ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยThanatat Juntasa ได้เปลี่ยน 9 ปีที่แล้ว
1
นางปิยนุช พงษ์เศวต โรงเรียนกรุงเทพการบัญชีวิทยาลัย
การปรับพฤติกรรมความรับผิดชอบการส่งงาน วิชา ความรู้เกี่ยวกับสินค้า ของนักเรียน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาการตลาด โดยการใช้เทคนิคเสริมแรงทางบวก นางปิยนุช พงษ์เศวต โรงเรียนกรุงเทพการบัญชีวิทยาลัย
2
ปัญหาการวิจัย ผู้สอนควรตระหนักถึง ความสนใจ ความแตกต่างของผู้เรียนภายในชั้นเรียนว่ามี ความชอบ ความสามารถ และมีแรงจูงใจในการเรียนที่แตกต่างกัน ถ้าหากกำหนด กิจกรรมหรืองานและการกำหนดระยะเวลาการส่งงานที่รวดเร็วเกินไป นักเรียนบางคน อาจไม่สามารถส่งงานได้ตามกำหนดเวลาที่ครูกำหนดขึ้น อีกนัยหนึ่งครูควรให้เด็ก สามารถทำงานที่ได้รับมอบหมายเสร็จตามระยะเวลาที่ครูกำหนดให้พร้อมๆ กัน ซึ่งผล ของการส่งงานตรงต่อเวลา จะทำให้ผู้เรียนฝึกฝนให้ตนเองรู้จักการตรงต่อเวลา ส่งงาน ตรงตามเวลาที่ได้รับมอบหมาย และได้คะแนนกิจกรรมเสริมบทเรียนครบตามเกณฑ์ที่ ครูกำหนดขึ้น ผู้วิจัยจึงทำการศึกษาการปรับพฤติกรรมความรับผิดชอบการส่งงานวิชา ความรู้ เกี่ยวกับสินค้า ของนักเรียน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 1 สาขาวิชา การตลาด ทั้งนี้ เพื่อนำข้อมูลที่ได้รับไปใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงการเรียนการสอน เพื่อให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพฤติกรรมความรับผิดชอบการส่งงานที่ดี ขึ้น โดยใช้เทคนิคการเสริมแรงทางบวก
3
วัตถุประสงค์การวิจัย
เพื่อปรับพฤติกรรมความรับผิดชอบการส่งงานวิชา ความรู้เกี่ยวกับสินค้า ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาการตลาด โดยการใช้เทคนิคเสริมแรงทางบวก กรอบแนวความคิดในการวิจัย ตัวแปรต้น เทคนิคเสริมแรงทางบวก ตัวแปรตาม พฤติกรรมการส่งงาน
4
สมมติฐานในการวิจัย นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาการตลาด โรงเรียนกรุงเทพการบัญชีวิทยาลัย มีพฤติกรรมการส่งงานมากขึ้นและตรงต่อเวลา หลังจากได้รับเทคนิคเสริมแรงทางบวก กลุ่มเป้าหมาย ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา โรงเรียนกรุงเทพการบัญชี วิทยาลัย จำนวน 30 คน
5
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
แบบบันทึกพฤติกรรมการส่งงาน เรื่อง ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสินค้าและบริการ การจัดคุณภาพและมาตรฐานของสินค้าและบริการ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค ทรัพย์สินทางปัญญา บทบาทและนโยบายของรัฐบาลที่มีต่อสินค้าและบริการ ความรู้เกี่ยวกับสินค้าเกษตรและสินค้าเกษตรแปรรูป ความรู้เกี่ยวกับสินค้าอุตสาหกรรม ความรู้เกี่ยวกับสินค้าประเภทบริการ
6
การรวบรวมข้อมูล ชี้แจงถึงข้อกำหนดที่ได้ทำขึ้นและตกลงกับนักเรียนให้เข้าใจ ดำเนินการเรียนการสอนตามปกติ โดยใช้ข้อกำหนดที่ได้ตกลงไว้กับนักเรียน ทำการบันทึกพฤติกรรมการส่งงานในเครื่องมือที่จัดทำขึ้น หลังจากนั้นทุกๆครั้งที่ทำการสอนจะใช้เทคนิคการเสริมแรงทางบวก เช่น การให้คำ ชมเชย การให้คะแนนส่งงาน และถ้าส่งตรงเวลา มีการเพิ่มคะแนน ทำการบันทึกพฤติกรรมการส่งงานในเครื่องมือที่จัดทำขึ้นอย่างต่อเนื่องหลังจากการให้ แรงเสริม นำข้อมูลจากการส่งงานมาเปรียบเทียบ ก่อนการให้แรงเสริมกับหลังจากการให้แรง เสริม
7
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลสำคัญ
ผู้วิจัยได้ดำเนินการทำวิจัยตามขั้นตอนต่างๆ ที่เตรียมไว้และนำไปใช้กับนักเรียนระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 1 ห้อง EM01 ในรายวิชา ความรู้เกี่ยวกับสินค้า ในภาคเรียน ที่ 2 ปีการศึกษา นักเรียนจำนวน 30 คน ซึ่งผลการวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้ ลำดับที่ เรื่อง จำนวนนักเรียนที่ส่งงาน คิดเป็นร้อยละ 1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสินค้าและบริการ 20 66.7 2 การจัดคุณภาพและมาตรฐานของสินค้าและบริการ 24 80.0 3 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค 25 83.3 4 ทรัพย์สินทางปัญญา 28 93.3 5 บทบาทและนโยบายของรัฐบาลที่มีต่อสินค้าและบริการ 30 100.0 6 ความรู้เกี่ยวกับสินค้าเกษตรและสินค้าเกษตรแปรรูป 7 ความรู้เกี่ยวกับสินค้าอุตสาหกรรม 8 ความรู้เกี่ยวกับสินค้าประเภทบริการ
8
สรุปผลการวิจัย นักเรียนทั้งหมด 30 คน มีการส่งงานในการเรียนบทที่ 1 เรื่องความรู้ พื้นฐานเกี่ยวกับสินค้าและบริการ 20 คน และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการ ส่งงานจนครบทุกคนตั้งแต่ในบทเรียนที่ 5 เป็นต้นไป คิดเป็นร้อยละ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.