งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

Application Layer.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "Application Layer."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 Application Layer

2 Remote Logging, Electronic Mail,
Domain Name System (DNS), Remote Logging, Electronic Mail, File Transfer (FTP), WWW, HTTP, DHCP

3 ตัวอย่างของการใช้งาน service DNS
ในการรับส่งข้อมูล จำเป็นจะต้องรู้ IP Address ของผู้รับ จากในรูปข้างบน DNS client จะเป็นตัวหา IP Address จากชื่อเว็บไซต์ที่ต้องการ (wonderful.com)

4 Name Space และ Domain Name Space
Name Space คือ ชื่อของเครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ที่ถูกควบคุมระหว่างชื่อและ IP Address โดยที่ชื่อที่ตั้งขึ้นมาจะต้องไม่ซ้ำกัน Domain Name Space คือ หลักการของ Name Space แบบโครงสร้างลำดับชั้น โดยแสดงเป็นแผนภูมิต้นไม้

5 Domain Name Domain Name คือ ข้อความ (Label) ที่แสดงบนแผนภูมิต้นไม้ โดยที่จำนวนตัวอักษรมากที่สุด 63 ตัวอักษร โดยที่ root (ราก) เป็นข้อความว่างเปล่า (null string) Domain Name จะประกอบไปด้วยข้อความต่าง ๆ โดยมี dot (.) ในการแยก

6 Domain โดเมน Domain คือ ส่วนย่อยของแผนภูมิต้นไม้ (subtree) ของ Domain Name Space โดยที่ชื่อของโดเมนจะเป็นโหนดยอดของส่วนย่อยของแผนภูมิต้นไม้นั้น

7 DNS ใน Internet DNS คือ protocol ที่สามารถใช้งานต่าง platform กันได้ ใน Internet ระบบ DNS จะถูกแบ่งเป็น 3 ส่วนที่แตกต่างกันคือ generic domains, country domains และ inverse domain

8 DNS ใน Internet Generic Domains กำหนด Host ที่ถูกลงทะเบียนเอาไว้แล้ว

9 Generic Domains

10 DNS ใน Internet Country Domains กำหนด Host ของแต่ละประเทศ ประกอบไปด้วยชื่อประเทศ และ ชื่อขององค์กร หรือ ชื่อเมืองต่าง ๆ เช่น .ac.th

11 DNS ใน Internet Inverse Domains ถูกใช้ในการแมพ address เป็นชื่อ

12 คำสั่งสำหรับตรวจสอบ DNS
คำสั่ง nslookup สามารถใช้ได้ทั้ง Windows และ Unix ใช้ในการตรวจสอบโดเมนเนม (DNS) ซึ่งเอาไว้ทดสอบว่าโดเมนเนมนี้ตรงกับ IP Address อะไร และยังสามารถตรวจสอบได้ว่า DNS ที่เราใช้อยู่ยังให้บริการได้อยู่หรือไม่ เพราะหาก DNS ไม่สามารถให้บริการเป็นปกติจะไม่สามารถทำการแปลงจาก IP Address เป็นชื่อได้

13 Remote Logging ในการใช้งานโปรแกรมต่าง ๆ ใน server ผ่าน Internet บางครั้งอาจจะต้องมีการเขียนหรือแก้โปรแกรมต่าง ๆ เพิ่มเติม ดังนั้น จึงมีการใช้โปรแกรมที่สามารถ Remote จากเครื่องอื่น ๆ เพื่อเข้าไปยัง server เช่น TELNET

14 TELNET

15 Electronic Mail (email)
รูปแบบของ ประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก ๆ คือ ส่วนของหน้าซองจดหมาย (Envelope) และ ข้อความในจดหมาย (Message)

16 address address จะประกอบไปด้วยที่อยู่ของ mailbox ของ mail server และ domain name ของ mail server เป็นตัวคั่น

17 User Agent User Agent เป็นโปรแกรมที่สามารถให้ผู้ใช้เขียน อ่าน ตอบกลับ และส่งต่อจดหมายได้

18 SMTP (Simple Mail Transfer Protocol)
SMTP จะเป็น protocol อันหนึ่งในการใช้งาน โดยจะถูกใช้ในการส่ง จากผู้ส่งมายัง mail server และ การส่ง ระหว่าง mail server ทั้งสองฝั่ง

19 POP3 และ IMAP4 POP3 (Post Office Protocol, version 3) และ IMAP4 (Internet Mail Access Protocol, version 4) จะถูกติดตั้งใน mail server เพื่อใช้ในการ download จาก mail server มายังเครื่องของผู้ใช้

20 การแลกเปลี่ยนข้อมูลของ POP3

21 ความสามารถของ IMAP4 ที่เพิ่มมาจาก POP3
ผู้ใช้สามารถตรวจสอบเฮดเดอร์ของอีเมล์ได้ ก่อนที่จะดาวน์ โหลดมาเก็บไว้ที่ไคลเอ็นต์. ผู้ใช้สามารถทำการค้นหา (search) เนื้อความในจดหมายได้ ก่อนที่จะดาวน์โหลดเมล์มาเก็บไว้ที่ไคลเอ็นต์ ผู้ใช้สามารถสร้าง ลบ หรือเปลี่ยนชื่อเมล์บ็อกซ์ในเมล์เซิร์ฟเวอร์ ได้ ผู้ใช้สามารถโฟลเดอร์สำหรับเก็บเมล์ได้ Web-based mail คือ website ที่ใช้จัดการกับ เช่น hotmail, yahoo, gmail

22 File Transfer Protocol (FTP)
FTP คือ Protocol ที่ใช้ในจัดการและแลกเปลี่ยน file ข้อมูล จากเครื่องหนึ่งไปยังเครื่องอื่น ๆ โดยส่วนใหญ่จะถูกใช้ในระบบ Internet FTP ถูกสร้างมาเพื่อให้ทำงานในแบบ client-server FTP ใช้ service ของ TCP ซึ่งต้องมี 2 การติดต่อของ TCP FTP ใช้ port 21 ในการติดต่อเพื่อควบคุม (control connection) และ port 20 เพื่อติดต่อข้อมูล (data connection)

23 File Transfer Protocol (FTP)

24 World Wide Web (WWW) WWW ในปัจจุบันเป็นบริการแบบ client-server โดยที่ client จะใช้โปรแกรม browser ในการติดต่อเพื่อขอข้อมูลหรือ service ต่าง ๆ ที่อยู่ใน server ซึ่ง service นั้นจะสามารถให้บริการกับ client ได้หลาย ๆ เครื่องพร้อมกัน

25 Browser

26 URL URL คือที่อยู่ของ website ต่าง ๆ โดยประกอบไปด้วย 4 ส่วนหลัก ๆ ดังนี้ โดยทั่วไปในการเข้าใช้งาน website ต่าง ๆ เรามักจะป้อนแค่ชื่อของ website เหล่านั้นเช่น ซึ่งในส่วนของ protocol และ port จะถูกกำหนดโดยอัตโนมัติ คือ http และ port 80

27 Hypertext Transfer Protocol (HTTP)
HTTP เป็นโปรโตคอลหลักที่ใช้ในการเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ บน WWW โดยใช้ service ของ TCP บน port 80

28 ตัวอย่างการรับส่งข้อมูล HTTP
Request ถูกส่งไปยัง server เพื่อแสดงว่า client ยอมรับรูปภาพ gif หรือ jpeg หลังจากนั้น Response จะถูกส่งกลับมา ซึ่ง header จะบอกถึงรายละเอียดของข้อมูลต่าง ๆ ส่วน Body คือข้อมูลที่ส่งมา

29 Dynamic Host Configuration Protocol (DHCP)
DHCP หรือ DHCPv6 คือโปรโตคอลที่ใช้ใน Network ที่ทำงานแบบ client-server โดยเครื่อง client จะทำการร้องขอข้อมูลที่จำเป็น ในการเข้าร่วมเครือข่ายจาก server ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ประกอบไปด้วย - IP Address - subnet mask - gateway - dns server ซึ่งใช้ภายในเครือข่าย ซึ่ง server เป็นฝ่ายกำหนดให้กับ client ตัวอย่างของการใช้งาน DHCP เช่น การเข้าใช้งาน Network ของมหาวิทยาลัย เมื่อเราทำการต่อ Wi-Fi แล้ว Router ของมหาวิทยาลัยจะเป็นตัว server เพื่อแจกจ่าย IP Address และข้อมูลต่าง ๆ เพื่อเซ็ตค่าให้กับคอมพิวเตอร์ของเราอัตโนมัติ โดยที่เราไม่จำเป็นจะต้องรู้รายละเอียดเหล่านั้น


ดาวน์โหลด ppt Application Layer.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google