"วิธีวิเคราะห์แบบสอบถาม หรือแบบประเมิน ด้วยโปรแกรม SPSS" เฉิดฉันทร์ ราชบุรณะ นักเอกสารสนเทศ หน่วยสารสนเทศงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ SPSS SPSS เป็นเครื่องมือสำหรับจัดกระทำข้อมูล สามารถนำข้อมูลจากแฟ้มข้อมูลมาประมวลผลด้วยตาราง สร้างกราฟ และวิเคราะห์ทางสถิติที่หลากหลาย ถ้าผู้วิเคราะห์ต้องการใช้โปรแกรม SPSS ดำเนินการจัดการกับข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และรายงานผลการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิเคราะห์จะต้องเขียนโปรแกรมคำสั่งเพื่อสั่งให้โปรแกรม SPSS กระทำตามที่ผู้วิเคราะห์ต้องการ โดยต้องมีส่วนประกอบสำคัญ 2 อย่างคือ โปรแกรม ข้อมูลจากแบบประเมินหรือแบบสอบถาม
ส่วนประกอบของหน้าจอ Title Bar Menu Bar Variables = กำหนดชื่อตัวแปร Cell Editors = กำหนดค่าตัวแปร Cell = สำหรับกำหนดค่าตัวแปร Cases = ชุดของตัวแปร View Bar = Data View, Variable View Variable View = สร้างและแก้ไขโครงสร้างตัวแปร Status Bar = แสดงสถานะการทำงาน Data View = เพิ่มและแก้ไขตัวแปร
ส่วนประกอบของ View Bar วัตถุประสงค์ของมุมมองคือ เป็นการแบ่งงานออกเป็นสองส่วนใหญ่คือ ส่วนออกแบบกำหนดโครงสร้างตัวแปรและส่วนกำหนดค่าชุดตัวแปร โดยแบ่งมุมมองออกเป็น 2 มุมมอง ได้แก่ Variable view Data view
Variable view Variable view เป็นส่วนกำหนดคุณสมบัติของตัวแปร Variable โดยการสร้างและแก้ไขโครงสร้างตัวแปร ดังภาพ Name = กำหนดชื่อตัวแปร Type = กำหนดชนิดของตัวแปร Width = กำหนดจำนวนของค่าตัวแปรหรือจำนวนความกว้างของค่าตัวแปร Decimals = กำหนดจำนวนของจุดทศนิยม Label = กำหนดชื่อของตัวแปรจะมีผลเมื่อเราออกแบบรายงานเป็นกราฟ Value = กำหนดค่าตัวแปรโดยมิต้องไปกำหนดที่ Variable view Missing = กำหนดเมื่อไม่พบค่าตัวแปรของชุดตัวแปรนั้น Columns = กำหนดความกว้างของช่อง Columns สำหรับกรอกข้อมูล Align = จัดค่าของชุดตัวแปรให้ชิดซ้าย กลาง หรือ ขวา Measure = กำหนดมาตราวัดของตัวแปร
Data view Data view เป็นส่วนกำหนดค่าชุดของตัวแปรในแต่ละชุดหรือ Data entry ดังภาพ
ตัวอย่างแบบสอบถาม แบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข สำหรับนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ข้อตกลง การจัดแบ่งค่าระดับความพึงพอใจดังนี้ 5 = พึงพอใจมากที่สุด 4 = พึงพอใจมาก 3 = พึงพอใจปานกลาง 2 = พึงพอใจน้อย 1 = ไม่พึงพอใจ
ตัวอย่างแบบสอบถาม ข้อมูลส่วนบุคคล 1. เพศ [ ] ชาย [ ] หญิง 1. เพศ [ ] ชาย [ ] หญิง 2. วุฒิการศึกษา [ ] ปริญญาตรี [ ] ปริญญาโท [ ] ปริญญาเอก 3. ภาควิชา [ ] กายวิภาคศาสตร์ [ ] พยาธิชีววิทยา [ ] คณิตศาสตร์ [ ] พฤกษศาสตร์ [ ] คอมพิวเตอร์ [ ] ฟิสิกส์ [ ] เคมี [ ] ภาษาต่างประเทศ [ ] ชีวเคมี [ ] เภสัชวิทยา [ ] ชีววิทยา [ ] สรีรวิทยา [ ] เทคโนโลยีชีวภาพ
ตัวอย่างแบบสอบถาม ระดับความคิดเห็น ข้อคำถาม 5 4 3 2 1 ให้ทำเครื่องหมาย ลงบนค่าระดับความพึงพอใจที่สอดคล้องกับท่านมากที่สุด โดยใช้ข้อมูลตามข้อตกลงข้างต้น ข้อคำถาม 5 4 3 2 1 1. การให้บริการยืม-คืน 2. การให้บริการสืบค้นข้อมูล 3. การให้บริการสำเนาเอกสาร 4. ความรวดเร็วในการให้บริการ 5. อัธยาศัยของเจ้าหน้าที่ 6. ความสะอาดและสวยงามของสถานที่ 7. ปริมาณและความทันสมัยของทรัพยากร
การเริ่มต้นการใช้งาน การเรียกโปรแกรม คลิกที่นี่
การเริ่มต้นการใช้งาน ส่วนประกอบของกรอบ SPSS for Windows Run the tutorial หมายถึง การเปิดบทเรียนช่วยสอนเรื่อง SPSS for Windows Type in data หมายถึง การเริ่มต้นกำหนดตัวแปรและให้ค่าตัวแก่แปร Run an existing หมายถึง การทำงาน SPSS ร่วมกับระบบฐานข้อมูล Create new query using Database Wizard หมายถึง การสร้างส่วนทำงานร่วมกับระบบฐานข้อมูล Open an existing data source หมายถึง การนำข้อมูลโปรแกรม SPSS มาทำการแก้ไข เพิ่มให้ค่าตัวแปร และ วิเคราะห์ผล Open another type of file หมายถึง การนำข้อมูลโปรแกรมอื่นๆ มาทำงานร่วมกับโปรแกรม SPSS
การเริ่มต้นการใช้งาน การเปิดแฟ้มข้อมูลสำหรับทำงาน เมื่อเลือก Type in data แล้วคลิก OK จะปรากฏหน้าต่าง SPSS Data Editor สำหรับป้อนข้อมูล คลิกที่ Open an existing data source เพื่อเลือกไฟล์ที่เคยป้อนข้อมูลไว้แล้ว คลิกที่ Open another type of file เพื่อเลือกไฟล์ที่เคยป้อนข้อมูลไว้แล้วแต่ไม่ใช่ไฟล์ที่เป็นแผ่นงาน
กำหนดหน้าจอ Data ในการแสดงภาษาไทย เลือกเมนู View -> Fonts เลือก Font และ Size ตามที่ต้องการ แล้วคลิกปุ่ม OK หมายเหตุ ชื่อฟอนต์ที่เป็นภาษาไทยส่วนใหญ่จะลงท้ายด้วย UPC
การป้อนข้อมูล ขั้นตอนแรกคือการกำหนดตัวแปร ตัวแปรก็คือข้อคำถามต่างๆ ในแบบสอบถามนั่นเอง โดยจะใช้มุมมอง Variable view เป็นการกำหนดตัวแปร โดยให้กำหนดชื่อ (Name) ค่า (Value) มาตราวัด (Measure) ของตัวแปรในแต่ละข้อคำถามดังนี้
การกำหนดตัวแปร สิ่งที่จะต้องเตรียมคือ การตั้งชื่อตัวแปร (Naming a variable) ฉลากตัวแปร (Variable labels) ค่าฉลาก (Value labels) ค่าสูญหาย (Missing values) ชนิดตัวแปร (Variable type) รูปแบบสดมภ์ (Column format) ระดับการวัด (Measurement level)
การตั้งชื่อตัวแปร (Naming a variable) การตั้งชื่อ (Name) กำหนดดังนี้ ข้อ 1 เพศ = Sex ข้อ 2 วุฒิการศึกษา = Degree ข้อ 3 ภาควิชา = Department ข้อ 4 ระดับความคิดเห็น ข้อ 4.1 = Topic1 ข้อ 4.2 = Topic2 ข้อ 4.3 = Topic3 ข้อ 4.4 = Topic4 ข้อ 4.5 = Topic5 ข้อ 4.6 = Topic6 ข้อ 4.7 = Topic7
การกำหนดค่าตัวแปร (Value) Sex มีได้ 2 ค่าคือ ชาย, หญิง Degree มี 3 ค่าคือ ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก Department มี 14 ค่าคือ กายวิภาคศาสตร์ คณิตศาสตร์ เคมี ชีววิทยา เป็นต้น Topic1, Topic 2, Topic 3, Topic 4, Topic 5, Topic 6, Topic 7 มีค่าตัวแปรที่เหมือนกัน 5 ค่าคือ พึงพอใจมากที่สุด พึงพอใจมาก พึงพอใจปานกลาง พึงพอใจน้อย ไม่พึงพอใจ
การกำหนดมาตราในการวัด (Measure) Norminal เป็นมาตราวัดที่สามารถแบ่งค่าของกลุ่มตัวแปรที่แตกต่างกันได้เป็นส่วนๆ แต่ไม่สามารถทราบว่าค่าตัวแปรใดมากกว่ากันและมากกว่ากันเท่าไร เช่น เพศ ชาย หญิง, คำนำหน้าชื่อ นาย นางสาว เป็นต้น
การกำหนดมาตราในการวัด (Measure) Ordinal เป็นมาตราวัดที่สามารถแบ่งค่าของกลุ่มตัวแปรที่แตกต่างกันได้เป็นส่วนๆ และสามารถทราบด้วยว่าค่าตัวแปรใดมากกว่ากัน แต่ไม่ทราบว่ามากกว่ากันเท่าไร เช่น เกรด A B C D, ชั้นเรียน ม.1 ม.2 ม.3 เป็นต้น Scale เป็นมาตราวัดที่สามารถแบ่งค่าของกลุ่มตัวแปรที่แตกต่างกันได้เป็นส่วนๆ สามารถทราบด้วยว่าค่าตัวแปรใดมากกว่ากัน และทราบว่ามากกว่าค่าตัวแปรใดมากกว่ากันเท่าไร เช่น อายุ, น้ำหนัก, ระยะทาง, ความยาว เป็นต้น
การกำหนดมาตราในการวัด (Measure) Sex = Norminal Degree = Ordinal Department = Norminal Topic1,Topic2,Topic3,Topic4,Topic5,Topic6,Topic7 = Ordinal
การลงข้อมูลตัวแปรใน Variable view ลงชื่อตัวแปรที่ช่อง Name Type โดยส่วนใหญ่มักกำหนด Numeric หรือ String โดยการคลิกที่ปุ่มสีเทา จากนั้นกดปุ่ม OK ดังภาพ
การลงข้อมูลตัวแปรใน Variable view Width และ Decimals โดยส่วนใหญ่ไม่ต้องกำหนด ส่วน Label คือการกำหนดข้อความขยายชื่อตัวแปร เพื่ออธิบายชื่อตัวแปรและแสดงออกทางผลลัพธ์ ให้พิมพ์ตรงคอลัมน์ Label เช่น Sex โดยที่ Label นี้จะแสดงผลในกราฟเมื่อเราเริ่มทำการวิเคราะห์ข้อมูล ดังภาพ
การลงข้อมูลตัวแปรใน Variable view Value กำหนดคำอธิบายให้กับค่าตัวแปร โดยให้คลิกที่ปุ่มสีเทา จากนั้นจะพบกรอบ Value Label ในช่อง Value กำหนดเป็น 1 และ Value Label กำหนดเป็นชาย แล้วกดปุ่ม Add ส่วนหญิงกำหนดเป็น 2 ตามลำดับ
การลงข้อมูลตัวแปรใน Variable view Missing กำหนดค่าที่ไม่นำไปวิเคราะห์ มี 2 แบบ คือ User Missing ผู้วิจัยเป็นผู้กำหนด เช่น 9, 99, 999 และ System Missing โปรแกรมจะกำหนดให้เอง Measure ให้คลิกที่ปุ่มสีเทา จากนั้นกำหนดระดับการวัดของข้อมูล เลือก Scale, Ordinal หรือ Nominal
การลงข้อมูลตัวแปรใน Variable view Align ให้แสดงค่าตัวแปร ชิดซ้าย กึ่งกลาง ชิดขวา ส่วนในตัวแปรอื่นๆ ก็มีการลงข้อมูลในลักษณะเดียวกัน แตกต่างกันไปตาม Label, Values กับ Measure
การป้อนข้อมูล จากหน้าจอ Data View นำเข้าข้อมูลที่มีหัวตารางเป็นไปตามที่เราได้กำหนดตัวแปรไว้แล้ว ในส่วนนี้เราสามารถทำการนำเข้าข้อมูล Data Entry ตามตารางข้อมูลข้างต้นได้เลย ดังภาพ
การบันทึกข้อมูล ไปยัง File->Save Data As กำหนดสถานที่จัดเก็บข้อมูลในช่อง Save in และกำหนดชื่อ File ในช่อง File name File ที่ได้จะมีนามสกุลเป็น .sav
การวิเคราะห์ข้อมูล คลิกที่เมนู Analyze เลือก Descriptive Statistic และเลือก Frequencies ดังภาพ
การวิเคราะห์ข้อมูล ได้กรอบ Frequencies ดังภาพ ซึ่งกรอบ Frequencies ทางช่องซ้ายมือเป็นตัวแปรต่างๆ ที่ได้จากแบบสอบถาม ทางช่องขวามือจะเป็นส่วนเลือกตัวแปรเพื่อวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูล เลือกตัวแปรโดยการคลิกที่ตัวแปรที่ต้องการวิเคราะห์ทางซ้ายมือ จากนั้นคลิกปุ่มเลือก(สามเหลี่ยมสีดำ)ตัวแปรที่ต้องการวิเคราะห์ก็จะตกไปอยู่ทางช่องขวามือ ในที่นี้ให้เลือกทั้งหมดทุกตัวแปร ดังภาพ
การวิเคราะห์ข้อมูล คลิกปุ่ม Statistics แล้วจะได้กรอบ Frequencies Statistics ดังภาพ จากนั้นเลือกประเภทของการวิเคราะห์ข้อมูล เช่น Mean Median Mode
การวิเคราะห์ข้อมูล คลิกปุ่ม Charts จะได้กรอบ Frequencies Charts ดังภาพ ในส่วน Frequencies Charts นี้สามารถเลือก Chart Type ว่าต้องการเป็น Charts ชนิดใด เช่น Bar charts แล้วคลิก Continue
การวิเคราะห์ข้อมูล เมื่อคลิกปุ่ม Continue จะกลับมาที่กรอบ Frequencies Statistics ดังภาพ จากนั้นคลิกปุ่ม OK ก็เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล จะได้หน้าจอ Output ดังภาพ คอลัมน์ที่ 1 บอกจำนวนข้อมูล Valid = จำนวนข้อมูลที่นำมาแจกแจงความถี่ Missing = จำนวนข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์ Total = จำนวนข้อมูลทั้งหมด คอลัมน์ที่ 2 แสดงชื่อตัวแปร หรือ Label ของตัวแปร ตามค่าที่เป็นไปได้ของตัวแปร คอลัมน์ที่ 3 Frequency คือ ค่าที่แสดงความถี่ที่นับได้ คอลัมน์ที่ 4 Percent คือ ค่าที่แสดงความถี่ที่นับได้ในรูปร้อยละ คิดจากข้อมูลทั้งหมด คอลัมน์ที่ 5 Valid Percent คือ ค่าที่แสดงความถี่ที่นับได้ในรูปร้อยละ ไม่รวมค่า Missing คอลัมน์ที่ 6 Cumulative Percent คือ ค่าที่แสดงความถี่สะสมของ Valid Percent
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล แผนภูมิ Bar charts Pie charts
การบันทึกผลการวิเคราะห์ข้อมูล โปรแกรม SPSS จะเปิดส่วน Output Analyze มาอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งเป็นส่วนแยกต่างหากจากส่วนโปรแกรม SPSS หลัก เมื่อได้ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเรียบร้อยแล้วให้ทำการ Save ข้อมูลโดยคลิกปุ่ม Save ดังภาพ
The END Thank you