ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
หน่วยที่ 2 การศึกษากับการรู้สารสนเทศ
หน่วยที่ 2 การศึกษากับการรู้สารสนเทศ การศึกษา หมายถึง การเรียน ฝึกฝน และอบรมสารสนเทศ ( INFORMATION ) หมายถึง ความรู้ เรื่องราว ข่าวสาร ข้อมูล ตลอดจนความรู้สึกนึกคิดต่างๆ ของมนุษย์ที่ได้ผ่านการประมวลผลแล้ว และบันทึกไว้ในสื่อหรือวัสดุในรูปแบบต่าง ๆ ที่สามารถถ่ายทอดและเผยแพร่ให้ผู้อื่นได้ทราบ
2
สารนิเทศ จะเน้นการจัดเนื้อหา ให้เหมาะสมกับการเผยแพร่ของระบบโทรคมนาคม และคอมพิวเตอร์แบบดั้งเดิม
สารสนเทศจะเน้นการใช้เทคโนโลยีทั้งฮาร์ทแวร์และซอฟแวร์ ที่คุณภาพสูงในการจัดเก็บข้อมูลในรูปที่ส่งข้อมูลหรือกระจายข่าวสารในระบบโทรคมนาคมต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ ดาวเทียม โทรศัพท์ เป็นต้น
3
ในยุคแรก ๆ มนุษย์รู้จักการบันทึกความรู้ไว้บนวัสดุต่าง ๆ เช่น หิน ดินเหนียว ใบไม้ ต่อมามนุษย์ได้คิดค้นทำกระดาษได้สำเร็จ จึงจารึกหรือเขียนไว้บนกระดาษเพื่อใช้เป็นหลักฐาน และต่อมาได้คิดค้นระบบการพิมพ์ จึงมีการพิมพ์ทำเป็นรูปเล่มหนังสือ และสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ซึ่งสามารถรับรู้ไดด้วยการดูหรืออ่าน
4
ปัจจุบันได้มีการพัฒนาการจัดเก็บสารสนเทศลงในคอมพิวเตอร์ ในรูปของอิเล็กทรอนิกส์โดยแปลงสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ให้เป็นภาพ หรือตัวอักษร หรือเสียงให้ปรากฏบนจอภาพ หรือผ่านออกมาทางเครื่องพิมพ์ หรือผ่านออกมาทางลำโพง จึงจะรับรู้ได้
5
ชนชาติที่รู้จักเขียนหนังสือเป็นชาติแรกคือ ?
สุเมเรียน ราวประมาณ 4000 กว่าปี โดยจารึกบนแผ่นดินเหนียว ชาวอียิปต์บันทึกบนแผ่นปาปิรัส ชนชาติที่ทำกระดาษใช้เองคือ ? จีน
6
ศัพท์ที่เกี่ยวกับสารสนเทศ
1. ข้อมูล (Data) หมายถึงข้อเท็จจริง หรือสิ่งที่ยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริงสำหรับใช้เป็นหลักอนุมานหาความเป็นจริง หรือการคำนวณ จะมีลักษณะเป็นสัญลักษณ์ ตัวเลข หรือเป็นลักษณะของข้อความ ตัวอักษร รูปภาพ แทนการกระทำหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ สำหรับใช้ในการวินิจฉัย แต่ยังไม่ผ่านการประมวลผล ซึ่งถือว่าเป็นข้อมูลดิบ
7
ความรู้ ( Knowledge ) หมายถึง ข้อมูล หรือสารสนเทศที่ได้ผ่านการวิเคราะห์อย่างมีหลักการและเหตุผล โดยอาศัยหลักการจัดเก็บ การบันทึก การแก้ไขปรับปรุงให้ทันสมัย มีการค้นหา และค้นคว้าแล้วนำไปใช้ในด้านการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ ทักษะทางเทคนิค และทักษะทางสังคม
8
วัสดุสารสนเทศ( Information Materials ) หมายถึง วัสดุรูปแบบต่าง ๆ ที่มีการบันทึกสารสนเทศอันเป็นประโยชน์โดยใช้อักษร ภาพ สัญลักษณ์ รหัส หรือเสียง เราเรียกวัสดุสารสนเทศว่า “ทรัพยากรสารสนเทศ” ( Information Resources ) เพราะเป็นบ่อเกิดแห่งทรัพย์สินทางปัญญา วัสดุสารสนเทศแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ วัสดุตีพิมพ์ และวัสดุไม่ตีพิมพ์
9
4. แหล่งสารสนเทศ ( Information Sources ) หมายถึงแหล่งหรือสถานที่ที่รวบรวมสารสนเทศ เพื่อให้บริการในการศึกษาค้นคว้าวิจัย และจรรโลงใจ ตามความต้องการของผู้ใช้ 5. เทคโนโลยีสารสนเทศ ( Information Technology ) หมายถึงกระบวนการและเครื่องจักรกล ตลอดจนอุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดเก็บสารสนเทศเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ตามความต้องการของผู้ใช้ และเผยแพร่โดยใช้เครื่องจักรกลทางโทรคมนาคม และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
10
บทบาทของสารสนเทศ 1. พัฒนาวิทยาการ 2. พัฒนาประเทศ 3. พัฒนาการพาณิชย์
1. พัฒนาวิทยาการ 2. พัฒนาประเทศ 3. พัฒนาการพาณิชย์ 4. พัฒนาด้านการศึกษา 5. พัฒนาด้านการเมือง 6. พัฒนาด้านอุตสาหกรรม 7. พัฒนาด้านวัฒนธรรม
11
ลักษณะข้อมูลสารสนเทศที่ดี
1. มีความถูกต้อง ( Accuracy ) มีคุณค่าในด้าน ความน่าเชื่อถือ ( Reliability) 2. ความครบถ้วนสมบูรณ์ ( Completeness ) 3. ความเป็นปัจจุบัน ( Up – Date ) 4. ความต่อเนื่อง ( Accumulation ) 5. กะทัดรัด ( Brief ) 6. สะดวก ( Easy to Retrieve)
12
แหล่งสารสนเทศ 1. แหล่งสารสนเทศที่เป็นบุคคล เช่น ทำเนียบนักวิจัย
1. แหล่งสารสนเทศที่เป็นบุคคล เช่น ทำเนียบนักวิจัย 2. แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถานที่ เช่น เมืองจำลอง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวนสัตว์ดุสิต 3. แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถาบัน เช่น หน่วยงานสถิติ หอจดหมายเหตุ 4. แหล่งสารสนเทศบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.