ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน
หรือ ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล

2 ความเข้าใจเบื้องต้น การประกอบธุรกิจลักษณะเป็นห้างหุ้นส่วนนั้น ผู้เป็นหุ้นส่วนอาจตกลงกันจดทะเบียนหรือไม่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลก็ได้ (ตามมาตรา 1064) ดังนั้นการจะจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนของตนเองหรือไม่ขึ้นอยู่กับความสมัครใจของผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันทุกคน หากได้ตัดสินใจนำไปจดทะเบียนแล้ว ห้างหุ้นส่วนสามัญนั้นก็จะมีฐานะตามกฎหมายเป็น “นิติบุคคล” โดยมีสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดแยกต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหลาย

3 เนื่องจากห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ก็คือห้างหุ้นส่วนสามัญนั้นเอง ดังนั้นบทบัญญัติทั้งหลายที่ได้ศึกษามาเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนสามัญจึงนำมาใช้ได้ทั้งสิ้น เช่น ลักษณะการเป็นหุ้นส่วน / ความเกี่ยวพันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกัน / ความเกี่ยวพันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนกับบุคคลภายนอก ยกเว้น กรณีที่บทบัญญัติในห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลบัญญัติเรื่องใดไว้เป็นการเฉพาะตัวแล้ว ก็จะไม่นำบทบัญญัติของห้างหุ้นส่วนสามัญที่เกี่ยวกับประเด็นเรื่องนั้นมาบังคับใช้

4 ตัวอย่าง หุ้นส่วนแต่ละคนจะเอาสิ่งใดมาลงหุ้นได้บ้างในห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล? กรณีผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่ง ค้าขายแข่งขันกับห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล หุ้นส่วนคนนั้นจะถูกจัดการอย่างไร?

5 การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนสามัญ
การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนสามัญมีวิธีการเช่นเดียวกับการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด และบริษัทจำกัด กล่าวคือ การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลให้เป็นไปตามบทบัญญัติในมาตรา 1014 – 1024 ต้องยื่นคำขอจดทะเบียน ณ หอทะเบียนสำหรับตำบลที่สำนักงานใหญ่ของห้างหุ้นส่วนตั้งอยู่ (มาตรา 1016) ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามกฎข้อบังคับซึ่งเสนาบดีเจ้ากระทรวงตั้งไว้ (มาตรา 1018) คำขอจดทะเบียนต้องมีรายการครบถ้วน และไม่ขัดกฎหมาย และต้องแนบเอกสารแก่เจ้าพนักงานให้ครบถ้วน (มาตรา 1019)

6 ต้องมีรายการในคำขอจดทะเบียน (มาตรา 1064)
ต้องมีรายการในคำขอจดทะเบียน (มาตรา 1064) ก. ชื่อห้างหุ้นส่วน ข. วัตถุประสงค์ของห้างหุ้นส่วน ค. ที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่และสาขาทั้งปวง ง. ชื่อและที่สำนักกับทั้งอาชีวะของผู้เป็นหุ้นส่วนทุก ๆ คน ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดมีชื่อยี่ห้อก็ให้ลงทะเบียนทั้งชื่อและยี่ห้อด้วย ชื่อหุ้นส่วนผู้จัดการ ในเมื่อได้ตั้งแต่งให้เป็นผู้จัดการแต่เพียงบางคน ถ้ามีข้อจำกัดอำนาจของหุ้นส่วนผู้จัดการประการใดให้ลงไว้ด้วย ตราซึ่งใช้เป็นสำคัญของห้างหุ้นส่วน ข้อความ หรือรายการอื่น ๆ ที่คู่สัญญาเห็นสมควรที่จะให้ประชาชนทั่วไปทราบด้วยก็ได้ การลงทะเบียนนั้นต้องลงลายมือชื่อของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน และต้องประทับตราของห้างหุ้นส่วนนั้นด้วย

7 ชื่อห้างหุ้นส่วน ต้องเป็นชื่อที่ไม่เหมือนหรือคล้ายกับชื่อของห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทอื่นจนอาจทำให้เกิดการเข้าใจผิดได้ ต้องไม่มีหรือใช้พระนามของพระเจ้าแผ่นดิน พระมเหสี รัชทายาทหรือพระบรมวงศานุวงศ์โดยไม่ได้รับพระบรม ราชานุญาตมาเป็นชื่อห้างหุ้นส่วน ต้องไม่มีหรือใช้ชื่อส่วนราชการ หรือหน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรระหว่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาต

8 วัตถุที่ประสงค์ของห้างหุ้นส่วน
คือ ลักษณะของกิจการหรือขอบเขตการดำเนินกิจการของห้างหุ้นส่วนตามความตกลงกันของผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหลาย การที่กฎหมายกำหนดให้ต้องระบุวัตถุประสงค์ของห้างหุ้นส่วนก็เพื่อประกาศให้บุคคลทั่วไป หรือบุคคลภายนอกได้รู้หรือสามารถขอตรวจสอบดูได้ว่าห้างหุ้นส่วนที่ไปจดทะเบียนนี้ดำเนินกิจการอะไร หรือค้าขายอะไรได้บ้าง หากจะเปรียบเทียบให้ชัดเจนวัตถุประสงค์ของห้างหุ้นส่วนก็เปรียบเสมือนขอบเขตความสามารถของบุคคลธรรมดา

9

10 คำพิพากษาฎีกาที่ 3612/2535 วัตถุประสงค์ของโจทก์ระบุว่าประกอบกิจการค้าวัสดุก่อสร้าง อุปกรณ์และเครื่องมือช่างทุกประเภท เครื่องมือทาสี เครื่องมือตกแต่งอาคารทุกชนิด ดังนี้คำว่าวัตถุประสงค์เรื่องการค้า หมายถึงการดำเนินการด้วยวิธีการต่าง ๆ โดยชอบด้วยกฎหมาย เพื่อให้ได้มาซึ่งรายได้ หาได้หมายความจำกัดอยู่เฉพาะแต่การขายเท่านั้นไม่ ดังนั้นการที่โจทก์ให้เช่าแผ่นเหล็กกันดินอันเป็นเครื่องมือใช้ในการก่อสร้างเพื่อเป็นการหารายได้วิธีหนึ่ง อยู่ในวัตถุประสงค์ของโจทก์

11 ข้อสังเกต แต่การกำหนดวัตถุประสงค์ของห้าง ก็ต้องอยู่ภายใต้ข้อจำกัดประการหนึ่ง คือ วัตถุประสงค์ของห้างต้องไม่เป็นวัตถุประสงค์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน มิเช่นนั้น การตั้งห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจะเป็นโมฆะ

12 ที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ และสาขาทั้งปวง
เพื่อให้รู้ว่าห้างหุ้นส่วนนั้นมีภูมิลำเนาอยู่ที่ไหน เพื่อประโยชน์แก่ประชาชนทั่วไปและทางราชการในการติดต่อธุรกิจ และรวมถึงการฟ้องร้องดำเนินคดีซึ่งต้องพิจารณาว่าห้างหุ้นส่วนนั้นมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจศาลใด มาตรา 68 และมาตรา 69 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กำหนดเอาไว้ว่า ภูมิลำเนาของนิติบุคคลได้แก่ ถิ่นสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ และให้ถือว่าที่สาขานั้นตั้งอยู่เป็นภูมิลำเนาในกิจการอันทำ ณ ที่สาขานั้นด้วย

13 ชื่อและที่สำนัก กับทั้งอาชีวะของผู้เป็นหุ้นส่วนทุก ๆ คน ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งมียี่ห้อก็ให้ลงทะเบียนทั้งชื่อยี่ห้อด้วย แม้ว่าห้างหุ้นส่วนของเราจะเป็นนิติบุคคลก็ตาม แต่ความเป็นบุคคลของห้างหุ้นส่วนนั้นถูกตั้งหรือสมมุติขึ้นโดยผลของกฎหมาย แต่ความน่าเชื่อถือของห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น ๆ ยังคงขึ้นอยู่กับตัวผู้ถือหุ้นเป็นสำคัญ ดังนั้นการกำหนดให้แสดงข้อเท็จจริงส่วนนี้ไว้ในการจดทะเบียนจะทำให้ประชาชนทั่วไปทราบว่ามีผู้ถือหุ้นเป็นใครบ้าง มีฐานะมั่นคงหรือไม่ ประวัติที่ผ่านมามีความสุจริตน่าเชื่อถือเพียงใด หรือมีความเชี่ยวชาญและชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันในวงการนั้น ๆ หรือไม่ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของบุคคลภายนอก

14 ชื่อหุ้นส่วนผู้จัดการ
เมื่อห้างหุ้นส่วนมีฐานะเป็นนิติบุคคลแล้ว การแสดงออกซึ่งเจตนาประการใดๆ ของห้างหุ้นส่วนจะต้องกระทำผ่านผู้แทนของห้างหุ้นส่วน หรือผู้จัดการห้างหุ้นส่วนนั้นเอง (ตามมาตรา 70 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์) เมื่อมีการกำหนดหรือแต่งตั้งผู้จัดการห้างหุ้นส่วนแล้ว ต้องระบุชื่อไว้ในคำขอจดทะเบียนนิติบุคคล

15 ข้อจำกัดอำนาจของหุ้นส่วนผู้จัดการ
อำนาจหน้าที่ของหุ้นส่วนผู้จัดการแต่ละคนในห้างหุ้นส่วนอาจไม่เท่ากัน ดังนั้นจึงต้องระบุข้อจำกัดอำนาจไว้ในเอกสารด้วยเพื่อให้บุคคลภายนอกทราบถึงข้อจำกัดอำนาจของหุ้นส่วนผู้จัดการแต่ละคนจะได้ไม่หลงผิด หรือถูกลวงให้ทำนิติกรรม สัญญา หรือตกลงค้าขายกับหุ้นส่วนผู้จัดการที่ไม่มีอำนาจ หรือกระทำเกินขอบอำนาจที่มี คำพิพากษาฎีกาที่ 830/2534 ข้อพิพาทตามสิทธิเรียกร้องที่ทำสัญญายอมความกันเป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับห้างหุ้นส่วนฯจำเลยที่ 1 ซึ่งมีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการทำการแทนห้าง และไม่ปรากฏว่าข้อจำกัดอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการ จำเลยที่ 2 ลงชื่อแทนห้างในสัญญายอมความได้

16 ตราซึ่งใช้เป็นสำคัญของห้างหุ้นส่วน
ในการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนนั้นจะกำหนดให้มีตราประทับประจำของห้างด้วยหรือไม่ก็แล้วแต่กรณี ตราประทับของห้างก็จะเป็นประโยชน์ในการลงนามผูกพันห้างของผู้จัดการที่มักจะกำหนดให้ประทับตราห้างร่วมด้วย ในการลงนามทำสัญญาซื้อขายสินค้ากับบุคคลภายนอก การสั่งจ่ายเช็คชำระหนี้ให้บุคคลภายนอก การทำหนังสือมอบอำนาจของห้างให้บุคคลใด ๆ เป็นการเฉพาะ

17 ตราประทับที่ระบุในคำขอจดทะเบียน กับตราประทับที่ใช้ในการประกอบธุรกิจจริง ต้องเป็นตราประทับชนิดเดียวกัน หมายความว่า ทั้งขนาดของตรา ข้อความ รูปแบบ ภาพ ตำแหน่งทั้งหมดต้องเหมือนกับตราที่จดทะเบียนไว้แล้ว มิเช่นนั้นอาจมีปัญหาที่อ้างว่าการใช้ตราประทับที่ผิดจากที่จดทะเบียน เท่ากับเป็นการไม่ประทับตราห้างเลย อาจกระทบต่อสัญญาที่ตกลงทำกับบุคคลภายนอกได้ ตราที่จดทะบียนแล้ว

18 รายการอื่น ๆ ผู้เป็นหุ้นส่วนคนไหนมีหุ้นเท่าใด ตกลงแบ่งผลกำไร
บรรดาข้อความ เงื่อนไข หรือความตกลงใด ๆ ระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกัน และประสงค์จะระบุให้บุคคลภายนอกทราบก็ให้จดรายการอื่น ๆ ลงไปอีกได้ เช่น ผู้เป็นหุ้นส่วนคนไหนมีหุ้นเท่าใด ตกลงแบ่งผลกำไร ขาดทุนกันอย่างไร

19 ผลของการนำข้อความในรายการต่าง ๆ
ไปจดทะเบียนในราชกิจจานุเบกษาเรียบร้อยแล้ว

20 มาตรา 1022 เมื่อได้พิมพ์โฆษณาดังนั้นแล้ว ท่านให้ถือว่าเอกสาร และข้อความซึ่งลงทะเบียนอันได้กล่าวถึงในย่อรายการนั้น เป็นอันรู้แก่บุคคลทั่วทั้งปวงไม่เลือกว่าเป็นผู้เกี่ยวข้องด้วยห้างหุ้นส่วน หรือด้วยบริษัทนั้น หรือที่ไม่เกี่ยวข้อง

21 อธิบาย รายการต่าง ๆ ที่ลงทะเบียนไว้ เมื่อนายทะเบียนนำไปโฆษณาในราชกิจจานุเบกษาแล้ว กฎหมายถือว่าทุกคนรู้ข้อมูลเหล่านั้นแล้ว ไม่ว่าผู้นั้นจะได้เกี่ยวข้องกับห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทหรือไม่ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ กฎหมายปิดปากมิให้ผู้ใดปฏิเสธว่าไม่รู้ข้อความที่จดทะเบียนและได้โฆษณาในราชกิจจานุเบกษาแล้ว (มาตรา 1022)

22 เทียบเคียงคำพิพากษาฎีกาที่ 347/2506
ตัวอย่าง รายการที่นำไปจดทะเบียนข้อหนึ่งกำหนดว่า การลงนามจะผูกพันห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจะต้องประทับตราสำคัญของห้างฯด้วย เมื่อได้จดทะเบียนและได้ลงพิมพ์โฆษณาในราชกิจจานุเบกษาแล้วต้องถือว่าเป็นอันรู้แก่บุคคลทั่วไป ดังนั้น หนังสือสัญญาเช่าที่ห้างฯนิติบุคคลไปทำสัญญามีแต่เพียงหุ้นส่วนผู้จัดการลงลายมือชื่อ แต่หาได้ประทับตราสำคัญไม่ ดังนั้นสัญญาดังกล่าวย่อมไม่ผูกพันห้างฯนิติบุคคล เทียบเคียงคำพิพากษาฎีกาที่ 347/2506

23 จดทะเบียนยังไม่เรียบร้อย หรือ ไม่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
หากเป็นกรณีที่ข้อความเหล่านี้ยัง จดทะเบียนยังไม่เรียบร้อย หรือ ไม่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ข้อความเหล่านี้จะมีผลใช้บังคับกับใครและได้มากน้อยเพียงใด?

24 มาตรา 1023 ผู้เป็นหุ้นส่วนก็ดี ห้างหุ้นส่วนก็ดี หรือบริษัทก็ดี จะถือเอาประโยชน์แก่บุคคลภายนอกเพราะเหตุที่มีสัญญาหรือเอกสารหรือข้อความอันบังคับให้จดทะเบียนตามลักษณะนี้ยังไม่ได้จนกว่าจะได้((เดิม)ลงพิมพ์โฆษณา)จดทะเบียนเสร็จดั่งกล่าวแล้ว แต่ฝ่ายบุคคลภายนอกจะถือเอาประโยชน์เช่นว่านั้นได้ ...แต่ถึงกระนั้นก็ดี ผู้เป็นหุ้นส่วน ผู้ถือหุ้น ห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทซึ่งได้รับชำระหนี้ก่อนโฆษณานั้นย่อมไม่จำต้องคืน

25 อธิบาย บุคคลในห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทจะถือเอาประโยชน์ใด ๆ ต่อบุคคลภายนอกจากข้อความที่ปรากฏในเอกสารจดทะเบียนยังไม่ได้จนกว่าจะได้นำไปจดทะเบียนให้เรียบร้อย (นับแต่จดทะเบียนที่กระทรวงพาณิชย์หรือกรมพัฒนาธุรกิจของพาณิชย์จังหวัดเสร็จเรียบร้อย) แต่บุคคลภายนอก (ผู้สุจริต) สามารถถือเอาประโยชน์ ใด ๆ จากข้อความที่ปรากฏในเอกสารจดทะเบียนได้ แม้ว่ายังไม่ได้นำไปจดทะเบียนให้เรียบร้อยก็ตาม

26 6 March 2018 / 001 หากบุคคลภายนอกไม่สุจริต คือ รู้ถึงข้อความที่จะนำไปจดทะเบียนแล้ว ในขณะที่ห้างฯยังจดทะเบียนไม่เสร็จ บุคคลภายนอกผู้นั้นก็ไม่อาจอ้างมาตรา 1023 เพื่อเอาประโยชน์ใด ๆ ได้อีก

27 บทบัญญัติในมาตรา 1023 นี้ใช้บังคับทั้ง
ข้อสังเกต บทบัญญัติในมาตรา 1023 นี้ใช้บังคับทั้ง ตอนเริ่มจดทะเบียนนิติบุคคลใหม่ และ กรณีจดทะเบียนนิติบุคคลแล้ว และต่อมาภายหลังมีการเปลี่ยนแปลงข้อความใด ๆ หากว่าข้อความนั้นๆ ยังไม่ได้โฆษณาในราชกิจจานุเบกษา

28 ตัวอย่าง ในระหว่างที่นายทะเบียนยังจดทะเบียนห้างฯให้ไม่เสร็จ ในข้อความที่นำไปจดทะเบียนเรื่องหนึ่ง กำหนดว่า “การลงนามในเอกสารต้องมีหุ้นส่วนผู้จัดการ 2 คนลงนามและประทับตราสำคัญด้วย” ปรากฏว่าห้างฯได้ไปตกลงทำสัญญาซื้อสินค้าจากนาย Aเพื่อมาจำหน่ายให้ลูกค้า ในสัญญามีเพียงนาย ก. หุ้นส่วนผู้จัดการคนหนึ่งลงนามในสัญญาเท่านั้น ประเด็น ผู้เป็นหุ้นส่วน หรือห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลนี้สามารถปฏิเสธไม่ผูกพันตามสัญญานี้เพราะการลงนามไม่ถูกต้องตามที่จดทะเบียนได้หรือไม่?

29 ตัวอย่าง กรณีนายวินัย หุ้นส่วนผู้จัดการได้ลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม และแต่งตั้งนายวิชัย แทน ต่อมาวันที่ 15 ธันวาคมได้นำความข้อนี้ไปจดทะเบียนเปลี่ยนแปลง ในวันที่ 25 ธันวาคม นายวิชัยผู้จัดการคนใหม่เข้าทำหน้าที่ และไปทำสัญญาเช่าซื้อสินค้ากับนายวิชิต(บุคคลภายนอก) นายทะเบียนจดทะเบียนแก้ไขเปลี่ยนแปลงหุ้นส่วนผู้จัดการคนใหม่เสร็จในวันที่ 26 ธันวาคม และนำไปลงพิมพ์โฆษณาราชกิจจาฯเมื่อวันที่ 10 มกราคม ปีถัดไป ประเด็น สัญญาเช่าซื้อฉบับนี้จะผูกพันห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล และนายวิชิต(บุคคลภายนอก) หรือไม่? นายวิชิตสามารถถือเอาประโยชน์จากข้อความที่นำไปจดทะเบียนได้ แม้ว่ายังจดทะเบียนไม่เสร็จ ดังนั้นจึงต้องถือว่า นายวิชัยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการคนใหม่ได้ เมื่อสัญญาลงชื่อนายวิชัยย่อมเป็นการลงนามโดยชอบและผูกพันห้างฯ

30 มาตรา 1023 วรรค 2 กรณีที่บุคคลภายนอกได้ชำระหนี้แก่ผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลก่อนโฆษณาในราชกิจจานุเบกษา ห้างฯก็ไม่จำเป็นต้องคืนแก่บุคคลภายนอก เช่น กรณีบุคคลภายนอกสามารถอ้างเอาประโยชน์จากมาตรา 1023 ไม่ผูกพันสัญญาได้ แต่ไม่ได้อ้าง และกลับได้ชำระหนี้ตามสัญญานั้นไปแล้ว ก็ไม่อาจเรียกคืนได้

31 หน้าที่ของนายทะเบียน
เมื่อมีการขอจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับแล้ว นายทะเบียนต้องจดทะเบียนให้ และต้องออกใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนให้แก่ห้างหุ้นส่วนตามมาตรา วรรคท้าย และ ต้องแต่งย่อรายการซึ่งได้ลงทะเบียนไปลงพิมพ์ในหนังสือราชกิจจานุเบกษาเป็นคราว ๆ ตามมาตรา 1021

32 เอกสารต่าง ๆ ที่ส่งมอบให้นายทะเบียนเก็บรักษาไว้นั้น ประชาชนทั่วไปขอตรวจดูได้ หรือ
จะขอให้นายทะเบียนทำใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน...หรือ ขอให้คัดสำเนา หรือเนื้อความในเอกสารพร้อมด้วยคำรับรองว่าถูกต้องก็ได้ โดยเสียค่าธรรมเนียมตามระเบียบ (มาตรา 1020)

33 ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล
ผลการจดทะเบียนเป็น ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ผลโดยทั่วไป ผลโดยเฉพาะ

34 มาตรา 66 นิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตาม
ผลโดยทั่วไป ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนมีสภาพเป็นนิติบุคคล มีฐานะและตัวตนแยกต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วน ตามมาตรา 1015 เมื่อเป็นนิติบุคคลย่อมต้องนำบทบัญญัติในบรรพ 1 หมวด 2 ว่าด้วย “นิติบุคคล” ตั้งแต่มาตรา มาบังคับใช้ร่วมด้วย เช่น มาตรา 66 นิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตาม บทบัญญัติของกฎหมายนี้ และกฎหมายอื่น ๆ ภายในขอบอำนาจหน้าที่ หรือวัตถุประสงค์ดังได้บัญญัติ หรือกำหนดไว้ในกฎหมาย หรือข้อบังคับ หรือตราสารจัดตั้ง

35 คำอธิบาย การกระทำนอกเหนือวัตถุประสงค์ที่จดทะเบียนไว้ ดังนั้นนิติกรรมใดๆ ที่ผู้จัดการห้างฯไปกระทำนอกเหนือวัตถุประสงค์โดยหลักจะไม่ผูกพันห้างที่จดทะเบียนให้ต้องรับผิดในผลของนิติกรรมนั้น เว้นแต่ห้างฯนั้นได้ให้สัตยาบันแก่นิติกรรมนั้น ๆ เช่น การยอมรับเอาผลของสัญญา หรือการยอมชำระหนี้ในนิติกรรมนั้น ๆ (ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าห้างต้องรับผิดตามหลักตัวการตัวแทน)

36 คำพิพากษาฎีกาที่ 41/2509 ห้างหุ้นส่วนจำกัดมีวัตถุประสงค์ค้าสินค้าพื้นเมือง ไม่มีวัตถุประสงค์ค้ำประกันผู้อื่น เมื่อไปค้ำประกันเข้าก็ถือว่าเป็นการนอกวัตถุประสงค์ ห้างฯไม่ต้องผูกพันตามสัญญาค้ำประกัน

37 มาตรา 74 ถ้าประโยชน์ได้เสียของนิติบุคคลขัดกับประโยชน์ได้เสียของผู้แทนนิติบุคคลในการอันใด ผู้แทนของนิติบุคคลนั้นจะเป็นผู้แทนในการอันนั้นไม่ได้ มาตรา 76(วรรคแรก) การกระทำตามหน้าที่ของผู้แทนของนิติบุคคล หรือผู้มีอำนาจทำการแทนนิติบุคคล เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น นิติบุคคลต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายนั้น แต่ไม่สูญเสียสิทธิที่จะไล่เบี้ยเอาแก่ผู้ก่อความเสียหาย

38 มาตรา 76วรรคสอง ถ้าความเสียหายแก่บุคคลอื่นเกิดจากการกระทำที่ไม่อยู่ในขอบวัตถุประสงค์ หรืออำนาจหน้าที่ของนิติบุคคล บรรดาผู้แทนนิติบุคคล หรือผู้มีอำนาจทำการแทนนิติบุคคล หรือบุคคลอื่นใดที่ได้กระทำการดังกล่าว ต้องร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ได้รับความเสียหายนั้น

39 คำพิพากษาฎีกาที่ 5674/2530 ห้างหุ้นส่วนที่ไม่ได้จดทะเบียนจะฟ้องความในนามของห้างไม่ได้ บุคคลซึ่งอ้างว่าได้แต่งตั้งเป็นตัวแทนของห้างก็พลอยไม่มีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องความด้วย คำพิพากษาฎีกาที่ 624/2515 เมื่อจดทะเบียนแล้ว ห้างฯย่อมมีตัวตนเป็นเอกเทศจากผู้เป็นหุ้นส่วน เพราะฉะนั้นในกรณีที่ลูกจ้างของห้างไปทำละเมิดต่อผู้อื่นจะให้ผู้เป็นหุ้นส่วนรับผิดในฐานะนายจ้างไม่ได้

40 คำพิพากษาฎีกาที่ 1012/2493 เนื่องจากห้างจดทะเบียนแล้วสามารถเป็นเจ้าของทรัพย์สินและเป็นหนี้ได้ด้วยตัวเองแยกจากหุ้นส่วน เจ้าหนี้ส่วนตัวของหุ้นส่วนในห้างที่จดทะเบียนจะยึดทรัพย์ของห้างไปชำระหนี้ส่วนตัวของผู้เป็นหุ้นส่วนไม่ได้ เจ้าหนี้ได้แต่จะบังคับเอาจากสิทธิแห่งการเป็นหุ้นส่วนของลูกหนี้เท่านั้น

41 คำพิพากษาฎีกาที่ 1588/2523 โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเป็นเจ้าของปั๊มน้ำมัน “ทองคำบริการ” รับรถของโจทก์ไว้อัดฉีดแล้วประมาทเลินเล่อให้ผู้อื่นรับรถไป ขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหาย ปรากฏว่าปั๊มน้ำมันเป็นของห้างหุ้นส่วนจำกัดทองคำบริการ จำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ห้างเป็นผู้รับทำการอัดฉีดรถของโจทก์ มิใช่จำเลย จำเลยเพียงเป็นผู้ทำแทนห้างฯซึ่งเป็นนิติบุคคล เมื่อฟ้องไม่ได้ระบุให้ห้างรับผิด หรือให้ผู้เป็นหุ้นส่วนรับผิดแต่อย่างใด ศาลก็ไม่อาจพิพากษาให้จำเลยรับผิดได้

42 ตามที่บัญญัติในห้างหุ้นส่วนสามัญ
ผลเฉพาะ ตามที่บัญญัติในห้างหุ้นส่วนสามัญ หมายถึงผลทางกฎหมายที่ทำให้ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลแตกต่างไปจากห้างหุ้นส่วนสามัญ แยกพิจารณาได้ดังนี้

43 มาตรา 1065 ผู้เป็นหุ้นส่วนอาจถือเอาประโยชน์แก่บุคคลภายนอกในบรรดาสิทธิอันห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนนั้นได้มา แม้ในกิจการซึ่งไม่ปรากฏชื่อของตนได้ กรณีจะต่างกับห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนที่ไม่สามารถถือเอาประโยชน์จากบุคคลภายนอกในกิจการที่ไม่ปรากฏชื่อตน ตามมาตรา 1049 เหตุผลที่ต่างกันก็เพราะ เมื่อได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้ว บุคคลภายนอกย่อม(ถูกปิดปาก)รู้ว่าใครเป็นหุ้นส่วนบ้าง เพราะฉะนั้นเมื่อมีการทำสัญญาในนามของห้างหุ้นส่วน ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนก็มีสิทธิในสัญญานั้น เพราะเขาเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนนั้นด้วย เมื่อพิจารณาได้ดังนี้ ผู้เป็นหุ้นส่วนจึงถือเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่สามารถจะเรียกเอาประโยชน์ได้ด้วย

44 ข้อพิจารณา แต่อย่างไรก็ตามการเรียกร้องผลประโยชน์ตามมาตรานี้ก็ต้องเรียกร้องในฐานะที่เป็นหุ้นส่วน แล้วต้องเรียกในนามผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมดด้วยกัน จะมาเรียกร้องเป็นส่วนตัวไม่ได้ ทั้งนี้เป็นไปตามมาตรา 1065

45 ตัวอย่าง ห้างทำสัญญาซื้อขายสินค้ากับบุคคลภายนอก ต่อมาห้างได้ชำระราคาไปแล้ว บุคคลภายนอกไม่ยอมส่งมอบสินค้าให้ ผู้จัดการก็ไม่มาฟ้อง หุ้นส่วนซึ่งมีอำนาจจัดการห้างก็สามารถที่จะฟ้องเรียกร้องให้บุคคลภายนอกนั้นส่งมอบทรัพย์ที่ซื้อขายให้ได้ แต่ต้องขอให้ส่งในนามของห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เพราะห้างหุ้นส่วนเป็นคู่สัญญา ไม่ใช่ตัวเองเป็นคู่สัญญา แต่ตนเองมีสิทธิที่จะฟ้องเรียกได้ ถึงแม้ตัวเองไม่ปรากฏชื่อตนในสัญญาซื้อขายนั้นก็ตาม

46 ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
การค้าขายแข่งกับ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล มาตรา 1066 และ มาตรา 1067

47 มาตรา 1066 ห้ามผู้เป็นหุ้นส่วน 2 ประการ คือ
มาตรา ห้ามผู้เป็นหุ้นส่วน 2 ประการ คือ ห้ามประกอบกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งอันมีสภาพเดียวกัน และเป็นการแข่งขันกับกิจการของห้างหุ้นส่วน ไม่ว่าทำเพื่อตนเองหรือผู้อื่น ห้ามเข้าไปเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนอื่น ซึ่งห้างนั้นประกอบกิจการอันมีสภาพเป็นอย่างเดียวกัน และแข่งขันกับกิจการของห้างหุ้นส่วน

48 ข้อยกเว้น 2 ประการ (1) หุ้นส่วนอื่นทั้งหมดให้ความยินยอม (2) หุ้นส่วนอื่นรู้อยู่แล้วในตอนจดทะเบียนว่าผู้เป็นหุ้นส่วนนั้นได้กระทำกิจการ หรือเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดซึ่งเป็นการต้องห้ามอยู่แล้ว และในสัญญาเข้าหุ้นส่วนที่ทำไว้ต่อกันก็ไม่ได้บังคับให้ถอนตัวออก

49 ข้อสังเกต หลักเกณฑ์เรื่องค้าขายแข่งกับห้าง ตามมาตรา 1066 นี้ต่างกับมาตรา1038 ในห้างหุ้นส่วนสามัญ อยู่ 2 ประการคือ

50 ประการแรก มาตรา1066 ห้ามเข้าไปเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนอื่นซึ่งประกอบกิจการอันมีสภาพอย่างเดียวกันและแข่งขันกับห้างฯ มาตรา1038 ไม่ได้ห้ามเช่นนี้ไว้ ดังนั้นผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างไม่จดทะเบียนจึงอาจเข้าเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนอื่นซึ่งค้าขายแข่งกับห้างได้ แต่อย่างไรก็ตามจะเข้าไปจัดการงานในห้างนั้นไม่ได้เพราะมิเช่นนั้นจะถือเป็น

51 ประการที่สอง กรณีผู้เป็นหุ้นส่วนคนนั้นทำการค้าอยู่ก่อนหรือเป็นหุ้นส่วนอยู่ในห้างหนึ่งห้างใดอยู่ก่อน ต่อมาบุคคลนั้นมาเข้าหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลซึ่งมีวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหลายในห้างจดทะเบียนไม่ได้บังคับให้ถอนตัวจากการค้าเดิมหรือห้างเดิม บุคคลดังกล่าวก็สามารถทำการค้าเดิมหรืออยู่ในห้างเดิมต่อไปได้

52 ผลจากการค้าขายแข่งขันกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
มาตรา 1067 ห้างหุ้นส่วนมีสิทธิเรียกเอาผลกำไรที่ผู้เป็นหุ้นส่วนที่ฝ่าฝืนหาได้ หรือ เรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายซึ่งห้างหุ้นส่วนนั้นได้รับ แต่ต้องฟ้องเรียกร้องเอาเงินนั้นภายใน 1 ปี นับแต่วันฝ่าฝืน

53 ผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นอาจร้องขอต่อศาลให้สั่งให้เลิกห้างหุ้นส่วนได้ เพราะถือว่า
มีเหตุอื่นใดที่ห้างเหลือวิสัยที่จะดำรงอยู่ต่อไปได้(มาตรา1057(3)) หรือ เพราะผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลทำการค้าขายแข่งขันกับห้างฯ (มาตรา 1067)

54 ความรับผิดของผู้เป็นหุ้นส่วนต่อหนี้สินของห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
มาตรา1050 มาตรา 1068 มาตรา 1070 มาตรา 1050 กรณีผู้เป็นหุ้นส่วนต้องร่วมกันรับผิดในหนี้สินของห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่อเมื่อบรรดาหนี้สินนั้นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้จดทะเบียนไว้ มาตรา 1068 กำหนดให้ผู้เป็นหุ้นส่วนต้องรับผิดในหนี้ของห้าง ดังนี้ 1 หนี้ซึ่งต้องรับผิดต้องเป็นหนี้ซึ่งห้างหุ้นส่วนได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่ตนจะออกจากห้างหุ้นส่วนนั้น 2 ความรับผิดย่อมมีจำกัดเพียงแค่ 2 ปีนับแต่เมื่อตนออกจากห้างนั้นไป **ถ้าในระยะเวลา 2 ปี บรรดาเจ้าหนี้ของห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่เรียกร้องให้ผู้เป็นหุ้นส่วนที่ออกไปแล้วต้องรับผิด เจ้าหนี้ก็จะหมดสิทธิเรียกร้องเอากับผู้เป็นหุ้นส่วนที่ได้ออกจากห้างหุ้นส่วนไปแล้ว

55 คำพิพากษาฎีกาที่ 3103/2533 คำพิพากษาฎีกาที่ 3301/2534 ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า กรมสรรพากรมีอำนาจฟ้องผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนหรือหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัดให้ชำระภาษีของห้างหุ้นส่วนซึ่งต้องชำระอยู่ก่อนที่หุ้นส่วนดังกล่าวจะออกจากห้างนี้ได้ภายในเวลา 2 ปีนับแต่วันที่ออกไป คำพิพากษาฎีกาที่ 4411/2531 ระยะเวลา 2 ปี ครบวันเสาร์ แล้วติดวันอาทิตย์ซึ่งเป็นวันหยุดราชการ เพราะฉะนั้นระยะเวลา 2 ปียังขาด วันจันทร์ต้องฟ้อง ศาลฎีกาบอกว่าฟ้องในวันจันทร์ได้ ถึงแม้ 2 ปีจะครบเมื่อวันเสาร์เพราะเป็นวันหยุด ฟ้องศาลไม่ได้ ศาลฎีกายืดออกมาให้จนถึงวันจันทร์

56 คำพิพากษาฎีกาที่ 463/2537 การโอนหุ้นของหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนมีผลเมื่อนำไปจดทะเบียน ต้องถือว่าการออกจากหุ้นส่วนเริ่มเมื่อวันที่จดทะเบียน ฎีกาเรื่องนี้ นาย ก. ขายหุ้นให้นาย ข. เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2527 แต่ยังไม่ได้จดทะเบียน จนกระทั่งนำเอาการเปลี่ยนผู้เป็นหุ้นส่วนไปจดทะเบียนเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2528 มีปัญหาว่า 2 ปีเริ่มนับตรงไหน เริ่มนับตรงที่เขาออก หรือโอนหุ้นกัน หรือว่าเริ่มนับแต่วันจดทะเบียน ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ต้องเริ่มนับจากวันที่จดทะเบียน คือ วันที่ 17 พฤษภาคม 2528

57 ข้อสังเกต หลักความรับผิดตามมาตรา 1068นั้นแตกต่างจากหลักความรับผิดในห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน เพราะตามมาตรา 1051 ผู้เป็นหุ้นส่วนจะซึ่งต้องรับผิดในหนี้ของห้างโดยไม่มีจำกัดเวลา หากแต่จะต้องร่วมรับผิดในหนี้ของห้างฯไปจนกว่าหนี้เดิมจะขาดอายุความ หรือ ระงับสิ้นไป

58 ข้อสังเกต ระยะเวลาสองปี ตาม มาตรา คู่กรณีจะตกลงกันให้ยาวกว่านั้นก็ได้ แต่ต้องไม่น้อยกว่าสองปี คำพิพากษาฎีกาที่ 2613/2523 ระยะเวลาสองปีตามมาตรา 1068 ไม่ใช่เรื่องอายุความ และไม่ใช่บทบัญญัติอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน คู่กรณีจึงอาจตกลงเป็นอย่างอื่นได้

59 ผู้เป็นหุ้นส่วนต้องรับผิดในหนี้สินของห้างหุ้นส่วน
เสมือนผู้ค้ำประกัน มาตรา

60 มาตรา 1070 เมื่อใดห้างหุ้นส่วนซึ่งจดทะเบียนผิดนัดชำระหนี้ เมื่อนั้นเจ้าหนี้ของห้างหุ้นส่วนชอบที่จะเรียกร้องให้ชำระหนี้เอาแต่ผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งได้ ในเรื่องหนี้สินของห้างหุ้นส่วนนั้น ห้างหุ้นส่วนนั้นต้องรับผิดในฐานะลูกหนี้ชั้นต้น ส่วนผู้เป็นหุ้นส่วนของห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต้องรับผิดในหนี้สินของห้างฯในเสมือนผู้ค้ำประกัน คือเป็นลูกหนี้ชั้นสองนั่นเอง

61 คำพิพากษาฎีกาที่ 770/2503 โจทก์ฟ้องว่า จำเลยซึ่งใช้นามสมญาว่า “บริษัทฮั่วล้ง” ได้ซื้อน้ำตาลจากโจทก์แล้วไม่ชำระราคา ขอให้ศาลบังคับจำเลยชำระราคาตามฟ้อง จำเลยให้การตัดฟ้องว่า บริษัทอั่วล้งซึ่งจดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด เป็น ผู้ซื้อน้ำตาลทรายที่โจทก์ฟ้อง จำเลยเป็นเพียงผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนนี้ จึงไม่ต้องรับผิด ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระหนี้โจทก์ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า จำเลยซื้อน้ำตาลมิใช่เป็นการส่วนตัว แต่เป็นกิจการของห้างซึ่งจดทะเบียนแล้ว จำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ตามคำฟ้องมิได้ระบุว่า ห้างหุ้นส่วนผิดนัด หรือกล่าวว่าจำเลยผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการต้องรับผิดประการใดเลย จึงบังคับให้จำเลยรับผิดเป็นส่วนตัวในฐานะผู้เป็นหุ้นส่วนไม่ได้ พิพากษากลับให้ยกฟ้อง

62 มาตรา 1071 ในกรณีที่กล่าวไว้ในมาตรา 1070 นั้นถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนนำพิสูจน์ได้ว่า สินทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนยังมีพอที่จะชำระหนี้ได้ทั้งหมด หรือบางส่วน การที่จะบังคับเอาแก่ห้างหุ้นส่วนนั้น ๆ ไม่ป็นการยาก แม้ว่าห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจะผิดนัดแล้วก็ตาม แต่ผู้เป็นหุ้นส่วนก็สามารถใช้สิทธิเกี่ยงให้เจ้าหนี้ไปบังคับเอากับทรัพย์สินของห้างฯก่อนได้

63 สิทธิของเจ้าหนี้ส่วนตัวของผู้เป็นหุ้นส่วน มาตรา 1072
ผู้เป็นหุ้นส่วน+ หุ้นส่วนผู้จัดการ เจ้าหนี้ของ ห้างหุ้นส่วนฯ เจ้าหนี้ส่วนตัว ผู้เป็นหุ้นส่วน

64 มาตรา 1072 ถ้าห้างหุ้นส่วนซึ่งจดทะเบียนยังไม่เลิกกันตราบใด เจ้าหนี้ของผู้เป็นหุ้นส่วนเฉพาะตัวย่อมใช้สิทธิได้แต่เพียงในผลกำไร หรือเงินซึ่งห้างหุ้นส่วนค้างชำระแก่ผู้เป็นหุ้นส่วนคนนั้นเท่านั้น ถ้าห้างหุ้นส่วนนั้นเลิกกันแล้ว เจ้าหนี้ย่อมใช้สิทธิได้ตลอดถึงหุ้นของผู้เป็นหุ้นส่วนคนนั้นอันมีในทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วน อธิบาย...ถ้าห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลยังมิได้เลิกกัน เจ้าหนี้ส่วนตัวของผู้เป็นหุ้นส่วนจะเอาทรัพย์สินส่วนที่อนาคตจะตกได้แก่ผู้เป็นหุ้นส่วนคนนั้นยังไม่ได้ เพราะทรัพย์สินเหล่านั้นยังเป็นของห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอยู่ ยังมิใช่ของผู้เป็นหุ้นส่วน(คนที่เป็นลูกหนี้)

65 การเลิกห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
มาตรา 1069 นอกจากในกรณีทั้งหลายที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1055 ท่านว่าห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนย่อมเลิกกันเมื่อห้างหุ้นส่วนนั้นล้มละลาย

66 การชำระบัญชี สำหรับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนเมื่อเลิกห้างหุ้นส่วนแล้วจะต้องมีการชำระบัญชีเสมอ ซึ่งกฎหมายตั้งแต่มาตรา 1247 ถึงมาตรา 1273 กำหนดหลักเกณฑ์การชำระบัญชีไว้เป็นการเฉพาะแล้ว การชำระบัญชีต้องเป็นไปตามหลักกฎหมายดังกล่าวข้างต้น ไม่สามารถนำเอาวิธีการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนสามัญมาใช้บังคับได้ เช่น ผู้เป็นหุ้นส่วนจะตกลงจัดการทรัพย์สินกันโดยวิธีอื่นแทนการชำระบัญชีไม่ได้

67 การควบห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน มาตรา 1073–1076 ประกอบด้วย 3 เงื่อนไข
ห้างที่จะควบกันได้ต้องเป็นห้างจดทะเบียน เพราะเมื่อเป็นห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนแล้วจะควบกันได้ต้องโดยรัฐหรือกฎหมายยอมรับให้มีผลตามกฎหมาย บุคคลภายนอกจะปฏิเสธไม่รู้ไม่ได้ การควบกัน ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนด้วยเพราะ ห้างลักษณะดังกล่าวจะควบกันได้ก็เพียงแต่ตกลงกันระหว่างหุ้นส่วนก็ใช้บังคับได้ แต่ไม่รวมถึงบุคคลภายนอกต้องรับรู้ด้วย

68 หุ้นส่วนทุกคนของห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น ๆ ต้องยินยอม
เว้นแต่จะตกลงกันเป็นอย่างอื่น หมายความว่า อาจจะตกลงกันแต่ต้นว่า ถ้ามีการควบห้างหุ้นส่วนกันถือเอาเสียงข้างมากเท่านั้น แต่ปกติแล้วทุกคนต้องยินยอม

69 ถ้ามีเจ้าหนี้ของห้างไม่ว่าจะเป็นห้างที่ 1 หรือห้างที่ 2 ที่จะควบกัน เจ้าหนี้ทุกคนต้องยินยอม แต่ถ้าไม่มีเจ้าหนี้ก็ไม่เป็นไร การควบห้างหุ้นส่วนก็สามารถทำได้ทันที เหตุผลที่กฎหมายกำหนดให้ต้องได้รับความยินยอมจากบรรดาเจ้าหนี้ก่อนนั้น เพราะป้องกันไม่ให้เจ้าหนี้ของห้างทั้งสองเสียเปรียบ เช่น ห้างเดิมเขามีหลักประกัน สินทรัพย์มากมายไปควบกับห้างที่ สอง ซึ่งมีฐานะทางการเงินไม่ค่อยดี เจ้าหนี้ของห้างแรกอาจบอกปัดไม่ยอมให้ควบกันได้

70 จัดให้เจ้าหนี้ดังกล่าวได้รับชำระหนี้ครบถ้วน หรือ
ในกรณีที่เจ้าหนี้คนใดไม่ให้ความยินยอมให้ห้างนั้น ๆ ควบรวมกัน ห้างหุ้นส่วนที่จะควบรวมกันนั้นสามารถควบรวมกันได้ โดยไม่ต้องคำนึงถึงเสียงคัดค้านของเจ้าหนี้ดังกล่าวอีกต่อไป หากได้ปฏิบัติดังต่อไปนี้ จัดให้เจ้าหนี้ดังกล่าวได้รับชำระหนี้ครบถ้วน หรือ หาประกันให้อย่างเพียงพอ

71 ผลการควบรวมห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
ผลของการควบห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนที่ควบรวมกันย่อมทำให้เกิดห้างหุ้นส่วนใหม่ขึ้นมา และมีผลทำให้ห้างหุ้นส่วนเก่าสิ้นสภาพไป แต่ไม่ใช่เป็นการเลิกห้าง เพราะถ้าเป็นการเลิกห้าง ห้างนั้นต้องจัดให้มีการชำระบัญชี กรณีห้างควบรวมกันทำให้เปลี่ยนสภาพไปเป็นห้างใหม่ ซึ่งจะได้ไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของห้างเดิมทั้งสอง หมายความว่า ถ้าห้างเดิมทั้งสองห้าง มีหนี้สินอะไร ห้างใหม่ก็ต้องรับชำระหนี้ให้แทน หรือห้างเก่าทั้งสองมีสิทธิเรียกร้อง หรือเป็นเจ้าหนี้ใคร ห้างใหม่ก็จะได้สิทธิเป็นเจ้าหนี้แทนโดยปริยาย ห้างใหม่มีสิทธิฟ้องร้องดำเนินคดีได้เอง


ดาวน์โหลด ppt ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google