งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทที่ 4 ฐานข้อมูล.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทที่ 4 ฐานข้อมูล."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทที่ 4 ฐานข้อมูล

2 ข้อมูลคอมพิวเตอร์ บิต (Bit) ย่อมาจาก Binary Digit หมายถึง เลขฐานสอง คือ 0, 1 ไบต์ (Byte) 7 – 8 บิต เท่ากับ 1 ไบต์ หรือ 1 ตัวอักขระ (Character) ฟิลด์ (Field) กลุ่มของตัวอักขระที่สามารถสื่อความหมายอย่างใดอย่างหนึ่งได้ เรคอร์ด (Record) กลุ่มของฟิลด์ที่มีความสัมพันธ์กัน หรือเรียกว่า ระเบียน ไฟล์ (File) กลุ่มของเรคอร์ดที่มีลักษณะข้อมูลที่เหมือนกัน หรือ แฟ้มข้อมูล ฐานข้อมูล (Database) การนำไฟล์มารวมเข้าด้วยกันเป็นกลุ่ม ระบบสารสนเทศ (Information System) การนำฐานข้อมูลมารวมกัน

3 อุปกรณ์ในการบันทึกข้อมูล
อุปกรณ์บันทึกข้อมูลที่เข้าถึงแบบลำดับ (Sequential Access) อุปกรณ์บันทึกข้อมูลที่เข้าถึงได้โดยตรง หรือแบบสุ่ม (Direct Access Storage Device : DASD) ต้องค้นหาข้อมูลตั้งแต่ตอนต้นของแฟ้มไปเรื่อย ๆ ตามลำดับ 1, 2, 3 กำหนดตำแหน่งให้ข้อมูลได้ จึงทำให้ค้นหา และเข้าถึงข้อมูลได้โดยตรง

4 ปัจจัยที่ใช้ในการพิจารณาเลือกซื้ออุปกรณ์
เวลาในการเข้าถึงข้อมูล (Access Time) ความจุ (Storage Capacity) อัตราการถ่ายทอดข้อมูล (Transfer Rate) ความปลอดภัย (Security) ราคา (Price) ความมีมาตรฐาน (Standardization) ความสะดวกในการพกพา (Portability) ต้องใช้เวลาให้เหมาะสมกับงานนั้น ต้องมีขนาดที่เพียงพอกับขนาดของแฟ้มข้อมูล เวลาที่ใช้ในการถ่ายทอดข้อมูลจากหน่วยความจำภายในและภายนอกต้องรวดเร็วพอสมควร อุปกรณ์ต้องคงทน ไม่เสื่อมสภาพ และมีการป้องกันจากความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากสภาพแวดล้อม ต้องเลือกใช้โดยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายของงานทั้งระบบ ต้องเป็นมาตรฐานและใช้ได้กับคอมพิวเตอร์หลายชนิดที่กิจการมีใช้ ควรมีขนาดกะทัดรัด ง่ายต่อการพกติดตัว

5 การดำเนินการกับโครงสร้างข้อมูล
การเข้าถึงแฟ้มข้อมูล (Traversing of Access) การค้นหา (Searching) การเพิ่ม (Inserting) การลบ (Deleting) เป็นการเข้าไปติดต่อกับ Record ที่ต้องการ เพื่อทำการเปลี่ยนแปลง หรือแก้ไขข้อมูลใน Record นั้น เป็นการค้นหาตำแหน่งของ Record ตามค่าที่กำหนด เพื่อทำการเปลี่ยนแปลง หรือแก้ไขข้อมูลตามเงื่อนไข เป็นการเพิ่มข้อมูลใน Record ใหม่ เป็นการลบข้อมูลที่ไม่ต้องการออกจากแฟ้มข้อมูล เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัย

6 การทำให้ข้อมูลพร้อมใช้งาน
การเรียงลำดับ (Sorting) การรวมข้อมูล (Merging) เป็นการจัดเรียง Record ตามค่าที่กำหนด โดยมีฟิลด์ที่กำหนดเป็นคีย์ เป็นการนำข้อมูลหลาย Record ที่อยู่คนละแฟ้มข้อมูลที่มีการเรียงข้อมูลอยูในลักษณะเดียวกันอยู่แล้วมารวมกันเป็นแฟ้มข้อมูลเดียวกัน

7 การจัดระเบียบหรือโครงสร้างแฟ้มข้อมูล
การจัดระเบียบแฟ้มลำดับ (Sequential) การจัดระเบียบแฟ้มแบบสุ่ม (Random) การจัดระเบียบแฟ้มแบบลำดับเชิงดัชนี (Indexed Sequential) การจัดระเบียบแฟ้มแบบกำหนดหลายคีย์ฟิลด์ (Multiple – Key) 1. เป็นการจัดระเบียบที่เข้าถึงข้อมูลเป็นไปตามลำดับ 2. เป็นการจัดระเบียบโดยกำหนดความสัมพันธ์ที่แน่นอนระหว่างฟิลด์หลักหรือคียฟิลด์ที่ใช้อ้างถึงตัวเรคอร์ดกับตำแหน่งของเรคอร์ดภายในไฟล์ 3. ประกอบด้วย 2 ส่วน ส่วนที่เป็นดัชนีจะเป็นไฟล์แบบ Random ส่วนที่เป็นเรคอร์ดจะเป็นไฟล์แบบ Sequential 4. เป็นการจัดระเบียบให้สามารถเข้าถึงแรคอร์ดได้จากหลาย ๆ คีย์ฟิลด์

8 ประเภทของแฟ้มข้อมูล แฟ้มข้อมูลหลัก (Master Files)
แฟ้มข้อมูลรายการค้าที่เปลี่ยนแปลงตามเหตุการณ์ ที่ เกิดขึ้น (Transaction Files) แฟ้มข้อมูลรอคอย หรือทำรายการค้างไว้ (Suspense Files) แฟ้มข้อมูลอดีต (History Files / Archive Files) แฟ้มข้อมูลอ้างอิง (Reference Files) เป็นแฟ้มข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับยอดคงเหลือ หรือบอกถึงสถานะของข้อมูล ณ จุดเวลาหนึ่ง ซึ่งข้อมูลจะมีการเปลี่ยนแปลง และปรับปรุงให้ทันต่อเหตุการณ์หรือทันสมัยอยู่ตลอดเวลา เป็นแฟ้มข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลกิจกรรมที่เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินงาน เป็นแฟ้มข้อมูลที่รอคอยเพื่อกระทำการประมวลผลให้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ เป็นแฟ้มข้อมูลที่บ่งบอกถึงข้อมูลในอดีตที่เกิดขึ้นแล้ว หรือที่ได้มีการดำเนินการมาแล้ว ส่วนใหญ่ใช้ในการอ้างอิงการคำนวณการตรวจสอบข้อมูลนำเข้า จะไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงบ่อย ๆ

9 ประเภทของแฟ้มข้อมูล (ต่อ)
แฟ้มข้อมูลสรุปผล (Summary Files) แฟ้มข้อมูลเชิงดัชนี (Index Files) แฟ้มข้อมูลการควบคุมการเข้าออกของข้อมูล (Control Files) แฟ้มข้อมูลรายงาน (Report Files) แฟ้มข้อมูลสำรอง (Backup Files) เป็นแฟ้มข้อมูลที่ใช้ในการแสดงยอดรวม โดยสรุปยอดต่าง ๆ มาจากแฟ้มข้อมูลอื่น เป็นแฟ้มข้อมูลที่ใช้ในการช่วยระบุตำแหน่งของข้อมูลที่ถูกจัดเก็บไว้ในแฟ้มข้อมูลหลัก Log Files หรือ Transaction log ใช้ในการจัดเก็บร่องรอยการปฏิบัติงานภายในระบบการประมวลข้อมูล เป็นแฟ้มข้อมูลที่จัดเก็บเกี่ยวกับรายงานต่าง ๆ ที่จัดทำขึ้น เป็นแฟ้มข้อมูลที่ใช้ในการจัดเก็บ และสำรองข้อมูลของแฟ้มข้อมูลอื่นไว้เป็นสำเนาอีกหนึ่งชุด

10 ประเภทของแฟ้มข้อมูล (ต่อ)
Transaction Files Master Files แฟ้มข้อมูลรายการรับ - ส่งสินค้า แฟ้มข้อมูลหลักสินค้าคงคลัง แฟ้มข้อมูลรายการจัดซื้อ แฟ้มข้อมูลหลักผู้ขายสินค้า แฟ้มข้อมูลรายวันทั่วไป แฟ้มข้อมูลหลักแยกประเภททั่วไป แฟ้มข้อมูลรายการเงินเดือน แฟ้มข้อมูลหลักพนักงาน แฟ้มข้อมูลรายการการขาย แฟ้มข้อมูลหลักลูกค้า

11 โครงสร้างในการจัดความสัมพันธ์ของแฟ้มข้อมูล
โครงสร้างข้อมูลแบบลำดับขั้น (Hierarchy Structure) โครงสร้างข้อมูลแบบเครือข่าย (Network Structure) โครงสร้างข้อมูลแบบสัมพันธ์ (Relative Structure)

12 ความหมายของฐานข้อมูล
ฐานข้อมูล (Database) เป็นแหล่งรวมของการจัดเก็บเรคอร์ด หรือแฟ้มข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันทั้งหมดของกิจการเอาไว้ในอุปกรณ์ ของหน่วยเก็บรอง เพื่อใช้เป็นศูนย์กลางในการค้นหาหรือเข้าถึงข้อมูลเมื่อผู้ใช้ต้องการ ในปัจจุบันได้มีการใช้วิธีการจัดการฐานข้อมูล (Data Base Management Approach) โดยการนำซอฟต์แวร์ ของระบบการจัดการฐานข้อมูลมาใช้ เพื่อให้โปรแกรมประยุกต์ (Application Program) หลายโปรแกรมสามารถค้นหาหรือเข้าถึงข้อมูลได้ทันทีที่ต้องการ

13 ความหมายของฐานข้อมูล
ผู้ใช้ : เข้าถึงข้อมูล สร้าง เปลี่ยนแปลง และใช้ข้อมูล โปรแกรมของระบบลูกหนี้ ระบบ การจัดการ ฐานข้อมูล ฐานข้อมูล โปรแกรมของระบบสินค้าคงเหลือ โปรแกรมประยุกต์อื่น

14 ลักษณะของฐานข้อมูล ช่วยในการบริหารทรัพยากรข้อมูลที่มีค่า สำหรับการใช้และให้ได้รับประโยชน์ของการนำไปใช้ที่หลากหลายของหน่วยงานภายในองค์กร และผู้ใช้ที่ได้รับสิทธิเท่านั้น ใช้เป็นศูนย์กลางในการรวบรวมข้อมูล และปรับปรุงรักษาข้อมูลสำหรับการนำไปใช้ของผู้ใช้ ต้องอาศัยระบบการจัดการฐานข้อมูล (Data Base Management System : DBMS) ซึ่งเป็นโปรแกรมเฉพาะ ทำหน้าที่ในการจัดการข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กับฐานข้อมูล

15 ลักษณะของฐานข้อมูล (ต่อ)
เป็นการรวมเอาข้อมูลตั้งแต่ 2 หรือมากกว่าเข้าด้วยกัน และรวม องค์กรให้เป็นหนึ่งเดียว หรือรวมประเภทของผู้ใช้เอาไว้ด้วยกัน กำหนดขอบเขตที่สามารถเป็นไปได้ และขึ้นอยู่กับความต้องการใน การใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลนั้น สามารถยืดหยุ่นได้ ซึ่งอาจจะขยายหรือยุบขนาดของฐานข้อมูล เพื่อให้การใช้งานของฐานข้อมูลของกิจการได้ประสิทธิภาพ และ ประสิทธิผลมากที่สุด

16 ลักษณะของฐานข้อมูล (ต่อ)
มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า คลังข้อมูล (Data Warehouse) มีไว้เพื่อใช้ในการตอบสนองเกี่ยวกับการตัดสินใจขององค์กร ซึ่งจะนำข้อมูลบางส่วนที่ตัดตอนมาใช้เท่านั้น การปรับปรุงหรือบำรุงรักษาให้มีการพัฒนาอยู่เสมอ ซึ่งจะทำให้กิจการมีความก้าวหน้าในการบริหารข้อมูลที่ดี และได้ข้อมูลที่มีคุณภาพด้วย ต้องให้ข้อมูลที่ถูกต้อง แม่นยำ สามารถเข้าถึงผู้ใช้ได้ ทุกหน่วยงานและหน้าที่ จะต้องยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในการใช้ข้อมูล และการทำงานของระบบอีกด้วย

17 ข้อดีและข้อเสียของการใช้ฐานข้อมูล
ข้อมูลสามารถใช้ร่วมกันได้ -เสียค่าใช้จ่ายในการลงทุนค่อนข้างสูง ไม่ว่าจะเป็นในด้านอุปกรณ์ โปรแกรม บุคคลากร ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล หลีกเลี่ยงความขัดแย้งของข้อมูล ง่ายต่อการใช้งาน -จะต้องทำระบบรักษาความปลอดภัยให้กับฐานข้อมูลอย่างรัดกุม โดยการทำสำเนาแฟ้มข้อมูลสำรองมากกว่า 1 สำเนา และสร้างมาตรการในการกู้ข้อมูลกลับคืนมา (Recovery Data) อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถควบคุมความเที่ยงของข้อมูลได้ มีความเป็นอิสระระหว่างข้อมูลกับโปรแกรม - การบริหารจัดการขึ้นอยู่กับผู้บริหารฐานข้อมูลเพียงคนเดียว

18 ประเภทของฐานข้อมูล ฐานข้อมูลเพื่อการปฏิบัติงาน (Operational Database) หรือฐานข้อมูลของรายการค้า (Transaction Databases) ฐานข้อมูลเพื่อการจัดการ (Management Databases) หรือ ฐานข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์ (Analytical Databases) ฐานข้อมูลสำหรับคลังข้อมูล (Data Warehouse Databases) จัดเก็บรายละเอียดของข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ในการปฏิบัติงานของทั้งองค์กร หรือฐานข้อมูลรายการค้า เป็นข้อมูลสรุปที่จำเป็นสำหรับการบริหารงานของฝ่ายจัดการหรือผู้บริหารในองค์กร หรือฐานข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์ เป็นฐานข้อมูลที่คัดเลือกเฉพาะข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อการใช้งานทั้งข้อมูลในอดีตและปัจจุบัน

19 ประเภทของฐานข้อมูล (ต่อ)
ฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distributed Databases) ฐานข้อมูลของผู้ใช้ขั้นปลาย (End User Databases) ฐานข้อมูลของแหล่งข้อมูลจากภายนอก (External Databases) เป็นฐานข้อมูลของกลุ่มทำงานหรือของหน่วยงาน ตามสาขา ตามโรงงาน หรือตามสำนักงานภูมิภาคของกิจการ จัดเก็บแฟ้มข้อมูลหลายชนิดที่พัฒนาขึ้นมาโดยผู้ใช้ขั้นปลาย ณ สถานที่ปฏิบัติงาน จัดเก็บข้อมูลซึ่งให้บริการข่าวสารด้านธุรกิจจากแหล่งภายนอก

20 ประเภทของฐานข้อมูล (ต่อ)
เครื่องเทอร์มินัล ฐานข้อมูล ของภายนอก ฐานข้อมูล เพื่อการจัดการ เครื่อง บริการ ฐานข้อมูล ฐานข้อมูล แบบกระจาย ฐานข้อมูล เพื่อการปฏิบัติงาน ฐานข้อมูล ของของผู้ใช้ขั้นปลาย ฐานข้อมูล สำหรับคลังข้อมูล

21 หน้าที่ของการนำวิธีการของฐานข้อมูลมาใช้
ข้อมูลจะต้องถูกจัดเก็บอยู่ในระดับที่พร้อมใช้งาน และส่วนใหญ่จะอยู่ในระดับที่ง่ายต่อการจัดเก็บ ข้อมูลจะต้องถูกจัดเก็บไว้ ณ ที่จัดเก็บเพียงที่เดียวเท่านั้น แต่สามารถสำรองข้อมูล และจัดเก็บไว้ที่อื่น ซึ่งอยู่ต่างที่ทำการเดียวกัน เพื่อป้องกันภัย ที่อาจเกิดขึ้นกับข้อมูล ข้อมูลจะต้องถูกจัดเก็บไว้พร้อมที่จะถูกค้นคืนข้อมูล ในทุกรูปแบบที่จำเป็นต้องใช้ข้อมูลดังกล่าว

22 การจัดการฐานข้อมูล (Database Management)
การออกแบบฐานข้อมูลและการนำไปใช้งาน (databases design and implementation) การบริหารฐานข้อมูล (databases administration)

23 การออกแบบฐานข้อมูลและการนำไปใช้งาน
กลุ่มของผู้ที่รับผิดชอบการปฏิบัติงานส่วนนี้จะต้องคำนึงถึงความต้องการในการใช้งานของกลุ่มผู้ใช้งานในปัจจุบันควบคู่กันไปกับความต้องการในการใช้งานของกลุ่มผู้ใช้งานในอนาคต เพื่อให้ได้รูปแบบของฐานข้อมูล ที่ดี สามารถนำไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเหมาะสมกับการดำเนินธุรกิจของกิจการทั้งในปัจจุบันและอนาคต

24 การบริหารฐานข้อมูล การบริหารฐานข้อมูล เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อให้ผู้ใช้เกิดความมั่นใจว่าข้อมูลที่จัดเก็บอยู่ในฐานข้อมูล มีความถูกต้อง เชื่อถือได้ สมบูรณ์ครบถ้วน ตรงกับ ความต้องการของผู้ใช้ เป็นข้อมูลจริง ทันเวลา และผู้ใช้ สามารถเข้าถึงและค้นคืนได้ตลอดเวลา สำหรับผู้ที่รับผิดชอบในการบริหารฐานข้อมูลคือ ผู้บริหารฐานข้อมูล (Database administrators)

25 ระบบฐานข้อมูลเพื่อการบริหาร
Database Management System (DBMS) คือ ระบบการบริหารจัดการฐานข้อมูล DBMS นั้นเป็น การรวมกันของกลุ่มโปรแกรมที่ทำการบริหารจัดการฐานข้อมูลเพราะว่า DBMS จะทำหน้าที่ในการควบคุมการเข้าถึงฐานข้อมูลของผู้ที่มีสิทธิใช้ฐานข้อมูล

26 ระบบฐานข้อมูลเพื่อการบริหาร
โปรแกรมการจัดซื้อ DBMS โปรแกรมควบคุมเจ้าหนี้ ฐานข้อมูล โปรแกรม GL โปรแกรมเงินเดือนและค่าแรง โปรแกรมควบคุมลูกหนี้

27 โครงสร้างฐานข้อมูล โครงสร้างเชิงลำดับชั้น (Hierarchical Structure)
โครงสร้างข่ายงาน (Network Structure) โครงสร้างเชิงสัมพันธ์ (Relational Structure) โครงสร้างเชิงวัตถุ (Object – Oriented Structure) โครงสร้างหลายมิติ (Multidimensional Structure)

28 โครงสร้างเชิงลำดับชั้น
เป็นพื้นฐานของระบบการจัดการฐานข้อมูลที่เก่าที่สุดมีลักษณะเป็นโครงสร้างรูปต้นไม้ (Tree data structure) ที่ เรคอร์ดแต่ละเรคอร์ดมีความเกี่ยวข้องกันตามลำดับชั้น โดยปกติความสัมพันธ์ระหว่างเรคอร์ดในโครงสร้าง เชิงลำดับชั้นนี้ เป็นลักษณะหนึ่งต่อหนึ่ง (one – to – one) หรือหนึ่งต่อกลุ่ม (one – to – many)

29 โครงสร้างเชิงลำดับชั้น (ต่อ)
ลูกค้า ก ใบแจ้งหนี้ ใบที่ 2 ใบแจ้งหนี้ ใบที่ 1 ใบแจ้งหนี้ ใบที่ 3 สินค้า เลขที่ 1111 สินค้า เลขที่ 1152 สินค้า เลขที่ 2301

30 โครงสร้างข่ายงาน เป็นโครงสร้างที่ความสัมพันธ์ระหว่างเรคอร์ด อาจอยู่ในลักษณะหนึ่งต่อกลุ่ม (one – to – many) กลุ่มต่อหนึ่ง (many – to – one) หรือกลุ่มต่อกลุ่ม (many – to – many) เพราะโครงสร้างประเภทนี้ทำให้เรคอร์ดแต่ละเรคอร์ดที่มีอยู่ในฐานข้อมูลสามารถเชื่อมโยงได้ทั่วถึงกัน ผู้ใช้จึงสามารถค้นคืนข้อมูลได้ อย่างรวดเร็วมากขึ้น

31 โครงสร้างข่ายงาน (ต่อ)
ลูกค้า ข ลูกค้า ก ลูกค้า ค สินค้า เลขที่ 1111 สินค้า เลขที่ 1152 สินค้า เลขที่ 2301

32 โครงสร้างเชิงสัมพันธ์
เป็นโครงสร้างที่เข้าใจได้ง่าย เนื่องจากได้จัดเก็บส่วนย่อยของข้อมูลทุกส่วนย่อยเอาไว้ในตาราง (Tables) และตารางแต่ละตารางนั้นจะบันทึกส่วนย่อยของข้อมูลเอาไว้ในแนวนอน (row) เทียบเท่ากับเรคอร์ด เรียกว่า Tuple และแนวตั้ง (column) เทียบเท่ากับฟิลด์ เรียกว่า Attribute

33 โครงสร้างเชิงสัมพันธ์ (ต่อ)
คีย์หลัก (Primary Key) ต้องมีความเป็นเอกภาพ หรือเป็นหนึ่งเดียว คือ ค่าต้องไม่ซ้ำกัน และเป็นค่าว่างไม่ได้ ทุก ๆ คีย์นอก (Foreign Key) อาจมีค่าว่างหรือไม่ก็ได้แต่ ถ้ามีค่าจะต้องแสดงค่าสอดคล้องกับค่าของคีย์หลัก ในอีกตารางหนึ่ง แต่ละคอลัมภ์ในแถวหนึ่ง ๆ (Cell) จะต้องมีค่าเดียวเท่านั้น ค่าของข้อมูลในทุก ๆ แถวในคอลัมภ์หนึ่ง ๆ จะต้องเป็นข้อมูลชนิดเดียวเท่านั้น ลำดับของคอลัมภ์และแถวไม่มีความสำคัญแต่อย่างใดต่อการเรียกใช้ข้อมูล

34 โครงสร้างเชิงสัมพันธ์ (ต่อ)
ตารางลูกค้า รหัสลูกค้า ชื่อลูกค้า ที่อยู่ของลูกค้า 1820 บริษัท ก จำกัด 159 ถนนสุขุมวิท กรุงเทพฯ 1821 บริษัท ข จำกัด 11/20 ถนนสาธุประดิษฐ์ กรุงเทพฯ 2001 บริษัท ค จำกัด 79/111 ถนนประชาอุทิศ สงขลา ตารางสินค้า รหัสสินค้า รายละเอียด ราคาต่อหน่วย (บาท) ปริมาณคงเหลือ (หน่วย) 585 สบู่ก้อน 15 500 590 สบู่เหลว 60 150 611 แชมพูสระผม 50 200 620 ครีมนวดผม 65

35 โครงสร้างเชิงสัมพันธ์ (ต่อ)
ตารางการขายสินค้า รหัสลูกค้า รหัสสินค้า ปริมาณสินค้าที่ซื้อ 1820 585 50 611 20 1821 150 620 2001 590 75

36 โครงสร้างเชิงวัตถุ เป็นโครงสร้างที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อเพิ่มความสามารถ ในการปฏิบัติงานบางประการที่ไม่มีอยู่ในโครงสร้างเชิงลำดับชั้น โครงสร้างข่ายงาน และโครงสร้างเชิงสัมพันธ์ เช่น ความสามารถในการจัดการด้านกราฟิก (graphics) รูปภาพ (pictures) เสียง (voice) และข้อความ (text) เป็นต้น

37 โครงสร้างหลายมิติ เป็นโครงสร้างที่จัดเก็บข้อมูลเอาไว้ในลักษณะของลูกบาศก์ ซึ่งแต่ละด้านของรูปลูกบาศก์แทน 1 มิติ ของข้อมูล (One dimention of data) และในแต่ละมิตินั้นอาจแสดงถึงเขตขาย ประเภทสินค้าที่ขาย ระยะเวลาในการขาย ค่าใช้จ่าย และกำไรจากการขาย เป็นต้น

38 การพัฒนาฐานข้อมูล ผู้ใช้จะต้องแจ้งให้กลุ่มผู้พัฒนาฐานข้อมูลทราบถึงส่วนย่อยของข้อมูลที่สำคัญ (Key data elements) ของแต่ละกิจกรรมที่ต้องใช้ในการดำเนินธุรกิจ เพื่อให้ กลุ่มผู้พัฒนาฐานข้อมูลนำมาเป็นข้อมูลในการพัฒนา Entity Relationship Diagrams (ERDS) ซึ่งเป็นแบบจำลอง ที่แสดงให้เห็นความสัมพันธ์เชิงตรรกะระหว่างเอนทิตีทั้งหลายที่มีอยู่ในกิจกรรมนั้น

39 การพัฒนาฐานข้อมูล (ต่อ)
ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่ง (One – to – One) ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อกลุ่ม (One – to - Many) ความสัมพันธ์แบบกลุ่มต่อกลุ่ม (Many – to - Many)

40 ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่ง
ผู้จัดการ พนักงาน 1 1 แผนก

41 ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อกลุ่ม
มี ลูกค้า คำสั่งซื้อ 1 N

42 ความสัมพันธ์แบบกลุ่มต่อกลุ่ม
ซื้อขาย ลูกค้า M สินค้า N

43 ปัญหาที่เกิดจากการเพิ่ม ปรับปรุง ลบข้อมูล
ความผิดพลาดที่เกิดจากการลบข้อมูล (Deletion Anomalies) ความผิดพลาดที่เกิดจากการเพิ่มข้อมูล (Insertion Anomalies) ความผิดพลาดที่เกิดจากการปรับปรุงข้อมูล (Update Anomalies)

44 การค้นคืนข้อมูลจากฐานข้อมูล
โครงสร้างเชิงลำดับชั้น และโครงสร้างข่ายงาน จะใช้ ฟิลด์ตัวชี้ (pointer field) ระบุถึงตำแหน่งที่อยู่ของข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับฟิลด์ตัวชี้ในแฟ้มข้อมูลเดียวกัน หรือแฟ้มข้อมูลอื่น โครงสร้างเชิงสัมพันธ์ โครงสร้างเชิงวัตถุ และโครงสร้างหลายมิติ จะใช้ Primary key field ซึ่งเป็นฟิลด์ที่ใช้ระบุระเบียนข้อมูล (data record) ของตารางแต่ละตารางเป็นตัวเชื่อมเรคอร์ดที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน

45 End บทที่ 4


ดาวน์โหลด ppt บทที่ 4 ฐานข้อมูล.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google