Chapter 9 Peaceful Settlement of Dispute Kanya Hirunwattanapong Faculty of Law Chiang Mai University November 2015 Kanya Hirunwattanapong, Faculty of Law, CMU, November 2015
Kanya Hirunwattanapong, Faculty of Law, CMU, November 2015 กฎบัตรสหประชาชาติได้เรียกร้องให้สมาชิกสหประชาชาติยุติข้อพิพาทที่มีลักษณะยืดเยื้อที่มีแนวโน้มจะเกิดอันตรายต่อสันติภาพของสังคมระหว่างประเทศโดยสันติวิธีเพื่อดำรงไว้ซึ่งความยุติธรรม สันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ การยุติข้อพิพาทโดยสันติวิธีแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มหลักๆ ดังนี้ (1) การยุติข้อพิพาทโดยทางการฑูต (2) การยุติข้อพิพาทโดยกระบวนการยุติธรรมทางศาล การยุติข้อพิพาทโดยทางการฑูต (Diplomatic methods of dispute settlement) 1. การเจรจา (Negotiations) รัฐมีหน้าที่ที่จะทำการเจรจาเพื่อยุติข้อพิพาทอย่าสันติวิธี ดังปรากฏในกฎหมายระหว่างประเทศต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกฎบัตรสหประชาชาติ กฎหมายทะเล และคำประกาศความสัมพันธ์ฉันท์มิตร (the Friendly Relations Declaration of 1970) อย่างไรก็ตามการเจรจาก็ไม่ได้ประสบผลสำเร็จเสมอไป เนื่องจากรัฐที่สามที่เป็นกลางไม่ค่อยอยากเข้าร่วมเจรจา ดังนั้นเมื่อไม่มีคนกลางการเจรจาก็มักไม่สำเร็จ ส่วนใหญ่ข้อตกลงระหว่างประเทศทั้งหลายมักกำหนดให้การเจรจาเป็นมาตรการขั้นต้นในการยุติข้อพิพาท โดยให้ผ่านสู่ขั้นตอนการยุติข้อพิพาทอย่างอื่นต่อไป 2. Good Offices and mediation (การไกล่เกลี่ย) Good Offices บุคคลที่สามพยายามทำให้รัฐพิพาทเข้าสู่การเจรจาตกลงโดยการเป็นผู้ส่งผ่านข้อความและคำแนะนำไปยังรัฐพิพาทเมื่อการเจรจาเริ่มต้นซึ่งทำให้หน้าที่การทำ good office สิ้นสุดลง Kanya Hirunwattanapong, Faculty of Law, CMU, November 2015
Kanya Hirunwattanapong, Faculty of Law, CMU, November 2015 Mediation ผู้ไกล่เกลี่ยมีบทบาทมากขึ้นกว่าการเพียงทำ good office กล่าวคือผู้ไกล่เกลี่ยเข้าร่วมเจรจาและอาจแนะนำข้อยุติหรือเงื่อนไขการยุติข้อพิพาทซึ่งมักพบในส่วนของการประนีประนอมข้อพิพาทหรือ conciliation ทำให้ความแตกต่างระหว่างการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทและการประนีประนอมข้อพิพาทไม่แตกต่างกันมากนักในทางปฏิบัติ การไกล่เกลี่ยมีความยืดหยุ่นในขั้นตอนการเจรากล่าวคือไม่มีกฏเกณฑ์ตายตัวว่าด้วยขั้นตอน ผู้ไกล่เกลี่ยอาจให้ความช่วยเหลือทางการเงินด้วย อาทิ การยุติข้อพิพาทระหว่างอินเดียและปากีสถานช่วงระหว่างปี 1951-1961 ใน Indus basin ได้ธนาคารโลกเป็นผู้ไกล่เกลี่ยและช่วยเหลือทางการเงิน การทำ good office อาจทำรวมกับการไกล่เกลี่ย Kanya Hirunwattanapong, Faculty of Law, CMU, November 2015
Kanya Hirunwattanapong, Faculty of Law, CMU, November 2015 3. การตรวจสอบข้อเท็จจริง (fact-finding and inquiry) เป็นวิธีการหาข้อเท็จจริงในตามกฎหมายระหว่างประเทศ ข้อพิพาทระหว่างประเทศหลายกรณีเป็นการพิพาททางข้อเท็จจริง ดังนั้นการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยยุติธรรมไม่ลำเอียงจึงเป็นการลดความตึงเครียดของเหตุการระหว่างรัฐคู่กรณี อาจรวมการประเมินแง่มุมทางกฎหมายของผลนั้นด้วย) เพื่อเตรียมไปสู่การยุติข้อพิพาท อย่างไรก็ตามรัฐคู่กรณีไม่จำต้องรับผลการตรวจสอบนี้ แต่ส่วนมากแล้วมักจะรับเพราะเป็นผู้เลือกคนกลางเองด้วย 4. การประนีประนอม (conciliation) คำนิยามของการประนีประนอมได้ระบุไว้ใน the Institute de droit international 1961 ดังนี้ “วิธีการยุติข้อพิพาทระหว่างประเทศ โดยที่คู่กรณีตั้งคณะกรรมาธิการ (a Commission) ไม่ว่าจะเป็นการเฉพาะกิจ (ad hoc) หรือถาวรเพื่อดำเนินการยุติข้อพิพาทโดยการตรวจสอบที่เป็นกลางและกำหนดเงื่อนไขอันเป็นที่ยอมรับของคู่พิพาทเพื่อให้เกิดการยุติซึ่งข้อพิพาทนั้น” ถูกมองว่าเป็นการผสานกันระหว่างการตรวจสอบข้อเท็จจริงและการไกล่เกลี่ย แต่การประนอมฯมีลักษณะเป็นทางการมากกว่า Kanya Hirunwattanapong, Faculty of Law, CMU, November 2015
Kanya Hirunwattanapong, Faculty of Law, CMU, November 2015 คู่กรณีไม่ผูกพันที่ต้องยอมรับเงื่อนไขการยุติข้อพิพาทของผู้ประนอมฯ เพราะแท้จริงแล้วมันมีลักษณะเป็นคำแนะนำ กระบวนการประนอมข้อพิพาทจะเป็นความลับ ถ้าข้อเสนอของผู้ประนอมฯไม่ได้รับการยอมรับหน้าที่ก็สิ้นสุดลง และสิ่งที่คณะกรรมธิการได้ข้อมูลมาคู่กรณีพิพาทก็ไม่อาจนำไปใช้อีกเว้นแต่จะตกลงยินยอมกัน ทั้งการไกล่เกลี่ยและการประนอมฯมีความยืดหยุ่นมากกว่าการดำเนินการยุติข้อพิพาทโดยวิธีอนุญาโตตุลาการ (arbitration) หรือโดยการศาล Kanya Hirunwattanapong, Faculty of Law, CMU, November 2015
Kanya Hirunwattanapong, Faculty of Law, CMU, November 2015 การยุติข้อพิพาทโดยกระบวนการกฎหมาย (legal methods of dispute settlement) 1. ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice – ICJ) 2. อนุญาโตตุลาการ (International Arbitration) ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice – ICJ) ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือที่รู้จักเป็นการทั่วไปว่า “ศาลโลก” (the world court) เป็นหน่วยงานหลัก ทางการศาลแต่เพียงหน่วยงานเดียงของสหประชาชาติ (เป็นหนึ่งในหกหน่วยงานหลักขององค์การสหประชาชาติ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศตั้งอยู่ที่ the Peace Palace ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ศาลโลกแห่งนี้ ประกอบด้วยผู้พิพากษา 15 คน โดยที่ 5 คนนั้นต้องเลือกทุกๆ 3 ปีเพื่ออยู่ในหน้าที่เป็นเวลา 9 ปี ผู้พิพากษาเลือกโดยสภาความมั่นคง (the Security Council) และสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (the General Assembly) อย่างไรก็ตามประเทศสมาชิกถาวรแห่งสภาความมั่นคง 5 ประเทศ (จีน รัสเซีย ฝรั่งเศส อังกฤษ สหรัฐ) มีผู้พิพากษาในศาลโลกเสมอ Kanya Hirunwattanapong, Faculty of Law, CMU, November 2015
Kanya Hirunwattanapong, Faculty of Law, CMU, November 2015 ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศมีเขตอำนาจศาล 2 ประเภท ข้อพิพาทระหว่างรัฐ (contentious cases) และ การให้คำแนะนำ (advisory opinion) เขตอำนาจศาลเหนือข้อพิพาทระหว่างรัฐ (contentious cases) เป็นกรณีที่รัฐ (เท่านั้น) ที่ยื่นข้อพิพาทให้ศาลฯพิจารณาทั้งนี้ต้องด้วยความยินยอม (consent) ที่จะมอบข้อพิพาทให้ศาล การแสดงการยินยอมทำได้หลายรูปแบบ รัฐอาจตกลงไว้ล่วงหน้าโดยสนธิสัญญายอมรับเขตอำนาจศาล (มาตรา 36(1) Statute of International Court of Justice) การที่รัฐที่เป็นภาคีสมาชิกของ Statute of International Court of Justice อาจประกาศการยอมรับเขตอำนาจศาลฯ (โดยที่ไม่ได้มีข้อตกลงกับรัฐใด) ในประเด็นพิพาทข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ (ก) การตีความสนธิสัญญา, (ข) ประเด็นเกี่ยวกับกฎหมายระหว่างประเทศ, (ค) การมีอยู่ของข้อเท็จจริงที่จะมีผลเป็นการละเมิดข้อผูกพันระหว่างประเทศ, (ง) ลักษณะหรือประเภทการเยียวยา จากการกระทำละเมิดกม. รปท. ‘optional clause’ (36(2)(3)) Kanya Hirunwattanapong, Faculty of Law, CMU, November 2015
Kanya Hirunwattanapong, Faculty of Law, CMU, November 2015 คำพิพากษาของศาลฯ ผูกพันรัฐคู่กรณี และมาตรา 94 กฎบัตรสหประชาชาติกำหนดให้อำนาจแก่ สภาความมั่นคง (the Security Council) หามาตรการที่ใช้เพื่อบังคับคำพิพากษา แต่การบังคับตามคำพิพากษามักไม่มีปัญหาเพราะการนำคดีมาสู่ศาลเกิดจากการยินยอมของรัฐคู่กรณีพิพาทอยู่แล้ว เขตอำนาจศาลเหนือการให้คำแนะนำ (Advisory opinion) มาตรา 96 แห่งกฎบัตรสหประชาชาติกำหนดให้ สมัชชาใหญ่ หรือ สภาความมั่นคงร้องขอศาลให้มีความเห็นในข้อกฎหมาย นอกจากนั้น หน่วยงานอื่นๆ ของสหประชาชาติและองค์การชำนัญพิเศษอื่นๆ อาจร้องขอให้ศาลมีความเห็นได้ ทั้งนี้การร้องขอนี้ต้องได้อนุญาตจากสมัชชาใหญ่ ความเห็นนี้ไม่มีผลผูกพันทางกฎหมายเพราะเป็นเพียงคำแนะนำหรือคำปรึกษา แต่อย่างไรก็ตามก็มีน้ำหนักในทางการเมืองระหว่างประเทศ Kanya Hirunwattanapong, Faculty of Law, CMU, November 2015