ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยNoklek Aromdee ได้เปลี่ยน 9 ปีที่แล้ว
1
ความเป็นมาของการจัดการ ความรู้ในกรมชลประทาน ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ. ศ. 2546 หมวดที่ 3 มาตราที่ 11 ระบุว่า “… ส่วนราชการ มีหน้าที่พัฒนาความรู้ในส่วน ราชการ เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์กรแห่ง การเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ โดยต้องรับรู้ข้อมูล ข่าวสารและสามารถประมวล ผลความรู้ในด้าน ต่าง ๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติ ราชการได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และเหมาะสม กับสถานการณ์ รวมทั้งต้องส่งเสริมและ พัฒนาความรู้ ความสามารถ สร้างวิสัยทัศน์ และปรับเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการใน สังกัด ให้เป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพและมี การเรียนร่วมกัน ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการ ปฏิบัติราชการของส่วนราชการ ให้สอดคล้อง กับการบริหารราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตาม พระราชกฤษฎีกานี้...”
2
กรมชลประทาน จึงได้ดำเนินการ จัดการความรู้มาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ. ศ. 2549 เป็นต้นมาโดยได้กำหนดแผนการ จัดการความรู้ เพื่อสนับสนุนประเด็น ยุทธศาสตร์กรมชลประทาน ตามแนวทาง การจัดการความรู้และการบริหารการ เปลี่ยนแปลง ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้ 1. กระบวนการจัดการ ความรู้ 1.1 การบ่งชี้ความรู้ 1.2 การสร้างและการ แสวงหาความรู้ 1.3 การจัดการความรู้ ให้เป็นระบบ 1.4 การประมวลและ กลั่นกรองความรู้ 1.5 การเข้าถึงความรู้ 1.6 การแบ่งปัน แลกเปลี่ยนความรู้ 1.7 การเรียนรู้ 2. กระบวนการบริหาร จัดการเปลี่ยนแปลง 2.1 การจัดการ เปลี่ยนแปลงและ พฤติกรรม 2.2 การสื่อสาร 2.3 กระบวนการและ เครื่องมือ 2.4 การฝึกอบรมและการ เรียนรู้ 2.5 การวัดผล 2.6 การยกย่องชมเชย และให้รางวัล
3
1. แผนการจัดการความรู้เพื่อ สนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์ กรมชลประทาน ปีงบประมาณ 2549 1. ขอบเขต KM (KM Focus Area) ที่ สนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์ที่เลือก ดำเนินการในปี 2549 คือ การจัดหาน้ำเพื่อ การเกษตรอย่างเพียงพอ 2. เป้าหมาย Km ( Desired Statd) ที่สอดรับ กับของเขตของ KM คือ กรมฯสามารถจัดการความรู้ด้านการ ก่อสร้างโครงการชลประทานได้อย่างมี ประสิทธิภาพ 3. หน่วยวัดที่วัดผลได้เป็นรูปธรรมตาม เป้าหมายของ KM คือจำนวนหน่วยงาน ระดับสำนัก / กอง ที่นำระบบการจัดการ ความรู้ด้านการก่อสร้างโครงการชลประทาน ไปใช้จริง 4. กิจกรรมตามแผนการจัดการความรู้ กำหนดกิจกรรมตามหัวข้อในกระบวนการ จัดการความรู้และกระบวนการ บริหาร จัดการเปลี่ยนแปลง
4
2. แผนการจัดการความรู้เพื่อ สนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์ กรมชลประทาน ปีงบประมาณ 2550 ในปีงบประมาณ 2550 กรมได้เห็นชอบ ให้มีการดำเนินการจัดการความรู้เพื่อ สนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์กรม จำนวน 2 แผน คือ 1. แผนการจัดการความรู้ด้าน กระบวนการมีส่วนร่วมในการจัดหาน้ำ เพื่อ สนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์ การ จัดหาน้ำเพื่อการเกษตรอย่าง เพียงพอ 2. แผนการจัดการความรู้ด้านการ บริหารจัดการน้ำท่า เพื่อสนับสนุน ประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบ ป้องกันภัยจากน้ำ
5
3. แผนการจัดการความรู้เพื่อ สนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์ กรมชลประทาน ปีงบประมาณ 2551 ในปีงบประมาณ 2551 กรมได้เห็นชอบ ให้มีการดำเนินการจัดการความรู้ เพื่อ สนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์กรม จำนวน 2 แผน คือ 1. แผนการจัดการความรู้ด้านการสร้าง กระบวนการมีส่วนร่วมของผู้รับ บริการและ ผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อสนับสนุนประเด็น ยุทธศาสตร์การ บริหารจัดการน้ำ 2. แผนการจัดการความรู้ ด้านการ วิเคราะห์และประเมินสถานการณ์น้ำ เพื่อ สนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์ การป้องกันและ บรรเทาภัยอันเกิดจากน้ำ
6
ในปีงบประมาณ 2552 กรมชลประทานได้ เห็นชอบให้มีการดำเนินการ จัดการความรู้เพื่อ สนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์ จำนวน 3 แผน คือ 1. แผนการจัดการความรู้ด้านกระบวนงานก่อสร้าง โครงการชลประทาน : การ ก่อสร้างโครงการเพื่อสนับสนุนประเด็น ยุทธศาสตร์การพัฒนาแหล่งน้ำ 2. แผนการจัดการความรู้ด้านการบริหารจัดการ ชลประทานโดยเกษตรกรมีส่วนร่วมด้านส่งน้ำ และบำรุงรักษา เพื่อสนับสนุนประเด็น ยุทธศาสตร์ การบริหารจัดการน้ำ 3. แผนการจัดการความรู้ด้านการการบริหาร จัดการน้ำในภาวะวิกฤติ : พัฒนา เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการวิเคราะห์ สถานการณ์น้ำเพื่อสนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์ การป้องกันและบรรเทาภัยอันเกิดจากน้ำ 4. แผนการจัดการความรู้เพื่อ สนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์ กรมชลประทาน ปีงบประมาณ 2552
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.