ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
2
ความเป็นมาของโครงการฯ
ในปี 2549 พพ. ได้ร่วมกับกรมสรรพากรดำเนินโครงการยกเว้นภาษีเงินได้จากกรมสรรพากร เพื่อให้สิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้แก่ผู้ที่ลงทุนในอุปกรณ์ประหยัดพลังงาน ในอัตรา 25 % ของเงินลงทุน (โดยแบ่งเป็นการเพิ่มค่าเสื่อมราคาให้อีก 5 % ของอัตราปกติ เป็นระยะเวลา 5 รอบบัญชี) โดยได้รับการตอบรับและประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ในปี 2552 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีจึงเห็นชอบในมาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งเสนอโดยกระทรวงการคลัง โดยมีส่วนของมาตรการภาษีที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนด้านการอนุรักษ์พลังงาน ได้แก่ การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อได้มาซึ่งทรัพย์สินประเภท เครื่องจักร วัสดุ และอุปกรณ์ที่มีผลต่อการประหยัดพลังงาน เป็นจำนวน 25 % ของค่าใช้จ่ายนั้น (ในรอบปีบัญชีแรกของการลงทุน) ซึ่งเป็นการประสานความร่วมมือของ พพ. และ กรมสรรพากร ดังนั้น พพ. จึงได้ดำเนินงาน “โครงการขอรับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้จากกรมสรรพากร” โดยได้รับเงินสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ต่อไป
3
วัตถุประสงค์ของโครงการ
1) เพื่อสนับสนุนภาครัฐในการฟื้นฟูและกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบ และขั้นตอนการดำเนินงานการขอรับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้จากกรมสรรพากร เพื่อใช้ดำเนินการต่อไปในอนาคต 3) เพื่อสร้างการยอมรับจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการผลักดันไปสู่การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอย่างจริงจัง 4) เพื่อให้ภาคเอกชนเข้าใจในลักษณะและขั้นตอนการดำเนินงานการขอรับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้จากกรมสรรพากร 5) เพื่อสนับสนุน และส่งเสริมการดำเนินการอนุรักษ์พลังงานและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในโรงงานและอาคาร
4
เป้าหมาย 1) ฟื้นฟูและกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศจากภาวะเศรษฐกิจโลกปัจจุบัน 2) ได้รูปแบบ และขั้นตอนการดำเนินงานของโครงการฯ เพื่อผลักดันให้เกิดการดำเนินงานของการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีในอนาคต 3) เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องยอมรับและมั่นใจ ในหลักการดำเนินงานของการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อการอนุรักษ์พลังงานในอนาคต 4) ภาคเอกชน อุตสาหกรรม และอาคารธุรกิจ เกิดความเข้าใจในลักษณะและขั้นตอนการดำเนินงานของการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อการอนุรักษ์พลังงานในวงกว้าง 5) ภาคเอกชน อุตสาหกรรม และอาคารธุรกิจ มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และเห็นความสำคัญในการอนุรักษ์พลังงาน
5
สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ
ผู้ขอรับสิทธิ์ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้เป็นจำนวนร้อยละ 25 ของค่าใช้จ่ายเพื่อได้มาซึ่งทรัพย์สินประเภทเครื่องจักร วัสดุ หรืออุปกรณ์ที่มีผลต่อการประหยัดพลังงานซึ่งได้รับการรับรองจาก พพ. สิทธิประโยชน์ = x ค่าใช้จ่ายเครื่องจักร วัสดุ หรืออุปกรณ์ที่มีผลต่อการ ประหยัดพลังงาน (* ขอรับสิทธิประโยชน์จากกรมสรรพากรภายใน 31 ธันวาคม 2553)
6
ตัวอย่างสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ
7
คณะกรรมการด้านพลังงานของโครงการฯ
1. อธิบดี พพ ประธานกรรมการฯ 2. รองอธิบดี พพ กรรมการฯ 3. – 5. ผู้ทรงคุณวุฒิจากมหาวิทยาลัยของรัฐ 3 ท่าน กรรมการฯ 6. ผู้แทนหอการค้าไทย กรรมการฯ 7. ผู้แทนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กรรมการฯ 8. ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กรรมการฯ 9. ผู้อำนวยการสำนักกำกับและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กรรมการและเลขานุการ อำนาจหน้าที่พิจารณากำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการพิจารณา และรับรองเครื่องจักร วัสดุ อุปกรณ์ที่มีผลต่อการประหยัดพลังงาน ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด (การประชุมเฉลี่ยเดือนละ 1 ครั้ง)
8
พิจารณาอุปกรณ์ประหยัด พลังงานจาก EGAT และที่เคยผ่านโครงการฯ พพ.
พพ. (เริ่ม) ผู้ผลิต/ผู้จำหน่าย พิจารณาอุปกรณ์ประหยัด พลังงานจาก EGAT และที่เคยผ่านโครงการฯ พพ. รับทราบเกณฑ์การพิจารณา จัดทำเกณฑ์การพิจารณา อุปกรณ์ประหยัดพลังงาน ยื่นเสนอคุณลักษณะ อุปกรณ์ที่เข้าตาม เกณฑ์ที่ พพ. ประกาศ PR เกณฑ์ คณะกรรมการพิจารณา ไม่ผ่าน แจ้งผลไม่อนุมัติ คณะกรรมการ พิจารณา อนุมัติและ PR รายชื่ออุปกรณ์ ประหยัดพลังงาน แจ้งผลอนุมัติ ผ่าน ผ่าน ซื้ออุปกรณ์ที่อยู่ในรายชื่อ อุปกรณ์ ประหยัดพลังงาน ยื่นขอรับสิทธิประโยชน์พร้อม แนบใบเสร็จที่ ระบุยี่ห้อ+รุ่น รับทราบรายชื่อ ยี่ห้อ รุ่น อุปกรณ์ประหยัดพลังงาน เปรียบเทียบใบเสร็จกับรายชื่อ อุปกรณ์ประหยัดพลังงาน ตรงตามรายชื่อ/เงื่อนไข ได้รับสิทธิประโยชน์ ไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ สรุปส่งข้อมูลให้ทาง พพ. ไม่ตรงตามรายชื่อ/เงื่อนไข บุคคลธรรมดา/นิติบุคคล
9
เงื่อนไขการขอรับสิทธิประโยชน์ “บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล”
ผู้ขอรับสิทธิ์ต้องเป็นบุคคลดังต่อไปนี้ 1) ในกรณีที่เป็น บุคคลธรรมดา ผู้มีเงินได้จาก การให้เช่าทรัพย์สิน (ประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (5)*) วิชาชีพอิสระ คือ วิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลปะ สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม (ประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (6)*) การรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ (ประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (7)*) การธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง หรือการอื่น มาตรา 40 (8)* นอกจากที่ระบุไว้ในมาตรา 40(1) ถึง (7) *ตาม ภ.ง.ด. 90 เฉพาะผู้มีเงินได้ ที่มีการ หักค่าใช้จ่ายจริงตามความจำเป็นและสมควร หากมีค่าใช้จ่ายเพื่อการได้มาซึ่งทรัพย์สินประเภทอุปกรณ์ที่มีผลต่อการประหยัดพลังงาน ซึ่งมีการปรับเปลี่ยนแทนอุปกรณ์เดิม สำหรับผู้ประกอบการ ซึ่งมีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(5) (6) (7) และ (8) ให้หักค่าใช้จ่ายอุปกรณ์ประหยัดพลังงานเพิ่มได้
10
2) ในกรณีที่เป็น นิติบุคคล
เงื่อนไขการขอรับสิทธิประโยชน์ “บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล” ผู้ขอรับสิทธิ์ต้องเป็นบุคคลดังต่อไปนี้ 2) ในกรณีที่เป็น นิติบุคคล เฉพาะนิติบุคคลที่เป็น บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด และห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เท่านั้น
11
เงื่อนไขการขอรับสิทธิประโยชน์ “บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล”
คุณสมบัติของวัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักรที่ผู้มีสิทธิ์สามารถนำค่าใช้จ่ายไปขอรับสิทธิประโยชน์เป็นรายจ่ายทางภาษีเงินได้จากกรมสรรพากรได้ต้อง จัดซื้อและเป็นของใหม่ซึ่งไม่เคยผ่านการใช้งานและต้องดำเนินการติดตั้งให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานได้ระหว่างวันที่ 19 พฤษภาคม 2552 ถึง 31 ธันวาคม 2553 เป็นวัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักร ที่มีผลต่อการประหยัดพลังงานที่ตรงตามรายการอุปกรณ์ที่ พพ. ให้การรับรอง ไม่เป็นวัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักรที่ได้รับหรืออยู่ระหว่างการขอรับสิทธิ ประโยชน์จากส่วนราชการเพื่อการส่งเสริมการลงทุนด้านอนุรักษ์พลังงาน ไม่เป็นวัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักรที่นำไปใช้ในกิจการที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลจาก BOI (ทั้งหมดหรือบางส่วน)
12
เงื่อนไขการขอรับสิทธิประโยชน์ “บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล”
คุณสมบัติของวัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักรที่ผู้มีสิทธิ์สามารถนำค่าใช้จ่ายไปขอรับสิทธิประโยชน์เป็นรายจ่ายทางภาษีเงินได้จากกรมสรรพากรได้ต้อง ไม่เป็นวัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักรที่เกิดจากรายจ่ายซึ่งได้จ่ายไปเป็นค่าจ้างเพื่อทำการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีให้แก่หน่วยงานของรัฐหรือเอกชน ไม่เป็นวัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักร ซึ่งได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากมาตรการโครงการลงทุนในทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการดำเนินธุรกิจหลักของกิจการของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป) ไม่เป็นทรัพย์สินประเภทเครื่องจักรใหม่ซึ่งใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีจากมาตรการขายเครื่องจักรเก่าที่ใช้ในการประกอบกิจการเพื่อซื้อเครื่องจักรใหม่ทดแทน
13
ขั้นตอนการขอรับสิทธิประโยชน์ “บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล”
ผู้ขอรับสิทธิ์ซื้อวัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักร ที่มีผลต่อการประหยัดพลังงานที่ตรงตามรายการอุปกรณ์ที่ พพ. ให้การรับรอง และเก็บใบเสร็จที่มีการระบุชื่อ รุ่น ยี่ห้อ ชัดเจนไว้เป็นหลักฐาน พร้อมจัดทำรายงานแสดงรายละเอียดการซื้อวัสดุอุปกรณ์หรือเครื่องจักร เมื่อถึงกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ ให้ระบุละเอียดการขอใช้สิทธิประโยชน์เป็นรายจ่ายทางภาษีใน ภงด. 90 (สำหรับบุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (5) (6) (7) และ (8) ตามรายละเอียดข้างต้น) หรือแบบ ภงด. 50 (สำหรับนิติบุคคล)
14
ขั้นตอนการขอรับสิทธิประโยชน์ “บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล”
พพ. ประกาศรายชื่อวัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักร ที่มีผลต่อการประหยัดพลังงาน (ยี่ห้อ รุ่น) บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ซื้อวัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักรที่ตรงตามรายชื่อที่ พพ. ประกาศเท่านั้น ยื่นขอรับสิทธิประโยชน์กับทางกรมสรรพากร ในรอบปีที่ซื้อทรัพย์สินนั้นๆ (กรอกใน ภงด. 90/50) (เก็บใบเสร็จ และเอกสารไว้เพื่อการตรวจสอบ)
15
เงื่อนไขการขอรับการรับรองจาก พพ. สำหรับ ”ผู้ผลิตหรือผู้จำหน่าย”
ผู้ขอรับการอนุมัติต้องเป็นผู้ผลิต หรือผู้จำหน่ายวัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักร พพ. จะกำหนดชนิดของอุปกรณ์ประหยัดพลังงานและเกณฑ์คุณลักษณะของอุปกรณ์ ซึ่งผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายสามารถรับทราบชนิดและเกณฑ์คุณลักษณะของอุปกรณ์ ทางสื่อต่างๆ เช่น เว็บไซต์ พพ. ( เว็บไซต์โครงการฯ ( หรือสื่อสิ่งพิมพ์ เป็นต้น ผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายที่มีวัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักร ที่ขอรับการอนุมัติต้องผ่านเกณฑ์ข้อกำหนด วัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักรที่มีผลต่อการประหยัดพลังงานของ พพ. และสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการฯ ได้โดยการส่งใบสมัครที่มีการระบุชื่อ รุ่น ยี่ห้อ และประสิทธิภาพของอุปกรณ์ มาที่ พพ. ซึ่งสามารถดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่เว็บไซต์ดังกล่าว วัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักรที่ขอรับการอนุมัติต้องผ่านเกณฑ์ข้อกำหนด วัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักรที่มีผลต่อการประหยัดพลังงานของ พพ. เป็นวัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักรที่ผ่านการตรวจวัดและพิสูจน์ประสิทธิภาพด้านพลังงานตามมาตรฐานสากล (IPMVP) จากหน่วยงานทดสอบ คุณภาพมาตรฐานที่ได้รับความยอมรับโดยทั่วไป
16
เงื่อนไขการขอรับการรับรองจาก พพ. สำหรับ ”ผู้ผลิตหรือผู้จำหน่าย”
1. กรมวิทยาศาสตร์บริการ 2. คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 3. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 4. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 5. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ 6. สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 7. คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 8. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 9. ศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (ศทอ.) 10.สถาบันทดสอบอิสระทั้งในประเทศและต่างประเทศ หรือห้องทดสอบของโรงงานผู้ผลิตที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน มอก./ISO เฉพาะในกรณีที่หน่วยงานตามข้อ 1-9 ไม่สามารถทดสอบได้
17
ขั้นตอนการขอรับรองจาก พพ. สำหรับ “ผู้ผลิตหรือผู้จำหน่าย”
พพ. ประกาศหลักเกณ์ เงื่อนไข คุณลักษณะเฉพาะ ของวัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักร ที่มีผลต่อการประหยัดพลังงาน ผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ผู้นำเข้า ส่งใบสมัคร และหนังสือรับรองคุณลักษณะเฉพาะของวัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักร ที่มีผลต่อการประหยัดพลังงาน ให้ พพ. รับรอง ขอรับการตรวจสอบ จากหน่วยงานที่ พพ. รับรอง พพ. และคณะกรรมการฯ พิจารณา หมายเหตุ : พพ. จะพิจารณาเฉพาะอุปกรณ์ที่ได้ประกาศไปแล้วเท่านั้น ไม่รับพิจารณาอุปกรณ์อื่นๆ ที่ยังไม่ประกาศ พพ. ประกาศรับรองรายชื่ออุปกรณ์ ยี่ห้อ และรุ่น (ในกรณีที่ผ่านเกณฑ์) แจ้งผลให้สรรพากร และสาธารณชน
18
ระยะเวลาโครงการฯ ผู้ขอรับสิทธิ์สามารถซื้อวัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักรที่มีผลต่อการประหยัดพลังงานซึ่งได้รับการรับรองจาก พพ. ได้ตั้งแต่ 19 พฤษภาคม 2552 ถึง 31 ธันวาคม 2553 ผู้ขอรับการรับรองวัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักรที่มีผลต่อการประหยัดพลังงาน สามารถส่งใบสมัครเข้าร่วมโครงการได้ตั้งแต่ ธันวาคม 2552 ถึง กันยายน 2553 (ประเภทของวัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักรที่ประกาศรับสมัครเป็นไปตามข้อกำหนดของ พพ. และสามารถติดตามได้ที่
19
วัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักร ที่มีผลต่อการประหยัดพลังงาน และสามารถขอรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีได้ “สำหรับบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล” ตามประกาศ อพพ. เรื่อง ฉบับที่ 1 วัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักรที่มีผลต่อการประหยัดพลังงาน ทั้ง 13 ประเภท ได้แก่ 1. เตาหุงต้มในครัวเรือนใช้กับก๊าซปิโตรเลียมเหลว เพิ่มเติม จำนวน 14 ยี่ห้อ 2. อุปกรณ์ปรับความเร็วรอบมอเตอร์ จำนวน 5 ยี่ห้อ 3. กระจกเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน จำนวน 8 ยี่ห้อ 4. ฉนวนใยแก้วเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน จำนวน 5 ยี่ห้อ 5. ตู้เย็นเบอร์ จำนวน 17 ยี่ห้อ 6. เครื่องปรับอากาศเบอร์ จำนวน 66 ยี่ห้อ 7. พัดลมเบอร์ จำนวน 49 ยี่ห้อ 8. หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ (ตะเกียบ) เบอร์ 5 จำนวน 16 ยี่ห้อ 9. หลอดฟลูออเรสเซนซ์ T5 เบอร์ จำนวน 5 ยี่ห้อ 10. บัลลาสต์นิรภัย (แกนเหล็ก) T5 เบอร์ 5 จำนวน 4 ยี่ห้อ 11. บัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์ T5 เบอร์ จำนวน 7 ยี่ห้อ 12. หม้อหุงข้าว เบอร์ จำนวน 4 ยี่ห้อ 13. โคมไฟ เบอร์ จำนวน 4 ยี่ห้อ สามารถดูและดาวน์โหลดรายชื่อวัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักรได้ที่เว็บไซต์โครงการ
20
หลักเกณฑ์ เงื่อนไข คุณสมบัติของวัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักร ในการสมัครเข้าร่วมโครงการฯ สำหรับ “ผู้ผลิตหรือผู้จำหน่าย” ตามประกาศ อพพ. เรื่อง ฉบับที่ 1 หลักเกณ์ เงื่อนไข คุณสมบัติของวัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักรที่มีผลต่อการประหยัดพลังงาน มีจำนวน 13 ประเภท ได้แก่ 1. ตู้เย็น 2. เครื่องปรับอากาศ 3. พัดลม 4. หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ (ตะเกียบ) 5. หลอดฟลูออเรสเซนซ์ T5 6. บัลลาสต์นิรภัย (แกนเหล็ก) T5 7. บัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์ T5 8. หม้อหุงข้าว 9. โคมไฟ 10. เตาหุงต้มในครัวเรือนใช้กับก๊าซปิโตรเลียมเหลว 11. อุปกรณ์ปรับความเร็วรอบมอเตอร์ 12. กระจกเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน 13. ฉนวนใยแก้วเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน สามารถดูและดาวน์โหลดรายชื่อวัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักรได้ที่เว็บไซต์โครงการ
21
AV = ปริมาตรปรับเทียบของตู้เย็น
1) ตู้เย็น เป็นตู้เย็นที่ได้รับฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5* ภายใต้โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 ของ EGAT หรือ ผ่านเกณฑ์ต่อไปนี้ 1.1 เกณฑ์ประสิทธิภาพพลังงานตู้เย็นปี 2006 สำหรับ ตู้เย็น 1 ประตู Energy Consumption Criteria for 1 Door refrigerators AV No.5 (MEPS - 15%) 100 L EC 0.68AV + 255 100 L EC 0.39AV + 145 1.2 เกณฑ์ประสิทธิภาพพลังงานตู้เย็นปี 2007 สำหรับ ตู้เย็น 2 ประตูขึ้นไป Energy Consumption Criteria for 2 Door refrigerators AV No.5 (MEPS - 15%) 450 L EC 0.39AV + 388 450 L EC 0.68AV + 388 AV = ปริมาตรปรับเทียบของตู้เย็น มาตรฐานการทดสอบ มอก และ มอก
22
2) เครื่องปรับอากาศ* (แบบแยกส่วนขนาดไม่เกิน 12000 วัตต์)
เป็นเครื่องปรับอากาศที่ได้รับฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5* ภายใต้โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 ของ EGAT หรือ ผ่านเกณฑ์ต่อไปนี้ ระดับประสิทธิภาพ ประสิทธิภาพ (EER) ระดับ 5 ดีมาก 11.0 ขึ้นไป มาตรฐานการทดสอบ มอก 3) หลอดตะเกียบ ได้รับฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5* ภายใต้โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 ของ EGAT หรือ ผ่านเกณฑ์ต่อไปนี้ ขนาดวัตต์ ประสิทธิภาพลูเมนต่อวัตต์ขั้นต่ำ อุณหภูมิสีน้อยกว่าหรือเท่ากับ 4,400 K ประสิทธิภาพลูเมนต่อวัตต์ขั้นต่ำอุณหภูมิสีมากกว่า 4,400 K 5 ถึง 8 50 45 9 ถึง 14 55 15 ถึง 20 60 21 ถึง 24 25 ถึง 60 65 มาตรฐานการทดสอบ มอก และ มอก
23
4) หลอดผอมใหม่ T5 ได้รับฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5* ภายใต้โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 ของ EGAT หรือ ผ่านเกณฑ์ต่อไปนี้ ลำดับ คุณสมบัติ หน่วย ขนาดหลอดฟลูออเรสเซนซ์ (T5) 14 W 28 W > 4400 K 28 W ≤ 4400 K 1 ค่าที่กำหนด (Rated Value) ลูเมน >1,200 >2,600 >2,660 2 ค่าประสิทธิภาพพลังงาน ลูเมน/วัตต์ > 85 > 90 > 95 3 ค่าดำลงลูเมนหลังการใช้งาน 2000 ชม. % 92 4 ดัชนีความถูกต้องสี - > 80 5 อายุการใช้งาน ชั่วโมง > 15,000 6 ผ่านการรับรอง มอก. มอก
24
ค่ากำลังไฟฟ้าสูญเสีย (วัตต์)
5) บัลลาสต์แกนเหล็กนิรภัย ได้รับฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5* ภายใต้โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 ของ EGAT หรือ ผ่านเกณฑ์ต่อไปนี้ ขนาดบัลลาสต์ (วัตต์) ค่ากำลังไฟฟ้าสูญเสีย (วัตต์) ค่ากระแส (แอมแปร์) 18 ≤ 6 ≥ 0.343 36 ≥ 0.398 มาตรฐานการทดสอบ มอก
25
ขนาดใช้กับหลอดฟลูออเรสเซนซ์ (วัตต์)
6) บัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์ T5 ได้รับฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5* ภายใต้โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 ของ EGAT หรือ ผ่านเกณฑ์ต่อไปนี้ คุณสมบัติเฉพาะ ขนาดใช้กับหลอดฟลูออเรสเซนซ์ (วัตต์) 28 14 1. กำลังไฟฟ้าเข้ารวม (กรณีหลอดคู่) ≤ 31 W. ≤ 61 W. ≤ 17W. ≤ 33W. 2. ให้แสงสว่างคงที เมื่อแรงดันไฟฟ้าเปลี่ยนแปลง + 10% + 3% 3. ตัวประกอบกำลัง (PF) ≥ 0.95 4. ฮาร์มอนิกส์รวม(THDi) ≤ 10 % ≤ 10% 5. ชนิดวงจร (กรณีหลอดคู่) ขนาน/อนุกรม 6. ตัวประกอบการส่องสว่าง 7. อายุการใช้งาน ≥ 5 ปี 8.การทำงานในภาวะผิดปกติ ผ่าน 9. ความทนทาน Tc = 90ํC 10. ตัวประกอบยอดคลื่นกระแส < 1.7 11. การจุดหลอด เผาไส้ก่อน (Preheat) 12. ผ่านการรับรอง มอก. มอก
26
ค่าประสิทธิภาพการใช้งาน ค่าประสิทธิภาพการใช้งาน
7) พัดลมไฟฟ้า ได้รับฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5* ภายใต้โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 ของ EGAT หรือ ผ่านเกณฑ์ต่อไปนี้ 7.1) พัดลมไฟฟ้า ชนิดตั้งโต๊ะ ตั้งพื้นและติดผนัง* ขนาดใบพัด อัตราการระบายอากาศ ขั้นต่ำ (ลบ.ม.ต่อนาที) ค่าประสิทธิภาพการใช้งาน (ลบ.ม./นาที/วัตต์) เบอร์ 5 12 นิ้ว (300 มม.) 30 > 1.01 16 นิ้ว (400 มม.) 60 > 1.21 7.2) พัดลมชนิดส่ายรอบตัว ขนาดใบพัด อัตราการระบายอากาศ ขั้นต่ำ (ลบ.ม.ต่อนาที) ค่าประสิทธิภาพการใช้งาน (ลบ.ม./นาที/วัตต์) เบอร์ 5 16 นิ้ว (400 มม.) 60 ≥ 1.21 มาตรฐานการทดสอบ มอก และมอก
27
ค่าพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ในการหุงเฉลี่ย (วัตต์-ชั่วโมง)
8) หม้อหุงข้าวไฟฟ้า ได้รับฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5* ภายใต้โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 ของ EGAT หรือ ผ่านเกณฑ์ต่อไปนี้ หม้อหุงข้าวไฟฟ้าขนาด 1.8 ลิตร เกณฑ์ระดับประสิทธิภาพสำหรับหม้อหุงข้าวไฟฟ้า ขนาด 1.8 ลิตร (ประเภท Jar Type และ ประเภท Rice Cooker) ค่าพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ในการหุงเฉลี่ย (วัตต์-ชั่วโมง) เบอร์ 5 300 E ≤ 270 มาตรฐานการทดสอบ มอก JIS C CCEC/T
28
9) โคมไฟฟ้าประสิทธิภาพสูง
ได้รับฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5* ภายใต้โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 ของ EGAT หรือ ผ่านเกณฑ์ต่อไปนี้ แบบโคมไฟฟ้า เกณฑ์ประสิทธิภาพโคมไฟชนิดตะแกรง (Louver Luminaies) LOR% ค่าแสงบาดตา Grade A ที่ 500 Lux ค่า Utilization Factor (U.F.) ค่าความส่องสว่าง (เฉลี่ย) Lux 1 x 36W ≥ 80 ผ่าน ≥ 300 2 x 36W ≥ 500 มาตรฐานอ้างอิงการทดสอบ - ทดสอบตามมาตรฐาน CIE standard - ทดสอบตามมาตรฐานการประกวดโคมไฟประสิทธิภาพสูง
29
มากกว่า หรือ เท่ากับ ร้อยละ 95
10. เตาหุงต้มในครัวเรือนใช้กับก๊าซปิโตรเลียมเหลว ได้รับฉลากประหยัดพลังงาน ภายใต้โครงการส่งเสริมเครื่องจักร อุปกรณ์ประสิทธิภาพสูง และวัสดุเพื่อการอนุรักษ์พลังงานของ พพ. หรือ ผ่านเกณฑ์ต่อไปนี้ คุณลักษณะเฉพาะของเตาหุงต้มในครัวเรือนใช้กับก๊าซปิโตรเลียมเหลว คุณลักษณะเฉพาะ เกณฑ์การพิจารณา มาตรฐานการทดสอบ ค่าประสิทธิภาพเชิงความร้อนขั้นสูง มากกว่า หรือ เท่ากับ ร้อยละ 53 มอก 11. อุปกรณ์ปรับความเร็วรอบมอเตอร์ ได้รับฉลากประหยัดพลังงาน ภายใต้โครงการส่งเสริมเครื่องจักร อุปกรณ์ประสิทธิภาพสูง และวัสดุเพื่อการอนุรักษ์พลังงานของ พพ. หรือ ผ่านเกณฑ์ต่อไปนี้ คุณลักษณะเฉพาะของอุปกรณ์ปรับความเร็วรอบมอเตอร์ คุณลักษณะเฉพาะ เกณฑ์การพิจารณา มาตรฐานการทดสอบ ค่าประสิทธิภาพ มากกว่า หรือ เท่ากับ ร้อยละ 95 IEC
30
ค่าความต้านทานความร้อน มากกว่า หรือ เท่ากับ 1.25 m2.K/W
12. กระจกเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน ได้รับฉลากประหยัดพลังงาน ภายใต้โครงการส่งเสริมเครื่องจักร อุปกรณ์ประสิทธิภาพสูง และวัสดุเพื่อการอนุรักษ์พลังงานของ พพ. หรือ ผ่านเกณฑ์ต่อไปนี้ คุณลักษณะเฉพาะของกระจกเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน คุณลักษณะเฉพาะ เกณฑ์การพิจารณา มาตรฐานการทดสอบ ค่าสัมประสิทธิ์การส่งผ่านความร้อนจากรังสีอาทิตย์ (SHGC) น้อยกว่า หรือ เท่ากับ 0.55 ISO 9050 ค่าการส่องผ่านของแสงธรรมชาติต่อค่าสัมประสิทธิ์การส่งผ่านความร้อนจากรังสีอาทิตย์ (LSG) มากกว่า หรือ เท่ากับ 1.20 13. ฉนวนใยแก้วเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน ได้รับฉลากประหยัดพลังงาน ภายใต้โครงการส่งเสริมเครื่องจักร อุปกรณ์ประสิทธิภาพสูง และวัสดุเพื่อการอนุรักษ์พลังงานของ พพ. หรือ ผ่านเกณฑ์ต่อไปนี้ คุณลักษณะเฉพาะของฉนวนใยแก้วเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน คุณลักษณะเฉพาะ เกณฑ์การพิจารณา มาตรฐานการทดสอบ ค่าความต้านทานความร้อน มากกว่า หรือ เท่ากับ 1.25 m2.K/W IEC
31
ผู้ผลิต จำหน่าย นำเข้าอุปกรณ์ สามารถส่งใบสมัครขอรับการรับรองวัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักร ที่มีผลต่อการประหยัดพลังงาน ที่ประกอบด้วย จดหมายนำส่งใบสมัคร (เรียน อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน) ใบสมัคร หนังสือรับรองผลการตรวจวัดประสิทธิภาพจากหน่วยงานที่ผ่านการ รับรอง (พพ. จะ ประกาศคุณลักษณะเฉพาะของอุปกรณ์เพิ่มเติมที่ให้การรับรอง ภายหลังจากที่คณะกรรมการฯ ให้การรับรองในการประชุมแต่ละครั้ง โดยสามารถติดตามข้อมูลได้ที่ และ
32
ศูนย์อำนวยการโครงการขอรับสิทธิประโยชน์ ยกเว้นภาษีเงินได้จากกรมสรรพากร
ผู้ผลิต จำหน่าย นำเข้าอุปกรณ์ สามารถส่งใบสมัครขอรับการรับรองวัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักร ที่มีผลต่อการประหยัดพลังงาน โดยส่งมาที่ ศูนย์อำนวยการโครงการขอรับสิทธิประโยชน์ ยกเว้นภาษีเงินได้จากกรมสรรพากร กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน อาคาร 8 ชั้น 2 เลขที่ 17 เชิงสะพานกษัตริย์ศึก ถนนพระราม 1 แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทรศัพท์
33
www.dede.go.th และwww.energy-tax.com
ผู้ที่สนใจซื้อวัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักร ที่มีผลต่อการประหยัดพลังงาน สามารถติดตามประกาศรายชื่ออุปกรณ์ ยี่ห้อ และรุ่น ได้ที่ และ (ปรับปรุง เพิ่มเติมข้อมูลเป็นประจำภายหลังจากที่คณะกรรมการฯ ให้การรับรองในการประชุมแต่ละครั้ง )
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2025 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.