ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
ส่วนประกอบหลักและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ องค์ประกอบพื้นฐานของคอมพิวเตอร์ องค์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ ขนาดเล็กไปถีงคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีการทำงาน.
Advertisements

ผู้สอน ครูวาสนา พลทองมาก โรงเรียนบ้านบึงสามัคคีกำแพงเขต
ระบบปฏิบัติการ (Operating System : OS )
Chapter 1 Introduction to Information Technology
ชุดที่ 2 Hardware.
ประเภทของ Input ข้อมูล - Data โปรแกรม - Program คำสั่งงาน - Command
Notebook.
SONY VAIO NOTEBOOK VGN-CR327
1.
หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์
ได้อะไรบ้างจาก หลักสูตร ? 1. ความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2. เทคนิคและวิธีเลือกซื้ออุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ 3. วิธีการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ ตรวจสอบ.
การทำงานขั้นพื้นฐานของคอมพิวเตอร์
หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์
ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ (Personal Computer : PC)
เอกสารประกอบการบรรยาย (2)
Computer Programming I
คอมพิวเตอร์เบื้องต้น
ทุกท่าน ด้วยความยินดียิ่ง ศูนย์คอมพิวเตอร์สารสนเทศ วิทยาลัยการปกครอง
โครงสร้างระบบคอมพิวเตอร์
หน่วยนำข้อมูลเข้าและออก Input Unit And Output Unit
Computer Components CPU: Intel Core i5-3210M (2.50 GHz, up to 3.10 GHz , 3MB cache) Display: 15.6 inch (1366x768) High Definition (1080p) LED Display Graphic:
องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์
Integrated Network Card
ระบบคอมพิวเตอร์ (computer system)
คอมพิวเตอร์เบื้องต้น อ. ว่าที่ ร. ต. กฤษฎา ศักดิ์คำดวง.
1. วัตถูประสงค์ - ใช้ในการพิมพ์ทั่วไป - ใช้ในการดูหนัง ฟังเพลง - เล่นเกมที่สเปคไม่มาก เช่น เกมออนไลน์ 2. อุปกรณ์ -Mainboard Asus H61M-D Price 1,590 LGA1155.
อุปกรณ์นำเข้าข้อมูล (Input Device) Input หมายถึง การป้อนข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อทำการประมวลผลโดย User จะเป็นผู้ป้อนข้อมูลเข้าสู่ เครื่อง.
เนื้อหาที่จะเรียน คอมพิวเตอร์คืออะไร ระบบคอมพิวเตอร์ ส่วนประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการ อินเตอร์เน็ต Microsoft Office.
หน่วยที่ 1 ซอฟต์แวร์.
ระบบสารสนเทศ อ.วรพจน์ พรหมจักร.
ระบบคอมพิวเตอร์.
วิชา ฮาร์ดแวร์ และการซ่อมบำรุงคอมพิวเตอร์ ง33222
บทที่ 2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ และระบบสารสนเทศ
คอมพิวเตอร์..เทคโนโลยีในโลกปัจจุบัน
Mainboard.
ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์
หน่วยที่ 3 องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อชีวิต
การเลือกซื้อคอมพิวเตอร์
อุปกรณ์เก็บบันทึกข้อมูล (Storage Devices)
Overview 13 October 2007
การเบิกค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยใน สวัสดิการการรักษาพยาบาลข้าราชการ
ฮาร์ดแวร์และยูทิลิตี้เบื้องต้น
การติดต่อสื่อสารของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์คืออะไร      คอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบหนึ่งของเทคโนโลยีสารสนเทศที่เอื้อประโยชน์ต่อการแสวงหาสารสนเทศ เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่สามารถรับโปรแกรมและข้อมูล.
บทที่ 2 ระบบคอมพิวเตอร์
บทที่ 4 อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลและองค์ประกอบข้อมูล
บทที่ 2 Input & Output Devices
การติดต่อสื่อสารของคอมพิวเตอร์
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้า Information Technology for Study Skill 01/12/61.
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ (Information Technology for Life)
ผู้สอน : อ.บุศรินทร์ เอี่ยมธนากุล [อ.อ้อย]
คอมพิวเตอร์เบื้องต้น
องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
Operating System Overview
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
โครงสร้างระบบคอมพิวเตอร์
เรื่อง อุปกรณ์แสดงผลลัพธ์
อ.พิณรัตน์ นุชโพธิ์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
การเลือกซื้อคอมพิวเตอร์
บทที่ 2 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ (Personal Computer : PC)
บทที่ 2 อุปกรณ์รับข้อมูลและอุปกรณ์แสดงผล (Input & Output Devices)
เครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์
องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ และภาษาซี
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และการประมวลผลข้อมูล (Introduction to Computer and Data Processing) บทที่ Business Computer & Information.
บทที่ 3 หน่วยความจำและสื่อบันทึกข้อมูล (Memory and storage)
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ใบสำเนางานนำเสนอ:

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันมนุษย์ฝากวิถีการดำเนินชีวิตไว้กับระบบคอมพิวเตอร์มากขึ้น ทั้งนี้ก็เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการให้บริการกับประชาชนจำนวนมากได้อย่างเพียงพอ คอมพิวเตอร์จึงถือเป็นเครื่องมือในการเข้าถึงข้อมูล และใช้งานเพื่อคัดกรองเฉพาะข้อมูลที่ต้องการมาใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ

คุณสมบัติของคอมพิวเตอร์ ความเป็นอัตโนมัติ (Self-Acting) การทำงานของคอมพิวเตอร์จะทำงานแบบอัตโนมัติภายใต้คำสั่งที่ได้ถูกกำหนดไว้ ความเร็ว (Speed) หมายถึง ความสามารถในการประมวลผลข้อมูล (Processing Speed) ความเร็วของการประมวลผลอาจแปรผันตามลักษณะเฉพาะของข้อมูล ความเชื่อถือ (Reliable) หมายถึง ความสามารถในการประมวลผลให้มีความถูกต้อง ซึ่งความเชื่อถือนับเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ความถูกต้องแม่นยำ (Accurate) วงจรคอมพิวเตอร์นั้นจะให้ผลของการคำนวณที่ถูกต้องเสมอ 1. 2. 3. 4.

คุณสมบัติของคอมพิวเตอร์ เก็บข้อมูลจำนวนมาก (Store Massive Amounts of Information) ในปัจจุบันจะมีที่เก็บข้อมูลสำรองที่มีความจุมากกว่าหนึ่งพันล้านตัวอักษร ย้ายข้อมูล (Move Information) โดยใช้การติดต่อสื่อสารผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้มีการเรียกเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมกัน ทั่วโลกในปัจจุบันว่า ทางด่วนสารสนเทศ (Information Superhighway) ทำงานซ้ำ (Repeatability) ช่วยลดปัญหาเรื่องความอ่อนล้าจากการทำงานของแรงงานคน นอกจากนี้ยังลดความผิดพลาดต่าง ๆ ได้ดีกว่า 5. 6. 7.

องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยองค์ประกอบหลักที่สำคัญ 3 ส่วน คือ บุคลากร (People ware) ซอฟต์แวร์ (Software) ฮาร์ดแวร์ (Hardware)

องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ การเปรียบเทียบระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับคนงานได้ดังนี้ องค์ประกอบ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ บุคลากร เครื่องคอมพิวเตอร์ ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์รับข้อมูล และแสดงผล ต่างๆ (จอภาพแสดงผล แป้นคีย์บอร์ด ฯลฯ) ระบบปฏิบัติการ โปรแกรมสำเร็จรูปโปรแกรมเฉพาะงาน ผู้ที่ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ มนุษย์ ร่างกาย อวัยวะต่าง ๆ ของมนุษย์ที่ใช้ในการเคลื่อนไหวและสื่อสาร (ตา หู จมูก ลิ้น ผิวกาย) จิตใจ จิตใต้สำนึก เป็นตัวสร้างกิจกรรม เรียกว่าโปรแกรมธรรมชาติ ผู้ที่ควบคุมการทำงาน

องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ฮาร์ดแวร์ คือ อุปกรณ์ หรือชิ้นส่วนของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีวงจรไฟฟ้าอยู่ภายในเป็นส่วนใหญ่ สามารถจับต้องได้ ประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ คือ หน่วยประมวลผลกลาง หน่วยความจำหลัก หน่วยรับข้อมูลหน่วยแสดงผลหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง

องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์ (Hardware) การทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์จะประกอบด้วยขั้นตอนการทำงานพื้นฐาน ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ขั้นตอน คือ Input Process Output 1. การรับข้อมูลเข้า (Input) หมายถึง ขั้นตอนการรับข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ โดยจะอาศัยหน่วยรับข้อมูลเข้า (Input Unit) ทำหน้าที่ในการรับข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์

องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์ (Hardware) Input Process Output 2. การประมวลผลข้อมูล (Process) หมายถึง ขั้นตอนการนำข้อมูลมาประมวลผลให้ได้ผลลัพธ์ตามต้องการ โดยมีหน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit: CPU) ทำหน้าที่ ประมวลผลข้อมูล

องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์ (Hardware) Input Process Output 3. การแสดงผล (Output) หมายถึง ขั้นตอนการนำข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้วออกมาแสดงผลลัพธ์ให้ผู้ใช้ทราบ โดยผ่านอุปกรณ์สำหรับการแสดงผล (Output Device)

องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ ส่วนประกอบของฮาร์ดแวร์ เครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่อง จะประกอบด้วยส่วนประกอบต่าง ๆ แบ่งออกได้เป็น 5 ส่วน หน่วยรับข้อมูล หน่วยประมวลผลกลาง หน่วยอื่นๆ หน่วยความจำ หน่วยแสดงผล

องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) ส่วนประกอบของฮาร์ดแวร์ หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) หมายถึง หน่วยที่ทำหน้าที่รับข้อมูล คำสั่งหรือโปรแกรมเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ ตลอดจนการโต้ตอบของผู้ใช้โปรแกรมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมถึงอุปกรณ์ซึ่งสามารถป้อนข้อมูล คำสั่งหรือโปรแกรมเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์รับข้อมูล มีดังนี้ 1) อุปกรณ์แบบกด (Keyed Device) ได้แก่ แป้นพิมพ์ หรือ keyboard

องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) ส่วนประกอบของฮาร์ดแวร์ 2) อุปกรณ์ชี้ตำแหน่งและวาดรูป (Pointing and Drawing Devices) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ควบคุมการทำงานของตัวชี้ตำแหน่ง (Pointer) เม้าส์ (Mouse) แผ่นสัมผัส (Touchpad) จอยสติก (Joystick)

องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) ส่วนประกอบของฮาร์ดแวร์ 3) ปากกาแสง (light pen) ใช้สัมผัสกับจอภาพชนิดพิเศษ เพื่อใช้ชี้ตำแหน่งและวาดข้อมูล นิยมใช้กับงานออกแบบ 4) ดิจิไตเซอร์ (Digitizer) ทำหน้าที่แปลงข้อมูล (อ่านพิกัด) ที่เป็นเส้นตรง เส้นโค้ง ภาพวาด ให้เป็นสัญญาณดิจิตอล แล้วถ่ายทอดสัญญาณไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์

องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) ส่วนประกอบของฮาร์ดแวร์ 5) กราฟิกแทปเลท (Graphics Tablet) เป็นเครื่องอ่านพิกัดกราฟิก ทำงานลักษณะเดียวกับ ดิจิไตเซอร์ ต่างกันที่จะมีอักขระและคำสั่งพิเศษสำเร็จรูปอยู่บนแผ่นอ่านพิกัด นิยมใช้สำหรับงานออกแบบสถาปัตยกรรม 6) จอภาพสัมผัส (Touch Screen) เป็นจอภาพชนิดพิเศษที่ให้ผู้ใช้งานใช้นิ้วสัมผัสบนจอภาพเพื่อป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบ

องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) ส่วนประกอบของฮาร์ดแวร์ 7) สมุดบันทึกคอมพิวเตอร์ (Digital Notebook) - เป็นอุปกรณ์ที่ประกอบด้วยแผ่นกระดาษโน้ตหรือกระดาษที่ใช้เขียนงานทั่วไป - ซึ่งจะต้องวางอยู่บนแผ่นอิเล็กทรอนิกส์ แล้วใช้งานร่วมกับปากกาชนิดพิเศษที่สามารถส่งสัญญาณที่เขียนบนสมุดลงไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ - ผู้ใช้สามารถเรียกดูแก้ไข หรือตกแต่งได้ตามต้องการ

องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) ส่วนประกอบของฮาร์ดแวร์ 8) อุปกรณ์กราดภาพ (Scanning Devices) เป็นอุปกรณ์เพื่อใช้บันทึกข้อความ ภาพวาด หรือสัญลักษณ์พิเศษอื่น ๆ เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ โดยมีหลักการทำงาน คือ อุปกรณ์จะทำการแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปของสัญญาณดิจิตอลที่สามารถนำไปประมวลผลและแสดงผลบนจอภาพได้ ได้แก่ สแกนเนอร์ (Scanner) - สแกนเนอร์แบบเลื่อนกระดาษ (Sheet-Fed Scanner) - สแกนเนอร์แบบแท่นนอน (Flatbed Scanner) - สแกนเนอร์แบบมือถือ (Handheld Scanner)

องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) ส่วนประกอบของฮาร์ดแวร์ เครื่องอ่านรหัสบาร์โค้ด (Barcode Reader) เครื่องอ่านอักขระด้วยแสง (Optical Character Recognition: OCR) เครื่องอ่านเครื่องหมายด้วยแสง (Optical Mark Recognition: OMR) ปัจจุบันมีการพัฒนารหัสคิวอาร์ (QR Code) มีลักษณะเป็นสัญลักษณ์บาร์โค้ด 2 มิติ

องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) ส่วนประกอบของฮาร์ดแวร์ เอ็มไอซีอาร์ (Magnetic Ink Character Recognition Device: MICR) กล้องดิจิตอล (Digital camera) กล้องวีดีโอ

องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ส่วนประกอบของฮาร์ดแวร์ หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit: CPU) มีหน้าที่นำคำสั่งและข้อมูลที่เก็บไว้ในหน่วยความจำมาแปลความหมายและกระทำตามคำสั่งพื้นฐานของไมโครโพรเซสเซอร์ ซึ่งแทนด้วยรหัสเลขฐานสอง การทำงานของคอมพิวเตอร์ ใช้หลักการเก็บคำสั่งไว้ที่หน่วยความจำ ซีพียูอ่านคำสั่งจากหน่วยความจำมาแปล ความหมายและกระทำตามเรียงกันไปทีละคำสั่ง หน้าที่หลักของซีพียู คือควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบตลอดจนทำการประมวลผล

องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ส่วนประกอบของฮาร์ดแวร์ หัวใจของเครื่องคอมพิวเตอร์พีซี คือ ชิปไมโครโปรเซสเซอร์หรือซีพียู มีทั้งแบบประมวลผลแบบ 32 บิต และ 64 บิต ความเร็วของซีพียูมีหน่วยที่ใช้วัดความเร็วคือ เมกะเฮิรตซ์หรือจิกะเฮิรตซ์ แบ่งกลุ่มตามการใช้งานได้แก่ กลุ่มที่ 1 ใช้ในสำนักงาน เล่นอินเทอร์เน็ต ดูหนังฟังเพลง กลุ่มที่ 2 เพื่อความบันเทิง แต่งภาพ เขียนแบบ 2D ทำกราฟฟิค แต่ไม่ถึงกับงาน 3D หรือใช้เล่นเกมส์แบบปกติกราฟิกไม่มาก กลุ่มที่ 3 ทำกราฟิกงานด้าน 3D งานตัดต่อวีดีโอ ภาพยนตร์ สตูดิโอ ห้องอัดเพลง แต่งเสียง เขียนแบบ 3D เล่นเกมส์แบบละเอียดมาก

องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ส่วนประกอบของฮาร์ดแวร์ หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit: CPU) มีส่วนประกอบ ดังนี้ มีหน้าที่นำเอาข้อมูลที่เป็นตัวเลขฐานสองมาประมวลผลทางคณิตศาสตร์ และตรรกะ 2.หน่วยคำนวณและตรรกะ ALU ทำหน้าที่ควบคุมการทำงาน ควบคุมการเขียนอ่านข้อมูลระหว่างหน่วยความจำ CPU ควบคุมกลไกการทำงานทั้งหมดของระบบ 1.หน่วยควบคุม CU หรือรีจิสเตอร์ (Register) เป็นหน่วยความจำทำหน้าที่พักข้อมูลชั่วคราวเพื่อเตรียมนำประมวลผลในลำดับถัดใน CPU ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับความทรงจำในสมองของมนุษย์นั่นเอง 3. หน่วยความจำภายใน MU

องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ส่วนประกอบของฮาร์ดแวร์ ส่วนประกอบของซีพียู

องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ หน่วยแสดงผล (Output Unit) ส่วนประกอบของฮาร์ดแวร์ หน่วยแสดงผล หมายถึง หน่วยที่นำผลที่ได้จากการประมวลผลข้อมูลของคอมพิวเตอร์ ออกแสดงในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้บุคคลหรืออุปกรณ์อื่น ๆ ที่ทำงานเกี่ยวข้องได้เข้าใจ โดยผ่านทางอุปกรณ์แสดงผล (Output Devices) หน่วยแสดงผล แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ หน่วยแสดงผลชั่วคราว (Soft Copy) และ หน่วยแสดงผลถาวร (Hard Copy)

องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ หน่วยแสดงผล (Output Unit) ส่วนประกอบของฮาร์ดแวร์ 1) หน่วยแสดงผลชั่วคราว (Soft Copy) จอภาพ (Monitor) - จอซีอาร์ที (Cathode Ray Tube: CRT) - จอแอลซีดี (Liquid Crystal Display: LCD) - จอแอลอีดี (Light Emitting Diode: LED)

องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ หน่วยแสดงผล (Output Unit) ส่วนประกอบของฮาร์ดแวร์ อุปกรณ์ฉายภาพ (Projector) อุปกรณ์เสียง (Audio Device) ประกอบด้วยลำโพง (Speaker) และการ์ดเสียง (Sound Card)

องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ หน่วยแสดงผล (Output Unit) ส่วนประกอบของฮาร์ดแวร์ 2) หน่วยแสดงผลถาวร (Hard Copy) เครื่องพิมพ์ (Printer) - เครื่องพิมพ์แบบกระทบ (Impact Printer) ใช้การตอกให้คาร์บอนบนผ้าหมึกติดบนกระดาษตามรูปแบบที่ต้องการ เครื่องพิมพ์อักษร (Character Printer) เครื่องพิมพ์บรรทัด (Line Printer)

องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ หน่วยแสดงผล (Output Unit) ส่วนประกอบของฮาร์ดแวร์ เครื่องพิมพ์ (Printer) - เครื่องพิมพ์แบบไม่กระทบ (Nonimpact Printer) เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (Laser Printer) เครื่องพิมพ์ฉีดหมึก (Inkjet Printer) เครื่องพิมพ์ความร้อน (Thermal Printer)

องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ หน่วยแสดงผล (Output Unit) ส่วนประกอบของฮาร์ดแวร์ เครื่องพลอตเตอร์ (Plotter) - พลอตเตอร์แบบระนาบ (Flatbed Plotter) - พลอตเตอร์แบบทรงกระบอก (Drum Plotter) - อิเล็กโตรสแตติกพลอตเตอร์ (Electrostatic Plotter)

องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ หน่วยความจำ (Memory) ส่วนประกอบของฮาร์ดแวร์ หน่วยความจำแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ หน่วยความจำหลัก และหน่วยความจำสำรอง ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้ 1) หน่วยความจำหลัก (Main Memory) ทำหน้าที่เก็บข้อมูล ชุดคำสั่งหรือโปรแกรม ไว้สำหรับให้หน่วยควบคุมใช้งานเพื่ออ่านคำสั่งหรือนำข้อมูลออกมา หรือใช้เก็บผลที่ได้จากการคำนวณ เพื่อใช้ดำเนินงานในลำดับต่อไป โดยทั่วไปหน่วยความจำหลักที่เป็นที่รู้จักกันมี 2 ประเภท คือ แรม (RAM) รอม (ROM)

องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ หน่วยความจำ (Memory) ส่วนประกอบของฮาร์ดแวร์ แรม (Random Access Memory: RAM) - เป็นอุปกรณ์หรือแผงวงจรที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลและโปรแกรมคอมพิวเตอร์ - หน่วยความจำแรม บางครั้งเรียกว่าหน่วยความจำชั่วคราว (Volatile)

องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ หน่วยความจำ (Memory) ส่วนประกอบของฮาร์ดแวร์ รอม (Read-Only Memory: ROM) - เป็นหน่วยความจำที่บันทึกคำสั่งโปรแกรมเริ่มต้น (Start-up) ของระบบ - คุณสมบัติเด่นของรอมคือ ข้อมูลและคำสั่งจะไม่ถูกลบหายไป ถึงแม้ว่าจะปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ - ข้อมูลส่วนใหญ่จะถูกบันทึกมาจากโรงงานผู้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์

องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ หน่วยความจำ (Memory) ส่วนประกอบของฮาร์ดแวร์ 2) หน่วยความจำสำรอง (Secondary Memory) หน่วยความจำสำรองใช้เป็นส่วนเพิ่มความจำให้มีขนาดใหญ่มากขึ้น ทำงานติดต่อยู่กับส่วนความจำหลัก หน่วยความจำสำรองมีความจุมากและมีราคาถูก แต่เรียกหาข้อมูลได้ช้ากว่าส่วนความจำหลัก

องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ หน่วยความจำ (Memory) ส่วนประกอบของฮาร์ดแวร์ ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) - เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีหน้าที่ในการเก็บข้อมูล - ฮาร์ดดิสก์มีความจุมากก็ยิ่งสามารถบันทึกข้อมูลลงได้มาก ๆ - อีกทั้งยังเป็นพื้นที่สำหรับติดตั้งระบบปฏิบัติการ

องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ หน่วยความจำ (Memory) ส่วนประกอบของฮาร์ดแวร์ ออฟติคอลดิสก์ (Optical Disk) - เป็นสื่อในการเก็บข้อมูล - โดยใช้ลำแสงเลเซอร์ในการอ่านข้อมูลซึ่งทำมากจากแผ่นพลาสติกที่เคลือบด้วยอะลูมิเนียม และอะคลีลิค ตัวอย่างของออฟติคอลดิสก์ ได้แก่ ซีดีรอม (CD-ROM ) ซีดีอาร์(CD-R) ซีดีอาร์ดับบลิว (CD-RW) ดีวีดีรอม (DVD-ROM) ดีวีดีอาร์ดับบลิว (DVD-RW) ดีวีดีแรม (DVD-RAM)

องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ หน่วยความจำ (Memory) ส่วนประกอบของฮาร์ดแวร์ หน่วยความจำแฟลช (Flash Memory) - เป็นหน่วยความจำขนาดเล็ก ที่สามารถบันทึกข้อมูลลงไปได้โดยที่ไม่ต้องใช้แบตเตอรี่ - ข้อมูลไม่มีการสูญหายเมื่อปิดสวิตซ์ - ใช้กระบวนการทางไฟฟ้าในการบันทึกข้อมูลและมีตัวควบคุมการอ่านและเขียน

องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ ส่วนประกอบอื่น ๆ ส่วนประกอบของฮาร์ดแวร์ แผงวงจรหลัก (Mainboard) เป็นหัวใจสำคัญที่สุดที่อยู่ภายในเครื่อง ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางทำให้อุปกรณ์ต่างๆ ทำงานร่วมกันได้ ตัวเครื่อง (Case) เพื่อประโยชน์ในการยึดอุปกรณ์ ต่าง ๆ ให้มีความมั่นคง กะทัดรัด เคลื่อนย้ายได้ ขณะเดียวกันก็เพื่อความปลอดภัย

องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ ส่วนประกอบอื่น ๆ ส่วนประกอบของฮาร์ดแวร์ แหล่งจ่ายไฟ (Power Supply) ทำหน้าที่แปลงไฟฟ้ากระแสสลับให้เป็นกระแสตรงเพื่อจ่ายให้กับอุปกรณ์อื่น เครื่องสำรองไฟ (Uninterrupted Power Supply : UPS) เป็นอุปกรณ์ ทำหน้าที่สำรองไฟไว้ใช้ในกรณีไฟฟ้าดับ หรือหากกระแสไฟฟ้าเกินหรือขาดไป

องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ ส่วนประกอบอื่น ๆ ส่วนประกอบของฮาร์ดแวร์ การ์ดแสดงผล (VGA Card) เป็นอุปกรณ์ที่มีหน้าที่หลักๆ คือ จะรับสัญญาณข้อมูลดิจิตอลมาจากหน่วยประมวลผลกลาง แล้วจึงทำการแปลงสัญญาณผ่านทางตัวแปลงสัญญาณภาพ การ์ดเสียง ( Sound Card) เป็นแผงวงจรอิเลคทรอนิกส์ ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ร่วมกับคอมให้แสดงผลออกมาเป็นเสียง การ์ดแลน (LAN Card) เป็นการ์ดที่ทำหน้าที่รับส่งข้อมูลผ่านสายนำสัญญาณเช่นสายเคเบิลหรือผ่านคลื่นวิทยุจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่ง

ซอฟต์แวร์ (Software) ซอฟต์แวร์ (Software) 1. 2. ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) 1. 2.

1. ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) ซอฟต์แวร์ระบบ คือ ชุดของคำสั่งที่เขียนไว้เป็นคำสั่งสำเร็จรูป ใกล้ชิดกับคอมพิวเตอร์มากที่สุด เพื่อควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ทุกอย่าง และอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้งาน ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมระบบที่รู้จักกันดีก็คือ DOS, Windows, Unix, Linux เป็นต้น รวมทั้งโปรแกรมแปลคำสั่งที่เขียนในภาษาระดับสูง นอกจากนี้โปรแกรมที่ใช้ในการตรวจสอบระบบ เช่น Norton’s Utilities

2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) ซอฟต์แวร์ประยุกต์ คือ ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานต่างๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ ไม่ว่าจะด้านเอกสาร บัญชี การจัดเก็บข้อมูล เป็นต้น สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปหรือซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป 1. 2.

1. ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน ซอฟต์แวร์ (Software) ซอฟต์แวร์ประยุกต์ 1. ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน คือ โปรแกรมซึ่งเขียนขึ้นเพื่อการทำงานเฉพาะอย่าง เช่น โปรแกรมการทำบัญชีจ่ายเงินเดือน โปรแกรมการทำสินค้าคงคลัง แต่ละโปรแกรมก็มักจะมีเงื่อนไข หรือแบบฟอร์มแตกต่างกันออกไปตามความต้องการ หรือกฎเกณฑ์ของแต่ละหน่วยงานที่ใช้ สามารถดัดแปลงแก้ไขเพิ่มเติม (Modifications) ในบางส่วนของโปรแกรมได้ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้

2. ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปหรือซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป ซอฟต์แวร์ (Software) ซอฟต์แวร์ประยุกต์ 2. ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปหรือซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป เป็นซอฟต์แวร์ที่มีความนิยมใช้กันสูงมาก ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปเป็นซอฟต์แวร์ที่บริษัทพัฒนาขึ้น แล้วนำออกมาจำหน่าย เพื่อให้ผู้ใช้งานซื้อไปใช้ได้โดยตรง ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปที่มีจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไป และเป็นที่นิยมของผู้ใช้ ได้แก่ 1. ซอฟต์แวร์ประมวลผลคำ (Word Processing Software) 2. ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน (Spread Sheet Software) 3. ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล (Database Management Software) 4. ซอฟต์แวร์นำเสนอ (Presentation Software) 5. ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูล (Data Communication Software)

ซอฟต์แวร์ (Software) ภาษาคอมพิวเตอร์ 1. 2. 3. คือ ภาษาที่ใช้ในการติดต่อกับคอมพิวเตอร์โดยถูกนำมาเขียนเป็นชุดคำสั่ง (Program) ให้เครื่องทำงานตามคำสั่งของภาษานั้น ในปัจจุบันภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้สำหรับเขียนโปรแกรมมีมากมายหลายภาษา ซึ่งแต่ละภาษาจะมีกฎเกณฑ์และวิธีการเขียนโปรแกรมแตกต่างกัน ภาษาคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น ภาษาระดับต่ำ (Low Level Language) ภาษาระดับสูง (High Level Language) 1. 2. 3. ตัวแปลภาษา (Translator)

1. ภาษาระดับต่ำ (Low Level Language) ซอฟต์แวร์ (Software) ภาษาคอมพิวเตอร์ 1. ภาษาระดับต่ำ (Low Level Language) - เป็นภาษาหรือคำสั่งที่ใช้ในการสั่งงานหรือติดต่อกับเครื่องโดยตรง - ภาษาเครื่องจะประกอบด้วยรหัสของเลขฐานสอง - เทียบกับลักษณะของสัญญาณทางไฟฟ้าเข้ากับการทำงานของเครื่อง - ภาษาเครื่องจะมีกฎเกณฑ์ทางไวยากรณ์ค่อนข้างจำกัด - โปรแกรมมีลักษณะค่อนข้างยุ่งยากซับซ้อน - เป็นภาษาสัญลักษณ์ - ใช้สัญลักษณ์ข้อความแทนกลุ่มของเลขฐานสอง - ผู้เขียนโปรแกรมต้องจำความหมายสัญลักษณ์ที่ใช้แทนคำสั่งต่าง ๆ - ข้อดี คือ การเขียนโปรแกรมเขียนง่ายกว่าภาษาเครื่อง - ข้อเสีย คือ การเขียนโปรแกรมมีลักษณะคล้ายภาษาเครื่อง ภาษาเครื่อง (Machine Language) ภาษาแอสแซมบลี (Assembly Language)

ซอฟต์แวร์ (Software) ภาษาคอมพิวเตอร์ 2. ภาษาระดับสูง (High Level Language) เป็นภาษาที่ได้รับการพัฒนา ให้สามารถใช้ได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น การเขียนภาษาไม่ขึ้นกับฮาร์ดแวร์หรือลักษณะการทำงานภายในของเครื่องคอมพิวเตอร์ ผู้เขียนโปรแกรมไม่จำเป็นต้องเข้าใจระบบการทำงานภายในเครื่องมากนัก เพียงแต่เข้าใจกฎเกณฑ์ในกาเขียนแต่ละภาษาให้ดี ซึ่งลักษณะคำสั่งจะคล้ายกับภาษาอังกฤษ ภาษาระดับสูงจึงเป็นที่นิยมใช้กันแพร่หลายในปัจจุบันได้แก่ C, Basic , Java , Php , Pyton

3. ตัวแปลภาษา (Translator) ซอฟต์แวร์ (Software) ภาษาคอมพิวเตอร์ 3. ตัวแปลภาษา (Translator) ตัวแปลภาษา มีหน้าที่ แปลภาษาระดับสูงที่มีลักษณะใกล้เคียงกับภาษามนุษย์ ให้เป็นภาษาเครื่อง นั่นคือแปลโปรแกรมภาษาต้นฉบับให้อยู่ในรูปของโปรแกรมเรียกใช้งานที่คอมพิวเตอร์เข้าใจ สามารถทำงานได้ แบ่งได้ 3 ประเภท ดังนี้ แอสแซมเบลอร์ (Assembler) เป็นตัวแปลภาษาแอสแซมบลี ซึ่งเป็นภาษาระดับต่ำให้เป็นภาษาเครื่อง คอมไพเลอร์ (Compiler) ใช้หลักการแปลโปรแกรมต้นฉบับทั้งโปรแกรมให้เป็นโปรแกรมเรียกใช้งาน 1. 2. อินเตอร์พรีเตอร์ (Interpreter) แปลพร้อมกับทำงานตามคำสั่งทีละคำสั่งตลอดทั้งโปรแกรม ทำให้แก้ไขโปรแกรมได้ง่าย และรวดเร็ว 3.

ซอฟต์แวร์ (Software) ภาษาคอมพิวเตอร์ 3. ตัวแปลภาษา (Translator) ข้อแตกต่างระหว่างคอมไพเลอร์และอินเตอร์พรีเตอร์ คอมไพเลอร์ (Compiler) อินเตอร์พรีเตอร์ (Interpreter) 1. แปลทั้งโปรแกรมแล้วจึงทำงานตามคำสั่งในโปรแกรมนั้น 1. แปลโปรแกรมทีละคำสั่งและทำงานตามคำสั่งนั้นทันที 2. ใช้เนื้อที่ในหน่วยความจำมาก 2. ใช้เนื้อที่หน่วยความจำน้อย 3. มีการสร้างโปรแกรมเรียกใช้งาน (Execute Program) 3. ไม่มีการสร้างโปรแกรมเรียกใช้งาน (Execute Program) 4. ถ้าโปรแกรมมีการทำงานแบบวนซ้ำ เครื่องจะนำโปรแกรมเรียกใช้งาน ไปใช้งานได้เลยโดยไม่ต้องแปลซ้ำ ทำให้ทำงานได้เร็วกว่า 4. ถ้าโปรแกรมมีการทำงานแบบวนซ้ำ จะต้องแปลคำสั่งซ้ำแล้วซ้ำอีก ทำให้การทำงานช้า

บุคลากร (People ware) บุคลากร หมายถึง บุคลากรในงานด้านคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งาน สั่งงานเพื่อ ให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ต้องการ แบ่งออกได้ 4 ระดับ ดังนี้ ผู้วางนโยบายการใช้คอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตามเป้าหมายของหน่วยงาน ผู้จัดการระบบ (System Manager) ผู้ที่ศึกษาระบบงานเดิมหรืองานใหม่และทำการวิเคราะห์ความเหมาะสมความเป็นไปได้ในการใช้คอมพิวเตอร์กับระบบงาน นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) ผู้เขียนโปรแกรมสั่งงานเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้ โปรแกรมเมอร์ (Programmer) ผู้ใช้ (User) ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป ซึ่งต้องเรียนรู้วิธีการใช้เครื่องและวิธีการใช้งานโปรแกรม

เทคนิคในการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ การเลือกซื้อคอมพิวเตอร์เป็นสองประเภทคือ เดสก์ทอป และโน้ตบุ๊ค ซึ่งในกลุ่มของโน้ตบุ๊ค แบ่งย่อยได้อีกคือ Laptop , Notebook, Tablet และ Ultarbook ไอแพด บริษัทแอปเปิล แทปเล็ต VAIO Duo 11 บริษัทโซนี่ กาแลคซี่โน้ต 10.1 บริษัทซัมซุง

เทคนิคในการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ การเลือกซื้อคอมพิวเตอร์อย่างมีคุณภาพที่เพียงพอต่อการใช้งาน มีรายละเอียดดังนี้ 1. ซีพียู หรือหน่วยประมวลผลกลาง เปรียบได้กับสมองของคน เพราะเป็นตัวบ่งชี้คุณสมบัติของคอมพิวเตอร์ว่าจะทำงานได้เร็วหรือช้า ขึ้นอยู่กับปัจจัย ดังนี้ แกนประมวลผล (CPU Core) หมายถึง จำนวนส่วนประมวลผลที่ติดตั้งในซีพียู ซึ่งอาจมากกว่า 1 แกนประมวลผลก็ได้ ซึ่งหากซีพียูมีหลายแกนประมวลผลมันก็จะช่วยกันประมวลผลให้เสร็จเร็วขึ้น ตัวอย่างเช่น Intel Core 2 Duo หรือ Quad-Father ของบริษัท AMD หน่วยความจำแบบ แอลแคช คือขนาดของแคชระดับที่ 2 (L2 Cache) ติดตั้งไว้ภายในตัวซีพียู เป็นหน่วยความจำที่มีความเร็วสูงมากซึ่งจะทำหน้าที่บัฟเฟอร์ข้อมูลที่ถูกถ่ายโอนระหว่างโปรเซสเซอร์และหน่วยความจำ RAM ขนาดของแคชอาจมีได้ถึงระดับที่ 3 ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความเร็วในการทำงานให้เร็วขึ้น

เทคนิคในการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ ความเร็วสัญญาณนาฬิกา (Clock Speed) คือ ความเร็วซึ่งโปรเซสเซอร์ประมวลผลชุดคำสั่ง โปรเซสเซอร์ทุกตัวประกอบด้วยสัญญาณนาฬิกาภายในซึ่งจะเป็นตัวควบคุมอัตราการประมวลผลชุดคำสั่งให้เป็นไปตามจังหวะสัญญาณนาฬิกา มีหน่วยเป็นครั้งต่อวินาทีบางทีเรียกว่าความถี่มีหน่วยเป็น เฮิรตซ์ (Hertz หรือ Hz) ความเร็วของสัญญาณนาฬิกามีหน่วยความเร็วเป็นเมกกะเฮิรตซ์ (MHz) เช่น ซีพียูมีความเร็ว 1.26GHz หมายถึงซีพียูมีความเร็ว สัญญาณนาฬิกา 1.26 พันล้านครั้งต่อวินาที ความเร็วบัส (Front Side Bus) คือความเร็วบัสซึ่งใช้ในการเชื่อมต่อโปรเซสเซอร์เข้ากันหน่วยความจำหลัก (RAM) เนื่องจากโปรเซสเซอร์มีความเร็วสูงขึ้นเรื่อยๆ ความเร็วบัสของระบบจึงกลายเป็นปัญหาคอขวดสำหรับพีซียุคใหม่ ความเร็วบัสของระบบคือ 400 MHz 533 MHz 667 MHz และ 800 MHz

เทคนิคในการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ 2. หน่วยความจำ หมายถึงหน่วยความจำหลัก ทำหน้าที่เก็บทั้งข้อมูล และชุดคำสั่ง อยู่ภายนอกซีพียู มีความเร็วต่ำกว่าหน่วยความจำแบบแคช เรียกกันว่า แรม (Random Access Memory เขียนอย่างย่อว่า RAM) ใช้เพื่อเก็บข้อมูลเป็นการชั่วคราว ชิปเซ็ต (ตัวควบคุมการสื่อสารข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ ของระบบคอมพิวเตอร์) แต่ละรุ่นจะสนับสนุนหน่วยความจำเพียงหนึ่งประเภท - DRAM และ RDRAM (Rambus) เทคโนโลยีหน่วยความจำแบบเก่า ซึ่งชิปเซ็ตรุ่นปัจจุบันของ Intel ไม่ได้ให้การสนับสนุนอีกต่อไป - DDR (Double Data Rate) SDRAM มีอัตราการถ่ายโอนข้อมูลเป็นสองเท่าเมื่อเทียบกับการถ่ายโอนข้อมูลของ SDR SDRAM - Dual Channel DDR SDRAM มีอัตราการถ่ายโอนข้อมูลเป็นสี่เท่าของ SDR SDRAM

เทคนิคในการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ 3. ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk) เป็นหน่วยบันทึกข้อมูล ที่สามารถเก็บทั้งข้อมูล และชุดคำสั่งที่เรียกว่าโปรแกรม เป็นหน่วยความจำแบบถาวร ที่สามารถเก็บข้อมูลไว้ได้แม้ปิดเครื่อง มีขนาดความจุมากมายหลายขนาด เช่น 120Gbytes, 256Gbytes, 512Gbytes, 1Tbytes ฯลฯ รายละเอียดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับฮาร์ดดิสก์ มีดังนี้ 1) ชนิดของระบบบัส ที่ใช้เชื่อมโยงข้อมูลเข้าออก มี 3 มาตรฐานคือ SCSI (Small Computer System Interface) IDE (Integrated Drive Electronics) และ SATA (Serial Advanced Technology Attachment บางทีเรียกว่า Serial ATA) ปัจจุบันนิยมใช้ฮาร์ดดิสก์ที่ใช้เชื่อมโยงข้อมูลเข้าออกแบบ SATA1 หรือ SATA2 เนื่องจากมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงกว่าแบบ IDE 2) ความเร็วของการหมุนจานบันทึกข้อมูล ก็มีผลต่อความเร็วในการบันทึกข้อมูลมูล เช่น ความเร็วมีให้เลือก 5,400 - 7,200 และ 10,000 รอบต่อนาที 3) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของจานบันทึกข้อมูลมีหลายขนาดเช่น8/5.25/3/2.5/1.8/1/ และ0.85 นิ้ว

เทคนิคในการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ 4. แลน และ ไวร์เลสแลน (LAN and Wireless LAN) ย่อมาจาก Local Area Network ตัวย่อ LAN ใช้เป็นตัวเชื่อมต่อเพื่อสื่อสารข้อมูลกับระบบเครือข่ายแบบท้องถิ่นแบบใช้สายผ่านทางขั้วต่อแบบ RJ-45 ส่วนใหญ่ใช้เพื่อเข้าถึงอินเตอร์เน็ต โน๊ตบุ๊ค ส่วนใหญ่จะติดตั้งระบบไวร์เลสแลน หรือที่เรียกว่า ระบบการเชื่อมโยงเพื่อสื่อสารข้อมูลกับระบบเครือข่ายแบบไร้สาย เป็นอุปกรณ์มาตรฐาน โดยระบบไวร์เลสแลน จะเชื่อมโยงกับตัวรับส่งข้อมูลที่ติดตั้งไว้ตามจุดบริการของสถานที่ต่าง ๆ ด้วยคลื่นความถี่วิทยุ ที่เราคุ้นกันในชื่อ WI FI (ย่อมาจาก wireless fidelity) ซึ่งมีรหัส IEEE 802.11 โดยการพัฒนา จากสถาบันวิศวกรไฟฟ้า และ อิเลคโทรนิค หรือ Institute of Electrical and Electronics Engineering (IEEE)

เทคนิคในการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ 5. บลูทูธ (Bluetooth) โน๊ตบุ๊คก็มีการนำมาใช้ทั้งเชื่อมต่อเพื่อโอนถ่ายข้อมูลระหว่างเครื่อง ไปจนถึงเชื่อมต่อกับโทรศัพท์เพื่อเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ด้วย ข้อเสียก็คือ ส่งข้อมูลได้ช้าเพราะมีความเร็วแค่ 100kb/sec และไม่สามารถเชื่อมต่อได้ไกลมากนัก ประมาณ 10 เมตร 6. โมเด็ม (Modem) มาจากคำว่า modulate and demodulate หมายถึง การผสมสัญญาณดิจิตอลไปกับสัญญาณอนาลอก ผ่านสายโทรศัพท์ออกไปยังปลายทาง เรียกว่า modulate และเมื่อสัญญาณถึงปลายทางก็มีการถอดรหัสสัญญาณดิจิตอลออกจากสัญญาณอนาล็อก แล้วนำไปใช้งานในระบบคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อที่ปลายทาง มีขั้วต่อแบบ RJ-11 ตามชนิดของหัวต่อ ปัจจุบันไม่มีการติดตั้งโน้ตบุ๊ก รุ่นใหม่ๆ แล้ว เพราะมีระบบ Hi Speed อินเตอร์เน็ตเข้ามาแทนที่ ซึ่งนิยมใช้เป็นพอร์ต LAN หรือ WiFi มากกว่า เพราะเร็วกว่ากันมาก

เทคนิคในการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ 7. พอร์ตยูเอสบี (USB Port) ย่อมาจาก Universal Serial Bus เป็นพอร์ตที่ส่งถ่ายข้อมูลแบบอนุกรม ที่ได้รับความนิยมสูงสุดมีใช้ในอุปกรณ์ต่อเชื่อมแทบทุกชนิด ตั้งแต่แฟลตไดร์ฟ (Flash drive) ไปจนถึงจอภาพ LCD เลยทีเดียว ด้วยความสามารถเด็ดเสียบและใช้งาน (Plug & Play) คือสามารถใช้งานได้ทันทีไม่ต้องรีสตาร์ทเครื่องใหม่ ในปัจจุบันใช้ USB 2.0 เป็นหลัก ซึ่งจะมีความเร็วอยู่ในการถ่ายทอดข้อมูล 480 MB/s และอีกไม่นาน USB 3.0 ซึ่งมีความเร็วในการถ่ายทอดข้อมูล 5 GB/s ก็จะเข้ามาแทนที่ ซึ่งจะมีความเร็วมากว่า 2 ถึง 10 เท่า 8. แบตเตอรี่ (Battery) เป็นสิ่งสำคัญ เพราะผู้ใช้โน้ตบุ๊ค จะใช้งานนอกสถานที่ได้ดีแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับแบตเตอรี่ โดยปัจจุบัน Li-Ion ได้รับความนิยมมากสุด นอกจากจะชาร์จเมื่อไรได้ตามต้องการแล้ว มันยังใช้งานได้นานพอสมควร (วงรอบการชาร์จประมาณ 1,000 ครั้ง) ยิ่งจำนวน Cell มากเท่าไร ยิ่งสามารถใช้งานนานได้มากขึ้น

การใช้งานระบบปฏิบัติการที่น่าสนใจ พัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟท์ เปิดตัวเมื่อปี พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985) ครองความนิยมในตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล มากกว่า 90% ของการใช้งานระบบปฏิบัติการทั่วโลก ไมโครซอฟท์วินโดวส์ (Microsoft Windows) เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์แมคอินทอช เป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัทแอปเปิลคอมพิวเตอร์ เป็นระบบปฏิบัติการที่มีส่วนต่อประสานกับผู้ใช้แบบกราฟิก (GUI) รายแรกที่ประสบความสำเร็จในเชิงพาณิชย์ เป็นระบบปฏิบัติการที่นิยมเป็นอันดับสองรองจาก วินโดวส์ แมคโอเอส (Mac OS)

การใช้งานระบบปฏิบัติการที่น่าสนใจ เป็นเทคโนโลยีแบบเปิด (open system) เป็นแนวคิดที่ผู้ใช้ไม่ต้องผูกติดกับ ระบบใดระบบหนึ่งหรืออุปกรณ์ยี่ห้อเดียวกัน ถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองการใช้งานในลักษณะให้มีผู้ใช้ได้หลายคน ในเวลาเดียวกัน เรียกว่า มัลติยูสเซอร์ สามารถทำงานได้หลายๆงานใน เวลาเดียวกันในลักษณะที่เรียกว่า มัลติทาสกิ้ง ยูนิกซ์ (UNIX) เป็นตัวอย่างหนึ่งในฐานะซอฟต์แวร์เสรี และซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส สามารถดูหรือนำโค้ดของลินุกซ์ไปใช้งาน แก้ไข และแจกจ่ายได้อย่างเสรี ลินุกซ์นิยมจำหน่ายหรือแจกฟรีในลักษณะเป็นแพคเกจ โดยผู้จัดทำจะรวมซอฟต์แวร์สำหรับใช้งานในด้านอื่นเป็นชุดเข้าด้วยกัน ลินุกซ์ (Linux)

แบบฝึกหัดบทที่ 1 1. จงอธิบายขั้นตอนการทำงานพื้นฐานของระบบคอมพิวเตอร์ 2. หน่วยรับข้อมูลมีหนน้าที่อะไร จงยกตัวอย่างอุปกรณ์ที่อยู่ในส่วนของหน่วยรับข้อมูล 5 ชนิด 3. จงอธิบายการทำงานของหน่วยประมวลผลกลาง พร้อมทั้งบอกส่วนประกอบของหน่วยประมวลผลกลาง 4. จงอธิบายการทำงานของหน่วยแสดงผล พร้อมทั้งบอกประเภทของหน่วยแสดงผล 5. หน่วยความจำหลัก มีหน้าที่อะไร จงบอกประเภทของหน่วยความจำหลัก ทั้งหมด 6. จงอธิบายการทำงานของหน่วยความจำสำรอง พร้อมบอกประเภทของหน่วยความจำสำรอง 7. จงอธิบายความหมายของซอฟต์แวร์ พร้อมทั้งบอกประเภทของซอฟต์แวร์ 8. จงอธิบายความหมายของภาษาคอมพิวเตอร์ พร้อมทั้งบอกระดับของภาษาคอมพิวเตอร์

แบบฝึกหัดบทที่ 1 9. ตัวแปลภาษาโปรแกรมของคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่อะไร และตัวแปลภาษาแบ่งเป็นสองชนิดใหญ่ ๆ อะไรบ้าง และ อธิบายความแตกต่างระหว่างตัวแปลภาษาทั้งสอง 10. จงอธิบายความหมายของบุคลากรคอมพิวเตอร์ พร้อมทั้งบอกระดับของบุคลากรคอมพิวเตอร์ 11. จงอธิบายหลักการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ของท่าน ตามที่เข้าใจ 12. จงอธิบายความหมายของศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติของคอมพิวเตอร์ ดังนี้ CACHE, MEMORY, CPU SPEED, CLOCK, CPU CORE, SD RAM,DDR SDRRAM, RDRAM 13. หน่วยของความจุในฮาร์ดดิสก์ มีขนาดใดบ้าง 14. ชนิดของระบบบัสที่มีใช้ของ Hard disk มีกี่ชนิด อะไรบ้าง 15. จงอธิบายความแตกต่างของ CPU รุ่นต่าง ๆ มาให้เข้าใจ

HW::ซื้อคอมพ์มาฝาก ให้นักศึกษาเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ให้ อ.ดาว โดยมีงบไม่จำกัด ขอรายละเอียดพร้อมบอกเหตุผลว่าทำไมถึงซื้อเครื่องนี้ให้ อ.ดาว