งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

กระบวนการยุติธรรมอาญาทางเลือก

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "กระบวนการยุติธรรมอาญาทางเลือก"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 กระบวนการยุติธรรมอาญาทางเลือก
โดย ผศ.ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

2 การปรับทรรศนะในการระงับข้อพิพาททางอาญา
ข้อพิพาทเกิดขึ้นกับ เหยื่อ – ผู้กระทำผิด – ผู้สนับสนุนทั้งสองฝ่าย – ครอบครัว – ชุมชน – รัฐ ต้องทำให้ข้อพิพาทยุติ ฟื้นฟูความสัมพันธ์ให้กับทุกฝ่าย ความยุติธรรมต้องมีอยู่ตลอดเวลา และทุกสถานที่ ขจัดข้อจำกัดจากรูปแบบของกระบวนการยุติธรรม จากความรับผิดชอบของ “รัฐ” สู่ “ชุมชน”

3 ปรัชญากระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์
ไม่มี “แพ้” ไม่มี “ชนะ” ไม่มี “เหนือกว่า” ไม่มี “ไม่มีด้อยกว่า” ไม่มี “ครอบงำ” ไม่มี “ถูกครอบงำ” เน้นการประสานความสัมพันธ์เกิดความเป็นหนึ่งเดียว ลดการผูกขาดกระบวนการยุติธรรมโดยรัฐ สู่ชุมชน เยียวยาเหยื่อ และผู้เสียหาย รวมถึงสังคม

4 การมองอาชญากรรมของ “เชิงสมานฉันท์”
อาชญากรรมไม่ใช่แค่ฝ่าฝืนกฎหมาย แต่เกิดความเสียหาย ไม่เน้นเพียง “ลงโทษ” แต่ ฟื้นฟูความเสียหายให้ทุกฝ่าย รัฐไม่ควรผูกขาดการดำเนินการทั้งหมด เหยื่อ ผู้กระทำผิด และชุมชน มีโอกาสหาทางออก ให้มีการ “ชดใช้” – “แก้ไขฟื้นฟู” – “กลับสู่สังคม” เน้นการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่ได้รับผลกระทบ

5 รูปแบบของกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์
กระบวนการที่ทำให้เกิดความสมานฉันท์ - ควรเป็นกระบวนการที่ไม่เป็นทางการ - ส่งเสริมให้ผู้กระทำผิดสำนึก ชดใช้ ชุมชนเข้ามาร่วม - สร้างความปรองดองให้กับทุกฝ่าย ผลลัพธ์ที่ก่อ “ความสมานฉันท์” - “สำนึก” – “ปรับพฤติกรรม” – “ชดใช้ ชดเชย”

6 ข้อถกเถียงต่อกระบวนการยุติธรรมสมานฉันท์
ไม่ได้เอื้อประโยชน์ต่อเหยื่อ ไม่ได้ลดอัตราการเกิดอาชญากรรม เหยื่อกลัวถูกกระทำซ้ำ เหยื่อร่วมในการฟื้นฟูผู้กระทำผิดน้อย การตอกย้ำตราบาปต่อเหยื่อ ไม่เหมาะกับบางวัฒนธรรม การใช้แรงกดดันจากสังคมอาจเป็นอำนาจ ขยายเครือข่ายของรัฐ ไม่แก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง ผู้ด้อยโอกาสเสี่ยงต่อการเสียสิทธิ มีการก้าวก่ายอำนาจอธิปไตยของสามฝ่าย ละเมิดสิทธิบุคคล ขาดแนวทางชัดเจน ทำให้ตรวจสอบในบางขั้นตอนได้ยาก

7 นำกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์มาใช้ตอนไหน
ชั้นตำรวจ ชั้นอัยการ - ช่วงรวบรวม (ชะลอการฟ้อง) - ช่วงดุลยพินิจ (ระงับฟ้อง หรือเลือกกระบวนการอื่น) ชั้นศาล หลังมีคำพิพากษา

8 กระบวนการยุติธรรมสมานฉันท์ใช้กับความผิดประเภทใด
ความผิดที่เด็กเป็นผู้กระทำ ความผิดจากความรุนแรงในครอบครัว ความผิดที่กระทำโดยประมาท ความผิดเล็กๆน้อยๆเพื่อหลีกเลี่ยงการจำคุกระยะสั้น ความผิดที่ยอมความกันได้ ความผิดร้ายแรง – สากลมีบ้าง เช่น ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์รวันดา เป็นกระบวนการเสริม มิใช่ การทดแทนกระบวนการเดิม

9 ความสะดวกใจในการใช้กับประเทศไทย
การนำมาเสริมกระบวนการหลัก ให้หลากหลายขึ้น มิใช่การนำมาใช้แทนกระบวนการยุติธรรมเดิมทั้งหมด มิใช่เรื่องของฝรั่งที่เรา “ลอก” มาใช้กับไทย มิใช่เรื่องใหม่ แต่มีปรากฏอยู่ในอารยธรรมไทยอยู่แล้ว ไม่ใช่เรื่องทฤษฎีอย่างเดียว แต่พัฒนามาจากการปฏิบัติ การปรับให้สอดคล้องกับสังคม วัฒนธรรมท้องถิ่น

10 สาเหตุที่ต้องนำมาใช้เสริมกระบวนการยุติธรรม “เดิม”
ความล้มเหลวของกระบวนการเชิงแก้แค้นทดแทน “เดิม” - คดีล้นคุก ลงโทษแต่ละเลยเหยื่อ ใช้อำนาจคุม แตกร้าว กระบวนการยุติธรรมสมานฉันท์ได้รับความสำเร็จชัด นโยบายที่ต้องอิงหลักประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม การเปิดโอกาสให้สังคม และชุมชนมีส่วนร่วม มีตัวอย่างความสำเร็จใน การไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาท

11 ข้อสังเกตต่อการใช้กระบวนการยุติธรรมสมานฉันท์
วังวนความรุนแรง “แก้แค้นทดแทน” สังคมไทยมีการให้อภัยต่อคนบางกลุ่ม – เด็ก “เสรีนิยม” ทำให้ควบคุมความประพฤติคนได้ยาก สังคมอำนาจนิยม มีการใช้เส้นสายส่วนบุคคล ต้องการ “ชุมชนหน้าที่” แต่มีเพียง “ชุมชนพื้นที่” ความพร้อมของ “ทรัพยากร” ในการจัดการ

12 วิธีการระงับข้อพิพาทแบบสมานฉันท์
การประนีประนอมข้อพิพาทระหว่างคู่กรณี - ผู้ไกล่เกลี่ย การประชุมปรึกษาหารือในชุมชน - กลุ่มครอบครัว การระงับข้อพิพาทโดยการประชุมโต๊ะกลม การชดใช้ความเสียหาย การทำงานบำเพ็ญประโยชน์ * ไม่ตัดสิทธิในการใช้กระบวนการยุติธรรมแบบเดิม

13 กระบวนการยุติธรรมชุมชน
มาตรการหรือกระบวนการที่ทำในชุมชนระดับรากหญ้า ชุมชนมีส่วนร่วมหรือเป็นหุ้นส่วนสำคัญ ป้องกันและควบคุมความไร้ระเบียบของชุมชน แก้ไขความขัดแย้ง เยียวยาความรุนแรง คืนผู้กระทำผิดสู่ชุมชน โดยชุมชน - ลดการพึ่งพิงสถาบันรัฐ กิจกรรมเชิงรุกมากกว่าตั้งรับปัญหา สร้างความยุติธรรม เข้มแข็งแก่สังคม พัฒนาคุณภาพชีวิต

14 ทฤษฎี เครื่องมือ และวัฒนธรรมในการควบคุม
ทฤษฎีการควบคุมอาชญากรรมสังคมวิทยาอาชญากรรม บรรทัดฐาน – วิถีประชา จารีต ศีลธรรม กฎหมาย การควบคุม (การขัดเกลาสมาชิกให้ปฏิบัติตาม) - วิธีการ – วิธีเชิงบวก , วิธีเชิงลบ - ระดับ – ปัจเจกชน , องค์การ, สังคม - รูปแบบ – แบบเป็นทางการ , แบบไม่เป็นทางการ

15 ทฤษฎี เครื่องมือ และวัฒนธรรมในการควบคุม
ทฤษฎีว่าด้วยยุติธรรมชุมชน การเสริมพลังและการมีส่วนร่วมของชุมชน ทฤษฎีหน้าต่างชำรุด – การลุกลามจากเล็กไปใหญ่ ทฤษฎีแก้ปัญหา - สร้าง “หุ้นส่วน” ในการแก้ปัญหา , พยามแก้ไขปัญหาตั้งแต่ต้นที่เงื่อนไขของปัญหา ให้ความสำคัญกับสภาพทางภูมิศาสตร์ - ชุมชนแทนคุก

16 ทฤษฎี เครื่องมือ และวัฒนธรรมในการควบคุม
ทฤษฎีนโยบายภาครัฐและการบริหารจัดการ การถ่ายโอนภารกิจความรับผิดชอบจากภาครัฐสู่เอกชน แนวคิดชุมชนนิยม เปลี่ยนบทบาทจากรัฐสวัสดิการสู่รัฐจัดระเบียบ แปลงความขัดแย้งให้เป็นทรัพย์สิน - เปิดโอกาสให้เหยื่อเข้ามีส่วนร่วมในชีวิตมากขึ้น

17 ทฤษฎี เครื่องมือ และวัฒนธรรมในการควบคุม
ทฤษฎีการไกล่เกลี่ยของคู่ความ 2 แบบ คือ ทฤษฎีการแข่งขัน – ผู้เจรจาหรือจัดการที่มีประสิทธิภาพทำให้เกิดการแบ่งปันทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทฤษฎีการแก้ปัญหา – แยกสัมพันธ์ส่วนตัวออกจากปัญหาภาพรวมแล้วแก้แต่ละปัญหา เน้นการผสานประโยชน์ของคู่กรณี คิดหาหลากหลายวิธีในการแก้ปัญหา แสวงหาทางเลือกที่ดีที่สุดในการเจรจาตกลง

18 แนวคิดยุติธรรมชุมชนในสังคมไทย
การเลือกผู้ปกครองจากผู้มีคุณธรรมสูงสุด ผู้ปกครองต้องมี “ศีล5” และต้องตัดสินคดี “ตามเทศกาลบ้านเมือง” กฎ หรือกฎหมาย ที่ใช้ ต้องมีความศักดิ์สิทธิ์ การยอมรับความเชื่อ ผี มาเป็นอำนาจในการออกกฎหมาย นำไสยศาสตร์มาเป็นเครื่องมือในการแก้ไขความขัดแย้ง การป้องกัน ปราบปรามอาชญากรรมเป็นหน้าที่ทุกคน

19 แนวคิดยุติธรรมชุมชนในสังคมไทย
การใช้หลักเมตตาธรรมต่อผู้กระทำความผิด การปรับใช้กฎหมายต้องคำนึงถึงความเป็นธรรมตามธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงความคิดด้านกระบวนการยุติธรรมมาสู่ปัจจุบัน ทุนทางสังคมไทยเกี่ยวกับยุติธรรมชุมชนไทย - รัฐ – ผูกโยง รัฐ ชุมชน กฎธรรมชาติกับกระบวนการยุติธรรม เป็นหน้าที่ของทุกคน ผูกโยงกับกฎหมายบ้านเมือง - ท้องถิ่น ขึ้นกับวัฒนธรรมแต่ละถิ่น แต่ละชนเผ่า เชื้อชาติ

20 การประยุกต์แนวคิดยุติธรรมชุมชนในไทย
ตำรวจชุมชนสัมพันธ์ – ความรู้ บริการ ประชาสัมพันธ์ อบรม อัยการ – คุ้มครองสิทธิเสรีภาพ การประนอมข้อพิพาทหมู่บ้าน ศาลยุติธรรม – ศูนย์ระงับข้อพิพาท/การให้ผู้นำชุมชนไกล่เกลี่ย ศาลเยาวชนและครอบครัว – ผู้พิพากษาสมทบ กรมพินิจเด็กฯ กรมคุมประพฤติ – อาสาสมัครคุมประพฤติ เครือข่ายชุมชนฟื้นฟูผู้กระทำความผิด 3จว.ชายแดนใต้ เครือข่ายยาเสพติด กรมคุ้มครองสิทธิฯ – อาสาสมัคร ระงับข้อพิพาท เครือข่ายฯ

21 ปัจจัยความสำเร็จของยุติธรรมชุมชนในสังคมไทย
ทิศทางพัฒนากิจการยุติธรรมในอนาคตเน้นเยียวยา ฟื้นฟู การบริหารจัดการกิจการยุติธรรมโดยมีแผนแม่บทชัดเจน สร้างปัจจัยเงื่อนไขส่งเสริม ยุติธรรมชุมชน – แบบจำลอง ความร่วมมือ ตัวกลาง ภารกิจชุมชน คุณลักษณะของชุมชน – จิตสำนึก เครือข่าย คุณค่า กฎหมาย – ส่งเสริมและรองรับ สนับสนุนท้องถิ่น

22 กระบวนการยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน
Pablo de Greiff and Roger Duthie, Transitional Justice and Development: Making Connection, (New York: Social Science Research Council, 2009. การสร้างความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านจำเป็นต้องอาศัยปัจจัย 5 ประการ ได้แก่ การแสวงหาความจริง การดำเนินคดี การชดเชยและเยียวยา การปฏิรูปสถาบัน การปรองดอง

23 1. การแสวงหาความจริง (Truth seeking)
การแสวงหาความจริง (Truth seeking) ทั้งในด้านของรัฐและด้านของประชาชน เพื่อให้เกิดการวิเคราะห์และตัดสินเชิงคุณค่าเกี่ยวกับการกระทำของฝ่ายต่างๆ ได้ และยังเป็นพื้นที่ให้แต่ละฝ่ายได้บอกกล่าว (Speaking out) เพื่อลดความคับข้องใจด้วย และที่สำคัญคือ ในการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดนั้น ความจริงต้องปรากฏเสียก่อน

24 2. การดำเนินคดี (Prosecution)

25 3. การชดเชยและเยียวยา (Reparation)

26 4. การปฏิรูปสถาบัน (Institutional reform)

27 5. การปรองดอง (Reconciliation)


ดาวน์โหลด ppt กระบวนการยุติธรรมอาญาทางเลือก

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google