งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

วิชากฎหมายอาคาร รหัสวิชา 2108-2115 ท-ป-น (2-0-2) หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปวช.2556 ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม สาขาวิชาช่างก่อสร้าง สาขาวิชาช่างโยธา.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "วิชากฎหมายอาคาร รหัสวิชา 2108-2115 ท-ป-น (2-0-2) หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปวช.2556 ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม สาขาวิชาช่างก่อสร้าง สาขาวิชาช่างโยธา."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 วิชากฎหมายอาคาร รหัสวิชา ท-ป-น (2-0-2) หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปวช.2556 ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม สาขาวิชาช่างก่อสร้าง สาขาวิชาช่างโยธา สาขาวิชาช่างเทคนิคสถาปัตยกรรม

2 จุดประสงค์รายวิชา เพื่อให้
1. มีความรู้ความเข้าใจในกฎหมายควบคุมอาคาร และการยื่นขออนุญาตก่อสร้างอาคาร 2. สามารถนำไปใช้ในการเขียนแบบงานสถาปัตยกรรม ได้ถูกต้องตามข้อกำหนดทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 3. มีความตระหนัก เห็นถึงความสำคัญ เห็นความจำเป็นของกฎหมายควบคุมอาคาร

3 สมรรถนะรายวิชา 1. แสดงความรู้เกี่ยวกับหลักการของกฎหมายควบคุมอาคาร พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร กฎกระทรวง ระเบียบข้อบังคับ และกระบวนการยื่นขออนุญาตก่อสร้างอาคาร 2. วิเคราะห์เลือกใช้กฎหมายควบคุมอาคาร และข้อระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง 3. จัดทำเอกสารการยื่นขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ตามระเบียนราชการ

4 คำอธิบายรายวิชา ศึกษาเกี่ยวกับ กฎหมายควบคุมอาคาร พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร กฎกระทรวง และระเบียบข้อบังคับอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ เขียนแบบก่อสร้างอาคาร และการยื่นขออนุญาตก่อสร้างอาคาร

5 รวม 100 คะแนน การวัดผล 1. เจตคติ 20 คะแนน 2. ทดสอบหลังเรียน 60 คะแนน
1. เจตคติ คะแนน 2. ทดสอบหลังเรียน คะแนน 3. สอบปลายภาค คะแนน รวม คะแนน

6 การประเมินผล แบ่งระดับคะแนนออกเป็น 8 ระดับ ดังนี้ 1
การประเมินผล แบ่งระดับคะแนนออกเป็น 8 ระดับ ดังนี้ 1. ระดับ 4 หมายถึงจำนวน 80 – 100 คะแนน (ผลการเรียนดีเยี่ยม) 2. ระดับ 3.5 หมายถึงจำนวน 75 – 79 คะแนน (ผลการเรียนดีมาก) 3. ระดับ 3 หมายถึงจำนวน 70 – 74 คะแนน (ผลการเรียนดี) 4. ระดับ 2.5 หมายถึงจำนวน 65 – 69 คะแนน (ผลการเรียนค่อนข้างดี) 5. ระดับ 2 หมายถึงจำนวน 60 – 64 คะแนน (ผลการเรียนน่าพอใจ) 6. ระดับ 1.5 หมายถึงจำนวน 55 – 59 คะแนน (ผลการเรียนพอใช้) 7. ระดับ 1 หมายถึงจำนวน 50 – 54 คะแนน (ผลการเรียนผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ) 8. ระดับ 0 หมายถึงจำนวน 0 – 49 คะแนน (ผลการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ )

7 หน่วยที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายก่อสร้าง
1.1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย 1.2 การเรียงลำดับศักดิ์ของกฎหมาย 1.3 กฎหมายก่อสร้างในอดีต 1.4 กฎหมายก่อสร้างในปัจจุบัน 1.5 บทกำหนดโทษกฎหมายก่อสร้าง

8 1.1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย

9 1.1.1 กฎหมาย (Law) หมายถึง กฎที่สถาบันหรือผู้มีอำนาจสูงสุดของรัฐตราขึ้น เพื่อใช้ในการบริหารประเทศ “กฎหมายรัฐธรรมนูญ” เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ 1.1.2 พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) หมายถึง บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้น โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา 1.1.3 พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) หมายถึง บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้น โดยอาศัยอำนาจบริหาร ให้ใช้บังคับในกรณีฉุกเฉิน

10

11 1.1.4 พระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) หมายถึง บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้น โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ เช่น 1) พระราชกฤษฎีกาบังคับใช้ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 2) พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปรับปรุงอาคาร

12 1.2 การเรียงลำดับศักดิ์ของกฎหมาย
1.2.1 กฎหมายรัฐธรรมนูญ 1.2.2 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ 1.2.3 พระราชบัญญัติ 1.2.4 พระราชกำหนด 1.2.5 พระราชกฤษฎีกา 1.2.6 กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง 1.2.7 ข้อบัญญัติท้องถิ่น

13 6.กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง
1.กฎหมายรัฐธรรมนูญ 2.พระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญ 3.พระราชบัญญัติ 4.พระราชกำหนด 5.พระราชกฤษฎีกา 6.กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง 7.ข้อบัญญัติท้องถิ่น

14 1.3 กฎหมายก่อสร้างในอดีต
ในอดีตประเทศไทยมีกฎหมายแม่บทที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมอาคาร ฉบับแรก 2 ฉบับ คือ พ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้างอาคารในเขตเพลิงไหม้ พ.ศ.2476 ตามด้วย พ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2479 1.4 กฎหมายก่อสร้างในปัจจุบัน กฎหมายก่อสร้างที่บังคับใช้ในปัจจุบัน คือ “พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522”แก้ไขเพิ่มเติม 3 ครั้ง ได้แก่ 1.4.1 พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 1.4.2 พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2543 1.4.3 พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2550

15 ข้อยกเว้น พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร “ไม่ใช้บังคับแก่พระที่นั่งหรือพระราชวัง”

16 คำนิยาม เกี่ยวกับ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522
1) อาคาร ก.ถังเก็บของ ข.สระว่ายน้ำนอกอาคาร ค.กำแพงกันดินหรือกันน้ำ ง.โครงสร้างสำหรับใช้รับส่งวิทยุหรือโทรทัศน์ จ.สิ่งที่สร้างอย่างอื่น 2) อาคารชุมนุมคน 3) โรงมหรสพ 4) เขตเพลิงไหม้

17 เขตเพลิงไหม้

18 5) เจ้าพนักงานท้องถิ่น
6) ผู้ตรวจสอบ 7) นายตรวจ 8) นายช่าง

19 1.5 บทกำหนดโทษกฎหมายก่อสร้าง
1.5.1 ก่อสร้างอาคารโดยไม่ขออนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 1.5.2 ไม่ยอมรื้อถอนอาคารที่ไม่ได้ขออนุญาต หรือก่อสร้างอาคารผิดไปจากแบบแปลนที่ขออนุญาตโดยมิได้อยู่ระหว่างการอุทธรณ์คำสั่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ยังต้องระวางโทษปรับอีกวันละไม่เกิน 1,000 บาท

20 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายก่อสร้าง
จบหน่วยที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายก่อสร้าง สวัสดี


ดาวน์โหลด ppt วิชากฎหมายอาคาร รหัสวิชา 2108-2115 ท-ป-น (2-0-2) หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปวช.2556 ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม สาขาวิชาช่างก่อสร้าง สาขาวิชาช่างโยธา.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google