เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer network) จุดประสงค์ 1. บอกองค์ประกอบของการสื่อสาร ข้อมูล 2. บอกประโยชน์ของเครือข่าย คอมพิวเตอร์ 3. ยกตัวอย่างตัวอย่างที่ใช้ในเครือข่าย คอมพิวเตอร์ 1
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer network) ความหมาย องค์ประกอบ ประโยชน์
การสื่อสารข้อมูล (data communications)เป็นการ แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารโดยใช้ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จากผู้ส่งผ่าน สื่อกลางไปยังผู้รับโดยผ่านช่อง ทางการสื่อสาร ทั้งแบบมีสายและ แบบไร้สาย
ความหมายของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หมายถึง การนำเอาคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อกัน ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป เพื่อให้ สามารถสื่อสารระหว่างกันได้
องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูล ผู้ส่ง (Sender) ผู้รับ (Receive) ข่าวสาร (Message) ตัวกลาง (Media) โพรโทคอล (Protocol) เป็นข้อตกลงหรือกฎเกณฑ์ ในการสื่อสาร
องค์ประกอบพื้นฐานของระบบการสื่อสารข้อมูล ทางอิเล็กทรอนิกส์ SENDER RECEVIVER MEDIA MESSAGE PROTOCOL
สรุปประโยชน์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 1. การใช้โปรแกรมและข้อมูลร่วมกัน 2. การใช้งานทรัพยากรคอมพิวเตอร์ร่วมกัน 3. การติดต่อสื่อสารและการทำงานร่วมกัน 4. การใช้แหล่งเรียนรู้และความรู้ร่วมกัน
ตัวกลางในการสื่อสารข้อมูล(media) ตัวกลางประเภทมีสาย ตัวกลางประเภทไร้สาย
สื่อกลางประเภทมีสาย (Cable) 1. สายคู่บิดเกลียว (Twisted Pair : TP) สายคู่บิดเกลียวประกอบด้วยเส้นลวดทองแดงหุ้มด้วยฉนวนพลาสติกอย่างน้อย 2 เส้นพันบิดเป็นเกลียว ส่งข้อมูลในระยะทางไม่เกิน 100 เมตร
สื่อกลางประเภทมีสาย (ต่อ) 1.1 สายคู่บิดเกลียวแบบป้องกันสัญญาณรบกวนหรือสายเอสทีพี (Shielded Twisted Pair : STP) ป้องกันการรบกวนคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้ดียิ่งขึ้น
สื่อกลางประเภทมีสาย (ต่อ) 1.2 สายตีเกลียวคู่แบบไม่ป้องกันสัญญาณรบกวนหรือสายยูทีพี (Unshielded twisted pair : UTP) มีราคาต่ำกว่าแบบ STP แต่ป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้น้อยกว่า
สื่อกลางประเภทมีสาย (ต่อ) 2. สายโคแอกซ์หรือสายแกนร่วม (Coaxial cable) สายโคแอกซ์เป็นสายสัญญาณที่มีสายทองแดงเดี่ยวเป็นแกนกลางหุ้มด้วยฉนวน เพื่อป้องกันไฟรั่ว จากนั้นหุ้มด้วยฉนวนพลาสติก ลักษณะของสายเป็นแบบกลมและใช้สำหรับสัญญาณความถี่สูง
สื่อกลางประเภทมีสาย (ต่อ) 3. สายไฟเบอร์ออปติก หรือเคเบิลเส้นใยนำแสง (Fiber optic cable) เคเบิลเส้นใยนำแสงทำจากแก้วหรือพลาสติกที่มีความบริสุทธิ์สูง เป็นตัวกลางที่สำคัญในการส่งข้อมูลดิจิทัลได้ในปริมาณมากในระยะทางไกลหลายกิโลเมตร และมีข้อผิดพลาดในการส่งข้อมูลต่ำ
เส้นใยนำแสงหรือไฟเบอร์ออปติก (Fiber optic cable)
สื่อกลางประเภทไร้สาย (Wireless) เป็นการสื่อสารข้อมูลโดยอาศัยการส่งสัญญาณไปกับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวกลางนำสัญญาณ
สื่อกลางประเภทไร้สาย (Wireless) 1. คลื่นวิทยุ (Radio wave) คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่อยู่ในช่วง 10 GHz ถึง 1 GHz
สื่อกลางประเภทไร้สาย (ต่อ) 2. คลื่นไมโครเวฟ (Microwave) เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่สูงกว่าคลื่นวิทยุ มีการใช้งานทั้งในแบบการสื่อสารระหว่างสถานีบนพื้นโลกด้วยกัน หรือสถานนีบนพื้นโลกกับดาวเทียม โดยจะต้องติดตั้งจุดรับส่งสัญญาณเป็นระยะๆ
สื่อกลางประเภทไร้สาย (ต่อ) 3. อินฟราเรด (Infrared) เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่อยู่ในย่านความถี่สูงกว่าไมโครเวฟแต่ต่ำกว่าความถี่ของแสงที่ตามนุษย์มองเห็นได้ ใช้กับการสื่อสารข้อมูลที่ไม่มีสิ่งกีดขวางระหว่างผู้ส่งและผู้รับ
ตัวอย่างสื่อกลางที่ใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สื่อกลาง (Media) แบบมีสาย สายคู่บิดเกลียว STP (หุ้มฉนวน) UTP (ไม่หุ้มฉนวน) สายโคแอกซ์ สายไฟเบอร์ออปติก แบบไร้สาย คลื่นวิทยุ คลื่นไมโครเวฟ อินฟราเรด