งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

สำนักงานเกษตรอำเภอละอุ่น

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "สำนักงานเกษตรอำเภอละอุ่น"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 สำนักงานเกษตรอำเภอละอุ่น
KM ประเด็น ผักเหลียง โดย สำนักงานเกษตรอำเภอละอุ่น

2 Knowledge Vision (KV) (ผักเหลียง ผักพื้นบ้าน)
(ผักเหลียง ผักพื้นบ้าน) สร้างอาชีพ สร้างรายได้ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง Knowledge Assets Knowledge Vision Knowledge Sharing

3 ผักเหลียง เป็นไม้พุ่มมีชื่อวิทยาศาสตร์ Gnetum gnemon Linn. Ver Tenerum Markgr. มีชื่อเรียกแตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่น ได้แก่ ผักเหมียง ผักเมี่ยง ผักเขรียง ผักแกงเลียง เป็นต้น เจริญเติบโตได้ดีในสภาพที่มีร่มเงา ลำต้นสูง 2 – 10 เมตร ใบคล้ายใบยางพารา สีเขียวเข้ม ใบและยอดอ่อนสีม่วงแดง ออกดอกตามข้อเป็นช่อ ต้นอายุ 5 – 6 ปี จะออกดอกเริ่มออกดอก เดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม ผลคล้ายไข่ไก่ผลอ่อนสีเขียวรับประทานได้ รสชาติหวานมัน ผลแก่มีสีเหลือง เหลียงสามารถปลูกร่วมกับพืชชนิดอื่นได้เป็นอย่างดี เช่น แซมในสวนมะพร้าว ยางพารา สะตอ และไม้ผล ผักเหลียงมีรสชาติดี หวานมันชวนรับประทานมีคุณค่าทางอาหารสูง เช่น วิตามิน เกลือแร่ ป้องกันโรคหัวใจ เบาหวาน เป็นต้น และปลอดภัยจากสารพิษ รับประทานได้ ทั้งสดและประกอบอาหารได้หลากหลายชนิด

4 เนื้อหา ผักเหลียงเป็นผักพื้นบ้านที่ขึ้นอยู่ในป่าและปลูกบริเวณบ้าน ซึ่งลุงนัง ผู้ที่เพาะพันธุ์ ผักเหลียงจำหน่ายเล่าให้ฟังว่า เดิมทีแล้วอำเภอละอุ่น มีผักเหลียงขึ้นอยู่เป็นจำนวนมากในป่า ชาวบ้านก็ไปเก็บมากินบ้าง ขายบ้าง ซึ่งก็ทำให้ชาวบ้านมีรายได้จากการเก็บผักเหลียงเป็นอาชีพเสริมรายได้ ซึ่งจากการที่ได้ขายยอด ผักเหลียงออกสู่ในเมืองและต่างจังหวัด ก็ได้รับความนิยมว่าผักเหลียงอำเภอละอุ่น รสชาดอร่อยไม่ขม จึงมีคนสนใจมาขอซื้อผักเหลียงในอำเภอละอุ่น มากขึ้น และจากการที่ออกไปหาในป่าก็เริ่มเปลี่ยนแปลงใหม่โดยชาวบ้านก็ไปเก็บยอดและ ขุดไหลของผักเหลียง มาปลูกบริเวณบ้าน และเมื่อชาวบ้านไปหาผักเหลียงในป่ามากขึ้น ผักเหลียงก็เริ่มหายาก และความต้องการของผักเหลียงมีมากขึ้น

5 ลุงนังก็เลยหันมา ปลูกผักเหลียงในสวนของตนเอง 3,000 ต้น และได้ทำการเพาะพันธุ์ต้นผักเหลียงเพื่อจำหน่าย ซึ่งก็เป็นที่ต้องการของผู้ที่ต้องการปลูกผักเหลียง แต่การเพาะพันธุ์ ผักเหลียงโดยวิธีใช้ไหลต้องใช้เวลา ประมาณ เดือน จึงจะสามารถจำหน่ายหรือนำไปปลูกได้ จึงได้มีการคิดหาวิธีการขยายพันธุ์ผักเหลียง ที่เร็วกว่าและก็ได้วิธีการขยายพันธุ์แบบตอนกิ่งที่ใช้เวลาประมาณ 3 เดือน ก็สามารถนำไปปลูกได้ ลุงโสภณ เพชรรักษ์ เล่าว่า อำเภอละอุ่นมีผักเหลียงที่รสชาดอร่อย และเป็นที่ต้องการของแม่ค้ามาก แต่ผักเหลียงไม่ออกยอดตลอดปี แต่จะออกเป็นช่วง ๆ ข้อดีของผักเหลียงคือ รับประทานได้ทั้งยอด ใบอ่อน ดอก และลูก ผักเหลียงได้ชื่อว่าเป็นผักพื้นบ้านอันดับ 1 ของอำเภอละอุ่น

6 สรุปผลการจัดการความรู้ KM
องค์ความรู้ด้านพืชสมุนไพรและผักพื้นบ้านระนอง ที่จำเป็นต้องใช้ประโยชน์ในงานส่งเสริมการเกษตร 1. ชื่อถิ่น ผักเหลียง ชื่อสามัญ - ชื่อวิทยาศาสตร์ Gnertum qnemon Linn 2. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ และการขยายพันธุ์ แหล่งที่พบในจังหวัดระนอง เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางใบเดียวคล้ายใบยางพารา กว้าง ซม. ปลายใบเรียวแหลม สีเขียวเป็นมันดอกขนาดเล็กเป็นช่อสีขาวลูกกลมเป็นช่อออกดอกช่วงเดือน พฤศจิกายน – ธันวาคม การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง การปักชำกิ่ง การใช้ไหล หรือต้นจากรากแขนง อาศัยอยู่บนเขาที่มีต้นไม้ปกคลุมหนาทึบ แหล่งที่พบในจังหวัดระนองมีทุกอำเภอ แต่มีมากที่อำเภอละอุ่น

7 3. คุณค่าทางโภชนาการของผักเหลียงมี
- โปรตีน (กรัม) -ไขมัน 1.17 (กรัม) - คาร์โบไฮเดรต (กรัม) - แคลเซี่ยม (มก.) - เหล็ก 2.51 (มก.) - ฟอสฟอรัส (มก.) - ไวตามินเอ 10,889 (หน่วยสากล) - โบฟลาวิน 1.25 (มก.) - ไนอะซีน 1.73 (มก.)

8 4. วิธีใช้ประโยชน์ทั้งทางยาและทางอาหาร
ใช้ต้มกะทิ แกงเลียง เจียวไข่ ยำ ลวกทำผักจิ้ม ผัดไข่ 5. อื่น ๆ เช่น การประยุกต์ใช้ นำมาชุบแป้งทอดเป็นของว่าง นำมาทำชาผักเหลียงทำข้าวเกรียบผักเหลียง 6. ข้อจำกัด เช่น โทษ สารพิษ คนที่เป็นโรคเก้าไม่ควรรับประทานเพราะผักเหลียงมีกรดยูริกแอซิกสูง ทำให้ปวดเข่าได้ คนที่ปวดเมื่อยตามร่างกายไม่ควรรับประทานมาก

9 ผู้เล่าเรื่อง ลุงนัง ลุงโสภณ คุณอำนวย คุณชูเกียรติ คุณเอื้อ คุณสุทิน
คุณกิจ คุณพัฒนา คุณลิขิต คุณศิริทิพย์


ดาวน์โหลด ppt สำนักงานเกษตรอำเภอละอุ่น

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google