กระจัดกระจาย
2.2 การสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ ( Systematic sampling) เป็นการสุ่มตัวอย่างโดยมีรายชื่อของทุกหน่วยประชากรมาเรียงเป็นระบบตามบัญชีเรียกชื่อ การสุ่มจะแบ่งประชากรออกเป็นช่วงๆที่เท่ากันอาจใช้ช่วงจากสัดส่วนของขนาดกลุ่มตัวอย่างและประชากร แล้วสุ่มประชากรหน่วยแรก ส่วนหน่วยต่อๆไปนับจากช่วงสัดส่วนที่คำนวณไว้ ข้อดี ง่าย รวดเร็ว ทำได้แม้ไม่มีกรอบตัวอย่าง ข้อเสีย ต้องมีรายชื่อกลุ่มตัวอย่างแน่นอน
2.3 การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified sampling) เป็นการสุ่มตัวอย่างโดยแยกประชากรออกเป็นกลุ่มประชากรย่อยๆ หรือแบ่งเป็นชั้นภูมิก่อน โดยหน่วยประชากรในแต่ละชั้นภูมิจะมีลักษณะเหมือนกัน (homogenious) แล้วสุ่มอย่างง่ายเพื่อให้ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างตามสัดส่วนของขนาดกลุ่มตัวอย่างและกลุ่มประชากร ข้อดี ได้ตัวอย่างจากทุกชั้น เป็นตัวอย่างที่ใกล้เคียงประชากร ข้อเสีย ต้องระมัดระวังเรื่องเกณฑ์การแบ่งชั้น ถ้าชั้นมากเกินไปก็ ยุ่งยาก
2.4 การสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster sampling ) เป็นการสุ่มตัวอย่างโดยแบ่งประชากรออกตามพื้นที่โดยไม่จำเป็นต้องทำบัญชีรายชื่อของประชากร และสุ่มตัวอย่างประชากรจากพื้นที่ดังกล่าวตามจำนวนที่ต้องการ แล้วศึกษาทุกหน่วยประชากรในกลุ่มพื้นที่นั้นๆ หรือจะทำการสุ่มต่อเป็นลำดับขั้นมากกว่า 1 ระดับ โดยอาจแบ่งพื้นที่จากภาค เป็นจังหวัด จาก จังหวัดเป็นอำเภอ และเรื่อยไปจนถึงหมู่บ้าน ข้อดี ใช้ได้เมื่อมีกรอบตัวอย่าง ประหยัดเวลา แรงงาน ค่าใช้จ่าย ข้อเสีย ยุ่งยากในการประมาณค่า
CD AB LM QR EFG JK HI QR EFG JK
2.5 การสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi - Stage Sampling) โดยหลักแล้วจะต้องพิจารณาวิธีการสุ่มทั้ง 4 แบบนี้มาใช้ให้ได้ประโยชน์สูงสุดเพื่อให้ได้กลุ่มตัวอย่างที่ผู้วิจัยต้องการอย่างแท้จริง เรียกว่าการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ตัวอย่างเช่น ประชากรคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตการศึกษา 10 ใช้การสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม แบ่งออกเป็น 7 จังหวัด สุ่มได้มา 3 จังหวัด ในทั้ง 3 จังหวัดมี 45 โรงเรียน ใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้น โดยแบ่งตามขนาดของโรงเรียน คือโรงเรียนขนาดใหญ่ 10 โรงเรียน ขนาดกลาง 12 โรงเรียน และขนาดเล็ก 23 โรงเรียน สุ่มได้โรงเรียนขนาดใหญ่ 2 โรงเรียน ขนาดกลาง 3 โรงเรียน และขนาดเล็ก 5 โรงเรียน ใน 10 โรงเรียนมีนักเรียนทั้งหมด 10,000 คน ใช้การสุ่มอย่างง่ายมา 20% จากจำนวนนักเรียนทั้งหมด ได้นักเรียนมาเป็นกลุ่มตัวอย่าง 2,000 คน
สรุป เป้าหมายของการสุ่ม คือ การได้กลุ่มตัวอย่างที่ลักษณะเป็นตัวแทนของประชากร หลักการสุ่มที่จะทำให้ได้กลุ่มตัวอย่างที่ดีต้องใช้วิธีสุ่มที่เหมาะสม และกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างที่ใหญ่เพียงพอ การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างที่ใหญ่เพียงพอ สามารถดำเนินการได้โดยใช้สูตรคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสม หรือการใช้ตารางสำเร็จรูป
งานวิจัยเรื่องแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวตลาดน้ำวัดสะพาน ตัวอย่างประชากรและกลุ่มตัวอย่าง งานวิจัยเรื่องแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวตลาดน้ำวัดสะพาน ตลิ่งชัน กรุงเทพฯ ประชากร (Population) ประชากรนักท่องเที่ยวจำนวน 33,600 คน อย่าลืมบอกแหล่งที่มาด้วย กลุ่มตัวอย่าง (Sample) ได้มาอย่างไร ใช้วิธี ตารางหรือสูตรของใครสูตร yamane ใช้ตารางสำเร็จรูปเกี่ยวกับการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 380 คน
วิธีการสุ่มตัวอย่าง (Sampling) ใช้การกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental sampling)
Any Question?