งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

โขน : นาฏยศิลป์ถิ่นสยาม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "โขน : นาฏยศิลป์ถิ่นสยาม"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 โขน : นาฏยศิลป์ถิ่นสยาม

2 โขน : นาฏยศิลป์ถิ่นสยาม องค์ประกอบในการแสดงโขน
ประวัติความเป็นมาของโขน โขน : นาฏยศิลป์ถิ่นสยาม ตัวอย่างการแสดงโขน องค์ประกอบในการแสดงโขน ลำดับขั้นตอนในการแสดงโขน

3 ที่มาและประวัติความเป็นมาของโขน
รูปศัพท์ของคำว่า โขน ประเภทของการแสดงโขน ประวัติความเป็นมาของโขน ที่มาและประวัติความเป็นมาของโขน ความหมายของโขน

4 รูปศัพท์ของคำว่า โขน โขน ในภาษาเบงกาลี ซึ่งมีคำว่า โขละ หรือ โขล ซึ่งเป็นชื่อของเครื่องดนตรีประเภทหนังชนิดหนึ่งของฮินดู โดยตัวรูปร่างคล้าย มฤทังคะ ( ตะโพน ) โขน ในภาษาทมิฬ เริ่มจากคำว่า โขล มีคำเพียงใกล้เคียงกับ  โกล หรือ  โกลัม ในภาษาทมิฬ ซึ่งหมายถึงเพศ การแต่งตัว โขน ในภาษาอิหร่าน มาจากคำว่า “ ษูรัต ควาน ” (Surat khwan) ซึ่งษูรัตแปลว่า ตุ๊กตาหรือหุ่น ซึ่งผู้อ่านหรือผู้ขับร้องแทนตุ๊กตาหรือหุ่นเรียกว่า “ ควาน ” หรือโขน (Khon)  โขน ในภาษาเขมร ในพจนานุกรมภาษาเขมร มีคำว่า “ ละคร ” แต่เขียนเป็นอักษรว่า “ ละโขน ” ซึ่งหมายถึง มหรสพอย่างหนึ่งเล่นเรื่องต่างๆ

5 ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ที่ใช้กันในปัจจุบัน พบว่า  
โขน หมายถึง การเล่นอย่างหนึ่งคล้ายละครรำ แต่เล่นเฉพาะในเรื่องรามเกียรติ์ โดยผู้แสดงสวมหัวจำลอง ต่างๆ ที่เรียกว่า หัวโขน 

6 ความหมายของโขน โขน หมายถึง การแสดงอีกอย่างหนึ่งที่ใช้ท่ารำ และแสดงเป็นเรื่องราวโดยลำดับ วิธีการทุกอย่างเหมือนละคร การแสดงที่ใช้ท่ารำตามแบบละครใน แต่เพิ่มท่ารำที่มีตัวแสดงแปลกออกไปกับเปลี่ยนทำนองเพลงที่ดำเนินเรื่องไม่ให้เหมือนละคร ลักษณะสำคัญอยู่ที่ผู้แสดงต้องสวมหัวโขนหมดทุกตัว ยกเว้นตัวนาง พระ และเทวดา

7 ที่มาและประวัติความเป็นมาของโขน
โขนที่มาจาก  กระบี่กระบอง  โขนที่มาจากการแสดง  หนังใหญ่  โขนที่มาจากการเล่น ชักนาคดึกดำบรรพ์ 

8 ประเภทของการแสดงโขน โขนกลางแปลง โขนกลางแปลงเป็นการเล่นโขนกลางแจ้ง ไม่มีการสร้างโรงแสดง ใช้ภูมิประเทศและธรรมชาติเป็นฉากในการแสดง ผู้แสดงทั้งหมดรวมทั้งตัวพระต้องสวมหัวโขน นิยมแสดงตอนยกทัพรบ

9 โขนนั่งราวหรือเรียกอีกอย่างว่าโขนโรงนอก
วิวัฒนาการมาจากโขนกลางแปลง เป็นโขนที่แสดงบนโรงที่ปลูกสร้างขึ้นสำหรับแสดง ตัวโรงมักมีหลังคาคุ้มกันแสงแดดและสายฝนนั่ง มีราวทำจากไม้ไผ่วางพาดตามส่วนยาวของโรงเท่านั้น

10 โขนโรงใน โขนโรงในเป็นโขนที่นำศิลปะการแสดงของละครใน เข้ามาผสมผสานระหว่างโขนกับละครใน

11 โขนหน้าจอ โขนหน้าจอเป็นโขนที่แสดงหน้าจอหนังใหญ่ซึ่งใช้สำหรับแสดงหนังใหญ่หรือหนังตะลุง โดยผู้แสดงโขนออกมาแสดง สลับกับการเชิดตัวหนัง ที่ฉลุแกะสลักเป็นตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์อย่างสวยงามวิจิตรบรรจง

12 โขนฉาก โขนฉากเป็นการแสดงโขนที่ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรก ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ โปรดให้มีการจัดฉากในการแสแบบละครดึกดำบรรพ์ประกอบตามท้องเรื่อง แบ่งเป็นฉากเป็นองก์ เข้ากับเหตุการณ์และสถานที่ จึงเรียกว่าโดงขนฉาก

13 องค์ประกอบในการแสดงโขน
๒.การแต่งกายในการแสดงโขน ๑.หัวโขน ๓.การคัดเลือกตัวละครในการแสดงโขน การแสดงประกอบที่อยู่ในบทโขน ๔.ภาษาโขน ๙.การบวงสรวง องค์ประกอบในการแสดงโขน ๕.ลักษณะบทโขน ๘.ประเพณีไหว้ครูและความเชื่อ ๗.เพลงที่ใช้ประกอบการแสดงโขน ๖.วงดนตรีประกอบการแสดงโขน

14 ๑. หัวโขนที่เป็นเทพ ๑.หัวโขน
เป็นงานประติมากรรมสาคัญที่สุดในการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ เพราะว่าเรื่องรามเกียรติ์เป็นเรื่องที่มีตัวละครมาก จึงมีการคิดประดิษฐ์เครื่องแต่งกายต่างๆ หัวโขนจะประกอบไปด้วยส่วนยอด ซึ่งบอกสถานภาพตัวละคร ส่วนสีและลักษณะบนใบหน้าจะบ่งบอกว่าเป็นตัวละครใด ๑. หัวโขนที่เป็นเทพ ๒. หัวโขนที่เป็นมนุษย์ ๓. หัวโขนที่เป็นยักษ์ ๔. หัวโขนที่เป็นสัตว์

15 ๒.การแต่งกายในการแสดงโขน
เครื่องแต่งกายสำหรับใช้ในการแสดงโขน ใช้การแต่งกายแบบยืนเครื่อง ซึ่งเป็นการแต่งกายจำลองเลียนแบบจากเครื่องทรงต้นของพระมหากษัตริย์แบบโบราณที่มีความสวยงามวิจิตรตระการตา แบ่งออกเป็น ๓ ส่วน

16 ๒.๑ ศิราภรณ์ ศิราภรณ์หรือเครื่องประดับมาจากคำว่า "ศีรษะ" และ "อาภรณ์" หมายความถึงเครื่องประดับสำหรับใช้สวมใส่ศีรษะเช่น ชฎามงกุฎ

17 ๒.๒ พัสตราภรณ์ พัสตราภรณ์หรือเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มเช่น เสื้อหรือฉลององค์

18 ๒.๓ ถนิมพิมพาภรณ์ ถนิมพิมพาภรณ์หรือเครื่องประดับต่าง ๆ ตามแต่ฐานะของตัวละคร คำว่าถนิมพิมพาภรณ์ มาจากคำว่า "พิมพา" และ "อาภรณ์" หมายถึงเครื่องประดับตกแต่งตามร่างกาย

19 เครื่องแต่งกายตัวพระ

20 เครื่องแต่งกายตัวนาง

21 เครื่องแต่งกายตัวยักษ์

22 เครื่องแต่งกายตัวลิง

23 ๓.การคัดเลือกตัวละครในการแสดงโขน
ตัวพระ การคัดเลือกตัวพระสำหรับการแสดง จะคัดเลือกผู้ที่ลักษณะใบหน้ารูปไข่ สวยงาม คมคายเด่นสะดุดตา ท่าทางสะโอดสะองและผึ่งผาย ลำคอระหง ไหล่ลาดตรง ช่วงอกใหญ่ ขนาดลำตัวเรียว เอวเล็กกิ่วคอดตามลักษณะชายงามในวรรณคดีไทย ตัวนาง กษัตริย์และนางตลาด ซึ่งนางกษัตริย์จะคัดเลือกจากผู้ที่มีรูปร่างลักษณะคล้ายกับตัวพระ สวมมงกุฏ ห้อยดอกไม้เพชรด้านซ้าย กิริยามารยาทเรียบร้อย สุภาพ นุ่มนวลอ่อนหวานตามลักษณะหญิงงามในวรรณคดี

24 ตัวยักษ์ การคัดเลือกตัวยักษ์สำหรับการแสดง จะคัดเลือกผู้ที่มีลักษณะคล้ายกับตัวพระ รูปร่างสูงใหญ่ วงเหลี่ยมของผู้แสดงเป็นตัวยักษ์ตลอดจนถึงการทรงตัวต้องดูแข็งแรง กิริยาท่าทางการเยื้องย่างแลดูสง่างาม ตัวลิง การคัดเลือกตัวลิงสำหรับการแสดง จะคัดเลือกผู้ที่มีลักษณะท่าทางไม่สูงมากนัก กิริยาท่าทางคล่องแคล่วว่องไวตามแบบฉบับของลิง มีการดัดโครงสร้างของร่างกายให้อ่อน ซึ่งลีลาท่าทางของตัวลิงนั้นจะไม่อยู่นิ่งกับที่ ตีลังกาลุกลี้ลุกลนตามธรรมชาติของลิง

25 ๔.ภาษาโขน ผู้แสดงโขนไม่สามารถสื่อสารออกมาด้วยน้ำเสียงได้ จึงใช้ท่าทางและอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายเช่น ลำตัว มือ แขน ขา เท้า ไหล่ คอ ใบหน้าและศีรษะ ประกอบอากัปกิริยาแทน ทำให้สามารถสื่อสารภาษาและรู้ถึงความหมายนั้น ๆ ได้

26 ๕.ลักษณะบทโขน บทร้อง เป็นการร้องกลอนบทละคร ใช้สำหรับแสดงโขนโรงในและโขนฉากเท่านั้น การพากย์ ใช้กาพย์ยานีและกาพย์ฉบัง เมื่อพากย์จบหนึ่งบท ปี่พาทย์จะตีตะโพนท้าและตีกลองทัดต่อจากตะโพนสองที ผู้แสดงภายในโรงจะร้องรับว่า "เพ้ย" พร้อม ๆ กัน บทเจรจา แตกต่างจากบทร้องและบทพากย์ตรงที่เป็นบทกวีแบบร่ายยาว มีการส่งและรับคำสัมผัสอย่างต่อเนื่อง ใช้ถ้อยคำสละสลวย คล้องจอง มีสัมผัสนอกสัมผัสใน บทเจรจาในการแสดงโขนเป็นบทที่คิดขึ้นในขณะแสดง

27 ๖.วงดนตรีประกอบการแสดงโขน ๗.เพลงที่ใช้ประกอบการแสดงโขน
วงดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงโขน ได้แก่ วงปี่พาทย์ (บางทีก็เรียก "พิณพาทย์") ซึงประกอบไปด้วย ปี่ ระนาด ฆ้อง กลอง ตะโพน ๗.เพลงที่ใช้ประกอบการแสดงโขน ในการแสดงโขนจะใช้เพลงหน้าพาทย์ในการแสดงซึ่งแบ่งเป็นหน้าพาทย์ชั้นสูงและหน้าพาทย์ทั่วไป

28 ๘.ประเพณีไหว้ครูและความเชื่อ
ในพิธีไหว้ครูจะมีการนำหัวโขนหรือศีรษะครู ที่เป็นเสมือนตัวแทนของครูแต่ละองค์มาตั้งประกอบในพิธีการจัดตั้งหัวโขนต่าง ๆโดยีทั้งเศียรครูเทพ ครูที่เป็นมนุษย์ รวมไปถึงครูผู้ล่วงลับไปแล้ว เพื่อแสดงความเคารพ

29 ๙.การบวงสรวง ในการปลูกโรงโขนสำหรับใช้แสดง ก่อนเริ่มก่อสร้างต้องมีการทำพิธีบวงสรวงเซ่นไหว้ ขอขมาลาโทษในสิ่งต่าง ๆ ที่เคยล่วงเกิน และขออนุญาตบอกกล่าวแก่เจ้าที่เจ้าทางให้รับทราบ เพื่อเป็นการเปิดทางให้แก่ผู้แสดง ช่วยให้ทำการแสดงได้อย่างราบรื่นไม่ติดขัด

30 ลำดับขั้นในการแสดงโขน
๑.เตรียมเครื่องบวงสรวง ๘.ขอขมาลาโทษกันระหว่างผู้แสดง ๒.แต่งตัว ๗.ลาโรง ลำดับขั้นในการแสดงโขน ๓.บวงสรวงก่อนการแสดง ๖.เริ่มแสดงโขน ๔.เริ่มโหมโรง ๕.การแสดงเบิกโรง

31 ตัวอย่างการแสดงโขน โขนรามเกียรติ์ ตอนศึกพรหมาศ

32 โขนรามเกียรติ์ ตอนนางลอย

33 โขนรามเกียรติ์ ตอนศึกไมยราพณ์

34 ตอน ท้าวมาลีวราชว่าความ
โขนรามเกียรติ์ ตอน ท้าวมาลีวราชว่าความ

35 การแสดงประกอบที่อยู่ในบทโขน
ระบำบันเทิงกาสร เป็นระบำชุดในการแสดงโขนเรื่อง รามเกียรติ์ ตอนพาลีสอนน้อง ครูมนตรี ตราโมทเป็นผู้แต่งทำนองเพลง ความหมายแสดงถึงความเบิกบานสำราญใจของทรพา และบริวารกาสร ซึ่งออกมาโลดเล่นเต้นตามชั้นเชิงลีลาของนาฏศิลป์ คุณหญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี เป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำ

36 นางสาวพรพิรุฬห์ จำนงสัตย์ รหัสนักศึกษา ๕๗๑๐๑๑๑๒๑๙๐๐๔
จัดทำโดย นางสาวพรพิรุฬห์ จำนงสัตย์ รหัสนักศึกษา ๕๗๑๐๑๑๑๒๑๙๐๐๔ นายสุขสันต์ นะราพงษ์ รหัสนักศึกษา ๕๗๑๐๑๑๑๒๑๙๐๐๕ นางสาวธนาพร เพชรวิศิษฐ รหัสนักศึกษา ๕๗๑๐๑๑๑๒๑๙๐๐๖ นายพิชญ์ชากร กุมมารสิทธิ์ รหัสนักศึกษา ๕๗๑๐๑๑๑๒๑๙๐๐๗ นางสาววิลัยพร พิณพงษ์ รหัสนักศึกษา ๕๗๑๐๑๑๑๒๑๙๐๐๙ นางสาวกันยา วันทอง รหัสนักศึกษา ๕๗๑๐๑๑๑๒๑๙๐๑๐ นางสาวหงส์เหม ขอบกระโทก รหัสนักศึกษา ๕๗๑๐๑๑๑๒๑๙๐๑๒ นางสาวเจนจิรา สมานราษฎร์ รหัสนักศึกษา ๕๗๑๐๑๑๑๒๑๙๐๑๔ นางสาวอรณี บาลีสี รหัสนักศึกษา ๕๗๑๐๑๑๑๒๑๙๐๑๘ นางสาวอังคณา ชื่นมีศรี รหัสนักศึกษา ๕๗๑๐๑๑๑๒๑๙๐๒๐ นายบัญชา วอทอง รหัสนักศึกษา ๕๗๑๐๑๑๑๒๑๙๐๒๙ นักศึกษาสาขาวิชานาฏศิลป์ไทย วิทยาลัยการฝึกหัดครู เสนอ อาจารย์ยุทธพงษ์ ต้นประดู่

37 สวัสดี


ดาวน์โหลด ppt โขน : นาฏยศิลป์ถิ่นสยาม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google