การควบคุมงานก่อสร้าง ( การทดสอบวัสดุ )
หัวข้อการบรรยาย 1. การเจาะสำรวจชั้นดิน 2. การทดสอบแรงดึงของเหล็ก 3. การทดสอบกำลังอัดของคอนกรีต หมายเหตุ : การบรรยายจะอ้างอิงแบบ อาคารเรียน สปช.105/29 ปรับปรุง อาคารเรียน 2 ชั้น 8 ห้องเรียน และรายการมาตรฐานประกอบแบบ ก่อสร้างของสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
แบบอาคารเรียน สปช.105/29 ปรับปรุง อาคารเรียน 2 ชั้น 8 ห้องเรียน
รายการมาตรฐานประกอบแบบ ก่อสร้างของสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
1. การเจาะสำรวจชั้นดิน
ทำไมต้องเจาะสำรวจชั้นดิน ใช้เป็นข้อมูลในการเลือกชนิดของฐานราก และหาระดับความลึกที่เหมาะสมที่จะวาง ฐานราก และหาสภาพการรับน้ำหนัก บรรทุกของดินตามชนิดของฐานราก ถ้า ปราศจากข้อมูลในการเลือกชนิดของฐาน ราก ความลึกที่เหมาะสมที่จะวางฐานราก และทำการเลือกโดยการคาดคะเน อาจ ทำให้เกิด ผลเสีย คือ อาจทำให้เกิด ความไม่ปลอดภัยต่อสิ่งก่อสร้างและไม่ ประหยัดค่าใช้จ่ายในกรณีที่ต้องเลือกเผื่อ ไว้
ศึกษาข้อกำหนดต่างๆ เกี่ยวกับ งานฐานราก - ข้อกำหนดตามแบบก่อสร้าง - ข้อกำหนดตามรายการมาตรฐาน ประกอบแบบก่อสร้าง ของ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้น พื้นฐาน
ข้อกำหนดตามแบบ ก่อสร้าง
ข้อกำหนดตามรายการ มาตรฐาน ฯ
ตัวอย่างรายงานผลการเจาะ สำรวจชั้นดิน
ทำการเปรียบเทียบราคา เพิ่มเงิน / หักเงิน
ข้อกำหนดตามรายการ มาตรฐาน ฯ
ตัวอย่างการเปรียบเทียบราคา เพิ่มเงิน / หักเงิน
2. การทดสอบแรงดึงของ เหล็ก
ศึกษาข้อกำหนดต่างๆ เกี่ยวกับ งานเหล็กเสริม - ข้อกำหนดตามแบบก่อสร้าง - ข้อกำหนดตามรายการมาตรฐาน ประกอบแบบก่อสร้าง ของ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้น พื้นฐาน
ข้อกำหนดตามรายการ มาตรฐาน ฯ
ตัวอย่าง เหล็กเส้นกลม ชั้นคุณภาพ SR24
ตัวอย่าง เหล็กข้ออ้อย ชั้นคุณภาพ SD30
ตัวอย่าง เหล็กข้ออ้อย ชั้นคุณภาพ SD40
การเก็บตัวอย่างเหล็กเส้นเพื่อส่ง ทดสอบ - ให้ตัดเหล็กเส้นทุกๆ ขนาด ยาวท่อนละ 1 เมตร เพื่อทำการทดสอบ - ให้เก็บหนึ่งตัวอย่างจากเหล็กเส้นเส้นหนึ่ง ต่อจำนวนเหล็กเส้นทุกๆ 100 เส้น หรือ เศษของ 100 เส้น แต่จำนวนตัวอย่างแต่ ละขนาดที่ส่งมาทดสอบในแต่ละชุดไม่ น้อยกว่า 3 ตัวอย่าง - เก็บตัวอย่างจากกองเหล็กเส้นแต่ละครั้งที่ นำเข้ามาใหม่ - ถ้าตัวอย่างที่ทดสอบไม่เป็นไปตาม ข้อกำหนดถือว่าใช้ไม่ได้
ตัวอย่างรายงานผลการทดสอบแรงดึง ของเหล็ก
3. การทดสอบกำลังอัดของ คอนกรีต
ศึกษาข้อกำหนดต่างๆ เกี่ยวกับ งานคอนกรีต - ข้อกำหนดตามแบบก่อสร้าง - ข้อกำหนดตามรายการมาตรฐาน ประกอบแบบก่อสร้าง ของ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้น พื้นฐาน
ข้อกำหนดตามรายการ มาตรฐาน ฯ
การเก็บตัวอย่างคอนกรีตเพื่อส่งทดสอบ - ในการเทคอนกรีตต้องทดสอบการยุบตัวของ คอนกรีต (Slump Test) ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยน ส่วนผสม ( มยผ.1209) - เก็บตัวอย่างคอนกรีตเพื่อตรวจสอบคุณภาพต่อ หน้าผู้ควบคุมงานตามมาตรฐาน ( มยผ. 1208) - การเก็บตัวอย่างคอนกรีตที่จะทดสอบ ให้เก็บทุก วันเมื่อเทอย่างน้อย 3 ก้อนเพื่อทดสอบที่ 28 วัน - ไม่น้อยกว่า 1 ครั้งในวันที่มีการเทคอนกรีต - เก็บตัวอย่างในแต่ละส่วนของโครงสร้าง - เก็บทุก 50 ลูกบาศก์เมตร สำหรับพื้น ผนัง ทุก 250 ตารางเมตร - ทุกครั้งเมื่อเปลี่ยนแหล่ง ทราย หินหรือกรวด
การพิจารณาผลการทดสอบ - คอนกรีตที่หล่อแล้วจะยอมรับได้เมื่อผลทดสอบ แท่งตัวอย่างคอนกรีตมาตรฐาน ที่เก็บมาเมื่อ อายุครบ 28 วัน เป็นไปตามข้อกำหนด - กำลังอัดประลัยเฉลี่ยสามก้อนให้ค่าเท่ากับหรือ สูงกว่ากำลังอัดประลัยที่กำหนด - กำลังอัดประลัยของแท่งคอนกรีตแต่ละก้อน จะ ต่ำกว่าที่กำหนดไม่เกิน 3.5 เมกาปาสกาล (35 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ) - กรณีทดสอบที่ 7 วัน กำลังอัดประลัยไม่น้อย กว่าร้อยละ 70 แต่ต้องยึด ที่อายุ 28 วัน เป็นเกณฑ์
การพิจารณาผลการทดสอบ 3 > 35 ksc เฉลี่ ย ค่ากำลังอัดประลัย ที่กำหนด
ตัวอย่างรายงานผลการทดสอบกำลังอัด ของคอนกรีต
จบการ นำเสนอ นายธานินทร์ สุวรรณจินดา วิศวกรโยธาปฏิบัติการ สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัด หนองบัวลำภู โทร