ข้อมูลและสารสนเทศ Data & Information
ข้อมูล (DAtA) ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ ฯลฯ โดยอยู่ในรูปแบบที่เหมาะสม ต่อการสื่อสาร การแปลความหมายและการประมวลผล ตัวอย่างข้อมูล เช่น เลข 1.0 อาจจะถูกกำหนดให้เป็นจำนวนหน่วยการเรียน ของวิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ 8.30 แทนเวลาเข้าเรียน สัญลักษณ์ แทนการเลี้ยวขวา
ความรวดเร็วและเป็นปัจจุบัน ความสมบูรณ์ ความกระชับและชัดเจน คุณสมบัติของข้อมูลที่ดี ความถูกต้อง ความรวดเร็วและเป็นปัจจุบัน ความสมบูรณ์ ความกระชับและชัดเจน ความสอดคล้อง
ชนิดและลักษณะของข้อมูล ข้อมูลสำหรับการประมวลผลแบ่งเป็น 2 ชนิด ข้อมูลชนิดจำนวน (Numeric data) ก) จำนวนเต็ม ข) จำนวนทศนิยม เช่น 25.78, 123.0 *104 ฯลฯ ข้อมูลชนิดอักขระ (Character data) เช่น Computer, 17, &76 ฯลฯ
ประเภทของข้อมูล ถ้าจำแนกข้อมูลตามแหล่งที่มา จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 1. ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) หมายถึง ข้อมูลที่ได้จากการรวบรวม หรือบันทึกจากแหล่งข้อมูลโดยตรงซึ่งอาจจะได้จากการสอบถาม การสัมภาษณ์ การสำรวจ และการจดบันทึก ตลอดจนการจัดหามาด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติ เช่นเครื่องอ่านรหัสแท่ง เครื่องอ่านแถบแม่เหล็ก 2. ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) หมายถึง ข้อมูลที่มีผู้อื่นรวบรวม ไว้ให้แล้ว บางครั้งอาจมีการประมวลผลเพื่อเป็นสารสนเทศ เช่น สถิติ จำนวนประชากรแต่ละจังหวัด สถิติการนำสินค้าเข้า และการส่งสินค้าออก เป็นต้น
สารสนเทศ สารสนเทศ คือ สิ่งที่ได้จากการนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้ ข้อมูล สารสนเทศ คือ สิ่งที่ได้จากการนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้ มาประมวลผล เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ตามจุดประสงค์ ข้อมูล การประมวลผล สารสนเทศ รูปแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลและสารสนเทศ
กระบวนการจัดการข้อมูลและสารสนเทศ การรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล การรวบรวมข้อมูล การตรวจสอบข้อมูล การประมวลผลข้อมูล การจัดกลุ่มข้อมูล การจัดเรียงข้อมูล การสรุปผล การคำนวณ การดูแลรักษาข้อมูล การเก็บรักษาข้อมูล การทำสำเนาข้อมูล การสื่อสารและเผยแพร่ข้อมูล การปรับปรุงข้อมูล
วิธีการประมวลผล มี 2 ลักษณะ คือ (1) การประมวลผลแบบเชื่อมตรง (online processing) หมายถึง การทำงานในขณะที่ข้อมูลวิ่งไปบนสายสัญญาณเชื่อมต่อจากเครื่องปลายทาง (terminal) ไปยังฐานข้อมูล ของเครื่องหลักที่ใช้ในการประมวลผลการประมวลผลแบบเชื่อมตรงจึงเป็นการประมวลผลโดยทันทีทันใด เช่น การจองตั๋วเครื่องบิน การซื้อสินค้าในห้างสรรพสินค้า การฝากถอนเงินเอทีเอ็ม การประมวลผลแบบเชื่อมตรงจึงเป็นวิธีที่ใช้กันมากวิธีหนึ่ง (2) การประมวลผลแบบกลุ่ม (batch processing) หมายถึง การประมวลผลในเรื่องที่สนใจเป็นครั้งๆ เช่น เมื่อต้องการทราบข้อมูลผลสำรวจความนิยมของประชาชน ต่อการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน หรือที่เรียกว่า โพล (poll) ก็มีการสำรวจข้อมูลเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล เมื่อเก็บรวบรวมข้อมูลได้แล้วก็นำมาป้อนเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วนำข้อมูล นั้นมาประมวลผลตามโปรแกรมที่ได้กำหนดไว้ เพื่อรายงานหรือสรุปผลหาคำตอบ กรณีการประมวลผลแบบกลุ่มจึงกระทำในลักษณะเป็นครั้งๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์โดยจะต้อง
ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ : ระบบเลขฐานสอง คอมพิวเตอร์ทำงานด้วยกระแสไฟฟ้า ดังนั้นจึงมีการแทนที่สภาวะของกระแสไฟฟ้าได้ 2 ภาวะ คือ - สภาวะที่มีกระแสไฟฟ้า - สภาวะที่ไม่มีกระแสไฟฟ้า เพื่อให้โปรแกรมเมอร์สามารถสั่งการคอมพิวเตอร์ได้ จึงได้มีการสร้างระบบ ตัวเลขที่นำมาแทนสภาวะของกระแสไฟฟ้า โดยตัวเลข 0 จะแทนสภาวะไม่มีกระแสไฟฟ้า 1 แทนสภาวะมีกระแสไฟฟ้า
ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ การเปลี่ยนเลขฐานสองเป็นเลขฐานสิบ ตัวอย่าง จงแปลง (10111012 ) เป็นเลขฐานสิบ ค่า weight = 26 25 24 23 22 21 20 เลขฐานสอง = 1 0 1 1 1 0 1 คำนวณค่า = (1x 26)+ (0x 25) + (1x 24) + (1x 23) + (1x 22) +(0x 21) + (1x 20) = 64+0+16+8+4+0+1 = 9310
การแปลงเลขฐานสิบเป็นฐานสอง ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ การแปลงเลขฐานสิบเป็นฐานสอง ตัวอย่าง จงเปลี่ยน (22110) เป็นเลขฐานสอง (LSB) 221 2 เศษ 1 110 เศษ 0 55 27 13 6 3 1 (22110) = (110111012) (MSB)
ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ : รหัสแทนข้อมูล รหัส EBCDIC (Extended Binary Code Decimal Interchange Code) รหัส ASCII (American Standard Code for Information Interchange) รหัส Unicode
ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ : รหัสแทนข้อมูล รหัส EBCDIC (Extended Binary Code Decimal Interchange Code) นิยมใช้กับระบบคอมพิวเตอร์เมนเฟรมและ IBM สามารถแทนข้อมูลได้ 256 สัญลักษณ์ รหัส ASCII (American Standard Code for Information Interchange) นิยมใช้ในกลุ่มคอมพิวเตอร์ประเภท PCs และที่ใหญ่กว่าบางชนิด โดยได้กำหนดให้กลุ่มของบิตในการแทนสัญลักษณ์ข้อมูลต่าง ๆ โค้ดนี้สามารถแทนสัญลักษณ์ได้ 256 สัญลักษณ์ บิตที่ใช้ จำนวน 8 บิต
ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ : รหัสแทนข้อมูล รหัส Unicode (Unicode Worldwide Character Standard) ใช้ 16 บิต ในการแทนสัญลักษณ์ต่าง ๆ ด้วยการใช้เนื้อที่ขนาด 16 บิต ทำให้สามารถแทนสัญลักษณ์ได้ 65536 สัญลักษณ์ ซึ่งมากพอสำหรับตัวอักษรและสัญลักษณ์ทุกตัวในทุกภาษาในโลกนี้ ปัจจุบันระบบ Unicode มีใช้ในระบบปฏิบัติการ Windows NT ระบบปฏิบัติการ UNIX บางรุ่น
ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ : การจัดเก็บข้อมูลในหน่วยความจำ B 01000010 A 01000001 N 01001110 G 01000111 K 01001011 O 01001111 รูปแสดงตัวอย่างการแทนข้อมูลด้วยรหัสเลขฐานสองในหน่วยความจำ
ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ : การจัดเก็บคำสั่งในหน่วยความจำ ตัวอักษรแทนรหัสภาษาเครื่อง ภาษาเครื่อง LD A,(8000) 00111010,00000000,10000000 LD B,A 01000111 LD A,(8001) 00111010,00000001,10000000 ADD A,B 10000000 LD (8002),A 00110010,00000010,10000000 รูปแสดงตัวอย่างการแทนคำสั่งภาษาเครื่อง
การจัดการข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ การจัดเก็บข้อมูลในคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยหน่วยต่างๆ โดยเรียงจากหน่วยเล็กที่สุดไปหาใหญ่ที่สุดดังภาพ Bit byte field record file
ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ : การจัดการข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ : การจัดการข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ รูปแสดงความสัมพันธ์ของโครงสร้างข้อมูลภายในแฟ้มข้อมูล
ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ : การจัดการข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ : การจัดการข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ พิจารณาการเก็บประวัติของนักเรียนในโรงเรียนแห่งหนึ่ง ประวัติของนักเรียนคนหนึ่ง ๆ จะบันทึกลงในระเบียนประวัติหนึ่งใบ โดยประกอบด้วยเขตข้อมูลต่าง ๆ เช่น ชื่อ นามสกุล วันเดือนปีเกิด ฯลฯ โดยที่ข้อมูลเหล่านี้อาจเป็นตัวเลขหรือตัวอักษรก็ได้ และใบระเบียนประวัติของนักเรียนในโรงเรียนจะได้รับการจัดเก็บไว้ในแฟ้มเดียวกัน รูปแสดงการจัดเก็บประวัตินักเรียน
แฟ้มข้อมูล - ลักษณะของแฟ้มข้อมูล เขตข้อมูล (Field) หมายถึง หน่วยเก็บข้อมูลหนึ่งที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อใช้เก็บค่าข้อมูลที่ต้องการ ระเบียน (Record) หมายถึง กลุ่มของเขตข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน record จึงประกอบด้วยเขตข้อมูลตั้งแต่หนึ่งเขตข้อมูลขึ้นไป แฟ้มข้อมูล (File) หมายถึง กลุ่มของระเบียน (record) ข้อมูลที่มีเขตข้อมูล (field) เหมือนๆ กัน ซึ่งประกอบด้วยระเบียนข้อมูลตั้งแต่ระเบียนขึ้นไป เช่น แฟ้มประวัตินักเรียนในชั้นเรียนประกอบด้วย ระเบียนข้อมูลประวัติของนักเรียนแต่ละคน ซึ่งประวัติเหล่านี้มีเขตข้อมูลที่เหมือนกัน โดยเขตข้อมูลที่เหมือนกันในระเบียนอาจมีค่าที่เหมือนกันหรือต่างกันก็ได้
ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ : การจัดการข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ : การจัดการข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ รูปแสดงการจัดเก็บประวัตินักเรียน filed Record รูปแสดงการจัดเก็บประวัตินักเรียนในคอมพิวเตอร์ โดยข้อมูลของนักเรียนแต่ละคนเก็บใน 1 ระเบียนและแต่ละระเบียนประกอบด้วย 7 เขตข้อมูล
ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ : แฟ้มข้อมูล – ข้อดีและข้อเสียของแฟ้มข้อมูล ข้อดี - การประมวลผลข้อมูลทำได้รวดเร็ว - ค่าลงทุนในเบื้องต้นต่ำ ไม่จำเป็นต้องใช้ที่มีประสิทธิภาพสูงก็สามารถประมวลผลได้ - โปรแกรมประยุกต์แต่ละโปรแกรมสามารถควบคุมการใช้งานในแฟ้มข้อมูลของตนเองได้ ข้อเสีย - มีความซ้ำซ้อนของข้อมูล - ความยากในการประมวลผลข้อมูลในแฟ้มข้อมูลหลายแฟ้ม - ไม่มีผู้ควบคุมหรือรับผิดชอบระบบทั้งหมด - ความขึ้นต่อกัน (Dependency) ระหว่างโปรแกรมประยุกต์และโครงสร้างของแฟ้มข้อมูล
ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ : ฐานข้อมูล ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ : ฐานข้อมูล หมายถึง การรวบรวมรายละเอียดของข้อมูล ที่มีความสัมพันธ์กัน จากแหล่งต่างๆ ให้มาอยู่ในที่เดียวกัน ผู้ใช้งานสามารถใช้ข้อมูลร่วมกัน เพื่อให้เกิดการใช้ข้อมูล ที่มีประสิทธิภาพทั้งในแง่ของการจัดการ และความถูกต้องแม่นยำของข้อมูล
ขอขอบคุณ http://neung.kaengkhoi.ac.th/mdata/data1.html#s1