แรงในชีวิตประจำวัน.

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
Center of Mass and Center of gravity
Advertisements

Section 3.2 Simple Harmonic Oscillator
ระบบอนุภาค การศึกษาอนุภาคตั้งแต่ 2 อนุภาคขึ้นไป.
LOGO Array. ประเภทของ Array - อาเรย์ 1 มิติ (One) - อาเรย์ 2 มิติ (Two) - อาเรย์ 3 มิติ (Three) 2.
บทที่ 6 ความเสียดทาน(Friction)
Chapter 3 Equilibrium of a Particle
LAB # 2 : FLOW IN PIPE Section 6
เครื่องมือที่ใช้ในการกำหนดการเคลื่อนไหว
ลำดับ 1 : Counter(image center) ประเภทจุดติดตั้ง : ใหม่ อาคาร : ชั้น 1 ศูนย์ความเป็น เลิศทางการแพทย์ หน่วยงาน : image ประเภทของสถานที่ : counter ผู้ที่ใช้งาน.
Facility Location Single facility –Weighted scoring (Location factor rating) –Center of gravity model –Load-distance model (cost-based model) –Break even.
เจ้าของโครงการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ผู้ควบคุมงาน บริษัท แอ็ดวานซ์ คอนซัลแทนต์ แอนด์ ดีไซน์ จำกัด ผู้รับจ้าง ห้างหุ้นส่วนจำกัด คงมั่นการช่าง.
พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้ ถูกต้องและต่อเนื่อง นำสาระท้องถิ่นมาบูรณาการกับ สาระแกนกลาง ปรับโครงสร้างเวลาเรียนตามที่ กระทรวงศึกษาธิการกำหนด ดำเนินก.
การติดตาม ประเมินผล สัมมนา กอ. รมน. ภาค 3 ( เมษายน 59 ) ณ โรงแรมเวียง ทอง ล. ป.
1. 2 สถานะโครงการสำคัญในปีงบประมาณ 2559 พร้อมจะส่งมอบ 8,112 หน่วย พร้อมจะส่งมอบ 8,112 หน่วย ส่งมอบ 10 โครงการ 1,384 หน่วย อยู่ระหว่างก่อสร้าง จะแล้วเสร็จ.
ทำอย่างไรสู่ความสำเร็จใน งานศูนย์ความเป็นเลิศ ประเด็น “ การบริหารจัดการ โครงสร้าง ” ดร. พนิตนาฎ ชำนาญเสือ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี
สำนักงานสิ่งแวดล้อม ภาคที่ 10 พื้นที่รับผิดชอบ : ลุ่มน้ำชีตอนบน 5 จังหวัด ; กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม หนองบัวลำภู - พื้นที่ 39,761 ตร. กม.
การจัดการการดูแล (Care Management) นางอุไลวรรณ์ ไขสังเกต พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ.
การประชุมเชิงปฏิบัติการ
Microsoft® Office SharePoint® Server 2007 การฝึกอบรม
วิธีการแก้ไขและเพิ่มเติมข้อมูลด้านขนาดสินค้า ในระบบ Seller Center
การบริหารการทดสอบ O-NET
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับการพัฒนา
  การสนับสนุนการดำเนินงาน LTC ผ่าน "ศูนย์" ตามประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การสนับสนุนและส่งเสริมศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ.
ตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ /ว 21 ลงวันที่ 5 กรกฎาคม 2560
บทที่ 3 แรง มวลและกฎการเคลื่อนที่
กลศาสตร์ของไหล Fluid Mechanics
ภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียน และการจัดการ
แบบจำลองแรงโน้มถ่วง.
การดูแลผู้สูงอายุ ระยะยาว (Long Term Care )
พลังงาน (Energy).
การดูแลผู้สูงอายุพึ่งพิง
รายงานผลตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ
เอกสารบรรยายเกี่ยวกับข้อบังคับฯ ระดับบัณฑิตศึกษา
งานและพลังงาน.
กลุ่มพัฒนาเครือข่ายและสถานศึกษาต้นแบบ
แนวทางการทำงานของ “วิทยากรแกนนำเน็ตประชารัฐ”
สรุปรายงานผลการนิเทศงานระดับอำเภอรอบที่ 2 ประจำปีงบประมาณ 2561 อำเภอเมืองอ่างทอง วันที่ 11 มิถุนายน 2561.
ตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ /ว 21 ลงวันที่ 5 กรกฎาคม 2560
บทที่ 6 ความร้อนและอุณหพลศาสตร์
งานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุจังหวัดเชียงใหม่ ปีงบประมาณ 2561
UNDO ข้าราชการ ผู้รับบำนาญ ผู้รับเบี้ยหวัด
ครอบครัว กับการคืนสู่สุขภาวะ
การประชุมชี้แจงศูนย์สอบ O-NET ชั้น ป.6 และ ชั้น ม.3 ปีการศึกษา 2560
การบริหารสัญญา และหลักประกัน.
นโยบายการบริหารจัดการอาชีวศึกษา
ระบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว
งานและพลังงาน (Work and Energy) Krunarong Bungboraphetwittaya.
ผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)
งานและพลังงาน.
แรงเสียดทาน ( Friction Force ).
แนวทางการตรวจราชการ คณะที่ 1 การพัฒนาศักยภาพตามกลุ่มวัย
ยินดีต้อนรับ ทีมเยี่ยมเสริมพลัง พชอ. (AI)
ยุคโบราณ (Ancient Age)
ผลการดำเนินงาน ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 –
การบูรณาการข้อมูล เพื่อการบริหารจัดการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉิน/อุบัติเหตุ
อ.ดร.จิรพรรณ โพธิ์ทอง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชนนี สุพรรณบุรี
ศูนย์ช่วยเหลือ SMEs (SME Rescue Center)
การประชุมเชิงปฏิบัติการติดตามเยี่ยมเสริมพลัง เพื่อรับฟังการวิเคราะห์แนวทางวางแผนปฏิบัติงาน และนำเสนอผลการดำเนินงานพื้นที่ดำเนินงาน ระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุ
การดูแลผู้สูงอายุระยะยาว
กองการพยาบาลสาธารณสุข สำนักอนามัย
หัวหน้ากลุ่มบริหารยุทธศาสตร์ ศูนย์บริหารกฎหมายสาธารณสุข
แรง มวลและกฎการเคลื่อนที่
นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ
โดย การอภิปราย “แนวทางการปฏิบัติงานในการพิจารณาอนุญาตฯ (รง.4)”
สำนักงานทะเบียนเครื่องจักรกลาง
สรุปผลการดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว (Long Term Care)
World window.
เมื่อออกแรงผลักวัตถุ แล้วปล่อยให้วัตถุไถลไปตามพื้นราบในแนวระดับ
รู้ทันงานทะเบียน ฯ เรียนสำเร็จตามคาดหวัง
กลศาสตร์และการเคลื่อนที่ (1)
ใบสำเนางานนำเสนอ:

แรงในชีวิตประจำวัน

ลักษณะของการเคลื่อนที่ แบ่งเป็น 4 ลักษณะ คือ 1. การเคลื่อนที่เป็นแนวเส้นตรง แบบนี้เป็นพื้นฐานของการเคลื่อนที่ เพราะมี ทิศทางเดียวแต่อาจจะไป - กลับ รูปแบบการ เคลื่อนที่อาจจะแตกต่างกันออกไป ตัวอย่างเช่น - การเคลื่อนที่ของรถไฟบนราง - การเคลื่อนที่ของรถบนถนนที่เป็นแนวเส้นตรง - การเคลื่อนที่ภายใต้แรงโน้มถ่วงของโลก

2. การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ เป็นการเคลื่อนที่ของวัตถุที่มีแนวเส้นทาง การเคลื่อนที่เป็นรูปโค้งพาราโบลา เนื่องจากวัตถุเคลื่อนที่เข้าไปในบริเวณที่มี แรงกระทำต่อวัตถุไม่อยู่ในแนวเดียวกับทิศ ของการเคลื่อนที่

3. การเคลื่อนที่แบบสู่ศูนย์กลาง คือ การเคลื่อนที่ของวัตถุรอบจุด ๆหนึ่ง โดยมีรัศมีคงที่ ทิศทางและความเร็วของการเคลื่อนที่ จะเปลี่ยนแปลง ตลอดเวลาทิศของแรงจะตั้งฉากกับทิศการเคลื่อนที่ แรงที่กระทำต่อวัตถุจะมีทิศทางเข้าสู่ศูนย์กลาง เรียกว่า “แรงสู่ศูนย์กลาง”ขณะเดียวกันจะมีแรงต้านที่ไม่ให้วัตถุ เข้าสู่ศูนย์กลาง เรียกว่า “แรงหนีศูนย์กลาง” แรงหนี ศูนย์กลางจะเท่ากับแรงสู่ศูนย์กลาง วัตถุจึงจะเคลื่อนที่ เป็นวงกลมได้

4. การเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย มีลักษณะพิเศษ คือ วัตถุจะ เคลื่อนที่กลับไปกลับมาเรียกว่า แกว่งหรือสั่น การเคลื่อนที่แบบ นี้ จะเคลื่อนที่อยู่ในช่วงสั้น ๆ มี ขอบเขตจำกัด เรียกว่า แอมพลิ จูด (Amplitude) โดยนับจาก ตำแหน่งสมดุล ซึ่งอยู่ตรงจุดกลาง วัดไปทางซ้ายหรือขวาเช่น การ แกว่ง ของชิงช้า ยานไวกิงในสวนสนุก

แรงเสียดทาน(friction) μ ต้องมีค่าอยู่ระหว่าง 0-1 แรงเสียดทาน หมายถึง  แรงที่ต่อต้านการเคลื่อนทีของวัตถุโดยเกิดขึ้นระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุกับผิวของพื้น แรงเสียดทานมีทิศตรงข้ามกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ f=μN μ ต้องมีค่าอยู่ระหว่าง 0-1

ลักษณะของแรงเสียดทาน มีทิศทางตรงกันข้ามกับทิศทางการเคลื่อนที่ของวัตถุ - ถ้าผิวสัมผัสของวัตถุ 2 ชนิด เรียบ จะเกิดแรงเสียดทานน้อย วัตถุเคลื่อนที่ได้มาก - ถ้าผิวสัมผัสของวัตถุ 2 ชนิด ไม่เรียบ จะเกิดแรงเสียดทานมาก วัตถุเคลื่อนที่ได้น้อย

ปัจจัยที่มีผลต่อแรงเสียดทาน 1.  น้ำหนักหรือแรงกดของวัตถุที่กดลงบนพื้น  ถ้าน้ำหนักหรือแรงกดวัตถุมาก จะเกิดแรงเสียดทานมาก ถ้าน้ำหนักหรือแรงกดของวัตถุน้อยจะเกิดแรงเสียดทานน้อย

 2.  ลักษณะของพื้นผิวสัมผัส ถ้าพื้นผิวเรียบ เช่น กระเบื้อง กระจก พลาสติกจะเกิดแรงเสียดทานน้อย เนื่องจากพื้นผิวเรียบ มีการเสียดสีระหว่างกันน้อย

ประเภทของแรงเสียดทาน 1.แรงเสียดทานสถิต (Static  Friction) คือ แรงเสียดทานที่เกิดขึ้นระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุยังไม่เคลื่อนที่(อยู่นิ่ง)จนกระทั่งวัตถุเริ่มเคลื่อนที่ เช่น ออกแรงผลักรถแล้วรถยังอยู่นิ่ง เป็นต้น   แรงและการเคลื่อนที่

2.แรงเสียดทานจลน์ (kinetic friction) เป็นแรงเสียดทานที่เกิดขึ้นเมื่อวัตถุกำลังเคลื่อนที่ จะมีค่าคงที่เสมอ   แรงและการเคลื่อนที่

การนำแรงเสียดทานไปใช้ประโยชน์ 1.  ทำให้วัตถุหยุดนิ่งไม่เคลื่อนที่ เช่น ช่วยหยุดรถยนต์ที่กำลังเคลื่อนที่ ยางรถที่มีดอกยางช่วยให้รถเกาะถนนได้ดี เป็นต้น  2.  การสร้างพื้นถนนต้องทำให้พื้นถนนเกิดแรงเสียดทานพอสมควร รถจึงจะเคลื่อนที่บนถนนโดยที่ล้อรถไม่หมุนอยู่กับที่ได้ 3.  ช่วยในการหยิบจับสิ่งของโดยไม่ลื่นไหลไปมา 4.  ช่วยในการเดินไม่ให้ลื่นไหล

แรงพยุงหรือแรงลอยตัว... คือ แรงพยุงของของเหลวและแก๊สที่กระทำต่อวัตถุที่อยู่ในของเหลวและแก๊สนั้น ทำให้วัตถุลอยอยู่ได้ ในชีวิต ประจำวันจะพบว่าวัตถุบางชนิดลอยอยู่ในน้ำได้ เพราะแรงลอยตัวที่กระทำต่อวัตถุนั้นมีค่าเพียงพอที่จะต้านน้ำหนักของวัตถุ ที่เกิดจากแรงโน้มถ่วงของโลกได้ วัตถุบางชนิดที่จมในน้ำแสดงว่า แรงลอยตัวที่กระทำต่อวัตถุนั้นมีค่าน้อยกว่าน้ำหนักของวัตถุ

ลักษณะของแรงพยุงตัวของของเหลว น้ำหนักของวัตถุชนิดต่างๆ เกิดจากแรงโน้มถ่วงของโลก ซึ่งมีทิศทางลงสู่พื้นโลก แต่ถ้าวัตถุตกลงในน้ำ น้ำหนักของวัตถุจะลดลง เพราะมีแรงของน้ำพยุงวัตถุในทิศทางตรงกันข้ามกับแรงโน้มถ่วงของโลก เรียกว่า แรงพยุง ของของเหลว ซึ่งเป็นแรงของของเหลวที่พยุงวัตถุในทิศทางตรงกันข้ามกับน้ำหนักของวัตถุ

อาร์คิมีดิส นักคิดชาวกรีกเป็นผู้ค้นพบแรงลอยตัว และ ให้หลักการเกี่ยวกับการจมและการลอยของวัตถุเรียกว่า “ หลักของอาร์คิมีดิส " คือ แรงลอยตัวที่กระทำต่อวัตถุมีค่าเท่ากับน้ำหนักของของเหลวที่ถูกแทนที่ด้วยปริมาตรของวัตถุส่วนที่จมในของเหลวนั้น

ค่าของแรง ที่อ่านได้เมื่อชั่งวัตถุในของเหลว จะมีค่าน้อยกว่าเมื่อชั่งวัตถุในอากาศ เพราะว่าของเหลวมีแรงลอยตัวช่วยพยุงวัตถุไว้

ปัจจัยที่มีผลต่อการลอยและการจมของวัตถุ 1.ความหนาแน่นของวัตถุวัตถุแต่ละชนิดมีความหนาแน่นไม่เท่ากัน 1.1 ถ้าวัตถุมีความหนาแน่นน้อยกว่าของเหลววัตถุจะลอยในของเหลว 1.2 ถ้าวัตถุมีความหนาแน่นเท่ากันกับของเหลววัตถุจะลอยปริ่มในของเหลว 1.3 ถ้าวัตถุมีความหนาแน่นมากกว่าของเหลววัตถุจะจมในของเหลว

2. ความหนาแน่นของของเหลว 2.  ความหนาแน่นของของเหลว ของเหลวที่มีความหนาแน่นมากจะมีแรงลอยตัวมาก ทำให้พยุงวัตถุให้ลอยขึ้นได้มากกว่าของเหลวที่มีความหนาแน่นน้อย เช่น น้ำเกลือมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำเปล่า เมื่อนำไข่ไก่ไปใส่ในน้ำเกลือเปรียบเทียบกับน้ำเปล่า ไข่ไก่ลอยในน้ำเกลือ แต่จมลงในน้ำเปล่า น้ำเปล่า + ไ ข่ น้ำเกลือ + ไ ข่

ประโยชน์ของแรงพยุงของของเหลว นักวิทยาศาสตร์นำความรู้เรื่องแรงพยุงหรือแรงลอยตัวไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่น การประดิษฐ์เสื้อชูชีพ เรือ แพยาง เป็นต้น

ตัวอย่างการคำนวณ

แรงดันอากาศ... ความดัน คือ ขนาดของแรงที่กระทำต่อ 1 หน่วยพื้นที่ของวัตถุ อากาศ เป็นสิ่งที่มีตัวตน มีน้ำหนัก ต้องการที่อยู่และสัมผัสได้ น้ำหนักของอากาศมีแรงกดหรือแรงดัน อนุภาคของอากาศเคลื่อนที่ไปมาได้อย่างอิสระและตลอดเวลา ทุกทิศทาง โดยจะเคลื่อนที่ชนกันเองและชนกับวัตถุต่าง ๆ ที่ล้อมรอบ ทำให้เกิดแรงดันรอบทิศทาง

- แรงดันอากาศ หมายถึง แรงที่อากาศกดลงบนผิวของวัตถุในทุกทิศทาง เช่น ถ้าเป่าลูกโป่ง อากาศที่เข้าด้านในจะดันลูกโป่งให้พองออกและมีขนาดใหญ่ขึ้นขณะเดียวกัน อากาศภายนอกก็ออกแรงดันลูกโป่งทุกทิศทางด้วยเช่นกัน

เครื่องวัดความดันอากาศ เรียกว่า บารอมิเตอร์ ความดัน 1 บรรยากาศ จะดันให้ปรอทสูง760 มิลลิเมตรของปรอทในระดับน้ำทะเล ในแนวตั้งฉากกับผิวโลก

ถ้าสูงจากระดับน้ำทะเลความดันอากาศจะลดลงเรื่อย ๆ

ประโยชน์ของความดันอากาศ 2. การดูดของเหลวเข้าหลอดหยดหรือเข็มฉีดยา 1.  การดูดน้ำออกจากขวดโดยใช้หลอดดูด 2.  การดูดของเหลวเข้าหลอดหยดหรือเข็มฉีดยา 3.  การเจาะกระป๋องนมต้องเจาะ 2 รู เพื่อให้อากาศในกระป๋องนมมีความดันอากาศเท่ากับความดันภายนอกกระป๋องนมทำให้สามารถเทนมออกจากกระป๋องนมได้ 4.  การถ่ายของเหลวโดยสายยางจากภาชนะหนึ่งไปยังอีกภาชนะหนึ่งที่อยู่ต่างระดับกัน เรียกว่า “ กาลักน้ำ ” 5.  การใช้แป้นยางดูดติดกับกระจกเพื่อยึดสิ่งของให้ติดกับกระจก เนื่องจากความดันอากาศภายนอกมากกว่าความดันอากาศภายในแป้นยาง จึงกดหัวแป้นยางให้ดูดติดกับกระจก       

ความดันของเหลว... ความดันของของเหลวมีลักษณะคล้ายกับความดันอากาศ คือ เกิดจากน้ำหนักของของเหลวที่มีอยู่เหนือตำแหน่งนั้น ๆกดทับลงมา ยิ่งในระดับที่ลึกมากขึ้น ของเหลวที่อยู่เหนือตำแหน่งนั้นก็จะมีมากขึ้น ทำให้น้ำหนักของของเหลวมีมากขึ้น

ปัจจัยที่มีผลต่อความดันของของเหลว 1.  ความลึกของของเหลว -  ของเหลวไม่ว่าจะอยู่ในภาชนะรูปร่างใดก็ตาม ถ้าที่ระดับความลึกเดียวกัน ความดันของของเหลวจะเท่ากัน น้ำจะมีความดันเท่ากัน -  แต่ถ้าระดับความลึกต่างกัน น้ำที่ระดับความลึก มากกว่าจะมีความดันมากกว่า

2. ความหนาแน่นของของเหลว  2.  ความหนาแน่นของของเหลว ของเหลวต่างชนิดกันจะมีความดันต่างกัน โดยของเหลวที่มีความ หนาแน่นมาก จะมีความดันสูงกว่าของเหลวที่มีความหนาแน่นน้อย น้ำเปล่า น้ำเกลือ 20 เซนติเมตร 10 เซนติเมตร

ประโยชน์ของความดันของเหลว 1. การสร้างเขื่อน ต้องสร้างให้ฐานเขื่อนมีความกว้างมากกว่าสันเขื่อน เพราะแรงดันของน้ำบริเวณฐานเขื่อนมากกว่าแรงดันของน้ำบริเวณสันเขื่อน *** เขื่อนต้องสร้างให้ฐานเขื่อนกว้างกว่าสันเขื่อน*** สันเขื่อน แรงดันน้อย แรงดันมาก ฐานเขื่อน

2. การออกแบบเรือดำน้ำจะต้องมีความแข็งแรงและทนทานต่อสภาพความดันสูงในน้ำลึกได้ เพราะยิ่งลึกความดันน้ำจะยิ่งมากขึ้น

น้ำหนัก คือ แรงดึงดูดของโลกซึ่งกระทำต่อวัตถุอยู่ตลอดเวลา เป็นปริมาณเวกเตอร์ที่มีทิศเดียวกับความเร่ง เนื่องจากแรงดึงดูดของโลก(g) ใช้สัญลักษณ์ “W” มีหน่วยเป็นนิวตัน (N) คำนวณได้จาก   

จุดศูนย์ถ่วง (Center of Gravity : CG) คือ จุดแรงลัพธ์ของแรงดึงดูดของโลกกระทำต่อส่วนต่างๆของวัตถุ ตุ๊กตาล้มลุกมีตำแหน่งจุดศูนย์ถ่วงต่ำ การโยกตุ๊กตาจึงไม่ล้มและจะกลับมาตั้งตามเดิม แรงและการเคลื่อนที่

เอกสารอ้างอิงขอขอบคุณเนื้อหาและรูปภาพจาก....... จำนง ภาษาประเทศ และคณะ.หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้น ป. 5 กลุ่มสาระ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร : บริษัท สำนักพิมพ์แม็ค จำกัด,2555 นคร มีแก้ว.คู่มือ-เตรียมสอบ วิทยาศาสตร์ ป. 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.กรุงเทพมหานคร : บริษัท ภูมิบัณฑิตการพิมพ์ จำกัด ,2554 ดร.บัญชา แสนทวี, ลัดดา อินทร์พิมพ์ และดารุณี ชวดศรี.คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร : บริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด,2551 “แรง”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: http://www.thaigoodview.com/node/45977 “แรงและความดัน”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก:http://www.myfirstbrain.com/student_view.aspx?ID =70361 ศิริรัตน์ วงศ์ศิริและรักซ้อน รัตน์วิจิตต์เวช.หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้น ป. 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร : บริษัท อักษรเจริญทัศน์ อจท. จำกัด,2554