ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
บทที่ 3 งบแสดงฐานะการเงินรวม ณ วันซื้อหุ้น
2
บทนำ เมื่อมีการถือหุ้นของบริษัทอื่นเกินกว่า 50% บริษัทที่ไปถือหุ้นหือ ควบคุมบริษัทอื่นเรียกว่า “บริษัทใหญ่” และบริษัทที่ถูกซื้อหุ้นเรียกว่า “บริษัทย่อย” ในทางปฏิบัติทั้งสองบริษัทยังคงดำรงอยู่และเป็นนิติบุคคลแยกจากกัน แต่ในทางบัญชีถือว่าทั้งสองกิจการเป็นหน่วยงานทางเศรษฐกิจ เดียวกัน ต้องมีการจัดทำงบการเงินรวม(Consolidated Financial Statements)
3
ขอบเขตการจัดทำงบการเงินรวม
บริษัทใหญ่และบริษัทย่อยควรมีนโยบายบัญชีเดียวกัน วันที่ในงบการเงินของบริษัทย่อยควรเป็นวันที่เดียวกันกับของบริษัทใหญ่ ในกรณีที่บริษัทใหญ่มีสิทธิในการออกเสียงน้อยกว่ากึ่งหนึ่งแต่มีข้อบ่งชี้ว่า บริษัทใหญ่สามารถควบคุมบริษัทย่อย ก็จะต้องจัดทำงบการเงินรวม ข้อ บ่งชี้ได้แก่ บริษัทใหญ่มีอำนาจแต่งตั้งหรือถอดถอนบุคคล เป็นผู้กำหนดนโยบายทางการเงินหรือการดำเนินงานของกิจการอื่นๆ
4
ข้อยกเว้นที่บริษัทใหญ่ไม่ต้องทำงบการเงินรวม
บริษัทมีฐานะเป็นบริษัทย่อยซึ่งถูกกิจการอื่นควบคุมอยู่ทั้งหมดหรือ บางส่วน โดยที่ผู้ถือหุ้นอื่นของกิจการรวมทั้งผู้ถือหุ้นที่ไม่มีสิทธิออกเสียง ต่างรับทราบและไม่คัดค้านการที่บริษัทใหญ่นั้นจะไม่นำเสนองบการเงิน รวม ตราสารทุนหรือตราสารหนี้ของบริษัทใหญ่ไม่มีการซื้อขายสู่สาธารณะ บริษัทใหญ่ไม่ได้นำส่งหรืออยู่ในกระบวนการนำส่งงบการเงินแก่กลต. เพื่อวัตถุประสงค์การออกขายหลักทรัพย์ใดๆในตลาดสาธารณะ บริษัทใหญ่ในลำดับสูงสุดหรือลำดับกลางได้จัดทำงบการเงินรวมเพื่อ เผยแพร่สู่สาธารณชนตามมาตรฐานการบัญชีแล้ว
5
รายการตัดบัญชีในการจัดทำ งบแสดงฐานะการเงินรวม ณ วันซื้อหุ้น
กรณีบริษัทใหญ่ถือหุ้นในบริษัทย่อย 100% ตัดบัญชีเงินลงทุนใน บริษัทย่อยกับส่วนของผู้ถือหุ้นในบริษัทย่อย เนื่องจากเงินลงทุนใน บริษัทย่อยที่ปรากฏในงบการเงินของบริษัทใหญ่ ก็คือส่วนของผู้ถือหุ้น ในบริษัทย่อยทั้งหมด หากไม่ตัดรายการนี้ออกจะทำให้สินทรัพย์ และ ส่วนของผู้ถือหุ้นในงบแสดงฐานะการเงินรวมสูงไป
6
รายการตัดบัญชีในการจัดทำ งบแสดงฐานะการเงินรวม ณ วันซื้อหุ้น
ในกรณีที่บริษัทถือหุ้นเพียงบางส่วน ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทย่อยนั้น จะถูกคำนวณ ว่าเป็นของบริษัทใหญ่เท่าใด และเป็นของผู้ไม่มีอำนาจควบคุม(ผู้ถือหุ้นส่วนน้อย)เป็น เท่าใด รายการที่เป็นของผู้ถือหุ้นที่ไม่มีอำนาจการควบคุมจะแสดงในงบแสดงฐานะการเงิน รวมเป็น “ส่วนได้เสียไม่มีอำนาจควบคุม” (Non-Controlling Interest) รายการส่วนได้เสียไม่มีอำนาจควบคุม คำนวณจากสัดส่วนของหุ้นสามัญที่เป็นของผู้ถือ หุ้นที่ไม่มีอำนาจควบคุมคูณกับส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทย่อย รายการตัดบัญชี Dr. ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทย่อยในสัดส่วนที่บริษัทใหญ่ถือ Cr. เงินลงทุนในบริษัทย่อย Dr. ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทย่อยในสัดส่วนที่ผู้ไม่มีอำนาจควบคุมถือ Cr. ส่วนของผู้ที่ไม่มีอำนาจควบคุม
7
รายการตัดบัญชีในการจัดทำ งบแสดงฐานะการเงินรวม ณ วันซื้อหุ้น
ในกรณีที่บริษัทใหญ่ซื้อหุ้นในราคาที่สูงหรือต่ำกว่าราคาตามบัญชี ผลต่างที่เกิดจากการซื้อจะนำมาบันทึกแสดงให้เห็นในงบแสดงฐานะ การเงินรวม การนำเสนอจะนำเสนอทั้งงบแสดงฐานะการเงินรวมและงบแสดงฐานะ การเงินเฉพาะกิจการ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.